ภายหลังจากเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน ออกมารวมตัวชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาแก้ไขปัญหาราคายางพาราและราคาปาล์มน้ำมันที่มีราคาตกต่ำ โดยมีการรวมตัวกันตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ปิดถนนสายควนหนองหงส์-บ่อล้อ และเส้นทางรถไฟบริเวณสามแยกบ้านควนเงิน ต.บ้านตูล อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ตอนแรกตำรวจพยายามเข้าไปเจรจาให้เปิดเส้นทางแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ และทางรัฐบาลก็ไม่ต้องการให้เกิดการปะทะบาดเจ็บสูญเสียไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน จึงทำได้แต่ให้ตำรวจตั้งด่านตรวจรอบนอกทุกเส้นทางที่จะเข้าพื้นที่ชุมนุมเพื่อป้องกันเหตุร้าย
กระทั่งวันที่ 31 ส.ค. แกนนำของแต่ละจังหวัดได้ประชุมร่วมกันและแต่งตั้ง แกนนำภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน โดยมี นายเอียด เส้งเอียด เป็นหัวหน้าแกนนำ ขณะนั้นได้แถลงการณ์ โดยมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ อาทิ 1. ขอให้ตำรวจยุติการคุกคามใด ๆ รวมทั้งยุติความพยายามที่จะทำลายความเชื่อถือของผู้ชุมนุม ยกเลิกการ
กระทำที่เป็นปรปักษ์ทุกกรณีกับผู้ชุมนุม 2. รัฐบาลจะต้องประกันราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 120 บาท เศษยาง กก.ละ 60 บาท และราคาปาล์ม ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 7 บาท
3. รัฐบาลจะต้องดำเนินการเจรจาโดยตรงระหว่างรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการเดินทางมาเจรจากับภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้โดยตรง ภายในเวลา 11.00 น.วันที่ 2 ก.ย. 56 4. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องสั่งให้คืนอุปกรณ์ทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดไปจากผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. และ 5. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องเยียวยาต่อผู้ได้รับบาดเจ็บจากการใช้ความรุนแรงที่ละเมิดสิทธิต่อผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยธรรม และจ่ายค่าชดเชยตามสมควรในทุกกรณี
อย่างไรก็ดีเกือบจะมีเหตุการณ์บานปลาย เป็นชนวนให้ผู้ชุมนุมลุกฮือไม่พอใจอีกครั้ง เมื่อช่วงประมาณตี 3 ของวันที่ 1 ก.ย. มีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง นายศิริชัย บุญนุวงศ์ อายุ 29 ปี เสียชีวิต และนายสิทธิ์ศักดิ์ หรือตู่ ใจงาม อายุ 28 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดบริเวณด่านของม็อบสวนยางสามแยกบ้านควนเงิน ต.บ้านตูล ตอนแรกมีกระแสข่าวว่าผู้ตายเป็นการ์ดม็อบสวนยางฯ แต่ญาติออกมาแสดงตัวยืนยันว่าผู้ตายเป็นช่างซ่อมแอร์ ไม่เกี่ยวกับการชุมนุม คดีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ต้องมอบหมายให้ พล.ต.อ.รชต เย็นทรวง ที่ปรึกษา (สบ 10) พร้อมด้วย พล.ต.ท.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ ประสานงานกับ พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ว ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช เพื่อควบคุมดูแลคดีอย่างใกล้ชิดให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ขณะเดียวกันการเจรจากับตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมที่ อ.ชะอวด ตอนแรกก็มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายไปด้วยดี หลังจากช่วงเย็นวันที่ 2 ก.ย. มีกระแสข่าวว่า นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีต ผวจ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นผู้ที่ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อมั่นและให้การยอมรับมากที่สุดได้เดินทางมาเจรจากับ นายเอียด เส้งเอียด และตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ก็เกือบได้ข้อยุติ แต่สุดท้ายช่วงบ่ายวันที่ 3 ก.ย.ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปทำให้กลุ่มเกษตรฯยังปักหลักชุมนุมต่อไป
เรียกว่าตั้งแต่เกิดการชุมนุมม็อบสวนยางฯ บรรยากาศค่อนข้างตึงเครียดไม่ว่าจะเป็นประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงรัฐบาลเองและประชาชนทั่วประเทศที่เกาะติดข่าวสารข้อมูลอย่างใกล้ชิดเพื่อจะดูว่ารัฐบาลจะหาทางออกเรื่องนี้ได้อย่างไร เนื่องจากวันที่ 3 ก.ย. เป็นวันนัดชุมนุมใหญ่ของเกษตรกรปลูกสวนยางพาราทั่วประเทศ ปรากฏว่า ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 2 ก.ย. ได้มีการเคลื่อนไหวทั้งของเกษตรกรสวนยางและปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เริ่มออกมาชุมนุมกันอย่างคึกคัก
ไล่ตั้งแต่เกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ จ.ชุมพร ระนอง ออกมาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร มีการจัดเวทีปราศรัยบนถนนฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นศาลากลางจึงทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรหน้าศาลากลางไปโดยปริยาย นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในพื้นที่ จ.พัทลุง และกระบี่ ฯลฯ
สำหรับจุดรวมตัวใหญ่ที่สุดของภาคใต้อยู่ที่ บริเวณสนามหน้าที่ทำการ สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โคออป) แยกหนองขรี หมู่ 3 ต.หนองไทร อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางจากหลายจังหวัดในภาคใต้ ทยอยมารวมตัวชุมนุมตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 3 ก.ย. โดยมี พล.ต.ท. ยงยุทธ เจริญวานิช ผบช.ภ.8 และ นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผวจ.สุราษฎร์ธานี พร้อมหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้เข้าประจำที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการชุนมุนของเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ว่าการอำเภอพุนพิน ห่างจากจุดชุมนุมประมาณ 12 กิโลเมตร โดยตำรวจได้มีการวางแผนหาเส้นทางเลี่ยง หากมีการยกระดับปิดการจราจร
นายบุญโชติ ร่มเย็น เลขาฯ เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าในที่ประชุมแกนนำจากจังหวัดต่าง ๆ มีความเห็นร่วมแถลงการณ์เรียกร้องต่อรัฐบาล คือ ให้ชดเชยค่าส่วนต่างจากราคาท้องตลาด ณ จุดขาย โดยรัฐต้องประกันราคายางแผ่นรมควัน กก.ละ 101 บาท ยางพาราแผ่นดิบ กก.ละ 92 บาท น้ำยางสด กก.ละ 82 บาท และ ยางถ้วย กก.ละ 83 บาท สำหรับวิธีการนั้นให้รัฐจ่ายเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการ พวกเราพร้อมที่จะรอคำตอบจากรัฐบาล และที่จะยกระดับการเรียกร้องทันทีหากไม่ได้รับคำตอบ หรือ รัฐบาลยังเมินเฉยต่อความเดือดร้อนของประชาชน
ส่วนความเคลื่อนไหวในภาคตะวันออก ก็มีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจาก 8 อำเภอ จ.ระยอง และจังหวัดชลบุรีบางส่วน เดินทางมาร่วมชุมนุมปิดถนนสุขุมวิท ฝั่งขาเข้าทั้ง 4 ช่องจราจร บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดระยอง ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางฯ ภาคอีสานและภาคเหนือ ยังไม่มีการออกมาเคลื่อนไหว
กระทั่งช่วงเวลาประมาณ 15.30 น. (3 ก.ย.) บรรยากาศเริ่มชุลมุนวุ่นวาย เมื่อมีกลุ่มเกษตรกรที่อ้างว่าเดินทางมาจาก อ.เทพา จ.สง ขลา กรูกันลงจากรถปิดถนนถนนสายเอเซีย 41 แยกหนองขรี ต.หนองไทร อ.พุนพิน ทั้งขาขึ้นและขาล่อง รวมทั้งใช้รถบัสขวางถนน ส่งผลทำให้กลุ่มชาวสวนยางที่ชุมนุมอยู่บริเวณสนามหน้าที่ทำการสหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โคออป) ทยอยพากันออกมาร่วมปิดถนนด้วย แม้ว่าแกนนำจะประกาศให้กลับมาชุมนุมในที่ตั้งบริเวณลานหน้าโคออปแต่ก็ไม่เป็นผล
ถือว่าสถานการณ์ค่อนข้างตึงเครียดขึ้น เมื่อม็อบสวนยางเพิ่มการชุมนุมหลายจุดในพื้นที่ภาคใต้เพื่อยื่นข้อเสนอให้ประกันราคายาง แต่ทาง ครม.มีมติ 3 มาตรการช่วยเหลือ (ตามข้อมูลล้อมกรอบ) นอกจากนี้มอบหมายให้ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ติดต่อกับตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมให้มาหารือกันในวันที่ 4 ก.ย. เวลา 14.00 น. ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ
ผลการหารือจะออกมาเป็นเช่นไรนั้นก็ต้องเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด!!.
กระทั่งวันที่ 31 ส.ค. แกนนำของแต่ละจังหวัดได้ประชุมร่วมกันและแต่งตั้ง แกนนำภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน โดยมี นายเอียด เส้งเอียด เป็นหัวหน้าแกนนำ ขณะนั้นได้แถลงการณ์ โดยมีข้อเรียกร้อง 5 ข้อ อาทิ 1. ขอให้ตำรวจยุติการคุกคามใด ๆ รวมทั้งยุติความพยายามที่จะทำลายความเชื่อถือของผู้ชุมนุม ยกเลิกการ
กระทำที่เป็นปรปักษ์ทุกกรณีกับผู้ชุมนุม 2. รัฐบาลจะต้องประกันราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ในราคาไม่ต่ำกว่า กก.ละ 120 บาท เศษยาง กก.ละ 60 บาท และราคาปาล์ม ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 7 บาท
3. รัฐบาลจะต้องดำเนินการเจรจาโดยตรงระหว่างรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอย่างเป็นทางการเดินทางมาเจรจากับภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้โดยตรง ภายในเวลา 11.00 น.วันที่ 2 ก.ย. 56 4. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องสั่งให้คืนอุปกรณ์ทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดไปจากผู้ชุมนุมตั้งแต่วันที่ 23 ส.ค. และ 5. ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จะต้องเยียวยาต่อผู้ได้รับบาดเจ็บจากการใช้ความรุนแรงที่ละเมิดสิทธิต่อผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยธรรม และจ่ายค่าชดเชยตามสมควรในทุกกรณี
อย่างไรก็ดีเกือบจะมีเหตุการณ์บานปลาย เป็นชนวนให้ผู้ชุมนุมลุกฮือไม่พอใจอีกครั้ง เมื่อช่วงประมาณตี 3 ของวันที่ 1 ก.ย. มีเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง นายศิริชัย บุญนุวงศ์ อายุ 29 ปี เสียชีวิต และนายสิทธิ์ศักดิ์ หรือตู่ ใจงาม อายุ 28 ปี ได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดบริเวณด่านของม็อบสวนยางสามแยกบ้านควนเงิน ต.บ้านตูล ตอนแรกมีกระแสข่าวว่าผู้ตายเป็นการ์ดม็อบสวนยางฯ แต่ญาติออกมาแสดงตัวยืนยันว่าผู้ตายเป็นช่างซ่อมแอร์ ไม่เกี่ยวกับการชุมนุม คดีนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ต้องมอบหมายให้ พล.ต.อ.รชต เย็นทรวง ที่ปรึกษา (สบ 10) พร้อมด้วย พล.ต.ท.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ ประสานงานกับ พล.ต.ต.รณพงษ์ ทรายแก้ว ผบก.ภ.จว.นครศรีธรรมราช เพื่อควบคุมดูแลคดีอย่างใกล้ชิดให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ขณะเดียวกันการเจรจากับตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมที่ อ.ชะอวด ตอนแรกก็มีแนวโน้มว่าจะคลี่คลายไปด้วยดี หลังจากช่วงเย็นวันที่ 2 ก.ย. มีกระแสข่าวว่า นายภาณุ อุทัยรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีต ผวจ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นผู้ที่ชาวนครศรีธรรมราชเชื่อมั่นและให้การยอมรับมากที่สุดได้เดินทางมาเจรจากับ นายเอียด เส้งเอียด และตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ก็เกือบได้ข้อยุติ แต่สุดท้ายช่วงบ่ายวันที่ 3 ก.ย.ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปทำให้กลุ่มเกษตรฯยังปักหลักชุมนุมต่อไป
เรียกว่าตั้งแต่เกิดการชุมนุมม็อบสวนยางฯ บรรยากาศค่อนข้างตึงเครียดไม่ว่าจะเป็นประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงรัฐบาลเองและประชาชนทั่วประเทศที่เกาะติดข่าวสารข้อมูลอย่างใกล้ชิดเพื่อจะดูว่ารัฐบาลจะหาทางออกเรื่องนี้ได้อย่างไร เนื่องจากวันที่ 3 ก.ย. เป็นวันนัดชุมนุมใหญ่ของเกษตรกรปลูกสวนยางพาราทั่วประเทศ ปรากฏว่า ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 2 ก.ย. ได้มีการเคลื่อนไหวทั้งของเกษตรกรสวนยางและปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เริ่มออกมาชุมนุมกันอย่างคึกคัก
ไล่ตั้งแต่เกษตรกรชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ จ.ชุมพร ระนอง ออกมาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดชุมพร มีการจัดเวทีปราศรัยบนถนนฝั่งตรงข้ามบันไดทางขึ้นศาลากลางจึงทำให้เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรหน้าศาลากลางไปโดยปริยาย นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมในพื้นที่ จ.พัทลุง และกระบี่ ฯลฯ
สำหรับจุดรวมตัวใหญ่ที่สุดของภาคใต้อยู่ที่ บริเวณสนามหน้าที่ทำการ สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โคออป) แยกหนองขรี หมู่ 3 ต.หนองไทร อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางจากหลายจังหวัดในภาคใต้ ทยอยมารวมตัวชุมนุมตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 3 ก.ย. โดยมี พล.ต.ท. ยงยุทธ เจริญวานิช ผบช.ภ.8 และ นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผวจ.สุราษฎร์ธานี พร้อมหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้เข้าประจำที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการชุนมุนของเกษตรกรชาวสวนยาง ที่ว่าการอำเภอพุนพิน ห่างจากจุดชุมนุมประมาณ 12 กิโลเมตร โดยตำรวจได้มีการวางแผนหาเส้นทางเลี่ยง หากมีการยกระดับปิดการจราจร
นายบุญโชติ ร่มเย็น เลขาฯ เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ยืนยันว่าในที่ประชุมแกนนำจากจังหวัดต่าง ๆ มีความเห็นร่วมแถลงการณ์เรียกร้องต่อรัฐบาล คือ ให้ชดเชยค่าส่วนต่างจากราคาท้องตลาด ณ จุดขาย โดยรัฐต้องประกันราคายางแผ่นรมควัน กก.ละ 101 บาท ยางพาราแผ่นดิบ กก.ละ 92 บาท น้ำยางสด กก.ละ 82 บาท และ ยางถ้วย กก.ละ 83 บาท สำหรับวิธีการนั้นให้รัฐจ่ายเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการ พวกเราพร้อมที่จะรอคำตอบจากรัฐบาล และที่จะยกระดับการเรียกร้องทันทีหากไม่ได้รับคำตอบ หรือ รัฐบาลยังเมินเฉยต่อความเดือดร้อนของประชาชน
ส่วนความเคลื่อนไหวในภาคตะวันออก ก็มีกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจาก 8 อำเภอ จ.ระยอง และจังหวัดชลบุรีบางส่วน เดินทางมาร่วมชุมนุมปิดถนนสุขุมวิท ฝั่งขาเข้าทั้ง 4 ช่องจราจร บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดระยอง ต.เนินพระ อ.เมืองระยอง แต่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางฯ ภาคอีสานและภาคเหนือ ยังไม่มีการออกมาเคลื่อนไหว
กระทั่งช่วงเวลาประมาณ 15.30 น. (3 ก.ย.) บรรยากาศเริ่มชุลมุนวุ่นวาย เมื่อมีกลุ่มเกษตรกรที่อ้างว่าเดินทางมาจาก อ.เทพา จ.สง ขลา กรูกันลงจากรถปิดถนนถนนสายเอเซีย 41 แยกหนองขรี ต.หนองไทร อ.พุนพิน ทั้งขาขึ้นและขาล่อง รวมทั้งใช้รถบัสขวางถนน ส่งผลทำให้กลุ่มชาวสวนยางที่ชุมนุมอยู่บริเวณสนามหน้าที่ทำการสหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โคออป) ทยอยพากันออกมาร่วมปิดถนนด้วย แม้ว่าแกนนำจะประกาศให้กลับมาชุมนุมในที่ตั้งบริเวณลานหน้าโคออปแต่ก็ไม่เป็นผล
ถือว่าสถานการณ์ค่อนข้างตึงเครียดขึ้น เมื่อม็อบสวนยางเพิ่มการชุมนุมหลายจุดในพื้นที่ภาคใต้เพื่อยื่นข้อเสนอให้ประกันราคายาง แต่ทาง ครม.มีมติ 3 มาตรการช่วยเหลือ (ตามข้อมูลล้อมกรอบ) นอกจากนี้มอบหมายให้ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ติดต่อกับตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมให้มาหารือกันในวันที่ 4 ก.ย. เวลา 14.00 น. ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ
ผลการหารือจะออกมาเป็นเช่นไรนั้นก็ต้องเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด!!.
3 มาตรการช่วยเหลือ
รัฐบาล มอบหมายให้ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ก.ย. ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) คือ 1. การอนุมัติให้ดำเนินการร่วมกับสถาบันเกษตรกรหรือสหกรณ์ที่เกษตรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อลงทุนในการดำเนินการจัดสร้างหรือจัดหาโครงงานเพื่อแปรรูปวัตถุดิบให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นหน่วยงานหลัก และกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่มีการผ่อนปรน
2. การดำเนินการในส่วนของภาคผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ ซึ่งกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 15,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสินเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณา และกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่มีการผ่อนปรน 3. การให้เงินสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย โดยเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่มาลงทะเบียน มีจำนวน 991,717 ราย ซึ่งมี 3 ใน 4 ของเกษตรกรจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีพื้นที่ปลูกยางพารา ไม่เกิน 10 ไร่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 1,260 บาท ยกเว้นผู้ที่บุกรุกเข้าไปเพาะปลูก ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตามการดำเนินการทั้ง 3 ข้อนี้ ที่ประชุม ครม.มีเงื่อนไขว่า ขอให้ กนย.รับทราบผลการพิจารณาของ ครม.และให้ยืนยันถึงความเหมาะสมที่ ครม.พิจารณาให้ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป และถ้า กนย.รับทราบแล้วผลการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องก็สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนที่จะให้ใช้การประกันราคายางนั้นรัฐบาลยังไม่เชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ได้ราคายางที่ดี เพราะถ้าใช้การประกันราคาอาจนำไปสู่ภาวะราคาตลาดอ่อนตัวลงจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง
2. การดำเนินการในส่วนของภาคผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ ซึ่งกำหนดกรอบวงเงินไว้ที่ 15,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสินเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณา และกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่มีการผ่อนปรน 3. การให้เงินสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย โดยเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่มาลงทะเบียน มีจำนวน 991,717 ราย ซึ่งมี 3 ใน 4 ของเกษตรกรจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีพื้นที่ปลูกยางพารา ไม่เกิน 10 ไร่ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 10 ไร่ ไร่ละ 1,260 บาท ยกเว้นผู้ที่บุกรุกเข้าไปเพาะปลูก ซึ่งรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตามการดำเนินการทั้ง 3 ข้อนี้ ที่ประชุม ครม.มีเงื่อนไขว่า ขอให้ กนย.รับทราบผลการพิจารณาของ ครม.และให้ยืนยันถึงความเหมาะสมที่ ครม.พิจารณาให้ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป และถ้า กนย.รับทราบแล้วผลการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องก็สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนที่จะให้ใช้การประกันราคายางนั้นรัฐบาลยังไม่เชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ได้ราคายางที่ดี เพราะถ้าใช้การประกันราคาอาจนำไปสู่ภาวะราคาตลาดอ่อนตัวลงจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง
ทีมข่าวเฉพาะกิจ รายงาน
นสพ.เดลินิวส์
...อัพเดท /เข้าห้องออนไลน์ / ห้องวิชาเอก / วิชาทั่วไป ที
"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น