เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 457/2558 ความร่วมมืออุดมศึกษาไทยในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความร่วมมือของอุดมศึกษาไทยในการแก้ไขปัญหาของประเทศ” ในการประชุมวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประจำปี 2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม2558 ที่หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) โดยมี ศ.ดร.ประสาท สืบค้า ประธาน ทปอ., ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สจล. และ ผศ.ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ สจล. ให้การต้อนรับ
ศธ.พร้อมปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้ สกอ.ทำงานร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีความเข้มแข็งในการจัดการศึกษาอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เช่น สจล.ที่สามารถผลิตบัณฑิตด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ ประกอบกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้กำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะต้องอาศัยสถาบันอุดมศึกษาในการที่จะขยับตัวตามรัฐบาลให้ทัน โดยพยายามใช้ขีดความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ หาความถนัดและความเชี่ยวชาญ เพื่อนำมาวางแผนการผลิตกำลังคนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้มีเป้าหมายตอบโจทย์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการบริหารงานอุดมศึกษา ยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสรรหาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาและการอนุมัติหลักสูตร ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย เรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ที่จะต้องมีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้ สกอ. สามารถร่วมดำเนินงานกับสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างเหมาะสม และมีความสมดุลมากขึ้นในอนาคต
ศธ.เตรียม 8 นโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังพบว่ามีประเด็นปัญหาในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการรับนักศึกษามากเกินแผนรับผู้เรียน โดยเฉพาะสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งมีการผลิตบัณฑิตที่ไม่ต้องกับความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ขาดกำลังคนในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ บัณฑิตไม่มีคุณภาพ ทักษะภาษาอังกฤษต่ำ ตลอดจนงานวิจัยยังไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประเทศ
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดเตรียมนโยบายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ แบ่งออกเป็น 8 ประเด็นหลัก ดังนี้
1) อุดมศึกษาเป็นเลิศ (Re-Profiling)
สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งควรกำหนดจุดเน้นในการผลิตบัณฑิตและงานวิจัย เพื่อสร้างความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญ โดยเปิดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนในสาขาที่เป็นความถนัดของแต่ละสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยวิจัย : ผลิตบัณฑิตและนักวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและแข่งขันในระดับโลก, มหาวิทยาลัยราชภัฏ : ผลิตบัณฑิต งานวิจัย ตลอดจนบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล : ผลิตช่างอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และนักปฏิบัติวิชาชีพชั้นสูงตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษ, มหาวิทยาลัยรัฐเดิมและมหาวิทยาลัยในกำกับอื่นๆ : ต้องนำจุดแข็งด้านใดด้านหนึ่งขึ้นมาผลักดันให้สนองต่อความต้องการของประเทศ แต่หากสถาบันอุดมศึกษาใดที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว ก็ขอให้พยายามพัฒนาให้จุดเน้นนั้นๆ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การจะสร้างหรือพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีความเข้มแข็งในทุกด้านคงเป็นไปได้ยาก เพราะนอกจากจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้ว แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีความถนัดที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดจุดเน้นของตัวเองใน 2-3 สาขาเพื่อผลักดันให้รูปธรรมก่อน โดยจะต้องมีการหารือประเด็นนี้กับ ทปอ. เพื่อให้สมาชิกสถาบันอุดมศึกษาเข้าใจถึงทิศทางที่จะร่วมพัฒนาประเทศร่วมกัน และเป็นการป้องกันการผลิตซ้ำซ้อนหรือแย่งกันผลิตด้วย
2) โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (โครงการคุรุทายาทเดิม)
กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับผิดชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า “โครงการคุรุทายาท” เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดโครงการระยะเวลา 10 ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยหลักการมีเป้าหมายที่จะผลิตครูดี ครูเก่งในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อตอบสนองความต้องการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษาในพื้นที่ที่ขาดแคลน
โดยจะรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ หรือจากสถานศึกษาอื่นๆ ที่มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป เพื่อเรียนครูเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมอัตราบรรจุเป็นครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในภูมิลำเนาตนเอง รวมประมาณ 3,000 อัตราต่อปี รวมทั้งสามารถกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ 100% ซึ่งจะต้องมีการหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ตั้งงบประมาณเพิ่มเติมให้กับ กยศ. และก็เชื่อว่าเงินในส่วนนี้จะไม่สูญ เพราะเมื่อเด็กจบการศึกษาแล้วจะให้หักเงินคืน กยศ.เป็นลำดับแรก นอกจากนี้เมื่อครูปฏิบัติงานครบ 3 ปี ยังสามารถสอบชิงทุนเพื่อศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 200 ทุน และกลับมาทำงานในพื้นที่เดิมได้อีกด้วย
เพื่อเป็นการผลิตครูระยะเร่งด่วนที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ในระยะแรกของโครงการจะรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาเพิ่มเติมด้วย และจะการหารือกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ให้เข้ามาร่วมโครงการ ที่จะทำให้ได้เด็กดีเด็กเก่งมาเป็นแม่พิมพ์ของชาติเพิ่มขึ้น ตลอดจนจะให้ สพฐ.จัดงบประมาณปี 2560 สำหรับจ้างครูเกษียณจำนวน 10,000 อัตรา ให้มาสอนในวิชาและในพื้นที่ที่ขาดแคลนครู เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยคาดว่าจะเริ่มจ้างได้ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2559
3) การผลิตกำลังคนที่ตอบสนองความต้องการ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) ประกอบด้วยยานยนต์สมัยใหม่, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร และเพิ่มเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ประกอบด้วย หุ่นยนต์, การบินและโลจิสติกส์, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, ดิจิตอล และการแพทย์ครบวงจร
โดยได้ประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ ใน 13 กลุ่มกิจการ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง, เซรามิกส์, อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง, อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, การผลิตเครื่องมือแพทย์, อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, การผลิตพลาสติก, การผลิตยา, กิจการโลจิสติกส์, นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม, กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้ผลิต กำลังรอข้อมูลความต้องการกำลังคนในภาพรวมของประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นผู้รวบรวม ขณะนี้จึงมอบให้ สกอ.รวบรวมข้อมูลกำลังการผลิตตามขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด เพื่อวางแผนการผลิตไปพลางก่อน และขอให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เมื่อได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์จะได้มีการหารือร่วมกันเพื่อวางแผนและกำหนดสัดส่วนการผลิต พร้อมทั้งจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานต่อไป โดยยืนยันว่าจะไม่จัดสรรงบประมาณแบบหารยาวหรือตัดเสื้อตัวเดียวใช้กับทุกแห่ง หรือ One Fix for All อย่างแน่นอน
4) สหกิจศึกษา : Work Integrated Learning (WIL)
การจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา หรือหลักสูตรทวิภาคีของ สอศ.นั้น สิ่งสำคัญคือต้องตรงกับความต้องการของสถานประกอบการหรือผู้ใช้ โดยทั้งสถานศึกษา นักเรียนนักศึกษา และสถานประกอบการ จะต้องมีความร่วมมือร่วมกันที่จะเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเพื่อเข้าสู่ระบบการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างประสบการณ์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ส่งเสริมให้พนักงานในสถานประกอบการได้ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค และวิธีการในสถานศึกษา ตลอดจนขยายความร่วมมือหรือต่อยอดโครงการ/งานวิจัย/นวัตกรรมต่างๆ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
เช่น โครงการ Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย
ทั้งนี้ แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาจะร่วมกับสถานประกอบการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาตามการแบ่งกลุ่มความสามารถและศักยภาพของพื้นที่ (Area-Base) เป็นสำคัญ แต่ก็ควรที่จะมีฐานข้อมูลองค์ความรู้และเทคนิควิธีการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้แนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) นำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงขอให้สถาบันอุดมศึกษาได้หารือร่วมกันเพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านการวิจัย ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เทคนิควิธีการที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบในสาขาต่างๆ ต่อไป
5) การจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องระดับปริญญาตรี
กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนที่จะให้สถาบันอุดมศึกษานำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีกลับมาดำเนินการอีกครั้ง เพราะนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและได้รับปริญญาแล้ว ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเลือกเรียนสายอาชีวะและมีเส้นทางสู่อาชีพมากขึ้นด้วย
โดยขอให้สถาบันอุดมศึกษาได้หารือร่วมกับ สอศ. เพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานให้มีความราบรื่นและคล่องตัวมากที่สุด เช่น การกำหนดสาขาวิชาตามความถนัดและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ปรับการเทียบโอนหน่วยกิตให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เป็นต้น และให้นำข้อมูลกลับมาเสนอ เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของแต่ละสถาบัน ทั้งในเรื่องของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ หลักการ/กติกา/เงื่อนไข และประโยชน์ที่จะได้รับ
6) การให้เครือข่ายอุดมศึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน
จากการหารือร่วมกับเครือข่ายเพื่อพัฒนาอุดมศึกษา ได้ขอให้เครือข่ายอุดมศึกษาทั้ง 9 เครือข่ายที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ปรับบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือโรงเรียนสังกัด สพฐ. และชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบมากขึ้น ดังเช่นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งที่มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือและเป็นพี่เลี้ยงในด้านต่างๆ ตามความถนัด ซึ่งช่วยทำให้โรงเรียนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ซึ่งการเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในพื้นที่นั้น เครือข่ายจะต้องร่วมมือกับ สพฐ. เพื่อกำหนดเป้าหมายโรงเรียนประมาณ 1-2 แห่งที่จะลงไปเป็นพี่เลี้ยงในลักษณะของกิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibility) พร้อมทั้งจัดทำเป็นแผนงานมาเสนอกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป
โดยในส่วนของท้องถิ่นและชุมชน นอกจากจะช่วยส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ/นวัตกรรมต่างๆ แล้ว ต้องการให้มีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของรัฐบาลแก่ประชาชนด้วย เช่น การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้และมีความเข้าใจการดำเนินงานที่ถูกต้อง จึงขอให้ครูซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่และเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้าน ได้รับการพัฒนาในเรื่องนั้นๆ จนเป็นผู้รู้และช่วยเป็นปากเป็นเสียงแทนรัฐบาลในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนช่วยสร้างให้คนในชุมชนใช้หลักความมีเหตุผล หลักความถูกต้อง และมีสติในการรับรู้/เชื่อถือข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วย
จึงขอฝากให้ชาวอุดมศึกษาเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนางานในท้องถิ่นว่า เป็นงานที่จะต้องทำ ไม่ใช่งานฝากเหมือนในอดีต เพื่อให้การอุดมศึกษาช่วยพัฒนาท้องถิ่นที่จะเชื่อมโยงสู่การพัฒนาประเทศตาม Roadmap ปฏิรูปประเทศต่อไป
7) การประเมินความสามารถการใช้ภาษาต่างประเทศสำหรับบัณฑิตทุกสาขา
เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเรามีปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ คือไม่กล้าพูดและพูดไม่ได้ แม้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนแล้วก็ตาม ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงเตรียมที่จะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแก่กลุ่มนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารก่อนออกไปทำงานจริง
โดยได้มอบหมายให้ สกอ.เตรียมร่างนโยบายให้นักศึกษาทุกคนต้องทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือภาษาต่างประเทศภาษาที่สองก่อนจบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาษามาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา โดยจะรายงานผลสอบไว้ในใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ด้วย แต่จะไม่มีผลกับเกรดที่จะจบการศึกษา ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มใช้กับนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2559 เพื่อให้มีเวลาในการเตรียมตัวพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศอย่างเพียงพอ
8) การส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
ที่ผ่านมารัฐบาลทุ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยเป็นจำนวนมาก แต่การนำงานวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมมากนัก กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนการวิจัยและการคิดค้นนวัตกรรมในสาขาที่ตรงกับความต้องการของประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ได้จริง หากเป็นไปได้ขอให้จัดให้มีระบบตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์หรือการซ้ำซ้อนกับงานผู้อื่น รวมทั้งการจ้างทำด้วย เพื่อเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทบทวนตนเองด้วยว่างานวิจัยที่ทำกันอยู่นั้น วิจัยในสาขาที่ตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศหรือไม่ โดยเฉพาะงานวิจัยสำหรับใช้เลื่อนวิทยฐานะ ไม่ควรเป็นงานวิจัยเฉพาะเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือต้องการเท่านั้น แต่จะต้องเป็นงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อการจัดการอุดมศึกษาด้วย นอกจากนี้ในส่วนของผลวิจัย ได้มีการถ่ายทอดให้นักศึกษารับรู้หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด
ถ่าย ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ฝาก 4 ประเด็นให้ ทปอ. ดำเนินการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวฝากให้ ทปอ.พิจารณาดำเนินงานใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้กำกับมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องการบริหารงานและการยุบเลิกคณะหรือหลักสูตรที่มีปัญหาด้านคุณภาพและกำลังคนที่เกินความต้องการ 2) ให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง 3) ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ 4) ให้หารือกับผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้นเพื่อความร่วมในระบบทวิภาคี
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 457/2558 ความร่วมมืออุดมศึกษาไทยในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
ศธ.พร้อมปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้ สกอ.ทำงานร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีความเข้มแข็งในการจัดการศึกษาอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เช่น สจล.ที่สามารถผลิตบัณฑิตด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศ ประกอบกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้กำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะต้องอาศัยสถาบันอุดมศึกษาในการที่จะขยับตัวตามรัฐบาลให้ทัน โดยพยายามใช้ขีดความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่ หาความถนัดและความเชี่ยวชาญ เพื่อนำมาวางแผนการผลิตกำลังคนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้มีเป้าหมายตอบโจทย์การพัฒนาประเทศให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการบริหารงานอุดมศึกษา ยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการสรรหาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาและการอนุมัติหลักสูตร ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย เรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ที่จะต้องมีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ให้ สกอ. สามารถร่วมดำเนินงานกับสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างเหมาะสม และมีความสมดุลมากขึ้นในอนาคต
ศธ.เตรียม 8 นโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังพบว่ามีประเด็นปัญหาในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการรับนักศึกษามากเกินแผนรับผู้เรียน โดยเฉพาะสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งมีการผลิตบัณฑิตที่ไม่ต้องกับความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ขาดกำลังคนในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ บัณฑิตไม่มีคุณภาพ ทักษะภาษาอังกฤษต่ำ ตลอดจนงานวิจัยยังไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประเทศ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังพบว่ามีประเด็นปัญหาในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการรับนักศึกษามากเกินแผนรับผู้เรียน โดยเฉพาะสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งมีการผลิตบัณฑิตที่ไม่ต้องกับความต้องการของประเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ขาดกำลังคนในสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ บัณฑิตไม่มีคุณภาพ ทักษะภาษาอังกฤษต่ำ ตลอดจนงานวิจัยยังไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาของประเทศ
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดเตรียมนโยบายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ แบ่งออกเป็น 8 ประเด็นหลัก ดังนี้
1) อุดมศึกษาเป็นเลิศ (Re-Profiling)
สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งควรกำหนดจุดเน้นในการผลิตบัณฑิตและงานวิจัย เพื่อสร้างความเป็นเลิศและความเชี่ยวชาญ โดยเปิดหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนในสาขาที่เป็นความถนัดของแต่ละสถาบัน เช่น มหาวิทยาลัยวิจัย : ผลิตบัณฑิตและนักวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและแข่งขันในระดับโลก, มหาวิทยาลัยราชภัฏ : ผลิตบัณฑิต งานวิจัย ตลอดจนบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล : ผลิตช่างอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และนักปฏิบัติวิชาชีพชั้นสูงตามเป้าหมายการพัฒนาประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษ, มหาวิทยาลัยรัฐเดิมและมหาวิทยาลัยในกำกับอื่นๆ : ต้องนำจุดแข็งด้านใดด้านหนึ่งขึ้นมาผลักดันให้สนองต่อความต้องการของประเทศ แต่หากสถาบันอุดมศึกษาใดที่มีความเข้มแข็งอยู่แล้ว ก็ขอให้พยายามพัฒนาให้จุดเน้นนั้นๆ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การจะสร้างหรือพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งให้มีความเข้มแข็งในทุกด้านคงเป็นไปได้ยาก เพราะนอกจากจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากแล้ว แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีความถนัดที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดจุดเน้นของตัวเองใน 2-3 สาขาเพื่อผลักดันให้รูปธรรมก่อน โดยจะต้องมีการหารือประเด็นนี้กับ ทปอ. เพื่อให้สมาชิกสถาบันอุดมศึกษาเข้าใจถึงทิศทางที่จะร่วมพัฒนาประเทศร่วมกัน และเป็นการป้องกันการผลิตซ้ำซ้อนหรือแย่งกันผลิตด้วย
2) โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (โครงการคุรุทายาทเดิม)
กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับผิดชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า “โครงการคุรุทายาท” เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดโครงการระยะเวลา 10 ปี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยหลักการมีเป้าหมายที่จะผลิตครูดี ครูเก่งในสาขาที่ขาดแคลน เพื่อตอบสนองความต้องการครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษาในพื้นที่ที่ขาดแคลน
โดยจะรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ หรือจากสถานศึกษาอื่นๆ ที่มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป เพื่อเรียนครูเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมอัตราบรรจุเป็นครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในภูมิลำเนาตนเอง รวมประมาณ 3,000 อัตราต่อปี รวมทั้งสามารถกู้เงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ 100% ซึ่งจะต้องมีการหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ตั้งงบประมาณเพิ่มเติมให้กับ กยศ. และก็เชื่อว่าเงินในส่วนนี้จะไม่สูญ เพราะเมื่อเด็กจบการศึกษาแล้วจะให้หักเงินคืน กยศ.เป็นลำดับแรก นอกจากนี้เมื่อครูปฏิบัติงานครบ 3 ปี ยังสามารถสอบชิงทุนเพื่อศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม 200 ทุน และกลับมาทำงานในพื้นที่เดิมได้อีกด้วย
เพื่อเป็นการผลิตครูระยะเร่งด่วนที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ในระยะแรกของโครงการจะรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาเพิ่มเติมด้วย และจะการหารือกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ให้เข้ามาร่วมโครงการ ที่จะทำให้ได้เด็กดีเด็กเก่งมาเป็นแม่พิมพ์ของชาติเพิ่มขึ้น ตลอดจนจะให้ สพฐ.จัดงบประมาณปี 2560 สำหรับจ้างครูเกษียณจำนวน 10,000 อัตรา ให้มาสอนในวิชาและในพื้นที่ที่ขาดแคลนครู เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยคาดว่าจะเริ่มจ้างได้ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2559
3) การผลิตกำลังคนที่ตอบสนองความต้องการ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) ประกอบด้วยยานยนต์สมัยใหม่, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปอาหาร และเพิ่มเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ประกอบด้วย หุ่นยนต์, การบินและโลจิสติกส์, เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, ดิจิตอล และการแพทย์ครบวงจร
โดยได้ประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ ใน 13 กลุ่มกิจการ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเกษตร ประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง, เซรามิกส์, อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง, อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, การผลิตเครื่องมือแพทย์, อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, การผลิตพลาสติก, การผลิตยา, กิจการโลจิสติกส์, นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม, กิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้ผลิต กำลังรอข้อมูลความต้องการกำลังคนในภาพรวมของประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นผู้รวบรวม ขณะนี้จึงมอบให้ สกอ.รวบรวมข้อมูลกำลังการผลิตตามขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด เพื่อวางแผนการผลิตไปพลางก่อน และขอให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เมื่อได้รับข้อมูลที่สมบูรณ์จะได้มีการหารือร่วมกันเพื่อวางแผนและกำหนดสัดส่วนการผลิต พร้อมทั้งจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานต่อไป โดยยืนยันว่าจะไม่จัดสรรงบประมาณแบบหารยาวหรือตัดเสื้อตัวเดียวใช้กับทุกแห่ง หรือ One Fix for All อย่างแน่นอน
4) สหกิจศึกษา : Work Integrated Learning (WIL)
การจัดหลักสูตรสหกิจศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา หรือหลักสูตรทวิภาคีของ สอศ.นั้น สิ่งสำคัญคือต้องตรงกับความต้องการของสถานประกอบการหรือผู้ใช้ โดยทั้งสถานศึกษา นักเรียนนักศึกษา และสถานประกอบการ จะต้องมีความร่วมมือร่วมกันที่จะเตรียมความพร้อมของผู้เรียนเพื่อเข้าสู่ระบบการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างประสบการณ์ทางด้านวิชาการและวิชาชีพจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ส่งเสริมให้พนักงานในสถานประกอบการได้ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค และวิธีการในสถานศึกษา ตลอดจนขยายความร่วมมือหรือต่อยอดโครงการ/งานวิจัย/นวัตกรรมต่างๆ ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
เช่น โครงการ Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย
ทั้งนี้ แม้ว่าสถาบันอุดมศึกษาจะร่วมกับสถานประกอบการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาตามการแบ่งกลุ่มความสามารถและศักยภาพของพื้นที่ (Area-Base) เป็นสำคัญ แต่ก็ควรที่จะมีฐานข้อมูลองค์ความรู้และเทคนิควิธีการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้แนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) นำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงขอให้สถาบันอุดมศึกษาได้หารือร่วมกันเพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลางด้านการวิจัย ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้เทคนิควิธีการที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบในสาขาต่างๆ ต่อไป
5) การจัดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่องระดับปริญญาตรี
กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนที่จะให้สถาบันอุดมศึกษานำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาตรีกลับมาดำเนินการอีกครั้ง เพราะนอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและได้รับปริญญาแล้ว ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเลือกเรียนสายอาชีวะและมีเส้นทางสู่อาชีพมากขึ้นด้วย
โดยขอให้สถาบันอุดมศึกษาได้หารือร่วมกับ สอศ. เพื่อปรับแนวทางการดำเนินงานให้มีความราบรื่นและคล่องตัวมากที่สุด เช่น การกำหนดสาขาวิชาตามความถนัดและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ปรับการเทียบโอนหน่วยกิตให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เป็นต้น และให้นำข้อมูลกลับมาเสนอ เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณตามแผนการดำเนินงานของแต่ละสถาบัน ทั้งในเรื่องของบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ หลักการ/กติกา/เงื่อนไข และประโยชน์ที่จะได้รับ
6) การให้เครือข่ายอุดมศึกษาร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน
จากการหารือร่วมกับเครือข่ายเพื่อพัฒนาอุดมศึกษา ได้ขอให้เครือข่ายอุดมศึกษาทั้ง 9 เครือข่ายที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ปรับบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือโรงเรียนสังกัด สพฐ. และชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบมากขึ้น ดังเช่นโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งที่มีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือและเป็นพี่เลี้ยงในด้านต่างๆ ตามความถนัด ซึ่งช่วยทำให้โรงเรียนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ซึ่งการเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในพื้นที่นั้น เครือข่ายจะต้องร่วมมือกับ สพฐ. เพื่อกำหนดเป้าหมายโรงเรียนประมาณ 1-2 แห่งที่จะลงไปเป็นพี่เลี้ยงในลักษณะของกิจกรรม CSR (Corporate Social Responsibility) พร้อมทั้งจัดทำเป็นแผนงานมาเสนอกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป
โดยในส่วนของท้องถิ่นและชุมชน นอกจากจะช่วยส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ/นวัตกรรมต่างๆ แล้ว ต้องการให้มีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของรัฐบาลแก่ประชาชนด้วย เช่น การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้รับรู้และมีความเข้าใจการดำเนินงานที่ถูกต้อง จึงขอให้ครูซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่และเป็นที่ยอมรับนับถือของชาวบ้าน ได้รับการพัฒนาในเรื่องนั้นๆ จนเป็นผู้รู้และช่วยเป็นปากเป็นเสียงแทนรัฐบาลในการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนช่วยสร้างให้คนในชุมชนใช้หลักความมีเหตุผล หลักความถูกต้อง และมีสติในการรับรู้/เชื่อถือข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้วย
จึงขอฝากให้ชาวอุดมศึกษาเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนางานในท้องถิ่นว่า เป็นงานที่จะต้องทำ ไม่ใช่งานฝากเหมือนในอดีต เพื่อให้การอุดมศึกษาช่วยพัฒนาท้องถิ่นที่จะเชื่อมโยงสู่การพัฒนาประเทศตาม Roadmap ปฏิรูปประเทศต่อไป
7) การประเมินความสามารถการใช้ภาษาต่างประเทศสำหรับบัณฑิตทุกสาขา
เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไทยเรามีปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ คือไม่กล้าพูดและพูดไม่ได้ แม้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนแล้วก็ตาม ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงเตรียมที่จะพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแก่กลุ่มนักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารก่อนออกไปทำงานจริง
โดยได้มอบหมายให้ สกอ.เตรียมร่างนโยบายให้นักศึกษาทุกคนต้องทดสอบภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือภาษาต่างประเทศภาษาที่สองก่อนจบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาษามาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา โดยจะรายงานผลสอบไว้ในใบรับรองผลการศึกษา (Transcript) ด้วย แต่จะไม่มีผลกับเกรดที่จะจบการศึกษา ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มใช้กับนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2559 เพื่อให้มีเวลาในการเตรียมตัวพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาต่างประเทศอย่างเพียงพอ
8) การส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ
ที่ผ่านมารัฐบาลทุ่มงบประมาณสำหรับการวิจัยเป็นจำนวนมาก แต่การนำงานวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศยังไม่มีผลเป็นรูปธรรมมากนัก กระทรวงศึกษาธิการจึงมีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนการวิจัยและการคิดค้นนวัตกรรมในสาขาที่ตรงกับความต้องการของประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ได้จริง หากเป็นไปได้ขอให้จัดให้มีระบบตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์หรือการซ้ำซ้อนกับงานผู้อื่น รวมทั้งการจ้างทำด้วย เพื่อเป็นการช่วยสร้างธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ ขอให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทบทวนตนเองด้วยว่างานวิจัยที่ทำกันอยู่นั้น วิจัยในสาขาที่ตอบโจทย์การพัฒนาของประเทศหรือไม่ โดยเฉพาะงานวิจัยสำหรับใช้เลื่อนวิทยฐานะ ไม่ควรเป็นงานวิจัยเฉพาะเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจหรือต้องการเท่านั้น แต่จะต้องเป็นงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อการจัดการอุดมศึกษาด้วย นอกจากนี้ในส่วนของผลวิจัย ได้มีการถ่ายทอดให้นักศึกษารับรู้หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใด
ฝาก 4 ประเด็นให้ ทปอ. ดำเนินการ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวฝากให้ ทปอ.พิจารณาดำเนินงานใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้กำกับมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องการบริหารงานและการยุบเลิกคณะหรือหลักสูตรที่มีปัญหาด้านคุณภาพและกำลังคนที่เกินความต้องการ 2) ให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง 3) ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ 4) ให้หารือกับผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้นเพื่อความร่วมในระบบทวิภาคี
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวฝากให้ ทปอ.พิจารณาดำเนินงานใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ให้กำกับมาตรฐานการอุดมศึกษาในเรื่องการบริหารงานและการยุบเลิกคณะหรือหลักสูตรที่มีปัญหาด้านคุณภาพและกำลังคนที่เกินความต้องการ 2) ให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง 3) ควบคุมการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ 4) ให้หารือกับผู้ประกอบการให้มากยิ่งขึ้นเพื่อความร่วมในระบบทวิภาคี
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น