เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 451/2558หารือกับธนาคารออมสินในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หารือกับนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และคณะผู้บริหารธนาคารออมสิน เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เมื่อวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมMOC โดยมีนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), นางทิพพาศรี อินทะกูล ผู้อำนวยการภารกิจกองทุนและสวัสดิการทางการศึกษา สำนักงาน ก.ค.ศ., นายเอนก ศรีสำราญรุ่งเรือง ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำกัด เข้าร่วมหารือในครั้งนี้
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนภายหลังการหารือในครั้งนี้ว่า กระทรวงศึกษาธิการได้เชิญผู้บริหารธนาคารออมสินมาร่วมปรึกษาหารือถึงวิธีการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งในเบื้องต้นได้รับทราบข้อมูลสภาวะข้อมูลลูกหนี้ และ ความคืบหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับครูที่ค้างชำระหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ สกสค.กำลังติดตาม และเป็นผู้ค้างชำระของ สกสค.ด้วย จำนวนทั้งหมด 13,405 ราย โดยที่ผ่านมามีผู้ติดต่อเข้ามาแล้ว 6,023 ราย ในจำนวนนี้มาชำระหนี้ตามปกติแล้ว 1,521 ราย ปิดบัญชีไปแล้ว 21 ราย ซึ่งธนาคารก็ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้และแก้ไขตามกรณี หากมีหนี้สินร้ายแรงหรือขั้นรุนแรงที่จะฟ้อง อาจต้องพักชำระหนี้ให้ 3 ปี โดยชำระแต่หนี้เงินต้น เป็นต้น
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่งของครูที่ค้างชำระหนี้ทั้ง 13,405 ราย สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้โดยมาตรการดังกล่าวร่วมกัน ส่วนที่เหลืออีก 7,382 รายที่ยังไม่มาลงทะเบียน ก็มีข้อตกลงให้ดำเนินการยื่นโนติส หรือถึงขั้นฟ้องร้องต่อไป
ส่วนมาตรการที่จะแก้ไขปัญหาต่อไป รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบธนาคารออมสินมาคิดกติกาต่างๆ ในการนำเงินอนาคตเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เคยกล่าวไว้บ้างแล้ว เช่น เงินบำเหน็จตกทอด หรือ ช.พ.ค. จะนำมาใช้ได้อย่างไร
การหารือครั้งนี้ ธนาคารออมสินจึงได้เสนอมาตรการที่จะช่วยเหลือครู โดยใช้เงิน ช.พ.ค. เป็นหลักประกันที่จะลดอัตราดอกเบี้ยแก่ครูผู้กู้รายเดิมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราทั่วไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือเพิ่มสภาพคล่องให้ครูผู้กู้เท่านั้น แต่ไม่ใช่หมายถึงเป็นการชดใช้เงินกู้ให้กับครู เพราะผู้กู้ต้องมีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมาย ไม่มีใครมาชำระหนี้แทนได้ และเงิน ช.พ.ค.ที่จะนำมาใช้เพื่อกลบหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) ก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เงิน ช.พ.ค.ทั้งหมด และไม่ได้หมายถึงให้กู้ใหม่เพื่อให้ครูเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก จึงเหมือนกับเป็นการใช้หนี้เก่าไปในตัว หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ช.พ.ค.ลง เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น
ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า เงิน ช.พ.ค.เป็นหลักประกันเงินกู้อยู่แล้ว แต่จะพยายามบริหารจัดการเงินส่วนหนึ่งมาตั้งเป็นวงเงินกู้ เพื่อช่วยลดภาระเงินผ่อนด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6-6.5 ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือเท่าใดนั้น จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะมีครูที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารออมสินประมาณ 3 แสนคน สามารถเคลียร์ยอดหนี้ได้ในวงเงินที่เพียงพอ โดยปัจจุบันมีครูที่กู้เงินจากธนาคารออมสินประมาณ 490,000 คน มูลหนี้รวมกว่า 490,000 ล้านบาท
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 451/2558หารือกับธนาคารออมสินในการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หารือกับนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และคณะผู้บริหารธนาคารออมสิน เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เมื่อวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 ณ ห้องประชุมMOC โดยมีนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในฐานะปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.), นางทิพพาศรี อินทะกูล ผู้อำนวยการภารกิจกองทุนและสวัสดิการทางการศึกษา สำนักงาน ก.ค.ศ., นายเอนก ศรีสำราญรุ่งเรือง ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำกัด เข้าร่วมหารือในครั้งนี้
จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่งของครูที่ค้างชำระหนี้ทั้ง 13,405 ราย สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้โดยมาตรการดังกล่าวร่วมกัน ส่วนที่เหลืออีก 7,382 รายที่ยังไม่มาลงทะเบียน ก็มีข้อตกลงให้ดำเนินการยื่นโนติส หรือถึงขั้นฟ้องร้องต่อไป
การหารือครั้งนี้ ธนาคารออมสินจึงได้เสนอมาตรการที่จะช่วยเหลือครู โดยใช้เงิน ช.พ.ค. เป็นหลักประกันที่จะลดอัตราดอกเบี้ยแก่ครูผู้กู้รายเดิมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราทั่วไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือเพิ่มสภาพคล่องให้ครูผู้กู้เท่านั้น แต่ไม่ใช่หมายถึงเป็นการชดใช้เงินกู้ให้กับครู เพราะผู้กู้ต้องมีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมาย ไม่มีใครมาชำระหนี้แทนได้ และเงิน ช.พ.ค.ที่จะนำมาใช้เพื่อกลบหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) ก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เงิน ช.พ.ค.ทั้งหมด และไม่ได้หมายถึงให้กู้ใหม่เพื่อให้ครูเป็นหนี้เพิ่มขึ้นอีก จึงเหมือนกับเป็นการใช้หนี้เก่าไปในตัว หรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ช.พ.ค.ลง เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการผ่อนชำระเท่านั้น
ภาพ : ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี
ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า เงิน ช.พ.ค.เป็นหลักประกันเงินกู้อยู่แล้ว แต่จะพยายามบริหารจัดการเงินส่วนหนึ่งมาตั้งเป็นวงเงินกู้ เพื่อช่วยลดภาระเงินผ่อนด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6-6.5 ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือเท่าใดนั้น จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ซึ่งหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะมีครูที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารออมสินประมาณ 3 แสนคน สามารถเคลียร์ยอดหนี้ได้ในวงเงินที่เพียงพอ โดยปัจจุบันมีครูที่กู้เงินจากธนาคารออมสินประมาณ 490,000 คน มูลหนี้รวมกว่า 490,000 ล้านบาท
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมครูมืออาชีพ
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมครูมืออาชีพ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น