เรื่องใหม่น่าสนใจ
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เลือกตั้งโอเพ่นลิสต์ 'สมชัย' ชี้รอไปก่อน 10 ปี
กกต. 'สมชัย' เผย ต้องรอไปอีก 10 ปี ถึงเลือกตั้งอิเล็กทรอนิกส์แบบโอเพ่นลิสต์ได้ ชี้ต้องใช้งบฯ ซื้อเครื่องสูง 4-5 พันล้านบาท แถมยังไม่เข้ากับระบบการเลือกตั้งแบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อปกติที่ กกต.ใช้...
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงกรณีที่จะเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์กับการลงคะแนนเลือกตั้งแบบ อิเล็กทรอนิกส์ว่า อย่างน้อยคงต้องใช้เวลาอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากเครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ กกต.มีอยู่ในขณะนี้ไม่สอดรับ กับการเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ เนื่องจากมีเพียงการให้เลือกตั้งแบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อปกติ ยังไม่มีการเชื่อมโยงว่า หากเลือกพรรคการเมืองแล้วจะเลือกตัวบุคคลในบัญชีรายชื่อได้อย่างไร ดังนั้นคงต้องใช้เวลาพอสมควร
กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ การเลือกตั้งแบบโอเพ่นลิสต์ ต้องใช้งบประมาณถึง 4,000-5,000 ล้านบาท ในการจัดซื้อเครื่องลงคะแนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่รองรับการลงคะแนนแบบโอเพ่นลิสต์ โดยคำนวณจากหน่วยเลือกตั้งในประเทศที่มีประมาณ 100,000 หน่วย และแต่ละหน่วยต้องใช้ 4 เครื่อง และเครื่องมีราคาประมาณ 10,000 บาท อย่างไรก็ตาม หาก 10 ปีข้างหน้าก็ไม่แน่ใจว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังยกร่างฯ กันอยู่นี้จะมีการปรับแก้อะไรหรือไม่
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช. ระบุว่า อาจต้องมีการประชามติในเดือน ก.พ. 2559 นั้น กกต.ยังยืนยันว่า สามารถจัดการลงประชามติได้ภายในวัน 10 ม.ค. 59 เช่นเดิม เพราะได้เตรียมการสำรวจโรงพิมพ์ต่างๆ ไว้หมดแล้ว
กรณีการตั้งคำถามประชามติว่า ที่มีการเสนอว่าควรมีเพียงคำถามเดียวคือรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ทาง กกต.ไม่มีความเห็น ขึ้นอยู่กับ สปช.และ สนช.จะมีมติตั้งคำถามหรือไม่ ในเชิงเทคนิคไม่ว่าจะมีกี่คำถาม กกต.สามารถจัดการได้ เพียงแต่ถ้ามีคำถามเพิ่มขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามมา เช่น 1 คำถาม อาจเสียค่าพิมพ์บัตร 50 ล้านบาท 2 คำถาม ก็ 100 ล้านบาท หาก 3 คำถามก็จะใช้เงิน 150 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งยังไม่รวมค่าหีบบัตร และค่าอื่นๆ ที่จะขึ้นตามมาด้วย
กรณีการตั้งคำถามประชามติว่า ที่มีการเสนอว่าควรมีเพียงคำถามเดียวคือรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า ทาง กกต.ไม่มีความเห็น ขึ้นอยู่กับ สปช.และ สนช.จะมีมติตั้งคำถามหรือไม่ ในเชิงเทคนิคไม่ว่าจะมีกี่คำถาม กกต.สามารถจัดการได้ เพียงแต่ถ้ามีคำถามเพิ่มขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามมา เช่น 1 คำถาม อาจเสียค่าพิมพ์บัตร 50 ล้านบาท 2 คำถาม ก็ 100 ล้านบาท หาก 3 คำถามก็จะใช้เงิน 150 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งยังไม่รวมค่าหีบบัตร และค่าอื่นๆ ที่จะขึ้นตามมาด้วย
ขณะที่ นายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม กล่าวว่า รูปแบบการทำประชามติมีทั้งคำถามเดียวและหลายคำถาม แต่ไม่ว่าจะมีกี่คำถามประเด็นต้องชัดเจน และประชาชนต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่จะต้องนำมาตอบ เช่น การทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็มีการสรุปสาระสำคัญให้เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตามประเด็นคำถามที่จะเพิ่มมานอกเหนือจากการรับหรือไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญขณะนี้ก็ยังไม่ชัดว่าจะมีหรือไม่มี.
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น