อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 416/2559
การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้านการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม กลุ่มภารกิจงานที่ 4ปีงบประมาณ พ.ศ.2560
จังหวัดสงขลา - กระทรวงศึกษาธิการจัดการประชุมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม กลุ่มภารกิจงานที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2559 ระหว่างเวลา 10.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม
แนวนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความสำคัญกับ "การเสริมสร้างเอกภาพ และประสิทธิภาพ" ในทุกระดับ โดยเฉพาะการบูรณาการแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ของกระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยกำหนดให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบกลุ่มภารกิจงาน 7 กลุ่ม คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กลุ่มการประเมินผล และกระทรวงศึกษาธิการ
นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มี คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) เพื่อทำหน้าที่การบูรณาการงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และมีผู้แทนกระทรวง กรม หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จำนวน 54 หน่วยงาน พร้อมทั้งจำแนกภารกิจงาน 7 งาน ประกอบด้วย
1. งานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. งานอำนวยความยุติธรรม และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
3. งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ
4. งานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
5. งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ และคุณภาพชีวิตประชาชน
6. งานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และการขับเคลื่อนนโยบายฯ
7. งานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี
กำหนดให้ ศธ.เป็นเจ้าภาพกลุ่มภารกิจงานที่ 4 (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม)
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการนั้น รัฐบาลได้มอบหมายให้เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ "กลุ่มภารกิจงานที่ 4" (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ คสช. ได้ประกาศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 และเกิดความต่อเนื่องในการทำงานด้านต่าง ๆ จนส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในระดับต่าง ๆ สูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เช่น ผลการทดสอบ O-NET เป็นต้น
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 การประชุมครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ใน กลุ่มภารกิจงานที่ 4 (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ได้นำเสนอแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน (แบบบูรณาการ) ในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวให้เกิดความยั่งยืนและเกิดความสันติสุขในพื้นที่
แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของกลุ่มภารกิจงานที่ 4
การนำเสนอแผนปฏิบัติการฯ ของ 5 หน่วยงานหลักดังกล่าว ดำเนินการ ภายใต้กรอบ การดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 2,777.777 ล้านบาท โดยมีแผนงาน/โครงการรองรับจำนวน 128 โครงการ อาทิ
1. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอภาพรวมของแผนปฏิบัติการฯ และแ นวทางดำเนินการใน การพัฒนาขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ตามเป้าหมาย 7 ด้าน ภายใต้จุดเน้น 7 ประการ และกลยุทธ์การดำเนินงาน 15 ข้อ ดังนี้
7 เป้าหมาย
1. สถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รับการยกระดับคุณภาพตามนโยบายรัฐ
2. บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพ
3. นักเรียน และเยาวชน ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและต่างประเทศ
4. เด็ก เยาวชน และประชาชนผู้อยู่นอกระบบการศึกษา ได้รับความรู้และเพิ่มทักษะอาชีพ
5. ประชาชนในพื้นที่สามารถดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น
6. อัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมมากขึ้น
7. การจัดการศึกษาในพื้นที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเกิดสัมฤทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา โดยมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
7 จุดเน้น
จุดเน้นที่ 1 การรักษาความปลอดภัย มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการสูญเสียและเพิ่มความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และสถานศึกษา อีกทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักเรียน มีความพึงพอใจที่ได้รับการดูแลและให้ความเชื่อมั่นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
จุดเน้นที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีเป้าหมายคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหลักเพิ่มขึ้น และร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ตรงตามสาระวิชาสำคัญ
จุดเน้นที่ 3 การพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ มีเป้าหมายคือ จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนต่อในโรงเรียนกีฬาเพิ่มขึ้น และผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมกีฬา
จุดเน้นที่ 4 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง มีเป้าหมายคือ ชุมชน และผู้นำศาสนามีกิจกรรมร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมมากขึ้น โดยสามารถวัดระดับความพึงพอใจของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาเพื่อส่งผลต่อความมั่นคงในด้านสังคมได้
จุดเน้นที่ 5 การสร้างโอกาสทางการศึกษา มีเป้าหมายคือ จำนวนนักเรียนทุนการศึกษาได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบมากขึ้น จำนวนนักเรียนเข้าเรียนสายอาชีพมากขึ้น อัตราการออกกลางคันลดลง และผู้จบการศึกษามีงานทำเพิ่มขึ้น
จุดเน้นที่ 6 ด้านสร้างการรับรู้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและประชาชน ได้รับทราบ เกิดความเข้าใจความเคลื่อนไหวในการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษา
จุดเน้นที่ 7 การบริหารจัดการศึกษา มีเป้าหมายให้มีเอกภาพในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
15 กลยุทธ์
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาและสถานศึกษากลุ่มเสี่ยง
2. สร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา
3. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองส่งบุตรเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ
4. การสร้างเครือข่ายของโรงเรียนรัฐกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
5. ส่งเสริมและสนับสนุน ระบบนิเทศ ประเมิน และเฝ้าระวังคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาทุกประเภท
6. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็ง และการกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ และสร้างความตระหนักของชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง
7. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพครู บุคลากรทางการศึกษา และการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนให้มีมาตรฐานเทียบเท่าพื้นที่อื่น
8. พัฒนาการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) สถาบันศึกษาปอเนาะ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพ และถูกต้องสอดคล้องตามหลักการศาสนา
9. เพิ่มภาษาในการประกอบอาชีพควบคู่ไปกับการจัดการศึกษา ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
10. สร้างโอกาสทางการศึกษา และบูรณาการทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการสอนเสริมในสาขาวิชาที่จำเป็นให้แก่นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในระดับการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการจัดระบบเทียบโอนและรับรองคุณวุฒิการศึกษา รวมทั้งใบประกอบวิชาชีพผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ และส่งเสริมให้มีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่
11. สนับสนุนและส่งเสริมองค์กรทางศาสนาทุกศาสนา ให้มีความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการทำนุบำรุงศาสนา เพื่อให้สถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาจริยธรรมและแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมและฟื้นฟูกิจการทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
12. ส่งเสริมและสนับสนุนอำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาให้แก่คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปแสวงบุญตามหลักศาสนาต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อให้ได้เรียนรู้แก่นแท้ของหลักธรรม เพื่อกลับมาเป็นเครือข่ายในการทำนุบำรุงศาสนา
13. ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานอัตลักษณ์และกิจกรรมทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
14. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย โดยการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้าน ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงสนามกีฬาในพื้นที่ ตำบล หมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
15. ส่งเสริม สนับสนุน การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโครงการ 33 โครงการ ตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2559 ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 42 โรงเรียน โดยโรงเรียนอุปถัมภ์จะทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนและจัดหาที่พักให้นักเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพให้เด็กเหล่านี้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป, โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสถานศึกษาร่วมจัดกิจกรรมกับชุมชนเกี่ยวกับศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีโครงการเพื่อพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 14 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาภาษาสู่สากลโลกอาเซียน, โครงการการจัดการเรียนการสอนในศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพฯ ประจำอำเภอห่างไกล, การจัดการเรียนการสอนคู่ขนาน (สอนอาชีพคู่กับเรียนศาสนา) เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล อีกทั้งบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพ ตลอดจนนักเรียนและนักศึกษาได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกประเทศ
4 . สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้ดำเนินโครงการ 4 โครงการตามแผนปฏิบัติการฯ อาทิ โครงการฝึกอาชีพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส, โครงการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและขยายผลการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการเติมปัญญาสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นต้น
5. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีจำนวนโครงการตามแผนปฏิบัติการฯ 8 โครงการ ซึ่งสอดคล้องกับจุดเน้นต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โครงการส่งเสริมการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบบูรณาการ, โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในศตวรรษที่ 21 เป็นต้น
6. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มี 10 โครงการ โดยกิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการสอนเสริม พัฒนาทักษะทางวิชาชีพแก่นักศึกษา ส่งเสริมการรักถิ่นฐานและพัฒนาชุมชน ตลอดจนการวิจัย โดยมีโครงการที่สำคัญในปี พ.ศ.2560 ได้แก่ โครงการสอนเสริมความรู้วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และภาษาต่างประเทศแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษโปรแกรม Science Mathematic Program (SMP)
7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีโครงการที่สำคัญ 3 โครงการ คือ โครงการศึกษาและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างชุมชนชายแดนใต้ต้นแบบ, โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี
8. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีจำนวนโครงการ 14 โครงการ อาทิ โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้แม่ลานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โครงการสถาบันพัฒนาครูชายแดนใต้ เป็นต้น
9. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีโครงการที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา นอกจากนี้สถาบันวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด สกอ. ได้ดำเนินการ 2 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการสนับสนุนบทบาทวิทยาลัยชุมชนในการส่งเสริมอาชีพในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
10. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 1 โครงการ คือ การเพิ่มศักยภาพบุคลากรจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ควบคู่กับการจัดการศึกษาทั้งในสถานศึกษารัฐและเอกชน
11. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดกิจกรรมย่อย อาทิ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
12. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการที่สำคัญ 4 โครงการ เช่น โครงการส่งเสริมและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมฯ, โครงการบูรณะโบราณสถานตึกขาว ซึ่งเป็นโบราณสถานของชาติเพื่ออนุรักษ์ให้เป็นสมบัติของชาติต่อไป
13. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมในแต่ละจังหวัด โดยสภาวัฒนธรรมเกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนที่มีความรู้ความสามารถและสมัครใจปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม อีกทั้งมีกิจกรรมอุดหนุนส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ซึ่งเป็นศูนย์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความเป็นมาของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้
14. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสร้างชุมชนศรัทธา (กัมปงตักวา) ตามโครงการประชารัฐ ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับวิทยากรในการเสวนาธรรม และจัดกิจกรรมเสวนาธรรมในพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ มีโครงการเสริมสร้างชุมชนตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่โครงการ 244 หมู่บ้าน ด้วยการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์และกิจกรรมเสวนาทางศาสนา
15. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมศาสนาและศิลปวัฒนธรรม และโครงการพัฒนาศาสนสถาน โดยมุ่งเน้นการสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา
16. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการสนับสนุนการศึกษา ส่งเสริมศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ด้วยการสร้างอุทยานการเรียนรู้, โครงการส่งเสริมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอาชีพและการมีงานทำทั้งในและต่างประเทศ, โครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาภายใต้ "ครอบครัวคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นพลเมืองดี", โครงการส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้น
นอกจาก นี้ ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ อีก 5 หน่วยงาน คือ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรมพลศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ก็ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวแล้วเช่นกัน
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารระดับสูง
ภายหลังการนำเสนอของหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว รมช.ศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ
นายอดินันท์ ปากบารา ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ : "ดีใจที่ได้เห็นทุกหน่วยงานคลี่งานที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ อะไรที่ทำร่วมกันได้จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนงาน โดยต้องช่วยกันสร้างการมีส่วนร่วม มีการพินิจพิเคราะห์การทำงานในแต่ละระดับอย่างเหมาะสม รวมทั้งต้องการสร้างการรับรู้ให้คนทั้งโลกรับรู้การทำงานการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) หรือหน่วยงานอื่น ๆ"
พล.ท.ธนะ เชียงทอง ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล : "ได้รับฟังแผนปฏิบัติการฯ ของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ได้มีการรับรู้และส่งงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดความสงบสุขอย่างแท้จริง พร้อมทั้งขอเสริมเรื่องภัยร้ายแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เรื่องยาเสพติด โดยขอให้หน่วยงานและสถาบันศึกษาทุกระดับทุกประเภทเตรียมมาตรการและแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น"
พล.อ.จำลอง คุณสงค์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล : "จากการรับฟังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหมด บางคนเห็นว่าการเรียนอิสลามศึกษาในสายสามัญ อาจจะดูเหมือนการแบ่งแยก แต่เห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการคิดมาดีแล้ว เพื่อพยายามดึงเด็กให้มาเรียนร่วมในโรงเรียนสายสามัญ เพื่อจะได้รับความรู้ทั้งสองด้าน ในขณะที่ประเทศมาเลเซียก็ไม่มีโรงเรียนสอนศาสนา เพราะมีแต่สายสามัญเท่านั้น นอกจากนี้เห็นด้วยกับการสร้างเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณลักษณะ 7 ประการ คือ แข็งแรง เก่ง เป็นคนดี มีจิตอาสา/บำเพ็ญประโยชน์ พัฒนาสู่อาชีพ/การมีงานทำ สังคมพหุวัฒนธรรม และก้าวรุกสู่นานาชาติ สำหรับการสูญเสียของครูที่ลดน้อยลงอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลของการทำงานร่วมกัน แม้จะเป็นเรื่องที่ น่าดีใจ แต่ก็ไม่ควรประชาสัมพันธ์ให้มากจนเกินไป เพราะอาจเป็นการท้าทายอีกทางหนึ่งได้"
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสรุปการประชุมในครั้งนี้ว่า การเริ่มต้นการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการทำงานของปีงบประมาณ จึงฝากหลักคิดส่วนตัวที่ได้ทำมาแล้วกว่า 20 ปี คือ
- แผนดี/ปฏิบัติดี อยู่ในระดับสูงสุดต่อการเกิดผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างมีประสิทธิภาพ - แผนไม่ดี/ปฏิบัติดี อยู่ในระดับที่สอง - แผนดี/ปฏิบัติไม่ดี อยู่ในระดับที่สาม
- แผนไม่ดี/ปฏิบัติไม่ดี อยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ หรือคาดหวังอะไรไม่ได้เลย
ทั้งนี้ หลักการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ขอให้มุ่งสู่เป้าหมายของ คปต. ซึ่งกำหนดไว้ 7 เป้าหมาย 15กลยุทธ์ ข้างต้น โดยขอให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานเชิงบูรณาการ และหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือ “กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า” ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 12 จังหวัดยะลา ได้รวบรวมและนำผลการชี้แจง ความเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการประชุมครั้งนี้ไปจัดทำเอกสารชี้แจงและแจกจ่ายให้ทุกหน่วยงานนำไปสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการและให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันด้วย
นอกจากนี้ ได้ขอให้เน้นการสร้างการรับรู้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้ทุกภาคส่วนถือเป็นแนวทางปฏิบัติการทำงาน ซึ่งไม่ใช่หมายถึงการประชาสัมพันธ์ การออกโทรทัศน์ วิทยุ หรือตีพิมพ์เผยแพร่ทางหน้าหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงานด้วย เพื่อให้บุคลากรได้เข้าใจข้อมูลการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งสามารถน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน คือ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" ให้เป็นรูปธรรมในการทำงานให้ได้
สำหรับการแต่งตั้งคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 57/2559 เรื่อง การปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือผู้แทนพิเศษของรัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 13 ราย โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองหัวหน้า รวมทั้ง พล.อ.อักษรา เกิดผล อดีตเสนาธิการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ, พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.สกล ชื่นตระกูล อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.ปราการ ชลยุทธ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.ท.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.จำลอง คุณสงค์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4, พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ อดีตผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายจำนัล เหมือนดำ อดีตรองเลขาธิการ ศอ.บต., นายพรชาต บุนนาค อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมี นายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นเลขาธิการ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลนั้น ถือเป็นคุณงามความดีที่ทุกท่านได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ประสานงาน ให้คำแนะนำ และรายงานการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรงกับนายกรัฐมนตรี เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า
ทั้งนี้ จะจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระดับพื้นที่ หรือ "คปต.ส่วนหน้า" เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายเลขานุการของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ขึ้นที่จังหวัดปัตตานี และจะย้ายสถานที่ทำงานของ "กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า" จากจังหวัดยะลาไปสถานที่แห่งเดียวกันในจังหวัดปัตตานีด้วย เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 416/2559การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้านการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม กลุ่มภารกิจงานที่ 4ปีงบประมาณ พ.ศ.2560
จังหวัดสงขลา - กระทรวงศึกษาธิการจัดการประชุมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม กลุ่มภารกิจงานที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2559 ระหว่างเวลา 10.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ อำเภอหาดใหญ่ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม แนวนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความสำคัญกับ "การเสริมสร้างเอกภาพ และประสิทธิภาพ" ในทุกระดับ โดยเฉพาะการบูรณาการแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ของกระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยกำหนดให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบกลุ่มภารกิจงาน 7 กลุ่ม คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กลุ่มการประเมินผล และกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้ ได้กำหนดให้มี คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) เพื่อทำหน้าที่การบูรณาการงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และมีผู้แทนกระทรวง กรม หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จำนวน 54 หน่วยงาน พร้อมทั้งจำแนกภารกิจงาน 7 งาน ประกอบด้วย 1. งานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. งานอำนวยความยุติธรรม และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 3. งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ 4. งานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม 5. งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ และคุณภาพชีวิตประชาชน 6. งานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ และการขับเคลื่อนนโยบายฯ 7. งานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี กำหนดให้ ศธ.เป็นเจ้าภาพกลุ่มภารกิจงานที่ 4 (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม) ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการนั้น รัฐบาลได้มอบหมายให้เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ "กลุ่มภารกิจงานที่ 4" (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ คสช. ได้ประกาศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 และเกิดความต่อเนื่องในการทำงานด้านต่าง ๆ จนส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในระดับต่าง ๆ สูงขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เช่น ผลการทดสอบ O-NET เป็นต้น สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 การประชุมครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ใน กลุ่มภารกิจงานที่ 4 (การศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม) ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ได้นำเสนอแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน (แบบบูรณาการ) ในการขับเคลื่อนภารกิจดังกล่าวให้เกิดความยั่งยืนและเกิดความสันติสุขในพื้นที่
แนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของกลุ่มภารกิจงานที่ 4 การนำเสนอแผนปฏิบัติการฯ ของ 5 หน่วยงานหลักดังกล่าว ดำเนินการ ภายใต้กรอบ การดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจำนวนทั้งสิ้น 2,777.777 ล้านบาท โดยมีแผนงาน/โครงการรองรับจำนวน 128 โครงการ อาทิ 1. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอภาพรวมของแผนปฏิบัติการฯ และแ นวทางดำเนินการใน การพัฒนาขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ตามเป้าหมาย 7 ด้าน ภายใต้จุดเน้น 7 ประการ และกลยุทธ์การดำเนินงาน 15 ข้อ ดังนี้ 7 เป้าหมาย 1. สถาบันการศึกษากลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้รับการยกระดับคุณภาพตามนโยบายรัฐ 2. บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3. นักเรียน และเยาวชน ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและต่างประเทศ 4. เด็ก เยาวชน และประชาชนผู้อยู่นอกระบบการศึกษา ได้รับความรู้และเพิ่มทักษะอาชีพ 5. ประชาชนในพื้นที่สามารถดำเนินวิถีชีวิตตามประเพณี ศาสนา และวัฒนธรรมของชุมชนและท้องถิ่น 6. อัตลักษณ์ทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมมากขึ้น 7. การจัดการศึกษาในพื้นที่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเกิดสัมฤทธิผลตามมาตรฐานการศึกษา โดยมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 7 จุดเน้น จุดเน้นที่ 1 การรักษาความปลอดภัย มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการสูญเสียและเพิ่มความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และสถานศึกษา อีกทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งนักเรียน มีความพึงพอใจที่ได้รับการดูแลและให้ความเชื่อมั่นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จุดเน้นที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีเป้าหมายคือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหลักเพิ่มขึ้น และร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ตรงตามสาระวิชาสำคัญ จุดเน้นที่ 3 การพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่ มีเป้าหมายคือ จำนวนนักเรียนที่เข้าเรียนต่อในโรงเรียนกีฬาเพิ่มขึ้น และผู้ปกครอง ชุมชน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมกีฬา จุดเน้นที่ 4 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง มีเป้าหมายคือ ชุมชน และผู้นำศาสนามีกิจกรรมร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมศาสนาและวัฒนธรรมมากขึ้น โดยสามารถวัดระดับความพึงพอใจของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาเพื่อส่งผลต่อความมั่นคงในด้านสังคมได้ จุดเน้นที่ 5 การสร้างโอกาสทางการศึกษา มีเป้าหมายคือ จำนวนนักเรียนทุนการศึกษาได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบมากขึ้น จำนวนนักเรียนเข้าเรียนสายอาชีพมากขึ้น อัตราการออกกลางคันลดลง และผู้จบการศึกษามีงานทำเพิ่มขึ้น จุดเน้นที่ 6 ด้านสร้างการรับรู้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและประชาชน ได้รับทราบ เกิดความเข้าใจความเคลื่อนไหวในการพัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดการศึกษา จุดเน้นที่ 7 การบริหารจัดการศึกษา มีเป้าหมายให้มีเอกภาพในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 15 กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาและสถานศึกษากลุ่มเสี่ยง 2. สร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา 3. เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองส่งบุตรเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐ 4. การสร้างเครือข่ายของโรงเรียนรัฐกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 5. ส่งเสริมและสนับสนุน ระบบนิเทศ ประเมิน และเฝ้าระวังคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาทุกประเภท 6. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็ง และการกระจายอำนาจให้กับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ และสร้างความตระหนักของชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นของชุมชนอย่างแท้จริง 7. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพครู บุคลากรทางการศึกษา และการจัดการศึกษาของโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนให้มีมาตรฐานเทียบเท่าพื้นที่อื่น 8. พัฒนาการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) สถาบันศึกษาปอเนาะ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพ และถูกต้องสอดคล้องตามหลักการศาสนา 9. เพิ่มภาษาในการประกอบอาชีพควบคู่ไปกับการจัดการศึกษา ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน 10. สร้างโอกาสทางการศึกษา และบูรณาการทุนการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการสอนเสริมในสาขาวิชาที่จำเป็นให้แก่นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในระดับการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการจัดระบบเทียบโอนและรับรองคุณวุฒิการศึกษา รวมทั้งใบประกอบวิชาชีพผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ และส่งเสริมให้มีบทบาทในการพัฒนาพื้นที่ 11. สนับสนุนและส่งเสริมองค์กรทางศาสนาทุกศาสนา ให้มีความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการทำนุบำรุงศาสนา เพื่อให้สถาบันทางศาสนาเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาจริยธรรมและแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา รวมทั้งส่งเสริมและฟื้นฟูกิจการทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น 12. ส่งเสริมและสนับสนุนอำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาให้แก่คนไทยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปแสวงบุญตามหลักศาสนาต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อให้ได้เรียนรู้แก่นแท้ของหลักธรรม เพื่อกลับมาเป็นเครือข่ายในการทำนุบำรุงศาสนา 13. ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสานอัตลักษณ์และกิจกรรมทางภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ 14. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย โดยการเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้าน ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงสนามกีฬาในพื้นที่ ตำบล หมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ 15. ส่งเสริม สนับสนุน การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีโครงการ 33 โครงการ ตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2559 ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เข้าศึกษาต่อในโรงเรียนชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 42 โรงเรียน โดยโรงเรียนอุปถัมภ์จะทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนและจัดหาที่พักให้นักเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพให้เด็กเหล่านี้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป, โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสถานศึกษาร่วมจัดกิจกรรมกับชุมชนเกี่ยวกับศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ 3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีโครงการเพื่อพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 14 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาภาษาสู่สากลโลกอาเซียน, โครงการการจัดการเรียนการสอนในศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพฯ ประจำอำเภอห่างไกล, การจัดการเรียนการสอนคู่ขนาน (สอนอาชีพคู่กับเรียนศาสนา) เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล อีกทั้งบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานวิชาชีพ ตลอดจนนักเรียนและนักศึกษาได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกประเทศ 4. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้ดำเนินโครงการ 4 โครงการตามแผนปฏิบัติการฯ อาทิ โครงการฝึกอาชีพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางโรงเรียนพระดาบส, โครงการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและขยายผลการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริสู่ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการเติมปัญญาสร้างความรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นต้น 5. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีจำนวนโครงการตามแผนปฏิบัติการฯ 8 โครงการ ซึ่งสอดคล้องกับจุดเน้นต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้โรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, โครงการส่งเสริมการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบบูรณาการ, โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในศตวรรษที่ 21 เป็นต้น 6. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มี 10 โครงการ โดยกิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการสอนเสริม พัฒนาทักษะทางวิชาชีพแก่นักศึกษา ส่งเสริมการรักถิ่นฐานและพัฒนาชุมชน ตลอดจนการวิจัย โดยมีโครงการที่สำคัญในปี พ.ศ.2560 ได้แก่ โครงการสอนเสริมความรู้วิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และภาษาต่างประเทศแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษโปรแกรม Science Mathematic Program (SMP) 7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีโครงการที่สำคัญ 3 โครงการ คือ โครงการศึกษาและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างชุมชนชายแดนใต้ต้นแบบ, โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธี 8. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีจำนวนโครงการ 14 โครงการ อาทิ โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้แม่ลานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โครงการสถาบันพัฒนาครูชายแดนใต้ เป็นต้น 9. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีโครงการที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ โครงการทุนอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนและเยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา นอกจากนี้สถาบันวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด สกอ. ได้ดำเนินการ 2 โครงการ คือ โครงการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของสังคมพหุวัฒนธรรมในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการสนับสนุนบทบาทวิทยาลัยชุมชนในการส่งเสริมอาชีพในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 10. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 1 โครงการ คือ การเพิ่มศักยภาพบุคลากรจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นการเพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพ ควบคู่กับการจัดการศึกษาทั้งในสถานศึกษารัฐและเอกชน 11. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดกิจกรรมย่อย อาทิ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น 12. กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการที่สำคัญ 4 โครงการ เช่น โครงการส่งเสริมและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมฯ, โครงการบูรณะโบราณสถานตึกขาว ซึ่งเป็นโบราณสถานของชาติเพื่ออนุรักษ์ให้เป็นสมบัติของชาติต่อไป 13. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมในแต่ละจังหวัด โดยสภาวัฒนธรรมเกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนที่มีความรู้ความสามารถและสมัครใจปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรม อีกทั้งมีกิจกรรมอุดหนุนส่งเสริมศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช ซึ่งเป็นศูนย์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความเป็นมาของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ 14. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสร้างชุมชนศรัทธา (กัมปงตักวา) ตามโครงการประชารัฐ ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับวิทยากรในการเสวนาธรรม และจัดกิจกรรมเสวนาธรรมในพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ มีโครงการเสริมสร้างชุมชนตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่โครงการ 244 หมู่บ้าน ด้วยการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์และกิจกรรมเสวนาทางศาสนา 15. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมศาสนาและศิลปวัฒนธรรม และโครงการพัฒนาศาสนสถาน โดยมุ่งเน้นการสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนทั้งในและนอกระบบการศึกษา 16. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการสนับสนุนการศึกษา ส่งเสริมศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ด้วยการสร้างอุทยานการเรียนรู้, โครงการส่งเสริมการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอาชีพและการมีงานทำทั้งในและต่างประเทศ, โครงการส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาภายใต้ "ครอบครัวคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นพลเมืองดี", โครงการส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่น ๆ อีก 5 หน่วยงาน คือ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรมพลศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ก็ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ข้อเสนอแนะของผู้บริหารระดับสูง ภายหลังการนำเสนอของหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว รมช.ศึกษาธิการ และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ นายอดินันท์ ปากบารา ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ : "ดีใจที่ได้เห็นทุกหน่วยงานคลี่งานที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ อะไรที่ทำร่วมกันได้จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนงาน โดยต้องช่วยกันสร้างการมีส่วนร่วม มีการพินิจพิเคราะห์การทำงานในแต่ละระดับอย่างเหมาะสม รวมทั้งต้องการสร้างการรับรู้ให้คนทั้งโลกรับรู้การทำงานการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) หรือหน่วยงานอื่น ๆ"พล.ท.ธนะ เชียงทอง ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล : "ได้รับฟังแผนปฏิบัติการฯ ของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ได้มีการรับรู้และส่งงานไปสู่เป้าหมายให้เกิดความสงบสุขอย่างแท้จริง พร้อมทั้งขอเสริมเรื่องภัยร้ายแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เรื่องยาเสพติด โดยขอให้หน่วยงานและสถาบันศึกษาทุกระดับทุกประเภทเตรียมมาตรการและแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ซึ่งอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น"พล.อ.จำลอง คุณสงค์ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล : "จากการรับฟังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหมด บางคนเห็นว่าการเรียนอิสลามศึกษาในสายสามัญ อาจจะดูเหมือนการแบ่งแยก แต่เห็นว่ากระทรวงศึกษาธิการคิดมาดีแล้ว เพื่อพยายามดึงเด็กให้มาเรียนร่วมในโรงเรียนสายสามัญ เพื่อจะได้รับความรู้ทั้งสองด้าน ในขณะที่ประเทศมาเลเซียก็ไม่มีโรงเรียนสอนศาสนา เพราะมีแต่สายสามัญเท่านั้น นอกจากนี้เห็นด้วยกับการสร้างเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีคุณลักษณะ 7 ประการ คือ แข็งแรง เก่ง เป็นคนดี มีจิตอาสา/บำเพ็ญประโยชน์ พัฒนาสู่อาชีพ/การมีงานทำ สังคมพหุวัฒนธรรม และก้าวรุกสู่นานาชาติ สำหรับการสูญเสียของครูที่ลดน้อยลงอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลของการทำงานร่วมกัน แม้จะเป็นเรื่องที่ น่าดีใจ แต่ก็ไม่ควรประชาสัมพันธ์ให้มากจนเกินไป เพราะอาจเป็นการท้าทายอีกทางหนึ่งได้" พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวสรุปการประชุมในครั้งนี้ว่า การเริ่มต้นการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นการทำงานของปีงบประมาณ จึงฝากหลักคิดส่วนตัวที่ได้ทำมาแล้วกว่า 20 ปี คือ - แผนดี/ปฏิบัติดี อยู่ในระดับสูงสุดต่อการเกิดผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างมีประสิทธิภาพ - แผนไม่ดี/ปฏิบัติดี อยู่ในระดับที่สอง - แผนดี/ปฏิบัติไม่ดี อยู่ในระดับที่สาม
-แผนไม่ดี/ปฏิบัติไม่ดี อยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ หรือคาดหวังอะไรไม่ได้เลย ทั้งนี้ หลักการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ ขอให้มุ่งสู่เป้าหมายของ คปต. ซึ่งกำหนดไว้ 7 เป้าหมาย 15กลยุทธ์ ข้างต้น โดยขอให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ได้มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนงานเชิงบูรณาการ และหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) หรือ “กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า” ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่สำนักงานศึกษาธิการ ภาค 12 จังหวัดยะลา ได้รวบรวมและนำผลการชี้แจง ความเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากการประชุมครั้งนี้ไปจัดทำเอกสารชี้แจงและแจกจ่ายให้ทุกหน่วยงานนำไปสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการและให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันด้วย นอกจากนี้ ได้ขอให้เน้นการสร้างการรับรู้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้ทุกภาคส่วนถือเป็นแนวทางปฏิบัติการทำงาน ซึ่งไม่ใช่หมายถึงการประชาสัมพันธ์ การออกโทรทัศน์ วิทยุ หรือตีพิมพ์เผยแพร่ทางหน้าหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงานด้วย เพื่อให้บุคลากรได้เข้าใจข้อมูลการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งสามารถน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน คือ "เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา" ให้เป็นรูปธรรมในการทำงานให้ได้สำหรับการแต่งตั้งคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 57/2559 เรื่อง การปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือผู้แทนพิเศษของรัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 13 ราย โดยมีพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้า โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองหัวหน้า รวมทั้ง พล.อ.อักษรา เกิดผล อดีตเสนาธิการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ, พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.สกล ชื่นตระกูล อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.ปราการ ชลยุทธ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.ท.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.จำลอง คุณสงค์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4, พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 4, พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ อดีตผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายจำนัล เหมือนดำ อดีตรองเลขาธิการ ศอ.บต., นายพรชาต บุนนาค อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมี นายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีตเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นเลขาธิการ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลนั้น ถือเป็นคุณงามความดีที่ทุกท่านได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ประสานงาน ให้คำแนะนำ และรายงานการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรงกับนายกรัฐมนตรี เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า ทั้งนี้ จะจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระดับพื้นที่ หรือ "คปต.ส่วนหน้า" เพื่อทำหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายเลขานุการของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ขึ้นที่จังหวัดปัตตานี และจะย้ายสถานที่ทำงานของ"กระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า" จากจังหวัดยะลาไปสถานที่แห่งเดียวกันในจังหวัดปัตตานีด้วย เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น