เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 216/2557 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของฝ่ายสังคมจิตวิทยา ด้านการศึกษา
- การก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา นายกรัฐมนตรีได้ขอให้ ศธ.หาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว หากพบว่าสถานศึกษาใดมีนักศึกษาทะเลาะวิวาทกันอีกอย่างต่อเนื่อง ให้ปิดคณะหรือสถาบันการศึกษานั้นๆ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าการปิดคณะหรือสถาบันศึกษาจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะดำเนินการ เพราะขณะนี้ ศธ.ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รวมทั้งสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันที่เข้าพบเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับการจัด “หลักสูตรเตรียมอาชีวะ” ก่อนเข้าเรียนในสถานศึกษา โดย สอศ. จะร่วมมือกับหน่วยงานทางทหารในการปลูกฝังและปรับทัศนคติให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้ชีวิตร่วมกันก่อนเข้าเรียน เพื่อฝึกความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี คุณธรรม
จริยธรรม ความรักชาติ รักสถาบัน แต่จะไม่เข้มข้นเท่ากับหลักสูตรทหาร ซึ่ง สอศ.จะเริ่มดำเนินการหลักสูตรเตรียมอาชีวะกับนักเรียนนักศึกษาบางส่วน ในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะดำเนินการกับนักเรียนนักศึกษาใหม่ทั้งหมดในปีการศึกษา 2558 การผลิตคนเพื่อการมีงานทำ ในแต่ละปีสถาบันการศึกษาต่างผลิตนิสิตนักศึกษาออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีข้อมูลว่าบัณฑิตเหล่านี้มีงานทำหรือไม่ หรือออกไปทำงานอะไรบ้าง ดังนั้น ศธ. จึงต้องการจะรวบรวมข้อมูลสถิติเพื่อให้ทราบถึงจำนวนบัณฑิตที่มีงานทำ สาขาที่ทำงาน และแนวดำเนินการที่จะผลิตบัณฑิตได้ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน โดยขอให้หน่วยงานต่างๆ รวบรวมและปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง การฝึกประสบการณ์ด้านอาชีวศึกษา ในการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษา จะต้องให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการฝึกฝนวิชาชีพที่กำลังศึกษาอยู่ และได้ประสบการณ์ในการทำงานแล้ว ควร ให้ผู้เรียนมีรายได้จากการฝึกประสบการณ์ด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการดำเนินการในลักษณะทวิภาคีกับกลุ่มอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่างๆ จำนวนมาก - การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ความต้องการของตลาดแรงงานจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องการเตรียมบุคลากรของประเทศ ซึ่งขณะนี้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อเทียบโอนบุคลากรที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาในระบบ แต่เป็นผู้มีประสบการณ์จากการทำงาน ก็สามารถนำไปเทียบโอนได้ เพื่อเพิ่มวิทยฐานะหรือนำไปใช้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือใช้เทียบโอนเพื่อทำงานในประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียน
- การเรียนพิเศษ ขณะนี้มีการเรียนพิเศษในทุกระดับตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไป หากสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรอย่างครบถ้วน ก็จะทำให้ความจำเป็นที่จะต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติมอาจจะน้อยลง นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินหรือการสอบด้วย เพราะหากข้อสอบไม่ได้ออกนอกเหนือหรือเกินจากหลักสูตร ความจำเป็นในการเรียนพิเศษก็จะน้อยลงเช่นกัน
- ค่านิยมหลัก 12 ประการของคนไทย จากการที่นายกรัฐมนตรีได้มอบคำกลอนค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ เพื่อให้ ศธ.นำไปเผยแพร่แก่สถานศึกษาในสังกัด เพื่อต้องการปลูกฝังค่านิยมไทยเหล่านี้แก่ผู้เรียน โดยเริ่มจากการท่องจำ โดยครูผู้สอนควรอธิบายความหมายของแต่ละข้อให้นักเรียนเข้าใจเพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้
- ความปลอดภัยของการเดินทางไปทัศนศึกษาของนักเรียนนิสิตนักศึกษา ทุกหลักสูตรการศึกษาจะมีการจัดทัศนศึกษาสำหรับนักเรียนนักศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้อาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ฉะนั้นจึงจะต้องมีการดูแลการเดินทาง สภาพ และการควบคุมความเร็วของยานพาหนะ โดยจะขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการขนส่งทางบก
เข้ามาดูแลด้วย - การลดภาระงานของครู จากคำพูดที่ว่า “คืนครูสู่ห้องเรียน” เนื่องจากในปัจจุบันนี้ครูไม่ได้ทำหน้าที่ในการสอนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องทำงานอื่นด้วย เช่น งานธุรการ การเตรียมความพร้อมเพื่อตรวจรับการประเมินสถานศึกษา และครูอาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนการสอนเพื่อเตรียมการประเมินวิทยฐานะของตนเองด้วย ดังนั้นเป้าหมายหนึ่งของ ศธ.คือ ต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อลดภาระงานของครู
- การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงภาพรวมของทุกกระทรวง เกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ ที่ได้มีการนำเสนอมายัง คสช.แล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าที่ประชุมสภาฯ จึงได้มีการเน้นย้ำให้แต่ละกระทรวงนำกฎหมายต่างๆ กลับไปพิจารณาและทบทวนอีกครั้ง หากกระทรวงใดแก้ไขหรือเห็นว่ามีกฎหมายเหล่านั้นมีความเหมาะสมแล้ว ขอให้เสนอกลับมาอย่างเร่งด่วน ซึ่งในส่วนของ ศธ.มีการเสนอกฎหมายไป 4 ฉบับ ที่จะต้องนำเสนอกลับเข้าไปอีกครั้ง
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐทนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น