หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบ พลวัต 3 ธันวาคม 2553

ของวันที่ 3 ธันวาคม 2553

-หลักเกณฑ์การย้ายของครูมีว่าอย่างไร
ตอบ - หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2549 มี 3 กรณี
1. การย้ายกรณีปกติ (อยู่ร่วม/ดูแล/กลับลำเนา)
- การย้ายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่สมรส
- การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา
- การย้ายกลับภูมิลำเนา
2. การย้ายกรณีพิเศษ (ตาม/ป่วย/คุกคาม/ดูร้ายแรง)
- การย้ายติดตามคู่สมรส
- การย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง
- การย้ายเนื่องจากถูกคุกคามต่อชีวิต
- การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา หรือคู่สมรสที่เจ็บป่วยร้ายแรง
3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (แก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพ)
- การย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา
- การย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- เขียนย้ายได้ปีละ 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 1-15 กพ ครั้งที่ 2 1-15 สค)
- ไม่อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างเข้ม
- ไม่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลา
- ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ยื่นคำขอกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น โดย กรรมการสถานศึกษาเสนอความเห็นประกอบ
- ผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 53 คือ ผอ.รร./ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
- ไปช่วยราชการ ในสพท. ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
- ไปช่วยราชการ ต่างสพท อำนาจของเลขาธิการ สพฐ.
-หลักเกณฑ์การย้ายของผู้บริหารมีว่าอย่างไร
ตอบ - หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ.
เหมือนครู ต่างกันที่ ผู้บริหารไม่มีการย้ายติดตามคู่สมรส
- ปรับปรุงใหม่ ปี 2552 ปีละ 1 ครั้ง (เขียนย้าย 1-15 สค.)
- ดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- ย้ายสับเปลี่ยนต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน
- ไม่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อเต็มเวลา
- กรรมการสถานศึกษาให้ความเห็นประกอบ
- สพท.ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง จำนวน 9 คน ผอ.เขตเป็นประธาน
- พิจารณาย้ายไปแต่งตั้งในขนาดเดียวกันหรือข้ามได้ไม่เกิน 1 ขนาด
- ผอ.เขต สั่งย้าย โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.
โรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียน 499 คนลงมา
โรงเรียนขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียน 500 – 1,499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 1,500 - 2499 คน
โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียน 2,500 คน ขึ้นไป

นาย ประเสริฐ งามพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ก.ค.ศ.มอบหมายให้สำนักงาน ก.ค.ศ.จัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแยกงานบริหารการประถมศึกษาและการมัธยมศึกษาออกจากกัน และสอดคล้องกับการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการมัธยมศึกษา 41 ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้น นั้น หลักการของการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว คือ จะแยกกันพิจารณาอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มประถมฯและมัธยมฯ เมื่อพิจารณาย้ายกันภายในกลุ่มเสร็จแล้ว จึงจะพิจารณาย้ายข้ามกลุ่มต่อไป
เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนการย้ายจะมี 3 กรณี คือ 1.กรณีย้ายปกติ 2.ย้ายกรณีพิเศษ และ 3.ย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ โดยในการย้ายปกตินั้นจะเปิดให้ยื่นคำขอย้ายได้ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1-15 ส.ค. ของทุกปี ส่วนการพิจารณาจะมีคณะกรรมการกลั่นกรองการย้ายสายประถมฯ มี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน สายมัธยมฯ มีผู้ที่เลขาธิการ กพฐ.มอบหมายเป็นประธาน และสายงานการศึกษาพิเศษ มีรองเลขาธิการ กพฐ.เป็นประธาน เพื่อพิจารณาย้ายในสายเดียวกันโดยพิจารณาสถานศึกษาขนาดเดียวกันหรือใกล้ เคียงกัน หากพิจารณาย้ายแล้วยังมีตำแหน่งว่างเหลืออยู่จึงจะพิจารณาผู้บริหารสถาน ศึกษาที่ขอย้ายข้ามกลุ่มหรือข้ามขนาดที่ใหญ่กว่า 1 ขนาดได้ สำหรับการขอย้ายกรณีพิเศษ ให้ผู้ประสงค์ขอย้ายที่มีเหตุผลความจำเป็น เช่น ขอย้ายตามคู่สมรส ขอย้ายกลับภูมิลำเนา ขอย้ายไปดูแลบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น ยื่นคำร้องได้ตลอดทั้งปี ส่วนกรณีย้ายเพื่อประโยชน์ทางราชการยังคงยึดตามหลักการเดิม โดยการพิจารณาจะไม่แยกกลุ่มมัธยมฯ และกลุ่มประถมฯ

ที่มา โดย เดลินิวส์ วัน พุธ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 08:11 น.

ของวันที่ 2 มกราคม 2553
-ในปี 2553 กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 5 โรคที่ต้องระวังได้แก่โรคใดบ้าง
ตอบ
1.ไข้หวัดใหญ่
2.มือเท้าปาก
3.ท้องเสีย
4.ไข้เลือดออก
5.ชิคุณกุนยา
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย มีตราอะไร อยู่ด้านใด
ตอบ มุมบนซ้าย มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎ มุมบนขวามีตราผอบทอง
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย พิมพ์ข้อความว่าอย่างไร
ตอบ มุมบนซ้ายด้วยตัวหนังสือสีเหลือ Happy New Year 2010
มุมบนขวา ตัวหนังสือสีเหลือ ส.ค.ส.๒๕๕๓
-ส.ค.ส.ที่นายหลวงพระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ทรงฉลองพระองค์ด้วย
ตอบ แจ็กเก็ตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้
-สุนัขทรงเลี้ยงที่ทรงฉายใน ส.ค.ส.คือ
ตอบ คุณทองหลาง(ขวา)และคุณทองแดง(ซ้าย)
-ในส.ค.ส.มีรูปคนยิ้มบนกรอบกี่รูป
ตอบ 418 รูป

ของวันปีใหม่ 1 มกราคม 2553

-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. แก่ชาวไทย ว่าอย่างไร
ตอบ "มีปัญญารู้คิด ให้มีสติรู้ตัว ตระหนักถึงส่วนรวม เพื่อความสุขของชาติ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ส.ค.ส.ปีใหม่ 2553 แก่ชาวไทยพร้อมพระราชทานพรปีใหม่ ทรงขอบใจประชาชนที่ห่วงใยในพระอาการประชวรและอวยพรให้ชาวไทยมีความสุขกายสุข ใจ ปราศจากทุกข์โรคภัย คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้องและตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความสุขสวัสดีของชาติ ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวทั่วประเทศคึกคัก คนแห่เที่ยวทั้งเหนือใต้ออกตก ทึ่ง ส.ค.ส. ยาวที่สุดในโลก พัทยาการจราจรเป็นอัมพาต นักท่องเที่ยวทั้งไทยทั้งเทศแห่ไปนับถอยหลังสู่ปี 2010 ต้องระดมกำลังตำรวจเป็นหมื่นคนคอยรักษาความปลอดภัย ส่วนงานเคาต์ดาวน์ที่เวิลด์เทรด คนแน่นขนัดตั้งแต่หัวค่ำรอส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

นับเป็นสิริ มงคลแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส.ปี 2553 แก่ประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2552 ทั้งนี้ ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช 2553 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แจ็กเกตสีชมพูเข้ม ปักรูปคุณทองแดงที่ด้านซ้ายของพระอุระ ทับฉลองพระองค์ชั้นในสีขาว พระสนับเพลาสีกากี ฉลองพระบาทกีฬาสีเทาดำ ประทับบนพระเก้าอี้หวาย ที่ตั้งอยู่กลางสนามหญ้าและสวนดอกไม้ ทรงฉายกับคุณทองแดงและคุณทองหลาง สุนัขทรงเลี้ยง ที่นั่งเฝ้าอยู่ข้างพระเก้าอี้ทั้งสองด้าน ใต้ภาพคุณทองแดงและคุณทองหลางมีชื่อกำกับอยู่ทั้ง 2 สุนัข

ที่มุมบน ด้านซ้ายมีตราพระมหาพิชัยมงกุฎและตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า "ส.ค.ส.2553" ส่วนมุมบนด้านขวามีตราผอบทอง ถัดเข้ามามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2010 ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีชมพู ระบุวันเดือนปีว่า 2009 12 27/15:25 กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพหน้าคนเล็กๆเรียงกัน ด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ 2 แถว ด้านข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว นับรวมกันได้ 418 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม บนกรอบ ส.ค.ส.ด้านล่าง มีแถบสีชมพู บนแถบมีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 152527 ธ.ค.52 พิมพ์ที่โรงพิมพ์ สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher

โอกาสเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพรปีใหม่ 2553 แก่ปวงชนชาวไทย ความว่า ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆคน ทั้งขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่วิตกห่วงใยในการเจ็บป่วยของข้าพเจ้า และแสดงออกโดยประการต่างๆ จากใจจริง ที่จะให้ข้าพเจ้าหายเจ็บป่วยและมีความสุขสวัสดี

ความสุขสวัสดีนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่จะสำเร็จผลเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถและสติปัญญา ในการประพฤติตัวปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ในปีใหม่นี้จึงขอให้ชาวไทยทุกคน ได้ตั้งจิตตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่ ที่จะประพฤติปฏิบัติตัวปฏิบัติงานให้เต็มกำลังความสามารถ โดยมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือจะคิดจะทำสิ่งใด ต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญ จะต้องระลึกรู้โดยตระหนักว่า ประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นประโยชน์ที่แต่ละคนพึงยึดถือ เป็นเป้าหมายหลักในการประพฤติตัวและปฏิบัติงาน เพราะเป็นประโยชน์ที่ยั่งยืนแท้จริง ซึ่งทุกคนมีส่วนได้รับทั่วถึงกัน ความสุขความสวัสดีจักได้เกิดมีขึ้น ทั้งแก่บุคคล ทั้งแก่ชาติบ้านเมืองไทย ดังที่ทุกคนทุกฝ่ายตั้งใจปรารถนา

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคนให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรคภัย ให้มีความสุขกายสุขใจและความสำเร็จสมประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน

-ปีใหม่ คืออะไร
ตอบ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ” ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ประวัติความเป็นมา
วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

-ปีใหม่ 2553 ตรงกับวันใด
ตอบ วันศุกร์ที่ 1 มกราคม 2553

ของวันที่ 31 ธันวาคม 2552

-"วิทยา" ตัดสินใจไขก๊อก หมายถึงใคร
ตอบ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ตัดสินใจลาออกกรณีการทุจริตจัดซื้อตามโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข
-นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2553 มีว่าอย่างไร
ตอบ
๒๕ นโยบายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในปี ๒๕๕๓
รมว.ศธ.กล่าวว่า ในการประชุมสัมมนา ผอ.สพท.ทั่วประเทศ ขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แจ้งให้ประธานศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ๔๑ ศูนย์ทั่วประเทศ เข้าร่วมประชุมพร้อมกันทุกครั้ง
 เน้นการทำงานแบบบูรณาการ
 ถัด จากนี้ไปงานของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในส่วนภูมิภาค จะเน้นการทำงานแบบบูรณาการ โดยถือกรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑) เป็นกรอบใหญ่ที่สุดในการทำงาน ถัดลงมาคือนโยบายของรัฐบาล นโยบายของ ศธ. โดยจะมีแผนการศึกษา ๓ ระดับ คือ แผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด และแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ที่ทุกท่านจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และเพื่อให้การกำกับติดตามแผน ให้เดินไปข้างหน้า ขอให้ ผอ.สพท.เขต ๑ ทั่วประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบกำกับแผนให้เดินไปข้างหน้า ทั้งการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเอกชน และอุดมศึกษา โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นศึกษาธิการจังหวัด หรือเป็นตัวแทนของ ศธ.ของทุกหน่วยงานในจังหวัด
เหตุ ที่มีความจำเป็นจะต้องรื้อฟื้นผู้รับผิดชอบการศึกษาในลักษณะคล้ายศึกษาธิการ จังหวัดขึ้นมานี้ เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัด มิฉะนั้นจะทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นลำบาก เพราะไม่ทราบว่าใครเป็นเบอร์ ๑ เบอร์ ๒ หรือรัฐมนตรีจะสั่งการแต่ละครั้งต้องสั่งทีละแท่ง ดังนั้นในอนาคตกระบวนการคัดกรอง ผอ.สพท.เขต ๑ จะต้องมีความเป็นพิเศษเพิ่มเติมด้วย
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด เคยได้รับเรื่องร้องเรียนว่า ที่ผ่านมา ผอ.สพท.บางเขตพื้นที่การศึกษาไม่เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง แต่มอบเจ้าหน้าที่ไปเข้าร่วมประชุมแทน ดังนั้นจึงขอมอบเป็นนโยบายว่า ต่อไปนี้การประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัด ผอ.สพท.ต้องเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และทำงานในเชิงรุกมากขึ้นทุกเขตพื้นที่ และขณะนี้แผนจังหวัดได้รับการอนุมัติแล้ว ทั้งเป้าหมายร่วม ๗๐% และเป้าหมายเฉพาะจังหวัด ๓๐% ทุกคนต้องศึกษาตัวชี้วัดของเป้าหมายให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และครบถ้วน เพื่อส่วนกลางจะได้ตรวจสอบผลสัมฤทธิ์การศึกษาในจังหวัดได้
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ผู้ ตรวจราชการ ศธ.จะทำหน้าที่ ๒ ส่วน ทั้งในฐานะผู้ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และในฐานะผู้บริหารแผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด ซึ่งจะต้องรับผิดชอบผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มจังหวัดซึ่งมีตัวชี้วัดชัดเจน และเมื่อทำงานไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง หากมีความจำเป็นก็จะต้องปรับปรุงแก้ไขตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับความเป็นจริง มากขึ้น
 ปี ๒๕๕๓ เน้นผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
 ใน ปี ๒๕๕๓ จะเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้น ในส่วนของรัฐมนตรีจะให้ความสำคัญกับการตรวจราชการหรือติดตามนโยบายในทาง ปฏิบัติให้เกิดผลในแต่ละพื้นที่มากขึ้น และเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปแจ้งให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหาร สถานศึกษาในสังกัดได้รับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้สั่งการไปแล้วทุกนโยบาย เพราะถัดจากนี้ไปจะมีการติดตามความก้าวหน้าการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดที่ จะตามมา
 ใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น
รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า หากเขตพื้นที่การศึกษาใดบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือพบความไม่โปร่งใส ศธ.จะใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น
 นโยบาย ๒๕ เรื่องที่มอบไปแล้วต้องเดินหน้าทุกเรื่อง
 ใน ปี ๒๕๕๓ เป็นปีแห่งการเดินหน้าโครงการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติ ขอให้ความสำคัญกับทุกโครงการ ทั้งนโยบายที่ได้ดำเนินการไปแล้ว นโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่ หรือนโยบายใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นในปี ๒๕๕๓ ดังนั้นเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ จึงขอทบทวนให้ผู้บริหารได้รับทราบนโยบายต่างๆ ทั้ง ๒๕ เรื่อง ดังนี้
๑) การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ที่ถือเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ "๓ เสา ๓ ดี ๔ ใหม่" (๓ ดี/3D คือ Decency-Democracy-Drug-Free ส่วน ๔ ใหม่คือ สร้างคนไทยหรือผู้เรียนยุคใหม่-ครูยุคใหม่-ระบบบริหารจัดการแบบใหม่-แหล่ง เรียนรู้หรือสถานศึกษายุคใหม่)
๒) นโยบาย ๕ ฟรี คือเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ-ติวฟรี (Tutor Channel)-นมโรงเรียนฟรี-อาหารกลางวันฟรี-ผู้พิการเรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี
๓) การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยเฉพาะระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้ให้ความสนใจเป็นพิเศษที่ ศธ.จะเน้นการให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้นมากกว่าการท่องจำ มีการปรับหลักสูตรใหม่ที่จะลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาบทเรียนที่มีมากถึง ๓๐% ลง เพื่อให้เด็กเรียนหลักวิชาเท่าเดิม ไม่ต้องเรียนซ้ำซ้อนหรือจมอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะนำเวลาไปเรียนกิจกรรมนอกห้องเรียนอื่นๆ เช่น ศิลปะ กีฬา มากขึ้น นอกจากนี้เพื่อให้เด็กที่จบออกไปมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ คุณลักษณะ ๓ ดี หรือการมีหัวใจทางศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่เด็กไทยยังขาดอยู่ให้มากยิ่งขึ้น โดย สพฐ. กำลังคิดเป็นข้อๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่จะปลูกฝังเด็กไทยที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ใน อนาคต สำหรับตัวชี้วัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปีที่ในอดีตมีมากถึง ๓,๐๐๐ กว่าตัวนั้น ก็จะปรับลดเหลือเพียง ๒,๑๖๕ ตัวชี้วัด ซึ่งจะสะดวก ตรงเป้า จึงถือว่าเรื่องนี้เป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ
๔) โรงเรียนดี ๓ ระดับ คือ โรงเรียนดีระดับสากล ๕๐๐ โรง ระดับอำเภอ ๒,๕๐๐ โรง และระดับตำบล ๗,๐๐๐ โรงทั่วประเทศ
๕) การสอนทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล ปีนี้เริ่มแล้ว ๔,๐๐๐ โรง ส่วนปี ๒๕๕๓ จะขยายเพิ่มอีก ๕,๐๐๐ โรง จึงขอให้ติดตามตรวจสอบดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และจะถือโอกาสนี้ไปตรวจเยี่ยมด้วย เพราะหวังว่าผลสัมฤทธิ์เด็กจะดีขึ้นเมื่อดำเนินการโครงการนี้
๖) โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร จะสร้างเรือนนอนให้โรงเรียนพื้นที่สูง หรือพื้นที่ที่เด็กต้องมาพักค้าง เพื่อสวัสดิภาพของเด็กที่อยู่ห่างไกลโรงเรียนสามารถมาพักค้างที่โรงเรียนได้
๗) โรงเรียนขนาดเล็ก ครม.ได้อนุมัติให้เพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวให้โรงเรียนขนาดเล็กไปแล้ว เพราะ สพฐ. ได้ทำการวิจัยแล้วพบว่า เงินอุดหนุนรายหัวมีนัยยะกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก โดยระดับประถมฯ จะได้รับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวจาก ๑,๙๐๐ บาท เป็น ๒,๔๐๐ บาทต่อคนต่อปี ระดับมัธยมฯ ตอนต้น จาก ๓,๕๐๐ บาท เป็น ๔,๕๐๐ บาท และมัธยมฯ ตอนปลาย จาก ๓,๘๐๐ บาท เป็น ๔,๘๐๐ บาท
๘) ห้องสมุด ๓ ดี คือ หนังสือดี-บรรยากาศดี-บรรณารักษ์ดี โดยห้องสมุด ๓ ดีจะเน้นซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ มีการกำหนดเกณฑ์การจัดซื้อหนังสือ ราคาหน้าปกที่จัดซื้อกับความเป็นจริง และหนังสือดีที่ควรจัดซื้อเข้าห้องสมุด โดยเฉพาะหนังสือดีเด่น ๖ เล่มที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน ตามที่สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อ คือ พระอภัยมณี รามเกียรติ์ นิทานชาดก อิเหนา พระราชพิธีสิบสองเดือน และกาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
๙) ห้องเรียนวิทยาศาสตร์อัจฉริยะทวิภาคี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ.กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ขณะนี้มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ประมาณ ๑๐๐ ห้อง แต่ตนให้เพิ่มอีก ๑๐๐ ห้อง เป็น ๒๐๗ ห้องเรียน โดยขอให้เขตพื้นที่การศึกษาติดตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
๑๐) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (Thai Qualification Framework : TQF) ซึ่ง ได้ลงนามประกาศไปแล้วว่า ต่อไปนี้หากสถาบันอุดมศึกษาจะเปิดสอนสาขาวิชาใด จะต้องผ่านกรอบมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยสถาบันอุดมศึกษาจะต้องจัดทำตามกรอบนี้ให้เสร็จภายใน ๓ ปี ซึ่ง ผอ.สพท.เขต ๑ อยู่ในฐานะที่จะต้องประสานกับทุกหน่วยงานของ ศธ. รวมทั้งเรื่องนี้ด้วย
 ๑๑) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา (TQF) ที่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน และเป็นตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม คือ คุณภาพการผลิตนักศึกษาให้ได้ตามกรอบนี้
๑๒) กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ (TVQ) ใน ปี ๒๕๕๓ จะมีผลบังคับใช้ให้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพเกิดขึ้นคู่กับมาตรฐานคุณวุฒิ วิชาการ ซึ่งการกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพปัจจุบันแต่ละสาขาจะระบุว่าจะได้มาซึ่งมาตรฐาน อย่างไร ปัจจุบันมีเฉพาะคุณวุฒิวิชาการ คือ ป.๖ ม.๓ ม.๖ ปวช. ปวส. และปริญญา แต่คุณวุฒิวิชาชีพยังไม่มี ต่อไปในอนาคต เมื่อเอกชนยอมรับคุณวุฒิวิชาชีพมากขึ้น จะนำไปสู่การพัฒนาในลักษณะการจ่ายค่าตอบแทน เช่น การรับคนเข้าทำงานโดยพิจารณาจากความสามารถ ซึ่งจะมีประโยชน์อีกหลายด้าน โดยเฉพาะในบางสาขาวิชาที่มีคนเก่งระดับโลก คือ เจียระไนเพชร พลอย เมื่อคนเหล่านี้ซึ่งจบการศึกษาภาคบังคับไปเทียบคุณวุฒิวิชาการกับแรงงานต่าง ประเทศ ก็จะได้เพียงคุณวุฒิวิชาการระดับ ม.๓ เท่านั้น แต่เมื่อเทียบคุณวุฒิวิชาชีพ อาจจะอยู่ในระดับ ๖ คือระดับปริญญาโท ในขณะที่บางคนอาจเทียบเท่าระดับ ๗ คือ ปริญญาเอก ซึ่งจะช่วยให้คนนั้นได้รับการยอมรับจากมาตรฐานโลกด้วย กล่าวโดยสรุปคือ เป็นการตรวจสมรรถนะจากการทำงานจริงว่ามีคุณภาพหรือไม่
๑๓) การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ใน ปี ๒๕๕๓ จะมีการจัดรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา ๑๙ แห่ง เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน และเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีเฉพาะในสถาบันที่มีความพร้อม โดยเน้นปฏิบัติ ๗๐-๗๕% ต่างไปจากมหาวิทยาลัยที่เน้นวิชาการมากถึง ๗๐-๗๕%
๑๔) V-Net คือข้อสอบของอาชีวศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งจะเริ่มในปี ๒๕๕๓
๑๕) UniNet หรือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นโครงการ ๓ ปี (๒๕๕๓–๒๕๕๕) ใช้ระบบใยแก้วนำแสงไปยังมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน สถาบันการอาชีวศึกษา ๔๑๕ แห่ง และเขตพื้นที่การศึกษา ๑๘๕ แห่ง ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งโรงเรียนดีระดับอำเภอและระดับตำบลอีก ๓,๐๐๐ โรง
๑๖) Education Hub หรือ การเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค ซึ่งมีหลายเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเขตเป้าหมาย เรามีงบประมาณ ๑๔ โรงที่ได้รับเพื่อไปพัฒนาหอพักให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาพัก ดังนั้นหลักของการเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคคือ ต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในไทยมากขึ้น จากปัจจุบันมี ๓๐,๐๐๐ คน แต่ภายใน ๕ ปีตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน โดยเฉพาะในจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งจะเป็นจุดรับนักศึกษาจากลาว กัมพูชา จีน หรือเวียดนามมากขึ้น ข้อดีของการเป็น Education Hub คือจะช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศ รวมทั้งความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของเราอย่างประมูลค่าไม่ได้ในอนาคต
๑๗) การอบรมพัฒนาครูทั้งระบบ ๕๒๐,๐๐๐ คน ทั้ง ครู สพฐ.และอาชีวศึกษา โดยผู้บริหาร-รองผู้บริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจะได้รับการ พัฒนาให้เสร็จสิ้นครบถ้วนทั้งหมดภายในปี ๒๕๕๓ ส่วนครูจะได้รับการอบรมพัฒนาให้ครบภายใน ๓ ปี การอบรมพัฒนาจะเน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง สพฐ.-สสวท.-เครือข่ายมหาวิทยาลัย ในการจัดทำหลักสูตร โดยใช้ระบบ e-Training เข้ามาช่วย
๑๘) ครูพันธุ์ใหม่ จะผลิตโครงการครูพันธุ์ใหม่ ๓๐,๐๐๐ คนภายในระยะเวลา ๕ ปี เพื่อทดแทนอัตราเกษียณอายุราชการ ส่วนอีก ๗๐% จะใช้อัตราการบรรจุปกติ
๑๙) การปรับระบบการพัฒนาบุคลากรและระบบการเข้าสู่ตำแหน่งของ ศธ. เป็นเรื่องใหญ่และเกี่ยวพันกับเขตพื้นที่การศึกษา ต่อไปนี้กระบวนการอบรมพัฒนาจะมีองค์กรอบรมพัฒนาเป็นที่ยอมรับเกิดขึ้นใน กระทรวง และมีหลักสูตรการอบรมพัฒนาที่หลากหลายอย่างน้อย ๕ ส่วน คือ -หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารการศึกษาระดับสูงของ ศธ. -กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ รวมทั้งครูทดลองงาน ๒ ปี -หลักสูตรการเลื่อนวิทยฐานะ -หลักสูตรการต่อใบอนุญาตวิชาชีพ -หลักสูตรการอบรมพัฒนาตามนโยบาย โดยหน่วยงานปฏิบัติการจะใช้ สคบศ.เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองในการก่อสร้างใหม่ แต่ สคบศ.จะต้องได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ให้เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับใน ระดับประเทศอย่างแท้จริง และจะมีนักวิชาการที่เชื่อถือได้มาบริหารหลักสูตร เพื่อให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ ในอนาคตมีศักยภาพ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ชัดเจนขึ้น
๒๐) การส่งเสริมการอ่าน ครม.ได้กำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันรักการอ่าน และให้ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๑ เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ ซึ่ง ผอ.สพท.ต้องศึกษาและดำเนินการตาม ๓ แผนยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการอ่าน คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถด้านการอ่าน การสร้างนิสัยรักการอ่าน และการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
๒๑) กศน.ตำบล ขณะนี้ได้ยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็น กศน.ตำบล โดยต่อไปนี้ กศน.ตำบลจะมีคอมพิวเตอร์ ๖ ชุดให้บริการในการศึกษาเรียนรู้แก่ประชาชนในตำบล และจะเป็นทัพหน้าของ ศธ.ในระดับตำบล เพื่อผลักดันการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ควบคู่ไปกับโรงเรียนดีประจำตำบล เพราะฉะนั้นใน ๑ ตำบลจะมีองค์กรเรียนรู้ตลอดชีวิตครบถ้วนทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ
๒๒) ห้องสมุด ๓ ดีสัญจร จะมีการจัดหารถ Mobile ไป จอดในหมู่บ้านชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการอ่าน ส่วนในบางพื้นที่อาจจำเป็นต้องใช้เรือแทนรถยนต์ โดยในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๓ จะเปิดโครงการเรือห้องสมุด ๓ ดีสัญจร เพื่อให้เห็นกระบวนการต่างๆ ในการส่งเสริมการอ่านอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
๒๓) การปรับสัดส่วนจำนวนคอมพิวเตอร์ต่อนักเรียน จากเดิมที่มีอัตราส่วนคอมพิวเตอร์ ๑ เครื่อง ต่อนักเรียน ๔๐ คน แต่ในปี ๒๕๕๓ จะปรับลดให้เหลืออัตราส่วน ๑:๑๐ และขอให้เขตพื้นที่การศึกษาดูแลการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาให้เป็นไป ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส ได้คอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการดูแลบริการหลังการขายที่ดีด้วย
๒๔) งาน ก.ค.ศ. ต่อ ไปนี้ระบบงานของ ก.ค.ศ.หรือคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะรวดเร็วและทำงาน เชิงรุกมากขึ้น กฎระเบียบใดที่ล้าหลังจะต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข ต่อไปนี้งานของ ก.ค.ศ.เป็นงานบริหารงานบุคคลของ สพฐ.เป็นหลัก เพราะในระดับอาชีวศึกษามีระบบบริหารงานบุคคลเอง การทำงานเชิงรุกของ ก.ค.ศ. เพื่อไม่ให้งานเรื่องวินัยใช้เวลานานเกินไป เพราะอาจทำให้คนดีๆ หมดกำลังใจ ดังนั้นจึงต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เพื่อคนไม่ดีจะได้ไม่ลอยนวล ทั้งยังส่งเสริมให้คนดีมีกำลังใจทำงานมากขึ้น
๒๕) การพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาเป็นการ เฉพาะ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ โดยมีนายนิวัตร นาคะเวช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการ เพื่อให้การทำงานขององค์กรหลักเดินหน้าร่วมกันอย่างมีเอกภาพและมี ประสิทธิภาพ ทั้งด้านบริหารการจัดการ การบริหารส่วนบุคคล การบริหารงบประมาณ และการบริหารส่วนวิชาการ
รม ว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ในปี ๒๕๕๓ จะเน้นการตรวจราชการในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น จึงขอฝากทั้ง ๒๕ โครงการดังกล่าวให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาช่วยกันทำงานให้มี ประสิทธิภาพ ประสบผลสำเร็จเหมือนโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ที่ได้รับการสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศให้เป็นผลงานยอดเยี่ยมของรัฐบาล และเป็นผลงานที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุดในรอบ ๑ ปี ซึ่งต้องขอขอบคุณ ผอ.สพท. ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันดำเนินการโครงการดังกล่าวจนประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เป็นผลงานของคนใดคนหนึ่ง.
-ประธานอนุกรรมการกลั่นกรองการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. คือใคร
ตอบ รศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ
-ประธานคัดเลือกผู้แทน ก.ค.ศ. ในแต่ละ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่คือใคร
ตอบ ปลัดกระทรวง.ศธ. (เฉลียว อยู่เสมารักษ์)

ของวันที่ 30 ธันวาคม 2552

-"ป๋าแต่งทหารต้อนรับขุนพล" ป๋า หมายถึงใคร
ตอบ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
- ประธานคณะกรรมการสอบสวนโครงการทุจริตไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข คือใคร
ตอบ นพ.บรรลุ ศิริพานิช
-นโยบาย 7 วันอันตราย
ตอบ "ไปสะดวก กลับสบาย"
-แผนปฏิบัติการ 7 วันอันตราย ชื่อ
ตอบ "7 วันขับขี่ปลอดภัย เทิดไท้องค์ราชัน"
-เป้าหมายการลดอัตราการอุบติเหตุุ -เจ็บ-ตาย คือ
ตอบ ร้อยละ 5
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มีสาระสำคัญอะไรบ้าง
ตอบ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔)

คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล สรุปได้ดังนี้
๑. วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
๒. พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เห็นควรกำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศ ดังนี้
(๑) พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมนำความรอบรู้อย่างเท่าทัน (๒) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม (๓) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม (๔) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๓. วัตถุประสงค์
(๑) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา เสริมสร้างบริการสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(๒) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ
(๓) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้ และนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิตเพื่อทำให้มูลค่าการ ผลิตสูงขึ้น
(๔) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน
(๕) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วน อย่างเป็นธรรม
(๖) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลาย ทางชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ และการดำรงชีวิตของคนไทยทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและอย่างยั่งยืน
(๗) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชน และขยายบทบาทขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรม ประชาธิปไตยให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
๔. เป้าหมาย
(๑) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชน
(๑.๑) การพัฒนาคน
๑) คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมี ศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
๒) เพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น ๑๐ ปี พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ ๖๐ ของกำลังแรงงานทั้งหมด และเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น ๑๐ คน ต่อประชากร ๑๐,๐๐๐ คน
๓) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น ๘๐ ปี ควบคู่กับการลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคป้องกันได้ใน ๕ อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง นำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพของบุคคลลงในระยะยาว
(๑.๒) การพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณเพิ่ม กิจกรรมสร้างสรรค์สังคมและบรรเทาปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ ๔ ภายในปี ๒๕๕๔
(๒) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ
(๒.๑) โครงสร้างเศรษฐกิจ สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๗๕ ภายในปี ๒๕๕๔ และสัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๑๕ ภายใน ปี ๒๕๕๔
(๒.๒) เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ ๓.๐-๓.๕ ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ ๕๐ และความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน ๑:๑ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
(๒.๓) ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด ร้อยละ ๒๐ แรก ต่อรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ ๒๐ ไม่เกิน ๑๐ เท่าภายในปี ๒๕๕๔ และสัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐ ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
(๓) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(๓.๑) รักษาความสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๓ และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๑๘ ของพื้นที่ประเทศ รวมทั้งรักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า ๓๑,๐๐๐,๐๐๐ ไร่
(๓.๒) รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนไทย
(๔) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล
(๔.๑) มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใสอยู่ที่ ๕.๐ ภายในปี ๒๕๕๔ ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงานที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น ลดกำลังคนภาคราชการให้ได้ร้อยละ ๑๐ ภายในปี ๒๕๕๔ ธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้และมีอิสระ ในการพึ่งตนเองมากขึ้น ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ
(๔.๒) สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในบริบทไทย ให้มีการศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมประชาธิปไตย วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธีเพิ่มขึ้นในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับ ซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เหมาะสม ดังนี้
(๑) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน
(๒) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของ ประเทศ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็งด้วยการส่งเสริมการ รวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน
(๓) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุลและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตและ บริการ บนฐานการเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการจากองค์ความรู้สมัยใหม่ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นและนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิ สติกส์ การปฏิรูปองค์กร การปรับปรุงกฎระเบียบ การพัฒนามาตรฐานในด้านต่าง ๆ และการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศให้สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของประเทศ พร้อมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจที่มี ประสิทธิภาพ
(๔) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศเพื่อรักษา สมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
(๕) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ มุ่งเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคมอย่างยั่งยืน
๖. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ ต้องให้ภาคีพัฒนาทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยนำเอาแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนมาแปลงไปสู่แผนปฏิบัติการในระดับ ต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการปรับระบบการจัดสรรทรัพยากร การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ การสร้างองค์ความรู้ รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยมีแนวทางสำคัญ ดังนี้
(๑) เสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่าง ๆ ที่บูรณาการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(๒) กำหนดแนวทางการลงทุนที่สำคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐
(๓) เร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล


(๔) ศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
(๕) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในทุกระดับ
(๖) สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกระดับและการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูลข่าว สารระหว่างหน่วยงานกลางระดับนโยบาย ตลอดจนระดับพื้นที่และท้องถิ่น

ของวันที่ 29 ธันวาคม 2552
-ตำแหน่งท่านใดในรัฐบาลที่นายกอภิสิทธิ์จะปรับเปลี่ยน 1 ตำแหน่งในครม.ชุดนี้
ตอบ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ
-ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
ตอบ พ.ศ.2551-2555 มี 4 ประเด็บยุทธศาสตร์ คือ
1. ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2.ปรับรูปแบบลักษณะเชิงบูรณาการเกิดจากการแสวงความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่างๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
3.มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่างๆ
4.สร้าง ระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม


ของวันที่ 28 ธันวาคม 2552

- 7 วันอันตราย คืออะไร
ตอบ ตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.52-4 ม.ค.53 สั่งตั้งด่านตรวจตามถนนสายหลัก หมู่บ้าน ตลอด 24 ชม. เฝ้าจับตาเหตุอัคคีภัย ตั้งเป้าลดจำนวนผู้เสียชีวิต-เจ็บลง 5% …

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม