หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผลการประชุม คณะรัฐมนตรี 3 มีนาคม 2558

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

 1.กำหนดการสอบครูผู้ช่วย (กรณีปกติ)

3.เครื่องแบบพนักงานราชการ  2557

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ล่าสุด
 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


   คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558 


สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3  มีนาคม  2558

http://www.thaigov.go.th

                วันนี้ (3  มีนาคม  2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1
ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี   เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี        พร้อมด้วย  พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี   สรุปสาระสำคัญดังนี้



กฎหมาย

                1.     เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในคน พ.ศ. ....
                2.     เรื่อง ร่างกฎหมายและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกองทุนการออมแห่งชาติ
                3.     เรื่อง          ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ....
                4.     เรื่อง          ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....
                5.     เรื่อง          ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ....
                6.     เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับใน                                   ท้องที่บางแห่งในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัด                                   อุบลราชธานี พ.ศ. ....
                7.     เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง  หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร                            บางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ....
                8.     เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร                                    บางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดน่าน พ.ศ. ....
                9.     เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร                                     บางชนิด หรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดตราด พ.ศ. ....
                10.   เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษี                                  บำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 มาใช้การประเมินภาษีบำรุงท้องที่                         สำหรับปี พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....
                11.   เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพุ่มแก                           อำเภอนาแก และตำบลนาหนาด ตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม                            พ.ศ. ....
                12.   เรื่อง          ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า                                       จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
                13.   เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่
                                ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลเขาใหญ่ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก                             จังหวัดกระบี่ และตำบลมะรุ่ย ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา พ.ศ. ....
                14.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร                                    บางชนิด หรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
                15.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวง การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ พ.ศ. ....
                16.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พ.ศ. ....
                17.   เรื่อง ร่างกฎกระทรวงซึ่งออกตามความพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551
                18.   เรื่อง          ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ                       (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....



เศรษฐกิจ  - สังคม

                19.   เรื่อง (ร่าง)         ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่โลก พ.ศ. 2559-2564
                20.   เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มอัตราเบี้ยเลี้ยงทหาร เบี้ยเลี้ยงผู้ต้องขังหรือผู้ถูกควบคุมตัวและ                         ค่าอาหารผู้เจ็บป่วย
                21.   เรื่อง          การดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสี                               น้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ
                22.   เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.)                                 ครั้งที่ 1/2558
                23.   เรื่อง          ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนมกราคม พ.ศ. 2558
                24.   เรื่อง          การจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม
                                บรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
                25.   เรื่อง การปรับปรุงการปฏิบัติราชการและหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการ                      บริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของสำนักงบประมาณ
                26.   เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและ                                      เร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) ครั้งที่ 1/2558



ต่างประเทศ

                27.   เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกฎหมาย                                      ระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงยุติธรรมแห่ง                                      สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                28.   เรื่อง ขอความเห็นชอบและลงนามพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการ
                                ด้านการเงิน ฉบับที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน
                29.   เรื่อง ร่างยุทธศาสตร์ต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน พ.ศ. 2558 – 2564
                30.   เรื่อง การจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา



แต่งตั้ง
                31.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                     ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                32.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                     ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                33.   เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงแรงงาน)
                34.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                        (กระทรวงวัฒนธรรม)
                35.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                        (กระทรวงศึกษาธิการ)
                36.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                     ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                37.   เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย                         และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
                38.   เรื่อง พิจารณาแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนา                                 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนประธานกรรมการที่ลาออกจากตำแหน่ง
                39.   เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง                                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                40.   เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ                                       สิ่งแวดล้อม
                41.   เรื่อง ขอปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติ                                ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และ                           คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                            (ซีมีโอ)
                42.   เรื่อง การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) เพิ่มเติม
                                (จำนวน 7 ราย)
*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396




กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในคน พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในคน พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                วช. เสนอว่า
                1. การวิจัยในคนโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเวชภัณฑ์ยา หรือวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่ต้องใช้คนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทดลอง เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะจะต้องดูแลในเรื่องของความปลอดภัย ตลอดจนสิทธิของอาสาสมัคร ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้กระบวนการในการทำวิจัยในคนนั้นได้พัฒนารูปแบบในการกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล อันเป็นเครื่องมือในการปกป้องคุ้มครองอาสาสมัคร และทำให้ผลการวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และปัจจุบันมีโครงการวิจัยในคนจำนวนมาก แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลการวิจัยในคนโดยเฉพาะ ทำให้สิทธิของบุคคลผู้เข้าร่วมการวิจัยไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอ สมควรจัดระบบการกำกับดูแลการวิจัยในคนให้มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้การดำเนินโครงการวิจัยในคนต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมประจำสถาบันก่อน และมีองค์กรกำกับดูแลทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการทำวิจัยในคนและตรวจตราให้การดำเนินการวิจัยในคนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
                2. วช. จึงได้ดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการวิจัยในคน พ.ศ. .... โดยความเห็นชอบจากสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 และในส่วนของอำนาจหน้าที่ของ วช. ที่กำหนดไว้ในโครงสร้างองค์กร ให้ วช. พัฒนา กำกับและตรวจสอบ มาตรฐานการวิจัยในด้านต่าง ๆ ซึ่ง วช. มีความพร้อมของบุคลากรในการบริหารจัดการ และได้จัดการงบประมาณในเรื่องดังกล่าวมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ทั้งได้สร้างสมประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาและกำกับมาตรฐานงานวิจัยทำให้สามารถดำเนินงานได้ทันที ซึ่งก็พบว่าหลายหน่วยงานได้ให้การสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานของ วช. อย่างมาก รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็ต้องการให้มีกฎหมายในลักษณะดังกล่าวเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                1. กำหนดให้มี “คณะกรรมการการวิจัยในคน” โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติการวิจัยในคน และการดำเนินการของคณะกรรมการจริยธรรมจัดระบบการรับรองคุณภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประกัน หรือมาตรการการแก้ไขเยียวยาความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัยของผู้เข้าร่วมการวิจัย เป็นต้น
                2. กำหนดให้คณะกรรมการฯ แต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการวิจัยในคน” โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและกำกับดูแลการวิจัยในคนให้เป็นไปตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรม รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มี           ผู้ร้องเรียนว่ามีการกระทำใดที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี           มีผู้ร้องเรียน
                3. กำหนดให้ผู้วิจัยจะดำเนินการโครงการวิจัยในคนในสถาบันใด ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมในสถาบันนั้น โดยในกรณีที่สถาบันใดไม่มีคณะกรรมการจริยธรรม ให้ผู้วิจัยยื่นขอรับความเห็นชอบต่อคณะกรรมการจริยธรรมในสถาบันใดสถาบันหนึ่ง และการวิจัยในคนต้องมีเหตุผลสนับสนุนในทางวิทยาศาสตร์ที่คาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมการวิจัยหรือต่อส่วนรวม
                4. กำหนดให้การวิจัยในคนจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากผู้เข้าร่วมการวิจัยซึ่งได้รับ         การบอกกล่าวข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองอย่างเป็นอิสระ โดยความยินยอมจะต้องทำเป็นหนังสือ
                5. กำหนดสิทธิผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยบุคคลย่อมมีสิทธิตัดสินใจเข้าร่วมหรือปฏิเสธไม่เข้าร่วมการวิจัยในคนได้โดยอิสระ โดยผู้เข้าร่วมการวิจัยมีสิทธิที่จะเพิกถอนการเข้ารับการวิจัยเมื่อใดก็ได้ และการเพิกถอนดังกล่าวย่อมไม่เป็นเหตุให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องรับผิดใด ๆ หรือเสียประโยชน์ใด ๆ ที่มีอยู่ทั้งสิ้น
                6. กำหนดให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยที่ถูกต้องและเพียงพอ และได้รับความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือได้มาจากการวิจัยในคน
                7. กำหนดให้คณะกรรมการจริยธรรมมีหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานทุกรอบหนึ่งปีให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลทราบ
                8. กำหนดโทษจำคุกและโทษปรับ
                9. กำหนดบทเฉพาะกาล

2. เรื่อง ร่างกฎหมายและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกองทุนการออมแห่งชาติ
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ดังนี้
                1. อนุมัติหลักการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกองทุนการออมแห่งชาติดังนี้
                        1) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                        2) ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 จำนวน 7 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                2. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                3. สำหรับการขอจัดสรรงบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558              งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น กรณีที่มีผู้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจำนวนมากเกินกว่างบประมาณคงเหลือจะรองรับได้ นั้น ให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติกรณี                    การขออนุมัติใช้เงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                  16 กันยายน 2557 ต่อไป
                4. ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและ                    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชกฤษฎีกา ร่างกฎกระทรวง และร่างประกาศ กค.
                1. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                        1.1 กำหนดให้ กอช. รับโอนผู้ประกันตนและเงินของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กรณีบำนาญชราภาพทั้งหมดที่แสดงความจำนงเป็นสมาชิกของ กอช. โดยให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิเป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปีนับแต่วันที่เป็นสมาชิก เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของพระราชบัญญัติกองทุนการ               ออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ที่ให้ผู้ที่มีอายุมากที่สมัครในช่วงปีแรก ได้มีระยะเวลาในการออมมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลจะ           ไม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำหรับเงินสะสมที่โอนมาดังกล่าว เนื่องจากได้รับเงินสมทบจากกองทุนประกันสังคมแล้ว
                        1.2 กำหนดให้ผู้สมัครสมาชิก กอช. รายใหม่ที่อายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และสมัครภายใน      1 ปีนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ มีสิทธิเป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปีนับแต่วันที่เป็นสมาชิก เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของ กอช. ดังกล่าวข้างต้น และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ที่รับโอนจากกองทุนประกันสังคมและผู้ที่สมัครใหม่ ทั้งนี้ สมาชิก กอช. จะได้รับเงินสมทบเป็นอัตราส่วนตามช่วงอายุตามที่ได้กำหนดไว้
                2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                        เป็นการยกเลิกการดำเนินการตามมาตรา 40 กรณีบำนาญชราภาพ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะโอนผู้ประกันตนและเงินของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กรณีบำนาญชราภาพ ทั้งหมดที่ประสงค์จะเป็นสมาชิก กอช. มาที่ กอช. ซึ่งรวมถึงผู้ประกันตนที่อายุเกิน 60 ปีด้วย ส่วนผู้ประกันตนที่ไม่ประสงค์จะเป็นสมาชิก กอช. จะได้รับเงินที่ผู้ประกันตนส่งเข้ากองทุนเงินสมทบจากรัฐ และดอกผล คืนทั้งจำนวน
                3. ร่างกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้
                        3.1 ร่างกฎกระทรวงกำหนดการเป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำนาญอื่นที่ไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....
                                กำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. ต้องไม่เป็นบุคคลที่เป็นสมาชิกกองทุนหรืออยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานอื่นที่มีเงินสมทบจากนายจ้างเพื่อการชราภาพ
                        3.2 ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้รับมอบหมายให้จัดการเงินของกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....
                                กำหนดเกี่ยวกับผู้ดำเนินการจัดการเงินของกองทุน คุณสมบัติของบริษัทจัดการลงทุน ข้อจำกัดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่จะลงทุน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการเงินของกองทุน
                        3.3 ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. ....
                                กำหนดให้สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนปีละไม่เกิน 13,200 บาท และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามอายุสมาชิก ดังนี้

อายุสมาชิก
อัตราเงินสมทบต่อเงินสะสม
เงินสมทบสูงสุดที่จะกำหนดโดยกฎกระทรวง
ไม่ต่ำกว่า 15 ปีแต่ไม่เกิน 30 ปี
ร้อยละ 50
600 บาท/ปี
มากกว่า 30 ปีแต่ไม่เกิน 50 ปี
ร้อยละ 80
960 บาท/ปี
มากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี
ร้อยละ 100
1,200 บาท/ปี
                       
                        3.4 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณเงินบำนาญและจำนวนเงินบำนาญขั้นต่ำ พ.ศ. ....
                                กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณบำนาญให้เพียงพอกับการจ่ายบำนาญให้แก่สมาชิกได้จนถึงอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์
                        3.5 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการจ่ายเงินให้กับสมาชิก หรือผู้รับบำนาญ หรือผู้รับเงินดำรงชีพ ตามมาตรา 40 ของกฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....
                                กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิก               ในกรณีสมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กรณีการจ่ายเงินดำรงชีพให้แก่สมาชิก ที่เมื่อคำนวณบำนาญแล้วได้น้อยกว่าบำนาญขั้นต่ำ กรณีสมาชิกผู้รับบำนาญหรือผู้รับเงินดำรงชีพถึงแก่ความตาย กรณีสมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ            60 ปีบริบูรณ์ และกรณีสมาชิกลาออกจากกองทุน 
                        3.6 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....
                                กำหนดเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเงินกองทุน การแบ่งเงินของกองทุนเป็นกองทุนย่อย และการดำเนินการกรณีมอบหมายบริษัทจัดการลงทุน เป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อยและกรณีที่ กอช. ดำเนินการจัดการเอง
                        3.7 ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชย พ.ศ. ....
                                กำหนดให้กองทุนจ่ายเงินชดเชยจากบัญชีเงินกองกลางให้แก่สมาชิก ในกรณีที่สมาชิกได้รับผลประโยชน์จากเงินสะสมและเงินสมทบ ตั้งแต่วันที่เริ่มเป็นสมาชิกจนถึงวันที่สิ้นสมาชิกน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน โดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง เพื่อให้สมาชิกได้รับผลตอบแทนเท่ากับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
                4. ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ
                        กำหนดให้คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการของ กอช. ได้รับประโยชน์ตอบแทนในอัตราเดียวกันกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) โดยประธานกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทน 10,000 บาทต่อเดือน กรรมการได้รับ 8,000 บาทต่อเดือน ประธานอนุกรรมการได้รับ 5,000 บาทต่อเดือน และอนุกรรมการได้รับ 4,000 บาทต่อเดือน โดยให้จ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะเดือนที่เข้าร่วมประชุม

3.  เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว   ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.  กำหนดให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีฐานะเป็นหน่วยในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
2.  กำหนดให้มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนงานออกเป็น สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงาน
มหาวิทยาลัย  สำนักงานวิทยาเขต  คณะ วิทยาลัย  สถาบัน สำนักและมหาวิทยาลัยอาจให้มีส่วนงานที่เรียกชื่อ    อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย สถาบันหรือสำนัก
3.  กำหนดให้มหาวิทยาลัยมีรายได้จากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี  เงินหรือทรัพย์สิน
ที่มีผู้อุทิศให้ และเงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้นและรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุน เป็นต้น  และให้รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4.  กำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการบริหาร โดยมีกรรมการสภามาวิทยาลัยที่มา
จากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยและให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
5.  กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยโดยอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแผนพัฒนา
มหาวิทยาลัย พิจารณากลั่นกรองระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ฯลฯ คณะกรรมการวิชาการที่มีหน้าที่ในการเสนอแนะการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ฯลฯ และสภาพพนักงาน เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการ ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่สภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีในการบริหารกิจการทั้งปวงของมหาวิทยาลัย ฯลฯ
6.  กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด  และรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
7.  กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินการดำเนินงานของ
มหาวิทยาลัย
8.  กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการการบัญชีและการตรวจสอบทางบัญชีและการเงินของ
มหาวิทยาลัยให้อธิการบดีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  และให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย
9.  กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สินงบประมาณ ฯ การดำรง
ตำแหน่งและคณะกรรมการต่าง ๆ  ในส่วนราชการ การโอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานของมหาวิทยาลัย  ตำแหน่งทางวิชาการ สิทธิเกี่ยวกับการได้รับบำเหน็จบำนาญ ตลอดจนระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  เป็นต้น

4. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.  กำหนดให้รวมมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ  และ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  วิทยาเขตกาฬสินธุ์ตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2.  กำหนดให้แบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยออกเป็นสำนักงานอธิการบดี คณะ วิทยาลัย สถาบัน
และสำนัก รวมทั้งอาจให้มีส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และมหาวิทยาลัยอาจรับสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่นเข้าสมทบในมหาวิทยาลัยหรืออาจจัดการศึกษาหรือดำเนินการวิจัยร่วมกับสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่นได้  รวมทั้งมีอำนาจให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
3.  สำหรับรายได้ของมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ นอกจากเงินที่กำหนดไว้ในงบประมาณแผ่นดินแล้ว
มหาวิทยาลัยอาจมีรายได้จากเงินผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับและค่าบริการต่าง ๆ  เงินและทรัพย์สินที่มี              ผู้อุทิศให้  รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุซึ่งมหาวิทยาลัยปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยชน์             เงินอุดหนุนจากราชการส่วนท้องถิ่นหรือเงินอุดหนุนอื่นที่มหาวิทยาลัยได้รับเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย และรายได้หรือผลประโยชน์อย่างอื่น
4.  กำหนดให้สภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการบริหารและควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของ
มหาวิทยาลัย โดยประกอบด้วย นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย โดยตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยจำนวนห้าคน
5.  กำหนดให้มีสภาวิชาการ   ประกอบด้วยประธานและกรรมการที่ได้มาตามข้อบังคับ
มหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง รวมทั้งเสนอความเห็นและให้คำปรึกษาด้านวิชาการ  และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเปิดสอน การรวม และการยกเลิกสาขาสิชาของมหาวิทยาลัยต่อสภามหาวิทยาลัย
6.  กำหนดให้มีสภาคณาจารย์และข้าราชการประกอบด้วยประธานและกรรมการซึ่งเลือกจาก
คณาจารย์ประจำ  ข้าราชการ และพนักงานราชการในสถาบันอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการปฏิบัติงานและพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ประจำ ข้าราชการ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานราชการ
7.  กำหนดให้อธิการบดีซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย
เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของมหาวิทยาลัย กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและการพันจากตำแหน่ง  คุณสมบัติ  และอำนาจหน้าที่ของอธิการบดี


8.  กำหนดให้มีคณบดีซึ่งสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้แต่งตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการ
บริหารงานของคณะหรือวิทยาลัย และให้มีรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการตามที่คณบดีมอบหมาย  นอกจากนี้ กำหนดให้มีคณะกรรมการประจำคณะหรือวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและแผนงานของคณะหรือวิทยาลัย รวมทั้งพิจารณาหลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับ             คณะหรือวิทยาลัยเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
9.  กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ กำหนดปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
10.      กำหนดบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง 
เครื่องแบบ เครื่องหมายฯ โดยมิชอบ และการปลอม หรือทำเลียนแบบหรือใช้ ซึ่งตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
11.      กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการโอนบรรดากิจการ  ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน 
งบประมาณและรายได้ องค์ประกอบสภามหาวิทยาลัย การดำรงตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ  การโอนบรรดาข้าราชการและพนักงาน การคงฐานะของบรรดาคณะกรรมการ สิทธิการเข้าสู่ตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งเดิม              การยุบเลิกตำแหน่ง ตลอดจนข้อบังคับ ระเบียบ  หรือประกาศต่าง ๆ

5. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ  และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.  กำหนดให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น  และมีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง สร้างบัณฑิต  วิจัย บริการทางวิชาการแก่สังคมและท้องถิ่น ริเริ่ม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาองค์ความรู้ในด้านที่มีความเชี่ยวชาญและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 
2.  กำหนดการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัย กำหนดให้แบ่งเป็น สำนักงานมหาวิทยาลัย
สำนักงานวิทยาเขต  คณะ สำนัก สถาบัน และส่วนงานอื่นที่เทียบเท่าคณะ
3.  กำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการบริหาร โดยมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มา
จากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยและจากตัวแทนองค์กรต่าง ๆ  ในมหาวิทยาลัย โดยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัยและมีอำนาจออกข้อบังคับเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ  และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการกำหนดค่าตอบแทนหรือค่าตอบแทนพิเศษ สวัสดิการและประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย
4.  กำหนดให้มีสภาวิชาการเป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายจากสภามหาวิทยาลัยให้ดำเนินกิจการ
ต่าง ๆ  ทางด้านงานวิชาการของมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีเกี่ยวกับหลักสูตร  การเรียน การสอน การวิจัย และคุณภาพการศึกษา
5.  กำหนดให้สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารงานสูงสุดของมหาวิทยาลัย มีอำนาจหน้าที่               
ในการดำเนินการต่าง ๆ  ของมหาวิทยาลัยทั้งด้านการบริหารงานบุคคล การเงินและวิชาการซึ่งมีองค์ประกอบเป็นบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าบุคลากรในมหาวิทยาลัย
6.  กำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของมหาวิทยาลัย  และอาจมีรองอธิการบดีหรือ
ผู้ช่วยอธิการบดี  หรืออาจมีรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีตามจำนวนที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด


7.  กำหนดให้แต่ละคณะหรือส่วนงานอื่นที่เทียบเท่าคณะที่จัดการเรียน การสอน มีคณบดีคนหนึ่ง
เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะหรือส่วนงานอื่นที่เทียบเท่าคณะที่จัดการเรียนการสอน และให้มีคณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการประจำส่วนงานอื่นที่เทียบเท่าคณะที่จัดการเรียนการสอน เพื่อดำเนินกิจการต่างๆ  ทางด้านงานวิชาการของคณะเสนอต่อสภาวิชาการ
8.  กำหนดให้มหาวิทยาลัยจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินส่วนงาน
ของมหาวิทยาลัยโดยให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
9.  กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไป ซึ่ง
กิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือ                มติคณะรัฐมนตรี
10.      กำหนดโทษผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง 
เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษา พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างของมหาวิทยาลัย  และการแสดงวุฒิการศึกษาโดยไม่มีสิทธิ
11.      กำหนดบทเฉพาะกาลในเรื่องการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน 
งบประมาณ และรายได้ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาเป็นของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้
12.      กำหนดรองรับส่วนงาน กล่าวคือ กำหนดให้สภามหาวิทยาลัย สภาวิชาการ สภาคณาจารย์และ
ข้าราชการ และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 ทำหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะได้มีสภาวิชาการ สภาคณาจารย์และพนักงาน และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้
13.      กำหนดรองรับให้ส่วนราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ตามพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 และหน่วยงานที่สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติและจัดตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยซึ่งมีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีประกาศของมหาวิทยาลัยจัดตั้งส่วนงานใหม่
14.      กำหนดรองรับตำแหน่งผู้บริหารเพื่อรองรับการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารตำแหน่งต่าง ๆ 
ต่อไปจนครบวาระและกำหนดการแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยไว้
15.      กำหนดให้มหาวิทยาลัยดำเนินการบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัย
ในกรณีที่ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพมาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยหรือลูกจ้างของมหาวิทยาลัยภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  รวมทั้งกำหนดรองรับให้ข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอยู่แล้ว ยังคงสิทธิประโยชน์เดิมตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและได้รับยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม แต่ไม่ตัดสิทธิในการประกันตนด้วยความสมัครใจ
16.      กำหนดให้มหาวิทยาลัยออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ และคำสั่งของมหาวิทยาลัยเพื่อ
ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตเทศบาลตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในท้องที่บางแห่งในเขตเทศบาลตำบลเมือง             ศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง  หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง  หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.  กำหนดให้การคำนวณพื้นที่ใช้สอยอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งให้คำนวณเฉพาะ
พื้นที่อาคารที่ใช้ประโยชน์เพื่อประกอบกิจการพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งเท่านั้น
2.  กำหนดให้พื้นที่บางส่วนในท้องที่ฉะเชิงเทรา เว้นแต่พื้นที่ตาม
2.1              กฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือ
บางประเภท  ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลคลองเขื่อนและตำบลบางตลาด กิ่งอำเภอคลองเขื่อน  อำเภอบางคล้า และตำบลปากน้ำ  ตำบลบางคล้า  ตำบลท่าทองหลาง  และตำบลเสม็ดเหนือ  อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2547
2.2              กฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือ
บางประเภท  ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลพิมพา  ตำบลหนองจอก  ตำบลบางวัว ตำบลบางสมัคร  ตำบลหอมศีล ตำบลท่าสะอ้าน  ตำบลบางเกลือ ตำบลเขาดิน  ตำบลบางผึ้ง  ตำบลสองคลอง  ตำบลบางปะกง  และตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง  และตำบลคลองประเวศ  ตำบลลาดขวาง และตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์  จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2547
2.3              กฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือ
บางประเภท  ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลบางขวัญ ตำบลวังตะเคียน  ตำบลบ้านใหม่  ตำบลท่าไข่  ตำบลคลอง จุกกระเฌอ  ตำบลหน้าเมือง  ตำบลบางไผ่  ตำบลโสธร  ตำบลบางตีนเป็ด  ตำบลบางกะไห  ตำบลบางพระ  และตำบลคลองนา     อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พ.ศ. 2547 เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคาร                    พาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่ง  โดยห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป
3.  กำหนดห้ามมิให้ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ  ให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มี
ลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2. ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดในข้อ 2.
4.  กำหนดให้อาคารที่มีอยู่แล้วในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ 2. ก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงนี้
ใช้บังคับ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่ห้ามดัดแปลง  หรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ 2.
5.  กำหนดให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคาร
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้น  ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง  หรือเปลี่ยนการใช้อาคารไม่แล้วเสร็จ  ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้  แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาตหรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อกฎกระทรวงนี้ไม่ได้

8.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดน่าน พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดน่าน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                1. กำหนดให้การคำนวณพื้นที่ใช้สอยอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งให้คำนวณเฉพาะพื้นที่อาคารที่ใช้ประโยชน์เพื่อประกอบกิจการพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งเท่านั้น
                2. กำหนดให้ท้องที่จังหวัดน่าน เว้นแต่พื้นที่ตามกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลผาสิงห์ ตำบลในเวียง ตำบลไชยสถาน ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน และตำบลฝายแก้ว ตำบลม่วงตึ๊ด ตำบลท่าน้าว กิ่งอำเภอภูเพียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พ.ศ. 2547 เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกัน เพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลัง ตั้งแต่ 300 ตารางเมตร ขึ้นไป
                3. กำหนดให้ภายใต้บังคับของข้อ 2 ภายใต้พื้นที่ในท้องที่เขตเทศบาลและเขตตำบลตามที่กำหนด ห้ามก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังตั้งแต่ 300  ตาราเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร หรือเกิน 1,000 ตารางเมตร เว้นแต่จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎกระทรวงนี้กำหนด
                4. กำหนดให้ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 ห้ามมิให้ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2 และข้อ 3
                5. กำหนดให้อาคารที่มีอยู่แล้วในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ 2 และข้อ 3 ก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่ห้ามดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
                6. กำหนดให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้น ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารไม่ได้แล้วเสร็จ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาตหรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อกฎกระทรวงนี้ไม่ได้

9.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือ                บางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดตราด พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดตราด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                1. กำหนดให้การคำนวณพื้นที่ใช้สอยอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งให้คำนวณเฉพาะพื้นที่อาคารที่ใช้ประโยชน์เพื่อประกอบกิจการพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งเท่านั้น
                2. กำหนดให้ท้องที่จังหวัดตราด เว้นแต่พื้นที่ตามกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลวังกระแจะ ตำบลเนินทราย              ตำบลบางพระ และตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด พ.ศ. 2547 เป็นบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่ง โดยห้ามบุคคลใดก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกัน เพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังตั้งแต่ 300 ตารางเมตรขึ้นไป
                3. กำหนดให้ภายใต้บังคับของข้อ 2 ภายในท้องที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด อำเภอเมืองตราด ห้ามก่อสร้างอาคารพาณชิยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังตั้งแต่ 300 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร
                4. กำหนดให้ภายใต้บังคับของข้อ 2 ภายในท้องที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมกลัด               อำเภอเมืองตราด ห้ามก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังเกิน 1,000 ตารางเมตร
                5. กำหนดห้ามมิให้ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4
                6. กำหนดให้อาคารที่มีอยู่แล้วในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่ห้ามดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด
                7. กำหนดให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้น ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารไม่แล้วเสร็จ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาตหรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อกฎกระทรวงนี้ไม่ได้

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี            พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 มาใช้การประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้นำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 มาใช้การประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ โดยให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                     18 ธันวาคม 2555 และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดำเนินการต่อไปได้
                   มท. เสนอว่า
                   1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 มอบหมายให้ กค. และ มท. รับความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอให้มีการจัดทำราคาปานกลางของที่ดินขึ้นใหม่ เพื่อใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่คราวต่อไป นั้น ซึ่งปัจจุบันการปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินราคาที่ดินและอัตราภาษีบำรุงท้องที่ให้เหมาะสมแก่สภาพการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างหลักเกณฑ์และ             อัตราการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2558 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยให้ มท. จัดทำราคาปานกลางของที่ดินขึ้นใหม่เพื่อนำไปใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559
                   2. โดยที่มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2529 กำหนดให้นำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง ฑ.ศ. 2524 ซึ่งใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2529 มาใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2530 และในปีต่อ ๆ ไป ตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด ดังนั้น หากไม่สามารถประกาศให้นำราคาปานกลางที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 มาใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ได้ทันภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 จะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดินและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยการนำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 ซึ่งใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2557 มาใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ.2558 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ได้เห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
                   2. กำหนดให้นำราคาปานกลางของที่ดินที่ใช้อยู่ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2521 ถึง พ.ศ. 2524 ซึ่งใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2557 มาใช้ในการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปี พ.ศ. 2558



11. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพุ่มแก อำเภอนาแก และตำบลนาหนาด ตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพุ่มแก อำเภอนาแก และตำบลนาหนาด ตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพุ่มแก อำเภอนาแก และตำบลนาหนาด ตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เพื่อประโยชน์แก่            การชลประทานในการก่อสร้างระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำก่ำ

12. เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตัน  อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบงตั
อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน

13. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลเขาใหญ่ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และตำบลมะรุ่ย ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน            ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลเขาใหญ่ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และ                         ตำบลมะรุ่ย ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงชนบท กบ. 1002 ในท้องที่ตำบลอ่าวลึกเหนือ ตำบลอ่าวลึกใต้ ตำบลเขาใหญ่ ตำบลนาเหนือ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และตำบลมะรุ่ย ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา มีส่วนแคบที่สุดสองร้อยเมตรและส่วนกว้างที่สุดห้าร้อยเมตร

14. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือ             บางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดราชบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   มท. เสนอว่า
                   1. เดิมได้มีประกาศระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดราชบุรีลงวันที่ 3 เมษายน 2556 มีผลใช้บังคับเป็นการชั่วคราวมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2556 ซึ่งครบกำหนด 1 ปี แล้วเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ประกอบกับเมื่อยังไม่ได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิด หรือบางประเภทในท้องที่จังหวัดราชบุรีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีดังกล่าว จึงมีผลทำให้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวเป็นอันยกเลิก ทั้งนี้ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
                   2. แต่โดยที่ มท. พิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่บางส่วนในจังหวัดราชบุรีตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น สมควรกำหนดเป็นบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทต่อไป เพื่อประโยชน์ในด้านการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการควบคุมความหนาแน่นของอาคาร จึงสมควรกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วและจังหวัดราชบุรีได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง  
                   1. กำหนดให้การคำนวณพื้นที่ใช้สอยอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่ง ให้คำนวณเฉพาะพื้นที่อาคารที่ใช้ประโยชน์เพื่อประกอบกิจการพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งเท่านั้น
                   2. กำหนดห้ามก่อสร้างอาคารพาณิยชกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ในท้องที่จังหวัดราชบุรี เว้นแต่พื้นที่บริเวณตามกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลหลุมดิน ตำบลโคกหม้อ ตำบลเจดีย์หัก ตำบลพงสวาย ตำบลหน้าเมือง ตำบลบ้านไร่ และตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2547 กฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลท่าผา ตำบลลาดบัวขาว                  ตำบลปากแรต ตำบลเบิกไพร ตำบลบ้านโป่ง ตำบลสวนกล้วย ตำบลหนองกบ ตำบลหนองอ้อ และตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่ตำบลสร้อยฟ้า ตำบลตาคต  ตำบลบ้านเลือก                            ตำบลโพธาราม ตำบลท่าชุมพล ตำบลบ้านฆ้อง ตำบลคลองข่อย และตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี                   พ.ศ. 2547
                   3. กำหนดให้ภายใต้บังคับของข้อ 2 ภายในพื้นที่เขตเทศบาลจำนวน 49 ท้องที่ ห้ามก่อสร้างอาคาร      พาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค่าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวหรือหลายหลังตั้งแต่ 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เว้นแต่จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
                   4. กำหนดให้ภายใต้บังคับของข้อ 2 และข้อ 3 ห้ามมิให้ก่อสร้างอาคารพาณิชยกรรมประเภทค้าปลีกค้าส่งที่มีพื้นที่ใช้สอยอาคารรวมกันเพื่อประกอบกิจการในอาคารหลังเดียวกันหรือหลายหลังเกิน 1,000 ตารางเมตร เว้นแต่จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด
                   5. กำหนดห้ามมิให้ดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารใด ๆ ให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ภายในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4
                   6. กำหนดให้อาคารที่มีอยู่แล้วในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดตามข้อข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 ก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่ห้ามดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารดังกล่าวให้เป็นอาคารชนิดหรือประเภทที่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4
                   7. กำหนดให้อาคารที่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนั้น ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารไม่แล้วเสร็จ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ แต่จะขอเปลี่ยนแปลงการอนุญาต หรือการแจ้งให้เป็นการขัดต่อกฎกระทรวงนี้ไม่ได้

 15.  เรื่อง ร่างกฎกระทรวง การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   สธ. เสนอว่า
                   1. วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาทางการแพทย์ในประเทศ แต่มีโอกาสในการนำไปใช้ในทางที่ผิดและอาจจะทำให้เกิดการติดยาทางจิตใจหรือทางร่างกายได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ได้กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิต หรือผู้รับอนุญาตซึ่งนำเข้าวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ต้องนำวัตถุตำรับมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการผลิตหรือนำเข้า เพื่อให้รัฐสามารถควบคุมและกำกับดูแลวัตถุตำรับที่ใช้ภายในประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา มีคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
                   2. ที่ผ่านมา การขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ การแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียน และการขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 40 วรรคสอง มาตรา 41 (8) มาตรา 42 วรรคสอง มาตรา 45 วรรคสอง และมาตรา 47 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สมควรปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสถานการณ์ปัจจุบัน และเพิ่มการกำหนดหลักเกณฑ์อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น กำหนดให้ผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับต้องรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้วัตถุตำรับ เป็นต้น
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   1. กำหนดวันใช้บังคับกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                   2. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือผู้รับอนุญาตนำเข้าซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ผู้ใดประสงค์จะขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์
                   3. กำหนดให้การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับตามข้อ 3 ต้องแจ้งรายการตามที่กำหนด
                   4. กำหนดขั้นตอนการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
                   5. กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดให้ผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับกระทำการงดเว้นกระทำการ หรือต้องมีภาระหน้าที่หรือยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการเท่าที่จำเป็นเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
                   6. กำหนดอายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ โดยให้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญ
                   7. ผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ ผู้ใดประสงค์จะแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ให้ยื่นคำขอแก้ไขรายการทะเบียนวัตถุตำรับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐาน ตามที่กำหนด
                   8. กำหนดหลักเกณฑ์การต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
                   9. กำหนดหลักเกณฑ์การขอรับใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ
                   10. กำหนดให้คำขอและใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับเป็นไปตามแบบที่เลขาธิการกำหนด
                   11. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับคำขอรับใบอนุญาต คำขอรับใบแทน ใบอนุญาต และใบอนุญาตที่มีมาก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฉบับนี้ได้ต่อไป

16. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษใน
ประเภท 3  พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                สธ. เสนอว่า
                1. ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยมีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาทางการแพทย์ในประเทศ ซึ่งตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ             พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ต้องนำตำรับยาเสพติดให้โทษมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการผลิตหรือนำเข้า เพื่อให้รัฐสามารถควบคุมและกำกับดูแลตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ใช้ภายในประเทศเพื่อให้มั่นใจได้ว่า มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา มีคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ดังกล่าวในขณะนี้นั้น ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติ                        ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
                2. โดยที่กฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ             พ.ศ. 2522 ดังกล่าว ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้วไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับมีการปรับปรุงระบบการขึ้นทะเบียนให้เป็นไปตามระบบ  ASEAN Harmonization  ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 สอดคล้องตามาตรฐานสากล และตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมีคุณภาพมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อันเป็นการส่งเสริมให้กระบวนการบำบัดรักษาในทางการแพทย์มีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น และทำให้ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมควรปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าว
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                1. กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
                2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการขอขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 สำหรับผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้า และให้คำขอขึ้นทะเบียนต้องแจ้งรายการและแนบเอกสารหรือหลักฐานตามที่กำหนด
                3. กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฯ หรือคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนฯ ของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ
                4. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดให้ผู้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 กระทำการ งดเว้นการกระทำหรือต้องมีภาระหน้าที่หรือยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการเท่าที่จำเป็น เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามที่กำหนด
                5. กำหนดให้ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฯ มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบสำคัญ
                6. กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 การขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนฯ และใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน
                7. กำหนดห้ามมิให้มีคำสั่งต่ออายุใบอนุญาต หากตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ใดมิได้มี               การผลิตหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรย้อนหลังห้าปีติดต่อกันนับแต่วันยื่นคำขอ

17. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงซึ่งออกตามความพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถานศึกษาอาชีวศึกษาของเอกชนกับสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอและการพิจารณาเพื่อการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานประกอบการ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                1. ร่างกฎกระทรวงการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถานศึกษาอาชีวศึกษาของเอกชนกับสถานบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. ....
                        1.1 กำหนดคำนิยาม สภาสถาบัน” “สถาบัน” “สถานศึกษาอาชีวศึกษาของเอกชนและ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
                        1.2 กำหนดให้มีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของสถานศึกษาอาชีวศึกษาของเอกชนกับสถาบันการอาชีวศึกษา
                2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอและการพิจารณา เพื่อการจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานประกอบการ พ.ศ. ....
                        2.1 กำหนดคำนิยาม การจัดการอาชีวศึกษา” “การฝึกอบรมวิชาชีพ” “ครูฝึก” “สถานที่เรียน” “ผู้เรียนและ เลขาธิการเพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
                        2.2 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอและการพิจารณา เพื่อการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพของสถานประกอบการ

18. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)         พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว  ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป  
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องดังต่อไปนี้
                1. แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของผู้บริหาร (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 ตรี (5)) จากเดิมที่กำหนดว่า “ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ แล้วแต่กรณีเกินห้าปี” เป็น “ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ” เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือ                 (ร่างมาตรา 3)
                2. แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของพนักงานรัฐวิสาหกิจ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 (5)) จากเดิมที่กำหนดว่า “ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอลงโทษหรือรอการกำหนดโทษ  แล้วแต่กรณีเกินห้าปี” เป็น “ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด            ที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษแล้วเกินห้าปี” เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับลักษณะต้องห้ามของข้าราชการพลเรือนที่จะต้องได้รับโทษจำคุกจริงและเพื่อให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่พ้นโทษแล้วเกินห้าปี  สามารถกลับเข้าทำงานได้  (ร่างมาตรา 4)
                3. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายแทนนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ในปัจจุบัน (ร่างมาตรา 5)



เศรษฐกิจ  - สังคม

19. เรื่อง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่โลก พ.ศ. 2559-2564
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบทิศทางการพัฒนา และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่โลก พ.ศ. 2559-2564 ที่มี                 การบูรณาการตลอดห่วงโซ่มูลค่าของสินค้าอาหารและการบริการด้านอาหาร ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้าอาหาร ยุทธศาสตร์พัฒนาธุรกิจบริการอาหาร และยุทธศาสตร์พัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่ครอบคลุมการผลิตและส่งออกสินค้าอาหารและธุรกิจบริการด้านอาหาร ให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล และมีความปลอดภัยบนพื้นฐานของความยั่งยืน และมั่นคงทางอาหารของประเทศ
                2. เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างองค์ประกอบของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติเพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อน (ร่าง) ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่โลกที่มีความคล่องตัวและสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบครบวงจร
                3. เห็นชอบให้มีการบูรณาการงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่โลก (พ.ศ. 2559-2564) โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) เร่งบรรจุในกรอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการกิจกรรมเร่งด่วนได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และสำหรับปีงบประมาณ 2560-2564 ให้มีการกำหนดประเด็นครัวไทยสู่โลกไว้ในกรอบการบูรณาการงบประมาณ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ได้อย่างมีบูรณาการต่อไป
       
20. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มอัตราเบี้ยเลี้ยงทหาร เบี้ยเลี้ยงผู้ต้องขังหรือผู้ถูกควบคุมตัวและค่าอาหารผู้เจ็บป่วย
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงกลาโหม (กห.) ปรับเพิ่มอัตราเบี้ยเลี้ยงทหาร เบี้ยเลี้ยงผู้ต้องขังหรือผู้ถูกควบคุมตัว และค่าอาหารผู้เจ็บป่วย เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 28 เว้นอัตราเบี้ยเลี้ยงทหารกองประจำการ  กรณีไปปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันและปราบปรามนอกที่ตั้งปกติ หรือไปปฏิบัติราชการพิเศษเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ให้ได้รับอัตราเบี้ยเลี้ยงเพิ่มขึ้น จากเดิมวันละ 94 บาท เป็นวันละ 200 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557
                สาระสำคัญของเรื่อง
                กห. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้อัตราเบี้ยเลี้ยงทหาร เบี้ยเลี้ยงผู้ต้องขังหรือผู้ถูกควบคุมตัว และค่าอาหารผู้เจ็บป่วย มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน จึงสมควรปรับอัตราเพิ่มขึ้นดังนี้
                1. กลุ่มที่ 1 กำลังพลที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์ปกติให้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (ร้อยละ 18) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าดำเนินการและการจัดหาในท้องถิ่น (ร้อยละ 10) ดังนี้
                    1.1 อัตราเบี้ยเลี้ยงสำหรับพลทหาร หรือสิบตรี จ่าตรี และจ่าอากาศตรีกองประจำการ และนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะบรรจุเป็นนายทหารประทวน
                          (1) เบี้ยเลี้ยงประจำ จาก 75 บาทต่อวัน เป็น 96 บาทต่อวัน
                          (2) เบี้ยเลี้ยงกรณีเดินทางไปราชการนอกที่ตั้งปกติจาก 94 บาทต่อวัน เป็น 120 บาทต่อวัน
                    1.2 อัตราเบี้ยเลี้ยงประจำสำหรับนักเรียนช่างฝีมือทหารและนักเรียนช่างกรมอู่ทหารเรือ จาก 87 บาทต่อวัน เป็น 111 บาทต่อวัน
                    1.3 อัตราเบี้ยเลี้ยงประจำสำหรับนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตร อัตราเบี้ยเลี้ยงสำหรับนักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน และอัตราเบี้ยเลี้ยงสำหรับนักเรียนเตรียมทหาร จาก 106 บาทต่อวัน เป็น 120 บาทต่อวัน
                    1.4 อัตราเบี้ยเลี้ยงผู้ต้องขังและผู้ถูกควบคุมตัว จาก 52 บาทต่อวัน เป็น 67 บาทต่อวัน
                    1.5 ค่าอาหารผู้เจ็บป่วย จาก 75 บาทต่อวัน เป็น 96 บาทต่อวัน
                2. กลุ่มที่ 2 กำลังพลที่ปฏิบัติงานนอกที่ตั้งปกติตามแผนงานป้องกันประเทศ ได้แก่ เบี้ยเลี้ยงทหารกองประจำการ กรณีไปปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันและปราบปรามนอกที่ตั้งปกติหรือไปปฏิบัติราชการพิเศษเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ จาก 94 บาทต่อวัน เป็น 200 บาทต่อวัน โดยเปรียบเทียบกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของข้าราชการทหาร ซึ่งกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงข้าราชการทหารซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก อัตราเงินเดือน พันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษขึ้นไป 270 บาทต่อวัน และข้าราชการทหาร             ซึ่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกลงมา 240 บาทต่อวัน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554

21. เรื่อง  การดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ  ดังนี้
1.  อนุมัติให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ –
ท่าพระ เป็นการเดินรถแบบต่อเนื่อง  (Through Operation)  โดยให้มีการศึกษาทบทวนโดยนำรูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost  มาเป็นแนวทางการลงทุนในลำดับแรกก่อนในการเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิม โดยรวมการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – บางซื่อ (สัญญาที่ 5) ไปในคราวเดียวกันตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ให้เจรจาไว้แล้วเพื่อให้ขนาดการลงทุนมีความคุ้มค่า  (Economies of Scale) โดยการเจรจาให้อยู่บนพื้นฐานการเจรจาที่คำนึงถึงประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนพร้อมทั้งให้เกิดความเป็นธรรม และประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด
2.  มอบหมายให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อ
ขยายช่วงหัวลำโพง- บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ดำเนินการตามแนวทางในข้อ 1 ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้ทันกับการเปิดใช้บริการแก่ประชาชนตามแผนงานที่กำหนด

22. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.) ครั้งที่ 1/2558
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
                1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง (กปส.)            ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558
                2. เห็นชอบให้แต่งตั้ง “คณะทำงานสนับสนุนศูนย์พัฒนาโครงการหลวง” โดยมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว
                3. เห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2559 ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สนับสนุนงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 38 แห่ง และโครงการขยายผลโครงการหลวงจำนวน 29 แห่ง ในวงเงิน 903,992,142 บาท โดยเฉพาะงบประมาณด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกรมชลประทานและกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                4. เห็นชอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่ที่มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ใช้ประโยชน์ จำนวน 3 แปลง ออกจากเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ดอยสุเทพ – ปุย จำนวนพื้นที่ 868-1-58 ไร่ มาเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ แปลงที่ดินด้านทิศเหนือ จำนวน 295-2-26 ไร่ ซึ่งเป็นที่ตั้งมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) แปลงที่ดินด้านทิศใต้ จำนวน 104-0-22 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน และพื้นที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จำนวน 468-3-10 ไร่ โดยให้ดำเนินการตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                5. เห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสนับสนุนโครงการพัฒนาและติดตั้งระบบงาน ERP (Enterprise Resource Planning) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2559 – 2560) ของมูลนิธิโครงการหลวงพร้อมทั้งจัดหางบประมาณสนับสนุนต่อไป

23. เรื่อง  ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนมกราคม พ.ศ. 2558
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนมกราคม พ.ศ. 2558  
                สาระสำคัญของเรื่อง
                สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเป็นประจำทุกเดือน โดยสอบถามประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีครัวเรือนตกเป็นตัวอย่าง 27,960 ครัวเรือนต่อเดือน คิดเป็นจำนวนประชากรที่ตกเป็นตัวอย่างทั้งสิ้นประมาณ 97,860 คน ซึ่งขนาดตัวอย่างดังกล่าวนำเสนอข้อมูลในระดับ ภาค และยอดรวมทั้งประเทศ  สำหรับแนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศไทย และตามข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และหน่วยงานสหประชาชาติ (UN) ซึ่งเป็นมาตรฐานทางสถิติที่ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรเพื่อให้ได้ข้อมูลการทำงาน การว่างงาน และการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชากร ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในระหว่างประเทศ
                สำหรับในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ในภาพรวมสถานการณ์แรงงานมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 4.3 หมื่นคน (จาก 3.61 แสนคน เป็น 4.04 แสนคน) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557  หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.84 แสนคน (จาก 2.20 แสนคน เป็น 4.04 แสนคน) สำหรับสาระสำคัญการสำรวจสรุปได้ ดังนี้
1.  ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน
                ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 38.01 ล้านคน ประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.36 ล้านคน                  ผู้ว่างงาน 4.04 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 2.47 แสนคน ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน  มีจำนวนลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวน 4.2 แสนคน (จาก 38.43 ล้านคน เป็น 38.01 ล้านคน)
2.  ผู้มีงานทำ
                ผู้มีงานทำ 37.36 ล้านคน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557 จำนวน 4.3 แสนคน (จาก 37.79               ล้านคน เป็น 37.36 ล้านคน) หรือลดลงร้อยละ 1.1 ซึ่งมีผู้ทำงานเพิ่มขึ้นและลดลง ในสาขาต่างๆ ได้ดังนี้
                        2.1 ผู้ทำงานเพิ่มขึ้น  ได้แก่ สาขาการผลิต 3.5 แสนคน (จาก 6.30 ล้านคน เป็น 6.65   ล้านคน) สาขาการก่อสร้าง 1.0 แสนคน (จาก 2.18 ล้านคน เป็น 2.28 ล้านคน) สาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 4.0 หมื่นคน   (จาก 0.17 ล้านคน เป็น 0.21 ล้านคน) สาขากิจกรรมด้านสุขภาพ และงานสังคมสงเคราะห์ 3.0 หมื่นคน (จาก 0.64 ล้านคน เป็น 0.67 ล้านคน)
                        2.2 ผู้ทำงานลดลง  ได้แก่  ผู้ทำงานสาขาภาคเกษตรกรรม 4.8 แสนคน (จาก 11.71              ล้านคน เป็น 11.23 ล้านคน) สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ และรถจักรยานยนต์ 4.2 แสนคน (จาก 6.71 ล้านคน เป็น 6.29 ล้านคน) สาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า 7.0 หมื่นคน (จาก 1.28 ล้านคน เป็น 1.21 ล้านคน) สาขากิจกรรมทางการเงิน และการประกันภัย 6.0 หมื่นคน (จาก 0.59 ล้านคน เป็น 0.53 ล้านคน) สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร 5.0 หมื่นคน (จาก 2.69 ล้านคน เป็น 2.64 ล้านคน)         
                3. ผู้ว่างงาน
                        3.1 ผู้ว่างงานทั่วประเทศมีจำนวน 4.04 แสนคน  คิดเป็นอัตราการว่างงาน
ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม (เพิ่มขึ้น 4.3 หมื่นคน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2557) ประกอบด้วย  ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 1.64 แสนคน  อีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนจำนวน 2.40 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคบริการและการค้า 1.19 แสนคน ภาคการผลิต 7.8 หมื่นคน และภาคเกษตรกรรม 4.3   หมื่นคน
                        3.2 ผู้ว่างงานเป็นผู้มีการศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.44 แสนคน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 9.5 หมื่นคน ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 6.6 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 5.0 หมื่นคน และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4.9 หมื่นคน 
                        3.3 ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง 1.41 แสนคน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8.7              หมื่นคน ภาคเหนือ 6.2 หมื่นคน กรุงเทพมหานคร 5.8 หมื่นคน และภาคใต้ 5.6 หมื่นคน หากคิดเป็นอัตราการว่างงาน ภาคกลางมีอัตราการว่างงานสูงสุดร้อยละ 1.2 รองลงมาเป็น กรุงเทพมหานครและภาคใต้ มีอัตราการว่างงานเท่ากันคือ ร้อยละ 1.1 ภาคเหนือ ร้อยละ 1.0  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 0.9



24. เรื่อง  การจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558              พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ  และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ส่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
                สาระสำคัญของการจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่านให้แผ่ไพศาลทั้งในประเทศและนานาประเทศ  ตลอดจนน้อมนำจิตใจของปวงชนชาวไทยให้แสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประชาชนทั่วไป     
                ทั้งนี้  กระทรวงการคลังได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว ตามแบบที่ทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว

25. เรื่อง การปรับปรุงการปฏิบัติราชการและหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของสำนักงบประมาณ
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับปรุงการปฏิบัติราชการและหลักเกณฑ์การปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของสำนักงบประมาณ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอโดยมีแนวทาง ดังนี้
                1. การปรับปรุงการดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                        1.1 ให้หัวหน้าส่วนราชการ / ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินรายการค่าที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างภายในเขตพื้นที่จังหวัดเดียวกันได้ รวมถึงให้แก้ไขข้อความที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ
                        1.2 ให้ส่วนราชการเร่งจัดสรรงบประมาณไปยังหน่วยงานภูมิภาคภายใน 3 วันทำการ
                        1.3 ให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น   / ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจอนุมัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการได้ โดยอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมและไม่เป็นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ของรายการ สำหรับกรณีเปลี่ยนวัตถุประสงค์ให้ดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ ฯ
                        1.4 กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการฯ/ผู้ว่าราชการจังหวัด โอนงบประมาณไปสมทบรายการค่าครุภัณฑ์ / ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างที่มีผลการจัดซื้อจัดจ้างเกินกว่าวงเงินงบประมาณที่ได้รับ  ได้อีกไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินที่ได้รับจัดสรร
                2. การปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการตามระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ                 พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                        2.1 กำหนดให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคา ควบคู่ไปกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ
                        2.2 ให้ส่วนราชการฯ สามารถเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ซึ่งกระทบต่อวัตถุประสงค์ของรายการภายในเขตพื้นที่จังหวัดเดียวกันได้โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ
                3. ให้ส่วนราชการ ฯ ทำความตกลงแบบรูปรายการมาตรฐานสิ่งก่อสร้างที่กำหนดขึ้นเฉพาะหน่วยงาน กับสำนักงบประมาณให้เป็นปัจจุบัน
                4. การเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่กันเงินไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี ให้ส่วนราชการฯ ดำเนินการตามแนวทางข้อ 1 และข้อ 2 โดยอนุโลม
                5. การเร่งรัดขั้นตอนการดำเนินการของสำนักงบประมาณ ประกอบด้วย การพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง                  การพิจารณาความเหมาะสมของราคารายการผูกพันข้ามปีงบประมาณ การพิจารณาอนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ จัดสรรงบประมาณตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
                การปรับปรุงการปฏิบัติราชการและขั้นตอนตามระเบียบดังกล่าว จะสามารถเร่งรัดการใช้จ่ายและเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น ได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10- 32 วัน 
                ทั้งนี้  สำนักงบประมาณจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับปรุงการปฏิบัติ
ราชการและขั้นตอนตามระเบียบดังกล่าว เพื่อเวียนแจ้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  หน่วยงานอื่น  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบและถือปฏิบัติต่อไป

26. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) ครั้งที่ 1/2558
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) ครั้งที่ 1/2558  ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ โดยสรุปดังนี้
                1. การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) และพิจาณาแนวทางการดำเนินงานเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานสำคัญของรัฐบาลและประสานกับ
คณะกรรมการต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแต่งตั้งประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) เพิ่มเติม และให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.)  ดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนในประเด็น ดังนี้
                        1. ด้านความมั่นคง ประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาแรงงานต่างด้าว การปฏิรูปที่ดิน การแก้ไขปัญหาขยะ การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ  การรักษาความสงบ การป้องกันและปราบปรามการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และการจัดระเบียบสังคม
                        2. ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การพัฒนาระบบราง การบริหารจัดการน้ำ การ Zoning ภาคเกษตร การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร  การช่วยเหลือเกษตรกร               การแก้ไขปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล และการพัฒนาส่งเสริม SMEs
                        3. ด้านสังคม วิจัย จิตวิทยา ประกอบด้วย การพัฒนาระบบการศึกษา  การพัฒนาระบบสาธารณสุข และการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา
                        4. ด้านกฎหมายและการป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย การต่อต้านและป้องกันการทุจิต การเร่งรัดการพิจารณากฎหมายที่สำคัญ การติดตามการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ สัญญาคุณธรรม และการพัฒนาระบบการประเมินผลการทำงานของข้าราชการทุกระดับ
                        5. ด้านการต่างประเทศประกอบด้วย มาตรการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามข้อตกลงระหว่างประเทศและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                ทั้งนี้ ให้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเลขาธิการนายกรัฐมนตรีร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของผู้ประสานงานบูรณาการการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล (ระดับกระทรวง) (ปขก.) และให้ประธานและฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนชุดต่าง ๆ ได้แก่ (1) คณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) (2) คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล (กขร.) (3) คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (กขย.) (4) คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และ (5) ผู้ประสานงานบูรณาการการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล  (ระดับกระทรวง) (ปขก.) มีการประชุมร่วมกันเป็นประจำไม่เกินวันที่ 5 ของทุกเดือน และนำเสนอผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายสำคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล (กขน.) ทราบต่อไป



ต่างประเทศ

27. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกฎหมายระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกฎหมายระหว่างกระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (MEMORANDUM OF UNDERSTANDING ON JUSTICE AND LEGAL AFFAIRS COOPERATION BETWEEN THE MINISTRY OF JUSTICE OF THE KINGDOM OF THAILAMD AND THE MINISTRY OF JUSTICE OF THE SOCIALIST REPLUBLIC OF VIET NAM) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                สาระสำคัญของเรื่อง
                สาระสำคัญหลักของร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือในสาขากิจการยุติธรรมและกฎหมายระหว่าง ยธ. ของทั้งสองประเทศ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีเนื้อหาหลักประกอบด้วย
                1. สาขาความร่วมมือ ประกอบด้วย
                        1.1 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย
                        1.2 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีทางแพ่ง การบังคับคดี และการพัฒนาระบบดังกล่าว
                        1.3 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์อันเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่และการศึกษากฎหมาย กระบวนการติดตามการบังคับใช้กฎหมาย และกลไกกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือก
                        1.4 ข้อมูลเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศว่าด้วยกระบวนการพินิจและคุ้มครองเด็ก
                        1.5 การฝึกอบรมและการสร้างขีดความสามารถแก่เจ้าหน้าที่ยุติธรรม
                        1.6 ความร่วมมือระหว่างกันว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกฎหมาย ทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ รวมถึงในบริบทของประชาคมอาเซียน
                        1.7 ขอบข่ายความร่วมมืออื่น ๆ ในความสนใจร่วมกัน
                2. ขอบเขตการมีผลใช้บังคับ บันทึกความเข้าใจฯ จะไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีขึ้นใหม่ตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือมีผลกระทบต่อพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่แต่ละภาคีมีอยู่ รวมทั้งบทบัญญัติของกฎหมายภายในราชอาณาจักรไทย และของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

28. เรื่อง ขอความเห็นชอบและลงนามพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบการให้สัตยาบันพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน และตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินซึ่งเป็นภาคผนวกแนบท้ายพิธีสารฯ
                2. เห็นชอบและอนุมัติการลงนามในพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน โดยมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                3. ให้นำพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน และตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินซึ่งเป็นภาคผนวกแนบท้ายพิธีสารฯ เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ
                4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Power) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในพิธีสารดังกล่าว เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบพิธีสารฯ และตารางข้อผูกพันฯ ดังกล่าวแล้วตามข้อ 3
                5. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมอบสัตยาบันสารของพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 6 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน ให้แก่สำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อรับทราบการให้สัตยาบันพิธีสารฯ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในพิธีสารดังกล่าวแล้ว
                สาระสำคัญของร่างพิธีสารและข้อผูกพัน
                1. ร่างพิธีสารฯ
                    1.1 กำหนดให้ประเทศสมาชิกที่เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกจะต้องคงการให้สิทธิประโยชน์ตามข้อผูกพันเฉพาะของตนภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการแก่ประเทศสมาชิกอื่น ที่มิใช่สมาชิกองค์การการค้าโลก
                    1.2  กำหนดให้พิธีสารฉบับนี้และภาคผนวกของพิธีสารฉบับนี้จะรวมกันเป็นอันเดียวกับกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน
                    1.3 กำหนดให้ประเทศสมาชิกตั้งแต่สองประเทศหรือมากกว่านั้นอาจดำเนินการเจรจาและตกลงเปิดเสรีสาขาการธนาคารประเทศของตน และต้องระบุข้อผูกพันในสาขาการธนาคารของตนตามที่ตกลงกัน ลงในตารางรวมข้อผูกพันเฉพาะการค้าบริการด้านการเงินด้วย
                    1.4 กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้พิธีสารฯ และข้อผูกพันฯ มีผลใช้บังคับ
                2. ตารางข้อผูกพัน
                    2.1 สาขาประกันภัย ปรับเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติของบริการนายหน้าและตัวแทนภายใต้รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ (Mode 3) จากเดิมที่จำกัดไว้ไม่เกินร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน เป็นร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน
                    2.2 สาขาธนาคารพาณิชย์
                         2.2.1 ปรับปรุงตารางข้อผูกพัน สาขาธนาคารย่อยใน Mode 3
                         2.2.2 ยกเลิกข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรสำหรับบุคคลสัญชาติอาเซียน (Mode 4)

29. เรื่อง ร่างยุทธศาสตร์ต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน พ.ศ. 2558 – 2564
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างยุทธศาสตร์ต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน พ.ศ. 2558 – 2564 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป
                ร่างยุทธศาสตร์ต่อประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน พ.ศ. 2558 – 2564 เป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ให้สอดรับกับผลประโยชน์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการป้องกันหรือลดผลกระทบด้านความมั่นคงที่อาจเกิดขึ้นกับไทย ภายใต้สภาพการณ์ทางด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนในปัจจุบัน ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ย่อย ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความพร้อมภายใน และร่วมมือกับสมาชิกอาเซียนเพื่อรับมือกับการติดต่อเชื่อมโยงในอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างศักยภาพภายในและร่วมมือกับสมาชิกอาเซียนเพื่อรับมือกับปัญหาท้าทายความมั่นคงรูปแบบใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับตัวอย่างสมดุลเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความตระหนักรู้ และทัศนคติที่เหมาะสมต่ออาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเอกภาพของอาเซียนและสร้างดุลยภาพทางอำนาจกับมหาอำนาจ

30. เรื่อง การจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามแนวทางการจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
                1. แนวทางการจัดระบบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา หลังวันที่ 31 มีนาคม 2558 ได้แก่
                        1.1 กลุ่มที่ผ่านการตรวจสัญชาติแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 จะได้รับการตรวจลงตรา และได้รับอนุญาตทำงาน จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557) เนื่องจากแรงงานกลุ่มดังกล่าวปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ครบทุกขั้นตอนภายในเวลาที่กำหนด โดยอนุญาตให้ทำงานต่อไปอีก 2 ปีหลังสิ้นสุดการอนุญาต 31 มีนาคม 2559
                        1.2 กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ถือใบอนุญาตทำงานที่ออกให้ ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ที่ยังไม่ได้เข้ารับการตรวจสัญชาติภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ให้มารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และขอรับใบอนุญาตทำงาน  ซึ่งแรงงานต่างด้าวดังกล่าวจะได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 1 ปี และได้รับอนุญาตให้ทำงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 เพื่อเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติให้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ เมื่อผ่านการตรวจสัญชาติแล้วจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และอนุญาตทำงานต่อไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานพิจาณารูปแบบการดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดเตรียมสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเวลาเปิดการดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนฯ ในวันที่ 1 เมษายน 2558 และสิ้นสุดการดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2558
                        1.3 กลุ่มที่ไม่มารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ และขออนุญาตทำงานภายในวันที่                     30 มิถุนายน 2558 ให้ดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม จับกุม และผลักดันส่งกลับ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 100/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 101/2557 ลงวันที่                   21 กรกฎาคม 2557
                        1.4 กลุ่มผู้ติดตาม ให้ผู้ติดตามที่อายุไม่เกิน 15 ปี มารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่พร้อมกับแรงงานต่างด้าว ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ผู้ติดตามที่มารายงานตัวจะมีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรเช่นเดียวกับแรงงานต่างด้าวตามข้อ 1.1 หรือ 1.2 แล้วแต่กรณี สำหรับผู้ติดตามที่ไม่มารายงานตัวจะต้องถูกดำเนินการผลักดันพร้อมแรงงานต่างด้าวตามข้อ 1.3
                2. การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเล
                        2.1 การแก้ไขปัญหาระยะสั้น โดยการเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล
                        ให้มีการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 ตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 (จดทะเบียนปีละ 2 ครั้ง) ทั้งนี้ ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว และให้นำแรงงานต่างด้าวไปทำทะเบียนประวัติ ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ และขออนุญาตทำงาน ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในพื้นที่จังหวัดชายทะเล ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และในระหว่างการผ่อนผัน นั้น ให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติ เมื่อผ่านการตรวจสัญชาติแล้วจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และอนุญาตให้ทำงานต่อได้อีก 2 ปี ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานพิจารณารูปแบบการดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศและกฎกระทรวงให้ครอบคลุมการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว จัดเตรียมสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดเวลาเปิดดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนฯ ในวันที่ 1 เมษายน 2558 และสิ้นสุดการดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2558 สำหรับการจดทะเบียนและการตรวจสัญชาติครั้งต่อไปภายในระยะเวลา 2 ปี ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานพิจารณากำหนดช่วงระยะเวลาในการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร และระยะเวลาการดำเนินการต่อไป
                        2.2 การแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยการนำเข้าแรงงานประมงต่างด้าวถูกกฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอ 7 ขั้นตอน ดังนี้
                                1) การลงทะเบียนแรงงาน นายจ้าง และรวบรวมความต้องการแรงงานประมง
                                2) การรับสมัครแรงงานไทยและการอนุมัตินำเข้าแรงงานต่างด้าว
                                3) การคัดเลือกบริษัทจัดหางานที่ถูกกฎหมายกรณีนำเข้าแรงงานต่างด้าว
                                4) การนำเข้าแรงงานต่างด้าว สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนสมาชิก หรือนายจ้างประมง ประสานการดำเนินงานกับบริษัทจัดหางาน
                                5) การดูแลแรงงานประมงก่อนลงเรือ โดยการปฐมนิเทศ ชี้แจงข้อปฏิบัติให้แรงงานทราบ
                                6) การควบคุมตรวจติดตามเรือประมงและแรงงานบนเรือ
                                7) การลงโทษ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ
                ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการได้ตามความเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการดำเนินการ
                3. การปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชา ในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะการปรับระยะเวลาการกลับเข้าทำงานใหม่ของแรงงานต่างด้าวหลังทำงานครบกำหนด 4 ปีแล้ว จากเดิมกำหนดไว้ 3 ปี ให้ลดลงเหลือ 30 วัน เพื่อความต่อเนื่องของการทำงานและสอดคล้องกับระยะเวลาการเตรียมการจัดทำเอกสารเพื่อกลับเข้ามาทำงานใหม่ รวมทั้งแรงงานได้กลับไปเพื่อพักผ่อนอยู่กับครอบครัวหลังจากเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว



แต่งตั้ง

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางสาวสมศรี เหลืองมณีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายยุทธนา หยิมการุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร (นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

33. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงแรงงาน)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงวัฒนธรรม)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นายนิยม กลิ่นบุบผา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างสิบหมู่) (นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ) สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่างศิลปกรรม (ช่างศิลปไทย) (นักวิชาการช่างศิลป์ทรงคุณวุฒิ) กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ (นักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสุวัฒน์ กิตติดิลกกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

37. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งครบกำหนดวาระสองปีให้ดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระหนึ่ง ดังนี้      1. นายดาวิน นารูลา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ 2. นางเพทาย ปทุมจันทรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมสงเคราะห์ 3. พันตำรวจเอก ณรัชต์ เศวตนันท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 4. นางสาวศุภมาศ พยัฆวิเชียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. นายไพฑูรย์ สว่างกมล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป




38. เรื่อง พิจารณาแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนประธานกรรมการที่ลาออกจากตำแหน่ง
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอแต่งตั้ง นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนนายจรัมพร โชติกเสถียร ที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง      นางสาวสุทธิลักษณ์ ระวิวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง                          รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

40. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้รักษาราชการแทนในลำดับที่ 1  2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รักษาราชการแทน ในลำดับที่ 2 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

41. เรื่อง ขอปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ จำนวน 2 คณะ ดังนี้
คณะกรรมการ
การปรับปรุงองค์ประกอบ
1. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)
ปรับ รองศาสตราจารย์ชนะ กสิภาร์ ออกจากการเป็นกรรมการ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมได้
2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ)

ปรับ ศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ ออกจากการเป็นกรรมการ และแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการดังกล่าว

42. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) เพิ่มเติม (จำนวน 7 ราย)
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 7 ราย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี/ส่วนราชการ
รายชื่อ ปคร.
1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร)
พลเรือเอก อิทธิคมน์ ภมรสูต
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
2. กระทรวงการคลัง
นายประสิทธิ์ สืบชนะ
รองปลัดกระทรวงการคลัง

3. กระทรวงพลังงาน
นายทวารัฐ สูตะบุตร
รองปลัดกระทรวงพลังงาน
4. กระทรวงวัฒนธรรม
นายอนันต์ ชูโชติ
รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
5. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
นายธงชัย ดุลยสุข
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
6. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
นางวรารัตน์ อติแพทย์
รองเลขาธิการวุฒิสภา
7. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
นางฐะปานีย์ อาจารวงศ์
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

*********************************************************

ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย


โดย www.tuewsob.com  

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com


   คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558 


ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม