เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 237/2557
การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 1/2557 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2557 ที่ห้องประชุม สพฐ. 4 โดยมีนายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
-
เพิ่มการจัดตั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
รมว.ศธ.กล่าวว่า จากสถานการณ์และปัญหาของคนพิการในประเทศไทยเมื่อปี 2557 พบว่ามีคนพิการทั่วประเทศจำนวน 1.87 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งประเทศ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ที่ได้กล่าวไว้ว่า จำนวนคนพิการในโลกซึ่งมีอยู่ร้อยละ 5-10 ส่วนใหญ่อยู่ในชนบทของประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ 75 ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้ หรือเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จำเป็นได้อย่างจำกัด
ในส่วนของภาคการศึกษานั้น สพฐ.เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ เพื่อให้เด็กพิการได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้ง "ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ" ซึ่งปัจจุบันสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รับผิดชอบ โดยปัจจุบันมีศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด 77 ศูนย์ทั่วประเทศ และมีศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ซึ่งถือเป็นสาขาของศูนย์การศึกษาพิเศษ238 แห่ง แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากยังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและยังเข้าไม่ถึงการศึกษา
ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ จัดตั้งและพัฒนาการศึกษาในศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ไปศึกษารายละเอียดว่ามีช่องทางใดบ้างที่สามารถจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นมาเพื่อดูแลคนพิการทั่วประเทศให้ครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งพิจารณาระเบียบของ ศธ.ที่จะรองรับการจัดตั้งศูนย์ฯ ดังกล่าวด้วย เนื่องจากขณะนี้มีเพียงศูนย์การศึกษาพิเศษในระดับจังหวัด และศูนย์ของมูลนิธิหรือองค์กรภาคเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเองเท่านั้น ส่วนจำนวนที่จะจัดตั้งศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนคนพิการในแต่ละพื้นที่ว่ามีมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ให้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และออกระเบียบรองรับการจัดตั้งศูนย์ การเรียนเฉพาะความพิการ ตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาเฉพาะคนพิการ พ.ศ.2551 ต่อไป
-
เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะ 5 ปี กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2555-2559)
รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะ 5 ปี กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2555-2559) โดยกำหนดกรอบแนวทางการจัดการศึกษา คือ
1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศ เพื่อให้มีข้อมูลคนพิการและบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของทุกหน่วยงานที่เป็นปัจจุบันและอยู่บนฐานข้อมูลเดียวกัน
2) การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI) เพื่อให้เด็กพิการทุกคนได้รับโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ
3) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนพิการ ตามหลักการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All)
4) การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพื่อให้เด็กพิการทุกคนมีสิทธิและความเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเอง ดำรงชีวิตอิสระในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
5) ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอ และสามารถจัดบริการทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ เพื่อให้การจัดการศึกษาทางเลือกอื่น เอื้อต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการทุกประเภทและระดับความพิการ
7) เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assitive Technology) เพื่อให้คนพิการทุกคนได้รับบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการจำเป็น
8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
9) กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในทุกระบบและทุกรูปแบบ
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
-
แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ปี 2558
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ปี 2558 จำนวน 299 ล้านบาท แยกเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนโครงการหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน 291 ล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ และสำรองสำหรับบริหารจัดการกองทุน 8 ล้านบาท
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนโครงการหน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน 291 ล้านบาทนั้น ได้วางแผนดำเนินการภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มโอกาสให้คนพิการได้รับบริการทางการศึกษา จำนวน 8 โครงการ 6 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สถาบันการพลศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลให้เหมาะสมสำหรับความพิการ จำนวน 3 โครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. กศน. มูลนิธิออทิสติกไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 3 โครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. กศน. กทม.
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้สำหรับคนพิการ จำนวน 6 โครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. กศน. สอศ.
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 9 โครงการ 5 หน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ วิทยาลัยราชสุดา
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 2 โครงการ 2 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. และ สกอ.
เพิ่มการจัดตั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะ 5 ปี กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ.2555-2559)
2) การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI) เพื่อให้เด็กพิการทุกคนได้รับโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ
3) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่คนพิการ ตามหลักการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All)
4) การจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ เพื่อให้เด็กพิการทุกคนมีสิทธิและความเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ พึ่งพาตนเอง ดำรงชีวิตอิสระในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
5) ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีครูและบุคลากรทางการศึกษาเพียงพอ และสามารถจัดบริการทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ เพื่อให้การจัดการศึกษาทางเลือกอื่น เอื้อต่อความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการทุกประเภทและระดับความพิการ
7) เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assitive Technology) เพื่อให้คนพิการทุกคนได้รับบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการจำเป็น
8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
9) กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในทุกระบบและทุกรูปแบบ
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ปี 2558
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลให้เหมาะสมสำหรับความพิการ จำนวน 3 โครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. กศน. มูลนิธิออทิสติกไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 3 โครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. กศน. กทม.
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้สำหรับคนพิการ จำนวน 6 โครงการ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. กศน. สอศ.
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 9 โครงการ 5 หน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ วิทยาลัยราชสุดา
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารและกลไกในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จำนวน 2 โครงการ 2 หน่วยงาน ได้แก่ สพฐ. และ สกอ.
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น