อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ศธ.สร้างการรับรู้ ‘เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้านการศึกษา’ ในระดับพื้นที่
ประเด็นสำคัญ
– จัดประชุมครั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ วิเคราะห์บริบท และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อน SDGs ด้านการศึกษา ในระดับภาค/จังหวัด
– ขณะนี้ รมว.ศธ. กำลังศึกษาข้อมูล ข้อดี ปัญหาอุปสรรคของการปฏิรูปการศึกษาอย่างรอบด้าน ก่อนตัดสินใจ
– พร้อมรับฟังข้อมูล เพื่อปรับปรุงงานที่ทับซ้อน
– มอบหมายให้ ศธภ./ศธจ./สพฐ. ดำเนินการรววบรวมข้อมูล รร.ขนาดเล็ก เป็นภาพรวมของแต่ละจังหวัด ให้แล้วเสร็จใน 6 สัปดาห์ และรายงานผลก่อน 31 ต.ค.นี้
– จัดประชุมครั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ วิเคราะห์บริบท และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อน SDGs ด้านการศึกษา ในระดับภาค/จังหวัด
– ขณะนี้ รมว.ศธ. กำลังศึกษาข้อมูล ข้อดี ปัญหาอุปสรรคของการปฏิรูปการศึกษาอย่างรอบด้าน ก่อนตัดสินใจ
– พร้อมรับฟังข้อมูล เพื่อปรับปรุงงานที่ทับซ้อน
– มอบหมายให้ ศธภ./ศธจ./สพฐ. ดำเนินการรววบรวมข้อมูล รร.ขนาดเล็ก เป็นภาพรวมของแต่ละจังหวัด ให้แล้วเสร็จใน 6 สัปดาห์ และรายงานผลก่อน 31 ต.ค.นี้
(28 ส.ค. 2562) นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการสร้างการรับรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในระดับพื้นที่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2652 โดยมีศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด นักวิชาการสำนักงานศึกษาธิการภาค และศึกษานิเทศก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เข้าร่วมจำนวน 800 คน ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ
นายสุทิน แก้วพนา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs ) เป็นวาระการพัฒนาระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2559 – 2573) ที่ผู้นำประเทศสมาชิกสหประชาชาติ จำนวน 193 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้ร่วมกันลงนามรับรองพันธะสัญญาทางการเมืองระดับผู้นำในเอกสาร “Transforming Our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development” เป็นการยืนยันเจตนารมณ์และกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกด้านต่าง ๆ ใน 15 ปีข้างหน้าร่วมกัน เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ประกอบด้วย เป้าหมายหลัก 17 ข้อ ที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น 3 เสาหลักด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4 ด้านการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญเชื่อมโยงสู่การขับเคลื่อนเป้าหมายหลักที่เหลืออย่างมีประสิทธิผล
รัฐบาลไทย ได้กำหนดกลไกการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในรูปแบบคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ปลัดกระทรวง ผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับผิดชอบหลักเป้าหมายที่ 4 ว่าด้วยการศึกษา โดยมีกลไกขับเคลื่อนสำคัญในรูปแบบ “คณะกรรมการอำนวยการการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา” เพื่อให้สามารถบูรณาการการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในห้วงปี 2560 ได้จัดทำแผนขับเคลื่อน (Roadmap) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยได้กำหนดตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดทดแทน (Proxy) จำนวน 17 ตัวชี้วัด รวมทั้งกำหนดมาตรการ แผนงานและโครงการสำคัญระยะสั้น (2560) ระยะกลาง (2561-2564) และระยะยาว (2564-2573) เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาตามประเด็นความท้าทายที่สำคัญให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ภายในปี 2573 ได้แก่
- ปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา ซึ่งมีเด็กนอกระบบการศึกษาที่ยังไม่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ออกจากระบบการศึกษาก่อนจบการศึกษาภาคบังคับ) ร้อยละ 10 มีเด็กจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และไม่เรียนต่ออีกร้อยละ 30 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
- ปัญหาการไม่รู้จักตนเอง ขาดเป้าหมายในชีวิต ขาดแรงจูงใจ หรือเหตุผลในการมาเรียนรู้ ทำให้เด็กมีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านต่าง ๆ หรือเป็นแรงงานไร้ฝีมือ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจของชาติประมาณปีละ 330,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 ของ GDP
- ผลการประเมินโครงการ PISA 2015 พบว่าเด็กไทยราว 1 ใน 3 สอบตกด้านการอ่าน ซึ่งตามมาตรฐานของ PISA หมายรวมถึงเด็กที่อ่านหนังสือออกแต่ไม่เข้าใจสิ่งที่ตนเองกำลังอ่าน อีกทั้งนักเรียนในชนบทไทยมีทักษะการอ่านออก เขียนได้ ล่าช้ากว่านักเรียนในเมืองวัยเดียวกันประมาณ 2-3 ปีการศึกษา
- การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่ต้องปรับตัวรองรับยุคดิจิทัล ที่การศึกษาย่อมได้รับผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน ทั้งเศรษฐกิจและการพัฒนา
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะฝ่ายเลขานุการหน่วยงานหลักในการดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม จึงร่วมกันขับเคลื่อนโครงการยุทธศาสตร์และจัดการประชุมในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ
1) เพื่อสร้างการรับรู้เข้าใจถึงที่มา หลักการสำคัญ และความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนโยบายและแผนการทำงานของประเทศไทย
2) เพื่อวิเคราะห์บริบทและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในระดับจังหวัดและภูมิภาคต่อไป
1) เพื่อสร้างการรับรู้เข้าใจถึงที่มา หลักการสำคัญ และความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับนโยบายและแผนการทำงานของประเทศไทย
2) เพื่อวิเคราะห์บริบทและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในระดับจังหวัดและภูมิภาคต่อไป
นายประเสริฐ บุญเรือง รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การประชุมปฏิบัติการสร้างการรับรู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาในระดับพื้นที่ครั้งนี้ ถือเป็นความจำเป็นที่ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด นักวิชาการ และศึกษานิเทศก์ ต้องทำความเข้าใจ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีความสำคัญมาก ที่ผ่านมาตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษามา ตามมาตรา 44 ฉบับที่ 19 ส่งผลให้เกิดการทับซ้อนในหน้าที่การทำงานอยู่บ้าง จึงขอให้ทุกคนเสนอแนะความคิดเห็นเข้ามาได้
ซึ่งขณะนี้ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศธ. อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านเกี่ยวกับข้อดีและปัญหาอุปสรรคของการปฏิรูปการศึกษา และพร้อมรับฟังข้อมูลจากผู้ปฏิบัติ หรือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เกิดคุณภาพแก่การศึกษาอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ รมว.ศธ. ได้มอบหมายให้ศึกษาธิการภาค และศึกษาธิการจังหวัด ร่วมกับ สพฐ. พิจารณาเรื่องการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งต้องเร่งดำเนินการจัดทำข้อมูล เช่น สามารถควบรวมได้กี่โรงเรียน มีโรงเรียนใดควบรวมกันบ้าง หรือมีโรงเรียนใดบ้างในพื้นที่สูง พื้นที่ห่างไกล พื้นที่เกาะแก่ง ที่ไม่สามารถควบรวมได้ มีโรงเรียนใดต้องเป็นโรงเรียนจัดการศึกษาร่วมเนื่องจากควบรวมไม่ได้ เป็นต้น โดยให้จัดทำเป็นภาพรวมของจังหวัด กำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 6 สัปดาห์ และรายงานผลในวันที่ 31 ตุลาคม 2562
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาะิการ
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น