ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิดเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เรื่อง "การปฏิรูปอาชีวศึกษา" เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2556
รมว.ศธ.ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการต่อยอดให้ชัดเจนมากขึ้น จากการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่างๆ ที่ผ่านมาไปแล้วหลายครั้ง โดยครั้งนี้เป็นการหาคำตอบการขับเคลื่อนปฏิรูปอาชีวศึกษาให้เป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการหารือและนำเสนอในประเด็นที่สำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) ความร่วมมือในการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการ และรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและ Logistics ของประเทศ 2) เร่งผลักดันให้เกิดระบบคุณวุฒิวิชาชีพ 3) ขยายและยกระดับการเรียนการสอนระบบทวิภาคี
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 311/2556สอศ. ระดมความคิดเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานปฏิรูปอาชีวศึกษา
1) ความร่วมมือในการผลิตกำลังคน : เน้นปรับโครงสร้างความร่วมมือเป็นกลุ่มจังหวัด และเป็นราย Sector ของภาคอุตสาหกรรมที่ประชุมเห็นด้วยในความร่วมมือการผลิตกำลังคน ที่จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ซึ่ง สอศ.ได้เสนอให้มี การจัดองค์กรที่จะทำงานร่วมกันระหว่าง สอศ. กับภาคเอกชน ที่จะมีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ทั้งในระดับชาติ ระดับภาค ลงมาจนถึงระดับจังหวัด และสถานศึกษา เพื่อร่วมกันวางแผนเตรียมกำลังคน การผลิต และพัฒนากำลังคน ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะสั้น จนถึงระยะยาว ซึ่งคาดว่าองค์กรต่างๆ เหล่านี้จะเริ่มต้นทำงานได้ในช่วงต้นปีงบประมาณ พ.ศ.2557 อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอที่น่าสนใจ คือ หากจัดองค์กรระดับจังหวัดเหมือนกันหมด อาจไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะแต่ละจังหวัดมีภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตที่แตกต่างกัน จึงควรให้ความสนใจการปรับโครงสร้างเป็นกลุ่มจังหวัด และเป็นราย Sector ของภาคอุตสาหกรรมโดยจะมีการแชร์ฐานข้อมูลเพื่อสามารถส่งข้อมูลไปยังสถานศึกษาโดยตรงว่า สถานศึกษาใดเน้นด้านใด รวมทั้งสร้างระบบกลไกเพื่อรวบรวมออกแบบความต้องการในการสร้างหลักสูตรตามความเหมาะสมของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งจะช่วยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถผลิตผู้เรียนได้ตรงกับสภาพแต่ละพื้นที่ได้อย่างแท้จริง 2) เร่งผลักดันให้เกิดระบบคุณวุฒิวิชาชีพ : เน้นภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ และให้เป็นระบบที่ยืดหยุ่นสอดรับกับการจัดทำหลักสูตร มีเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว คือ ให้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพรองรับการผลิตกำลังคนอาชีวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะขณะนี้มีความต้องการให้มีการกำหนดคุณลักษณะที่หลากหลาย และระบบคุณวุฒิวิชาชีพในหลายสาขาที่จะมีเงินเดือนและรายได้สูงกว่าปริญญาตรีทั่วไปเช่น ปิโตรเคมี พาณิชย์นาวี โรงแรมและการท่องเที่ยว อัญมณี แม่พิมพ์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง เป็นต้น โดยจะเป็นระบบที่ช่วยกำหนดมาตรฐานอาชีพ กำหนดคุณลักษณะ หรือสมรรถนะของคนที่จะทำงานในแต่ละสาขาอาชีพนั้นๆ รวมทั้งเพื่อให้สามารถผลิตกำลังคนได้ตรงกับความต้องการของประเทศ ทั้งนี้ กระบวนการที่จะใช้ในการกำหนดระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ก็จะใช้ทำนองเดียวกับการกำหนดหลักสูตร คือ ต้องให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมตลอดกระบวนการตั้งแต่ต้น ซึ่งจะทำให้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพเป็นไปอย่างสอดคล้องและส่งเสริมเกื้อกูลกัน นอกจากนั้น ระบบคุณวุฒิวิชาชีพควรยืดหยุ่นและสอดรับกับการจัดทำหลักสูตรที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ระบบนี้จึงต้องยืดหยุ่นและปรับปรุงได้ไปพร้อมกันทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการศึกษา และการปรับตัวจากภาคเอกชนด้วย
3) ขยายและยกระดับการเรียนการสอนระบบทวิภาคี : ให้เริ่ม จากภาพรวมระดับประเทศ ลงไปยังสถานศึกษา/สถานประกอบการ เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ ได้หารือกันถึงการเรียนการสอนระบบทวิภาคีที่จะต้องมีการพลิกจุดยืน มีการปรับแนวความคิดระบบทวิภาคีที่ให้มีความหมายกว้างขึ้น คือให้มี Conceptระหว่างฝ่ายจัดการศึกษากับภาคเอกชน ที่จะต้องมีความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ จะต้องคิดและวางแผนโดยเริ่มจากภาพรวมและส่วนกลาง เพื่อให้เห็นความต้องการกำลังคนของประเทศ และเป็นราย Sector ที่จะกำหนดลงไปในรายละเอียดว่าคุณลักษณะของแรงงานหรือช่างเทคนิคแต่ละประเภทใด จากนั้นจึงจะส่งข้อมูลจากส่วนกลางลงไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อให้การจัดการศึกษาทวิภาคีและความร่วมมือกับสถานประกอบการจะสะท้อนในภาพกว้าง ไม่จำกัดแค่เฉพาะในสถานศึกษาหรือสถานประกอบการเท่านั้น
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
"สำหรับข้อคิดเห็นจากการหารือครั้งนี้ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็กยังสนใจเรียนสายสามัญมากกว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนทวิภาคี ซึ่งยังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าให้เด็กไปทำงานเสียเวลาเปล่าๆ หรือสถานประกอบการต้องการสาขาอาชีพใหม่ๆ ที่อาชีวะยังไม่เคยผลิตมาก่อน เช่น สาขาการทำเครื่องทำความเย็น ที่เป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้อันดับ 2 ของประเทศ หรือช่างก่อสร้างที่ปัจจุบันต้องมีการบูรณาการจากหลายๆ ช่างเข้ามา หลายเรื่องที่ภาคเอกชนให้ความเห็นมานั้น เชื่อว่าสามารถแก้ไขและดำเนินการได้
สิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนหลังจากนี้ คือ จัดระบบระหว่างภาคเอกชนกับการอาชีวศึกษา เพื่อรวบรวมและออกแบบความต้องการกำลังคน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือ ที่จะนำไปสู่การกำหนเสมรรถนะ และการออกแบบหลักสูตร การฝึกอบรม การศึกษาทวิภาคีให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยเชื่อว่าสามารถเริ่มต้นได้โดยเร็วที่สุดภายในต้นปีการศึกษา 2557 ซึ่งจะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์การอาชีวศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับการอาชีวศึกษาคือ มีผู้เข้าร่วม สนใจ สนับสนุน เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมที่มีต่ออาชีวศึกษา และจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากขึ้น
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
|
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น