หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

เผือกร้อนในมือ “ปู-ขุนค้อน” แหกด่านทูลเกล้าฯ ร่างแก้ รธน.

ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง


เผือกร้อนในมือ “ปู-ขุนค้อน” แหกด่านทูลเกล้าฯ ร่างแก้ รธน.
ผ่าประเด็นร้อน
       
       ลำดับต่อไปหลังจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันเสาร์ที่ 28 ก.ย. 56 ลงมติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เห็นชอบร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 358 เสียง ไม่เห็นชอบ 2 เสียง งดออกเสียง 30 เสียง
       ก็คือต้องดูว่า สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะประธานรัฐสภา จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่?
       
       หลังจากที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม 40 ส.ว.ได้แยกกันลงชื่อ ทำหนังสือขอให้ประธานสภาฯ ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามช่องทางรัฐธรรมนูญ มาตรา154 (1) คือ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว มีความขัดแย้งต่อหลักการ และเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากผู้ยื่นเห็นว่ากระบวนพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเนื้อหาสาระมีการกระทำที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญหลายประการ จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นอันตกไป
       
       ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 154 หัวใจสำคัญก็คือ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการควบคุมการตรากฎหมายที่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือ หาก ส.ส.หรือ ส.ว.เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับใดที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาไปแล้ว และเตรียมส่งให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ก็ให้ ส.ส.-ส.ว.ใช้สิทธิส่งเรื่องไปยังประธานสภาฯ หรือประธานวุฒิสภา เพื่อให้ส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยที่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องระงับการทูลเกล้าฯ ทันที
       
       แต่ปัญหามันเกิดตรงที่ว่า มาตรา 154 นักกฎหมายหลายคนรวมถึงอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ออกมาชี้ว่า เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่อง “พระราชบัญญัติ” ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับ “ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” ที่เป็นกฎหมายใหญ่กว่าได้ และการที่รัฐธรรมนูญให้นายกฯ ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน หลังรัฐสภาให้ความเห็นชอบ ก็เป็นเพราะมาตรา 291 เขียนเอาไว้ชัดว่า ให้ใช้มาตรา 150 ที่เป็นเรื่องการให้นายกฯ นำร่าง พ.ร.บ.ที่ผ่านความเห็นชอบแล้วจากสภาฯ และวุฒิสภา ขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน โดยให้นำมาใช้กับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยอนุโลม
       
       ยิ่งฝ่ายกฎหมาย และส.ส.เพื่อไทย ที่ร่วมกันลงมติโหวตให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาก็ยืนยันว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ ต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่ได้รับเรื่องจากสมศักดิ์ ประธานรัฐสภาสถานเดียว ไม่สามารถชะลอได้ ต่อให้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ และส.ว.ร่วมกันเข้าชื่อใช้สิทธิตามมาตรา 154 เพราะไม่สามารถนำ มาตรา 154 มาบังคับใช้กับกรณีนี้ได้
       
       ทำให้ดูแล้ว หากคาดการณ์ไม่ผิด “สมศักดิ์” ก็คงยากที่จะส่งหนังสือที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน จำนวน 143 คน และ ส.ว.อีก 68 เข้าชื่อกัน ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อฝ่ายเพื่อไทย มีธงออกมาเช่นนี้ชัดเจนว่า ให้เดินหน้าท้าทายอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
       
       ผนวกกับมีการอ้างถึงว่า ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญก็เคยมีคำวินิจฉัยเมื่อปี 54 ตอนที่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เรื่อง “ที่มา ส.ส.” คือเปลี่ยนจากระบบพวงใหญ่ มาเป็นวันแมนวันโหวต และยกเลิกระบบ ส.ส.สัดส่วนมาเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ตอนนั้นเพื่อไทย โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่ง ที่ 4/2554 วันที่ 23 ก.พ. 54 ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย ซึ่งมีผลผูกพันไปทุกองค์กร รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญเอง ดังนั้นศาลรัฐธรรมนก็ต้องยึดบรรทัดฐานเดิม
       
       กระนั้นก็พบว่า ฝ่ายประชาธิปัตย์และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็แย้งในประเด็นนี้ว่า ที่ยื่นคำร้องไปครั้งนี้ แตกต่างจากตอนปี 2554 เพราะที่ยื่นไปครั้งนี้เป็นเรื่องที่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้นอกจากมีความไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระบวนการที่ผ่านมาในการพิจารณา โดยเฉพาะตอนพิจารณา วาระ 2 ก็ไม่ชอบด้วยขั้นตอนดำเนินการ เช่น การรวบรัดไม่ให้สมาชิกรัฐสภาได้ใช้สิทธิอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกันอย่างเต็มที่, มีการปิดกั้นการอภิปรายจากประธานในที่ประชุม รวมถึงยังมีการลงคะแนนเสียงแทนกัน อันทำให้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาโดยไม่ชอบ รวมลักษณะความไม่ชอบมีด้วยกันถึง 9 ประเด็น ที่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวสมควรให้เป็นโมฆะ
       
       พร้อมกันนี้ ฝ่ายประชาธิปัตย์ และกลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะรุกต่อเนื่อง โดยในวันจันทร์ที่ 30 ก.ย. ฝ่ายกลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะมีการส่งหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งว่าได้มีการยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 (1) ให้ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จึงขอให้นายกฯ หากได้รับร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญจากประธานรัฐสภาแล้ว ขอให้ชะลอการนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ แล้วก็ให้ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญมาตรา 154 (2) ที่เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีสามารถใช้วิจารณญาณส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรอ “สมศักดิ์” ที่พวก 40 ส.ว.บอกว่าจะเป็นการช่วยเซฟตัวยิ่งลักษณ์เองด้วย
       
       นอกจากนี้ กลุ่ม 40 ส.ว.ก็จะมีการส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือต่อสำนักราชเลขาธิการ ว่าได้แจ้งต่อนายกฯ แล้ว ให้ชะลอการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีไม่ยับยั้งการทูลเกล้าฯ และไม่ส่งหนังสือคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 154 (2) โดยส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวทูลเกล้าฯ ขึ้นมา ราชเลขาธิการจะได้มีข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้านประกอบวิจารณญาณต่อไป
       
       เรื่องนี้จึงเป็นเผือกร้อนในมือของทั้งสมศักดิ์ ประธานรัฐสภา และยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ว่าจะว่าอย่างไร
       
       สมศักดิ์จะส่งเรื่องของ ส.ส.ประชาธิปัตย์ และ ส.ว.ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 154 หรือไม่ หรือว่าจะส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้วให้นายกฯ เลย เพื่อให้นายกฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ตามขั้นตอน เพราะเห็นว่าไม่สามารถส่งเรื่องที่ ส.ส.ปชป.-ส.ว.ยื่นเรื่องมาให้ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากไม่เข้าตามมาตรา 154 เพราะไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ. ดังนั้นก็ต้องส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไปให้ยิ่งลักษณ์นำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน ไม่สามารถปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้
       
       และต้องดูว่าตัวยิ่งลักษณ์เอง หากกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ร่วมกันลงชื่อดังกล่าวไปยื่นเรื่องแจ้งให้ทราบว่ามีการลงชื่อ ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ตัวยิ่งลักษณ์จะว่าอย่างไร จะเห็นตามที่ฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย ยืนกรานว่าไม่สามารถนำมาตรา 154 มาบังคับใช้ได้ ในการชะลอการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ดังนั้น เมื่อสมศักดิ์ส่งเรื่องมาแล้วก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป
       
       แต่เมื่อดูจากท่าทีของสมศักดิ์ ที่ไม่สนใจต่อเสียงเรียกร้องของฝ่ายค้าน และ ส.ว. ที่ให้เลื่อนการโหวตวาระ 3 ออกไป เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา จนถูก ส.ส.ปชป.เอาพวงหรีดที่มีข้อความ “สภาทาส” ไปวางในห้องประชุมสภาฯ
       
       แสดงให้เห็นว่า อย่างไรเสียสมศักดิ์ก็คงหารือกับคนในเพื่อไทยมาหมดแล้วว่า ให้ลุย ไม่ต้องเกรงอะไรทั้งสิ้น จึงประเมินว่าสมศักดิ์คงนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญส่งให้ยิ่งลักษณ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไปแน่นอน ส่วนคำร้องของ ส.ส.ปชป. และส.ว.ก็อาจส่งหรือไม่ส่งก็ได้ คือ อาจส่งก็ส่งไปในฐานะคนกลางที่ได้รับเรื่องมาก็ส่งไป แล้วให้ศาลรัฐธรรมนูญไปว่ากันเองว่าเข้ามาตรา 154 หรือไม่ แต่บางส่วนก็มองว่าก็อาจเป็นไปได้ที่สมศักดิ์อาจไม่ส่ง เพราะเห็นว่าไม่เข้าข่ายมาตรา 154 ก็ใช้สิทธิในฐานะประธานสภาฯ อาจไม่ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
       
       ส่วน “ยิ่งลักษณ์” เมื่อดูจากการที่เดินทางเข้าร่วมโหวต เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีภารกิจตรวจน้ำท่วมที่ปทุมธานี หากจะเลี่ยงไม่เข้าประชุม ก็อาจทำได้ แต่ก็เดินทางเข้าไปร่วมโหวต แบบหลายคนคาดไม่ถึงคิดว่า “ปู” จะตีกรรเชียงหนี
       
       ก็แสดงให้เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ ชินวัตร ก็เห็นตรงกันว่า ต้องแสดงภาพ ”พร้อมลุย” ให้ ส.ส.เพื่อไทย และส.ว.ทั้งหมดได้เห็นว่าไม่คิดจะหลบเลี่ยง หลีกหนี แต่พร้อมจะลุยไปด้วยกัน เพราะเชื่อมั่นว่าพรรคเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล-ส.ว. ที่ร่วมกันลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว มาตั้งแต่วาระ 1 จนถึงวาระ 3 ทำทุกอย่างถูกต้อง หากจะมีปัญหาอะไรขึ้นภายหลังก็พร้อมเผชิญหน้าด้วยกัน แบบนี้ดูแล้ว ยิ่งลักษณ์คงหวังซื้อใจพวกเดียวกันให้เห็นว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
       
       ก็อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่า หลังจากนี้พร้อมหรือยังจะเผชิญกับแรงกดดันที่จะเข้ามา กับการเร่งขอให้วินิจฉัยคดีให้เสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะให้ได้ข้อยุติก่อนที่ ยิ่งลักษณ์ จะนำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ
  • ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.

"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ปิดงานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร ปี 2556

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่ 



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง



ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 322/2556 ปิดงานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร ปี 2556
 โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานปิดงานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2556 และมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการแข่งขันด้านทักษะภาษาอังกฤษ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม

 
รมว.ศธ.กล่าวว่า การรวมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของ 10 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นความมุ่งมั่นและความตั้งใจเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ปีนี้เป็นปีแห่งการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยเน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงทุกด้าน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โครงการนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษในการสื่อสารและหาความรู้ด้วยตัวเอง และควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนของชาติต่อไป
การเรียนภาษาอังกฤษมีความจำเป็นต่อเยาวชนของไทย โดยโครงการนี้มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นการส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยมีทั้งการแข่งขันการพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชน (Public Speaking) และการแข่งขันสะกดคำภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาความสามารถและทำให้เยาวชนเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ ศธ.ที่ได้มีการจัดเสวนาเรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อตั้งเป้าหมายให้เยาวชนมีความรู้สมรรถนะและทักษะที่สูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียนแต่ละกลุ่มด้วย
    
 
งานมหกรรมอาเซียนสัญจร 4 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2556 จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ บริติช เคานซิล และโครงการ Go Global with English มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงศักยภาพด้านภาษาอังกฤษในทุกทักษะ ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ คือ 1) การจัด Workshop และการแข่งขันพูดภาษาอังกฤษในที่ชุมชน 2) การจัด Workshop และการแข่งขันการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ 3) การแข่งขันสะกดคำภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 4) การจัดสถานีกิจกรรมฐานความรู้สู่ประชาคมอาเซียน
ทั้งนี้ ศธ.ได้ดำเนินโครงการฯ แล้วจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1     ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24-25 ก.ค. 2556 ที่กรุงเทพฯ
- ครั้งที่ 2     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 8-10 ส.ค. 2556 ที่ จ.ขอนแก่น
- ครั้งที่ 3     ภาคใต้ เมื่อวันที่ 22-24 ส.ค. 2556 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี
- ครั้งที่ 4     ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 6-7 ก.ย. 2556 ที่ จ.ลำปาง

 
 
 
 
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
โดยได้คัดเลือกนักเรียนจากทุกภูมิภาค เพื่อเข้าร่วมแข่งขันทักษะภาษาอังกฤษรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 308 คน จาก 79 โรงเรียน ซึ่งนักเรียนที่ชนะเลิศการแข่งขันลำดับที่ 1 จะได้รับทุนการศึกษาเพื่อไปฝึกอบรมภาษาอังกฤษที่ประเทศอังกฤษ จำนวน 4 รางวัล นักเรียนที่ชนะเลิศลำดับที่ 2 จะได้รับทุนการศึกษาดูงานด้านวิชาการและวัฒนธรรมที่ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 4 รางวัล และนักเรียนที่ชนะเลิศลำดับที่ 3 จะได้รับรางวัล Mini iPad จำนวน 4 รางวัล ทั้งนี้ นักเรียนทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะได้รับเกียรติบัตรจาก ศธ.
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี


"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่ 



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง



ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA
 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการประเมินตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA โดยมี ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก นักวิชาการ เข้าร่วมกว่า 50 คน จัดโดยสถาบันส่งเสริมเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556

 
 รมว.ศธ. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้ประเทศฟินแลนด์อยู่ในอันดับ 1 ของการทดสอบ PISA ซึ่งดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ของประเทศสมาชิกและประเทศที่เข้าร่วมโครงการกว่า 90ของเขตเศรษฐกิจโลก และจากการหารือกับฝ่ายการจัดการศึกษาของฟินแลนด์ด้วยตนเอง พบว่าฟินแลนด์ไม่สนใจการทดสอบของ PISA มาก่อน แต่เมื่อเข้ามาทดสอบก็ได้ที่หนึ่ง รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ไม่เคยทดสอบมาก่อนเช่นกัน แต่ก็เป็นที่ 1ในทั้ง 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าจีนน่าจะเตรียมการเพื่อทดสอบมาบ้าง
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก OECD มีความตั้งใจและให้ความสนใจกับการทดสอบของ PISA แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งเป้าหมายต่อทั้งระบบการศึกษา ดังนั้นจึงต้องการจะตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดในเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อเป็นแนวทางการจัดการศึกษาทั้งระบบให้มีคุณภาพ
 จากคำกล่าวของ ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ  ที่ว่าการศึกษาประเทศใดดี ก็จะทำให้ให้ผลการทดสอบPISA ดีไปด้วย เป็นแนวคิดที่ดีที่ ศธ.จะนำมาดำเนินการจัดการศึกษาให้ดี เพื่อให้ผลการทดสอบ PISA ดีด้วย ซึ่งก็เป็นเป้าหมายที่ได้ประกาศเป็นนโยบายด้วยว่า จะเลื่อนอันดับการทดสอบ PISA ให้สูงขึ้น หวังจะให้เกิดการถอดบทเรียนประสบการณ์จากการเลื่อนอันดับ PISA นำไปสู่การปรับปรุงการจัดการศึกษาทั้งระบบให้ดีขึ้น เพราะ PISA วัดในเรื่องที่นักการศึกษาเองก็เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็คือ การอ่านเข้าใจ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่เราจะไม่มุ่งไปสู่การติวเข้มข้นเหมือนการเตรียมเด็กไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนทำเช่นนั้น คือ ใช้วิธีติวเข้มให้กับเด็กที่จะทดสอบ PISA ซึ่งเป็นเด็กจากเมืองเซี่ยงไฮ้ที่มีอันดับการศึกษาอยู่ในอันดับต้นๆ ของจีน รวมทั้งจะไม่ใช้วิธีส่งเฉพาะเด็กเก่งๆ เข้าไปทดสอบ
 อย่างไรก็ตาม มีความหวังให้การเลื่อนอันดับทดสอบ PISA เกิดการเรียนรู้ข้อสอบ PISA เพื่อเกิดวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความรู้จากข้อสอบ ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สสวท. ที่ให้จัดทำแบบทดสอบลักษณะเดียวกับ PISA จากง่ายไปหายาก มีการวิเคราะห์ผลสอบของเด็กว่าทำข้อสอบข้อใดไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร และครูจะต้องสอนอะไรอย่างไร รวมทั้งจะเชื่อมโยงไปยังหลักสูตรว่ามีและสอนสิ่งเหล่านี้อยู่หรือไม่ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ที่เด็กของเขาสามารถตอบข้อสอบ PISA ได้ในข้อที่เด็กประเทศอื่นๆ ตอบไม่ได้ เพราะญี่ปุ่นมีการวิเคราะห์ข้อสอบ ผลการทดสอบ และบรรจุความรู้ของข้อสอบข้อนั้นในหลักสูตรและวิชาเรียนของญี่ปุ่น ทำให้เด็กญี่ปุ่นเกิดความคุ้นเคยกับข้อสอบและมีความรู้ที่จะสามารถตอบคำถามข้อนั้น
 ศธ.ต้องการให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบและผลทดสอบ โดยหวังผลเป็นสำคัญเพื่อให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น จึงฝากให้คิดว่าวิธีการและกระบวนการขับเคลื่อนที่จะสามารถให้เกิดการเรียนรู้ทั้งระบบโดยเร็ว รวมพลังทุกภาคส่วนของ ศธ.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทั้งระบบทั่วประเทศ เห็นความสำคัญและเข้าร่วมการทดสอบ PISA ซึ่งเชื่อว่าระบบการศึกษาไทยมีบุคลากรและหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายต่อไป
  
 
 

 ดร.สุนีย์ คล้ายนิล National Project Manager โครงการ PISA ประเทศไทย ได้นำเสนอปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จในการทดสอบ PISA ดังนี้
  •  ระบบโรงเรียนที่สามารถจัดให้นักเรียนมีโอกาสทางการเรียนเท่าเทียมกัน ไม่ว่านักเรียนจะมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจ-สังคมอย่างไร เช่น ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีการแบ่งแยกภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของนักเรียน และมีนักเรียนที่สถานะทางสังคมต่างกันอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ในขณะที่โรงเรียนไทยมีการแบ่งกลุ่มตามภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน โดยมีค่าดัชนีเฉลี่ยของสถานะทางสังคมและวัฒนธรรมของโรงเรียนกลุ่มสูงและต่ำ มีค่าความแตกต่างเฉลี่ย 1.76 ซึ่งไม่มีประเทศสมาชิก OECD ใดมีความแตกต่างสูงเช่นนี้
  •  ให้อำนาจอิสระแก่โรงเรียนในด้านการกำหนดการเรียนการสอนและออกแบบการประเมินผลได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องให้โรงเรียนแข่งขันกันรับนักเรียน กล่าวคือ โรงเรียนที่มีอำนาจอิสระในด้านเนื้อหาที่จะสอน วิธีการวัดประเมินผล และมีอิสระในการตัดสินใจเรื่องการจัดหาทรัพยากรโรงเรียน นักเรียนจะมีแนวโน้มผลการประเมินสูงกว่า โรงเรียนที่สามารถตรวจสอบได้ มีการประกาศผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ นักเรียนมีแนวโน้มผลการประเมินที่สูง ทั้งนี้ ประเทศที่สร้างบรรยากาศของการแข่งขันสูงในการรับนักเรียนไม่ได้มีผลการประเมินสูง โรงเรียนดีๆ ที่แข่งขันรับนักเรียนได้มาก แม้ผลการประเมินของโรงเรียนจะสูง แต่ผลรวมของทั้งประเทศมีแนวโน้มของคะแนนต่ำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีบรรยากาศของการแข่งขันรับนักเรียนสูงมาก มีการสอบคัดเลือกและรับมอบตัวในวันเดียวกัน เป็นการตัดโอกาสไม่ให้นักเรียนและพ่อแม่มีทางเลือกโรงเรียนที่หลากหลาย
  •  ในประเทศสมาชิก OECD ส่วนใหญ่โรงเรียนเอกชนมีผลการประเมินสูงกว่าโรงเรียนของรัฐ แต่หลังจากอธิบายด้วยเหตุผลทางภูมิหลัง เศรษฐกิจ สังคม และประชากรศาสตร์ของโรงเรียนและนักเรียนแล้ว พบว่า ผลการประเมินนักเรียนโรงเรียนของรัฐสูงกว่าโรงเรียนเอกชน ส่วนประเทศไทยโรงเรียนของรัฐสูงกว่าเอกชนทั้งก่อนและหลังอธิบายด้วยตัวแปรภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประเทศไทยพ่อแม่ส่วนใหญ่นิยมเลือกโรงเรียนของรัฐ และทำให้ผลการประเมินนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่สูงกว่าโรงเรียนเอกชนอยู่แล้ว ยิ่งสูงยิ่งขึ้น
  •  พ่อแม่ต้องการเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพทางวิชาการมากกว่าความช่วยเหลือทางการเงิน ในขณะที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมาตรการการช่วยเหลือทางการเงินเป็นอันดับแรก
  •  มีการกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงและการใช้จ่ายมักให้ลำดับความสำคัญกับเงินเดือนมากกว่าทำชั้นเรียนขนาดเล็ก  สำหรับประเทศไทย ครูมีเงินเดือนไม่สูง แต่ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่ ครูดีๆ มีคุณภาพมีอยู่เฉพาะในโรงเรียนดีๆ ที่มีผลทางวิชาการสูง ส่วนครูในโรงเรียนยากจน ต้องแบกภาระงานนอกเหนือจากการสอน เพราะทรัพยากรบุคคลมีจำกัด จึงเกิดความแตกต่างจากโรงเรียนที่มีเศรษฐกิจดีในช่องว่างที่กว้างมาก เป็นการบ่งบอกถึงความไม่เสมอภาคในการกระจายทรัพยากร
  •  โรงเรียนมีบรรยากาศทางระเบียบวินัยดี นักเรียนและครูมีพฤติกรรมทางบวกและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับครู ซึ่งมีแนวโน้มที่มีคะแนนการอ่านสูง สำหรับนักเรียนไทย มีรายงานถึงระเบียบวินัยที่ดี และอยู่ในอันดับต้นๆ แต่กลับไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนหรือมีความสัมพันธ์แบบกลับกัน
  
  
 
ภาพ สถาพร ถาวรสุข

 ดร.ปรีชา ชิวปรีชา ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เสนอแนวทางการสร้างความพร้อมประเทศไทยในการเข้าร่วมโครงการ PISA ครั้งที่ 6 ในปี 2558 และครั้งที่ 7 ในปี 2561 โดยใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ดังนี้
  •  พัฒนาสื่อ แบบฝึกหัด สำหรับใช้พัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้ครูนำไปใช้ และมีการพัฒนาเพิ่มเติมในปีต่อๆ ไป
  •  ในระยะเร่งด่วน (ปีการศึกษา 2557) ให้ส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำข้อสอบกลางตามแนวการทดสอบ PISA สำหรับให้โรงเรียนนำไปสอบปลายภาคกับนักเรียนในบางรายวิชาในสัดส่วน 10-30% ส่วนที่เหลือเป็นข้อสอบที่โรงเรียนสร้างขึ้น
  •  สร้างนักสร้างข้อสอบ เครื่องมือประเมินผลการเรียนประจำเขตพื้นที่การศึกษา ประจำโรงเรียน และสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างข้อสอบ เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ประจำส่วนกลาง  โดยในส่วนเขตพื้นที่การศึกษา ให้คัดเลือกศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา และครูในเขตพื้นที่การศึกษา มาฝึกอบรมอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง เพื่อทำให้หน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ อย่างน้อยเขตละ 9 ราย  ในส่วนโรงเรียน ส่งเสริมให้เขตพื้นที่การศึกษาพัฒนารองผู้อำนวยการวิชาการและครูอาวุโส โรงเรียนละ 2-3 ราย และในส่วนกลาง ซึ่งอาจจะประกอบด้วย สพฐ. สสวท. สถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีผลงานด้านนี้
  •  ศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบของโรงเรียนในประเทศ ศึกษาวิธีวัดและประเมินผลในการเลื่อนชั้นเรียนและการจบช่วงชั้นของนานาประเทศ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี


"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่ 



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 323/2556 ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA
 โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการประเมินตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA โดยมี ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก นักวิชาการ เข้าร่วมกว่า 50 คน จัดโดยสถาบันส่งเสริมเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556

 
 รมว.ศธ. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้ประเทศฟินแลนด์อยู่ในอันดับ 1 ของการทดสอบ PISA ซึ่งดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ของประเทศสมาชิกและประเทศที่เข้าร่วมโครงการกว่า 90ของเขตเศรษฐกิจโลก และจากการหารือกับฝ่ายการจัดการศึกษาของฟินแลนด์ด้วยตนเอง พบว่าฟินแลนด์ไม่สนใจการทดสอบของ PISA มาก่อน แต่เมื่อเข้ามาทดสอบก็ได้ที่หนึ่ง รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ไม่เคยทดสอบมาก่อนเช่นกัน แต่ก็เป็นที่ 1ในทั้ง 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าจีนน่าจะเตรียมการเพื่อทดสอบมาบ้าง
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก OECD มีความตั้งใจและให้ความสนใจกับการทดสอบของ PISA แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งเป้าหมายต่อทั้งระบบการศึกษา ดังนั้นจึงต้องการจะตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดในเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อเป็นแนวทางการจัดการศึกษาทั้งระบบให้มีคุณภาพ
 จากคำกล่าวของ ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ  ที่ว่าการศึกษาประเทศใดดี ก็จะทำให้ให้ผลการทดสอบPISA ดีไปด้วย เป็นแนวคิดที่ดีที่ ศธ.จะนำมาดำเนินการจัดการศึกษาให้ดี เพื่อให้ผลการทดสอบ PISA ดีด้วย ซึ่งก็เป็นเป้าหมายที่ได้ประกาศเป็นนโยบายด้วยว่า จะเลื่อนอันดับการทดสอบ PISA ให้สูงขึ้น หวังจะให้เกิดการถอดบทเรียนประสบการณ์จากการเลื่อนอันดับ PISA นำไปสู่การปรับปรุงการจัดการศึกษาทั้งระบบให้ดีขึ้น เพราะ PISA วัดในเรื่องที่นักการศึกษาเองก็เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็คือ การอ่านเข้าใจ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่เราจะไม่มุ่งไปสู่การติวเข้มข้นเหมือนการเตรียมเด็กไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนทำเช่นนั้น คือ ใช้วิธีติวเข้มให้กับเด็กที่จะทดสอบ PISA ซึ่งเป็นเด็กจากเมืองเซี่ยงไฮ้ที่มีอันดับการศึกษาอยู่ในอันดับต้นๆ ของจีน รวมทั้งจะไม่ใช้วิธีส่งเฉพาะเด็กเก่งๆ เข้าไปทดสอบ
 อย่างไรก็ตาม มีความหวังให้การเลื่อนอันดับทดสอบ PISA เกิดการเรียนรู้ข้อสอบ PISA เพื่อเกิดวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความรู้จากข้อสอบ ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สสวท. ที่ให้จัดทำแบบทดสอบลักษณะเดียวกับ PISA จากง่ายไปหายาก มีการวิเคราะห์ผลสอบของเด็กว่าทำข้อสอบข้อใดไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร และครูจะต้องสอนอะไรอย่างไร รวมทั้งจะเชื่อมโยงไปยังหลักสูตรว่ามีและสอนสิ่งเหล่านี้อยู่หรือไม่ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ที่เด็กของเขาสามารถตอบข้อสอบ PISA ได้ในข้อที่เด็กประเทศอื่นๆ ตอบไม่ได้ เพราะญี่ปุ่นมีการวิเคราะห์ข้อสอบ ผลการทดสอบ และบรรจุความรู้ของข้อสอบข้อนั้นในหลักสูตรและวิชาเรียนของญี่ปุ่น ทำให้เด็กญี่ปุ่นเกิดความคุ้นเคยกับข้อสอบและมีความรู้ที่จะสามารถตอบคำถามข้อนั้น
 ศธ.ต้องการให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบและผลทดสอบ โดยหวังผลเป็นสำคัญเพื่อให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น จึงฝากให้คิดว่าวิธีการและกระบวนการขับเคลื่อนที่จะสามารถให้เกิดการเรียนรู้ทั้งระบบโดยเร็ว รวมพลังทุกภาคส่วนของ ศธ.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทั้งระบบทั่วประเทศ เห็นความสำคัญและเข้าร่วมการทดสอบ PISA ซึ่งเชื่อว่าระบบการศึกษาไทยมีบุคลากรและหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายต่อไป
  
 
 

 ดร.สุนีย์ คล้ายนิล National Project Manager โครงการ PISA ประเทศไทย ได้นำเสนอปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จในการทดสอบ PISA ดังนี้
  •  ระบบโรงเรียนที่สามารถจัดให้นักเรียนมีโอกาสทางการเรียนเท่าเทียมกัน ไม่ว่านักเรียนจะมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจ-สังคมอย่างไร เช่น ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีการแบ่งแยกภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของนักเรียน และมีนักเรียนที่สถานะทางสังคมต่างกันอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ในขณะที่โรงเรียนไทยมีการแบ่งกลุ่มตามภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน โดยมีค่าดัชนีเฉลี่ยของสถานะทางสังคมและวัฒนธรรมของโรงเรียนกลุ่มสูงและต่ำ มีค่าความแตกต่างเฉลี่ย 1.76 ซึ่งไม่มีประเทศสมาชิก OECD ใดมีความแตกต่างสูงเช่นนี้
  •  ให้อำนาจอิสระแก่โรงเรียนในด้านการกำหนดการเรียนการสอนและออกแบบการประเมินผลได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องให้โรงเรียนแข่งขันกันรับนักเรียน กล่าวคือ โรงเรียนที่มีอำนาจอิสระในด้านเนื้อหาที่จะสอน วิธีการวัดประเมินผล และมีอิสระในการตัดสินใจเรื่องการจัดหาทรัพยากรโรงเรียน นักเรียนจะมีแนวโน้มผลการประเมินสูงกว่า โรงเรียนที่สามารถตรวจสอบได้ มีการประกาศผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ นักเรียนมีแนวโน้มผลการประเมินที่สูง ทั้งนี้ ประเทศที่สร้างบรรยากาศของการแข่งขันสูงในการรับนักเรียนไม่ได้มีผลการประเมินสูง โรงเรียนดีๆ ที่แข่งขันรับนักเรียนได้มาก แม้ผลการประเมินของโรงเรียนจะสูง แต่ผลรวมของทั้งประเทศมีแนวโน้มของคะแนนต่ำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีบรรยากาศของการแข่งขันรับนักเรียนสูงมาก มีการสอบคัดเลือกและรับมอบตัวในวันเดียวกัน เป็นการตัดโอกาสไม่ให้นักเรียนและพ่อแม่มีทางเลือกโรงเรียนที่หลากหลาย
  •  ในประเทศสมาชิก OECD ส่วนใหญ่โรงเรียนเอกชนมีผลการประเมินสูงกว่าโรงเรียนของรัฐ แต่หลังจากอธิบายด้วยเหตุผลทางภูมิหลัง เศรษฐกิจ สังคม และประชากรศาสตร์ของโรงเรียนและนักเรียนแล้ว พบว่า ผลการประเมินนักเรียนโรงเรียนของรัฐสูงกว่าโรงเรียนเอกชน ส่วนประเทศไทยโรงเรียนของรัฐสูงกว่าเอกชนทั้งก่อนและหลังอธิบายด้วยตัวแปรภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประเทศไทยพ่อแม่ส่วนใหญ่นิยมเลือกโรงเรียนของรัฐ และทำให้ผลการประเมินนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่สูงกว่าโรงเรียนเอกชนอยู่แล้ว ยิ่งสูงยิ่งขึ้น
  •  พ่อแม่ต้องการเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพทางวิชาการมากกว่าความช่วยเหลือทางการเงิน ในขณะที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมาตรการการช่วยเหลือทางการเงินเป็นอันดับแรก
  •  มีการกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงและการใช้จ่ายมักให้ลำดับความสำคัญกับเงินเดือนมากกว่าทำชั้นเรียนขนาดเล็ก  สำหรับประเทศไทย ครูมีเงินเดือนไม่สูง แต่ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่ ครูดีๆ มีคุณภาพมีอยู่เฉพาะในโรงเรียนดีๆ ที่มีผลทางวิชาการสูง ส่วนครูในโรงเรียนยากจน ต้องแบกภาระงานนอกเหนือจากการสอน เพราะทรัพยากรบุคคลมีจำกัด จึงเกิดความแตกต่างจากโรงเรียนที่มีเศรษฐกิจดีในช่องว่างที่กว้างมาก เป็นการบ่งบอกถึงความไม่เสมอภาคในการกระจายทรัพยากร
  •  โรงเรียนมีบรรยากาศทางระเบียบวินัยดี นักเรียนและครูมีพฤติกรรมทางบวกและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับครู ซึ่งมีแนวโน้มที่มีคะแนนการอ่านสูง สำหรับนักเรียนไทย มีรายงานถึงระเบียบวินัยที่ดี และอยู่ในอันดับต้นๆ แต่กลับไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนหรือมีความสัมพันธ์แบบกลับกัน
  
  
 
ภาพ สถาพร ถาวรสุข

 ดร.ปรีชา ชิวปรีชา ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เสนอแนวทางการสร้างความพร้อมประเทศไทยในการเข้าร่วมโครงการ PISA ครั้งที่ 6 ในปี 2558 และครั้งที่ 7 ในปี 2561 โดยใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ดังนี้
  •  พัฒนาสื่อ แบบฝึกหัด สำหรับใช้พัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้ครูนำไปใช้ และมีการพัฒนาเพิ่มเติมในปีต่อๆ ไป
  •  ในระยะเร่งด่วน (ปีการศึกษา 2557) ให้ส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำข้อสอบกลางตามแนวการทดสอบ PISA สำหรับให้โรงเรียนนำไปสอบปลายภาคกับนักเรียนในบางรายวิชาในสัดส่วน 10-30% ส่วนที่เหลือเป็นข้อสอบที่โรงเรียนสร้างขึ้น
  •  สร้างนักสร้างข้อสอบ เครื่องมือประเมินผลการเรียนประจำเขตพื้นที่การศึกษา ประจำโรงเรียน และสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างข้อสอบ เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ประจำส่วนกลาง  โดยในส่วนเขตพื้นที่การศึกษา ให้คัดเลือกศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา และครูในเขตพื้นที่การศึกษา มาฝึกอบรมอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง เพื่อทำให้หน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ อย่างน้อยเขตละ 9 ราย  ในส่วนโรงเรียน ส่งเสริมให้เขตพื้นที่การศึกษาพัฒนารองผู้อำนวยการวิชาการและครูอาวุโส โรงเรียนละ 2-3 ราย และในส่วนกลาง ซึ่งอาจจะประกอบด้วย สพฐ. สสวท. สถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีผลงานด้านนี้
  •  ศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบของโรงเรียนในประเทศ ศึกษาวิธีวัดและประเมินผลในการเลื่อนชั้นเรียนและการจบช่วงชั้นของนานาประเทศ

    ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.

"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

แนวนโยบายภาครัฐต่อการแก้ปัญหาโรงเรียนเอกชนอย่างยั่งยืน

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่ 



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง



ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 321/2556 แนวนโยบายภาครัฐต่อการแก้ปัญหาโรงเรียนเอกชนอย่างยั่งยืน
 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต – นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษเรื่อง "แนวนโยบายภาครัฐต่อการแก้ปัญหาโรงเรียนเอกชนอย่างยั่งยืน" ในการสัมมนาคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร และคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาการศึกษา การส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เรื่องทางออกกับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบการศึกษาเอกชนอย่างยั่งยืน  เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2556  ที่ห้องประชุมรักตะกนิษฐ 2

 
 รมว.ศธ.กล่าวแสดงความชื่นชมการจัดประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ที่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้จัดการศึกษาเอกชน เพื่อนำไปปรับใช้กับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งในส่วนของ ศธ.ก็ได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของภาคเอกชนแล้วเช่นกัน พร้อมจะนำความคิดเห็นไปปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นและปัญหาที่เกิดขึ้น
 ในส่วนของการจัดการศึกษาเอกชน นับว่าเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของเอกชนในการจัดการศึกษาอย่างมาก ทำให้เอกชนสามารถจัดการได้ดีมีคุณภาพ และเอกชนเองก็มีทรัพยากรที่ดี ไม่ใช่เฉพาะอาคารสถานที่เท่านั้น แต่หมายถึงทรัพยากรบุคคล ครูอาจารย์ เจ้าของโรงเรียน ที่เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และที่สำคัญคือมีใจรักและมีความเสียสละ
Follow us on Twitter


 More Resources
 ข่าวล่าสุดของ รมว.ศธ.
 เกี่ยวกับ สป.


318 มอบนโยบาย อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ภาคีสาน
307 มอบนโยบาย อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ภาคเหนือ
306 สมาคมครูจีน (ประเทศไทย) เข้าพบ รมว.ศธ.
288 บรรยาย นบส.ศธ.รุ่น 3
286 Workshop ยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชน
283 ปรับหลักเกณฑ์อุดหนุน รร.ชายแดนใต้
282 มอบนโยบาย อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ภาคใต้
279 ผลประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ 8/2556
268 รร.อัสสัมชัญหารือเรื่องสารตราตั้ง
264 มอบนโยบาย อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา
  
 

Bookmark and Share
แต่ในระยะหลังมานี้ ภาครัฐทุ่มเทงบประมาณและให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาของภาครัฐมากกว่าภาคเอกชน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับการจัดการศึกษาของภาคเอกชน จึงเกิดเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาด้านต่างๆ เช่น ครูย้ายไปอยู่โรงเรียนของรัฐ ความสนใจของผู้เรียนลดลง การเพิ่มจำนวนโรงเรียนเอกชนอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อได้พิจารณาภาพรวมของทิศทางการพัฒนาประเทศแล้ว ทำให้เห็นว่าเราจำเป็นต้องส่งเสริมให้การจัดการศึกษาของเอกชนมีบทบาทมากขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศในอนาคต
 
 
สำหรับนโยบายปัจจุบัน ศธ.ได้เร่งดำเนินการเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาเอกชนในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การเพิ่มเงินเดือนรายได้ 15,000 บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี โดยจะเร่งให้สามารถเข้าสู่การพิจารณาได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้ นอกจากนี้ ศธ.ได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรหลัก เพื่อศึกษาและรวบรวมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณในด้านต่างๆ พร้อมทั้งจะประชุมหารือร่วมกับรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เพื่อเร่งดำเนินการเรื่องต่างๆ ตามความจำเป็นให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งรวมถึงการนำเรื่องของมาตรการด้านภาษีไปพิจารณาด้วย
ส่วนประเด็นสำคัญ คือ การปรับปรุงกฎระเบียบและขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาเอกชนนั้น ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อศึกษาและรวบรวมปัญหาอุปสรรคต่างๆ เช่น ระเบียบเงินอุดหนุนรายหัว การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้ขยายคำนิยามเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้กว้างขึ้น เพื่อสามารถใช้งบประมาณได้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา คือ การขอเพิ่มสัดส่วนบุคลากรของกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้สอดคล้องกับจำนวนโรงเรียนเอกชนในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งได้หารือหลักการกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคนใหม่แล้ว ก็มีความเข้าใจและเห็นด้วยว่า บุคลากรในกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชนควรมีจำนวนเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่สอดคล้องกับภาระงานในพื้นที่ที่มีโรงเรียนและนักเรียนเอกชน
 
 
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
นอกจากนี้ รมว.ศธ.ได้ฝากให้โรงเรียนเอกชนร่วมผลักดันการปฏิรูปการศึกษาตาม 8 นโยบายด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งต้องขอแสดงความขอบคุณโรงเรียนเอกชนที่ได้มีการจัดประชุมเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและช่วยคิดหาแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายทั้ง 8 ข้อ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะประกอบ โดยย้ำว่ากระบวนการปฏิรูปการศึกษาจะต้องดำเนินการร่วมทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับ ทั้งในการจัดการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ ซึ่งการศึกษาเอกชนมีตัวอย่างที่ดีและตัวแบบที่ดีจำนวนมาก มีองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่ดีที่ ศธ.จะนำมาปรับใช้ในระบบการศึกษา รวมทั้งจะเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของภาคราชการ จากการกำหนดและควบคุม เป็นการช่วยสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของภาคเอกชนมากขึ้น ในส่วนภาครัฐมีหน้าที่ในการดูแลคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องมีตัวชี้วัดคุณภาพ และระบบการประเมินผลการศึกษา แต่จะจัดการศึกษาอย่างไร วิธีการและกระบวนการต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริมให้มีการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีการใช้ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถและประสบการณ์ที่ต่างกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป
สำหรับข้อเสนอเกี่ยวกับการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนในสถานศึกษาเอกชนในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากปัจจุบันร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2559 นั้น รมว.ศธ.กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายมาก่อน จึงถือเป็นเรื่องที่ต้องรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ได้วิธีปฏิบัติที่ดี แต่ในทิศทางนโยบายการศึกษาที่ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาโดยเอกชน ซึ่งได้ย้ำมาโดยตลอดว่าต้องส่งเสริมภาคเอกชนให้มีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นข้อเสนอเพิ่มสัดส่วนในเชิงหลักการ ไม่ขัดข้องและยินดีที่จะส่งเสริมให้เกิดขึ้น แต่เรื่องวิธีการนั้น จะต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างชัดเจน รวมทั้งช่วยคิดวิธีการสร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการยอมรับได้ ซึ่งมาตรการและวิธีการที่เสนอด้วยนั้น ได้ผ่านการคิดในเชิงบริหารจัดการและทรัพยากรมาระดับหนึ่งแล้ว จากนี้ไปขอให้ช่วยคิดต่ออย่างจริงจัง โดย ศธ.จะมอบหมายผู้แทนมาช่วยคิด เพื่อจะได้กำหนดเป็นมาตรการและนโยบายต่อไป
ทั้งนี้ ขอให้ใช้เวทีสัมมนา เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และช่วยรวบรวมประเด็นต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่ต้องการให้ ศธ.ช่วยเหลือ แก้ไข ปรับปรุง เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้มอบหมายผู้ที่เกี่ยวข้องผลักดันแก้ไขเรื่องต่างๆ ให้ได้ผลโดยเร็วและยั่งยืนต่อไป
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี


"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม