หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562

รวมเรื่องต้องจับตาใน ASEAN Summit ครั้งที่ 35 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง) 
เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ ) 



(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม 

คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมเตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  

รวมเรื่องต้องจับตาใน ASEAN Summit ครั้งที่ 35 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

ASEAN Summit

HIGHLIGHTS

9 MINS. READ
  • การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2019 จะไม่ได้มีเพียงผู้นำอาเซียนจาก 10 ประเทศสมาชิกเท่านั้น ที่ได้รับเชิญให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ประเทศไทยยังเป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำระดับสูงจากคู่เจรจา (Dialogue Partners) ของอาเซียนอีก 8 คู่เจรจา ประกอบด้วย ออสเตรเลีย, จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, นิวซีแลนด์, รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา และองค์การสหประชาชาติ
  • ผู้นำอาเซียนและจีนเตรียมใช้เวทีนี้ยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เพื่อเปิดเสรีและลดภาษีเพิ่มเติม รวมถึงการสนับสนุนความเชื่อมโยงข้อริเริ่ม Belt and Road Initiative (หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง) ของจีน
  • ไฮไลต์ที่น่าจับตาคือ การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ โดยรัฐบาลไทยน่าจะใช้โอกาสนี้เจรจานอกรอบกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับประเด็นการตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ระบบ GSP กับสินค้าไทย 573 รายการ
  • จับตาการหาข้อสรุปและลงนามความตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งล่าช้ามาจากกำหนดการในปี 2015 โดยเขตการค้าเสรี RCEP จะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะครอบคลุมประชากรกว่า 47.4% ของประชากรโลก มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่า 32.2% ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก
  • การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2019 ภายใต้แนวคิดหลัก ‘ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน Advancing Partnerships for Sustainability’

    ตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) ประธานจะจัดให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนปีละ 2 รอบ โดยปกติการประชุมรอบต้นปี (การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2019) มักจะเป็นการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางหารือความสัมพันธ์ภายในระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน อันประกอบไปด้วย ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม 

    ในขณะที่การประชุมรอบปลายปี (การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2019) จะไม่ได้มีเพียงผู้นำอาเซียนและคู่สมรสจาก 10 ประเทศสมาชิกเท่านั้น ที่ได้รับเชิญให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย แต่ประเทศไทยยังเป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำระดับสูงจากคู่เจรจา (Dialogue Partners) ของอาเซียนอีก 8 คู่เจรจา อันได้แก่ ออสเตรเลีย, จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, นิวซีแลนด์, รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา และองค์การสหประชาชาติ (UN)

    นั่นทำให้ตลอดทั้งสัปดาห์ ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพและเป็นประธานในการประชุมที่มีความสำคัญระดับโลก ที่จะกำหนดทิศทางการเดินหน้าประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในทุกมิติและในทุกระดับของประชาชนกว่า 650 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่มีประเด็นสำคัญๆ ที่ต้องตระหนักถึง โดยเฉพาะโครงสร้างการจัดระเบียบและความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจที่มีพลวัตสูง โดยจะมีการประชุม พิธีการ การหารือ งานเลี้ยง และการแถลงข่าวสำคัญๆ เกิดขึ้นกว่า 22 ครั้ง ตลอด 5 วัน ซึ่งกิจกรรมสำคัญๆ ที่จะเกิดขึ้น มีดังนี้
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2019

    1. การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 18 (18th ASEAN Economic Community (AEC) Council Meeting)

    เนื่องจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความร่วมมือกันในหลากหลายมิติ เฉพาะการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับมิติทางด้านเศรษฐกิจก็มี 9 การประชุม (เช่น  เศรษฐกิจ, การคลังและธนาคารกลาง, การเกษตรและป่าไม้, คมนาคมขนส่ง, โทรคมนาคม, วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี, พลังงาน, เหมืองแร่, การท่องเที่ยว) การประชุมที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีและการบูรณาการเศรษฐกิจในมิติต่างๆ ของประเทศสมาชิก และยังต้องมีการประชุมร่วมกับประเทศคู่เจรจาที่มีข้อตกลงทางการค้า นั่นทำให้มีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของทั้ง 10 ประเทศ ต้องมาประชุมร่วมกัน เพื่อพิจารณาภาพรวมว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเดินหน้าไปถึงไหนแล้ว และทุกอย่างเดินหน้าไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่ โดยในกรณีของประเทศไทย เจ้าภาพหลักที่ต้องเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

    2. พิธีลงนามข้อตกลงโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (Signing Ceremony of ASEAN Agreements by ASEAN Economic Ministers)

    หลังจากการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 18 เชื่อว่า อย่างน้อยที่สุดจะมี 3 เรื่องที่จะประกาศ และถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพที่ผลักดันจนสามารถลงนามและมีผลบังคับใช้ได้ในปีนี้ ได้แก่

    • ข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยานยนต์และชิ้นส่วนอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangements (MRA) Pact on Automobiles and Parts) ซึ่งครอบคลุมชิ้นส่วนยานยนต์ของระบบเบรก (Breaking System), เข็มขัดนิรภัย (Safety Belts), ที่นั่งเบาะนั่ง (Seats), ยางรถยนต์ (Tires), ระบบควบคุมรถยนต์ (Steering Systems), มาตรวัดต่างๆ (Speedometers) และกระจกนิรภัย (Safety Glass) ซึ่งการมีมาตรฐานเดียวกันจะทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบซ้ำซ้อนหลายรอบเมื่อมีการส่งออก-นำเข้าสินค้าระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีห่วงโซ่อุปทานอยู่ในอาเซียน
    • พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนฉบับปรับปรุง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitations: TFs) ที่มีความสำคัญมากและอาเซียนเจรจาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องมาหลายปี เพื่อให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับมาตรฐานขององค์การการค้าโลก และจะสำเร็จลงนามได้ในประเทศไทย
    • ความสำเร็จในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารใบรับรองถิ่นกำเนิด (Form D) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่จะต้องใช้เพื่อขอสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ข้อตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) ซึ่งไทยก็เสนอให้มีการทบทวนให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเช่นกัน นั่นคือ ผู้ประกอบการต้องมี Form D จึงจะสามารถใช้อัตราภาษี 0% ในการทำการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้จัดทำระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (ASEAN-Wide Self Certification) ได้สำเร็จ นั่นหมายความว่า ต่อไปนี้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องไปที่หน่วยงานของรัฐในการออกใบรับรอง แต่สามารถทำได้เองในที่ทำการของตนเองได้เลย และข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งเข้าระบบออนไลน์ เชื่อมโยงไปยัง 10 ประเทศสมาชิก ด้วยระบบ ASEAN Single Windows (ASW) ซึ่งจะเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ครบทั้ง 10 ประเทศภายในปีนี้ที่ไทยเป็นประธานอาเซียน (หลังจากที่ล่าช้าจากกำหนดในปี 2015 โดยปัจจุบันประเทศที่ยังไม่เชื่อมโยง ได้แก่ ฟิลิปปินส์ พม่า และลาว) 
    • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2019 

      3. การประชุม ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) ซึ่งจะเป็นการประชุมของภาคเอกชน และเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ภาคเอกชนจะเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนให้ความสนใจและร่วมมือกันมากยิ่งขึ้นอย่างน้อยใน 3 มิติ นั่นคือ 

      1. สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitations: TFs) ที่เชื่อมโยงและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
      2. การเตรียมความพร้อมอาเซียนให้เท่าทันกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4th Industrial Revolution: 4IR) 
      3. นโยบายของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับการทำธุรกิจภายในอาเซียน ซึ่งกระทบต่อต้นทุนของภาคธุรกิจอย่างแน่นอน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเสริมสร้างศักยภาพและสร้างโอกาสให้ธุรกิจอาเซียนในตลาดโลกที่ต้องมีมาตรฐานสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

      4. การประชุมคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ครั้งที่ 20 (20th ASEAN Political-Security Community (APSC) Council Meeting) เช่นเดียวกับเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในด้านการเมือง-ความมั่นคง ก็มีหลากหลายประเด็นความร่วมมือ อาทิ การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคง กฎหมาย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้นจะมีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ที่รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองความมั่นคงของทั้ง 10 ประเทศ จะต้องมาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาภาพรวมว่า ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียนเดินหน้าไปถึงไหนแล้ว และทุกอย่างเดินหน้าไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่ โดยในกรณีของประเทศไทย เจ้าภาพหลักที่ต้องเข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

      5. การประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียน ครั้งที่ 24 (24th ASEAN Coordinating Council (ACC) Meeting) เนื่องจากประชาคมอาเซียนคือ ความร่วมมือในทุกมิติ และในทุกระดับ และแยกโครงสร้างการทำงานออกเป็น 3 เสาหลักคือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC), ประชาคมการเมือง-ความมั่นคงอาเซียน (Political-Security Community: APSC) และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งแน่นอน ตลอดทั้งปีมีการประชุมเกิดขึ้น มีการทำงานและมีความคืบหน้า รวมทั้งความล่าช้าที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย ดังนั้น แต่ละเสาหลักต้องมีการประชุมคณะมนตรีของแต่ละเสาหลัก จากนั้นก็จะเอาความคืบหน้า ความล่าช้า อุปสรรค และข้อเสนอแนะของแต่ละเสาหลักมาพิจารณาร่วมกันในที่การประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council: ACC) เพื่อเตรียมเนื้อหาสาระทั้งหมดให้ผู้นำของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ร่วมกันพิจารณาในที่ประชุมสุดยอด (ASEAN Summit)

      6. พิธีลงนามสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Signing Ceremony of the Instrument of Accession of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC)) ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา อาเซียนสนับสนุนให้มีการสร้างภาคีความร่วมมือกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกของอาเซียนเพิ่มมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยหากประเทศใดๆ ในโลกต้องการสร้างความร่วมมือ และยอมรับในหลักการของอาเซียน ก็ต้องลงนามกับอาเซียนในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ TAC ซึ่ง TAC นี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 1976 และมีการแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว 3 รอบ ในปี 1987, 1998 และ 2010 

      7. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 แบบเต็มคณะ (35th ASEAN Summit Plenary Session) 
    • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2019

      8. พิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง (Opening Ceremony)

      9. การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 22 (22nd ASEAN-China Summit) โดยประเด็นสำคัญที่อาเซียนและจีนจะหารือร่วมกัน ได้แก่

      • การยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน เพื่อเปิดเสรีและลดภาษีเพิ่มเติม ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ถือเป็น FTA ฉบับแรกของอาเซียน ซึ่งลงนามร่วมกันมาตั้งแต่ปี 2002 การลดภาษีจนกลายเป็น 0% ของรายการสินค้าส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปี 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และปี 2015 สำหรับ CLMV 
      • การสนับสนุนความเชื่อมโยงข้อริเริ่ม Belt and Road Initiative: BRI (หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน) กับแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC) ให้เป็นไปตามที่อาเซียนแถลงไว้จากการประชุมสุดยอดครั้งก่อนใน ASEAN Outlook on the Indo-Pacific (AOIP)

      10. การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 16 (16th ASEAN-India Summit) โดยประเด็นสำคัญที่อาเซียนและอินเดียจะหารือร่วมกันคือ การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าภายใต้ FTA อาเซียน-อินเดีย เพื่อให้มีการเปิดเสรีและลดภาษีเพิ่มเติม โดย ASEAN-India FTA ลงนามและเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2009 และ 2010 ตามลำดับ โดยข้อตกลง FTA ครอบคลุม 90% ของรายการสินค้าที่มีการค้าระหว่างกัน 

      11. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 10 (10th ASEAN-UN Summit)

      12. งานเลี้ยงอาหารค่ำ (Gala Dinner) แน่นอนว่า การเป็นเจ้าภาพที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่การจัดประชุมที่มีเนื้อหาสาระในการประชุมที่เข้มข้นและต้องจับตามองเท่านั้น หากแต่ต้องอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับทุกฝ่ายที่เดินทางมาร่วมประชุม ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความประทับใจ และเป็นโอกาสในการเผยแพร่ ‘ความเป็นมิตรไมตรีของชาวไทย (Thai Hospitality)’ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้สาระการประชุมเช่นเดียวกัน

      วันที่ 4 พฤศจิกายน 2019

      13. การประชุม Indo-Pacific Business Forum ต่อเนื่องจากการประชุม ASEAN Business and Investment Summit (ABIS) ที่คุยกันระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน การประชุม Indo-Pacific Business Forum ก็จะมีการสร้างความร่วมมือและการเจรจาของภาคเอกชนที่ครอบคลุมหลากหลายประเทศทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก

      14. การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 22 (22nd ASEAN Plus Three Summit) อาเซียนบวกสามคือความร่วมมือระหว่างอาเซียน 10 ประเทศ กับจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของเอเชีย นั่นคือในระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจการเงินเอเชีย 1997-1998 (Asian Financial Crisis) โดยคาดว่า ทั้ง 13 ประเทศ คงจะต้องเจรจากันในเรื่อง

      • สนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง ครอบคลุม โปร่งใส และยึดตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) ในท่ามกลางสถานการณ์ที่การค้าแบบปกป้องคุ้มกัน (Protectionism) เกิดขึ้นมากที่สุด และรุนแรงที่สุดตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งเป็นปีก่อตั้งองค์การการค้าโลก ผ่านการประกาศสงครามการค้าของสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางความล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง และการเสื่อมศรัทธาของการเจรจาการค้าในกรอบพหุภาคีขององค์การการค้าโลกที่ยังไม่มีผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่เริ่มต้นการเจรจารอบโดฮาในปี 2001 และท่ามกลางแนวคิดแบบ Unilateral ที่มหาอำนาจ (ทั้งจีนและสหรัฐอเมริกา) เริ่มต้นการขยายอิทธิพลและกดดันให้ประเทศอื่นๆ ยอมทำตามแต่เพียงฝ่ายเดียว
      • การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

      15. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7 (7th ASEAN-US Summit) สหรัฐฯ เข้าเป็นคู่เจรจา Dialogue Partners ของอาเซียนในปี 2016 คาดว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะเจรจากันในประเด็น 

      • การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) การค้าดิจิทัล (Digital Trade) 
      • การให้ความช่วยเหลืออาเซียนเรื่องการเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window)
      • และล่าสุดจากการแถลงของกระทรวงพาณิชย์เชื่อว่า ไทยคงจะใช้โอกาสนี้ในการประชุมนอกรอบ (Sideline) เพื่อเจรจาในประเด็นที่สหรัฐฯ ระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ระบบ GSP กับสินค้าไทย 573 รายการ

      16. Special Lunch on Sustainable Development

      17. การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 (15th East Asia Summit) คือการประชุมร่วมกันระหว่างผู้นำอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับผู้นำจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งคาดว่า น่าจะเน้นเรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR)

      18. การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 22 (22nd ASEAN-Japan Summit) ญี่ปุ่นคือประเทศคู่ค้าและนักลงทุนที่สำคัญที่สุดชาติหนึ่งในอาเซียน และปัจจุบันเรามีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับที่ลึกซึ้งและกว้างขวางครอบคลุมมิติความร่วมมือมากกว่าข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ปกติ ดังนั้น ความร่วมมือจึงถูกเรียกว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership: AJCEP) ซึ่งมีการลงนามและบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2008 การประชุมครั้งนี้จะกล่าวถึงการบังคับใช้พิธีสาร เพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) เพื่อเปิดเสรีภาคบริการ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา และการลงทุน จากเดิมที่มีแต่เรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า
    • 19. การประชุมสุดยอดความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ 3 (3rd RCEP Summit) ซึ่งต้องจับตาเรื่องการสรุปและลงนามความตกลงการค้าเสรี RCEP ซึ่งล่าช้ามาจากกำหนดการในปี 2015 โดยเขตการค้าเสรี RCEP จะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก นั่นคือ ครอบคลุมประชากรกว่า 47.4% ของประชากรโลก มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่า 32.2% ของมูลค่าเศรษฐกิจโลก ครอบคลุมมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศถึง 29.1% และ 32.5% ตามลำดับ

      การเจรจาการค้าในกรอบ RCEP แบ่งการเจรจาออกเป็น 2 กรอบ (Tracks) โดยกรอบแรกจะเป็นการเจรจาในประเด็นการเปิดและการเข้าสู่ตลาด (Market Access) พบว่า ณ ปัจจุบัน การเจรจาสามารถหาข้อสรุปได้แล้ว 80.4% ของรายการสินค้าและบริการ ในขณะที่อีก 16% ของรายการสินค้าและบริการอยู่ในสถานะที่ใกล้จะหาข้อสรุปได้ และยังคงเหลืออีก 3.6% ของรายการสินค้าและบริการที่ยังต้องเร่งให้เกิดการเจรจา

      ในขณะที่อีกกรอบหนึ่งจะเป็นการเจรจาในการร่างข้อตกลง (Draft Agreement Text) ซึ่งข้อตกลงจะมีทั้งหมด 20 ข้อบท (Chapters) และสถานะล่าสุดคือ ประเทศสมาชิกสามารถบรรลุข้อสรุปในข้อตกลงได้แล้ว 14 ข้อบท เหลือต้องเจรจาอีก 6 ข้อบท  

      RCEP จะเป็นเครื่องมือที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดในระดับนานาชาติว่าทั้ง 16 ประเทศสมาชิกสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และในฐานะประชาชนชาวไทย เราคงต้องเอาใจช่วยผู้ที่ส่วนร่วมในการเจรจา เพื่อผลักดันให้ RCEP สามารถหาข้อสรุปได้ภายในปีนี้ที่ไทยเป็นประธานการประชุม เพื่อยืนยันความสำเร็จของไทยในเวทีนานาชาติ ควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์ของไทยร่วมกับประชาคมอาเซียน ให้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์เศรษฐกิจในระดับโลก ณ ปัจจุบัน

      20. พิธีปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานอาเซียนแก่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Handing Over of the ASEAN Chairmanship to Vietnam)

      21. การแถลงข่าวโดยนายกรัฐมนตรี (Press Conference)

      22. การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 ระหว่างอาหารค่ำ (11th Mekong-Japan Summit Working Dinner) ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคระหว่าง ไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2008 โดยในปี 2018 ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอ Tokyo Strategy 2018 for Mekong-Japan Cooperation ซึ่งกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคตให้สอดคล้องกับ 3 แนวทาง ได้แก่ แผนแม่บทอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS ซึ่งไทยเป็นผู้ริเริ่ม), ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง (Free and Open Indo-Pacific ซึ่งญี่ปุ่นเป็นผู้ริเริ่ม) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Sustainable Development Goals 2030) รวมทั้งได้จัดลำดับความร่วมมือ 3 เสาหลัก ได้แก่ การพัฒนาความเชื่อมโยง (Connecting the Connectivity) การสร้างสังคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Centered) และการสร้างความเป็นรูปธรรมและความตระหนักรู้ต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสีเขียว (Green Mekong)

      และนี่คือทั้งหมดที่ต้องจับตาตลอดทั้งสัปดาห์ ASEAN Summit ที่กำลังจะถึงนี้ มาร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี เพื่อผลักดันความร่วมมือให้เกิดขึ้นในอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง

ที่มา ; เว็บ  https://thestandard.co/asean-summit-35th/


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมเตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  

โดย  อ./ผอ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม