หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

ประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 2/2557

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด

ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล


ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557 กรณีปกติ + พิเศษ (20 จุด) ที่


รัฐบาลและพรรคการเมืองเห็นชอบร่วมกันเดินหน้าเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 พร้อมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
รัฐบาลเดินหน้าเวทีประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 2/2557 ร่วมกับหัวหน้าพรรคการเมือง ผู้บริหารพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการปฏิรูปประเทศ ได้ข้อสรุปเห็นชอบร่วมกันเดินหน้าเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 พร้อมร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
วันนี้ (20 ม.ค.57) เวลา 13.45 น. ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในนามรัฐบาล เปิดการประชุมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 2/2557 ร่วมกับหัวหน้าพรรคการเมือง ผู้บริหารพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง กว่า 30 พรรค เพื่อรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปประเทศ โดยมีคณะรัฐมนตรี อาทิ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารส่วนราชการ อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วม
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมว่า สืบเนื่องจากวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ตามที่มีได้มีแนวความคิดเรื่องการปฏิรูปประเทศ และมีหลายองค์กร เสนอแนวคิดในการพัฒนาและการปฏิรูป ซึ่งรัฐบาลได้เชิญผู้ที่เสนอแนวคิดในการปฏิรูปประเทศ และได้เสนอแนวความคิดเป็นเอกสารที่ได้นำเสนอที่ประชุมวันนี้ 3 ชุด ประกอบด้วย 1. ข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรภาคธุรกิจ ภาควิชาการ องค์กรชุมชนและภาคประชาสังคม 2. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 3. สภาพัฒนาการเมือง โดยทั้ง 3 ชุดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวความคิดเรื่องการปฏิรูปประเทศที่มีการเสนอโดยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ และหลังจากที่ได้รับฟังการนำเสนอแนวความคิดเมื่อวันที่ 16 ม.ค.แล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และตน เป็นผู้เชิญหัวหน้าพรรคการเมือง ผู้บริหารพรรคการเมือง มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในแนวทางที่กลุ่มองค์กรต่าง ๆ เสนอมาแล้ว โดยส่วนตัวแล้วเชื่อว่าหลายพรรคการเมืองมีแนวความคิดในเรื่องของการปฏิรูปประเทศที่หลากหลาย วันนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งนี้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะรวบรวมแนวความคิดต่าง ๆ ที่พรรคการเมืองนำเสนอวันนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้ทุกพรรคนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันในการที่จะปฏิรูปประเทศต่อไป
นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวนำเสนอแนวทางในการอภิปรายว่า ที่มาของการประชุมวันนี้สืบเนื่องจากที่ประชุมปฏิรูปประเทศเมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือกันให้มีพรรคการเมืองมาเข้าร่วมประชุม โดยวันนี้ต้องขอบคุณหลาย ๆ พรรคการเมืองที่ได้มาร่วมประชุมในวันนี้ และทราบว่าอีกหลายพรรคการเมืองที่ไม่ได้มาร่วมวันนี้เพราะติดการหาเสียงอยู่ในต่างจังหวัด โดยจะรอรับฟังความเห็นจากที่ประชุมวันนี้อยู่ สำหรับเวทีการปฏิรูปประเทศซึ่งรัฐบาลได้เริ่มมาตั้งแต่ก่อนมีการชุมนุม ก่อนที่จะมีการยุบสภาฯ แล้ว โดยนายกรัฐมนตรีได้เชิญตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ ไปร่วมประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ประมาณกลางปี 2556 ซึ่งตนและนายพงศ์เทพฯ ได้เดินทางไปเชิญผู้ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาร่วมหารือ ระหว่างการหารือนั้นได้ข้อสรุปบางเรื่องหลายประการที่สำคัญ อาทิ จะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แบ่งเป็น 3 หัวข้อ โดยทางปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงยุติธรรมได้ไปทำรายละเอียด นำข้อหารือความคิดเห็นของที่ประชุมมารวบรวมเป็นประเด็น และไปรวบรวมผลการศึกษาขององค์กรสถาบันต่าง ๆ ในอดีตที่รัฐบาลก่อน ๆ และเครือข่ายต่าง ๆ ทำไว้มาศึกษา อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนถึงการยุบสภาฯ ข้อเสนอนี้ก็ยังไม่ได้หยุดไป ยังคงทำต่อเนื่อง และมีการเรียกร้องให้ทำเร็วขึ้น ซึ่งการที่จะทำเร็วขึ้นนั้น นายกรัฐมนตรีก็มีความคิดว่ารัฐบาลอยู่ในฐานะคนที่มีส่วนได้เสีย ถ้าจะนำเรื่องการปฏิรูปหรือมาชี้นำก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปทางที่ไม่ดีว่าต้องการที่จะไปในทางของตนเอง ดังนั้น จึงเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มาดำเนินการ แต่ทุกภาคส่วนก็ติดขัดในเรื่องของการประสานงานสถานที่ ไม่มีใครเป็นผู้นำในการนัดหมาย ต่อมาทางปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้เป็นผู้ทำหน้าที่เชิญประชุมหารือที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทำให้เกิดเครือข่ายตามมาคู่ขนานกันไปขณะนั้นคือ 7 องค์กรธุรกิจภาคเอกชน หรือองค์กรสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ท้ายที่สุดก็ยังไม่มีใครเสนอออกมาเป็นลักษณะที่รวบรวมของทุกฝ่ายได้ จึงเป็นที่มาที่นายกรัฐมนตรีจึงได้เป็นผู้อาสาอีก และรัฐบาลก็ได้ประกาศเป็นผู้ประสานงานให้เกิดเวทีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
“วันนี้นายกรัฐมนตรีก็ได้แจ้งว่าอยากมาร่วมประชุม แต่ติดภารกิจสถานการณ์ที่ต้องทำหน้าที่อีกมาก ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะรับฟังรายงานจากที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ข้อยุติ และนายกรัฐมนตรีจะไปดำเนินการในส่วนที่จะสนับสนุนได้” นายวราเทพกล่าว
นายวราเทพ กล่าวต่อว่า วันนี้ดูเหมือนว่ากระแสตอบรับการปฏิรูปการเมืองคงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เห็นด้วย อยู่ที่การปฏิรูปการเมืองนั้นจะเกิดขึ้นแบบไหน หรือองค์กรจะเป็นอย่างไร จะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่จะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเลือกตั้ง หรือเกิดขึ้นคู่ขนานพร้อมไปกับการเลือกตั้ง โดยวันนี้ขอให้ที่ประชุมได้ให้ความเห็นต่อแนวทางของผลการศึกษาจาก 3 องค์กรที่ได้นำเสนอที่ประชุมเป็นเอกสารในวันนี้ หรือจะนำกลับไปศึกษาภายในพรรคการเมืองที่สังกัด โดยที่ประชุมวันนี้อยากได้ข้อสรุปเบื้องต้นร่วมกันเกี่ยวกับความชัดเจนด้านการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พรรคการเมืองมาร่วมกันในเวลาที่ใกล้การเลือกตั้งแล้ว ฉะนั้น ถ้าพรรคการเมืองจะมีการประกาศอะไรหรือเสนออะไร ก็ควรจะเสนอกับประชาชนก่อนที่ประชาชนจะตัดสินใจไปลงคะแนน ซึ่งการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าจะเกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค.นี้ และวันนี้บางพรรคการเมืองก็ยังรอข้อสรุปของเครือข่ายต่าง ๆ ที่ได้เสนอว่าจะนำไปเป็นนโยบายของพรรคการเมืองหรือไม่ จึงขอให้ที่ประชุมวันนี้ได้หารือกันในกรอบการปฏิรูปที่มีการเสนอแนวทางมาแล้วจากเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ว่าในแต่ละพรรคมีมุมมองเห็นเป็นอย่างไร และสรุปแล้วจะเดินหน้าอย่างไรก่อนการลงคะแนนเลือกตั้ง
จากนั้น ที่ประชุมเปิดโอกาสให้หัวหน้าพรรคการเมือง ผู้บริหารพรรคการเมือง นำเสนอแนวความคิดของแต่ละพรรคเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และการปฏิรูปประเทศ ตลอดจนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมไปยังประชาชน สรุปได้ดังนี้
ตัวแทนพรรคการเมืองส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้มีการปฏิรูปประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยยึดประชาชนเป็นหลัก ให้มีการสร้างจิตสำนึกที่ดีโดยให้ตระหนักถึงเรื่องคุณธรรมจริยธรรมและการทำความดี การดำรงชีวิตที่อยู่บนความพอเพียง ตลอดจนเสนอให้มีการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน รวมทั้งเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง และเสนอให้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อให้มีการกระจายงบประมาณและโอกาสไปยังประชาชนทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง
ขณะเดียวกันก็เห็นด้วยที่จะให้มีการเดินหน้าการเลือกตั้งต่อไป และไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งกระบวนการปฏิรูปต้องทำควบคู่กับการเลือกตั้ง ส่วนตัวแทนผู้ที่จะเข้ามาปฏิรูปนั้นขอให้ผ่านกระบวนการการเลือกตั้งเข้ามาจากประชาชนทุกจังหวัด ทั้งนี้ก่อนการปฏิรูปขอให้ กกต. และรัฐบาล มีการดำเนินการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความปลอดภัย
อีกทั้งมีการเสนอให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองให้มีการซื้อเสียงให้น้อยลง นักการเมืองต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต พรรคการเมืองต้องมีการนำนโยบายไปพูดคุยกับประชาชนและให้มีการนำนโยบายไปดำเนินการจริง
นอกจากนี้ยังเสนอให้มีองค์กรมากำหนดทิศทางการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้การจัดตั้งสภาปฏิรูปประเทศ จะต้องมาจากตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ จากทุกภาคส่วน ทุกจังหวัดและมีกฎหมายรองรับ โดยตัวแทนจากทุกลุ่มอาชีพให้มาจากการสรรหากันเองภายในกลุ่ม และให้มีการเลือกตั้งภายในสมาชิกสมัชชาปฏิรูปประเทศ เพื่อคัดเลือกผู้ได้รับคะแนนสูงสุดประมาณ 200 คน เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ โดยให้สภาปฏิรูประเทศ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภา และให้สภาปฏิรูปประเทศสามารถแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงาน ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นปรึกษาและให้คำแนะนำในการทำงานได้ตามความประสงค์ ขณะเดียวกันให้สภาปฏิรูปประเทศมีหน้าที่หลักในการจัดทำข้อเสนอเพื่อปฏิรูปประเทศในมิติต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และสามารถระงับเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคม โดยนำเสนอต่อรัฐสภาให้เกิดการปฏิบัติกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญสมควรจะทำประชามติเพื่อให้ได้รับความยอมรับจากประชาชนทั้งประเทศก่อน
สำหรับกรอบการทำงานของสภาปฏิรูปนั้น ควรจะมีระยะเวลาแล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากการเลือกตั้ง หลังจากนั้นให้มีการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนและดำเนินการปฏิรูปประเทศต่อไป ตามแนวทางและข้อเสนอของสภาปฏิรูปส่วนประเด็นต่าง ๆ ที่จะให้มีการปฏิรูป อาทิ มีการกำหนดกติกาการเข้าสู่อำนาจรัฐที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ เช่น ระบบเลือกตั้ง กระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่าง ๆ ที่มีความโปร่งใส กติกาในการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้แทนประชาชน องค์กรอิสระ และการเมืองต่าง ๆ รวมถึงระบบการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคการเมือง ข้าราชการ ภาคธุรกิจ ประชาชน ตลอดจนภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม รวมถึงมีให้การบริหารงานภาครัฐมีความโปร่งใส ซึ่งถ้ามีการทุจริตและประพฤติมิชอบต้องเป็นคดีความที่มีอายุความไม่สิ้นสุด เพื่อดำเนินคดีได้ตลอดไป มีกระบวนการพิจารณาคดีที่รัดกุมเที่ยงธรรมและรวดเร็ว มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรให้เข้าถึงทรัพยากรในสังคม เช่น การปฏิรูปที่ดิน ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา เป็นต้น
ขณะเดียวกันสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและมีความเชื่อมั่นว่าได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและเสมอภาคจากกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปองค์กรตำรวจ รวมทั้งกลไกและกระบวนการที่ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่หลากหลายมีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนรู้สึกว่าเสียงและความต้องการของตนได้รับการตอบสนองจากระบบการเมืองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้เสนอให้มีการปฏิรูปสื่อมวลชนให้มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้เท่าเทียมกันทุกฝ่ายโดยไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งเสนอให้มีการปฏิรูปการศึกษา และนักการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม อย่างไรก็ตามการปฏิรูปประเทศนอกจากรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองแล้ว ควรมีช่องทางให้ภาคประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อสะท้อนกลับมายังรัฐบาลและรัฐสภาได้ด้วย
ด้านนายโภคิน พลกุล ตัวแทนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จากที่ได้ฟังหลายพรรคการเมืองในเวทีนี้ คิดว่ามีเรื่องที่เห็นตรงกันอยู่แล้วสองเรื่อง คือเรื่องแรกการเลือกตั้งเป็นกลไกที่มีกรอบกำหนดเวลาชัดเจน ว่าวันไหนทำอะไร ใครรับผิดชอบ ส่วนเรื่องปฏิรูปประเทศไทยเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนได้ยกปัญหาขึ้นมา เนื่องจากโดยตัวของสังคมเองมีปัญหาหนักหนากว่าในยุคใด ๆ ที่ผ่านมา แม้เริ่มแรกอาจเป็นเพียงแค่วาทกรรม แต่วันนี้กลายเป็นสิ่งที่สังคมจำเป็นต้องมองและหาทางออกร่วมกัน ขณะเดียวกัน เรื่องที่สอง มีความหลากหลายมีความแตกต่างทั้งในแง่ของเป้าหมายการปฏิรูป องค์กรก็ดี การมีส่วนร่วมต่าง ๆ ก็ดี เงื่อนไขระยะเวลาต่าง ๆ ก็ดี จึงขอเสนอในเบื้องต้นว่า รัฐบาลที่จะเข้ามาหลังการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 น่าจะมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งหรือเป็นหน้าที่หลักคือการสนับสนุนส่งเสริมและดำเนินการทุกประการให้กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยนั้นสามารถเดินหน้าไปได้อย่างเป็นรูปธรรม และรัฐบาลที่จะทำหน้าที่ตรงนี้น่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี หรือ 1-2 ปี เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ ได้เข้าสู่ระบบอย่างเรียบร้อย
รวมทั้งขอเสนอองค์ประกอบขององค์กรนี้เป็น 4 ภาคส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. ภาคประชาชน 2. ภาควิชาชีพ 3. ภาควิชาการ 4. ภาคการเมือง โดยจะไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าร่วมปฏิรูปคงไม่ได้ เพราะคนที่จะออกกฎหมายคือฝ่ายการเมืองที่เข้ามาอยู่ในสภาฯ และอยู่ในรัฐบาล โดยสื่อมวลชนจะรวมอยู่ในภาควิชาชีพขณะเดียวกันต้องให้ตีความครอบคลุมไปทั่วประเทศ และมีสัดส่วนที่เหมาะสม สำหรับเป้าหมายเบื้องต้นที่ต้องตอบโจทย์การปฏิรูปให้ได้ อย่างน้อยจะต้องมี 4 ประเด็นเฉพาะหน้าที่ต้องมีความชัดเจนและทำให้เกิดขึ้นรวดเร็วในการปฏิรูปคือ 1. การส่งเสริมการเคารพกฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงการสร้างความสามัคคีและลดความขัดแย้ง 2. การปฏิรูประบบการเมืองก็ดี ระบบราชการรวมถึงการกระจายอำนาจ ที่มีการพูดถึงกันมาก 3. ระบบความยุติธรรม และองค์กรอิสระ ที่หลายข้อเสนอได้มีการพูดถึง หลายคนบอกว่ามีคนสงสัยในมาตรฐานต่าง ๆ 4. การทุจริตคอร์รัปชั่น ทำให้การแก้ปัญหาหรือปรับปรุงปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้มีประสิทธิภาพ สามารถได้รับการยอมรับ ร่วมมือกับทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
นายโภคินเสนอด้วยว่า ภายหลังการเลือกตั้งแล้ว การจะดำเนินการให้การปฏิรูปเกิดประสิทธิภาพจะต้องมีการออกเป็นกฎหมาย โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ซึ่งหากพรรคการเมืองทุกพรรคเห็นพ้องในกรอบกว้าง ๆ ร่วมกัน ก็ขอให้มีการยกร่างเจตจำนงเพื่อลงนามสัตยาบันร่วมกันและเดินหน้าเลือกตั้ง เพราะเป็นการเคารพสิทธิประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ขณะเดียวกันหลังจากการเลือกตั้งไม่ว่าใครเป็นรัฐบาล ทุกภาคส่วนและทุกคนจะร่วมมือร่วมใจไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยร่วมกัน
ด้าน นายพงศ์เทพกล่าวสรุปว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.พันธ์ 57 ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยเป็นหน้าที่ของ กกต. ในการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ยืนยันว่าหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งนั้น เป็นหน้าที่ของ กกต. รัฐบาลเมื่อได้เสนอพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ ระบุไว้ชัดเจนว่าในพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ รัฐธรรมนูญบอกว่าต้องระบุวันเลือกตั้งทั่วไปไว้ ซึ่งก็ระบุไวชัดเจนคือ วันที่ 2 ก.พ.57 ดังนั้นตรงนี้จากที่ได้รับฟังเชื่อว่าเสียงส่วนใหญ่ก็เห็นตรงกันที่จะให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57
ส่วนเรื่องของการปฏิรูปนั้น พรรคการเมืองส่วนใหญ่เห็นชอบที่พรรคการเมืองจะร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย โดยรัฐบาลที่จะมีขึ้นหลังการเลือกตั้งมีภารกิจหลัก คือการสนับสนุนส่งเสริมและดำเนินการให้เกิดกระบวนการปฏิรูปประเทศ โดยการสร้างกลไกให้เกิดการปฏิรูปประเทศ โดยใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการสร้างกลไกดังกล่าว และให้มีการเลือกตั้งกันใหม่
สำหรับเรื่องที่พรรคการเมืองเสนอที่จะให้มีการแสดงเจตจำนงร่วมกันหรือลงนามสัตยาบัน นั้น ที่ประชุมฯ เห็นชอบที่จะให้พรรคการเมืองมีการลงนามทำสัตยาบันร่วมกันเพื่อแสดงจุดยืนทางด้านการเมืองและการปฏิรูปประเทศ ส่วนการทำสัตยาบันจะมีการจัดตั้งคณะขึ้นมายกร่าง โดยหากทุกคนเห็นชอบตามที่ได้มีการยกร่างก็จะมีการลงนามสัตยาบันกันต่อไป เพื่อแสดงจุดยืนว่าไม่ว่าพรรคการเมืองใด หลังการเลือกตั้งแล้วใครจะได้ ส.ส.มากน้อยเพียงใด ซึ่งการลงนามสัตยาบันตรงนี้โดยที่ยังไม่รู้ว่าการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไรก็จะเป็นการประกาศว่า ทุกพรรคการเมืองจะได้มาช่วยกันขับเคลื่อนเรื่องของการปฏิรูปประเทศต่อไป
นายวราเทพ กล่าวเสริมในตอนท้ายว่า วันนี้เรื่องการเลือกตั้งกับเรื่องการปฏิรูปดูเหมือนจะต้องเดินคู่กันไป แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่แยกกันเด็ดขาด เพราะถึงแม้ไม่มีการเลือกตั้ง ถ้ายังไม่มีการยุบสภาฯ ไม่มีม็อบ เราก็ยังปฏิรูปอยู่ รัฐบาลนี้เดินหน้าปฏิรูปมาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ ไม่ใช่มาปฏิรูปเนื่องจากจะมีการเลือกตั้ง ดังนั้นข้อเป็นห่วงของหลายคนที่ว่าจะต้องชัดเจนก่อนว่าวันที่ 2 ก.พ.57 จะมีการปฏิรูปหรือไม่นั้นค่อนข้างชัดเจนในเวทีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าตัวแทนพรรคการเมืองที่อยู่ในวันนั้นก็เห็นด้วยว่าควรจะเดินหน้าเลือกตั้ง และเลขาธิการ กกต. ก็บอกว่าจะรับความเห็นวันนั้นทั้งหมดไปหารือกับ กกต. และอำนาจหน้าที่ก็เป็นของ กกต. ฉะนั้น การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ก็เดินหน้าไป ส่วนปัญหาข้อติดขัดอย่างไรเป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต. และเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่ง กกต. จะสั่งการตามกฎหมายให้ช่วยแก้ไขปัญหาในการเลือกตั้ง ส่วนเวทีการปฏิรูปวันนี้เป็นเวทีที่พรรคการเมืองมาหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ว่าควรจะมีหลักประกันในเวทีเฉพาะหน้าสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งประชาชนได้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาว่าอยากเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิรูป ฉะนั้นประชาชนจะมีความมั่นใจได้อย่างไรว่าพรรคการเมืองจะให้คำยืนยัน ก็ได้มีข้อเสนอส่วนใหญ่และในวันนี้ว่า ปัจจุบันกฎหมายออกไม่ได้เพราะไม่มีสภาฯ การจะออกอะไรรัฐบาลก็ออกได้จำกัด หน้าที่ของฝ่ายบริหารพร้อมที่จะดำเนินการออกคำสั่งให้ทั้งหมด แต่อยากให้มาจากความเห็นที่ไม่ใช่เป็นความเห็นของรัฐบาล ขณะที่อีกทางหนึ่งคือพรรคการเมืองที่จะไปหาเสียงกับประชาชนจะประกาศเจตนารมณ์นั้นจะมาประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันได้หรือไม่ว่าจะเดินหน้าในการปฏิรูป เมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้วจะมาสนับสนุนการปฏิรูป แต่วันนี้ถ้าจะบอกว่าเราจะประกาศเจตนารมณ์และลงสัตยาบันในวันนี้คงยังทำไม่ได้ เพราะพรรคการเมืองมีระบบกลไกในการบริหารที่ต้องนำกลับไปปรึกษากันในพรรคเพื่อขอเป็นมติ จึงอาจต้องมีร่างในการดำเนินการลงสัตยาบันว่าจะลงสัตยาบันในถ้อยคำใด อย่างไรก็ตาม ถ้าจะใช้เวลา 4-5 วันต่อจากนี้คงไม่ได้ เพราะใกล้เวลาลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และใกล้วันเลือกตั้งแล้ว ประชาชนยังไม่รู้ท่าทีของพรรคการเมือง รวมทั้งประชาชนจะต้องใช้ดุลพินิจในการลงคะแนน ดังนั้น จึงขอเสนอเพิ่มเติมว่าการที่จะประกาศเจตนารมณ์วันนี้เพื่อนำกลับไปหารือพรรคการเมือง แล้วกลับมาเจอกันในการประชุมหารือ หรือในการเชิญพิจารณาลงสัตยาบันอีกครั้ง โดยต้องมีกำหนดเวลาดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนการเลือกตั้งล่วงหน้าวันที่ 26 ม.ค.นี้
ทั้งนี้ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย รับที่จะเป็นเจ้าภาพในการเชิญพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งมายกร่างเอกสารที่จะมาแสดงเจตจำนงร่วมกัน โดยจะรับข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของพรรคการเมืองไปประกอบการดำเนินการต่อไป และเมื่อได้ตัวร่างแล้วก็จะส่งให้พรรคการเมืองได้พิจารณาว่าควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ อย่างไร ก่อนลงนามร่วมกันต่อไป ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการลงนามสัตยาบันในวันที่ 24 มกราคม 2557 ก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มกราคม 2557 นี้
ภายหลังจากการประชุมหารือในเวลา 16.40 น. นายพงศ์เทพ ได้กล่าวย้ำสรุปการหารือว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในการเดินหน้าเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 และเห็นชอบร่วมกันในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
----------------------------

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก


 ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่


"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม