อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 424/2559รมช.ศธ. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ"
จังหวัดชลบุรี - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ" ในการเสวนา เรื่อง แรงงานยุคไทยแลนด์ 4.0 เมื่อวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2559 ณ สถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยมีนายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผศ.ดร.บรรพต วิรุณราช คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะสีชัง, ผู้บริหารสถานประกอบการ, ผู้ประกอบการ ตลอดจนอาจารย์ นักวิชาการ นักการศึกษา และนักศึกษา ร่วมรับฟัง
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีหลายสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ส่งเสริมให้เด็กมีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต้องร่วมมือกันวางแผนให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สามารถแข่งขันกับเวทีโลกได้
เมื่อเดือนมกราคม 2559 ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมความพร้อมในทุกด้าน ด้วยการวางยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา กำหนดกลยุทธ์และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนตามที่รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งจำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก สงขลา นราธิวาส มุกดาหาร นครพนม หนองคาย สระแก้ว ตราด และกาญจนบุรี
กระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวทางในการปรับปรุงแผนการศึกษาให้สอดคล้องและรองรับกับความต้องการของการพัฒนาตามบริบทของแต่ละพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยมุ่งเน้นผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมทั้งสร้างทักษะทางวิชาชีพ ด้วยการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574
นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในการ ดำเนินการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีผลการวิจัยที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
-
คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด สามารถนำผลการศึกษาวิจัยในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไปใช้ในการจัดทำแผนการศึกษาตามยุทธศาสตร์และบริบทของแต่ละจังหวัดได้
-
สถานศึกษาในทุกระดับมีหลักสูตรการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ รวมทั้งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอาชีพได้ตรงตามความต้องการของพื้นที่
-
มีงานวิจัยที่พัฒนาความรู้ทางธุรกิจที่เหมาะสมกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมการตลาด-การขาย, การเงิน-การบัญชี, และการพัฒนาคน-องค์กร ที่จะนำมาพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อไป
-
ในระดับกระทรวง มีแนวทางการพัฒนาโดยจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับกระทรวง เพื่อดำเนินงาน อำนวยการ และประสานงาน
-
หลักสูตรการเรียนการสอนมีจำนวนชั่วโมงเรียนด้านการบริหารธุรกิจและการประกอบการน้อยมาก หากเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแล้ว ต้องเพิ่มจำนวนชั่วโมงที่สอนด้านการบริหารและการประกอบการมากขึ้น เพื่อทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในแนวทางที่ดีขึ้น อีกทั้งผู้บริหารสถานศึกษาและครูสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการศึกษาได้
ทั้งนี้ ในอนาคตมีแนวทางที่จะจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครได้ โดยคาดว่าจะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้า การท่องเที่ยว ฯลฯ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 424/2559รมช.ศธ. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ"
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีหลายสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ส่งเสริมให้เด็กมีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต้องร่วมมือกันวางแผนให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สามารถแข่งขันกับเวทีโลกได้
เมื่อเดือนมกราคม 2559 ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมความพร้อมในทุกด้าน ด้วยการวางยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา กำหนดกลยุทธ์และวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีความเชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนตามที่รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งจำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ตาก สงขลา นราธิวาส มุกดาหาร นครพนม หนองคาย สระแก้ว ตราด และกาญจนบุรี
กระทรวงศึกษาธิการจึงมีแนวทางในการปรับปรุงแผนการศึกษาให้สอดคล้องและรองรับกับความต้องการของการพัฒนาตามบริบทของแต่ละพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยมุ่งเน้นผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พร้อมทั้งสร้างทักษะทางวิชาชีพ ด้วยการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574
นอกจากนี้ ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาในการ ดำเนินการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีผลการวิจัยที่สำคัญโดยสรุป ดังนี้
- คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด สามารถนำผลการศึกษาวิจัยในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไปใช้ในการจัดทำแผนการศึกษาตามยุทธศาสตร์และบริบทของแต่ละจังหวัดได้
- สถานศึกษาในทุกระดับมีหลักสูตรการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ รวมทั้งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอาชีพได้ตรงตามความต้องการของพื้นที่
- มีงานวิจัยที่พัฒนาความรู้ทางธุรกิจที่เหมาะสมกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครอบคลุมการตลาด-การขาย, การเงิน-การบัญชี, และการพัฒนาคน-องค์กร ที่จะนำมาพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อไป
- ในระดับกระทรวง มีแนวทางการพัฒนาโดยจะดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการบูรณาการการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับกระทรวง เพื่อดำเนินงาน อำนวยการ และประสานงาน
- หลักสูตรการเรียนการสอนมีจำนวนชั่วโมงเรียนด้านการบริหารธุรกิจและการประกอบการน้อยมาก หากเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแล้ว ต้องเพิ่มจำนวนชั่วโมงที่สอนด้านการบริหารและการประกอบการมากขึ้น เพื่อทำให้เยาวชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในแนวทางที่ดีขึ้น อีกทั้งผู้บริหารสถานศึกษาและครูสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนการศึกษาได้
ทั้งนี้ ในอนาคตมีแนวทางที่จะจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และเป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครได้ โดยคาดว่าจะมีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้า การท่องเที่ยว ฯลฯ ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น