เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
"ณรงค์" เล็งลดวิชาสอบโอเน็ตสั่งพัฒนามาตรฐานการวัดผล
ปลัดศึกษาเผย พล.ร.อ.ณรงค์เล็งลดวิชาสอบโอเน็ตเหลือเฉพาะวิชากหลัก ส่วนสังคมศึกษา สุขศึกษาอาจให้โรงเรียนวัดผลเอง พร้อมฝากสำรวจการใช้เงินของครู หวังช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน ด้าน กยศ.เสนอโปรโมชันลดหย่อนช่วยลูกหนี้ชั้นดี แต่ยังต้องรอสรุปอีกครั้ง ขณะที่นักวิชาการจุฬาฯ ชี้ งบประมาณ โจทย์ใหญ่ปฏิรูปการศึกษา แนะรื้อจัดสรรใหม่ หลังเม็ดเงินพัฒนาเด็กคิดเป็น 3-5% ของงบทั้งหมด
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ซึ่งมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศึกษาธิการ) เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มเครือข่ายยุวทัศน์ที่เสนอให้ปรับลดสัดส่วนของการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
โดยได้ขอให้ลดสัดส่วนของปีการศึกษา 2557 ที่กำหนดให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และผลโอเน็ต ในสัดส่วน 70 ต่อ 30 เหลือเท่ากับปีการศึกษา 2556 ที่กำหนดไว้ที่ 80 ต่อ 20 ซึ่งในเรื่องนี้ที่ประชุมมีความเห็นหลากหลายจึงยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์
ได้เน้นย้ำว่าหลังจากนี้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ต้องพัฒนาในเรื่องคุณภาพมาตรฐานการสอบให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมของสังคม
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในสัปดาห์หน้า พล.ร.อ.ณรงค์จะเดินทางไปตรวจเยี่ยม สทศ. พร้อมทั้งหารือเรื่องการจัดสอบต่างๆ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ อยากให้การวัดผลทุกชนิดเน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก และต้องเกิดผลต่อผู้เรียน
นอกจากนี้จะหารือด้วยว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การสอบโอเน็ตจะลดวิชาการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้น้อยลง โดย สทศ. ไม่จำเป็นต้องสอบให้ครบ 8 กลุ่มสาระฯ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง สทศ. อาจจะจัดสอบเฉพาะวิชาหลักเท่านั้น
ส่วนวิชาอื่น เช่น สังคมศึกษา หน้าที่พลเมือง สุขศึกษา อาจให้โรงเรียนเป็นผู้วัดและประเมินผลเองในรูปแบบที่หลากหลายกันไป โดยในส่วนนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบเป็นตัววัด แต่อาจจะวัดผลจากพฤติกรรม หรือพัฒนาการของผู้เรียนที่เห็นเป็นเชิงประจักษ์แทน
สั่งสำรวจการใช้จ่ายเงินของครู
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งที่ประชุมเน้นย้ำว่าควรไปสำรวจการใช้จ่ายเงินของครูทุกวันนี้ว่า ครูมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด และยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ถ้ายังควรส่งเสริมในเรื่องนี้ให้มาก
ส่วนกรณีที่มีการเปิดช่องทางให้ครูสามารถกู้เงินได้หลากหลายช่องทางนั้นที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) ไปหาแนวทางแก้ปัญหาแล้วกลับมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากนี้ นางสุทธศรี ยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความเป็นห่วงเรื่องกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า จากการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการกองทุน กยศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาโครงการรณรงค์ชำระหนี้ ซึ่งทางกองทุน กยศ.ได้เสนอที่จะจัดโปรโมชันลดหย่อนหนี้ในปี 2558 ให้กับลูกหนี้ที่ค้างชำระและไม่ค้างชำระ หากนำเงินมาปิดบัญชีจะได้รับการลดหย่อนหนี้ 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินต้น รวมทั้งลดเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ 100 เปอร์เซ็นต์
ได้เสนอต่อที่ประชุมว่าเมื่อปี 2557 ก็มีการจัดโปรโมชันในลักษณะนี้มาแล้ว โดยลดหย่อนหนี้ให้ 3-3.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกรงว่าอาจส่งผลให้ผู้กู้คิดว่าในปีต่อไปก็คงมีการลดหย่อนเงินกู้ให้อีกและอาจจะเพิ่มอัตรามากกว่าเดิม อาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกหนี้รอโปรโมชันในปีต่อไป ซึ่งบอร์ด กยศ.จึงให้ทางกองทุนฯ กลับไปทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งว่าควรจะมีโปรโมชันในลักษณะดังกล่าวต่อไปหรือไม่ นางสุทธศรี กล่าว
เสนอช่วยลูกหนี้ชั้นดี
ทั้งนี้ ได้เสนอว่าควรจะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ชำระหนี้อย่างต่อเนื่องไม่เคยติดค้าง ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีวินัยทางการเงิน โดยควรจะมีการลดหย่อนเงินกู้ให้ด้วย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับคนทำดี
และกยศ.ไม่ควรจะมีมาตรการเดียวคือการปิดบัญชี แต่ควรจะยืดหยุ่นให้ปิดบัญชีตามศักยภาพ โดยอาจจะจ่าย 2-3 งวด เพราะการปิดบัญชีรวดเดียวเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก จึงเสนอให้ กยศ.ไปพิจารณาหาแนวทางอื่นด้วย ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ดังนั้นทางปลัดกระทรวงการคลังในฐานะบอร์ด กยศ.ได้ให้ กองทุน กยศ.รับความเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการ และให้นำกลับมาเสนออีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
นักวิชาการชมปฏิรูปการศึกษามาถูกทาง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยวานนี้ (30 ต.ค.) ว่า ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ประชุมวางกรอบการทำงาน และเป้าหมายการดำเนินการจัดทำข้อเสนอให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาใน 5 ประเด็นหลัก อาทิ เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ ผ่านการพัฒนาครูและสถานศึกษา เพื่อเพิ่มสมรรถนะของคนไทยและของประเทศ
การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการสร้างความรู้ เน้นการลดขนาดการจัดการภาครัฐ กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ฐานพื้นที่และสถานศึกษา สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน สร้างภาวะรับผิดชอบของผู้จัดการศึกษาต่อผู้เรียน และสร้างกลไกทางกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูปให้มีความต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ โดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง รวมทั้งศึกษาและเสนอแนะด้านนโยบายอย่างต่อเนื่อง
เขากล่าวต่อว่า เท่าที่ดูแนวทางปฏิรูปทั้งหมดของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาก็ถือว่าตั้งโจทย์ได้ถูกทางและค่อนข้างมองได้อย่างรอบด้าน แต่ส่วนตัวมองว่ายังมีประเด็นปัญหาสำคัญอีกหลายประเด็นที่อยากให้ทำการปฏิรูปในคราวเดียวกัน แต่ก็ขอเสนอเพิ่มเติมว่า อยากให้เน้นการสร้างความเป็นพลเมือง ความสามัคคี รู้หลักเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพที่ถูกต้อง ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ยกเลิกวัฒนธรรมเอกสารจนทำให้ครูออกจากห้องเรียนไปมุ่งทำวิทยฐานะ ซึ่งไม่ได้สะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาที่แท้จริง
แนะรื้อระบบจัดสรรงบการศึกษา
อยากให้รื้อระบบจัดสรรงบประมาณการศึกษาใหม่ เน้นพัฒนาคุณภาพของเด็กเป็นหลัก ตรงนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะต้องยอมรับว่างบส่วนใหญ่ ทุ่มไปที่เงินเดือนครู เป็นงบที่ใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กแค่เพียง 3-5% ของงบประมาณทั้งหมดที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับ ถือว่าน้อยมาก จนไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
นอกจากนี้ เขาอยากให้มีการปรับปรุงกฎหมายการศึกษาให้มีความทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เน้นให้เด็กมีความสุขกับการเรียนอย่างแท้จริง ทั้งหมดนี้หากคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาเห็นความสำคัญ และช่วยขับเคลื่อนให้มีการแก้ปัญหาอย่างถูกทิศทาง ก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้การศึกษาของประเทศไทยพัฒนาได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดศึกษาเผย พล.ร.อ.ณรงค์เล็งลดวิชาสอบโอเน็ตเหลือเฉพาะวิชากหลัก ส่วนสังคมศึกษา สุขศึกษาอาจให้โรงเรียนวัดผลเอง พร้อมฝากสำรวจการใช้เงินของครู หวังช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน ด้าน กยศ.เสนอโปรโมชันลดหย่อนช่วยลูกหนี้ชั้นดี แต่ยังต้องรอสรุปอีกครั้ง ขณะที่นักวิชาการจุฬาฯ ชี้ งบประมาณ โจทย์ใหญ่ปฏิรูปการศึกษา แนะรื้อจัดสรรใหม่ หลังเม็ดเงินพัฒนาเด็กคิดเป็น 3-5% ของงบทั้งหมด
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ซึ่งมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศึกษาธิการ) เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มเครือข่ายยุวทัศน์ที่เสนอให้ปรับลดสัดส่วนของการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
โดยได้ขอให้ลดสัดส่วนของปีการศึกษา 2557 ที่กำหนดให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และผลโอเน็ต ในสัดส่วน 70 ต่อ 30 เหลือเท่ากับปีการศึกษา 2556 ที่กำหนดไว้ที่ 80 ต่อ 20 ซึ่งในเรื่องนี้ที่ประชุมมีความเห็นหลากหลายจึงยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์
ได้เน้นย้ำว่าหลังจากนี้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ต้องพัฒนาในเรื่องคุณภาพมาตรฐานการสอบให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมของสังคม
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในสัปดาห์หน้า พล.ร.อ.ณรงค์จะเดินทางไปตรวจเยี่ยม สทศ. พร้อมทั้งหารือเรื่องการจัดสอบต่างๆ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ อยากให้การวัดผลทุกชนิดเน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก และต้องเกิดผลต่อผู้เรียน
นอกจากนี้จะหารือด้วยว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การสอบโอเน็ตจะลดวิชาการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้น้อยลง โดย สทศ. ไม่จำเป็นต้องสอบให้ครบ 8 กลุ่มสาระฯ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง สทศ. อาจจะจัดสอบเฉพาะวิชาหลักเท่านั้น
ส่วนวิชาอื่น เช่น สังคมศึกษา หน้าที่พลเมือง สุขศึกษา อาจให้โรงเรียนเป็นผู้วัดและประเมินผลเองในรูปแบบที่หลากหลายกันไป โดยในส่วนนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบเป็นตัววัด แต่อาจจะวัดผลจากพฤติกรรม หรือพัฒนาการของผู้เรียนที่เห็นเป็นเชิงประจักษ์แทน
สั่งสำรวจการใช้จ่ายเงินของครู
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งที่ประชุมเน้นย้ำว่าควรไปสำรวจการใช้จ่ายเงินของครูทุกวันนี้ว่า ครูมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด และยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ถ้ายังควรส่งเสริมในเรื่องนี้ให้มาก
ส่วนกรณีที่มีการเปิดช่องทางให้ครูสามารถกู้เงินได้หลากหลายช่องทางนั้นที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) ไปหาแนวทางแก้ปัญหาแล้วกลับมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากนี้ นางสุทธศรี ยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความเป็นห่วงเรื่องกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า จากการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการกองทุน กยศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาโครงการรณรงค์ชำระหนี้ ซึ่งทางกองทุน กยศ.ได้เสนอที่จะจัดโปรโมชันลดหย่อนหนี้ในปี 2558 ให้กับลูกหนี้ที่ค้างชำระและไม่ค้างชำระ หากนำเงินมาปิดบัญชีจะได้รับการลดหย่อนหนี้ 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินต้น รวมทั้งลดเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ 100 เปอร์เซ็นต์
ได้เสนอต่อที่ประชุมว่าเมื่อปี 2557 ก็มีการจัดโปรโมชันในลักษณะนี้มาแล้ว โดยลดหย่อนหนี้ให้ 3-3.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกรงว่าอาจส่งผลให้ผู้กู้คิดว่าในปีต่อไปก็คงมีการลดหย่อนเงินกู้ให้อีกและอาจจะเพิ่มอัตรามากกว่าเดิม อาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกหนี้รอโปรโมชันในปีต่อไป ซึ่งบอร์ด กยศ.จึงให้ทางกองทุนฯ กลับไปทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งว่าควรจะมีโปรโมชันในลักษณะดังกล่าวต่อไปหรือไม่ นางสุทธศรี กล่าว
เสนอช่วยลูกหนี้ชั้นดี
ทั้งนี้ ได้เสนอว่าควรจะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ชำระหนี้อย่างต่อเนื่องไม่เคยติดค้าง ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีวินัยทางการเงิน โดยควรจะมีการลดหย่อนเงินกู้ให้ด้วย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับคนทำดี
และกยศ.ไม่ควรจะมีมาตรการเดียวคือการปิดบัญชี แต่ควรจะยืดหยุ่นให้ปิดบัญชีตามศักยภาพ โดยอาจจะจ่าย 2-3 งวด เพราะการปิดบัญชีรวดเดียวเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก จึงเสนอให้ กยศ.ไปพิจารณาหาแนวทางอื่นด้วย ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ดังนั้นทางปลัดกระทรวงการคลังในฐานะบอร์ด กยศ.ได้ให้ กองทุน กยศ.รับความเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการ และให้นำกลับมาเสนออีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
นักวิชาการชมปฏิรูปการศึกษามาถูกทาง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยวานนี้ (30 ต.ค.) ว่า ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ประชุมวางกรอบการทำงาน และเป้าหมายการดำเนินการจัดทำข้อเสนอให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาใน 5 ประเด็นหลัก อาทิ เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ ผ่านการพัฒนาครูและสถานศึกษา เพื่อเพิ่มสมรรถนะของคนไทยและของประเทศ
การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการสร้างความรู้ เน้นการลดขนาดการจัดการภาครัฐ กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ฐานพื้นที่และสถานศึกษา สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน สร้างภาวะรับผิดชอบของผู้จัดการศึกษาต่อผู้เรียน และสร้างกลไกทางกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูปให้มีความต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ โดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง รวมทั้งศึกษาและเสนอแนะด้านนโยบายอย่างต่อเนื่อง
เขากล่าวต่อว่า เท่าที่ดูแนวทางปฏิรูปทั้งหมดของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาก็ถือว่าตั้งโจทย์ได้ถูกทางและค่อนข้างมองได้อย่างรอบด้าน แต่ส่วนตัวมองว่ายังมีประเด็นปัญหาสำคัญอีกหลายประเด็นที่อยากให้ทำการปฏิรูปในคราวเดียวกัน แต่ก็ขอเสนอเพิ่มเติมว่า อยากให้เน้นการสร้างความเป็นพลเมือง ความสามัคคี รู้หลักเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพที่ถูกต้อง ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ยกเลิกวัฒนธรรมเอกสารจนทำให้ครูออกจากห้องเรียนไปมุ่งทำวิทยฐานะ ซึ่งไม่ได้สะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาที่แท้จริง
แนะรื้อระบบจัดสรรงบการศึกษา
อยากให้รื้อระบบจัดสรรงบประมาณการศึกษาใหม่ เน้นพัฒนาคุณภาพของเด็กเป็นหลัก ตรงนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะต้องยอมรับว่างบส่วนใหญ่ ทุ่มไปที่เงินเดือนครู เป็นงบที่ใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กแค่เพียง 3-5% ของงบประมาณทั้งหมดที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับ ถือว่าน้อยมาก จนไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
นอกจากนี้ เขาอยากให้มีการปรับปรุงกฎหมายการศึกษาให้มีความทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เน้นให้เด็กมีความสุขกับการเรียนอย่างแท้จริง ทั้งหมดนี้หากคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาเห็นความสำคัญ และช่วยขับเคลื่อนให้มีการแก้ปัญหาอย่างถูกทิศทาง ก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้การศึกษาของประเทศไทยพัฒนาได้
นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ซึ่งมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศึกษาธิการ) เป็นประธาน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มเครือข่ายยุวทัศน์ที่เสนอให้ปรับลดสัดส่วนของการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551
โดยได้ขอให้ลดสัดส่วนของปีการศึกษา 2557 ที่กำหนดให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และผลโอเน็ต ในสัดส่วน 70 ต่อ 30 เหลือเท่ากับปีการศึกษา 2556 ที่กำหนดไว้ที่ 80 ต่อ 20 ซึ่งในเรื่องนี้ที่ประชุมมีความเห็นหลากหลายจึงยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์
ได้เน้นย้ำว่าหลังจากนี้สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ต้องพัฒนาในเรื่องคุณภาพมาตรฐานการสอบให้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมของสังคม
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในสัปดาห์หน้า พล.ร.อ.ณรงค์จะเดินทางไปตรวจเยี่ยม สทศ. พร้อมทั้งหารือเรื่องการจัดสอบต่างๆ ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ อยากให้การวัดผลทุกชนิดเน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก และต้องเกิดผลต่อผู้เรียน
นอกจากนี้จะหารือด้วยว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่การสอบโอเน็ตจะลดวิชาการสอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ให้น้อยลง โดย สทศ. ไม่จำเป็นต้องสอบให้ครบ 8 กลุ่มสาระฯ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง สทศ. อาจจะจัดสอบเฉพาะวิชาหลักเท่านั้น
ส่วนวิชาอื่น เช่น สังคมศึกษา หน้าที่พลเมือง สุขศึกษา อาจให้โรงเรียนเป็นผู้วัดและประเมินผลเองในรูปแบบที่หลากหลายกันไป โดยในส่วนนี้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบเป็นตัววัด แต่อาจจะวัดผลจากพฤติกรรม หรือพัฒนาการของผู้เรียนที่เห็นเป็นเชิงประจักษ์แทน
สั่งสำรวจการใช้จ่ายเงินของครู
นางสุทธศรี กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้หารือเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งที่ประชุมเน้นย้ำว่าควรไปสำรวจการใช้จ่ายเงินของครูทุกวันนี้ว่า ครูมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด และยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ ถ้ายังควรส่งเสริมในเรื่องนี้ให้มาก
ส่วนกรณีที่มีการเปิดช่องทางให้ครูสามารถกู้เงินได้หลากหลายช่องทางนั้นที่ประชุมได้มอบให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.) ไปหาแนวทางแก้ปัญหาแล้วกลับมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง
นอกจากนี้ นางสุทธศรี ยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แสดงความเป็นห่วงเรื่องกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ว่า จากการประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการกองทุน กยศ. เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาโครงการรณรงค์ชำระหนี้ ซึ่งทางกองทุน กยศ.ได้เสนอที่จะจัดโปรโมชันลดหย่อนหนี้ในปี 2558 ให้กับลูกหนี้ที่ค้างชำระและไม่ค้างชำระ หากนำเงินมาปิดบัญชีจะได้รับการลดหย่อนหนี้ 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินต้น รวมทั้งลดเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ 100 เปอร์เซ็นต์
ได้เสนอต่อที่ประชุมว่าเมื่อปี 2557 ก็มีการจัดโปรโมชันในลักษณะนี้มาแล้ว โดยลดหย่อนหนี้ให้ 3-3.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกรงว่าอาจส่งผลให้ผู้กู้คิดว่าในปีต่อไปก็คงมีการลดหย่อนเงินกู้ให้อีกและอาจจะเพิ่มอัตรามากกว่าเดิม อาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกหนี้รอโปรโมชันในปีต่อไป ซึ่งบอร์ด กยศ.จึงให้ทางกองทุนฯ กลับไปทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งว่าควรจะมีโปรโมชันในลักษณะดังกล่าวต่อไปหรือไม่ นางสุทธศรี กล่าว
เสนอช่วยลูกหนี้ชั้นดี
ทั้งนี้ ได้เสนอว่าควรจะมีการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ชำระหนี้อย่างต่อเนื่องไม่เคยติดค้าง ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีวินัยทางการเงิน โดยควรจะมีการลดหย่อนเงินกู้ให้ด้วย เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับคนทำดี
และกยศ.ไม่ควรจะมีมาตรการเดียวคือการปิดบัญชี แต่ควรจะยืดหยุ่นให้ปิดบัญชีตามศักยภาพ โดยอาจจะจ่าย 2-3 งวด เพราะการปิดบัญชีรวดเดียวเป็นเรื่องที่ทำได้ลำบาก จึงเสนอให้ กยศ.ไปพิจารณาหาแนวทางอื่นด้วย ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย
ดังนั้นทางปลัดกระทรวงการคลังในฐานะบอร์ด กยศ.ได้ให้ กองทุน กยศ.รับความเห็นของที่ประชุมไปดำเนินการ และให้นำกลับมาเสนออีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป
นักวิชาการชมปฏิรูปการศึกษามาถูกทาง
รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยวานนี้ (30 ต.ค.) ว่า ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ประชุมวางกรอบการทำงาน และเป้าหมายการดำเนินการจัดทำข้อเสนอให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาใน 5 ประเด็นหลัก อาทิ เน้นการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ ผ่านการพัฒนาครูและสถานศึกษา เพื่อเพิ่มสมรรถนะของคนไทยและของประเทศ
การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และการสร้างความรู้ เน้นการลดขนาดการจัดการภาครัฐ กระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่ฐานพื้นที่และสถานศึกษา สร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน สร้างภาวะรับผิดชอบของผู้จัดการศึกษาต่อผู้เรียน และสร้างกลไกทางกฎหมายรองรับกระบวนการปฏิรูปให้มีความต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ โดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง รวมทั้งศึกษาและเสนอแนะด้านนโยบายอย่างต่อเนื่อง
เขากล่าวต่อว่า เท่าที่ดูแนวทางปฏิรูปทั้งหมดของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาก็ถือว่าตั้งโจทย์ได้ถูกทางและค่อนข้างมองได้อย่างรอบด้าน แต่ส่วนตัวมองว่ายังมีประเด็นปัญหาสำคัญอีกหลายประเด็นที่อยากให้ทำการปฏิรูปในคราวเดียวกัน แต่ก็ขอเสนอเพิ่มเติมว่า อยากให้เน้นการสร้างความเป็นพลเมือง ความสามัคคี รู้หลักเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพที่ถูกต้อง ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ยกเลิกวัฒนธรรมเอกสารจนทำให้ครูออกจากห้องเรียนไปมุ่งทำวิทยฐานะ ซึ่งไม่ได้สะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาที่แท้จริง
แนะรื้อระบบจัดสรรงบการศึกษา
อยากให้รื้อระบบจัดสรรงบประมาณการศึกษาใหม่ เน้นพัฒนาคุณภาพของเด็กเป็นหลัก ตรงนี้ถือเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะต้องยอมรับว่างบส่วนใหญ่ ทุ่มไปที่เงินเดือนครู เป็นงบที่ใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กแค่เพียง 3-5% ของงบประมาณทั้งหมดที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับ ถือว่าน้อยมาก จนไม่สามารถจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้ รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
นอกจากนี้ เขาอยากให้มีการปรับปรุงกฎหมายการศึกษาให้มีความทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เน้นให้เด็กมีความสุขกับการเรียนอย่างแท้จริง ทั้งหมดนี้หากคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาเห็นความสำคัญ และช่วยขับเคลื่อนให้มีการแก้ปัญหาอย่างถูกทิศทาง ก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้การศึกษาของประเทศไทยพัฒนาได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น