เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เศรษฐกิจโลกยังเสี่ยงกดดันส่งออกไทย
ลงทุนรัฐแม่แรงขับเคลื่อน ศก.ปี 59 เศรษฐกิจโลกยังเสี่ยงกดดันส่งออกไทย
“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท จะเห็นผลชัดเจนมากขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งปีนี้จะเป็นปีแห่งการลงทุนของภาครัฐ และสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนตามด้วย”
ในปี 2558 ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องผ่านเม็ดเงินก้อนโตที่ใส่เข้าไปในระบบ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งผลักดันโครงการลงทุนเมกะโปรเจกท์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งคาดหวังกันว่าจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2559 อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีผู้ดูแลทางด้านเศรษฐกิจ ก็ค่อนข้างมั่นใจว่า อานิสงส์ต่างๆ เหล่านั้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตได้ 3.5-4% ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว
“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท มีเม็ดเงินไหลเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ามหาศาล เพราะช่วยไม่ให้เศรษฐกิจปรับตัวลดลงมาก และจะเริ่มเห็นผลในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะชัดเจนมากขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งในปีนี้จะเป็นปีแห่งการลงทุนของรัฐบาล ส่วนหนึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนตามด้วย” นายสมคิดกล่าว
แม้ภาครัฐจะพยายามผลักดันการลงทุนและการบริโภคในประเทศ อีกทั้งยังมีภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยหนุน แต่อุปสรรคสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจก็คือ “การส่งออก” ที่ยังดูไม่สดใสนัก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยหลายแห่งมีกำลังซื้อลดลงเช่นกัน เป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศหั่นเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2559 จากเดิมที่มองว่าจะเติบโต 3.7% ลดลงมาเหลือ 3.5% หลังตัวเลขมูลค่าการส่งออกของไทยยังดิ่งหนัก โดยล่าสุด ณ เดือนพฤศจิกายน 2558 ตัวเลขยังคงติดลบสูงถึง 7.4% ขณะที่ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 จากเดิมมองไว้ที่ 2.7% เพิ่มขึ้นเป็น 2.8% ซึ่งได้แรงขับเคลื่อนสำคัญจากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2559 จะมีปัจจัยบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการท่องเที่ยว แต่ก็มีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจคู่ค้าขยายตัวต่ำ โดยเฉพาะจีนและเอเชีย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาภัยแล้งที่กระทบภาคการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกหลายชนิดต่ำกว่าประมาณการเดิมตามราคาน้ำมันดิบที่ยังมีแนวโน้มลดลง ทำให้คาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 0% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.2%
“ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ปัจจัยเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดการเงินที่อาจมีมากขึ้น ความต่อเนื่องใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนและผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินจากการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า จากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน” นายจาตุรงค์ กล่าว
ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการเศรษฐกิจในปี 2559 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 3-4% ได้รับปัจจัยหนุนจากลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ส่วนการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าส่งออก และการอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มูลค่าการส่งออกในปี 2559 เริ่มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ยังมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
ด้าน น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง คาดการณ์ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2559 ว่า สศค.คาดการณ์อยู่ที่ 3.8% โดยปัจจัยที่น่าเป็นห่วงคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่น ดังนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง ขณะที่ความผันผวนทางการเงินโลก การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศขนาดใหญ่ในโลก ใช้นโยบายการเงินไม่สอดคล้องกัน จะกระทบเงินทุนเคลื่อนย้าย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ ทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันที่ยังเป็นขาลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ท่ามกลางปัญหาภัยแล้งที่เข้ากดดันเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ยังมีความหวังจากการลงทุนภาครัฐ ที่คาดว่าเม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบมากกว่าปี 2558
ในส่วนของภาคเอกชนก็มองในทิศทางเดียวกันว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญยังเป็นเรื่องของ “ปัจจัยภายนอก” ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน และยังต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดเงิน โดยมาตรการของภาครัฐจะเป็นกลไกหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) กล่าวว่า ปัจจัยบวกของปีหน้าน่าจะเป็นงบลงทุนของรัฐบาล ซึ่งผลดีที่เห็นเด่นชัดคือการออกนโยบายจากกระทรวงการคลังเข้ามาสนับสนุนภาคธุรกิจ และการท่องเที่ยวทำได้ดี และภาคเอกชนขานรับจากรัฐบาลเป็นอย่างดี ส่วนปัจจัยลบเห็นจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่นิ่ง ไม่ว่าจะเป็นผลจากสงครามรัสเซีย ความขัดแย้งของจีน และอเมริกา
ด้านนายกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ นักวิเคราะห์กองทุน บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2559 ยังมีความเสี่ยงมากที่สุด จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตชะลอตัวต่อเนื่องหลังปี 2551 เป็นต้นมา จะกระทบกับภาคส่งออกของไทย และกรณีสงครามในตะวันออกกลาง เช่น ซีเรีย จะส่งผลต่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปี 2558 จะกระทบกับราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย อีกทั้งยังส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องมายังกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ที่มีรายได้จากน้ำมัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งในทางหนึ่งได้รับผลกระทบจากค่าเงินหนักกว่าไทย
สำหรับความเสี่ยงรองลงมาเป็นปัจจัยภายในประเทศ หากมีปัญหาทางการเมืองไทยยังไม่นิ่ง การเบิกจ่ายภาครัฐทำได้จริงแค่ไหน หากให้น้ำหนักหวังพึ่งการเบิกจ่ายเงินภาครัฐอย่างเดียว เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจเติบโตลำบาก ต้องกลับมามองการเติบโตจากการบริโภคในประเทศ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจในปี 2559 มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยการลงทุนภาครัฐยังเป็นบทบาทสำคัญที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่มีแรงหนุนเพิ่มจากการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัว ประกอบกับการส่งออกไม่ติดลบ นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเมืองในประเทศไม่มีปัจจัยกระทบรุนแรง รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐ ไม่เร่งจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-3.5% หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 3%
“เชื่อว่าการส่งออกจะไม่ติดลบเพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มมีเสถียรภาพ โดยคาดว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ 2% หรืออยู่ในกรอบ 0.5-3.5%” นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าว
สำหรับสมมติฐานหลักที่ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ 2.5-3.5% ซึ่งนอกจากจะมาจากการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน และการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวแล้ว ยังมีปัจจัยจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ไม่มีเหตุรุนแรง และเป็นไปตามโรดแม็พที่รัฐบาลวางไว้, ธนาคารกลางสหรัฐไม่เร่งจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย, เศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งปัญหาภัยแล้งที่แม้จะยังคงกดดันภาคการเกษตรแต่ก็ไม่ลุกลามจนส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคและกิจกรรมในภาคธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกยังคงฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ เพราะการฟื้นตัวของการส่งออกและราคาโภคภัณฑ์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น การบริโภคยังมีแรงกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน ประกอบกับรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรยังลดลงจากปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งตารางเวลาทางการเมืองเป็นช่วงเวลาสำคัญของการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่คาดว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐจะมีความคืบหน้ามากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะโครงการที่เปิดประมูลในช่วงปลายปี 2558 ถึงต้นปี 2559 น่าจะเริ่มก่อสร้างได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 2.8% และมาขยายตัวสูงในช่วงไตรมาส 4 ที่ 3.2% ซึ่งทำให้คาดว่าทั้งปีจะโตได้ราว 3%
“ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าน่าจะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลักมากกว่า โดยเฉพาะเศรษฐกิจของจีนที่ต้องจับตาในภาคอสังหาริมทรัพย์ กำลังการผลิตส่วนเกิน และภาคการเงินที่ยังมีความเปราะบาง รวมทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แม้จะใกล้ถึงจุดต่ำสุดและจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 59 แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด”
“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท จะเห็นผลชัดเจนมากขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งปีนี้จะเป็นปีแห่งการลงทุนของภาครัฐ และสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนตามด้วย”
ในปี 2558 ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆ มากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องผ่านเม็ดเงินก้อนโตที่ใส่เข้าไปในระบบ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งผลักดันโครงการลงทุนเมกะโปรเจกท์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งคาดหวังกันว่าจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2559 อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีผู้ดูแลทางด้านเศรษฐกิจ ก็ค่อนข้างมั่นใจว่า อานิสงส์ต่างๆ เหล่านั้น จะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตได้ 3.5-4% ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว
“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาวงเงินกว่า 5 แสนล้านบาท มีเม็ดเงินไหลเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่ามหาศาล เพราะช่วยไม่ให้เศรษฐกิจปรับตัวลดลงมาก และจะเริ่มเห็นผลในช่วงเดือนตุลาคมเป็นต้นไป และจะชัดเจนมากขึ้นในไตรมาส 1 ปี 2559 ซึ่งในปีนี้จะเป็นปีแห่งการลงทุนของรัฐบาล ส่วนหนึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนตามด้วย” นายสมคิดกล่าว
แม้ภาครัฐจะพยายามผลักดันการลงทุนและการบริโภคในประเทศ อีกทั้งยังมีภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจัยหนุน แต่อุปสรรคสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจก็คือ “การส่งออก” ที่ยังดูไม่สดใสนัก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยหลายแห่งมีกำลังซื้อลดลงเช่นกัน เป็นเหตุให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศหั่นเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2559 จากเดิมที่มองว่าจะเติบโต 3.7% ลดลงมาเหลือ 3.5% หลังตัวเลขมูลค่าการส่งออกของไทยยังดิ่งหนัก โดยล่าสุด ณ เดือนพฤศจิกายน 2558 ตัวเลขยังคงติดลบสูงถึง 7.4% ขณะที่ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2558 จากเดิมมองไว้ที่ 2.7% เพิ่มขึ้นเป็น 2.8% ซึ่งได้แรงขับเคลื่อนสำคัญจากการใช้จ่ายภาครัฐ การบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว
นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยในปี 2559 จะมีปัจจัยบวกจากการใช้จ่ายภาครัฐ และการท่องเที่ยว แต่ก็มีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจคู่ค้าขยายตัวต่ำ โดยเฉพาะจีนและเอเชีย ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาภัยแล้งที่กระทบภาคการผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกหลายชนิดต่ำกว่าประมาณการเดิมตามราคาน้ำมันดิบที่ยังมีแนวโน้มลดลง ทำให้คาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 0% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 1.2%
“ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ปัจจัยเสี่ยงการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของตลาดการเงินที่อาจมีมากขึ้น ความต่อเนื่องใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนและผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินจากการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า จากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน” นายจาตุรงค์ กล่าว
ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการเศรษฐกิจในปี 2559 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 3-4% ได้รับปัจจัยหนุนจากลงทุนภาครัฐและการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ส่วนการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลกและราคาสินค้าส่งออก และการอ่อนค่าของเงินบาทจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มูลค่าการส่งออกในปี 2559 เริ่มกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ยังมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
ด้าน น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง คาดการณ์ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2559 ว่า สศค.คาดการณ์อยู่ที่ 3.8% โดยปัจจัยที่น่าเป็นห่วงคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและญี่ปุ่น ดังนั้น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง ขณะที่ความผันผวนทางการเงินโลก การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศขนาดใหญ่ในโลก ใช้นโยบายการเงินไม่สอดคล้องกัน จะกระทบเงินทุนเคลื่อนย้าย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ ทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันที่ยังเป็นขาลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ท่ามกลางปัญหาภัยแล้งที่เข้ากดดันเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยก็ยังมีความหวังจากการลงทุนภาครัฐ ที่คาดว่าเม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบมากกว่าปี 2558
ในส่วนของภาคเอกชนก็มองในทิศทางเดียวกันว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญยังเป็นเรื่องของ “ปัจจัยภายนอก” ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน และยังต้องเผชิญกับความผันผวนของตลาดเงิน โดยมาตรการของภาครัฐจะเป็นกลไกหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) กล่าวว่า ปัจจัยบวกของปีหน้าน่าจะเป็นงบลงทุนของรัฐบาล ซึ่งผลดีที่เห็นเด่นชัดคือการออกนโยบายจากกระทรวงการคลังเข้ามาสนับสนุนภาคธุรกิจ และการท่องเที่ยวทำได้ดี และภาคเอกชนขานรับจากรัฐบาลเป็นอย่างดี ส่วนปัจจัยลบเห็นจะเป็นภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่นิ่ง ไม่ว่าจะเป็นผลจากสงครามรัสเซีย ความขัดแย้งของจีน และอเมริกา
ด้านนายกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ นักวิเคราะห์กองทุน บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2559 ยังมีความเสี่ยงมากที่สุด จากปัจจัยเศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตชะลอตัวต่อเนื่องหลังปี 2551 เป็นต้นมา จะกระทบกับภาคส่งออกของไทย และกรณีสงครามในตะวันออกกลาง เช่น ซีเรีย จะส่งผลต่อราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปี 2558 จะกระทบกับราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย อีกทั้งยังส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องมายังกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ที่มีรายได้จากน้ำมัน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซึ่งในทางหนึ่งได้รับผลกระทบจากค่าเงินหนักกว่าไทย
สำหรับความเสี่ยงรองลงมาเป็นปัจจัยภายในประเทศ หากมีปัญหาทางการเมืองไทยยังไม่นิ่ง การเบิกจ่ายภาครัฐทำได้จริงแค่ไหน หากให้น้ำหนักหวังพึ่งการเบิกจ่ายเงินภาครัฐอย่างเดียว เศรษฐกิจไทยปีนี้อาจเติบโตลำบาก ต้องกลับมามองการเติบโตจากการบริโภคในประเทศ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า เศรษฐกิจในปี 2559 มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยการลงทุนภาครัฐยังเป็นบทบาทสำคัญที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ขณะที่มีแรงหนุนเพิ่มจากการลงทุนภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัว ประกอบกับการส่งออกไม่ติดลบ นอกจากนี้ เศรษฐกิจจีนยังชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเมืองในประเทศไม่มีปัจจัยกระทบรุนแรง รวมทั้งธนาคารกลางสหรัฐ ไม่เร่งจังหวะการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-3.5% หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 3%
“เชื่อว่าการส่งออกจะไม่ติดลบเพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มมีเสถียรภาพ โดยคาดว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ 2% หรืออยู่ในกรอบ 0.5-3.5%” นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าว
สำหรับสมมติฐานหลักที่ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ 2.5-3.5% ซึ่งนอกจากจะมาจากการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน และการส่งออกที่กลับมาฟื้นตัวแล้ว ยังมีปัจจัยจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ไม่มีเหตุรุนแรง และเป็นไปตามโรดแม็พที่รัฐบาลวางไว้, ธนาคารกลางสหรัฐไม่เร่งจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย, เศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมทั้งปัญหาภัยแล้งที่แม้จะยังคงกดดันภาคการเกษตรแต่ก็ไม่ลุกลามจนส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคและกิจกรรมในภาคธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป เนื่องจากเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกยังคงฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ เพราะการฟื้นตัวของการส่งออกและราคาโภคภัณฑ์ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น การบริโภคยังมีแรงกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน ประกอบกับรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรยังลดลงจากปัญหาภัยแล้ง รวมทั้งตารางเวลาทางการเมืองเป็นช่วงเวลาสำคัญของการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่คาดว่าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐจะมีความคืบหน้ามากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะโครงการที่เปิดประมูลในช่วงปลายปี 2558 ถึงต้นปี 2559 น่าจะเริ่มก่อสร้างได้มากขึ้น ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 2.8% และมาขยายตัวสูงในช่วงไตรมาส 4 ที่ 3.2% ซึ่งทำให้คาดว่าทั้งปีจะโตได้ราว 3%
“ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าน่าจะมาจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลักมากกว่า โดยเฉพาะเศรษฐกิจของจีนที่ต้องจับตาในภาคอสังหาริมทรัพย์ กำลังการผลิตส่วนเกิน และภาคการเงินที่ยังมีความเปราะบาง รวมทั้งสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แม้จะใกล้ถึงจุดต่ำสุดและจะเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในปี 59 แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด”
ที่มา ; เว็บ นสพ.คมชัดลึก
ที่มา ; เว็บ นสพ.คมชัดลึก
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น