หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   


ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561

title
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เราทุกคนคงได้เห็น ได้ชื่นชม “ธงชาติไทย” โบกสะบัดเหนือธงชาติอื่นอีกครั้ง ด้วยความสำเร็จสูงสุดในชีวิตของ “น้องมิลค์” ด.ญ.วัลยา วรรณพงษ์ วัย 11 ปี ในการชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน World Drone Racing Championships ประเภทหญิง ที่ประเทศจีน โดยสามารถเอาชนะคู่แข่งที่มีอายุมากกว่า หลายร้อยรายจากทั่วโลก  นับว่าเป็น“แชมป์โลก โดรน” อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งก็เป็นลูกหลานไทยของเรา ทั้งนี้การแข่งขันบังคับโดรน หากใครได้ติดตามก็จะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากจะแข่งขันเรื่องความเร็วแล้ว ยังต้องบังคับทิศทางหลบหลีกสิ่งกีดขวาง  ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะและสมาธิสูงในระหว่างการแข่งขัน รวมทั้งต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนจากครอบครัวเป็นสำคัญ

สิ่งที่ผมประทับใจในตัว “น้องมิลค์” นอกเหนือจากชัยชนะในครั้งนี้แล้ว ยังมีอีกหลายประการ อาทิ ความมีวินัยและรู้จักแบ่งเวลาเรียน เวลาฝึกซ้อม ทั้งการซ้อมตอนเย็นหลังจากทำการบ้านเสร็จ ทั้งการซ้อมอย่างต่อเนื่องในช่วงปิดเทอม การมองไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่น และมีเป้าหมายที่ชัดเจน แล้ววางแผนการปฏิบัติ การฝึกฝน การแข่งขันเพื่อจะพิชิตความฝันที่จะเป็นแชมป์โลกในทุกสนาม ที่น่าสนใจก็คือ การให้สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ คุณสมบัติเหล่านี้ ผมถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายกย่องสำหรับตัวเยาวชนเอง และผู้ปกครองที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จด้วยเช่นกัน

จากเรื่องราวของ “สาวน้อยมหัศจรรย์ - น้องมิลค์” นี้ ผมขอเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชนชาวไทย แสดงความชื่นชมในความสามารถ และความสำเร็จครั้งนี้  โดยขอให้รักษาระดับมาตรฐานของตน พร้อมทั้งมีการพัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมคิดว่า “น้องมิลค์” น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายคนที่กำลังพยายามทำอะไรอยู่ก็ตาม อย่าให้ความท้อแท้มาเป็นอุปสรรคของชีวิต เพราะไม่มีอะไรที่จะเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เราต้องลงมือทำ ต้องค้นคว้าหาความรู้ ต้องมีแผนการและดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน นอกจากนี้ เราต้องอย่าหยุดยั้งที่จะพัฒนาตนเอง เพราะ ชีวิตคือการเรียนรู้นะครับ
 
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
จากเรื่องราวความสำเร็จที่กล่าวมา วันนี้ผมมีเรื่องที่จะพูดคุยกับพี่น้องประชาชน 2 เรื่อง ที่มีความเชื่อมโยงกันได้แก่ การศึกษาและวิทยาศาสตร์ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และประเทศชาติ 
เรื่องแรก “การศึกษา” เราอาจมองปัญหาได้ในหลายมิติ อาทิ ผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหาร และสถานศึกษา ซึ่งหมายรวมถึงหลักสูตรและโครงสร้างพื้นฐานด้วย ซึ่งก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง สะสมมานานนับสิบปี ที่รอการปฏิรูปทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม  โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการในลักษณะแผนแม่บทระยะยาว แต่ในวันนี้ผมขอยกบางส่วนที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหา “โรงเรียนขนาดเล็ก” ที่มีนักเรียนต่ำกว่า 50 คน โดยเฉพาะระดับประถมศึกษานั้นได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนครูเฉลี่ยต่ำกว่า 1 คนต่อห้องเรียน พูดง่าย ๆ ก็คือ โรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีครูไม่ครบชั้นหรือครู 1 คน ต้องรับภาระการสอนในหลายชั้นและหลายวิชา ส่งผลทางลบเรื่องคุณภาพการศึกษาต่อเด็กนักเรียน อีกทั้ง โรงเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นชนบทห่างไกล นักเรียนส่วนใหญ่ก็ขาดโอกาสในการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบาย “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ที่เน้นการพัฒนาโรงเรียนเหล่านั้นให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง สร้างความเท่าเทียมให้ครอบคลุม ทั่วประเทศ เพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ เป็นการสร้างโรงเรียนให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน มีอุปกรณ์ครบครันและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีผู้บริหารและครูที่มีประสิทธิภาพ และทุกภาคมีส่วนร่วมในการสนับสนุนซึ่งถือเป็นหลักประกันให้กับชุมชนว่า โรงเรียนคุณภาพเหล่านี้ จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกหลานได้รับความรู้ กระบวนการ และทักษะ ที่จำเป็นต่อการธำรงตน ดำรงชีวิต ในการเป็นพลเมืองไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

โดยในปีงบประมาณ 2562 จะเริ่มดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนระดับประถมศึกษาในระดับตำบลก่อน แล้วพัฒนาไปสู่โรงเรียนมัธยมศึกษา ในระดับอำเภอ และโรงเรียนพื้นที่พิเศษตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาไทยเชิงระบบอย่างแท้จริง ไม่ต้องคอยนะครับ ช่วยกันทำต่อ ๆ ไปก็จะเร็วขึ้น นโยบาย “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ”หรือ “โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล” นี้ ก็จะทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในชุมชน หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน  สร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้เข้ามาพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม และเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน มีความเชื่อมั่นที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง  ทั้งนี้ โรงเรียนและชุมชนจะร่วมกันจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย มีสมรรถนะที่สำคัญ  มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสุขภาวะทางร่างกาย  มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลก็ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ปีงบประมาณ 2562 - 2564) ดังนี้

ระยะที่ 1 ตรวจสอบและเปิดรับ เป็นการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล บนสภาพพื้นฐานของโรงเรียนเอง โดยเริ่มจากการประเมินตนเองของโรงเรียน  เทียบกับมาตรฐานการศึกษา  สร้างการรับรู้และปรับทัศนคติให้กับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ตรงกัน และการสร้างเครือข่ายการพัฒนา โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานในท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

ระยะที่ 2 เป็นการเสริมความรู้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และชุมชน ในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล  การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการศึกษาและการบริหารการศึกษา  การยกระดับขีดความสามารถของผู้บริหารของโรงเรียน ให้สอดคล้องการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ปัจจุบัน

การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาทักษะ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเอื้อต่อสร้างทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ การต่อยอดการพัฒนา ทั้งด้านกายภาพ การบริหารจัดการ และการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การยกระดับเครือข่ายการพัฒนาระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมไปถึง การสนับสนุนให้มีการสร้างสื่อและนวัตกรรมด้านการบริหาร และด้านการจัดการเรียนรู้ เพื่อจะเป็นคลังความรู้ให้กับโรงเรียน 

และ ระยะที่ 3  พัฒนาสู่ “โรงเรียนของชุมชน” เมื่อโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนแล้ว ทั้งด้านกายภาพและคุณภาพแล้ว จำเป็นต้องสร้างทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ เพื่อสร้างความยั่งยืนของการเป็น “โรงเรียนของชุมชน” อาทิ การติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล การขยายผล ต่อยอด การดำเนินการ ในระยะที่ 1 และ 2 การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อร่วมกันพัฒนาโรงเรียน การถอดบทเรียนจากการพัฒนา จากโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านแนวทางการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นต้น
ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีนโยบายดังกล่าวนี้ รัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษามาโดยตลอด ได้แก่ การจัดรถโมบายคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่, การหมุนเวียนครูเข้าสอน, การพัฒนาครูด้านภาษาอังกฤษ  ICT,  e-learning,  การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันทรัพยากร, การใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม, การจัดสรรสื่อ อุปกรณ์ งบประมาณ, การส่งเสริมรูปแบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องบริบท เช่น เรียนรวมทั้งโรงเรียน, เรียนรวมเป็นช่วงชั้น,  เรียนรวมบางวิชา,  เรียนคละชั้น, เรียนแบบบูรณาการ เป็นต้น  นอกจากนี้ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อให้สอดรับการยกระดับคุณภาพ “โรงเรียนขนาดเล็ก” โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เร่งพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ไปสู่ “โรงเรียนดีศรีตำบล” การเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัวให้นักเรียน  การส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม อีกทั้งสร้างวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ เช่น เสอเพลอโมเดล, เครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล, สามเกลอโมเดล, ไตรภาคี, ศูนย์ปัญจวิทยาคาร, เครือข่ายเรียนร่วม “ภูหลวงพัฒนา”  เป็นต้น

ปัจจุบัน รัฐบาลได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยนำฐานข้อมูลโรงเรียนต้นแบบประเภทต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัด มาพิจารณา อาทิ โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนดีประจำตำบล เป็นต้น ซึ่งมีการกระจายตัวในทุกจังหวัดและมีจุดเน้นของทั้ง 2 โครงการ ที่จะลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา โดยสร้างความเข้มแข็งของโรงเรียนที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการจัดการศึกษา และสามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต เรื่องการปฏิรูปการศึกษานั้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพันอยู่หลายภาคส่วนด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวนักเรียน ต้องสนใจการเรียน การเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราพัฒนาโรงเรียน พัฒนาครู พัฒนาวิธีการสอนไปแล้ว แต่นักเรียนไม่สนใจในเวลาเรียน หรือไปสนใจอย่างอื่นมากกว่าการเรียนการศึกษา อันนี้เราไม่อาจจะปฏิรูปได้ทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้น ก็ขอฝากไปยังนักเรียนด้วย เพราะฉะนั้นครูก็ต้องหาวิธีการสอนที่สอดคล้องกับเด็กในยุคปัจจุบันนี้ ไม่อย่างนั้นแล้วเราก็จะไม่สำเร็จสักเรื่องหนึ่ง แล้วก็ถูกตำหนิต่อว่ามาเรื่อย ๆ กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหมดต้องร่วมมือกัน ตั้งแต่ อนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา อาชีวะ เหล่านี้ หรือโรงเรียนพิเศษอื่น ๆ เรามีหลายกลุ่มด้วยกัน สำหรับคนรุ่นใหม่ แล้วปัจจุบันด้วย อย่าลืมเรื่องภาษาอังกฤษ หาวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่ครู นักเรียน นักศึกษา จะมีความสนใจ และมีส่วนร่วมไปด้วยกัน  เราจะได้ประสบความสำเร็จเสียที เป็นเรื่องของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ในการพัฒนาด้านการศึกษาที่ผมกล่าวไปนั้น ผมก็คาดหวังว่าจะช่วยเสริมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของไทยได้ในวันข้างหน้า เพื่อให้เด็ก เยาวชน คนไทยได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง และมาร่วมแรง ร่วมใจกัน "สร้างไทยไปด้วยกัน" ครับ
 
พี่น้องประชาชน ครับ
สำหรับเรื่องที่ 2 คือ “วิทย์สร้างคน คนสร้างชาติ” นั้น เราจะเห็นได้ว่าประเทศที่มีรายได้สูง ล้วนขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่มีวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนประเทศ ให้ก้าวเข้าสู่ “เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม” โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้และโอกาสไปสู่ภูมิภาค ซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ตามนโยบาย ประเทศไทย 4.0 โดยแบ่งการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ออกเป็นทั้งหมด 13 กลุ่มงานหลัก ผมขอยกตัวอย่าง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1. เกษตรกรยุคดิจิทัล เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต และพัฒนาภาคการเกษตรของไทยให้ยั่งยืนในอนาคต ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้  โดยการนำเทคโนโลยี “ฟาร์มอัจฉริยะ” ที่ใช้เทคโนโลยี IOT มาช่วยบริหารและสนับสนุนในการตัดสินใจ อาทิ ระบบติดตามสภาวะแวดล้อม และการให้น้ำแก่สวนผลไม้ ระบบเก็บบันทึกข้อมูล เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง เพื่อจะช่วยให้การบริหารจัดการฟาร์ม สามารถประหยัดน้ำและลดค่าไฟ จากการให้น้ำเกินความจำเป็น เป็นต้น

2. วิทยาศาสตร์เพื่อชุมชน เป็นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายให้กับชุมชน เช่น การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานในการบริหารจัดการน้ำให้ชุมชนนอกเขตชลประทาน โดยการใช้เทคโนโลยี และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำสำรองสะสม ลดผลกระทบจากภัยแล้ง และเพิ่มผลผลิตเกษตรในฤดูแล้ง ที่ผ่านมาได้ขยายผลในวงกว้างขึ้น ดำเนินการไปแล้วเกือบ 1,500 หมู่บ้าน ช่วยลดผลกระทบจากอุทกภัย - ภัยแล้งได้ ราว 350,000 ครัวเรือน  นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับชุมชน เช่น การสร้างเตาชีวมวล โดยใช้วัตถุดิบเศษไม้ในพื้นที่ ที่ช่วยลดการใช้ก๊าซหุงต้ม การสร้างเครื่องกรองน้ำอ่อน เพื่อประหยัดการซื้อน้ำบรรจุขวด และการถ่ายทอดวิธีการพัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ เช่น  ปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสำหรับพืชแต่ละชนิด หรือชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืช เพื่อลดการใช้ยาเคมี อีกทั้งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการแปรรูปให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น การใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้า ทำให้ผ้าสีไม่ตก เป็นต้น ซึ่งกลไกทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ครอบคลุมทั่วประเทศ

3. การยกระดับไปสู่ “ประเทศผู้ผลิต” โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจการคิดค้น พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเยาวชนจะได้เรียนรู้ถึงเครื่องมือการเรียนรู้แบบใหม่ และมีโอกาสในการสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เพื่อจะต่อยอดการเรียนรู้แบบ “เรียนและเล่นไปด้วยกัน” หรือเรียกว่า “เพลิน” เพื่อความสนุกสนานในการประดิษฐ์ชิ้นงานใหม่จากความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ไร้ข้อจำกัด โดยรัฐบาลได้สร้าง “โรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม” ในโรงเรียน 150 แห่ง มีการสร้างระบบชมรมนักประดิษฐ์ และสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอน เพื่อกระจายให้เยาวชนมีโอกาสและเข้าถึง ได้การเรียนรู้จากอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัย ที่มีการใช้แพร่หลายในต่างประเทศ

4. วิชาชีพแห่งอนาคต ที่จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ในการเรียนรู้ของเยาวชน ให้การเห็นความก้าวหน้าทางสายอาชีพทางวิทยาศาสตร์ โดยรัฐบาลได้มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งใหม่ อาทิ ฟิวเจอร์เรียม พิพิธภัณฑ์พระราม 9 ขยายมหกรรมวิทยาศาสตร์และคาราวานวิทยาศาสตร์ไปสู่ทุกภูมิภาค ซึ่งจะเป็นการเตรียมคนไทยในศตวรรษที่ 21 สร้างทักษะการทำงานที่เหมาะสมกับงานในอนาคต ให้กับคนวัยแรงงานในปัจจุบัน

5. การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นฐานข้อมูลกลางของประเทศ เช่น คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศ ซึ่งสามารถจะนำมาใช้ในการคาดการณ์และ สนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการที่ดี การบริหารจัดการพื้นที่ อีกทั้งควบคุมการผลิต รวมถึง สนับสนุนข้อมูลการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤต เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที โดยมีการพัฒนาเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่น ThaiWater เพื่อให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะเกษตรกร สามารถติดตามสถานการณ์น้ำและอากาศได้ด้วยตนเอง
6. โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการของอุตสาหกรรมอาหาร  การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ SMEs Startups และบรรษัทข้ามชาติ ที่อยู่ในวงจรห่วงโซ่อาหาร สำหรับเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการดึงดูดให้หน่วยงานวิจัยภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เข้ามาลงทุนด้านการวิจัย ในประเทศ ณ พื้นที่แห่งนี้ ซึ่งในอนาคตก็มีแผนที่จะขยาย “เมืองนวัตกรรมอาหาร” เพิ่มอีก 15 แห่งทั่วประเทศ มีมูลค่าการลงทุนรวมมากกว่า 3,200 ล้านบาท

7. เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่เป็นการสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ที่มีความเข้มข้นของงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวมทั้งห้องปฏิบัติการวิจัย ทั้งภาครัฐ และเอกชน โรงงานต้นแบบ โรงงานสาธิต เพื่อจะพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และ ส่งเสริมให้เกิด Startups ที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ
และ 8. สตาร์ทอัพ เนชั่น ได้แก่ สร้างธุรกิจทางเศรษฐกิจใหม่ รวมถึง การสร้าง “นักรบทางเศรษฐกิจใหม่” เพื่อจะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจที่เป็นนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น พี่น้องประชาชนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หรือสามารถต่อยอดจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นเดิม ก็จะมีโอกาสสร้างธุรกิจของตนเองได้ นักเรียนที่เพิ่งจบหรือนักวิจัยที่มีสิ่งประดิษฐ์ ก็มีโอกาสเริ่มธุรกิจได้ด้วยตนเอง โดยโครงการนี้รัฐบาลตั้งใจสร้างโอกาสให้ทุกคน ในการเอาความคิดมาทำให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง
 
พี่น้องประชาชน ครับ
เพื่อให้ได้เห็นโครงการต่าง ๆ ด้วยตัวเอง และรับฟังความเห็นในการช่วยสนับสนุนงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมจึงได้มีโอกาสพูดคุยกับกลุ่มคนที่จะร่วมขับเคลื่อนอนาคตของประเทศหลายกลุ่ม ทั้งนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่และกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่แสดงความมุ่งมั่นจะร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างอนาคตของประเทศ

กลุ่มแรกที่ผมได้พบ คือ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ก็เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ได้มีโอกาสได้เข้ายื่น “สมุดปกขาว” เรื่องของการวิจัยขั้นแนวหน้ากับนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมกำหนดอนาคตประเทศ ผมเองรู้สึกดีใจที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศ โดยที่ไม่ลืมความเป็นไทย และสภาพบ้านเมืองของเรา ทั้งนี้การพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้น ต้องไม่ลืมพี่น้องประชาชนคนบางส่วน ที่ยังค่อย ๆ ปรับตัว ซึ่งเราก็มีทั้งคนไทย 1.0, 2.0 และ 3.0 ในสังคม ในระบบเศรษฐกิจ เราต้องดูว่าจะพัฒนาอะไร อย่างไร เพื่อช่วยแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
เช่น “วิทยาศาสตร์เพื่อปากท้อง” ก็ต้องทำให้เร็ว ให้ประชาชนเข้าถึงและใช้ได้ทันการณ์ ส่วนการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ก็ต้องคิด ต้องทำ เป็นขั้นเป็นตอน และต้องทำต่อเนื่อง ขาดช่วงไม่ได้ เพราะการทำงานต่าง ๆ นั้นต้องอาศัยองค์ความรู้ที่แท้จริงในด้านนี้มาสนับสนุนโดยข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักเท่านั้น ที่จะช่วยลดความขัดแย้งและความแตกต่างที่ไม่สร้างสรรค์ลงได้ ซึ่งผมก็ได้แนะนำให้เริ่มจากเรื่องใกล้ตัว แล้ววางแผนไปสู่สิ่งที่เราต้องการในอนาคต เช่น ระบบเตือนภัยสึนามิ ที่เราน่าจะสามารถพัฒนาได้เองในอนาคต สำหรับประเด็นวิจัย ก็ต้องวางแผนว่าจะนำไปสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนเข้าถึง ใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ในครั้งนี้ มีการเสนอประเด็นวิจัยมาใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) อาหารเพื่ออนาคต (2) การแพทย์และสาธารณสุขขั้นแนวหน้า (3) พลังงานแห่งอนาคต และ (4) การรับมือความเสี่ยง และสร้างโอกาส ในอนาคต ผมก็ได้ให้กำลังใจและแจ้งไปว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุน

กลุ่มที่ 2 เป็นประชาคมวิจัยด้าน “เศรษฐกิจ BCG” (Bio - Circular - Green Economy)  ซึ่งเป็นรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ที่มีหลักคิดสอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เนื่องจากเน้นการใช้ประโยชน์ความเข้มแข็งจากภายในและศักยภาพของประเทศ เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ร่วมกับการใช้องค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม ในการพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ 4 กิจกรรมของประเทศคือ (1) เกษตรและอาหาร (2) สุขภาพและการแพทย์ (3) วัสดุและพลังงาน รวมทั้ง (4) การท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีการจ้างงานกว่า 16.5 ล้านคน โดยคาดว่า BCG จะเป็นฐานให้กับเศรษฐกิจหลักที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากปัจจุบัน 3 ล้านล้านบาทต่อปี เป็น 4.3 ล้านล้านบาทต่อปี ให้ได้ภายใน 5 ปี ที่ผ่านมาเราได้ทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้วิจัย BCG ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน ในรูปแบบประชารัฐ เพื่อสร้างศูนย์กลางนวัตกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องกระจายอยู่ทั่วประเทศ ตัวอย่างที่ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม ก็คือ โมเดล “อีสาน 4.0” ที่ใช้การวิจัยในการแก้ปัญหา และช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่เป็นต้น

และ กลุ่มที่ 3 ซึ่งมีความสำคัญมากก็คือ กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ด้วยทักษะความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผมได้พบปะกับผู้แทนสตาร์ทอัพ และสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ รวมทั้งเยาวชน นิสิต นักศึกษา จาก STARTUP Thailand League ที่มาร่วมกันยื่นข้อเสนอ เพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายสู่“ประเทศแห่งสตาร์ทอัพ” รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยผมได้ชี้ให้เขาเห็นว่า ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทต่าง ๆ จะเป็นโอกาสที่ดีของสตาร์ทอัพในการเข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศ โดยรัฐบาลยินดีช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งจะต้องมีการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบ้านเมืองของเรา
เป็นที่น่ายินดีครับ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สตาร์ทอัพได้ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในหลากหลายมิติ ได้แก่ เกิดเม็ดเงินลงทุนกับธุรกิจสตาร์ทอัพ 6,000 ล้านบาท มีการจัดตั้งกองทุนร่วมเสี่ยง CVC ถึง 50,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานในธุรกิจสตาร์ทอัพ มากกว่า 15,000 ตำแหน่ง รวมทั้งการได้รับการยอมรับจากต่างประเทศว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรุงเทพมหานครได้รับการจัดอันดับให้เป็น “เมืองที่ดีที่สุดสำหรับสตาร์ทอัพ” อันดับที่ 1 ในเอเชีย และเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ผมชื่นชมที่ทั้ง 3 ประชาคมได้ร่วมกันผนึกกำลังกันเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของประเทศ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะที่ประชาคมทั้ง 3 กลุ่มได้นำเสนอให้ผมนั้น รัฐบาลก็ยินดี และก็พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง โดยจะนำไปวางแผนกำหนดนโยบายตามความเร่งด่วน ช่วยผลักดันให้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป นอกจากนี้ผมได้เน้นย้ำให้ประชาคมให้ความสนใจเป็นพิเศษ กับการทำความเข้าใจปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ และต้องให้ประชาชนได้รับประโยชน์เป็นสำคัญ ซึ่งผมก็ได้ขอให้ประชาคมไปช่วยกันคิด และเสนอแนวทางเข้ามายังรัฐบาล รัฐบาลพร้อมจะสนับสนุนประชาคมทั้ง 3 กลุ่มนี้ รวมทั้งกลุ่มพลังสร้างสรรค์อื่น ๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยกันพัฒนาประเทศ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ก็คือการที่เราจะนำพาประเทศของเราไปสู่วิสัยทัศน์ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้อย่างไร เพราะฉะนั้นก็กรุณาฟังในส่วนที่รัฐบาลพูด รัฐบาลทำไปมากมายหลายอย่าง ฉะนั้นอาจจะมีการพูดจากใครก็แล้วแต่ พูดออกมาว่าจะทำนี่ ทำโน่น โดยที่ไม่พูดถึงวิธีทำ วิธีการ อันนั้นคือปัญหา ถ้าเราไปคาดหวังผลสำเร็จ โดยที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้กับเรามาก่อน บางทีก็เกิดปัญหา มีปัญหาเรื่องงบประมาณตามมา ความเร่งด่วนตามมา ความต่อเนื่องตามมาอีก เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในส่วนของแผนยุทธศาสตร์ชาติทั้งหมดจะตอบคำถามเหล่านี้ว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลนี้ทำ แล้วก็พร้อมที่จะส่งต่อให้ทำต่อไปครับ

สุดท้ายนี้มีอีกเรื่องที่น่ายินดี ก็คือธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงานความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของปี 2019 มาแล้ว โดยประเทศไทย ยังอยู่ใน 30 อันดับแรก จาก 190 ประเทศทั่วโลก ซึ่งไทยได้รับการจัดอยู่ในอันดับที่ 27 ในขณะที่ปีที่แล้ว เราอยู่ในอันดับที่ 26 แต่ถ้าดูจากผลคะแนนรวมแล้ว เราจะเห็นได้ว่าเรายังคงมีพัฒนาการ หรือมีการก้าวไปสู่แนวปฏิบัติที่ดีของโลก เห็นได้จากคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน อย่าไปดูแค่ลำดับอย่างเดียว นอกจากนี้ ไทยยังถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีการปฏิรูปด้านกฎระเบียบสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ด้วย โดยมีความคืบหน้าใน 4 ด้าน ได้แก่ 
(1) ด้านการเริ่มต้นธุรกิจที่ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น และมีต้นทุนลดลง
(2) ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ที่มีการปรับลดขั้นตอนและเพิ่มความโปร่งใส ผ่านการปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียม
(3) ด้านการชำระภาษีที่มีการปรับปรุงระบบการคำนวณ และการยื่นแบบภาษีรายได้นิติบุคคลทางระบบออนไลน์
และ (4) ด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาปรับใช้ในการควบคุมตู้สินค้า ซึ่งลดระยะเวลาและต้นทุนการขนถ่ายสินค้าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายด้านที่เรามีการปรับปรุงให้ดีขึ้น อำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจได้เพิ่มขึ้นแต่เราก็ยังมีอีกหลายด้าน ที่ยังต้องเร่งปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อ ๆ ไปเช่นกัน ซึ่งรัฐบาลก็มีทั้งมาตรการเร่งด่วนระยะสั้น เช่น การยกเลิกสำเนาเอกสาร เมื่อมีการติดต่อกับราชการ รวมถึงการมี OSS กลางของภาครัฐ ส่วนมาตรการระยะยาวภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศนั้น ก็จะช่วยให้การปรับปรุงการให้บริการของภาครัฐให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้มากขึ้นในระยะต่อไป

ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีสุขภาพกายที่สมบูรณ์ สุขภาพจิตที่เข้มแข็ง และทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยทุก ๆ วัน นะครับ สวัสดีครับ
 ...........................













ที่มา; เว็บ รัฐบาลไทย






































































































































































































 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   


โดย  อ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม