เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ประมูลคลื่น 900 วันที่ 2 ดุเดือด ยอดรวมล่าสุด พุ่งทะลุ 8 หมื่นล้านบาท
กสทช. ชี้ว่าคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่แข่งขันดุเดือดในลอตที่สอง และมีการช่วงชิงกันมากกว่าลอตแรก เพราะในทางเทคนิค เป็นช่วงคลื่นที่เหมาะสมกับการลงทุน ไม่มีสัญญาณรบกวนทำให้ไม่ต้องลงทุนติดตัวกรองสัญญาณเพิ่ม...
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2558 ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ยังคงเกาะติดการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4 จี อย่างต่อเนื่อง สำหรับการแข่งขันในลอตที่ 1 ที่มีรายเดียว เคาะราคาต่อเนื่องยาวนาน มีเพียงรอบเดียวที่มีผู้เข้าไปแข่งขัน จึงมีการวิเคราะห์ โดยนักวิเคราะห์ต่างระบุว่า มีโอกาสสูงว่า รายที่เคาะราคาเพียงรายเดียวอาจจะเป็น “ดีแทค” เนื่องจากย่านความถี่ 895-905 เมกะเฮิรตซ์ และ 940-950 เมกะเฮิรตซ์ เป็นช่วงคลื่นความถี่ที่ติดกับของดีแทค หากรายอื่นชนะการประมูลไป อาจจะมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวน ต้องลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ช่วงคลื่นความถี่ในลอตที่สอง เป็นช่วงที่ไม่มีสัญญาณรบกวน เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจสำหรับทุกรายจึงมีการแข่งขันสูง ส่วนการแข่งขันที่ยังดุเดือดจนประเมินว่า ผู้ชนะการประมูลช่วงความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ รอบที่ผ่านมา ไม่ยอมให้ใครได้ราคาที่ต่ำกว่ารอบที่แล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่พยายามดันราคาให้สูงขึ้น และเชื่อว่าไม่กระทบกับการลงทุนในระยะยาว 15 ปี เพราะคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มีความสำคัญต่อการประกอบกิจการโทรคมนาคม แม้ราคาเฉลี่ยต่อเมกะเฮิรตซ์ จะสูงถึง 7,500 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2558 ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ยังคงเกาะติดการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 4 จี อย่างต่อเนื่อง สำหรับการแข่งขันในลอตที่ 1 ที่มีรายเดียว เคาะราคาต่อเนื่องยาวนาน มีเพียงรอบเดียวที่มีผู้เข้าไปแข่งขัน จึงมีการวิเคราะห์ โดยนักวิเคราะห์ต่างระบุว่า มีโอกาสสูงว่า รายที่เคาะราคาเพียงรายเดียวอาจจะเป็น “ดีแทค” เนื่องจากย่านความถี่ 895-905 เมกะเฮิรตซ์ และ 940-950 เมกะเฮิรตซ์ เป็นช่วงคลื่นความถี่ที่ติดกับของดีแทค หากรายอื่นชนะการประมูลไป อาจจะมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวน ต้องลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กล่าวว่า ช่วงคลื่นความถี่ในลอตที่สอง เป็นช่วงที่ไม่มีสัญญาณรบกวน เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจสำหรับทุกรายจึงมีการแข่งขันสูง ส่วนการแข่งขันที่ยังดุเดือดจนประเมินว่า ผู้ชนะการประมูลช่วงความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ รอบที่ผ่านมา ไม่ยอมให้ใครได้ราคาที่ต่ำกว่ารอบที่แล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่พยายามดันราคาให้สูงขึ้น และเชื่อว่าไม่กระทบกับการลงทุนในระยะยาว 15 ปี เพราะคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มีความสำคัญต่อการประกอบกิจการโทรคมนาคม แม้ราคาเฉลี่ยต่อเมกะเฮิรตซ์ จะสูงถึง 7,500 ล้านบาท
มีรายงานว่า การเสนอราคารอบที่ 79 ได้สิ้นสุดลงในเวลา 17.15 น. โดยใบอนุญาตแรกมีผู้เสนอราคา 1 ราย ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ทำให้ราคาไลเซนส์เท่ากันอยู่ที่ 39,912 ล้านบาทต่อใบอนุญาต หรือเท่ากับ 248% ของมูลค่าคลื่น รวม 2 ใบอนุญาต มีรายได้เข้ารัฐแล้ว 79,824 ล้านบาท
กระทั่งในเวลา 17.55 น. ได้สิ้นสุดรอบที่ 80 ในเวลา 17.35 น. ใบอนุญาตแรกมีผู้เสนอราคา 1 ราย ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาไลเซนส์เท่ากันอยู่ที่ 40,234 ล้านบาทต่อใบอนุญาต หรือเท่ากับ 248% ของมูลค่าคลื่น รวม 2 ใบอนุญาต มีรายได้เข้ารัฐแล้ว 80,468 ล้านบาท
ก่อนที่จะสิ้นสุดรอบที่ 81 ในเวลา 17.55 น. ใบอนุญาตแรกมีผู้เสนอราคา 1 ราย ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาไลเซนส์เท่ากันอยู่ที่ 40,556 ล้านบาท รวม 81,112 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า ราคาประมูลคลื่น 1800 MHz ที่ประมูลไปเมื่อ 11 พ.ย. 2558 ซึ่งมีราคารวม 2 ใบอนุญาตอยู่ที่ 80,778 ล้านบาท
เมื่อเวลา 18.24 น.การเคาะราคารอบที่ 82 ใบอนุญาตช่องที่ 1 มีผู้ยื่น 1 ราย ที่ราคา 40,878 ล้านบาท ใบอนุญาตที่ช่องที่ 2 มีผู้ยื่น 2 ราย ที่ราคา 40,878 ล้านบาท ยอดรวมอยู่ที่ 81,756 ล้านบาท
เมื่อเวลา 18.24 น.การเคาะราคารอบที่ 82 ใบอนุญาตช่องที่ 1 มีผู้ยื่น 1 ราย ที่ราคา 40,878 ล้านบาท ใบอนุญาตที่ช่องที่ 2 มีผู้ยื่น 2 ราย ที่ราคา 40,878 ล้านบาท ยอดรวมอยู่ที่ 81,756 ล้านบาท
ขณะที่รอบที่ 83 สิ้นสุดเวลา 18.35 น. ใบอนุญาตแรกมีผู้เสนอราคา 1 ราย ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ทำให้ราคาไลเซนส์ขณะนี้เท่ากันอยู่ที่ 41,200 ล้านบาทต่อใบอนุญาต หรือเท่ากับ 256% ของมูลค่าคลื่น รวม 2 ใบอนุญาต มีรายได้เข้ารัฐแล้ว 82,400 ล้านบาท
จนมาเข้าสู่รอบที่ 84 เวลา 18.55 น. ปรากฎว่า ใบอนุญาตแรกไม่มีใครเสนอราคาเพิ่ม ทำให้ราคาใบอนุญาตคงอยู่ที่ 41,200 ล้านบาท ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ทำให้ราคาขึ้นไปอยู่ที่ 41,522 ล้านบาท รวม 2 ใบอนุญาต มีรายได้เข้ารัฐแล้ว 82,722 ล้านบาท
ผู้เข้าประมูลยังสู้กันดุเดือด ไม่ยอมกัน เข้าสู่รอบที่ 85 ในเวลา 19.15 น. ปรากฎว่าใบอนุญาตแรก ยังคงไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่ม ทำให้ราคาใบอนุญาตคงอยู่ที่ 41,200 ล้านบาท ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาขึ้นไปอยู่ที่ 41,844 ล้านบาท รวม 2 ใบอนุญาต มีรายได้เข้ารัฐแล้ว 83,044 ล้านบาท
จนเวลา 19.35 น. รอบที่ 85 ใบอนุญาตแรก ยังคงไม่มีผู้เสนอราคาเพิ่มรอบที่ 3 ราคาใบอนุญาตคงอยู่ที่ 41,200 ล้านบาท ส่วนใบอนุญาตที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ราคาขึ้นไปอยู่ที่ 42,166 ล้านบาท รวม 2 ใบอนุญาต มีรายได้เข้ารัฐแล้ว 83,366 ล้านบาท.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมครูมืออาชีพ
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมครูมืออาชีพ
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น