หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย - ผอ.รร.- ผอ.เขต ใหม่

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด


ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อ ความรอบรู้ทั่วไป



ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่







ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 27/2557 ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 1/2557

ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 29 มกราคม2557 ณ ห้องประชุมโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี


  • การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2557

ที่ประชุมเห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยมีสาระสำคัญ คือ
  • ให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาจัดสอบเอง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด อาจรวมกลุ่มออกข้อสอบ หรือให้มหาวิทยาลัยราชภัฏมาช่วยออกข้อสอบในภาค ข. ได้
  • ผู้สมัครมีสิทธิ์สมัครสอบได้หลายแห่ง
  • ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน (วันที่อนุมัติปริญญาบัตร) ในวันที่รับสมัครวันสุดท้ายได้
  • ให้ดำเนินการสอบภาค ก. และ ข. ก่อน หากผ่านจึงจะมีสิทธิ์สอบภาค ค.
  • การสอบภาค ก.(150 คะแนน) และ ค. (50 คะแนน) เหมือนการสอบครั้งที่ผ่านมา เปลี่ยนเฉพาะภาค ข.(ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)150 คะแนน ซึ่งเน้นหลักการสอนที่เน้นการสอนคิดวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • สาขาวิชาที่เปิดสอบในแต่ละเขตพื้นที่ฯ ขอให้เขตพื้นที่การศึกษาสำรวจข้อมูล เพื่อเปิดสอบในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่ขาดแคลน ตามภาพรวมของประเทศด้วย
  • การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ที่ประชุมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และหลักสูตรการสอบคัดเลือกผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา โดยมีสาระสำคัญ เช่น
  • จำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกทั้ง 2 กลุ่ม ให้คัดเลือกไว้ไม่เกิน 2 เท่าของตำแหน่งว่างที่ ก.ค.ศ.กำหนด หรือเท่ากับจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
  • หลักสูตรการคัดเลือก สอบภาค ก. ข. ค. แยกเป็น
กลุ่มทั่วไป (กลุ่มสอบคัดเลือก) คะแนนเต็มรวม 400 คะแนน แยกเป็นภาค ก. 100 คะแนน ภาค ข. 100 คะแนน ภาค ค. 200 คะแนน
กลุ่มประสบการณ์ (กลุ่มคัดเลือก) คะแนนเต็มรวม 300 คะแนน แยกเป็นภาค ก. 100 คะแนน ภาค ข. 200 คะแนน
  • เห็นควรเทียบประสบการณ์การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการประถมศึกษา/มัธยมศึกษา ไว้ในหลักเกณฑ์ฯ ซึ่งการสอบครั้งนี้จะครอบคลุมถึงผู้ดำรงตำแหน่ง หรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ เป็นต้นไป รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษา อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยไม่ปิดกั้นการสอบข้ามเขตระหว่างผู้บริหารสายประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา
  
  
  • ความก้าวหน้ากรณีการใช้ตำแหน่งว่างที่เหลือจากการบรรจุและแต่งตั้งผู้ผ่านเกณฑ์การสรรหาให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา
ที่ประชุมพิจารณากรณีที่ ก.ค.ศ.เคยมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 ซึ่งมีมติไม่อนุมัติให้ สพฐ. ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบผ่านเกณฑ์การตัดสินร้อยละ 60 จำนวน 1,224 คน เป็นบัญชีผู้ผ่านการสรรหา เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
ที่ประชุมครั้งนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรหารือข้อมูลให้รอบคอบรัดกุม จึงมอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.เชิญผู้แทนจาก สพฐ. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. มาหารือร่วมกันโดยเร็ว ก่อนจะมีมติใดๆ ออกไป เพื่อให้เกิดความรอบคอบทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ และให้นัดประชุม ก.ค.ศ. ครั้งต่อไปเร็วขึ้นเมื่อได้ข้อสรุป เพื่อที่จะได้แจ้งให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ทราบต่อไป
  
  • การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของ ก.ค.ศ. เรื่อง การมอบอำนาจในคดีปกครอง
ที่ประชุมเห็นชอบการมอบอำนาจในคดีปกครอง โดยมอบอำนาจให้ เลขาธิการ ก.ค.ศ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อแทน ก.ค.ศ. ในการดำเนินคดีและแก้ต่างคดีปกครองแทน และให้มีอำนาจพิจารณามอบอำนาจช่วง ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการแทนได้
   
 ภาพ สถาพร ถาวรสุข 
  • การปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา ในส่วนของประสบการณ์การดำรงตำแหน่ง ดังนี้
"ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งครู และมีประสบการณ์การบริหาร ไม่น้อยกว่า 2 ปี สำหรับผู้มีวิทยฐานะครูชำนาญการ หรือไม่น้อยกว่า 1 ปี สำหรับผู้มีวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษขึ้นไป"


ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่


"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร  เพ็งลี

ประชุมคณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อกฎหมาย

ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่






ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 26/2557 ประชุมคณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา

 ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557 ณ ห้องประชุมโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
  • เห็นชอบแนวทางการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2557

ที่ประชุมเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านข้อมูลสารสนเทศประจำปี 2557 รวมถึงแบบรายการข้อมูลประจำปีการศึกษา 2557 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา ให้มีความครอบคลุมสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา โดยแผนปฏิบัติการดังกล่าว ประกอบด้วย 30 กิจกรรมหลัก
นอกจากนี้ ได้เห็นชอบ (ร่าง) รายการและรูปแบบข้อมูลรายบุคคลของนักเรียน นักศึกษา บุคลากร และข้อมูลรายสถานศึกษาและแบบจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านการศึกษาประกอบด้วยรายการและรูปแบบข้อมูลรายบุคคลของนักเรียนนักศึกษาจำนวน 63 รายการ บุคลากร 47 รายการ สถานศึกษา 47 รายการ และแบบจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านการศึกษา ประกอบด้วยแบบฟอร์มที่จัดเก็บ 27 แบบ
ที่ประชุมได้รับทราบตามที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทก.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานในที่ประชุมว่า ศทก. กำลังดำเนินการบูรณาการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ ศธ. ให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะจัดทำในรูปแบบ Single Cloud Connection Platform ซึ่งเป็นรูปแบบบูรณาการ Backbone ที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายใน 2 ระดับ คือ
 1) การเชื่อมโยงระดับ Physical ที่จะเชื่อมโยงเครือข่าย MOENet และเครือข่าย UniNet เข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย NEdNet
 2) การเชื่องโยงระดับ Logical ที่องค์กรหลักสามารถจัดทำเครือข่ายภายใน (Intranet) ได้ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระดับ Physical และเครือข่ายแกนหลักของ ศธ. (NEdNet Backbone) ด้วย
 หากดำเนินการได้สำเร็จ จะทำให้ระบบเครือข่ายเป็นระบบเดียวกันและเป็นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
      
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยการนำ ICT มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้และสร้างมาตรฐานการเรียนรู้
    (นโยบายข้อ 3 กลไกการขับเคลื่อนข้อ 4)
ศทก.ได้รายงานในที่ประชุมรับทราบถึงการดำเนินงานพัฒนาพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการศึกษาระดับกระทรวง โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศกลางของ ศธ. ที่ใช้งานในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1) ระบบตรวจสอบข้อมูลรายบุคคล
2) ระบบสารสานเทศพื้นฐานด้านการศึกษา
3) ระบบบริการสารสนเทศด้านการศึกษา (Intranet)
4) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการศึกษา
5) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการด้านการศึกษา (EIS)
6) ระบบฐานข้อมูลประชากรในวัยเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
7) ระบบมาตรฐานข้อมูลเพื่อบูรณาการระบบสารสนเทศทางการศึกษา
8) ระบบฐานข้อมูลสถานศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
นอกจากนี้ ศทก.อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (NEIS : National Education Information System) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศกลางของกระทรวงให้สามารถจัดเก็บ รวบรวม ประมวลผลข้อมูลทางการศึกษาให้มีเอกภาพและเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ พัฒนาระบบคลังข้อมูลและฐานข้อมูลกลางที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลด้านการศึกษาของประเทศ และอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อนำเสนอผ่านอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2557
  ภาพ สถาพร ถาวรสุข
  • การแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา
ที่ประชุมเห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการจำนวน 7 คนซึ่งมีผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของ ศธ. เป็นประธาน โดยมีหน้าที่ดังนี้
1) ให้คำแนะนำการดำเนินงานของสถานศึกษา หน่วยงาน ส่วนราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบนี้2) กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของ สถานศึกษา หน่วยงาน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง3) เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการเกี่ยวกับสารสนเทศด้านการศึกษา4) รายงานผลการประเมิน และผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการเพื่อทราบและดำเนินการต่อไป5) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย


ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร  เพ็งลี

ผลการประชุมคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ครั้งที่ 1/2557

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

ติวสอบออนไลน์ ชุด 


ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่






ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 25/2557 ผลการประชุมคณะกรรมการโครงการ อำเภอ ทุน ครั้งที่ 1/2557
 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี  นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโครงการ อำเภอ 1 ทุน (One District One Scholarship : ODOS) ครั้งที่ 1/2557 โดยมี ดร.กิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.สุทธศรี วงศ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 ที่ห้องประชุมกว้าง รอบคอบ โดยมีสรุปสาระสำคัญดังนี้

  • เห็นชอบแนวทางการดำเนินงาน รุ่นที่ รอบที่ 3
เนื่องจากผลการสอบคัดเลือกผู้รับทุนในรุ่นที่ มีทุนการศึกษาคงเหลือจำนวน 1,619 ทุน ภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ที่ประชุมเห็นชอบต่อแนวทางการดำเนินงานรุ่นที่ รอบที่ ซึ่งมีหลักการสำคัญ ดังนี้
1. การจัดสรรทุนให้คงไว้ตามหลักการเดิมของโครงการ อำเภอ ทุน คือ ให้ทุนการศึกษานักเรียนที่ยากจน ครอบครัวมีรายได้น้อย
2. ให้ทุนแก่ผู้ที่เรียนดี และมีความประพฤติดี
3. ให้ศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย สายสามัญ สายอาชีพ ความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา ผู้นำ ศิลปะ ดนตรีและกีฬา และสาขาวิชาที่ขาดแคลนตามความต้องการของประเทศ เป็นต้น
4. กระจายทุนที่จะจัดสรรให้ได้อย่างน้อยอำเภอละ ทุน
ที่ประชุมชี้แจงว่า เหตุที่จำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกมีจำนวนน้อย ได้ทราบจากการสอบถามผู้สอบว่าเป็นเพราะข้อสอบยาก และเกณฑ์การคัดเลือกค่อนข้างสูง คือมีการกำหนดเกณฑ์ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 สำหรับทุนประเภท ที่จะมอบให้แก่ผู้ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน แสนบาทต่อปี ได้มีผู้สมัครจำนวนมาก แต่ไม่สามารถผ่านเกณฑ์การคัดเลือกได้ เนื่องจากข้อสอบยาก และการคัดเลือกทุนประเภท 2 ที่เป็นทุนที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เรียนดี ไม่จำกัดรายได้ของครอบครัว ทำให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกส่วนใหญ่มาจากสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและสถานศึกษาขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอเกี่ยวกับนักศึกษาอาชีวศึกษาที่ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกในโครงการดังกล่าวได้ เพราะติดข้อจำกัดตามมติ ครม.ที่ได้กำหนดไว้ คือ วิธีการคัดเลือกที่ใช้ข้อสอบกลางที่มีทั้งวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และต้องให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จึงจะมีโอกาสเข้ารับการสัมภาษณ์ หากต้องการให้เด็กอาชีวศึกษาได้รับทุน จะต้องเสนอเรื่องเข้ามติ ครม.ใหม่ โดยเสนอเกณฑ์การคัดเลือกสำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษา ได้แก่ 1)ผลการเรียนต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 2) มีมีทักษะอาชีพในสาขาที่จะศึกษาต่อ 3) เป็นคนดี และ 4) มีความคิดสร้างสรรค์ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องการมากในผู้เรียนอาชีวศึกษา
ในส่วนของวิธีการคัดเลือกจะมีทั้งหมด ข้อ ซึ่งแตกต่างจากมติ ครม.เดิม คือ 1) ไม่ต้องจำกัดรายได้ เพราะเด็กอาชีวศึกษาส่วนใหญ่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว 2) ดูจังหวัดที่เรียนเป็นฐาน เรียนที่ไหนก็คัดเลือกจากที่นั่น 3) วิธีการคัดเลือกจะไม่ใช้ข้อสอบกลางที่เป็นแบบปรนัย แต่จะใช้วิธีการดูจากคะแนน GPA 4) มีการประเมินทักษะอาชีพในสาขาที่เรียน 5) ให้ผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ต้องการสมัครรับทุนทุกคนส่ง Portfolio เพื่อแสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในงานและอาชีพของตนเอง และมีความเป็นคนดีอย่างไรบ้าง 6) การสอบสัมภาษณ์
ในการคัดเลือกจะเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุดโดยไม่ดูคะแนน และจะใช้เกณฑ์กลางที่ใช้เป็นการประเมินระดับประเทศ และจะต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ผู้ที่ได้รับทุนในเรื่องภาษา วัฒนธรรมและความรู้พื้นฐานของประเทศที่จะไป ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ก็จะประสานกับประเทศที่เก่งในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อจะส่งเด็กไปศึกษาต่อ
รมว.ศธ.กล่าวว่า การที่มีผู้ผ่านการคัดเลือกและได้รับทุนเพียงหลักสิบ ต้องมาช่วยกันคิดว่าปัญหาคืออะไร เด็กที่มีฐานะยากจนจะมีศักยภาพความสามารถที่จะไปเรียนได้ไหม หากมีศักยภาพที่จะไปเรียนได้ ก็ต้องปรับปรุงหรือแก้ไขหลักเกณฑ์เพื่อให้เด็กสามารถไปเรียนได้ ในเวลานี้มีมติ ครม.ที่กำหนดว่าให้ใช้ข้อสอบกลาง และจัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งทุนประเภท และทุนประเภท ที่ไม่สามารถแยกสอบได้ ส่วนเรื่องการกำหนดให้ผู้สอบต้องสอบผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 สามารถแก้ไขได้โดยการออกข้อสอบให้ง่ายขึ้น และการออกข้อสอบจะต้องคำนึงถึงการส่งเสริมเด็กผู้มีศักยภาพที่จะเรียนได้ให้ได้ไปเรียนมากขึ้น
      
  • เห็นชอบเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวะ โดยให้เสนอ ครม.พิจารณาปรับกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการครั้งต่อไป
จากผลการดำเนินการสอบคัดเลือกผู้รับทุนในรุ่นที่ ซึ่งยังมีทุนการศึกษาคงเหลือ จำนวน 1,619 ทุน ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการอาชีวศึกษา และเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนด้านอาชีวศึกษา ที่ประชุมได้มีมติในการดำเนินการครั้งต่อไป โดยให้เน้นกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีเกณฑ์การคัดเลือกพิจารณาจากผู้ที่มีคะแนนสูงสุดของอำเภอ/เขต มีการเตรียมความพร้อมอย่างเข้มข้น และมีทีมงานดูแลและเยี่ยมนักเรียนทุนเป็นระยะ
2. กลุ่มผู้เรียนสายอาชีพ ให้ไปเรียนต่างประเทศในสาขาอาชีพที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างกำลังคนในสาขาวิชาชีพเฉพาะด้าน โดยกำหนดประเทศและสาขาวิชาที่ต้องการให้ไปศึกษา
3. กลุ่มผู้มีความสามารถเฉพาะด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อสร้างผู้นำในสาขาวิชาต่างๆ
ทั้งนี้ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะกรรมการโครงการ อำเภอ ทุน ได้รับมอบหมายจาก รมว.ศธ.ให้หารือกับสำนักนิติการ สป. เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีแล้ว จากการหารือปรากฏว่า หากต้องการปรับในเรื่องของกลุ่มเป้าหมาย จำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้ง
   
  • รับทราบผลการดำเนินโครงการ อำเภอ ทุน รุ่นที่ 1-4
ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินโครงการ อำเภอ ทุน ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ามีผู้ได้รับทุนทั้งสิ้นจำนวน 2,762 คน จำแนกเป็น รุ่นที่ 1จำนวน 921 คน รุ่นที่ จำนวน 915 คน รุ่นที่ จำนวน 689 คน รุ่นที่ จำนวน 237 คน โดยมีข้อมูลในปัจจุบันของแต่ละรุ่น ดังนี้
นักเรียนทุนรุ่นที่ 1 สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและในประเทศไทยตามระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด รวมทั้งหมด 808 คน แบ่งเป็นในประเทศไทย จำนวน 325 คน และต่างประเทศ จำนวน 483 คน มีนักเรียนพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนทุนด้วยสาเหตุต่างๆ จำนวน 46 คน และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการให้ทุนในปี 2554 มีนักเรียนที่เหลือ จำนวน 67 คน ศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัว
นักเรียนทุนรุ่นที่ 2 สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและในประเทศไทยตามระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนดแล้ว รวมทั้งหมด 735 คน แบ่งเป็นในประเทศไทย จำนวน 218 คน และต่างประเทศ จำนวน 517 คน กำลังศึกษา จำนวนทั้งหมด 149 คน แบ่งเป็นศึกษาในต่างประเทศ จำนวน 87 คน และในประเทศไทย จำนวน 62 คน มีนักเรียนพ้นสภาพการเป็นนักเรียนทุนด้วยสาเหตุต่างๆ จำนวน 31 คน และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการให้ทุนในปี 2556 มีนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 149 คน ศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัว
นักเรียนทุนรุ่นที่ 3 กำลังศึกษาอยู่จำนวน 689 คน แบ่งเป็นในประเทศไทย 152 คน และในต่างประเทศ 537 คน นักเรียนทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วได้ประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐและเอกชน กระจายตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ รวมทั้งภูมิลำเนาของนักเรียนทุน
นักเรียนทุนรุ่นที่ 4  คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประเภท คือ ทุนประเภท สำหรับผู้ที่เรียนดี มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี จำนวน 928 ทุน และทุนประเภท สำหรับผู้ที่เรียนดี ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว และให้ไปศึกษาต่อเฉพาะสาขาวิชาที่ขาดแคลนด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 928 ทุน รวมจำนวนทุนที่จัดสรรให้ทั้งหมด 1,856 ทุน การสอบคัดเลือกผู้รับทุนรุ่นที่ ได้ดำเนินการ รอบ ดังนี้
รอบที่ 1 มีผู้สอบผ่านเกณฑ์การคัดเลือกได้รับทุน จำนวน 98 คน แบ่งเป็น ทุนประเภท จำนวน 12 คน และทุนประเภท จำนวน 86 คน ต่อมามีผู้รับทุนประเภท ขอสละสิทธิ์การรับทุน คน คงเหลือผู้รับทุนประเภท จำนวน 85 คน และมีผู้รับทุนรอบที่ จำนวนทั้งหมด 97 คน
รอบที่ 2 มีผู้สอบผ่านเกณฑ์การคัดเลือกได้รับทุน จำนวน 143 คน แบ่งเป็น ทุนประเภท จำนวน 14 คน และทุนประเภท จำนวน 129 คน ต่อมามีผู้รับทุนประเภทที่ ขอสละสิทธิ์การรับทุน คน คงเหลือผู้รับทุนประเภท จำนวน 126 คน และมีผู้รับทุนรอบที่ จำนวนทั้งหมด 140 คน
รวมจำนวนผู้รับทุนรุ่นที่ ทั้งสองรอบ จำนวน 237 คน แบ่งเป็นทุนประเภท จำนวน 26 คน และทุนประเภท จำนวน 211 คน ทั้งนี้ เนื่องจากในรุ่นที่ มีจำนวนผู้รับทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้มีจำนวนทุนคงเหลือ 1,619 ทุน แบ่งเป็นทุนประเภท จำนวน 902 ทุน และทุนประเภท จำนวน 717 ทุน
  
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
ที่ประชุมแจ้งว่า เหตุที่จำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกมีจำนวนน้อย ได้ทราบจากการสอบถามผู้สอบว่าเป็นเพราะข้อสอบยาก และเกณฑ์การคัดเลือกค่อนข้างสูง คือมีการกำหนดเกณฑ์ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 สำหรับทุนประเภท ที่จะมอบให้แก่ผู้ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน แสนบาทต่อปี ได้มีผู้สมัครจำนวนมาก แต่ไม่สามารถผ่านเกณฑ์การคัดเลือกได้ เนื่องจากข้อสอบยาก และการคัดเลือกทุนประเภท 2 ที่เป็นทุนที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เรียนดี ไม่จำกัดรายได้ของครอบครัว ทำให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกส่วนใหญ่มาจากสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและสถานศึกษาขนาดใหญ่ เมื่อมีผู้ได้รับทุนแต่ละประเภทเพียงหลักสิบ จึงต้องมาช่วยกันคิดว่าปัญหาคืออะไร เด็กที่มีฐานะยากจนจะมีศักยภาพ ความสามารถที่จะไปเรียนได้ไหม หากมีศักยภาพที่จะไปเรียนได้ ก็ต้องปรับปรุงหรือแก้ไขหลักเกณฑ์อย่างไร เพื่อให้เด็กสามารถไปเรียนได้
อีกประเด็นหนึ่งคือ รายได้ของครอบครัว ซึ่งกำหนดไม่เกิน แสนบาทต่อปี เป็นจำนวนเงินที่ต่ำไปหรือไม่ อาจเพิ่มวงเงินขึ้นเพื่อให้มีผู้มาสมัครสอบได้มากขึ้น แต่จะต้องไม่ทำให้กระทบต่อคนที่มีฐานะยากจนมาก ระบบขณะนี้ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน แต่เพื่อเป็นการคัดเลือกผู้ที่จะรับทุน ดังนั้นหากมีเรื่องที่จะต้องปรับปรุง แก้ไขก็สามารถทำได้ แต่จะต้องไม่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรีที่มีอยู่แล้ว


ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร  เพ็งลี

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

สกอ.เตรียมข้อมูลการสนับสนุนโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการเฉพาะทาง

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล


ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่






สกอ.เตรียมข้อมูลการสนับสนุนโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการเฉพาะทาง 


          รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้วางแผนการสนับสนุนโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการเฉพาะทาง (Center of Excellent) จำนวน 11 ศูนย์ ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและวิจัยภายในประเทศ 25 สถาบัน โดยมีพันธกิจหลักในการผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ทรัพยากรบุคคลระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้บริการทางวิชาการแก่ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตและบริการ โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาให้ความเห็นชอบแหล่งเงินกู้ เพื่อใช้ในโครงการฯ ประมาณ 9,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 10 ปี ทั้งนี้ หากรัฐบาลชุดใหม่ให้ความเห็นชอบตามที่เสนอ คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการฯ ได้ภายในปี 2558
          "ก่อนหน้านี้ สกอ. ได้หารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โดยเห็นว่า ควรจะเสนอขออนุมัติวงเงินกู้ในส่วนงบประมาณ เพื่อการพัฒนากำลังคน อย่างไรก็ตามเรื่องการใช้โครงการเงินกู้ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะได้รับการอนุมัติจากที่ประชุม ครม.ก็ยังต้องมีการเจรจากับแหล่งเงินกู้เกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องใช้ ระยะเวลา แต่เราก็หวังไว้ว่าจะเริ่มโครงการฯได้ในปี 2558" รศ.ดร. พินิติ กล่าว.


          --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 ม.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--


ที่มา ; เว็บกระทรวงศึกษาธิการ

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่


"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร  เพ็งลี

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม