หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โครงการอาหารกลางวัน

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   


โครงการอาหารกลางวัน



ประวัติความเป็นมา

ครงการอาหารกลางวัน เป็นโครงการที่เกิดจากความตระหนักของรัฐบาล ที่มุ่งแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ซึ่งพบว่านักเรียนประถมศึกษา จำนวนมากขาดแคลนอาหารกลางวันหรือมีอาหารกลางวันแต่ปริมาณไม่เพียงพอ หรืออาหารมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ทำให้ภาวะการจริญเติบโต ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข
โครงการอาหารกลางวันเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2495 กระทรวงศึกษาธิการได้ทดลองจัดอาหารกลางวันแก่นักเรียนในสังกัด ซึ่งพบว่า โรงเรียนขาดงบประมาณในการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถ จัดอาหารกลางวันให้นักเรียนขาดแคลนได้อย่างทั่วถึง
ในปี พ.ศ. 2530 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการอาหารกลางวัน จึงกำหนดนโยบาย ให้โรงเรียนดำเนินโครงการอาหารกลางวันทุกโรงเรียน ก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ภายใต้คำขวัญ 60 พรรษามหาราชา เด็กประถมศึกษาไม่หิวโหย
ต่อมา ในช่วงปลายปีงบประมาณ 2534 รัฐบาลเร่งรัดช่วยเหลือเด็ก ในระดับประถมศึกษาที่มีภาวะทุพโภชนาการ และขาดแคลนอาหารกลางวัน กำหนดให้มีกฎหมาย พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535
ตสาระสำคัญคือ จัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา วงเงิน 6,000 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่าย สำหรับการสนับสนุนและช่วยเหลือภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และการประชาสัมพันธ์ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก
ในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหาร ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการแต่ลำพังได้ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนขาดแคลน อีกจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับประทานอาหารกลางวัน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 ให้ถือว่าการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับประทาน อาหารกลางวันอิ่มทุกวันเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเห็นชอบไห้มีความร่วมมือ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารอิ่มทุกวัน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ถ่ายโอนงบประมาณค่าอาหารกลางวัน ไปให้กระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้จัดตั้ง และจัดสรรงบประมาณเอง มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 จนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาร่างกายของนักเรียนให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง และมีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์อ้างอิง เพื่อประเมินภาวะการจริญเติบโต ของนักเรียนของกรมอนามัย กระทรวงศึกษาธิการ
2. เพื่อให้โรงเรียนบริหารจัดการให้เด็กทุกคนในโรงเรียนได้รับประทานอาหารกลางวัน โดยบูรณาการกับผลผลิตทางการเกษตรเพื่อโครงการอาหารกลางวัน
3. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในโครงการสร้างผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน
4. เพื่อจัดอาหารกลางวันที่มีทั้งปริมาณ และคุณค่าทางโภชนาการสูง

การดำเนินงาน และงบประมาณโครงการอาหารกลางวัน

(1) งบประมาณ

การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันฯ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้

หมายเหตุ

ปี 2546-2551 ข้อมูลกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา - ปี 2542 จัดสรรคนละ 6 บาท 200 วัน ร้อยละ 30 ของนักเรียนระดับอนุบาล 1 - ป.6 - ปี 2549 จัดสรรคนละ 10 บาท 200 วัน ร้อยละ 40 ของนักเรียนระดับอนุบาล 1 - ป.6 - ปี 2550 จัดสรรคนละ 10 บาท 200 วัน ร้อยละ 50 ของนักเรียนระดับอนุบาล 1 - ป.6 - ปี 2551 จัดสรรคนละ 10 บาท 200 วัน ร้อยละ 60 ของนักเรียนระดับอนุบาล 1 - ป.6

วนราชการเจ้าของเรื่อง ศธ   วันที่มีมติ 22/10/2556   
เรื่อง การตั้งงบประมาณโครงการอาหารกลางวันนักเรียน ตามภาวะเศรษฐกิจ 

คณะรัฐมนตรีมีมติ
               ๑. อนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ประธานกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ ๑ (ฝ่ายเศรษฐกิจ) เสนอ ดังนี้
                   ๑.๑ เห็นชอบให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นปรับเพิ่มการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ สำหรับโครงการอาหารกลางวันของนักเรียนจากอัตรา ๑๓ บาทต่อคนต่อวัน เป็น ๒๐ บาทต่อคนต่อวัน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้หน่วยงานอื่นที่ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันในอัตรา ๑๓ บาทต่อคนต่อวัน ปรับเพิ่มขึ้นเป็นอัตรา ๒๐ บาทต่อคนต่อวัน ทั้งนี้ สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยงบประมาณค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่จะเพิ่มขึ้นจำนวน ๖๕๙,๙๐๖,๘๐๐ บาท ให้ขอรับการสนับสนุนจากดอกผลของเงินกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
                   ๑.๒ ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียนพิจารณาเสนอปรับอัตราค่าอาหารกลางวันทุกปี ให้สอดคล้องกับราคาสินค้าและภาวะเศรษฐกิจ โดยให้คำนึงถึงปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการเป็นสำคัญ
               ๒. การปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน จึงให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขพิจารณากำหนดเกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานอาหารและโภชนาการของนักเรียนให้ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนและมีปริมาณที่เหมาะสมกับวัยก่อนเริ่มดำเนินการ รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลภาวะโภชนาการของนักเรียนหลังจากได้รับงบประมาณในส่วนนี้เพิ่มแล้ว โดยให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะทุก ๖ เดือน
               ๓. ให้กระทรวงศึกษาธิการนำแนวทางดำเนินการตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาปรับใช้กับโครงการนี้ด้วย

(2) กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา

คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา ได้เห็นชอบให้นำเงินกองทุนฯ จำนวน 6,000 ล้านบาท ไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลช่วยชาติ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.10 บาทต่อปี และนำเงินดอกผลที่สะสมประมาณ 2,000 ล้านบาท นำฝากกับสถาบันการเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงๆ ทำให้ได้ดอกเบี้ยในแต่ละปีกว่า 400 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน
1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนขาดแคลนอาหารกลางวันในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนใน พ.ศ 2547 - 2549 จัดสรรให้นักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 12,965 คน โดยใช้เงินดอกผลกองทุนฯ ปีละประมาณ 27 ล้านบาท
2. ค่าอาหารมื้อเช้ามื้อเย็นสำหรับนักเรียนพักนอนในโรงเรียนสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 1,678 คน ใช้เงินดอกผลกองทุนฯ ปีละประมาณ 6.7 ล้านบาท
3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในโรงเรียนที่ประสบอุบัติภัย ภาคเหนือ และภาคกลาง เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 มีโรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 462 โรงเรียนเป็นเงินประมาณ 27.7 ล้านบาท
5. การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 - 2550 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน โดยให้วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีจำนวน 46 แห่ง เป็นพี่เลี้ยงดูแลโรงเรียนดูแลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 1,200 โรงเรียน โดยใช้เงินดอกผลกองทุน รวมจำนวน 37.30 ล้านบาท ได้ดำเนินการดังนี้
1) ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ โดยการจัดอบรมความรู้ 2) สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เพื่อนำไปผลิตในโรงเรียน 3) สนับสนุนวัตถุดิบให้โรงเรียนเพื่อประกอบอาหารให้เด็กนักเรียน

(3) ผลการดำเนินงาน

3.1 ผลการดำเนินงานด้านภาวะโภชนาการ
โครงการอาหารกลางวันได้รับการดูแลจากรัฐบาลด้วยดีเรื่อยมา ส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนมีแนวโน้มลดลง ดังนี้
พ.ศ. 2525 โรคขาดสารอาหารในเด็กร้อยละ 51 พ.ศ. 2533 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 19 พ.ศ. 2535 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 18 พ.ศ. 2541 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 12.10 พ.ศ. 2542 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 11.57 พ.ศ. 2543 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 11.50 พ.ศ. 2546 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 9.97 พ.ศ. 2547 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 9.56 พ.ศ. 2548 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 8.42 พ.ศ. 2549 ภาวะทุพโภชนาการลดลงเหลือร้อยละ 7.33
3.2 ผลการดำเนินงานด้านคุณภาพอาหาร
ผลการวิจัยติดตามผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ปีการศึกษา 2549 จากการเก็บข้อมูลคุณภาพอาหารจากถาดอาหารที่โรงเรียนตักบริการแก่นักเรียน ตามช่วงชั้นๆ ละ 3 ถาด ใน 5 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จำนวนทั้งสิ้น 126 โรงเรียน
เมื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยปริมาณคุณค่าที่โรงเรียนจัดบริการให้นักเรียน พบว่าความพอเพียงของอาหาร เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานเป้าหมายด้วยเกณฑ์ร้อยละ 40 ของปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน (กรมอนามัย 2546) ซึ่งกำหนดร้อยละ 100 ของเป้าหมายแนะนำหาก ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมาย จัดว่าควรปรับปรุง

(4) ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน

4.1 งบประมาณถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล และบริหารจัดการมีผลกระทบต่อกิจกรรมการประกอบอาหาร และการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 4.2 โรงเรียนขาดกำลังคน ไม่เพียงพอที่จะดูแลการจัดอาหารกลางวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 ขาดการบริหารจัดการที่ดีในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน 4.4 โรงเรียนขาดองค์ความรู้ในการจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และถูกหลักโภชนาการ 4.5 โรงเรียนจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ยังไม่เป็นระบบ และไม่เป็นปัจจุบัน 4.6 ไม่มีการนิเทศติดตาม และประเมินผลอ่างเป็นระบบ 4.7 ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญ และตระหนักถึงปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมทั้งจากผู้ปกครองหรือชุมชน

(5) แนวทางการดำเนินงาน

1. การแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในด้านโครงสร้างการบริหารจัดการ และการดูแลภาวะโภชนาการให้ครอบคลุมเด็กวัยการศึกษาภาคบังคับ 2. การดำเนินงานเพื่อดูแลช่วยเหลือภาวะโภชนาการของนักเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษา 3. พัฒนารูปแบบ และขยายเครือข่ายการดำเนินโครงการเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาละ 2 แห่ง 4. ขยายผลการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน โดยให้มีโรงเรียนต้นแบบ 200 โรงเรียน 5. การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน และการระดมทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน 6. พัฒนาครูผู้บริหาร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอาหารกลางวันด้วยมาตรฐาน และโปรแกรมการจัดอาหารหมุนเวียน 7. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และระบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโครงการอาหารกลางวัน และภาวะโภชนาการของนักเรียน

เอกสารเพิ่มเติม

พรบ.กองทุนฯ
ระเบียบคณะกรรมการบริหาร กองทุุุนฯ

ประวัติความเป็นมา

1. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 เห็นชอบในหลักการปรับเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียน ตามโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา จากอัตราคนละ 10 บาทต่อวัน เป็นอัตราคนละ 13 บาท ต่อวัน จำนวน 200 วัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552
2. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 เห็นชอบให้เด็กนักเรียนทุกคน ตั้งแต่เด็กเล็ก เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวัน เต็ม100% ในอัตราคนละ 13 บาท ต่อวัน จำนวน 200 วัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2553 เป็นต้นไป
3. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 อนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพิ่มเติมวงเงิน 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนทุกคน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับประทานอาหารกลางวัน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เฉพาะภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2553

เอกสารเพิ่มเติม

เรื่อง ของบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวัน้
ให้เด็กนักเรียนทุกคนรับประทานอาหารกลางวัน (นร 0505 / 7999 วันที่ 24 พฤษภาคม 2553)

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

1.กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางให้การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงการต่าง ๆตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2.จัดสรรเงินช่วยเหลือหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่โรงเรียนประถมศึกษา โดยคำนึงถึงลำดับความจำเป็นแห่งภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียน ในแต่ละโรงเรียน
3.ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนเพื่อดำเนินการ ให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้
4.ดำเนินการทางด้านประชาสัมพันธ์ให้ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น บรรดาโรงเรียนต่างๆ และผู้ปกครองของนักเรียน ตลอดจนบุคคลทั่วไปได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุน และปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก
5.ควบคุม ติดตามผล และประเมินผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
6.ออกระเบียบหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายและให้นำมาตรา 10 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
หมายเหตุ
มาตรา 10 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุน

คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางให้การส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาโครงการต่าง ๆตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
2.จัดสรรเงินช่วยเหลือหรือทรัพย์สินอื่นให้แก่โรงเรียนประถมศึกษาโดยคำนึงถึงลำดับความจำเป็นแห่งภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียน
3.ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนเพื่อดำเนินการให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตินี้
4.ดำเนินการทางด้านประชาสัมพันธ์ให้ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น บรรดาโรงเรียนต่าง ๆ และผู้ปกครองของนักเรียนตลอดจนบุคคลทั่วไปได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนและปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก
5.ควบคุม ติดตามผล และประเมินผลการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
6.ออกระเบียบหรือดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
มาตรา 10 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

คณะกรรมการบริหารงานโครงการอาหารกลางวัน ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียน

อำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบ


เอกสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.) ศธ 04188.115 ลว.
ชุดเอกสารโครงการพัฒนา ระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดี ในโรงเรียนประถมศึกษา ปี ๒๕๕๗ ศธ ๐๔๑๘๘/๙๙
เอกสารที่ตั้งงบประมาณ โครงการอาหารกลางวัน 04188.ว69
เอกสารหลักเกณฑ์และวิธีการ ประเมินมาตรฐานอาหารและโภชนาการ


เอกสารแบบสอบถามความพึงพอใจ





โครงการส่งเสริมผลผลิตเพื่ออาหารนักเรียน ๒๕๖๐
โครงการพัฒนระบบสุขาภิบาลอาหารที่ด
ีและน้ำดื่มสะอาดในโรงเรียน ปี ๒๕๖๐
แบบประเมินความพึงพอใจและแบบรายงานข้อมูล
นักเรียนทุพโภชนาการ ปี ๒๕๖๐







ที่มา ; เว็บhttp://schoollunch.obec.go.th/data/about_fund.html


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  



โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม