หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม 

คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร




 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562
title
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
สังคมไทยเป็น สังคมพหุวัฒนธรรม
เราอยู่ร่วมกันบนผืนแผ่นดินเกิดแห่งนี้ มาหลายร้อยปีด้วยความสงบสุข ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นประเทศประชาธิปไตย ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ ภายใต้ความแตกต่าง ด้วยการยอมรับและเปิดใจเข้าหากัน นั่นคือความงดงามของประชาธิปไตย เพราะถ้าทุกคนคิดและเป็นเหมือนกัน ก็คงเหมือนรุ้งกินน้ำที่มีสีเดียว โทนเดียว คงไม่งดงามเหมือนรุ้ง 7 สีตามธรรมชาตินะครับ

หากเปรียบประเทศเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ครอบครัวนี้ ก็คงเหมือนทุก ๆ ประเทศ ที่มีเศรษฐกิจและสังคมที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ หรือ 3 พี่น้อง พี่คนโต เปรียบเสมือนผู้ที่มีฐานะดี มีความเข้มแข็ง ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจขนาดใหญ่ แม้จะพึ่งพาตนเองได้ แต่รัฐบาล หรือพ่อแม่ก็ยังคงต้องให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกอยู่ สำหรับลูกคนกลางก็คงเป็นชนชั้นกลาง มีหน้าที่การงานที่มั่นคง หากไม่มีปัจจัยภายนอกมากระทบ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร  แต่หากป่วยไข้ เกิดอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ ชีวิตก็คงจะลำบากสักระยะ กว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ รัฐบาลก็ต้องระวังไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระทบ เพื่อให้เขาเติบโตแข็งแรงได้อย่างไม่ลำบาก สำหรับน้องคนสุดท้องคือผู้ที่มีรายได้น้อย ทั้งเกษตรกร ทั้งอาชีพอิสระ รับจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ รวมถึง SMEs และ Star-up ที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ยังต้องพึ่งพาการส่งเสริมจากภาครัฐ หรือพ่อแม่อยู่มาก รวมทั้งพี่คนโตและคนกลาง ก็ต้องช่วยพ่อแม่ดูแลน้องคนเล็ก ให้ความช่วยเหลือเชื่อมโยง ผูกพันกันเหมือนที่ผมกล่าวอยู่เสมอว่าทุกคนอยู่ในห่วงโซ่เดียวกัน ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยรัฐบาลก็จะดูแล ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้ทุกคนในห่วงโซ่นี้เข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้ โดยเราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แต่ก็อย่าลืมว่าทุกคนก็ต้องไม่ปฏิเสธการพัฒนาตนเอง หาความรู้เพิ่มเติม ปรับตัว ไม่ปิดตัว ไม่ปิดโอกาสตนเองโดยรับข้อมูลข่าวสารภาครัฐอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง อย่างน้อยก็รับฟังหอกระจายข่าวที่มีอยู่ทั้ง 7 หมื่นกว่าหมู่บ้านทั่วประเทศ หรือติดตามข่าวสารผ่าน แอพพลิเคชัน G News รวมทั้งช่องทางอื่น ๆ ของรัฐที่เชื่อถือได้ด้วยนะครับ
 
เว็บไซต์ รัฐบาลไทย  http://www.thaigov.go.th/
Face Book ไทยคู่ฟ้า (สำนักโฆษก)
Face Book สายตรงไทยนิยม (สำนักนายกรัฐมนตรี)
LINE@ข่าวจริงประเทศไทย (กรมประชาสัมพันธ์)
GNEWS (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.))
 
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
4 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐตระหนักถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีมาอย่างยาวนานของประเทศ ซึ่งส่งผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ความสำคัญและเร่งการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง ทางบก ทางราง ทางทะเล ทางอากาศ ทั้งด้านสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ หลังจากหยุดนิ่งมากว่า 10 ปีเพื่อจะเพิ่มการเข้าถึงโอกาสและกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ที่เราเรียกว่าน้องคนสุดท้อง ผ่านการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชน อาทิ การจัดสรรที่ดินทำกินและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ ใน 61 จังหวัด กว่า 47,000 ราย ใช้พื้นที่เกือบ 4 แสนไร่ การพัฒนา Smart Farmer มากกว่า 1 ล้านราย การช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหา เช่น ช่วยเหลือชาวนา 3.6 ล้านครัวเรือน วงเงินราว 4 หมื่นล้านบาท และชาวสวนยาง 2.2 ล้านครัวเรือน วงเงินราว 3 หมื่นล้านบาท เป็นต้น  การระบายข้าวจากโครงการรับจำนำข้าว กว่า 17 ล้านตัน ซึ่งมีส่วนในการส่งผลให้ราคาข้าวปรับเพิ่มขึ้น การอำนวยความยุติธรรม ขจัดคำกล่าว คุกมีไว้ขังคนจนโดยได้มีการตั้งกองทุนยุติธรรม ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้เข้าถึงบริการด้านกระบวนการยุติธรรม  ได้แก่ เงินค่าใช้จ่ายในการปล่อยตัวชั่วคราว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี อาทิ ค่าจ้างทนายความ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าฤชาธรรมเนียมในทุกประเภทคดี และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านเครือข่ายยุติธรรมชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ศูนย์ดำรงธรรม เป็นต้น  โดย 2 ปีที่ผ่านมานั้น ได้ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ได้รับความเป็นธรรม ราว 9,000 ราย ทั่วประเทศ เป็นเงินเกือบ 200 ล้านบาท

นอกจากนี้ ภาครัฐได้ตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ผ่านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือพี่น้องในกลุ่มฐานราก ได้แก่ การให้สวัสดิการต่าง ๆ ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กว่า 14 ล้านราย การเปิดโครงการร้านธงฟ้าที่มีร้านค้าทั่วประเทศเข้าร่วมถึง 60,000 ร้าน รวมถึงการใช้แอพพลิเคชั่น ถุงเงินประชารัฐ มากกว่า 40,000 ร้านค้า มาตรการสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านและซ่อมแซมบ้าน สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงิน 60,000 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีการไกล่เกลี่ยและประนอมหนี้เกือบ 540,000 ราย โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละ 200,000 บาท) ครอบคลุม 80,000 หมู่บ้าน และชุมชน รวม 92,000 กว่าโครงการการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเกือบ 80,000 กองทุน เพื่อสร้างรายได้และส่งเสริมการออม รวมทั้งการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้เกิดความมั่นคง กินดีอยู่ดี และมีความสุขมากยิ่งขึ้น โดยแม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP จะเริ่มปรับขึ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก และ ในยอดคงค้างสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ก็มีสัดส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คิดเป็นร้อยละ 50.4 ของสินเชื่อรวมจากธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ซึ่งถือได้ว่าเป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน และเป็นการเพิ่มสินทรัพย์ให้กับประชาชน สำหรับด้านสุขภาพ ได้ยกระดับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มอัตราเหมาจ่ายรายหัว เป็น 3,600 บาทต่อคน พัฒนาระบบ UCEP สายด่วน 1669 ตามนโยบาย เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิรักษาทุกที่ ฟรี 72 ชั่วโมงให้ความสำคัญกับการแพทย์ระดับปฐมภูมิ อาทิ ทีมหมอครอบครัว ที่เน้นการป้องกันและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด นักบริบาลชุมชน เพื่อเตรียมรับมือสังคมผู้สูงวัย และผู้ป่วยติดเตียงที่นับวันจะมีมากขึ้น ๆ ไม่ให้เป็นภาระคนในครอบครัว เป็นต้น

ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือ ที่เป็นแบบระยะยาว ก็ได้ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผ่านการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ 4,600 กว่าแปลง บนพื้นที่ 5.4 ล้านไร่

การใช้ Agri-Map เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ รวมทั้ง การวางแผนตลาดนำการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้าของชุมชนผ่านการดำเนินโครงการสินค้า OTOP และ ส่งเสริมสินค้า GI โดยสามารถขยายตลาดให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ ด้วยการสร้างโอกาสในการจับคู่ธุรกิจและนำผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าสู่การจำหน่ายบนเครื่องบิน ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น และสร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 98,000 ล้านบาท ในปีแรกของรัฐบาล เป็น 190,000 ล้านบาท ในปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 1 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ยังตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สนับสนุนการทำบัญชีครัวเรือน และ ส่งเสริมให้มีธนาคารชุมชน หรือ สถาบันการเงินประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเป็นแหล่งทุนท้องถิ่น ตัดวงจรหนี้นอกระบบ ขจัดปัญหาการเข้าไม่ถึงธนาคารพาณิชย์ รวมทั้ง ผลักดัน พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ฯ เพื่อคุ้มครองพี่น้องประชาชนไม่ให้ถูกรังแก หรือถูกเอาเปรียบจากนายทุนผู้มีอิทธิพล

ในการพัฒนาให้เกิดการกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้มีการดำเนินการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 พื้นที่ ทุกภูมิภาคของประเทศ และ EEC โดยมีผู้ประกอบการ SMEs สนใจจัดตั้งธุรกิจมากกว่า 3,000 ราย  มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI วงเงินเกือบ 9,000 ล้านบาท ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศได้ ประชาชนไม่ทิ้งบ้าน ละถิ่น คงความเป็นครัวเรือนไทย ผู้สูงอายุ ลูกหลาน ก็ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่เป็นปัญหาสังคมตามมาเหมือนในอดีต รวมทั้ง ได้ดำเนินการจัดทำกรอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) เพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ และ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของพื้นที่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

ในอนาคต ก็จะเกิดห่วงโซ่การผลิต แปรรูป การตลาด กระจายตัวและเชื่อมโยงกัน โดยวัตถุดิบในท้องถิ่น ถูกนำเข้าสู่สายพานการผลิตและแปรรูปมากขึ้น มีการเชื่อมโยงตลาดภายในประเทศ นอกประเทศ และตลาดออนไลน์ ได้ดีขึ้นกว่าในอดีต เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลได้ลงทุนไว้ ทั้งการคมนาคม และสารสนเทศ มาตรการทั้งหมดนี้ เป็นเพียงบางส่วนในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ และ ไม่ได้มุ่งเน้นในการให้ความช่วยเหลือระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ได้วางรากฐานในการเพิ่มศักยภาพการผลิต มูลค่าสินค้า และบริการ ในระยะยาว

รวมถึง การมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญที่จะเร่งผลักดันก็คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอีกด้วย ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า ภาครัฐได้พยายามวางแผนในการสนับสนุนพี่น้องในชุมชนในทุกมิติ เพื่อให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีความเข้มแข็ง และยั่งยืน ต่อไป

ผมขอฝากให้เร่งรัดในเรื่องของการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากพายุปาบึกให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งการซ่อมบ้าน สร้างบ้านใหม่ และรวมความไปถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ได้รับผลกระทบไปด้วย ซึ่งจะครอบคลุมในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสงคราม และกรุงเทพฯ ด้วยนะครับ

สุดท้ายนี้ ผมอยากจะบอกว่า ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้แก้ปัญหาที่หมักหมมมานานนับสิบ ๆ ปี พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนา เพื่อวันข้างหน้า วันนี้ ผมขอนำเสนอผลการดำเนินงานของรัฐบาลนี้ ผ่านโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทรัพยากรของชาติ โดยเฉพาะในส่วนที่น้อยคนนักจะมองเห็น หรือให้ความสนใจ ได้แก่ (1) กองทุนส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษาในการที่จะดูแลทรัพยากรมนุษย์ของเรา เป็นการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ท่านรู้หรือไม่ว่าในแต่ละปี มีเด็กไทยมากกว่า 670,000 คน หลุดออกจากระบบการศึกษา เพียงเพราะความยากจน และ (2) โครงการปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์พระราชา เพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรป่าชายเลน ที่เสื่อมโทรม ป้องกันการกัดเซาะแนวชายฝั่งทะเล คืนระบบนิเวศให้กับชุมชน ช่วยลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ให้ชาวเมือง และต่อยอดด้วยการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้กับคนไทยทั้งประเทศในอนาคต
 
 ผมก็อยากให้ดูนะครับ ว่ารัฐบาลนี้ ได้แก้ไขปัญหาที่คนส่วนใหญ่มองข้ามอย่างยั่งยืนได้อย่างไร  ในส่วนของการสร้างสวนสาธารณะ หรือทำให้เป็นพื้นที่สีเขียว รัฐบาลก็จะเร่งรัดให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทุกจังหวัด อันนี้ก็เป็นโครงการที่กระทรวงทรัพย์ฯ ได้พยายามเร่งดำเนินการอยู่แล้ว รวมความไปถึงกรุงเทพมหานครด้วย รัฐบาลให้ความสนใจในทุกเรื่องต่อไปนี้ขอเชิญชมวีดิทัศน์ รวมเวลาประมาณ 10 นาทีที่กล่าวมาแล้วเมื่อสักครู่

ขอบคุณนะครับ  ขอให้คนไทยทุกคน ดูแลซึ่งกันและกัน มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาตนเอง รวมทั้งดูแลชาติบ้านเมืองของเรา ให้สงบร่มเย็น ภายใต้กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และภายใต้พระบรมโพธิสมภาร นะครับ สวัสดีครับ
...............................

 อนึ่ง วิดีทัศน์ ประกอบรายการสัปดาห์นี้ ดังนี้
1. กองทุนส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.)
<ดาวน์โหลด https://drive.google.com/open?id=1jZdwlSFZtrasMT04uvPVKC-TC6B0oaO7

        ทุกปีมีเด็กและเยาวชนไทยที่มีศักยภาพมากกว่า 670,000  คน หลุดออกจากระบบการศึกษาเพราะความยากจนเด็ก/เยาวชนยากจนที่สุดของประเทศมีโอกาสเรียนต่อระดับอุดมศึกษาเพียง 5% เพราะต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับรายได้ครัวเรือน นักเรียนอายุ 15 ปีในชนบทมีความรู้ความสามารถล้าหลังกว่านักเรียนในเมืองใหญ่เกือบ 2 ปีการศึกษา
        รัฐบาลเล็งเห็นว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ ต้องแก้ไขด้วยแนวทางเสมอภาคเพราะเด็ก เยาวชนแต่ละคนมีความจำเป็นและโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาไม่เท่ากัน ความเท่าเทียมในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาจึงไม่อาจเพียงพอ แต่ต้องอยู่บนหลักการของความเสมอภาคที่คำนึงถึงข้อมูล ความจำเป็น และปัญหาของผู้เรียนแต่ละคนโดยเฉพาะบริบทของพื้นที่ซึ่งแตกต่างกัน
        กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จึงเป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน  ด้วยการใช้ความรู้เป็นตัวนำ มีสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตองค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศโดยร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยระดับนานาชาติ พัฒนาต้นแบบหรือนวัตกรรมปฏิรูปที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปขยายผล และเสนอแนะมาตรการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย พร้อม ๆ กับระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
        ซึ่งล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา สามารถหักลดหย่อนได้เป็นจำนวน 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคสำหรับบุคคลธรรมดา ส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักเป็นรายจ่ายได้เป็นจำนวน 2 เท่า ของรายจ่ายที่บริจาค ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ  ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
        ผลการดำเนินงานที่สำคัญเป็นรูปธรรม คือการทำงานร่วมกันระหว่าง กสศ. กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการดำเนินการคัดกรองนักเรียนยากจนพิเศษ และจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษอย่างมีเงื่อนไขในปีการศึกษา 2561 จำนวน 1,600 บาทต่อคนให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษจำนวนทั้งสิ้น 517,004 คนใน 26,557 สถานศึกษาสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ และมีแผนจะขยายผลไปสู่สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และตำรวจตะเวนชายแดน (ตชด.) อีกราว 2,000 แห่งทั่วประเทศต่อไปในปีการศึกษา 2562
        เรื่องนี้ถือเป็นการปฏิรูปกระบวนการจัดสรรงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแก่นักเรียนยากจนที่สุดในระบบการศึกษา ทำให้ สพฐ. เป็นหน่วยผู้จัดการศึกษาแรกในประเทศไทย ที่สามารถจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนตามอุปสงค์ (Demand-side Financing) ตรงตามความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ข้อค้นพบจากผลการสอบ PISA (Program for International Student Assessment) พบว่าประเทศไทยมีเด็ก กลุ่มช้างเผือกหรือ “Resilient Student” หรือนักเรียนที่มีระดับเศรษฐกิจฐานะต่ำสุด 25% ของประเทศ แต่สามารถทำคะแนนสอบได้เป็นกลุ่มสูงที่สุด 25% ของโลก เป็นเด็กที่สามารถเอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้จำนวนราว 3.33%  แต่หากขจัดอุปสรรคด้านทุนการศึกษา จำนวนนักเรียนช้างเผือกของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 18% 
        รัฐบาลโดย กสศ. จึง ได้มีโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง สนับสนุนให้เยาวชนชั้น   ม. 3 ม. 6 และ ปวช. 3 ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ด้อยโอกาส แต่มีศักยภาพ ปีละประมาณ 2,500 คนในทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้รับโอกาสศึกษาต่อสายอาชีพ ในสาขาเป้าหมายของประเทศ  สาขาขาดแคลน สาขา STEM และเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งทุกสถาบันการศึกษาที่ร่วมโครงการจะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการโดยตรง ทั้งในและต่างประเทศ จึงมั่นใจได้ว่าเมื่อเรียนจบแล้วมีโอกาสได้งานทำทันทีเพราะเป็นสาขาที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและเศรษฐกิจในอนาคต และที่สำคัญคือ ตรงกับความฝันและความสนใจของผู้เรียน อีกด้วย
        ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนนอกจากจะสร้างกำลังคนรุ่นใหม่สายอาชีพราวรุ่นละ 2,500 คนแล้วยังเป็นการสร้างโอกาสสู่การศึกษาระดับสูงแก่นักเรียนที่มีศักยภาพแต่มีอุปสรรคทางรายได้ของครอบครัว โครงการยังมุ่งปฏิรูปการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาสายอาชีพ ให้สามารถผลิตกำลังคนที่สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการผลิตและภาคธุรกิจ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0”
        ผลตอบแทนของโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพขั้นสูงถือว่ามีความคุ้มทุนอย่างมาก จากนักเรียนผู้รับทุน 2,500 ทุน ในปีแรก จากข้อสมมติฐานว่าผู้รับทุนทุกคนทำงานหลังจบการศึกษาจนถึงเกษียณอายุ 60 ปี จะคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ประมาณ 10,000 ล้านบาท
        ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์  - 18 มีนาคม 2562 เยาวชนที่สนใจ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง รายชื่อสถาบันสายอาชีพที่ร่วมโครงการและสาขาที่เปิดรับได้ที่เว็บไซต์ : www.eef.or.th

2. โครงการปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์พระราชา
        ผ่านมากว่า 2 ปีโครงการปลูกป่าในใจคนตามศาสตร์พระราชา ลดการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วยคืนพื้นที่สีเขียวได้มากกว่า 210 ไร่ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศ คืนลมหายใจสะอาดให้กับคนกรุงเทพมหานคร
        ป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน คืนสู่ความสมบูรณ์ กลับมาเป็นแหล่งพืชพรรณและสัตว์นานาชนิดอีกครั้ง ภายหลังที่รัฐบาลดำเนินโครงการปลูกป่าในใจคน ตามศาสตร์พระราชา โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน ร่วมกันเพิ่มพื้นที่ปลูกป่าชายเลน ใช้ไม้ไผ่และเสาไฟฟ้าปักเป็นแนวป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะและทำแปลงปลูกต้นโกงกางกว่า 53,000 ต้น ควบคู่กับการเพาะพันธุ์ต้นกล้า เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน สำนักงานเขตบางขุนเทียน สามารถขยายพื้นที่แปลงปลูกป่าได้มากกว่า 210 ไร่
        เดิมพื้นที่เขตบางขุนเทียนเป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ที่ติดกับทะเลฝั่งอ่าวไทย ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ในระหว่างปี พ.ศ. 2511 ถึงปี พ.ศ. 2526 เกิดปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะ จนป่าชายเลนเสื่อมโทรม กระแสน้ำที่รุนแรงยังกัดเซาะแนวพื้นดินเดิมจมหายไปในทะเลตลอดชายฝั่งรวมความยาวกว่า 4.7 กิโลเมตร ดังนั้นหากไม่มีมาตรการป้องกันคาดว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า ป่าชายเลนที่เหลืออยู่จะถูกทำลายทั้งหมด
        รัฐบาล จึงกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและยั่งยืน ด้วยแนวทางประชารัฐ ตามแนวพระราชดำริด้านการอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายของกรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการฟื้นฟูและบำรุงรักษาป่าชายเลนให้กลับคืนสู่สภาพเดิมที่มีความสมดุลของระบบนิเวศ ได้พื้นดินกลับคืนมาเป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร
        ชาวชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ยอมรับว่าพื้นที่ป่าชายเลนช่วยเพิ่มความมั่นคงในที่อยู่อาศัย เพราะแนวไม้โกงกาง ป่าแสม ช่วยกันแรงกระแทกของคลื่น รากของต้นโกงกางและต้นแสม ยังช่วยแก้ปัญหาแผ่นดินทรุดในบริเวณชายฝั่งทะเลได้เป็นอย่างดี เมื่อพื้นที่ป่าสมบูรณ์ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างเดินทางมาเที่ยวชมเส้นทางธรรมชาติป่าชายเลน ดูวิถีชีวิตชาวประมงในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
        แสง อรุณนิ่มน้อย ชาวชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ...ดีกว่า ช่วยได้เยอะ มีตลิ่งกั้นไม่งั้นคงพังหมด คลื่นทะเลเข้าลมแรงต้นไม้ก็ไม่มี เดี๋ยวนี้ดีขึ้นเขามาช่วยทำให้ เอาหินมาทิ้ง เอาไม้มาปัก ก็ช่วยบรรเทาได้...เสาร์อาทิตย์มีนักท่องเที่ยวเยอะมาขี่จักรยานมาจากไหนไม่รู้ มาทีเป็นร้อย…”
        ด้วยวิถีธรรมชาติป่าชายเลน เป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์สำหรับสัตว์น้ำในช่วงที่เป็นตัวอ่อนทั้งกุ้ง หอย ปู ปลา เติบโตโดยธรรมชาติ ปลอดสารเคมี มีเนื้อหวาน รสชาติอร่อย ส่งขายให้กับร้านขายอาหารทะเลส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้
        ขวัญใจ ช้างเจริญ เจ้าของร้านอาหารทะเลบางขุนเทียน ...ที่ส่วนใหญ่จะเป็นหอยแครง กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลา กุ้งลายเสือ ปูทะเล รับจากเกษตรกรโดยตรงเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ใช่มาจากฟาร์มเลี้ยง เมื่อวัยเติบโตเต็มที่ชาวบ้านก็จะจับมาขาย รสชาติเลยดีกว่าทั่วไป...
        เมื่อป่าชายเลนสมบูรณ์ ระบบนิเวศก็ดีขึ้นด้วย ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญ ทั้งยังเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพาะต้นกล้าและปลูกป่าชายเลนได้ พร้อมเปิดเส้นทางจักรยานเลียบชายฝั่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว สร้างเครือข่ายฟื้นฟูป่าชายเลนบางขุนเทียน โดยนำประชาชนในชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลนร่วมเป็นกลไกสำคัญให้การอนุรักษ์ฟื้นฟูเป็นไปอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
        มากไปกว่าการได้ทรัพยากรป่าชายเลนกลับคืน พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นเสมือน ปอดของคนในพื้นที่ ช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากอุตสาหกรรมและชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้เร็วกว่าป่าไม้ถึง 4 เท่า และยังเป็นแหล่งสำคัญที่จะช่วยลดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน พื้นที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกป่าชายเลน และได้ท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ของกรุงเทพมหานคร

ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

โดย  อ./ผอ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม