เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 481/2558ผลประชุมองค์กรหลัก 30 ธ.ค.2558
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารฝ่ายการเมือง ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 30 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ
เรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
- การส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองคนพิการ นายกรัฐมนตรีแจ้งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอให้ทุกกระทรวงไปพิจารณารับคนพิการในประเทศไทยซึ่งมีจำนวนกว่า 1.7 ล้านคน ให้เข้ามาทำงานในภาคราชการให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันภาคเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานแล้วกว่า 3หมื่นคน เนื่องจากมีข้อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสใช้ความสามารถ มีรายได้ และพึ่งพาตนเองได้ และลดภาระของครอบครัวและสังคมที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนพิการเป็นพลังสำคัญในการเสริมสร้างทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศต่อไป ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐรับคนพิการเข้าทำงานเพียง 1,600 คน
รมว.ศึกษาธิการ จึงมอบสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อรายงานต่อรัฐบาล รวมทั้ง ศธ. จะนำข้อมูลนี้ไปใช้เพื่อวางแผนจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และใช้ในการปรับปรุงอาคารสถานที่ของหน่วยงานในสังกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนคนพิการต่อไป
- ความร่วมมือกับต่างประเทศ นายกรัฐมนตรีได้ฝากให้ทุกกระทรวงรวบรวมข้อมูลความร่วมมือด้านต่างๆ กับต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของ ศธ. ที่ประชุมได้มอบสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. รวบรวมข้อมูลการลงนามความร่วมมือระดับกระทรวงว่ามีเรื่องใดบ้าง เพื่อรายงานข้อมูลให้รัฐบาลรับทราบต่อไป
- งานและโครงการในพระราชดำริ ต้องการให้หน่วยงานนำแนวพระราชดำริต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจะต้องโยงงานด้านต่างๆ ให้ออก เพื่อนำไปถ่ายทอดให้พี่น้องประชาชนตามโครงการต่าง ๆได้ตรงตามแนวพระราชดำริ
- การสร้างคนให้มีวินัย คุณธรรม รู้หน้าที่ ย้ำให้ทุกองค์กรหลักมีแนวปฏิบัติในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดใน 3 เรื่อง คือ วินัย คุณธรรม และรู้หน้าที่ไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมและปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ให้กับผู้เรียน โดยมอบทุกองค์กรหลักคิดเมนูให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย และให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.สป.) รวบรวมเมนูกิจกรรมทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว รวมทั้งเมนูกิจกรรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ รับทราบภายในเดือนมกราคม 2559 จากนั้นเมื่อตกผลึกเมนูกิจกรรมต่างๆ แล้ว จะได้นำไปให้สถานศึกษาทุกสังกัดได้นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติช่วงก่อนปิดเทอม
- ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มารายงานความคืบหน้าในการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวในช่วงต้นเดือนมกราคม 2559
- การสนับสนุนให้ส่วนราชการใช้ Biodiesel ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน มาใช้ในส่วนราชการต่างๆ ให้มากขึ้น
- ความต้องการแรงงานด้าน Demand Side โดยกระทรวงแรงงานจะดูในภาพรวม แต่ ศธ. ดูในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวทางการพัฒนาแรงงานให้เป็นหัวหน้างาน แนวทางการผลิตแรงงานส่งต่างประเทศ เช่น กุ๊ก แม่บ้าน เป็นต้น
- การปรับตัวเพื่อวางแผนและกำหนดนโยบายทางการศึกษา โดยจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องและทันสมัย เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาการศึกษาได้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ เช่น แนวโน้มการเกิดที่ลดลงส่งผลถึงจำนวนผู้เรียนใน 6 ปีข้างหน้า จะมีจำนวนนักเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่อง และจะส่งผลถึงระดับอุดมศึกษาในอนาคตด้วย โดยมอบ สกศ. และ สพฐ. ร่วมพิจารณาหารือในประเด็นนี้
- การติดตามนักเรียนและครูที่ได้รับรางวัล ต้องการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สพฐ. ติดตามด้วยว่านักเรียนและครูที่ได้รับรางวัลทรงคุณค่าต่างๆ เมื่อกลับไปสถานศึกษาแล้ว สามารถไปขยายผลหรือสร้างเครือข่ายเพิ่มเติมได้มากน้อยเพียงใด
- งบประมาณของประเทศ ทั้งงบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม 2558) หากหน่วยงานใดใช้เงินไม่ทัน สำนักงบประมาณก็ได้ตัดไปแล้ว ส่วนการเสนอของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2560 ขอให้ทุกองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับวางแผนจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่จะต้องสอดคล้องกับแนวทาง 3 ส่วน คือ กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี, แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (Area-Based), ยุทธศาสตร์ของกระทรวง/หน่วยงาน (Function) ดังนั้น หากองค์กรหลักหรือหน่วยงานใดที่เสนอขออนุมัติแผนงานโครงการที่เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 มิติดังกล่าว ก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ และโครงการหรือกิจกรรมใดได้รับอนุมัติแล้ว ต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณให้ทันในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำอีกครั้งถึงการออกแบบก่อสร้างที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน ห้ามฟุ่มเฟือยในการตกแต่งและก่อสร้าง รวมทั้งให้องค์กรหลักได้พิจารณาการนำยางพารามาใช้ในภาคการศึกษา เช่น พื้นสนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา โดยจะต้องดำเนินการด้านต่างๆ ให้โปร่งใส ไม่เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน
เรื่องที่ รมว.ศึกษาธิการสั่งการในที่ประชุม
รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำใน 3 เรื่อง คือ
1) การสร้างคนให้มีวินัย คุณธรรม รู้หน้าที่
2) การดำเนินการขององค์กรหลักและหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับจุดเน้น 6ยุทธศาสตร์ของ ศธ. คือ ครู, หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน, การทดสอบ/การประเมิน/การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, การบริหารจัดการ, ICT เพื่อการศึกษา และการผลิตกำลังคนและงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของประเทศ3) งบประมาณ ซึ่งจะต้องให้เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยง เช่น เรื่อง ICT เพื่อการศึกษา จะต้องมาพิจารณาบูรณาการทั้งด้านโครงข่าย เนื้อหา และฐานข้อมูล
ถ่ายภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ภายหลังการประชุม นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยถึงประเด็นการประชุมข้างต้น รวมทั้งการรายงานติดตามสถานการณ์ปัญหาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ซึ่งขณะนี้มีความขัดแย้งและรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลให้มหาวิทยาลัยหยุดเรียนไปแล้ว 2 วัน ล่าสุดช่วงเช้าวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์กระทบกระทั่งของทั้งสองฝ่ายบริเวณประตูด้านหน้ามหาวิทยาลัย อัสสัมชัญวิทยาเขตหัวหมาก ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของอุดมศึกษาไทยเป็นอย่างมาก ทั้งที่ระดับปัญญาชนควรจะใช้วิถีทางแห่งปัญญา ที่ควรจะต้องใช้วิธีเจรจาพูดคุยกัน
ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แจ้งต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งมีอำนาจโดยตรงในการดูแลมหาวิทยาลัย ให้จัดประชุมวาระเร่งด่วนในต้นเดือนมกราคม 2559 เพื่อพิจารณาว่าสมควรจะเข้าไปควบคุมดูแล ซึ่งอำนาจทางกฎหมายที่ ศธ.จะนำมาใช้ควบคุมได้ คือ มาตรา 86 ตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยจะมีคณะกรรมการเข้าไปควบคุมดูแลอย่างน้อย 5 คน และเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ กลับสู่สภาวะปกติแล้ว ก็จะให้สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ กลับไปดูแลเองเช่นเดิม เช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยอีสาน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 481/2558ผลประชุมองค์กรหลัก 30 ธ.ค.2558
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารฝ่ายการเมือง ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันพุธที่ 30 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ
เรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
- การส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองคนพิการ นายกรัฐมนตรีแจ้งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอให้ทุกกระทรวงไปพิจารณารับคนพิการในประเทศไทยซึ่งมีจำนวนกว่า 1.7 ล้านคน ให้เข้ามาทำงานในภาคราชการให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันภาคเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานแล้วกว่า 3หมื่นคน เนื่องจากมีข้อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสใช้ความสามารถ มีรายได้ และพึ่งพาตนเองได้ และลดภาระของครอบครัวและสังคมที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนพิการเป็นพลังสำคัญในการเสริมสร้างทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศต่อไป ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐรับคนพิการเข้าทำงานเพียง 1,600 คน
รมว.ศึกษาธิการ จึงมอบสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนพิการทั้งหมดของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อรายงานต่อรัฐบาล รวมทั้ง ศธ. จะนำข้อมูลนี้ไปใช้เพื่อวางแผนจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และใช้ในการปรับปรุงอาคารสถานที่ของหน่วยงานในสังกัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนคนพิการต่อไป
- ความร่วมมือกับต่างประเทศ นายกรัฐมนตรีได้ฝากให้ทุกกระทรวงรวบรวมข้อมูลความร่วมมือด้านต่างๆ กับต่างประเทศ ซึ่งในส่วนของ ศธ. ที่ประชุมได้มอบสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. รวบรวมข้อมูลการลงนามความร่วมมือระดับกระทรวงว่ามีเรื่องใดบ้าง เพื่อรายงานข้อมูลให้รัฐบาลรับทราบต่อไป
- งานและโครงการในพระราชดำริ ต้องการให้หน่วยงานนำแนวพระราชดำริต่างๆ ไปปฏิบัติ ซึ่งจะต้องโยงงานด้านต่างๆ ให้ออก เพื่อนำไปถ่ายทอดให้พี่น้องประชาชนตามโครงการต่าง ๆได้ตรงตามแนวพระราชดำริ
- การสร้างคนให้มีวินัย คุณธรรม รู้หน้าที่ ย้ำให้ทุกองค์กรหลักมีแนวปฏิบัติในการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดใน 3 เรื่อง คือ วินัย คุณธรรม และรู้หน้าที่ไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมและปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ให้กับผู้เรียน โดยมอบทุกองค์กรหลักคิดเมนูให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย และให้สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.สป.) รวบรวมเมนูกิจกรรมทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว รวมทั้งเมนูกิจกรรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ รับทราบภายในเดือนมกราคม 2559 จากนั้นเมื่อตกผลึกเมนูกิจกรรมต่างๆ แล้ว จะได้นำไปให้สถานศึกษาทุกสังกัดได้นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติช่วงก่อนปิดเทอม
- ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) มารายงานความคืบหน้าในการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าวในช่วงต้นเดือนมกราคม 2559
- การสนับสนุนให้ส่วนราชการใช้ Biodiesel ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน มาใช้ในส่วนราชการต่างๆ ให้มากขึ้น
- ความต้องการแรงงานด้าน Demand Side โดยกระทรวงแรงงานจะดูในภาพรวม แต่ ศธ. ดูในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวทางการพัฒนาแรงงานให้เป็นหัวหน้างาน แนวทางการผลิตแรงงานส่งต่างประเทศ เช่น กุ๊ก แม่บ้าน เป็นต้น
- การปรับตัวเพื่อวางแผนและกำหนดนโยบายทางการศึกษา โดยจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องและทันสมัย เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาการศึกษาได้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ เช่น แนวโน้มการเกิดที่ลดลงส่งผลถึงจำนวนผู้เรียนใน 6 ปีข้างหน้า จะมีจำนวนนักเรียนระดับประถม-มัธยมศึกษาลดลงอย่างต่อเนื่อง และจะส่งผลถึงระดับอุดมศึกษาในอนาคตด้วย โดยมอบ สกศ. และ สพฐ. ร่วมพิจารณาหารือในประเด็นนี้
- การติดตามนักเรียนและครูที่ได้รับรางวัล ต้องการให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สพฐ. ติดตามด้วยว่านักเรียนและครูที่ได้รับรางวัลทรงคุณค่าต่างๆ เมื่อกลับไปสถานศึกษาแล้ว สามารถไปขยายผลหรือสร้างเครือข่ายเพิ่มเติมได้มากน้อยเพียงใด
- งบประมาณของประเทศ ทั้งงบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 3 เดือน (ตุลาคม-ธันวาคม 2558) หากหน่วยงานใดใช้เงินไม่ทัน สำนักงบประมาณก็ได้ตัดไปแล้ว ส่วนการเสนอของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2560 ขอให้ทุกองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับวางแผนจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่จะต้องสอดคล้องกับแนวทาง 3 ส่วน คือ กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี, แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (Area-Based), ยุทธศาสตร์ของกระทรวง/หน่วยงาน (Function) ดังนั้น หากองค์กรหลักหรือหน่วยงานใดที่เสนอขออนุมัติแผนงานโครงการที่เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 มิติดังกล่าว ก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ และโครงการหรือกิจกรรมใดได้รับอนุมัติแล้ว ต้องเร่งใช้จ่ายงบประมาณให้ทันในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ด้วย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำอีกครั้งถึงการออกแบบก่อสร้างที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน ห้ามฟุ่มเฟือยในการตกแต่งและก่อสร้าง รวมทั้งให้องค์กรหลักได้พิจารณาการนำยางพารามาใช้ในภาคการศึกษา เช่น พื้นสนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬา โดยจะต้องดำเนินการด้านต่างๆ ให้โปร่งใส ไม่เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน
เรื่องที่ รมว.ศึกษาธิการสั่งการในที่ประชุม
รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำใน 3 เรื่อง คือ
1) การสร้างคนให้มีวินัย คุณธรรม รู้หน้าที่
2) การดำเนินการขององค์กรหลักและหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับจุดเน้น 6ยุทธศาสตร์ของ ศธ. คือ ครู, หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน, การทดสอบ/การประเมิน/การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, การบริหารจัดการ, ICT เพื่อการศึกษา และการผลิตกำลังคนและงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของประเทศ3) งบประมาณ ซึ่งจะต้องให้เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยง เช่น เรื่อง ICT เพื่อการศึกษา จะต้องมาพิจารณาบูรณาการทั้งด้านโครงข่าย เนื้อหา และฐานข้อมูล
2) การดำเนินการขององค์กรหลักและหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับจุดเน้น 6ยุทธศาสตร์ของ ศธ. คือ ครู, หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน, การทดสอบ/การประเมิน/การประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา, การบริหารจัดการ, ICT เพื่อการศึกษา และการผลิตกำลังคนและงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการของประเทศ3) งบประมาณ ซึ่งจะต้องให้เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยง เช่น เรื่อง ICT เพื่อการศึกษา จะต้องมาพิจารณาบูรณาการทั้งด้านโครงข่าย เนื้อหา และฐานข้อมูล
ถ่ายภาพ :
ภายหลังการประชุม นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้เปิดเผยถึงประเด็นการประชุมข้างต้น รวมทั้งการรายงานติดตามสถานการณ์ปัญหาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ซึ่งขณะนี้มีความขัดแย้งและรุนแรงมากขึ้น จนส่งผลให้มหาวิทยาลัยหยุดเรียนไปแล้ว 2 วัน ล่าสุดช่วงเช้าวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์กระทบกระทั่งของทั้งสองฝ่ายบริเวณประตูด้านหน้ามหาวิทยาลัย
ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แจ้งต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ซึ่งมีอำนาจโดยตรงในการดูแลมหาวิทยาลัย ให้จัดประชุมวาระเร่งด่วนในต้นเดือนมกราคม 2559 เพื่อพิจารณาว่าสมควรจะเข้าไปควบคุมดูแล ซึ่งอำนาจทางกฎหมายที่ ศธ.จะนำมาใช้ควบคุมได้ คือ มาตรา 86 ตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยจะมีคณะกรรมการเข้าไปควบคุมดูแลอย่างน้อย 5 คน และเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ กลับสู่สภาวะปกติแล้ว ก็จะให้สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ กลับไปดูแลเองเช่นเดิม เช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยอีสาน
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น