หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ยกระดับการศึกษาชายแดนใต้

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com 

-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

 ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 312/2559
 ประชุมเชิงปฏิบัติการ "ติดตามผลสัมฤทธิ์การยกระดับการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไตรมาส 1-3  ที่สงขลา

จังหวัดสงขลา - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามผลสัมฤทธิ์การยกระดับการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2559 ไตรมาส 1-3 (เดือนตุลาคม 2558 - มิถุนายน 2559) เมื่อวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา
 รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในภาคใต้มีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัด คือ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา ซึ่งได้มีการจัดประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้งสองแห่งไปแล้ว เพื่อนำแผนงานด้านเศรษฐกิจมาพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้เกิดความมั่นคง ในส่วนของมิติด้านการศึกษา ได้เตรียมแผนผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนราชการในพื้นที่ร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็ง ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก
สำหรับการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการติดตามผลสัมฤทธิ์การยกระดับการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ 2559 ไตรมาส 1-3 เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคและพัฒนาปรับปรุงการทำงานที่เหลืออีก เดือน ให้มีคุณภาพการศึกษาให้ใกล้เคียงหรือสูงกว่ามาตรฐานของประเทศ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญของหน่วยงานต่างๆ โดยสรุป ดังนี้

 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
 รายงานสรุปผลการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ใน ส่วน คือ
 1) โครงการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำคัญ อาทิ
  •  โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ โดยการพัฒนาโต๊ะครูและบาบอ ด้านกระบวนทัศน์การบริหารจัดการและขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 380 คน รวมทั้งมีการเสริมทักษะวิชาชีพ มุมเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ และ ปอเนาะ โครงการพัฒนา
  •  โครงการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบันศึกษาปอเนาะ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับโต๊ะครู ผู้ช่วยโต๊ะครู นักเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวน 1,264 คน ได้เรียนรู้การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ พร้อมจัดฐานการเรียนรู้ด้านอาชีพ-มุมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันศึกษาปอเนาะ 75 แห่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  •  โครงการส่งเสริมภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้และสื่อสารให้กับผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น และบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน กว่า 5,000 คน ให้สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษามลายูถิ่น ในชีวิตประจำวันได้ ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีในวิถีชุมชนร่วมกัน
  •  โครงการเยาวชนสานสัมพันธ์ สร้างสรรค์คนดี เพื่อจัดค่ายเยาวชนปลูกฝังค่านิยมคนไทย 12 ประการ และการทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาสนาและวัฒนธรรมให้กับเยาวชน จำนวน 1,214 คน
  •  โครงการกีฬา กศน. สานสัมพันธ์ชายแดนใต้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายเยาวชนนอกระบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีแบ่งเป็น ประเภทกีฬา คือ 1) กีฬาสากล ได้แก่ ฟุตบอล วอลเลย์บอล ตะกร้อ และเปตอง 2) กีฬาพื้นบ้าน ได้แก่ กระโดดเชือกหมู่ วิ่งผลัดกระสอบ วิ่งผลัดอุ้มลูกโป่ง ชักคะเย่อทีมผสม และสกีบก โดยจัดการแข่งขันสายสัมพันธ์ใน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้
  •  โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู กศน.ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาระดับความสามารถ 5Q สู่คุณภาพการศึกษาและสังคมสันติสุข” ให้กับผู้บริหาร ข้าราชการ ครู พนักงานราชการ และบุคลากร 877 คน เพื่อที่จะมุ่งหมายให้มีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน นำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้กับการทำงานจริง
 2) การดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่
  •  การพัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็น ศูนย์การเรียนรู้ ประกอบด้วย
         
    1) ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่  จำนวน 413 ตำบล เพื่อให้มีศูนย์การเรียนรู้ฯ ประจำตำบล ที่จะได้มีการอบรมวิทยากรแกนนำให้ความรู้ตามกรอบความคิด ห่วง 2เงื่อนไข ตลอดจนจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงแก่ประชาชนในตำบลๆ ละ 30 ครอบครัว
         2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยประจำตำบล  413 แห่ง พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์ๆ ละ 10คน เพื่อดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ด้านประชาธิปไตยแก่ประชาชน ตลอดจนรณรงค์การไปร่วมออกเสียงประชามติ ในวันที่ สิงหาคมนี้ด้วย
         
    3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เพื่อจัดทำระบบสารสนเทศชุมชนในทุกตำบล และจัดการอบรมครู กศน.  ให้มีความเข้าใจนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมายที่ถูกต้อง มีทักษะการใช้งานและเทคโนโลยีผ่านคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ตลอดจนใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์เพื่อการค้า เศรษฐกิจ และสังคม ให้สามารถถ่ายทอดสู่ประชาชนในชุมชนต่อไป
         
    4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการรู้หนังสือประชาชน 6,920 คน จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมาย 84,743 คน จัดการศึกษาต่อเนื่องกับผู้สนใจ 55,282 คน และจัดการศึกษาตามอัธยาศัย 1,811,554 คน
  • การจัดหลักสูตรอิสลามศึกษาเพิ่มเติม โดยมีหลายหน่วยงานร่วมดำเนินการ อาทิ สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ได้จัดสอบเทียบความรู้อิสลามศึกษา, การจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษาร่วมกันระหว่าง กศน.กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้ กศน.สอนวิชาสามัญ และสถาบันศึกษาปอเนาะสอนวิชาศาสนา
  • การติดตามนักเรียนออกกลางคัน ซึ่ง กศน.สตูล ได้จัดทำโปรแกรมติดตามนักเรียนออกกลางคัน ที่เรียกกันว่า “สตูลโมเดล” และมีการใช้โปรแกรมนี้อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ทำให้ระบบเริ่มมีปัญหา ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงาน ติดตาม และแก้ไขปัญหานักเรียนออกกลางคันมีความเสถียรต่อการใช้งาน จึงขอให้กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนและดูแลระบบข้อมูลที่รองรับการทำงานของโปรแกรมต่อไปด้วย
ความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุม
  • ระบบฐานข้อมูลรองรับโปรแกรมสตูลโมเดล  มอบสำนักงาน กศน. ประสานการทำงานกับ ผอ.กศน.สตูล เพื่อพิจารณารายละเอียดของโปรแกรมและหาทางแก้ไขปัญหาระบบการทำงานให้มีความเสถียรและพร้อมใช้งานโดยเร็ว
  • เด็กออกกลางคันและตกหล่น มอบสำนักงาน กศน. รวบรวมข้อมูลเด็กออกกลางคันและตกหล่นครอบคลุมทั้ง กลุ่ม ให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพื่อนำมาเสนอภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้แก่ กลุ่มเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอานวยความสะดวก เช่น พื้นที่ชายขอบ, กลุ่มเด็กที่ไม่เข้าเรียนแต่สภาพปัจจัยพร้อมกลุ่มเด็กที่มีชื่ออยู่ แต่ไม่มาเรียน, กลุ่มเด็กที่มีชื่อในระบบ ตัวมาเรียน พร้อมร่วมมือกับ สพฐ. เพื่อดูแลบริหารจัดการในพื้นที่อย่างทั่วถึง
  • ข้อมูลบุคลากร มอบสำนักงาน กศน. จัดทำสรุปรายงานข้อมูลความต้องการบุคลากรของ กศน. พร้อมรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อหาแนวทางสนับสนุนต่อไป
  • ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขอให้สำนักงาน กศน.ดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มข้น โดยเสนอให้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ เช่น กอ.รมน. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
  • โครงการตาดีกาการันตี มอบให้ สช. รายงานผลการดำเนินงานโครงการตาดีกาการันตี เพื่อติดตามพัฒนาการในการดำเนินงานของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลไปแล้ว และเพื่อใช้ในการวางแผนดำเนินงานในห้วงต่อไป


สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
 รายงานสรุปผลการดำเนินงานของ สอศ. ตามโครงการยกระดับการจัดการศึกษาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ 18 แห่ง ตาม จุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
จุดเน้นที่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  • กิจกรรมเพิ่มโอกาสการมีงานทำ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาระดับชั้น ปวช.และระดับชั้น ปวส.ได้ไปฝึกงานในสถานประกอบการต่างภาค/ต่างจังหวัดก่อนจบการศึกษา จำนวน 850 คน แบ่งเป็นภาคใต้ตอนบน264 คน ภาคใต้ตอนล่าง 449 คน และกรุงเทพฯ/ปริมณฑล 137 คน
  • กิจกรรมปรับพื้นฐานก่อนออกฝึกงาน ได้จัดกิจกรรมปรับพื้นฐานก่อนส่งนักเรียนนักศึกษาออกเดินทางไปฝึกงาน จำนวน 3,600 คน ไม่ว่าจะเป็นการทบทวนทักษะพื้นฐานการเรียนวิชาชีพ การอบรมบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสม ตลอดจนการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรของสถานประกอบการ
  • กิจกรรมพัฒนาภาษาสู่โลกอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศเป็นภาษาที่ 2 ของนักเรียนนักศึกษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ตลอดจนภาษาอื่นๆ ตามความสนใจของผู้เรียน
  • กิจกรรมอาชีวะอาสาเพื่อนำพาสันติสุข ซึ่งได้ดำเนินการนำนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ พัฒนาวัด 38 แห่ง พัฒนามัสยิด 45 แห่ง พัฒนาโรงเรียนตาดีกา 20 แห่ง และพัฒนาบ้านเกิด 65 แห่ง
  • กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนอิสลามศึกษา ได้จัดวิทยากรให้ความรู้หลักศาสนาอิสลาม และดูแลการปฏิบัติศาสนกิจในสถานศึกษา 15 แห่ง
จุดเน้นที่ 2 ส่งเสริมความปลอดภัย สวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมจัดจ้างยามรักษาความปลอดภัย เพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับนักเรียนนักศึกษา ครู บุคลากร ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการ แบบอยู่ประจำสถานศึกษา 94 คน และประจำศูนย์ 31 คน
จุดเน้นที่ 3 เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา
  • กิจกรรมทุนอาชีวศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. โดยได้จัดทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาระดับ ปวช. 880 ทุน และระดับ ปวส. 197 ทุน
  • กิจกรรมศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพประจำอำเภอ 22 ศูนย์  เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาชีพระดับ ปวช. และ ปวส. รวมทั้งหลักสูตรระยะสั้น ให้กับประชาชนและเยาวชนที่สนใจเรียนวิชาชีพตามความต้องการของตนเอง ท้องถิ่น และชุมชน โดยมีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวช. 550 คน ปวส. 1,055 คน และหลักสูตรระยะสั้น3,700 คน
  • กิจกรรมจัดการเรียนการสอนแบบคู่ขนาน โดยจัดการศึกษาระดับ ปวช.และ ปวส.ให้กับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะ ซึ่งจะเรียนศาสนาในภาคเช้า และเรียนวิชาชีพในภาคบ่าย โดยมีนักเรียนเข้าเรียนแบบคู่ขนานรวม 807 คน แบ่งเป็นระดับ ปวช. 409 คน และระดับ ปวส. 398คน
จุดเน้นที่ 4 สนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ
  • กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้เยาวชนในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะ พร้อมจัดอบรมวิชาชีพตามความสนใจของผู้เรียน โดยได้ดำเนินการตั้งกลุ่มอาชีพ 73 กลุ่มในสถาบันศึกษาปอเนาะ81 แห่ง และในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 83 แห่ง มีเยาวชนเข้ารับการอบรมรวม 3,830 คน
  • กิจกรรมฝึกอาชีพให้ประชาชนเพื่อการทำงานต่างประเทศ โดยเป็นการฝึกอบรมสำหรับประชาชนที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เพื่อเพิ่มคุณวุฒิและทักษะการประกอบอาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งมีประชาชนสนใจเข้ารับการอบรมรวม 340 คน
จุดเน้นที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากีฬาเข้าสู่ระบบการศึกษา
  • จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาอาชีวศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้ออกกำลังกาย ใส่ใจสุขภาพ ตลอดจนปลูกฝังความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจ รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย โดยจัดแข่งขันกีฬาทั้งในระดับสถานศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ
จุดเน้นที่ 6 ส่งเสริมการศึกษาเพื่อความมั่นคง
  • กิจกรรมจัดตั้งกลุ่มอาชีพให้เยาวชนสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการฝึกอบรมอาชีพหลักสูตรระยะสั้นใน 44 กลุ่มอาชีพ ให้กับเยาวชนสันติสุข กลุ่มมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง จำนวน 1,371 คน
  • กิจกรรมฝึกอาชีพให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ได้ดำเนินการฝึกอบรมวิชาชีพให้กับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มสตรี-เยาวชนในสถานพินิจ ตามความสนใจของผู้เรียนรวม 2,218 คน
ทั้งนี้ สอศ.มีแผนที่จะดำเนินงานในช่วง เดือนต่อจากนี้ คือ กิจกรรมค่ายนักเรียนทุน ชุมนุมลูกเสืออาชีวศึกษาชายแดนใต้ มหกรรมวิชาการเพื่อการมีงานทำ กิจกรรมแลกเปลี่ยนนักเรียนในอาเซียน และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอาชีพและสถานศึกษา
 ความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุม
  • ขอให้ สอศ.พิจารณาถึงผลสัมฤทธิ์การฝึกอาชีพระยะสั้น ว่าส่งผลต่อรายได้ของประชาชนที่เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
  • ขอให้ สอศ. พิจารณาความเพียงพอของทุนการศึกษา สำหรับส่งนักเรียนนักศึกษาอาชีวะไปฝึกงานยังต่างประเทศ ตลอดจนเสนอให้ส่งนักเรียนนักศึกษาไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เช่น เกาหลี เยอรมัน ญี่ปุ่น


สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
 รายงานสรุปผลการดำเนินงานของ สกอ. ซึ่งมีผลการดำเนินงานของ หน่วยงานในสังกัด ดังนี้
  • สกอ.ส่วนกลาง  ดำเนินโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาต่อปริญญาตรีในประเทศให้แก่เยาวชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • สถาบันวิทยาลัยชุมชน  ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนบทบาทของวิทยาลัยชุมชน (วชช.) ในการส่งเสริมอาชีพในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีโครงการสำคัญ ได้แก่
         1) โครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของชุมชนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่จะจัดเป็นหลักสูตรใหม่ตามความต้องการของชุมชน
         2) งานมหกรรมวิชาการวิทยาลัยชุมชน 
    จังหวัดภาคใต้  เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาการและวิชาชีพของนักศึกษาและผู้ฝึกอบรม เป็นกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน
         3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผู้นำนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนปัตตานี จำนวน 
    80 คน เพื่อปลูกฝังภาวะผู้นำและการมีจิตสาธารณะ ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ตลอดจนเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
         4) โครงการพัฒนาบุคลากรเรื่อง “กระบวนการทำงานร่วมกับชุมชน”  ให้กับบุคลากรวิทยาลัยชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 
    35 คน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าในการทำงานกับชุมชน ดึงศักยภาพตนเองเพื่อพัฒนาชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายการทำงานต่อไป เป็นต้น
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาศูนย์แม่ลานเพื่อความมั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน, ยกระดับมาตรฐานครูชายแดนใต้, การจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP), ผลิตบัณฑิตและบุคลากรเฉพาะสาขาที่ขาดแคลนและสาขาที่สร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป็นต้น
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา  ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาและการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้, โครงการสานสัมพันธ์ชายแดนใต้ผ่านค่ายวิชาการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชน เป็นต้น
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาชุมชนและการศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีโครงการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อจูงใจนักเรียนต่างวัฒนธรรมเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในสถานศึกษา 60 แห่งโครงการพัฒนาการเรียนรู้ “การส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กกับการพัฒนาห้องสมุดของเล่นต้นแบบที่มายอ ปัตตานี”, โครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการข้อมูลอิสลามศึกษา : Islamic Studies Data Management Center (ISDMC), โครงการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์และนิทรรศการนานาชาติ “PSU International Art Workshop 2016 เป็นต้น
  • มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการสอนเสริมความรู้วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และภาษาต่างประเทศ แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, โครงการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษา, โครงการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตยางพาราต้นแบบในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส, โครงการส่งเสริมเยาวชนรักบ้านเกิด, โครงการส่งเสริมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบรักษาความปลอดภัย, โครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) เป็นต้น
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดของนักธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, การประยุกต์ใช้ระบบ HAL-Q ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในโรงงาน/สถานประกอบการผลิตอาหารฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, การพัฒนานักวิทยาศาสตร์ของสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้, การพัฒนาศักยภาพในองค์กรศาสนาอิสลามให้มีความรู้ความเข้าใจการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ฮาลาลเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองฮาลาล

ที่มา ;  เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา 

-คลากรการศึกษา  ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม