หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

ผลการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ศธ.

ข้อสอบออนไลน์ (สอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด


ติวสอบออนไลน์ ชุด สรุปย่อ ความรอบรู้ทั่วไป



ลิงค์ข้อสอบ  ที่เกี่ยวข้องกับ  "นโยบายรัฐบาล"  โดย ติวสอบดอทคอม

คลิ๊ก )  สมัครติวสอบผู้บริหาร 4 ภาค 29 จุด ปี 2557 - 2558 


 ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา โดย "ติวสอบดอทคอม"

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 100/2557ผลการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ศธ.
ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมรายงานการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ศธ. โดยมี ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้แทนจากองค์กรหลัก เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ
นางสาวจิรพรรณ ปุณเกษม หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ศธ. ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบ สรุปผลการตรวจราชการตามนโยบายปกติ งวดที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ดังนี้
1) เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
● ผลการทดสอบของผู้เรียนระดับการศึกษาต่างๆ ไม่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ  มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ
- ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง/นอกห้องเรียน และคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง รวมทั้งจัดช่องทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเข้มข้น เรียนรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรม 
eDLTV หรือสื่อเรียนรู้ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนฝึกคิดและเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นโรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิด
- การตั้งประเด็นคำถามปลายเปิด การใช้แบบทดสอบอัตนัย การติวทำข้อสอบ
- การจัดโครงการส่งเสริมความสามารถในการสอนของครู
- โรงเรียนทุกแห่งต้องเร่งพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง หากโรงเรียนใดไม่พร้อม ไม่มีกำลังครู ควรใช้เครือข่ายโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง
ครูส่วนใหญ่ยังขาดเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล บางคนได้รับการพัฒนาแล้ว แต่ไม่นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในห้องเรียน   มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ
- จัดให้มีการอบรมพัฒนาครูด้านเทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล
- ติดตามผลภายหลังการอบรมอย่างจริงจัง เช่น ให้ครูจัดทำรายงานประเมินตนเองก่อนและหลังฝึกอบรม
● ศึกษานิเทศก์จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์  ส่งผลให้นิเทศโรงเรียนไม่ทั่วถึง และขาดงบประมาณสนับสนุนการลงพื้นที่ เพื่อติดตามพัฒนาการศึกษาอย่างเพียงพอ  มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ
- บรรจุอัตราศึกษานิเทศก์ทดแทนผู้ที่เกษียณอายุราชการ
- ควรใช้ศึกษานิเทศก์อาสาฯ จากศึกษานิเทศก์หรือผู้บริหารโรงเรียนที่เกษียณอายุราชการแล้วเข้ามาทดแทน
2) ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู
● ครูมีวิทยฐานะสูงขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนไม่สูงขึ้น  มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ
- ให้การอบรมพิเศษแก่ครู ผู้เข้าสู่ตำแหน่งวิทยฐานะใหม่ เพื่อให้เข้าใจ เข้าถึงงานพัฒนาการเรียนการสอนที่ต้องมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- มุ่งเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์
- ศึกษานิเทศก์ควรมีบทบาทในการให้คำแนะนำครู (
Coaching) อย่างใกล้ชิด
● ขาดครู บุคลากรเฉพาะสาขา เช่น ประมง อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์และครูวิชาหลัก  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- แจ้งหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อจัดทำแผนขออัตรากำลังที่ขาดแคลน และ สกอ.จะนำไปสู่การวางแผนการผลิต 
Demand กับ Supply จะต้องสอดคล้องกัน
● การพัฒนาอบรมครูในวันราชการ  ทำให้ครูต้องออกนอกโรงเรียน มีปัญหาในการจัดครูสอนแทน โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรกำหนดหลักสูตรการอบรมครูในช่วงปิดภาคเรียนหรือวันหยุดราชการ
● หลักสูตรการพัฒนาครูในปัจจุบัน มีจำนวนมาก ซึ่งมักไม่ตรงความต้องการของครู  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรมีการจัดระบบการพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความซ้ำซ้อนทั้งด้านเนื้อหาและงบประมาณการฝึกอบรม
● ขาดแคลนการพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสารการเรียนรู้สมัยใหม่เพื่อช่วยการสอน  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- จัดให้ครูได้รับการพัฒนาตนเองทางระบบ 
e-Training
● การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ขาดการกำกับ ติดตาม ประเมินผลงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรมีมาตรการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบ
● งบประมาณสำหรับพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน/สถานศึกษามีจำนวนจำกัด  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- จัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพครูอาจารย์ให้เพียงพอ
  
3) เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้
● การเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตยังมีปัญหาเรื่องห้องเรียนไม่เหมาะสมกับการสอน และขาดเนื้อหาสาระที่เหมาะสม  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือพัฒนาครูและส่งเสริมให้ครูพัฒนาเนื้อหาสาระในการสอนและการประเมินผู้เรียนด้วยเทคโนโลยี
- ส่งเสริมให้โรงเรียนทุกแห่งมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
- จัดทำคู่มือการสอน โดยใช้แท็บเล็ตทุกสาระวิชา
● ขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญด้าน ICT  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ให้เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา
● โปรแกรมสื่อ มัลติมีเดีย ไม่มีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถเผยแพร่ได้  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรเร่งดำเนินการออก พ.ร.บ.เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้มีหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการส่งเสริมวิจัย การพัฒนา การผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4) พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
● ทัศนคติของผู้ปกครองและค่านิยมของคนไทยที่มีต่อการศึกษาต่อสายอาชีพ ที่ต้องการให้บุตรหลานเรียนด้านสายสามัญเพื่อรับปริญญา ส่งผลให้จำนวนผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษายังต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือควรมีการแนะแนว สร้างแรงจูงใจ หรือนำจุดเด่นของอาชีวศึกษา ให้ชุมชน ผู้ปกครอง และสังคม ยอมรับและเห็นความมีมาตรฐานในการยกระดับการศึกษาของอาชีวศึกษา เพื่อจูงใจให้มาเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
- ให้ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการเรียนต่อสายอาชีพว่า จบแล้วมีงานทำ ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีได้ และความต้องการแรงงานมีมาก เช่น ชุมแพโมเดล แปดริ้วโมเดล
● การเปิดสอนทวิภาคีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งมีสถานประกอบการน้อย จึงต้องส่งนักศึกษาเข้ามาในสถานประกอบการภาคกลาง และจังหวัดชลบุรี ทำให้การติดตามดูแลนักศึกษาได้ไม่ใกล้ชิด การกำกับดูแลในสถานประกอบการไม่สะดวก  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ให้ สอศ.มีศูนย์ประสานงานกลางให้ความช่วยเหลือด้านการทำหน้าที่กำกับ ดูแล นิเทศงานแทน โดยมอบหมายสถานศึกษาที่อยู่ใกล้สถานประกอบการดังกล่าวดูแลแทน
● การทำ MOU กับสถานประกอบการในระบบทวิภาคี มีปัญหาด้านกฎหมายในการจ้างแรงงาน  เนื่องจากนักศึกษาระดับ ปวช.มีอายุต่ำกว่า 18 ปี  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ส่วนกลางควรประสานทำความตกลงกับกระทรวงแรงงาน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ในกรณีนักศึกษาอายุต่ำกว่า 18 ปี เมื่อเข้าไปฝึกงานยังสถานประกอบการ จะไม่ได้รับค่าแรง (วันละ 300 บาท) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงาน แต่จะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าล่วงเวลาวันละ 180 บาท
● โครงสร้าง รูปแบบ วิธีการดำเนินการเปิดสอน Mini English Program ยังไม่ชัดเจน เช่น การกำหนดคุณลักษณะผู้สอนในสาขาวิชาชีพด้าน IT การท่องเที่ยว และการกำหนดให้นักศึกษาที่เรียนจบการศึกษาต้องผ่าน TOEIC เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียน MEP มีจำนวนน้อย และครูชาวต่างประเทศที่มีความรู้ด้านช่างหายาก มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือหน่วยงานต้นสังกัดควรมีการจัดสรรอัตรากำลังครูผู้สอนให้เพียงพอและจัดสรรครูที่มีความชำนาญตรงตามสาขาที่เปิดสอน และควรทำข้อตกลงร่วมกับต่างประเทศ เพื่อจัดหาครูผู้สอนที่มีทักษะด้านภาษาสามารถสอนสายอาชีพ (สายช่าง)
● ครูผู้สอนสายอาชีวศึกษาส่วนมากเป็นครูจ้างสอนและไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู  ซึ่งไม่มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน จึงทำให้เปลี่ยนผู้ปฏิบัติงานสอนบ่อยครั้ง การเรียนการสอนจึงขาดความต่อเนื่อง มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรผ่อนเกณฑ์ใบประกอบวิชาชีพสำหรับบุคคลในสาขาวิชาที่จำเป็นมาสอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพที่จำเป็น เข้ามาสอนเป็นอาจารย์สอนในอาชีวศึกษา
● สถานศึกษาได้รับการจัดสรรครุภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการและไม่ทันสมัย ซึ่งส่วนหนึ่งต้องมีการบำรุงดูแลรักษา โดยใช้งบประมาณจากค่าใช้จ่ายรายหัวไปใช้ในการซ่อมแซม  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่สถานศึกษาอย่างเพียงพอ และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของแต่ละสถานศึกษา เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติอย่างทั่วถึง และเป็นการเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
● นักศึกษา ผู้ปกครอง และสถานประกอบการบางแห่ง ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องของการเรียนระบบทวิภาคีของอาชีวศึกษา  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- การชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง สถานประกอบการ ผ่านสื่อต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับระบบทวิภาคี
  
5) ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น
● สถานศึกษาไม่สามารถผลิตแรงงานได้ตามความต้องการของภาคเอกชนในบางสาขาวิชา เช่น สาขาไฟฟ้ากำลัง และสาขาแม็กคาทรอนิกส์  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ในการจัดการศึกษาของเอกชนสายอาชีพ สถานศึกษาควรศึกษาความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อจัดการศึกษาได้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการและรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน
● นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในโรงเรียนเอกชนมีแนวโน้มลดลง  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ศธ.ควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสถานศึกษาเอกชน
  และส่งเสริมให้มีระบบแนะแนวที่เข้มแข็ง มีมาตรการจูงใจโดยให้ทุนการศึกษา
● การเรียกบรรจุครูของภาครัฐในช่วงเปิดภาคเรียน ก่อให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาเอกชน  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ ควรกำหนดช่วงเวลาของการบรรจุครูของสถานศึกษาของรัฐ ที่จะทำให้ไม่กระทบต่อการขาดแคลนครูของสถานศึกษาเอกชน เนื่องจากการลาออกมาบรรจุในสถานศึกษาของรัฐ
6) เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
● การจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กวัยเรียนและออกจากการศึกษากลางคัน ส่วนใหญ่ไม่ได้ตัดบัญชีรายชื่อออกจากฐานข้อมูลโรงเรียน เพราะออกกลางปี ทำให้ต้องเจียดจ่ายค่าใช้จ่ายรายหัวที่ กศน.มีอยู่มารองรับ ทำให้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดไม่เพียงพอที่จะเพิ่มคุณภาพการศึกษาของ กศน. ได้  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือควรมีการทบทวนแนวทาง มาตรการในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับเด็กกลุ่มที่ออกจากการศึกษากลางคัน โดยเฉพาะประเด็นมาตรการและวิธีการจัดการศึกษา รวมทั้งการบริหารงบประมาณการถ่ายโอนงบประมาณที่เหมาะสม
● กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นเป็นพิเศษในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะสื่อการเรียนการสอน และครูที่มีความรู้โดยตรง มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ควรเร่งจัดหาและพัฒนาครู ผู้จัดการศึกษาให้แก่คนพิการในระบบและนอกระบบ ให้มีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอสำหรับจัดการศึกษาให้แก่คนพิการ รวมทั้งการทำความร่วมมือกับครอบครับและชุมชนในการจัดการศึกษาให้แก่คนพิการโดยเฉพาะ
● การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและกิจกรรมยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหา บริบท และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการกำหนดในแต่ละสถานศึกษาต้องทำกิจกรรมเหมือนกัน มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- การพิจารณาทบทวนปรับการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพบริบท สภาพความต้องการ และการตอบสนองต่อการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะมาตรการและวิธีการต่างๆ ให้เหมาะสม รวมทั้งการปรับแก้กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการกระจายโอกาสทางการศึกษาของประชาชน
7) พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
● นักเรียนออกกลางคันในระดับมัธยมศึกษามีจำนวนมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชาย  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มากขึ้น
- จัดกิจกรรมหารายได้ระหว่างเรียน
● นักเรียนเข้าเรียนสายอาชีพเพียงร้อยละ 9  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- การประชาสัมพันธ์/สร้างความเชื่อมั่น
- การเปิด ปวช.ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและศูนย์ฝึกอบรมอาชีพประจำอำเภอ
● โรงเรียนของรัฐ ไม่สามารถรับเด็กอายุ 3 ขวบเข้าเรียนได้  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือสพฐ.ควรกำหนดระเบียบให้รับนักเรียนอายุ 3 ขวบเข้าเรียนชั้นอนุบาล 1 และให้ได้รับเงินอุดหนุนรายหัว
● การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- ขยายผลการเรียนแบบสองภาษาตั้งแต่อนุบาล1-ป.1 และขยายผลจำนวนโรงเรียน
- ขยายผลทวิภาษา (มหิดล)
- ใช้นวัตกรรม วิธีสอน ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเห็นว่าเหมาะสม
ผลิตครูปฐมวัยเน้นพหุภาษา (ปี4-ปี5)
● ผลสัมฤทธิ์ O-Net ต่ำ  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา  คือ
- พัฒนาครูผู้สอนไม่ตรงวุฒิ
สอนเสริมจัดโครงการคุรุทายาท
● สวัสดิภาพครู  มีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา คือ
- แผนรักษาความปลอดภัยชัดเจน และชี้แจงให้ทุกระดับเข้าใจและปฏิบัติจริง
- ประสานครูและหน่วยกำลังอย่างใกล้ชิดไม่ให้มีช่องว่าง
- เข้มงวดเขตรอยต่อ-ส่งต่อ
เพิ่มความถี่งานสัมพันธ์ชุมชนวิเคราะห์เหตุการณ์และแจ้งเตือนทันที
 
รมว.ศธ. ได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการตรวจราชการในประเด็นต่างๆ ดังนี้
  • ขอให้ผู้ตรวจราชการเข้าร่วม แลกเปลี่ยน และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในพื้นที่ ในการประชุมต่างๆ ของ ศธ.ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เช่น การประชุมคณะกรรมการผลิตและพัฒนาครู และการเสวนาเกี่ยวกับปัญหาด้านบุคลากร เพื่อให้ผู้ตรวจได้ถ่ายทอดปัญหาและข้อเสนอแนวทางต่างๆ ที่ได้พบเห็นในระดับพื้นที่ให้คณะกรรมการได้รับทราบ รวมทั้งเข้าร่วมงาน Education Thailand  ซึ่งเป็นการจัดนิทรรศการการปฏิรูปการเรียนการสอนทั้งระบบ มีการจัดแสดง Best Practice ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ การคิดวิเคราะห์ตามแนวทางโครงการ PISA และการจัดเสวนากลุ่มย่อย เพื่อให้ผู้ตรวจราชการได้เข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อที่สนใจ และได้เยี่ยมชมนิทรรศการ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ได้โดยง่ายและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนการสอนมากขึ้น  และขอฝากให้ช่วยคิดในประเด็นสำคัญ คือ จะทำให้เรื่องเหล่านี้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาครูต่อไป
  • โรงเรียนขนาดเล็ก ต้องเพิ่มงบประมาณสนับสนุนตามความเป็นโรงเรียน รวมทั้งเงินอุดหนุน เพราะหากจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพนี้ก็จะไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เกิดความเสียหายต่อการศึกษา ที่ผ่านมามีโรงเรียนขนาดเล็กบางแห่งในภาคเหนือมีการบริหารจัดการจนกระทั่งควบรวมโรงเรียนแล้ว โดยความสมัครใจของคนในพื้นที่ และมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้นอย่างชัดเจน
  • ปัญหาการสอบ O-Net ที่มีผลกระทบกับการสอนภาษาอังกฤษ  เนื่องจากพบว่าการสอบ O-Net ทำให้ไม่สามารถสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ เพราะหากสอนเด็กจะมีเวลาเตรียมตัวสอบ O-Net น้อย รวมทั้งการสอบ NT ที่ไม่ได้เน้นเรื่องการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สทศ.กำลังปรับใช้มาตรฐาน CEFR ในการออกข้อสอบ ซึ่ง ศธ.ได้ประกาศเรื่องนี้ไปแล้ว แต่จะต้องมีการหารือเพิ่มเติมของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการเรียนสื่อสาร เรียนสนทนาอย่างเข้มข้น และเพิ่มชั่วโมงเรียนได้ เกิดขึ้นได้จริง ให้การเรียนภาษาอังกฤษได้ผล
  • การสอนภาษาจีน  มีแนวคิดใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เพียงแต่การเรียนต้องเป็นความสมัครใจของผู้เรียน หากใครไม่เรียนภาษาจีน ควรต้องมีวิชาเลือกอื่นๆ รองรับ โดย สพฐ.จะต้องจัดระบบรองรับ เพื่อไม่ให้กระทบกับเด็กที่ไม่ได้เรียน เช่น ส่งเสริมให้เล่นกีฬา มีการให้เครดิต เป็นต้น
"ขณะนี้มีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่จะต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่า เช่น สอนภาษาจีนกับคนจำนวน 8 แสนคน ได้ผลไม่ถึง 20,000 คน จะปรับลดจำนวนการสอนภาษาจีน ให้เหลือ 2 แสนคน และตั้งเป้าหมายไว้ที่  40,000 คน จะดีกว่าหรือไม่ ซึ่งในการเดินทางเยือนจีน 23-27 เมษายนนี้ จะได้นำประเด็นนี้หารือกับ รมว.ศธ.จีนด้วย เพื่อร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพการสอนภาษาจีนในไทย รวมทั้งขอความร่วมมือเกี่ยวกับข้อตกลงกับอาสาสมัครจีนที่จะมาสอนในเมืองไทย ว่าหากจะให้สอนแบบเดิม คือ เรียน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวนห้องเรียนละ 50 คน จะต้องไม่สอน และ ศธ.เองก็ต้องเห็นว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ที่อาสาสมัครนั่งอยู่เฉยๆ ไม่ถือเป็นการขาดงาน จนกว่าโรงเรียนจะปรับ เพราะการสอนเช่นเดิมไม่เกิดประโยชน์ และทำให้เด็กจำนวนมากเกลียดภาษาจีน" จาตุรนต์ ฉายแสง
  • การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้  และเขตพื้นที่สูง  จะต้องวางแผนการผลิตและพัฒนาครูสำหรับชาติพันธุ์ต่างๆ และไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ต้องผลิตครูที่มีความรู้เรื่องการสอนคนต่างวัฒนธรรมอย่างไร ยิ่งมีเอกลักษณ์มาก เข้มข้นมาก ต้องมีความรู้มาก และมีทิศทางว่าจะอนุรักษ์หรือส่งเสริมวัฒนธรรมเพียงใด รวมทั้งความรู้การสอนภาษาไทยสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ด้วย ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาองค์ความรู้ในระบบการศึกษา คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์จะสอนเพียงใด มีบุคลากรจำนวนเท่าใด จัดโครงการนำร่องไว้หลายปีแล้ว แต่ไม่มีการขยายหรือกระจายออกไปมากนัก นอกจากนี้ เด็กชาวเขาในพื้นที่สูงส่วนใหญ่พูดภาษาจีนได้คล่องและพูดได้ดีกว่าภาษาไทย เพราะเด็กเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษวันละ 1 ชั่วโมง แต่เรียนภาษาจีนตอนเย็นวันละ 3 ชั่วโมงที่โรงเรียนจีน เรียนกับเด็กจีน พูด/ภาษาจีน  หากจะสอนภาษาไทยก็ต้องสอนเข้มข้นเช่นกัน รวมทั้งต้องกลับมาคิดด้วยว่า เรายังจะคงไว้ที่ 8 กลุ่มสาระหรือไม่ เรียนภาษาไทยเพียง 1 ใน 8 ก็จะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เพราะไม่มีความเข้าใจว่า สอนภาษาต้องสอนให้เข้มข้น
  • อาชีวศึกษา จะสื่ออย่างไรว่าให้มีการพัฒนาระบบทวิภาคี การเรียนร่วมกับภาคเอกชน มีงานทำ มีรายได้สูงจริง สร้างหลักสูตรดีๆ ใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น โรงเรียนพานิชย์นาวี กำลังขาดแคลนกำลังคนซึ่งทำหน้าที่ Officer ในเรือ ซึ่งมีเงินเดือนกว่า 60,000 บาทแต่ขณะนี้ขาดแคลนกว่า 5,000 คน ลูกเรือขาดอีกมาก เพราะประเทศไทยกำลังมีแท่นขุดเจาะน้ำมัน แต่โรงเรียนผลิตได้เพียง 50 คนต่อรุ่น ซึ่งหากอาชีวะสนใจจะดำเนินการ สามารถแนะนำเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตรได้ เพื่อหารือกับกรมเจ้าท่าพิจารณาร่วมกันต่อไป ส่วนเรื่องค่านิยม การประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปกครอง ควรต้องเร่งดำเนินการ ให้เห็นภาพชัดเจนว่า มาเรียนอาชีวะแล้วมีงานทำจริง ต้องประชาสัมพันธ์เรื่องเหล่านี้จริงจัง เพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพได้อย่างรวดเร็วและตามเป้าหมาย
"สำหรับแนวโน้มนักเรียนอาชีวะเอกชนลดลงนั้น ขอให้ สอศ. และ สช. ได้สำรวจ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ เพราะจากการรายงาน สถานศึกษาอาชีวะของรัฐมากขึ้นกว่าปี 2556 เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน อาจจะเพิ่มขึ้นจาก 34:66 แต่ไม่ถึง 45:55  ซึ่งหากผลเป็นเช่นนั้นจริงๆ คือ ผู้เรียนอาชีวะเอกชนลดลง แต่ผู้เรียนอาชีวะรัฐบาลเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องผิดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ เท่ากับไม่ได้แก้ปัญหาบุคลากรสายอาชีพซึ่งเอกชนต้องการอีกมาก สุดท้ายเราผลิตโดยรวมเท่าเดิม นอกจากนี้ยังขาดบุคลากรเฉพาะสาขา เช่น ประมง อุตสาหกรรม  ซึ่งเรื่องใหญ่อยู่ที่หลักเกณฑ์ของคุรุสภาด้วยที่จะต้องหารือร่วมกัน เช่น การเปิดให้วิศวกรโยธาเข้ามาเป็นครูโดยง่าย ยังไม่สามารถทำได้เพราะจะกระทบกับวิชาชีพครู ทำให้คนเรียนครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ตกงาน แต่ที่จริงไม่ได้ทำให้ตกงาน แต่ไม่สามารถเป็นกันได้ เพราะไม่ได้รับการผลิตมาเช่นนี้ ซึ่งมีความต้องการเป็นจำนวน 10,000 คน หากจะปล่อยไว้นานก็จะเสียหาย" จาตุรนต์ ฉายแสง
  • การขาดแคลนครู จากการสมัครสอบครูผู้ช่วยในปีนี้พบว่า มีบางสาขาขาดแคลนจำนวนไม่มากนัก แต่มีผู้สมัครมาก บางสาขาขาดแคลนจำนวนมาก มีผู้สมัครน้อย จำนวนไล่เลี่ยกับที่เปิดสอบ ซึ่งสาเหตุแตกต่างกัน อาจจะเป็นเพราะการกำหนดอัตราไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น โสตทัศนศึกษา มีอัตราว่างน้อยมาก เมื่อเปิดสอบมีคนมาสมัครมาก ในขณะที่กายภาพบำบัด ไม่มีผู้รับสมัคร เพราะเรียนแล้วไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ฉะนั้นจะเป็นครูสอนคนพิการหรืออื่นๆ ก็จะไม่มีการวัดผล ขาดแคลนมาก แต่กำหนดอัตราไว้น้อย และอัตราว่างก็มีไม่มากนัก จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ในประเด็นเหล่านี้ และนำไปหารือเกี่ยวกับการขาดแคลนครูด้วย
  • เด็กออกกลางคัน ควรมีการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุที่ออกกลางคันจำนวนมากเช่นนี้ ว่าจะแก้ไขอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในการประชุมของยูเนสโก ตนจะต้องพูดถึง Education for All แต่หากว่ามีจำนวนออกกลางคันสูงจะพูดว่า Education for All ไม่ได้ จึงต้องค้นหาสาเหตุเพื่อให้เห็นปัญหาได้มากขึ้น และจะทำอย่างไรให้เข้าใจปัญหาที่ชัดเจน รวมทั้งแนวทางแก้ไข ทั้งไม่ให้ออกกลางคัน และเมื่อออกไปแล้ว จะมีมาตรการรองรับอย่างไร
    
 

ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


 
"ติวสอบดอทคอม" สร้าง-เขียน-บรรยาย โดย
(ผอ.นิกร  เพ็งลี)  

  
   อัพเดท เรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ (ฟรี)
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 1 คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู ห้อง 2 คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com


สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
คลิ๊ก )  สมัครติวสอบผู้บริหาร 4 ภาค 29 จุด ปี 2557 - 2558 


ฟรี...ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม