เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
ติวสอบดอทคอม www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 465/2558การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานรัฐบาล
ศึกษาธิการ - ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งเรื่อง " การพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา" ติดอันดับความพึงพอใจของประชาชน และรับทราบ กรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล (ธันวาคม พ.ศ. 2558) ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน โดยสอบถามจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 7,200 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2558 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ช่องทางการติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล พบว่า ประชาชนร้อยละ 88.2 ระบุว่า ติดตามฯ มีเพียงร้อยละ 11.8 ที่ไม่ติดตาม โดยผู้ที่ติดตามระบุว่าติดตามจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ร้อยละ 86.5 รองลงมาได้แก่เพื่อน ญาติ คนในครอบครัว ร้อยละ 14.7 หนังสือพิมพ์/สื่อสิ่งพิมพ์ ร้อยละ 14.5 เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร้อยละ 10.8 อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 10.1
2. รายการ/ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนติดตาม รายการ / ข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนติดตามมากที่สุด คือ รายการคืนความสุขให้คนในชาติ ที่ออกอากาศทุกวันศุกร์เวลา 20.00 น. ร้อยละ 85.2 รองลงมาได้แก่ ข่าวสารของรัฐบาล เช่น รายการข่าวทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ร้อยละ 84.8 รายการเดินหน้าประเทศไทย ที่ออกอากาศทุกวัน เวลา 18.00 น. ร้อยละ 83.4
3. การรับทราบนโยบายของรัฐบาล ประชาชนสูงกว่าร้อยละ 90 ระบุว่าทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยระบุเรื่องที่ทราบฯ ได้แก่ การควบคุมสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคา 80 บาท ร้อยละ 98.1 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 96.9 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 92.7 โครงการจัดสวัสดิการเพื่อพี่น้องประชาชน ร้อยละ 92.3 การจัดระเบียบสังคมเพื่อทำให้สังคมน่าอยู่ ร้อยละ 91.8 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 91.5 และการป้องกัน/แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 91.1
4. ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่สูงกว่าร้อยละ 92 มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของรัฐบาล โดยเรื่องที่มีความพึงพอใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ การควบคุมสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคา 80 บาท ร้อยละ 99.9 โครงการจัดสวัสดิการเพื่อพี่น้องประชาชน ร้อยละ 99.9 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 99.5 และการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ร้อยละ 98.9
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของประชาชนในระดับมาก – มากที่สุด (ให้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า เรื่องที่มีความพึงพอใจสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ การควบคุมสลากกินแบ่งของรัฐบาลในราคา 80 บาท ร้อยละ 81.8 โครงการจัดสวัสดิการเพื่อพี่น้องประชาชน ร้อยละ 69.9 การปราบปรามขบวนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและทวงคืนผืนป่า ร้อยละ 64.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 55.2 การแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 55.0 การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ร้อยละ 54.7 การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 53.7 การจัดระเบียบสังคม เพื่อทำให้สังคมน่าอยู่ ร้อยละ 51.7 การพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 50.9 การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ร้อยละ 50.3 และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 50.2
5. ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานในภาพรวมของรัฐบาล ประชาชนสูงถึงร้อยละ 99.3 มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานในภาพรวมของรัฐบาล ซึ่งในจำนวนนี้มีความพึงพอใจฯ มาก – มากที่สุดร้อยละ 63.9 ปานกลาง ร้อยละ 30.7 และน้อย ร้อยละ 4.7 ส่วนผู้ที่พึงพอใจน้อยที่สุดและไม่พึงพอใจเลย มีร้อยละ 0.5 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ สรุปโดยรวมเมื่อคิดเป็นคะแนนความพึงพอใจฯ อยู่ที่ 7.81 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ประชาชนในภาคใต้ร้อยละ 70.2 มีความพึงพอใจฯ อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด (ให้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป) ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ร้อยละ 65.7 ภาคเหนือ ร้อยละ 64.1 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 63.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 59.4
6. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ ประชาชนสูงถึงร้อยละ 98.9 มีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้มีความเชื่อมั่นมาก – มากที่สุดร้อยละ 60.2 ปานกลางร้อยละ 32.9 และน้อยร้อยละ 5.8 ส่วนผู้ที่เชื่อมั่นน้อยที่สุดและไม่เชื่อมั่นเลย มีร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.3 ตามลำดับ สรุปโดยรวม เมื่อคิดเป็นคะแนนความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ 7.72 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่าประชาชนในภาคใต้ร้อยละ 67.8 มีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล อยู่ในระดับมาก – มากที่สุด (ให้คะแนนตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป) ในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 62.1 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 61.2 ภาคกลาง ร้อยละ 60.0 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 55.3
7. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ต่อรัฐ เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการกำหนดให้ประชาชนทุกคนต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ต่อรัฐเพื่อจัดทำฐานข้อมูลในการวางแผนจัดสวัสดิการ พบว่าประชาชนร้อยละ 52.2 ระบุว่าเห็นด้วย และมีร้อยละ 26.0 ที่ไม่เห็นด้วย ขณะที่มีร้อยละ 21.8 ที่ยังไม่แน่ใจ เป็นที่สังเกตว่า ผู้ที่มีอายุน้อยเห็นด้วยกับการกำหนดให้ประชาชนทุกคน ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ต่อรัฐ ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมาก ขณะเดียวกันผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าหรือครัวเรือนที่มีรายได้สูงก็เห็นด้วยเช่นเดียวกัน
8. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วน ได้แก่ การควบคุมสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้มีราคาแพง ร้อยละ 53.2 การแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ คิดเป็นร้อยละ 35.7 การแก้ปัญหายาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 29.5 การแก้ปัญหาหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 25.8 การปรับขึ้นค่าแรงให้เพียงพอกับค่าครองชีพ คิดเป็นร้อยละ 18.1 เป็นต้น
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคพบว่า ประชาชนเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วนในเรื่องการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้มีราคาแพง ในสัดส่วนที่สูงกว่าเรื่องอื่น ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต้องการเร่งด่วนในเรื่องการแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ในสัดส่วนที่สูงกว่าเรื่องอื่น
รับทราบทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ปีงบประมาณ 2559 และเห็นชอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นและกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และมอบหมาย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมเห็นชาติ (สศช.) ดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของกรอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะสอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ในลักษณะของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระยะยาวลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี
สำหรับแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
6. ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
7. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
8. ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
10. ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 465/2558การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานรัฐบาล
ศึกษาธิการ - ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ คือ รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งเรื่อง " การพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา" ติดอันดับความพึงพอใจของประชาชน และรับทราบ กรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
รับทราบทิศทางและกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ปีงบประมาณ 2559 และเห็นชอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นและกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และมอบหมาย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมเห็นชาติ (สศช.) ดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของกรอบรูปแบบและเค้าโครงเบื้องต้นของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะสอดรับกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว 20 ปี ในลักษณะของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระยะยาวลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี
สำหรับแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
6. ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
7. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
8. ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
10. ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
3. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
6. ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
7. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
8. ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
10. ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
เตรียมสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ห้องเตรียม-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น