ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่
โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการประเมินตามโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) โดยมี ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลัก นักวิชาการ เข้าร่วมกว่า 50 คน จัดโดยสถาบันส่งเสริมเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556
รมว.ศธ. กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้ประเทศฟินแลนด์อยู่ในอันดับ 1 ของการทดสอบ PISA ซึ่ง ดำเนินการโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ของประเทศสมาชิกและประเทศที่เข้าร่วมโครงการกว่า 90% ของเขตเศรษฐกิจโลก และจากการหารือกับฝ่ายการจัดการศึกษาของฟินแลนด์ด้วยตนเอง พบว่าฟินแลนด์ไม่สนใจการทดสอบของ PISA มาก่อน แต่เมื่อเข้ามาทดสอบก็ได้ที่หนึ่ง รวมทั้ง สาธารณรัฐประชาชน จีนที่ไม่เคยทดสอบมาก่อนเช่นกัน แต่ก็เป็นที่ 1ในทั้ง 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าจีนน่าจะเตรียมการเพื่อทดสอบมาบ้าง
จากคำกล่าวของ ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ที่ว่าการศึกษาประเทศใดดี ก็จะทำให้ให้ผลการทดสอบPISA ดีไปด้วย เป็นแนวคิดที่ดีที่ ศธ.จะนำมาดำเนินการจัดการศึกษาให้ดี เพื่อให้ผลการทดสอบ PISA ดีด้วย ซึ่งก็เป็นเป้าหมายที่ได้ประกาศเป็นนโยบายด้วยว่า จะเลื่อนอันดับการทดสอบ PISA ให้สูงขึ้น หวังจะให้เกิดการถอดบทเรียนประสบการณ์จากการเลื่อนอันดับ PISA นำไปสู่การปรับปรุงการจัดการศึกษาทั้งระบบให้ดีขึ้น เพราะ PISA วัดในเรื่องที่นักการศึกษาเองก็เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ก็คือ การอ่านเข้าใจ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่เราจะไม่มุ่งไปสู่การติวเข้มข้นเหมือนการเตรียมเด็กไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนทำเช่นนั้น คือ ใช้วิธีติวเข้มให้กับเด็กที่จะทดสอบ PISA ซึ่งเป็นเด็กจากเมืองเซี่ยงไฮ้ที่มีอันดับการศึกษาอยู่ในอันดับต้นๆ ของจีน รวมทั้งจะไม่ใช้วิธีส่งเฉพาะเด็กเก่งๆ เข้าไปทดสอบ
อย่างไรก็ตาม มีความหวังให้การเลื่อนอันดับทดสอบ PISA เกิดการเรียนรู้ข้อสอบ PISA เพื่อเกิดวิธีการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความรู้จากข้อสอบ ซึ่งตนก็เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สสวท. ที่ให้จัดทำแบบทดสอบลักษณะเดียวกับ PISA จากง่ายไปหายาก มีการวิเคราะห์ผลสอบของเด็กว่าทำข้อสอบข้อใดไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร และครูจะต้องสอนอะไรอย่างไร รวมทั้งจะเชื่อมโยงไปยังหลักสูตรว่ามีและสอนสิ่งเหล่านี้อยู่หรือไม่ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ที่เด็กของเขาสามารถตอบข้อสอบ PISA ได้ในข้อที่เด็กประเทศอื่นๆ ตอบไม่ได้ เพราะญี่ปุ่นมีการวิเคราะห์ข้อสอบ ผลการทดสอบ และบรรจุความรู้ของข้อสอบข้อนั้นในหลักสูตรและวิชาเรียนของญี่ปุ่น ทำให้เด็กญี่ปุ่นเกิดความคุ้นเคยกับข้อสอบและมีความรู้ที่จะสามารถตอบคำถามข้อนั้นๆ
ศธ.ต้องการให้มีการวิเคราะห์ข้อสอบและผลทดสอบ โดยหวังผลเป็นสำคัญเพื่อให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น จึงฝากให้คิดว่าวิธีการและกระบวนการขับเคลื่อนที่จะสามารถให้เกิดการเรียนรู้ทั้งระบบโดยเร็ว รวมพลังทุกภาคส่วนของ ศธ.เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ผู้เรียน ครู ผู้บริหารทั้งระบบทั่วประเทศ เห็นความสำคัญและเข้าร่วมการทดสอบ PISA ซึ่งเชื่อว่าระบบการศึกษาไทยมีบุคลากรและหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายต่อไป
ดร.สุนีย์ คล้ายนิล National Project Manager โครงการ PISA ประเทศไทย ได้นำเสนอปัจจัยที่ทำให้ระบบโรงเรียนประสบความสำเร็จในการทดสอบ PISA ดังนี้
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
ดร.ปรีชา ชิวปรีชา ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เสนอแนวทางการสร้างความพร้อมประเทศไทยในการเข้าร่วมโครงการ PISA ครั้งที่ 6 ในปี 2558 และครั้งที่ 7 ในปี 2561 โดยใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ดังนี้
ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง
ศธ.จัดประชุมยกระดับผลการทดสอบ PISA
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก OECD มีความตั้งใจและให้ความสนใจกับการทดสอบของ PISA แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ตั้งเป้าหมายต่อทั้งระบบการศึกษา ดังนั้นจึงต้องการจะตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดในเรื่องที่สำคัญๆ เพื่อเป็นแนวทางการจัดการศึกษาทั้งระบบให้มีคุณภาพ
ระบบโรงเรียนที่สามารถจัดให้นักเรียนมีโอกาสทางการเรียนเท่าเทียมกัน ไม่ว่านักเรียนจะมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจ-สังคมอย่างไร เช่น ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ที่ส่วนใหญ่ไม่มีการแบ่งแยกภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของนักเรียน และมีนักเรียนที่สถานะทางสังคมต่างกันอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ในขณะที่โรงเรียนไทยมีการแบ่งกลุ่มตามภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างชัดเจน โดยมีค่าดัชนีเฉลี่ยของสถานะทางสังคมและวัฒนธรรมของโรงเรียนกลุ่มสูงและต่ำ มีค่าความแตกต่างเฉลี่ย 1.76 ซึ่งไม่มีประเทศสมาชิก OECD ใดมีความแตกต่างสูงเช่นนี้ ให้อำนาจอิสระแก่โรงเรียนในด้านการกำหนดการเรียนการสอนและออกแบบการประเมินผลได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องให้โรงเรียนแข่งขันกันรับนักเรียน กล่าวคือ โรงเรียนที่มีอำนาจอิสระในด้านเนื้อหาที่จะสอน วิธีการวัดประเมินผล และมีอิสระในการตัดสินใจเรื่องการจัดหาทรัพยากรโรงเรียน นักเรียนจะมีแนวโน้มผลการประเมินสูงกว่า โรงเรียนที่สามารถตรวจสอบได้ มีการประกาศผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ นักเรียนมีแนวโน้มผลการประเมินที่สูง ทั้งนี้ ประเทศที่สร้างบรรยากาศของการแข่งขันสูงในการรับนักเรียนไม่ได้มีผลการประเมินสูง โรงเรียนดีๆ ที่แข่งขันรับนักเรียนได้มาก แม้ผลการประเมินของโรงเรียนจะสูง แต่ผลรวมของทั้งประเทศมีแนวโน้มของคะแนนต่ำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีบรรยากาศของการแข่งขันรับนักเรียนสูงมาก มีการสอบคัดเลือกและรับมอบตัวในวันเดียวกัน เป็นการตัดโอกาสไม่ให้นักเรียนและพ่อแม่มีทางเลือกโรงเรียนที่หลากหลาย ในประเทศสมาชิก OECD ส่วนใหญ่โรงเรียนเอกชนมีผลการประเมินสูงกว่าโรงเรียนของรัฐ แต่หลังจากอธิบายด้วยเหตุผลทางภูมิหลัง เศรษฐกิจ สังคม และประชากรศาสตร์ของโรงเรียนและนักเรียนแล้ว พบว่า ผลการประเมินนักเรียนโรงเรียนของรัฐสูงกว่าโรงเรียนเอกชน ส่วนประเทศไทยโรงเรียนของรัฐสูงกว่าเอกชนทั้งก่อนและหลังอธิบายด้วยตัวแปรภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประเทศไทยพ่อแม่ส่วนใหญ่นิยมเลือกโรงเรียนของรัฐ และทำให้ผลการประเมินนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่สูงกว่าโรงเรียนเอกชนอยู่แล้ว ยิ่งสูงยิ่งขึ้น พ่อแม่ต้องการเลือกโรงเรียนที่มีคุณภาพทางวิชาการมากกว่าความช่วยเหลือทางการเงิน ในขณะที่ประเทศไทยให้ความสำคัญกับมาตรการการช่วยเหลือทางการเงินเป็นอันดับแรก มีการกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงและการใช้จ่ายมักให้ลำดับความสำคัญกับเงินเดือนมากกว่าทำชั้นเรียนขนาดเล็ก สำหรับประเทศไทย ครูมีเงินเดือนไม่สูง แต่ชั้นเรียนมีขนาดใหญ่ ครูดีๆ มีคุณภาพมีอยู่เฉพาะในโรงเรียนดีๆ ที่มีผลทางวิชาการสูง ส่วนครูในโรงเรียนยากจน ต้องแบกภาระงานนอกเหนือจากการสอน เพราะทรัพยากรบุคคลมีจำกัด จึงเกิดความแตกต่างจากโรงเรียนที่มีเศรษฐกิจดีในช่องว่างที่กว้างมาก เป็นการบ่งบอกถึงความไม่เสมอภาคในการกระจายทรัพยากร โรงเรียนมีบรรยากาศทางระเบียบวินัยดี นักเรียนและครูมีพฤติกรรมทางบวกและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับครู ซึ่งมีแนวโน้มที่มีคะแนนการอ่านสูง สำหรับนักเรียนไทย มีรายงานถึงระเบียบวินัยที่ดี และอยู่ในอันดับต้นๆ แต่กลับไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนหรือมีความสัมพันธ์แบบกลับกัน
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
พัฒนาสื่อ แบบฝึกหัด สำหรับใช้พัฒนาความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยให้ครูนำไปใช้ และมีการพัฒนาเพิ่มเติมในปีต่อๆ ไป ในระยะเร่งด่วน (ปีการศึกษา 2557) ให้ส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำข้อสอบกลางตามแนวการทดสอบ PISA สำหรับให้โรงเรียนนำไปสอบปลายภาคกับนักเรียนในบางรายวิชาในสัดส่วน 10-30% ส่วนที่เหลือเป็นข้อสอบที่โรงเรียนสร้างขึ้น สร้างนักสร้างข้อสอบ เครื่องมือประเมินผลการเรียนประจำเขตพื้นที่การศึกษา ประจำโรงเรียน และสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างข้อสอบ เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ประจำส่วนกลาง โดยในส่วนเขตพื้นที่การศึกษา ให้คัดเลือกศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา และครูในเขตพื้นที่การศึกษา มาฝึกอบรมอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง เพื่อทำให้หน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของเขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ อย่างน้อยเขตละ 9 ราย ในส่วนโรงเรียน ส่งเสริมให้เขตพื้นที่การศึกษาพัฒนารองผู้อำนวยการวิชาการและครูอาวุโส โรงเรียนละ 2-3 ราย และในส่วนกลาง ซึ่งอาจจะประกอบด้วย สพฐ. สสวท. สถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ส่งไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีผลงานด้านนี้ ศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบของโรงเรียนในประเทศ ศึกษาวิธีวัดและประเมินผลในการเลื่อนชั้นเรียนและการจบช่วงชั้นของนานาประเทศ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี
"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น