เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 471/2558รมว.ศธ.เปิดงานวันกำพล วัชรพล ครั้งที่ 19
สำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน "วันกำพล วัชรพล" ครั้งที่ 19 พร้อมมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาและบุคลากรดีเด่น โดยมีคุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล ประธานกรรมการบริษัท วัชรพล จำกัด และคณะผู้บริหารหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ให้การต้อนรับ โดยมีผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้บริหารและครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศเข้าร่วมงานในปีนี้กว่า 500 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2558 ที่อาคารกองบรรณาธิการหลังเก่า ถนนวิภาวดีรังสิต
นายมานิจ สุขสมจิตร ประธานกรรมการพิจารณาให้รางวัล "กำพล วัชรพล" กล่าวในนามมูลนิธิไทยรัฐว่า การจัดงานวัน "กำพล วัชรพล" จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของนายกำพล วัชรพล อดีตผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 101 แห่งทั่วประเทศ และก่อตั้งมูลนิธิไทยรัฐ เพื่อสนับสนุนและดูแลนักเรียนและครูในโรงเรียนไทยรัฐวิทยาอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วยการมอบรางวัล "กำพล วัชรพล" สำหรับวิทยานิพนธ์ด้านสื่อสารมวลชนที่สมควรได้รับรางวัลชมเชย, การมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ครู ผู้บริหาร และโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น และการแสดงปาฐกถาของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน เรื่อง “ครูกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”
สำหรับรางวัลเชิดชูเกียรติแก่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น ผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่น และครูโรงเรียนไทยรัฐวิทยาดีเด่นของภาคต่างๆ มีคณะกรรมการประเมินเป็นผู้คัดเลือก ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและยกย่องบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ที่ได้ปฏิบัติตามแผนพัฒนาโรงเรียนไทยรัฐวิทยาตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยมีรายชื่อโรงเรียนไทยรัฐวิทยาและบุคลากรดีเด่น ดังนี้
« โรงเรียนดีเด่น
ชนะเลิศ ได้แก่ ภาคเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 79 จังหวัดเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 82 จังหวัดนครราชสีมา, ภาคใต้-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 37 จังหวัดสงขลา, ภาคกลางและภาคตะวันออก-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 5 จังหวัดอุตรดิตถ์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 34 จังหวัดขอนแก่น, ภาคใต้-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 จังหวัดนราธิวาส, ภาคกลางและภาคตะวันออก-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 70 จังหวัดสมุทรสงคราม
รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ภาคเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 61 จังหวัดตาก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 92 จังหวัดอุดรธานี, ภาคใต้-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 97 จังหวัดระนอง, ภาคกลางและภาคตะวันออก-โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 68 จังหวัดสระบุรี และโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 73 จังหวัดนครนายก
« ผู้บริหารดีเด่น
ชนะเลิศ ได้แก่ ภาคเหนือ-นางสาวปิยะมาศ แซ่โค้ว โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 60 จังหวัดพิจิตร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นายสุเทพ ผลสว่าง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 92 จังหวัดอุดรธานี, ภาคใต้-นายชาร์รีฟท์ สือนิ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 จังหวัดนราธิวาส, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางอนุนาถ ชื่นจิตร์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 70 จังหวัดสมุทรสงคราม
รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ-นายประสิทธิ์ พรหมพิจารณ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 79 จังหวัดเชียงใหม่, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นายประเทือง รูขะจี โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 18 จังหวัดนครราชสีมา, ภาคใต้-นายชัยสิทธิ์ จุลนิล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 22 จังหวัดสุราษฏร์ธานี, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นายสุรศักดิ์ วาดเขียน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 68 จังหวัดสระบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ภาคเหนือ-นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 5 จังหวัดอุตรดิตถ์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นายบุญชอบ อุสาย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 11 จังหวัดมุกดาหาร, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นายสุรัตน์ ภารราช โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 71 จังหวัดสมุทรปราการ และนายประชุม บำรุงจิตร์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 73 จังหวัดนครนายก
« ครูดีเด่น
ชนะเลิศ ได้แก่ ภาคเหนือ-นางจงจิตร จิณเสน โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 98 จังหวัดน่าน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นางสุภาวดี ทวีบุตร โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 87 จังหวัดอุบลราชธานี, ภาคใต้-นางวรรณี ด้วงช่วย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 37 จังหวัดสงขลา, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางสาวราศิณี บุญเพ็ง โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 75 เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพฯ
รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ภาคเหนือ-นางนิตยา ทังสนิมิตสกุล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 46 จังหวัดพะเยา, ภาคใต้-นางสาวสีวรรณ์ ไชยกุล โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 จังหวัดยะลา, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางสุปราณี สุขธัญญาวัฒน์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 จังหวัดปราจีนบุรี
รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ภาคเหนือ-นางสาวศุภรดา เมืองแก้ว โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 61 จังหวัดตาก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-นายสุธน หีบแก้ว โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 17 จังหวัดมหาสารคาม และนางฉวีญา บุตรโพธิ์ศรี โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 92 จังหวัดอุดรธานี, ภาคใต้-นางธวัลหทัย อภิรักษ์วรากร โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 97 จังหวัดระนอง, ภาคกลางและภาคตะวันออก-นางสาวรุ่งรัตน์ วงษ์เกตุ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 68 จังหวัดสระบุรี และนางสาวนัยนา พยมพฤกษ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 70 จังหวัดสมุทรสงคราม
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเชิญชวนผู้เข้าร่วมงานปรบมือแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคน พร้อมทั้ง กล่าวแสดงความขอบคุณสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐประจำกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการตลอดมา ซึ่งหลายคำถามของสื่อมวลชนช่วยกระตุ้นการทำงานและสะท้อนปัญหาและเรื่องราวด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่หยิบยกขึ้นมาดำเนินการโดยมาจากประเด็นคำถามของสื่อมวลชน และคำตอบก็เป็นเสมือนข้อผูกพันว่าจะต้องทำ จึงขอขอบคุณด้วยใจจริง
นอกจากนี้ ได้กล่าวขอบคุณหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่ช่วยกระทรวงศึกษาธิการในการจัดการศึกษาให้กับคนไทย เพราะโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั้ง 101 แห่ง นอกจากจะสอนวิชาการแล้ว ยังช่วยสอนให้นักเรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ซึ่งตอบโจทย์ปัญหาของประเทศไทยและสอดรับกับงานที่นายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ กล่าวคือ ให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพหลักในการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตร่วมกับกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยมีจุดเน้น “มีความรู้ มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีวินัย” ซึ่งการสร้างวินัยให้กับคนในชาติจำเป็นที่จะต้องสร้างตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้ติดจนเป็นนิสัย โดยกระทรวงศึกษาธิการจะทบทวนแนวทางการสร้างวินัยที่ดำเนินการอยู่ว่าเพียงพอแล้วหรือไม่อย่างไร ควรเพิ่มเติมกิจกรรมใด พร้อมทั้งวางแผนอย่างละเอียดต่อไป ทั้งนี้จะขอความร่วมมือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมต่อการดูแลเด็กๆ ที่ต้องอยู่ที่บ้านหลังเลิกเรียนด้วย เพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมความมีวินัยทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนงาน กิจกรรม และโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาที่มีอยู่ในหลายส่วน จึงขอความร่วมมือจากมูลนิธิไทยรัฐให้ช่วยผลักดันงานในโรงเรียนไทยรัฐวิทยาในประเด็นต่างๆ ดังนี้
เด็กไทยเรียนมากที่สุดในโลก จากข้อมูลของ UNESCO ที่พบว่าเด็กไทยโดยเฉพาะนักเรียนอายุ 10-11 ปี ใช้เวลาเรียนสูงที่สุดในโลกถึง 1,200 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้จัดโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรให้เด็กได้เรียนนอกห้องเรียนเพิ่มขึ้น กำหนดสิ่งที่เด็กควรรู้ ตลอดจนปรับระบบการสอบให้สอดคล้องทั้งระบบ
ทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 48 จาก 63 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และอยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศอาเซียน ซึ่งมีคนไทยเพียง 10 % หรือ 6.54 ล้านคนที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ โดยสิงคโปร์อยู่ในอันดับ 1 สิงคโปร์ พูดได้ 71%, อันดับ 2 ฟิลิปปินส์ พูดได้ 55%, อันดับ 3 บรูไนดารุสซาลาม พูดได้ 37% และอันดับ 4 มาเลเซีย พูดได้ 27% ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำลังดำเนินโครงการยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา
ครูขาดแคลน หรือมีครูไม่ครบชั้นเรียน จำนวน 26,000 คน หรือ 22% ซึ่งได้เตรียมที่จะดำเนินโครงการ “ของขวัญปีใหม่ 2559 ที่กระทรวงศึกษาธิการมอบให้กับคนไทย” ได้แก่
1) โครงการคืนครูสู่ห้องเรียน-โดยการลดภาระครูจากการประเมินที่ต้องใช้เวลาถึง 43 วันต่อปี และมีโรงเรียนไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ จำนวน 6,932 แห่ง หรือ 22% โดยจะได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพื่อปรับระบบการประเมินให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้นต่อไป พร้อมทั้งให้งดกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการสอน ปรับการอบรมครูเฉพาะช่วงปิดภาคเรียน และยกเลิกการอนุมัติการลาตัวเองของผู้บริหารโรงเรียนเพื่อให้มีเวลาอยู่โรงเรียนมากขึ้น
2) โครงการหาครูให้นักเรียน-โครงการคืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูในระยะเร่งด่วน โดยเชิญครูเกษียณที่สอนเก่งสอนดีกลับมาช่วยสอนในวิชาหลักในพื้นที่ที่ขาดแคลน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยเกลี่ยงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อจ้างครูเกษียณในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,097 อัตรา และในปีการศึกษา 2560 อีก 10,000 อัตรา และโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (คพท.) ผลิตครูให้ตรงกับสาขาและพื้นที่ที่มีความขาดแคลน เป้าหมายในระยะ 10 ปี (ปี 2559-2569) จำนวน 45,000 คน โดยจะรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ หรือจากสถานศึกษาอื่นๆ ที่มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป เพื่อเรียนหลักสูตรครูเป็นเวลา 5 ปี พร้อมได้รับสิทธิ์บรรจุเป็นครูทดแทนอัตราเกษียณตามภูมิลำเนา และการกู้ยืมเรียนจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 100% ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
การบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการศึกษา ใน 3 ส่วนคือ การบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่าย ซึ่งได้เตรียมแผนบูรณาการ MOENet และ UNINet ให้เป็นโครงข่ายเดียว การบูรณาการระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา และบูรณาการระบบจัดการองค์ความรู้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ
ผลิตคนให้ตรงกับความต้องการแรงงานและมีคุณภาพ ซึ่งขณะนี้มีบัณฑิตตกงาน จำนวน 25,925 คน หรือ 23% โดยได้ดำเนินโครงการสำคัญๆ อาทิ โครงการยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, โครงการการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา), การส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง, อาชีวะสู่มาตรฐานสากล, อุดมศึกษาเป็นเลิศ, เครือข่ายอุดมศึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน เป็นต้น
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 471/2558รมว.ศธ.เปิดงานวันกำพล วัชรพล ครั้งที่ 19
2) โครงการหาครูให้นักเรียน-โครงการคืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูในระยะเร่งด่วน โดยเชิญครูเกษียณที่สอนเก่งสอนดีกลับมาช่วยสอนในวิชาหลักในพื้นที่ที่ขาดแคลน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยเกลี่ยงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อจ้างครูเกษียณในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2559 จำนวน 1,097 อัตรา และในปีการศึกษา 2560 อีก 10,000 อัตรา และโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (คพท.) ผลิตครูให้ตรงกับสาขาและพื้นที่ที่มีความขาดแคลน เป้าหมายในระยะ 10 ปี (ปี 2559-2569) จำนวน 45,000 คน โดยจะรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ หรือจากสถานศึกษาอื่นๆ ที่มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป เพื่อเรียนหลักสูตรครูเป็นเวลา 5 ปี พร้อมได้รับสิทธิ์บรรจุเป็นครูทดแทนอัตราเกษียณตามภูมิลำเนา และการกู้ยืมเรียนจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 100% ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2559 เป็นต้นไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น