อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-นายกรัฐมนตรีพบเพื่อนครู + การศึกษาไทยศตวรรษ 21 นี่
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี 2559
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 437/2559
การประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาพหุภาษา ( Multilingual Education )
โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน 5th International Conference on Language and Education "Sustainable Development Through Multilingual Education" จัดโดย UNESCO, unicef และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2559 โดยมี Dr Gwang-Jo Kim ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ, รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ตลอดจนนักวิชาการและนักการศึกษาจากนานาประเทศ เข้าร่วมงานกว่า 500 คน
Dr Gwang-Jo Kim ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับ unicef และหน่วยงานอื่น ๆ จัดการประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาพหุภาษา ( Multilingual Education) ในครั้งนี้ เพราะประเทศไทยมีความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยพหุภาษาเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาศึกษาวิจัย และที่ผ่านมาหลายประเทศก็ให้ความสำคัญและกำหนดให้พหุภาษาส่วนหนึ่งในนโยบายของประเทศ
การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและการวิจัยเกี่ยวกับพหุภาษาในบริบทต่าง ๆ อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติในโลกที่การศึกษามีความแพร่หลาย เนื่องจากการศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนอันดับแรกที่จะทำให้เกิดการพัฒนา
ดังนั้น การประชุมวิชาการพหุภาษาจึงมีคุณค่าอย่างมาก พร้อมทั้งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่จะนำไปสู่ความสำเร็จด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ตลอดจนเชื่อมโยงกับการศึกษาตลอดชีวิตของมนุษยชาติด้วย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ บรรยายในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า การรับรู้ทางภาษา (Language Acquisition) และนโยบายด้านภาษา (Language Policy) เป็นประเด็นสำคัญ และเนื่องจากประเทศไทยมีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค จึงจำเป็นต้องมีนโยบายด้านภาษาเพื่อทำให้ความหลากหลายต่าง ๆ มีความเป็นหนึ่งเดียว
อีกทั้งภาษายังเป็นเครื่องมือในการที่จะเข้าถึงวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาการศึกษา ดังคำกล่าวของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงสองท่านที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรม ได้แก่Matthew Arnold กล่าวไว้ว่า “Culture is to know the best that has been said and thought in the world.” และ Samuel Taylor Coleridge กล่าวไว้ว่า “Language is the armoury of the human mind, and at once contains the trophies of its past and the weapons of its future conquests.”
สำหรับนโยบายอื่น ๆ ด้านภาษานั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้มีความเป็นสากล เช่น เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการอบรมครูให้มีความเข้มข้นมากขึ้น, ปรับหลักสูตรด้วยการเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.1-ป.3 จากสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเป็นสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง เป็นต้น พร้อมทั้งได้ทำการวิเคราะห์สิ่งที่เด็กต้องการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งพบว่าเด็กไม่ได้ต้องการเรียนเพียงแค่ไวยากรณ์ เพราะระบบการศึกษาของไทย เด็กจะได้เรียนภาษาอังกฤษนานที่สุดประมาณ 12 ปี ซึ่งเน้นการสอนไวยากรณ์ ดังนั้น เด็กจะได้คะแนนการสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับดีมาก แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Functional English) และคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการตอนนี้ คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ถวายงานในโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในพื้นที่ชายแดนมีการใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ภาษาชาติพันธุ์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่การประชุมในวันนี้ได้ยกขึ้นมาหารือด้วย
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือ การส่งเสริมให้เด็กมองเห็นและเข้าใจความเท่าเทียมทางการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เด็กทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นหนึ่งในนโยบายการศึกษาชาติที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังเร่งดำเนินการด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายพัฒนาเด็กไทยให้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่แม้จะมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ 100% แต่ในความเป็นจริงเด็กสามารถอ่านได้ แต่อาจจะสะกดคำไม่ถูกต้อง หรือไม่สามารถจับใจความจากการอ่านได้ เป็นต้น ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการต้องมีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหานี้เช่นกัน
การประชุมครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านได้เรียนรู้โลกของเรามากขึ้น และขอให้ทุกท่านมีช่วงเวลาที่มีความสุขในประเทศไทย แม้ว่าเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ สวรรคต หวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านจะได้เห็นวัฒนธรรมและประเพณีโบราณของไทยซึ่งคงคุณค่าอย่างมาก พร้อมทั้งจะได้เห็นภาพความจงรักภักดีที่พสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้พร้อมใจยืนสงบนิ่งเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นเวลา 1 นาทีด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบ รอบรู้ ชุด 316 โรงเรียนประชารัฐ แผนการศึกษาชาติใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับ 12 by ProProfs » Quiz Created With ProProfs
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 437/2559
การประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาพหุภาษา ( Multilingual Education )
Dr Gwang-Jo Kim ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับ unicef และหน่วยงานอื่น ๆ จัดการประชุมวิชาการนานาชาติการศึกษาพหุภาษา ( Multilingual Education) ในครั้งนี้ เพราะประเทศไทยมีความหลากหลายทางด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยพหุภาษาเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาศึกษาวิจัย และที่ผ่านมาหลายประเทศก็ให้ความสำคัญและกำหนดให้พหุภาษาส่วนหนึ่งในนโยบายของประเทศ
การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ จะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและการวิจัยเกี่ยวกับพหุภาษาในบริบทต่าง ๆ อีกทั้งได้แลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติในโลกที่การศึกษามีความแพร่หลาย เนื่องจากการศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนอันดับแรกที่จะทำให้เกิดการพัฒนา
ดังนั้น การประชุมวิชาการพหุภาษาจึงมีคุณค่าอย่างมาก พร้อมทั้งเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่จะนำไปสู่ความสำเร็จด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ ตลอดจนเชื่อมโยงกับการศึกษาตลอดชีวิตของมนุษยชาติด้วย
อีกทั้งภาษายังเป็นเครื่องมือในการที่จะเข้าถึงวัฒนธรรมและเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับการพัฒนาการศึกษา ดังคำกล่าวของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงสองท่านที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรม ได้แก่Matthew Arnold กล่าวไว้ว่า “Culture is to know the best that has been said and thought in the world.” และ Samuel Taylor Coleridge กล่าวไว้ว่า “Language is the armoury of the human mind, and at once contains the trophies of its past and the weapons of its future conquests.”
สำหรับนโยบายอื่น ๆ ด้านภาษานั้น กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษให้มีความเป็นสากล เช่น เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการอบรมครูให้มีความเข้มข้นมากขึ้น, ปรับหลักสูตรด้วยการเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.1-ป.3 จากสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเป็นสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง เป็นต้น พร้อมทั้งได้ทำการวิเคราะห์สิ่งที่เด็กต้องการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งพบว่าเด็กไม่ได้ต้องการเรียนเพียงแค่ไวยากรณ์ เพราะระบบการศึกษาของไทย เด็กจะได้เรียนภาษาอังกฤษนานที่สุดประมาณ 12 ปี ซึ่งเน้นการสอนไวยากรณ์ ดังนั้น เด็กจะได้คะแนนการสอบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษในระดับดีมาก แต่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (Functional English) และคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการตอนนี้ คือ การสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ถวายงานในโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในพื้นที่ชายแดนมีการใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ภาษาชาติพันธุ์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่การประชุมในวันนี้ได้ยกขึ้นมาหารือด้วย
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือ การส่งเสริมให้เด็กมองเห็นและเข้าใจความเท่าเทียมทางการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เด็กทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นหนึ่งในนโยบายการศึกษาชาติที่กระทรวงศึกษาธิการกำลังเร่งดำเนินการด้วย
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายพัฒนาเด็กไทยให้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเด็กไทยส่วนใหญ่แม้จะมีอัตราการอ่านออกเขียนได้ 100% แต่ในความเป็นจริงเด็กสามารถอ่านได้ แต่อาจจะสะกดคำไม่ถูกต้อง หรือไม่สามารถจับใจความจากการอ่านได้ เป็นต้น ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการต้องมีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหานี้เช่นกัน
การประชุมครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกท่านได้เรียนรู้โลกของเรามากขึ้น และขอให้ทุกท่านมีช่วงเวลาที่มีความสุขในประเทศไทย แม้ว่าเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ สวรรคต หวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านจะได้เห็นวัฒนธรรมและประเพณีโบราณของไทยซึ่งคงคุณค่าอย่างมาก พร้อมทั้งจะได้เห็นภาพความจงรักภักดีที่พสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร
-คลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น