หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กกต.เคาะวัน ประชามติร่าง รธน.10ม.ค.59

เรื่องใหม่น่าสนใจ 

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558

-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)

              ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่  โดย  อ.นิกร 


 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


   คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)

กกต.เคาะวัน ประชามติร่าง รธน.10ม.ค.59


สปช.ชงถามปมปฏิรูป2ปี บิ๊กตู่พูดยาว‘อำนวย’ลมใส่
กกต.ติดเครื่องพร้อมทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ กางปฏิทินแจงยิบขั้นตอนทำงาน ประกาศเคาะวันหย่อนบัตรลงมติโหวตทั่วประเทศ 10 ม.ค. 59 ใช้งบ 3,000 ล้านบาท วางกรอบห้ามตั้งคำถามชี้นำ และทำให้เกิดสับสน “วิษณุ” เผยแก้ รธน.ชั่วคราวปลดล็อกผู้ถูกตัดสิทธิเลือกตั้งคืนสังเวียน หวังดึงฝ่ายการเมืองช่วยงาน สนช.-สปช.-สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ สานงานปรองดองและปฏิรูป ปัดเปิดทาง “สมคิด” ยึดเก้าอี้ รมต. ด้าน สปช.นัดประชุม 15 มิ.ย. ตั้งแท่นชงคำถาม ประชามติขอปฏิรูป 2 ปี ก่อนเลือกตั้ง เด็ก ปชป.ขวางใช้ กมธ.ยกร่างฯ ชุดเดิมร่าง รธน.ใหม่บอกอนาถใจแก้ รธน.สืบทอดอำนาจ “บิ๊กตู่” ลงพื้นที่ฉะเชิงเทรา-ระยอง อัดยับพวกบิดเบือนประชามติ ขู่กลับเล่นงานหนัก เปรยไม่ลากยาวอยู่ถึงปี 2560 ร่ายเพลินบนเวทีร่วมชั่วโมง ทำ รมช.เกษตรฯ ล้มทรุดเป็นลม
หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 จำนวน 7 ข้อ โดยมีการเปิดทางให้ กกต.ไปพิจารณารายละเอียดเรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และให้ถามคำถามเรื่องการทำประชามติได้มากกว่า 1 ข้อนั้น ล่าสุดคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ยืนยันถึงความพร้อมการทำประชามติ โดยกำหนดให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ม.ค.2559
กกต.ทำประชามติ 10 ม.ค.59
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 10 มิ.ย. ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ นายศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุม ครม.และ คสช. มีมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปี 2557 เปิดทางให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้กกต.เตรียมความพร้อมไว้รองรับเรียบร้อยแล้ว
หากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 ก.ย.ตามโรดแม็ปที่กำหนดไว้ ภายในวันที่ 16 ก.ย. สปช.จะต้องส่งต้นฉบับร่างรัฐธรรมนูญมาให้ กกต. จากนั้นวันที่ 30 ก.ย. กกต. จะจัดหาโรงพิมพ์จัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแจกให้ประชาชนจำนวน 19 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 80 ครัวเรือน ให้เสร็จภายใน 45 วัน หรือภายในวันที่ 15 พ.ย. จากนั้น กกต.จะทยอยแจกร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้ศึกษาทำความเข้าใจภายในวันที่ 30 พ.ย. จากนั้นจะลงประชามติในวันที่ 10 ม.ค.2559
ห้ามตั้งคำถามชี้นำ–สับสน
นายศุภชัยกล่าวว่า สำหรับประเด็นคำถามในการทำประชามติ ไม่จำเป็นต้องมีเพียง 1 คำถาม แต่ต้องไม่เป็นคำถามชี้นำ หรือทำให้เกิดความสับสน ถ้ามีคำถามไม่เหมาะสม กกต.อาจตั้งข้อสังเกต แจ้งต่อ ครม. คาดว่า ใช้งบประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนจะมีการแก้ไขประกาศหรือคำสั่ง คสช. เพื่อผ่อนคลายบรรยากาศหรือไม่ ต้องรอให้ คสช.พิจารณา แต่หากมีส่วนใดที่ขัดต่อการทำหน้าที่ของ กกต. อาจเสนอให้ คสช.แก้ไขประกาศดังกล่าว คาดว่าพอใกล้ถึงเวลานายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะแก้ไขให้เหมาะกับสถานการณ์ ส่วนตัวอยากเห็นการทำประชามติที่สงบเรียบร้อย ไม่มีการปลุกระดม ชี้นำ หากใครชี้นำปลุกระดมจะมีความผิดตามกฎหมาย
จี้แก้ขัดแย้งเพิ่มคุณภาพเลือกตั้ง
วันเดียวกัน ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ สำนักงาน กกต. จัดสัมมนาเรื่อง “การเลือกตั้งคุณภาพโดยพลเมืองคุณภาพ” โดยนายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่า การเลือกตั้งคุณภาพโดยพลเมืองคุณภาพ กกต.กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ในอีก 5 ปีนับจากนี้ ก่อนหน้านี้ กกต.จะยึดการเลือกตั้งเชิงปริมาณ แต่ในอนาคตจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ พลเมืองมีจิตสำนึกเลือกนักการเมืองที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ได้เลือกจากสินจ้างรางวัล อย่างไรก็ตามแม้จะเตรียมการเลือกตั้งดี มีคุณภาพ ทำพลเมืองให้แข็งแรง แต่ถ้ายังไม่ปฏิรูป เพื่อลดความขัดแย้ง จะยุติปัญหาได้อย่างไร อย่าไปมโน หรือพูดว่าให้จัดเลือกตั้งที่ดี กกต.เคยคิดว่ากฎหมายเลือกตั้งครอบคลุมทุกอย่าง สุดท้ายเมื่อเจอเหตุการณ์ก็ไปไม่เป็น จึงต้องแก้ปัญหาความขัดแย้งให้จบเพื่อการเลือกตั้งที่มีคุณภาพ
ห่วงถูกปลุกระดมลงมติโหวต
นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า กกต.ต้องสร้างระบบกลไกการเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งอย่างถูกต้องและเป็นธรรม ไม่ให้นำลัทธิประชานิยมมาหาเสียง ต้องให้นักการเมืองหาเสียงโดยให้ความจริงกับประชาชนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงครึ่งเดียว การให้ทำประชามติ ถือเป็นความผิดพลาดมหันต์ เพราะใช้ความจริงครึ่งเดียว ประชามติของประชาชนจะถูกตัดสินใจด้วยอารมณ์และการปลุกระดมเป็นหลัก ไม่มีใครตัดสินใจโดยพิจารณาจากเนื้อหาว่า มีผลดีผลเสียต่อประเทศอย่างไร ส่วนตัวเห็นว่า ถ้าทำประชามติ ควรทำเฉพาะประเด็นที่เป็นความขัดแย้งในร่างรัฐธรรมนูญ เช่น นายกฯควรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงหรือไม่ หากทำเช่นนี้ก็สามารถกำหนดทิศทางของประเทศได้ในระดับหนึ่ง
“วิษณุ” แจงปลดล็อกคุณสมบัติ ครม.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ผู้เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสามารถเป็น สนช.และ ครม.ได้ ซึ่งถูกมองเป็นการเปิดทางให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา คสช. มาเป็น ครม.ว่า เมื่อแก้แล้วใครได้ประโยชน์หรืออานิสงส์ก็ไปว่ากันเอง แต่เจตนาที่ต้องการทำให้เกิดขึ้นคือ สนช. สปช. และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะสามารถนำคนที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเข้ามาได้ อาจทำให้การปรองดอง การปฏิรูปเป็นรูปธรรมขึ้น การแก้ไขเช่นนี้ไม่มีโทษ มีแต่ประโยชน์ แต่การไปล็อกไว้อย่างเดิมมีโทษ ทำให้ขาดคนมีความสามารถเข้ามาทำงาน อย่าคิดว่าจะนำคนมีความสามารถไปเป็นรัฐมนตรี อาจไปอยู่ใน สนช. หรือเป็นอะไรได้อีกเยอะ มันไม่เป็นธรรมที่จะไปร่างห้ามไว้ตลอดชาติ
โต้ไม่ได้ลดกระแสกดดัน
เมื่อถามว่า นายสมคิดจะสามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งเหล่านี้ได้หรือไม่ นายวิษณุตอบว่า ยิ่งกว่านายสมคิดก็ยังมีอีกหลายคน ที่เข้ามาได้อีกเยอะ อย่างน้อยมองเห็นโอกาสที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งในสภาขับเคลื่อน เพราะมีถึง 200 คน สามารถนำคนเหล่านี้เข้ามาได้ ส่วนใครจะมาเป็นรัฐมนตรี ตนไม่กล้าคิด เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นกันได้ง่ายๆ จะเป็นหรือไม่ ตนไม่ทราบ ไม่ได้คนตั้ง การแก้เงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการลดกระแสกดดัน เพราะไม่มีใครมากดดัน เรื่องอย่างนี้กดให้ตาย นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีวันยอม เมื่อถามว่า การออกมาล่ารายชื่อเพื่อทำประชามติต่ออายุรัฐบาล ของหลวงปู่พุทธะอิสระ ขัดคำสั่งที่ 3 ของมาตรา 44 หรือไม่ นายวิษณุตอบว่า ไม่มีความเห็น ต้องไปถาม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
เรียก กกต.–มท.หารือประชามติ
นายวิษณุกล่าวว่า ส่วนหากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นครั้งที่สอง แล้วยังไม่ผ่านการทำประชามติอีกนั้น หากจำเป็นต้องเกิด มันก็มีทางออก อาจจะต้องแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง คงไม่กลับมาใช้กระบวนการอย่างเก่า คือตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 21 คน คงไม่เอาอย่างนั้น อะไรที่มันเร็วขึ้น ก็ต้องทำในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งได้ยกตัวอย่างว่า อาจนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงแล้วประกาศใช้ ส่วนที่ กกต.ประกาศวันทำประชามติในวันที่ 10 ม.ค.59 นั้น ตั้งใจว่าจะเชิญ กกต. กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ มาหารือเรื่องประชามติ เพื่อสอบถามว่า มีอะไรให้รัฐบาลช่วยบ้าง จะหารือก่อนจะรายงานไปยัง ครม.
สปช.นัด 15 มิ.ย.ถกแก้ รธน.7 ข้อ
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกรณีที่ ครม.และ คสช. เห็นชอบร่วมกันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 จำนวน 7 ประเด็นว่า นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.ได้นัดประชุม สปช.เพื่อปรึกษาหารือในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ที่กระทบต่อ สปช. เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สปช. ที่จะเหลือระยะเวลาการทำงานแค่ 3 เดือน จึงต้องหารือวางแนวทางการทำงานให้ชัดเจน เพื่อส่งมอบแผนปฏิรูปต่อ ครม.ให้ทันภายในวันที่ 4 ก.ย. เนื้อหาที่จะหารือกัน อาทิ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ขับเคลื่อนงานที่เหลืออยู่ให้ทันตามกำหนดเวลา รวมทั้งอาจหยิบยกเรื่องการทำประชามติ ที่ สปช.จะมีส่วนร่วมในการตั้งคำถามทำประชามติด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ สปช.จะเหลือเวลาการทำงานน้อยกว่าเดิม แต่จะไม่กระทบต่อการทำงานของสปช. เพราะที่ผ่านมาได้วางโรดแม็ปการทำงานไว้หมดแล้ว
ตั้งแท่นชงคำถามปฏิรูป 2 ปี
นายมนูญ ศิริวรรณ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ประเด็นที่ ครม.และ คสช.เห็นชอบร่วมกันให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 จำนวน 7 ประเด็นนั้น ถือว่ามีความเหมาะสม ช่วยให้ สปช. เห็นแนวทางการทำงานชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจะต้องเร่งดำเนินการภารกิจการปฏิรูปให้แล้วเสร็จให้ทันเวลาก่อนที่ สปช.จะสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวให้ สปช.สามารถส่งคำถามเรื่องการทำประชามติได้นั้น เท่าที่หารือกัน สปช.บางส่วนจะเสนอคำถามเรื่องการปฏิรูป 2 ปี ก่อนเลือกตั้ง ให้ที่ประชุม สปช.ลงมติให้ความเห็นชอบใช้เป็นคำถามจาก สปช. ที่จะส่งไปให้ ครม.พิจารณาใช้ตั้งคำถามทำประชามติ คำถามดังกล่าวมาจากความต้องการของประชาชนทั่วประเทศ ไม่ใช่มาจากความต้องการของสมาชิก สปช. ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือว่า จะผลักดันคำถามดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม สปช.เมื่อใด
หนุนหั่นวาระทำงาน สปช.สั้นลง
พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ สปช.กล่าวว่า เชื่อว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 57 ให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ มาทำหน้าที่แทน สปช. ไม่ใช่การสืบทอดอำนาจ เพราะเป็นการดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ส่วนข้อเสนอให้ทำประชามติเรื่องให้มีการปฏิรูปอีก 2 ปี ก่อนเลือกตั้งนั้น มี สปช.หลายคนไม่เห็นด้วย เพราะมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนมาเกี่ยวข้อง ไม่ควรที่ สปช.จะนำประเด็นนี้มาหารือขอความเห็นชอบในที่ประชุม สปช. รวมถึงประเด็นการตั้งคำถามประชามติเรื่องการนิรโทษกรรม ก็ไม่ควรมีการเสนอ เพราะรัฐบาลเคยประกาศว่า จะไม่ทำเรื่องนิรโทษกรรม เพราะเป็นชนวนความขัดแย้งวุ่นวาย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สปช. กล่าวว่า สนับสนุนการลดวาระทำงานของ สปช.ให้สิ้นสุดภายหลังจากลงมติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
สนช.อุบไต๋ส่งคำถามประชามติ
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ระบุ สปช. และ สนช. สามารถส่งคำถามเพิ่มเติมในการทำประชามติให้ ครม.ได้ว่า ยังเร็วเกินไปที่จะหารือเรื่องนี้ อย่าเพิ่งไปคิด คำขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญชั่วคราวยังพิจารณาไม่เสร็จเลย หน้าที่ สนช.ขณะนี้คือ พิจารณาคำขอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวของ ครม.และ คสช.ว่า มีประเด็นใดต้องซักถามสอบถามบ้าง ซึ่ง สนช.มีสิทธิขอแก้ไขได้ หากมีความจำเป็น แต่ ครม.และคสช.ต้องยอมให้แก้ไขด้วย ถ้าจะมาถามเรื่องคำถาม ประชามติ ต้องรอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียบร้อยก่อน แต่วันนี้ คสช.ยังไม่ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาถึงมือตนเลย
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สนช. กล่าวว่า คำถามที่ สปช. และ สนช. จะเสนอในการทำประชามติ ควรเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างเท่านั้น ซึ่งมีหลายคำถาม การถามเพียง คำถามเดียวอาจไม่ตอบข้อสงสัย หรือข้อถกเถียงที่มีอยู่ได้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจ
กมธ.ตีปีกมีเวลาทำงานมากขึ้น
เมื่อเวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ เป็นประธานการประชุม เพื่อสรุปความเห็นข้อเสนอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของ สปช.และ ครม. จากนั้นเวลา 12.30 น. พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ขณะนี้ต้องรอดูร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ว่า จะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร ระหว่างนี้ กมธ.ยกร่างฯจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญให้ครบทุกหมวด โดยทบทวนเป็นรายมาตรา และนำความเห็นขอแก้ไขแต่ละกลุ่มมาประกอบการพิจารณาเป็นหลัก จะพิจารณาเรื่องสำคัญก่อน อาทิ ที่มา ส.ว. -ส.ส. ระบบโอเพ่นลิสต์ และกลุ่มการเมือง ส่วนการขยายเวลาให้ กมธ.ยกร่างฯ จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะจะมีเวลาพิจารณามากขึ้นในการทบทวนร่างรัฐธรรมนูญ และหาก กมธ.ยกร่างฯได้เวลาการทำงานเพิ่มขึ้น ร่างรัฐธรรมนูญสุดท้ายจะส่งให้ สปช.พิจารณาภายในวันที่ 21 ส.ค. และลงมติรับร่างภายในวันที่ 4 ก.ย. ทั้งนี้ หากรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ กมธ.ยกร่างฯจะอยู่ทำหน้าที่ต่อไปในการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ขณะที่ สปช.อาจเปลี่ยนบทบาทไปเป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ขึ้นอยู่กับ คสช.และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่า จะกำหนดอย่างไร
หนุนปล่อยผีคนถูกตัดสิทธิช่วยงาน
นายเจษฎ์ โทณะวณิก คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณี ครม.และ คสช. แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ให้บุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามาเป็น สนช.และ ครม.ได้ว่า มีนัยเพื่อสร้างกลไกผ่อนปรนให้ผู้ที่ถูกถอดถอนสิทธิเลือกตั้งเข้ามาเป็น สนช. และเปิดช่องให้ขยับ เข้าสู่ภาคการเมืองได้มากขึ้น มองว่าจะเป็นการส่งสัญญาณต่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในการกำหนดคุณสมบัติผู้เคยถูกถอดถอนสิทธิเลือกตั้งด้วย เชื่อว่า สังคมจะให้การยอมรับ เงื่อนไขดังกล่าวเป็นการเปิดพื้นที่ ไม่ใช่การต่อรองอะไร การปรับแก้เรื่องคุณสมบัติผู้เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองจะไม่ขัดรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 เนื่องจากมาตรา 35 เป็นการวางกลไกในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต แต่การปรับแก้คุณสมบัติเป็นเรื่องที่ใช้ในปัจจุบัน จะไม่ลงโทษย้อนหลัง เมื่อบุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองได้รับโทษไปแล้ว ก็ไม่ควรได้รับการลงโทษซ้ำอีก
ชี้ไม่ควรลงโทษจำกัดสิทธิซ้ำ
นายไพบูลย์ นิติตะวัน กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า เชื่อว่า สังคมยอมรับได้ต่อการแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของ สนช.และ ครม. หากคนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองได้รับโทษ 5 ปีแล้ว กฎหมายก็ไม่ควรลงโทษซ้ำอีก ส่วนการเปิดให้ทำประชามติได้มากกว่า 1 คำถามนั้น มีแนวคิดจะเสนอต่อที่ประชุม สปช.ให้พิจารณา นำข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้มีการปฏิรูปให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งนำเสนอต่อที่ประชุม สปช. ซึ่งจะต้องพิจารณาให้เสร็จก่อนที่ สปช.จะสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่ง
“มาร์ค” ไม่วิจารณ์ต่ออายุรัฐบาล
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี ครม.และ คสช. เห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 57 ใน 7 ประเด็นว่า จำเป็นต้องแก้ไขอยู่แล้วเพราะเมื่อจะทำประชามติ อะไรที่ ครม.และ คสช.มองว่าเป็นอุปสรรคในการทำงานของ สนช.และ สปช. หรือการวางโครงสร้างก็ต้องแก้ไปพร้อมกัน กระบวนการทำประชามตินอกจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องอยู่ที่คำถามที่จะถามพ่วงไปด้วย อย่างไรก็ตามการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรแก้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการเดินไปได้ตามโรดแม็ป ไม่มีความจำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญให้เกินเลยไปกว่านั้น เมื่อถามว่า การให้ถามคำถามประชามติได้มากกว่าเรื่องจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มองว่า เป็นการชงคำถามให้นายกฯอยู่ต่อ 2 ปีหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า นายกฯไม่ให้พูดเรื่องนี้แล้ว ข้อเท็จจริงโรดแม็ปที่มีอยู่สามารถยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เชื่อว่า คสช.สามารถเดินหน้าทำงาน รายงานปัญหาและอุปสรรคให้ประชาชนรับทราบได้ จะทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีก
ขวางใช้ กมธ.ชุดเดิมยกร่างใหม่
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะให้ กมธ.ยก ร่างฯที่ถูกยุบ มาเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ได้ เพราะถือว่าล้มเหลวในการร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ควรให้ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญต่อไปแม้แต่คนเดียว ควรทำแบบที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนอ คือถ้าทำประชามติไม่ผ่าน ให้นำรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ผ่านการทำประชามติมาปรับแก้ แล้วนำมาใช้แทนดีกว่าจะมาเสียเวลาเพิ่มอีก 180 วัน และเอาเข้าจริงๆคงไม่ได้ ใช้เวลา 180 วัน กว่าจะตั้งกรรมการเสร็จก็ใช้เวลา 3 เดือน ร่างรัฐธรรมนูญอีก 6 เดือน ทำประชามติอีก 3 เดือน เสียเวลาเป็นปีๆ
อนาถใจแก้ รธน.สืบอำนาจ
นายประมวล เอมเปีย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ผลการประชุมระหว่าง ครม.และคสช.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ที่ให้สามารถเพิ่มประเด็นคำถามในการทำประชามติได้มากกว่า 1 ข้อนั้น ฟันธงได้ว่า ต้องเป็นคำถามโยนหินที่มีการสร้างกระแสสังคมว่า อยากให้ปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อนแล้วค่อยจัดการเลือกตั้งหรือไม่ เป็นไปตามขบวนการจัดตั้งที่จะปูทางสืบทอดอำนาจหรือไม่ แต่ที่น่าอนาถใจคือ การให้ สปช.สิ้นสุดลงทันทีเมื่อลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่กลับเปิดทางให้ สปช.กลับมาเป็นสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้อีก ฟันธงได้เช่นกันว่า จะมีแต่คนหน้าเดิมประเภทอวย สอพลอผู้มีอำนาจ มานั่งในสภาขับเคลื่อนฯ ก็เปลี่ยนแค่หมวก เปลี่ยนชื่อมานั่งต่อ อ้างว่ามาทำงานปฏิรูปให้เสร็จสิ้น แต่ 1 ปีที่ผ่านไป กับการกินเงินเดือน เดือนละกว่าแสนบาท แต่ผลงานไม่มี จะชี้แจงสังคมอย่างไร
เปิดทาง “สมคิด” ยึดเก้าอี้ ครม.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กล่าวว่า เนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มีสิ่งที่น่าสนใจคือ การเปิดช่องให้คนบ้านเลขที่ 111 และ 109 เข้าดำรงตำแหน่งการเมืองได้ น่าจับตามองว่า หากมีการปรับ ครม.หรือแต่งตั้งตำแหน่งอื่นโดยอำนาจคสช. จะมีชื่อคนกลุ่มนี้ให้เห็นสายสัมพันธ์ทางการเมืองของ คสช.หรือไม่
นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การแก้ไขคุณสมบัติให้ผู้เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองสามารถเป็น สนช. และ ครม.ได้ แสดงให้เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ น่าจะมีการปรับ ครม. โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เป็นไปได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์อาจจะดึงนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา คสช. มาเป็นรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ถ้าเป็นคนนี้ตนขอสนับสนุน
ทำนายรัฐบาลเจอวิกฤติเดือน ก.ค.
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯและ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีรัฐบาลและ คสช.เห็นชอบแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 7 ประเด็นว่า เป็นการเปิดให้รัฐบาลเดินไปตามโรดแม็ป แต่โรดแม็ปสามารถยืดได้หดได้ตามสภาวะความนึกคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.อยู่แล้ว รัฐบาลจะอยู่นานเท่าใดคงไม่มีใครว่า ถ้าประเทศก้าวไปได้ดีและประชาชนอยู่ดีกินดี แต่วันนี้มีผู้รู้ด้านเศรษฐกิจยืนยันชัดเจนว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เมื่อไปตรวจสอบปฏิทินปีนี้ยิ่งตกใจแทบหงายหลัง เพราะวันเดือนปีของปีนี้ตรงกับปีปฏิทินปี 40 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ยิ่งคิดยิ่งหนาวว่า วิกฤติต้มยำกุ้งจะกลับมาอีก โดยเฉพาะในช่วงเดือน ก.ค. จะเข้าสู่โหมด วิกฤติแน่นอน ในที่สุดรัฐบาลอาจต้องตัดสินใจคล้ายๆรัฐบาลสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และ หนีไม่พ้นที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่น ไม่เชื่อให้เขียนชื่อติดข้างฝาบ้านเอาไว้เลย เรื่องนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
คาด คสช.อยู่ยาวถึงปี 62
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ จะไม่ผ่านความเห็นชอบของ สปช. จากนั้น คสช.จะตั้งกรรมการยกร่างฯชุดใหม่ 21 คน ให้ กมธ.ยกร่างฯชุดเดิมเข้ามานั่งในตำแหน่งนี้ได้ จึงเชื่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์จะไม่นำไปสู่การทำประชามติ เพราะกระแสร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เป็นที่ยอมรับ ถ้าประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะเกิดความเสียหาย ดูแล้วจึงเป็นการวางหมากให้การปฏิรูปประเทศอยู่ยาวกว่า 2 ปี คาดว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ในปี 2562
ภท.เชื่อสังคมคาใจแก้ รธน.
นายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า สิ่งที่สังคมมองเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ทั้ง 7 ประเด็นคือ คสช.และ ครม.จะอยู่ต่อหรือไม่ แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ยืนยันว่าทุกอย่างเป็นไปตามโรดแม็ป แต่เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแสดงว่า โรดแม็ปจะเปลี่ยนแปลงไปใช่หรือไม่ บางประเด็นแก้ไขแล้วเป็นเรื่องดี แต่บางประเด็นถูกตั้งคำถามว่า ต้องการสืบทอดอำนาจหรือไม่ ในประเทศมีทั้งคนเห็นด้วย และเห็นต่าง อีกทั้งต่างประเทศก็จับตาดูอยู่ ผู้มีอำนาจต้องอธิบายให้สังคมเข้าใจ
“บิ๊กตู่” ปลูกป่ารอยต่อ 5 จังหวัด
สำหรับภารกิจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ในวันที่ 10 มิ.ย.นั้น เมื่อเวลา 09.10 น. ที่ ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธานเปิดงานวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2558 “รวมพลังพลิกฟื้นผืนป่า ป่าไม้มั่นคง ประชาชนมั่งคั่งอย่างยั่งยืน” บนพื้นที่ 160 ไร่ของป่าสงวนแห่งชาติป่าแควระบมและป่าสียัด มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมประชาชนจำนวนมากให้การต้อนรับ โดย พล.อ.ประยุทธ์มอบเข็มเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ด้านพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกล้าไม้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้นำชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พร้อมปลูกต้นพะยูงและยางป่า เพื่อปลูกป่านำร่อง
เฉ่งยับพวกบิดเบือนประชามติ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้มาในฐานะนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าใครจะชอบหรือไม่ชอบก็จะมา และมาวันนี้ประชาชนเริ่มมีความสุข แต่ยังมีหลายอย่างที่ยังมีความขัดแย้ง แต่ถ้าเกิดความมั่นคง สังคมจะเกิดความสงบ ไม่มีใครมาปลุกปั่นให้แบ่งข้าง เมื่อถึงเวลาเลือกตั้ง เลือกคนดีเข้ามา อย่าเลือกคนสร้างความขัดแย้ง หรือคนเอาเปรียบ บิดเบือนไม่พูดความจริง และอำนาจของทุกคนไม่ใช่ตั้งกลุ่มขึ้นมาเดินขบวนประท้วง ขอให้อยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่สร้างความรุนแรง หรือทำให้สังคมแตกแยก ขอร้องว่าอย่าทำอีก ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ การทำประชามติ ทุกคนต้องร่วมมือในการทำประชามติ เป็นการใช้อำนาจของทุกคน อย่าไปเชื่อการบิดเบือนต่างๆ วันนี้มีคนบางพวกบางกลุ่มชอบออกมาพูด คิดว่าไม่น่าจะใช่คนไทย
ลั่นคนโกงต้องไม่มีที่ยืนบนแผ่นดิน
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้รัฐบาลขับเคลื่อนทุกเรื่อง สิ่งสำคัญคือความเหลื่อมล้ำทั้งเรื่องรายได้ อาชีพ การไม่มีงานทำ ความเป็นธรรมยังไม่เข้าถึง ทุกคนต้องร่วมกันกำจัดคนทุจริต คนโกงต้องไม่มีที่ยืนบนแผ่นดินนี้ ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลไม่ได้ลงลึกในการแก้ไขปัญหา จนเกิดความทับซ้อนในเชิงโครงสร้าง เช่น ปัญหาลอตเตอรี่แพงรอมา 8-9 เดือน วันนี้ดีขึ้นกว่าเดิม ทุกคนคิดแต่จะเอารายได้ โดยไม่ยึดกติกาสังคมและหลักกฎหมาย ยิ่งเจ้าหน้าที่ปล่อยปละละเลยไปกันใหญ่ จึงต้องค่อยๆดึงกลับมา รู้ว่ามีหลายคนเดือนร้อนแต่ต้องทำ วันนี้ทุกคนต้องกลับเข้ามาอยู่ใต้กติกา ตนมอบอำนาจเต็มให้ ผวจ. ดังนั้น ผวจ.ต้องรับผิดชอบทั้งหมด รองลงมาคือ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.ทุกคนต้องมีส่วนร่วม เอากฎหมายมาเป็นที่ตั้ง ทำให้เกิดประโยชน์กับทุกคน ทั้งคน ป่า และสัตว์ป่าจะต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันให้ได้
บ่นการทำงานไม่ได้ดั่งใจ
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนเป็นรัฐบาลเกือบจะปีแล้ว แต่หลายอย่างยังไม่เกิด ไม่ทันใจ ดังนั้นทุกคนต้องชัดเจน มีระยะทำงาน ไม่ใช่มาเริ่มในระยะที่ 1 ทุกเรื่อง ที่ผ่านมามีแผนงาน แต่ไม่ทำเพราะขาดความร่วมมือจากประชาชน มีปัญหาทุกอย่าง ซึ่งเกิดจากการเมืองทั้งสิ้น ไม่ปฏิเสธว่าประเทศไทยต้องเป็นประชาธิปไตย เตรียมความพร้อมให้คนที่จะรับผิดชอบต่อไปให้มาทำก็ไม่รู้จะทำได้หรือเปล่า ยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่ทำร้ายประชาชน ตนไม่ใช่คนใจร้าย แต่จะทำทุกอย่างไม่ให้ขัดแย้งกับกฎหมาย การขอคืนผืนป่าเราจะทำอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน
ร่ายยาว “อำนวย” หน้ามืดทรุดคาเวที
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีพูดเปิดงาน ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานร่วม 40 นาที ประกอบกับสภาพอากาศร้อนจัด เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง มีเพียงเต็นท์ผ้าใบทำเป็นหลังคาในพิธีเปิดงานเท่านั้น ทำให้นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ ซึ่งยืนอยู่บนเวทีร่วมกับรัฐมนตรีหลายคน เกิดอาการหน้ามืด ทรุดลงกลางเวที ทำให้รัฐมนตรีหลายคน และเจ้าหน้าที่ต่างตกใจ รีบเข้าไปช่วยประคองร่างนายอำนวย ก่อนที่จะพยุงลงจากเวทีไปนั่งที่เก้าอี้รับรองด้านล่างเวที พร้อมนำยาดมและผ้าเย็นมาปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทำให้นายอำนวยมีอาการดีขึ้น และยกมือไหว้ขอโทษนายกฯกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งนายกฯได้หันไปมองที่นายอำนวย และพูดว่า “ท่านไม่ค่อยสบาย ทำงานหนักมาตลอด อายุก็เยอะเหมือนกันแล้ว ก็ไม่รู้จะยืนกันสักกี่คนวันนี้ แต่ผมก็ยังยืนอยู่เสมอ ถ้าผมล้มเมื่อไหร่แล้วค่อยว่ากัน”
คอหวยจ้องทะเบียนรถนายกฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ยังคงพูดบนเวทีต่อไปอีกประมาณ 20 นาที โดยบอกว่า “เสื้อคลุมที่ให้ใส่ในงานมันร้อน ข้อสำคัญมันร้อนใจ เป็นการร้อนใจแทนประชาชน” ก่อนที่จะเชิญรัฐมนตรีที่อยู่บนเวทีลงไปนั่งฟังด้านล่างเวที พร้อมพูดว่า “เดี๋ยวจะเป็นลมไปอีก” ทั้งนี้ ตลอดการลงพื้นที่ของนายกฯที่ จ.ฉะเชิง เทรา ได้รับความสนใจจากประชาชนที่เฝ้ารอจับตาดูทะเบียนรถยนต์ 3กฐ 2452 กรุงเทพมหานคร ของนายกฯที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจ โดยนำโทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูปมาบันทึกไว้ เพื่อนำไปเสี่ยงโชคต่อไป
เปรยไม่คิดอยู่ยาวถึงปี 60
ต่อมาเวลา 11.40 น. พล.อ.ประยุทธ์ พร้อมคณะ เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์มายังโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาประแสร์ ต.ชุมแสง อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เพื่อรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในพื้นที่ประแสร์และภาคตะวันออก มีนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าฯ จ.ระยอง และข้าราชการ ประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวกับประชาชนว่า วันนี้เรื่องน้ำมีปัญหาทั้งประเทศ ที่ผ่านมาการบริหารจัดการน้ำไม่ชัดเจน ต้องรื้อเขียนยุทธศาสตร์ใหม่ ขณะที่การปลูกข้าวนาปีเริ่มมีปัญหา ฝนตกไม่ต่อเนื่อง เก็บน้ำไม่ได้ ล่าสุดสั่งการให้ทำประกันการปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่ม จากเดิมประกันเฉพาะการปลูกข้าวในพื้นที่แล้งซ้ำซากเท่านั้น เพราะรัฐบาลไม่สามารถใช้เงินมาจ่ายความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ เราพูดกันที่ข้อเท็จจริง ไม่ได้พูดเอาคะแนนเสียง หากจะมาไล่กันให้มากระซิบ อย่าพูดเสียงดัง สิ่งที่ตนแก้ปัญหา ทำมาตั้งแต่ปี 57 จะจบในปี 59 คิดว่าปี 60 คงไม่อยู่แล้ว เป็นหน้าที่ทุกคนต้องรวมพลัง ไม่ใช่มาต่อต้าน รวมพลังใช้อำนาจอธิปไตยอย่างถูกต้อง ทั้งเลือกตั้ง และทำประชามติ
โอดวิ่งหาเงินใช้หนี้แสนล้าน
“ที่ผ่านมาผมต้องหาเงินมาใช้หนี้ไม่รู้กี่แสนล้าน นั่นถือเป็นน้ำตาของผม เป็นภาษีของประชาชน วันนี้ผมไม่อยากมีอำนาจซักวัน ผมไม่ได้ไปรังแกท่าน แต่รายได้การเกษตรที่ลดลง คือเรื่องที่ต้องยอมรับ ต้องกลับไปสู่ความเป็นจริง บิดเบือนไม่ได้อีกแล้ว เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า เป็นประเทศล้มละลายในสายตาชาวโลก ถึงจะมีปัญหาใช้งบฯ แต่ไม่ได้เป็นรัฐบาลที่ตูดขาด เงินหมด ตามที่ใครกล่าวหา เงินสำรองมีไว้ไม่ได้เพื่อแจกใคร ผมมองภาพรวมทั้งประเทศเสมอภาค ประชาชนต้องไม่ถูกชักจูงอีก อยู่กับระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากล วันนี้ไม่มีอะไรในโลกที่ดีอย่างเดียว หรือเสียอย่างเดียว เว้นแต่จิตใจมนุษย์ ที่เลวแก้ไม่ได้ ต้องเติมความดีให้เขา ไม่ใช่รวยแล้วเปลี่ยน แต่ต้องคิดถึงตอนที่ตัวเองจนด้วย หากยอมรับกติกา ก็มีโอกาสกลับตัวได้ และประชาชนอย่ากลับไปเลือกผิดอีก เลือกผิดมาหลายครั้งแล้ว อย่างผลผลิตวันนี้บ้านเรามีเยอะ แต่ขาดสตอรี่สร้างเรื่องราวเพิ่มมูลค่าเหมือนญี่ปุ่น บ้านเรามีแต่สตรอเบอรี่ หรือไม่ก็สตอเบอร์แหล แต่ตรงนี้ไม่ได้ว่าก้าวล่วงใคร เดี๋ยวหาว่าผมไปยุ่งกับเขาอีก” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ขู่เชือดพวกบิดเบือนโลกโซเชียล
จากนั้นเวลา 15.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสเรียกร้องประชาชนบางส่วนที่ต้องการให้อยู่ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้งว่า ปัญหาวันนี้ที่มีอยู่เยอะในเวลาที่จำกัด พูดก็ไม่ฟังกัน ถามแต่ว่า วันนี้จะอยู่ต่อหรือไม่ วันนี้ตนอยู่ต้องดีขึ้น ทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ คงไม่ถึงขอให้สื่อหยุดเปิดพื้นที่ให้การเมือง แค่อย่าไปเปิดเวทีให้การเมืองบิดเบี้ยวบิดเบือน แล้วมาต่อต้านการทำงานของตนเป็นพอ เพราะจะทำให้หงุดหงิด ส่วนที่ฝ่ายการเมืองที่ต่อต้านเริ่มเคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้นนั้น ลองทำไปเรื่อยๆสิ บอกไปแล้วว่า ตนใจดีแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น จะลองดูก็ได้ เมื่อถามว่า แสดงว่าที่ผ่านมาเป็นหนังตัวอย่าง หลังจากนี้จะเป็นของจริง พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า หมายถึงความดุเดือดโดยใช้กฎหมาย เมื่อถามว่า หากมีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ หน่วยงานใดจะเป็นผู้รณรงค์ พล.อ.ประยุทธ์ตอบว่า ฝ่ายการเมืองจะมารณรงค์ไม่ได้ แต่ถ้ารณรงค์ให้คนออกมาทำประชามตินั้น ทำได้ จะมาว่าตนลอยตัวไม่ได้ ส่วนในมุมของต่างประเทศนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้อธิบายสถานการณ์ในประเทศไทยผ่านช่องทางการทูตมาตลอด และเวลาตนให้สัมภาษณ์ สื่อไทยนำเสนอข่าว ต่างชาติก็รับรู้ข้อมูล
“บิ๊กเจี๊ยบ” ยันไม่ฉีกสัญญาโรดแม็ป
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงข้อเสนอการยืดอายุรัฐบาลออกไป 2 ปี เพื่อปฏิรูปประเทศให้เสร็จก่อนเลือกตั้งว่า นายกฯยืนยันว่าจะทำตามโรดแม็ป เวลาตนไปต่างประเทศ ไม่มีใครถามเรื่องการเมือง และให้การต้อนรับในฐานะผู้แทนไทยเป็นอย่างดี เมื่อถามว่า หากรัฐบาลยังทำงานต่อ แสดงว่าต่างชาติก็ไม่สนใจอะไร พล.อ.ธนะศักดิ์ตอบว่า ว่าไปตามโรดแม็ป ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญนั้น เราเปิดกว้างมาก ตอนเชิญนักวิชาการจากต่างประเทศ 3 คน มาบรรยายที่ประเทศไทย กมธ.ยกร่างฯ ได้นำความเห็นนักวิชาการทั้ง 3 คนไปพิจารณาด้วย
นายกฯเยือนสิงคโปร์ 11–12 มิ.ย.
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 11-12 มิ.ย.ตามคำเชิญของนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งนายกฯ โดยวันที่ 11 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จะเข้าเยี่ยมคารวะนายโทนี ตัน เค็ง ยัม ประธานาธิบดีสิงคโปร์ และร่วมประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับ นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ รวมทั้งร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความตกลงและบันทึกความเข้าใจด้านเศรษฐกิจ 4 ฉบับ ส่วนวันที่ 12 มิ.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จะพบปะนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28 จากนั้นหารือ “Lunch Meeting” กับนักธุรกิจชั้นนำของสิงคโปร์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาครัฐและภาคเอกชนสิงคโปร์ ก่อนเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง ในช่วงเย็นวันเดียวกัน
คาดรู้ผลสอบปลัด สธ. 15 มิ.ย.
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีไม่สนองนโยบาย รมว.สาธารณสุขว่า คาดว่าน่าจะรายงานผลได้ภายในวันที่ 15 มิ.ย. แต่คงบอกไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้ว เมื่อผลสอบออกมา นพ.ณรงค์จะได้กลับกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ ส่วนการออกมาเรียกร้องของบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ทำได้ หากไม่ส่งผลกระทบกับใคร ส่วนกรณีการตรวจสอบการใช้เงินของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้น คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) มีข้อทักท้วง และล่าสุด รมว.สาธารณสุข ให้ สปสช. นำข้อมูลส่งไปยัง คตร. อยากย้ำว่าเรื่อง สปสช.กับนพ.ณรงค์ เป็นคนละเรื่องกัน อย่าเอามารวมกัน เพราะ นพ.ณรงค์ ถูกย้ายเนื่องจากกรณีไม่สนองนโยบาย แต่ สปสช.มีคนร้องเรียนเรื่องการบริหารงบฯ ก็ตั้งคณะกรรมการสอบขึ้น
“มาร์ค” รับคนเซ็ง “ชายหมู” แก้น้ำท่วม
ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ตำหนิ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมขังใน กทม.ว่า พร้อมน้อมรับเสียงตำหนิในภาวะที่ประชาชนเดือดร้อน และต้องหาทางปรับปรุงแก้ไข ตอนนี้ได้พูดคุยกับอดีต ส.ส.กทม. อดีต ส.ก.ในแต่ละพื้นที่ ขอให้รายงานปัญหาให้ผู้ว่าฯ รับทราบ เมื่อถามว่า จะกระทบกับคะแนนเสียงของพรรคหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า ต้องยอมรับเมื่อปัญหาเกิดขึ้น ประชาชนมีความไม่พอใจ เวลาที่เหลืออยู่ต้องเร่งปรับปรุงการทำงาน ส่วนสมัยหน้าจะส่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ลงสมัครต่ออีกหรือไม่ ยังตอบไม่ได้
พท.คัดสำนวนคดีถอดถอน
เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย พร้อมอดีต ส.ส.เพื่อไทย เดินทางมาคัดสำนวนคดีกรณีอดีต 248 ส.ส. ถูก ป.ป.ช.ยื่นถอดถอนคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว.โดยมิชอบ จำนวนกว่า 30,000 หน้า ซึ่ง สนช.เตรียมจะเปิดประชุมพิจารณาคดีนัดแรก
ในวันที่ 26 มิ.ย. โดยนายสามารถ กล่าวว่า มาแสดงเจตจำนงใช้สิทธิแก้ข้อกล่าวหา และตรวจสำนวนทั้งหมด ยืนยันว่าจะขอยื่นเพิ่มเติมพยานหลักฐานทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลที่ ป.ป.ช.ไม่อนุญาตให้ยื่น ซึ่งอดีต ส.ส.ทั้ง 248 คน จะมาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาด้วยตัวเอง หวังว่า สนช.จะสร้างมาตรฐานเดียวกันอยู่ ไม่อย่างนั้นคงจะอธิบายสังคมไม่ได้
อดีต รมต.แก้เผ็ดฟ้องกลับ “วิชา”
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทยว่า หลังจากที่ ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ครม.รวม 34 ราย กรณีการจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 โดยไม่มีกฎหมายรองรับนั้น อดีตรัฐมนตรีที่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาหลายคนได้หารือร่วมกันแล้วเห็นว่า จะดำเนินการฟ้องร้อง นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ พร้อมคณะอนุกรรมการ รวม 11 ราย เพื่อเอาผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เนื่องจากเห็นว่า ที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ อาทิ ศาลปกครอง เห็นว่า ครม. มีอำนาจในการนำงบกลางไปจ่ายเป็นเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองสามารถทำได้ โดยจะส่งตัวแทนไปยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ในวันที่ 12 มิ.ย. เวลา 14.00 น.

ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ


    คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)

ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  โดย อ.นิกร 
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม