เรื่องใหม่น่าสนใจ
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ตามรอยไวรัส 'เมอร์ส' แพร่กระจายในเกาหลีใต้ได้อย่างไร?
กาหลีใต้กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส เมอร์ส ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้ว 122 คน เสียชีวิตไปแล้ว 10 ราย และถูกกักตัวเพื่อสังเกตการณ์มากกว่า 3,800 คน ทำให้แดนโสมขาวกลายเป็นประเทศที่มีการระบาดของไวรัสเมอร์สมากที่สุด รองจากซาอุดีอาระเบีย โดยที่ใครจะเชื่อว่าวิกฤติครั้งนี้มีจุดเริ่มต้นจากอาการป่วยเล็กน้อยอย่างการไอเท่านั้น
แต่ก่อนที่เราจะไปพูดถึงต้นตอการระบาดในเกาหลีใต้ เรามาทำความรู้จักกับไวรัส เมอร์ส หรือชื่อเต็มว่า ไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุกลุ่มอาการโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง กันก่อนดีกว่า
กำเนิดไวรัสเมอร์ส
ต้นกำเนิดของไวรัสเมอร์ส เชื่อว่ามาจากไวรัสในค้างคาว และติดต่อไปยังอูฐมาตลอดช่วงเวลาอย่างน้อย 20 ปีที่ผ่านมา และเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่มนุษย์ โดยยังไม่มีใครรู้ จนกระทั่งแพทย์ชาวอียิปต์ประกาศการค้นพบไวรัสตัวนี้ ซึ่งอยู่ภายในปอดของคนไข้ในซาอุดีอาระเบียเมื่อ เม.ย.ปี 2012 โดยตอนแรกมีชื่อเรียกว่า โนเวล โคโรนาไวรัส 2012
หลังจากนั้น ไวรัสชนิดนี้ก็ระบาดอย่างรุนแรง โดยพบผู้ติดเชื้อมากที่สุดในซาอุดีอาระเบีย โดยมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 938 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตถึง 402 คน คิดเป็นอัตราเสียชีวิต 43% รองลงมาคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ติดเชื้อ 74 ราย เสียชีวิต 10 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อเมอร์สในอีกกว่า 24 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งมาเลเซียและฟิลิปปินส์ แต่มีผู้ติดเชื้อรวมกัน และทั้งหมดติดเชื้อมาจากซาอุดีอาระเบีย
แล้วไวรัสเมอร์สเข้าสู่เกาหลีใต้ได้อย่างไร?
หลังจากการระบาดครั้งใหญ่ในปี 2012 ก็มีรายงานพบผู้ติดเชื้อเมอร์สประปรายในประเทศต่างๆ แต่ไม่รุนแรงเหมือนเมื่อครั้งระบาดใหม่ๆ กอปรกับถูกกระแสตื่นตัวเชื้อไวรัสอีโบลา ในแอฟริกาตะวันตกกลบจนมิด ทำให้เชื้อเมอร์สหายไปจากหน้าสื่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าไวรัสตัวนี้หายไปด้วย และเมื่อ 20 พ.ค. 2015 เกาหลีใต้ประกาศพบผู้ติดเชื้อเมอร์สรายแรกในประเทศ โดยเป็นชายชาวเกาหลีใต้อายุ 68 ปี ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากภูมิภาคตะวันออกกลาง
ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับชายคนนี้ถูกเปิดเผยออกมามากนัก แต่จากการสัมภาษณ์ภรรยาของชายคนนี้ทำให้รู้ว่า เขาเดินทางไปพบหมอหลายคนที่สถานพยาบาลหลายแห่งในกรุงโซล เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับอาการป่วยของเขา ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขของเกาหลีใต้เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อไวรัสติดต่อไปยังผู้คนอย่างน้อย 30 คน ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล
ขณะที่ตามการเปิดเผยของกระทรวงสาธารณสุขในเบื้องต้น หลังจากที่ชายวัย 68 ปีรายนี้ เดินทางกลับถึงบ้านเกิดเมื่อวันที่ 9 พ.ค. เขาก็เริ่มมีอาการไอ จึงเดินทางไปหาหมอที่โรงพยาบาลในเมืองอาซาน ทางใต้ของกรุงโซล และเพียงวันเดียวหลังจากนั้นอาการป่วยของเขาก็แย่ลงและเดินทางไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอีกแห่งที่อยู่ใกล้กับแห่งแรก ซึ่งแพทย์จัดให้เขานอนในห้องผู้ป่วยคู่ กับคนไข้อีกคนหนึ่ง โดยรู้ว่าชายคนนี้ติดเชื้อเมอร์ส
หลังจากนอนในโรงพยาบาล 3 วัน ชายวัย 68 ปี ก็ได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล เขาซึ่งอาการป่วยยังไม่หายดีจึงเดินทางเข้ากรุงโซลและพบแพทย์ที่คลินิกเอกชน เซนต์ แมรี ก่อนจะเดินทางไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล ซัมซุง เมดิคัล เซ็นเตอร์ และถูกส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉิน จากนั้นจึงได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเมอร์ส ในวันที่ 20 พ.ค. 9 วันหลังกลับจากตะวันออกกลาง
ความล่าช้าในการรับมือกับโรคของรัฐบาล เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากทุกภาคส่วน ซึ่งนาย มูน ฮยอง-เปียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเกาหลีใต้ก็ออกมายอมรับผิดว่า การแพร่กระจายของไวรัสเมอร์ส น่าจะยุติได้เร็วกว่านี้ หากพวกเขาตอบสนองได้เร็วกว่านี้
แต่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า แพทย์ไม่ได้ตรวจหาเชื้อเมอร์สในตัวชายคนนี้ทันที เนื่องจากเขาบอกกับเจ้าหน้าที่การแพทย์ว่า เขาเดินทางไปยังประเทศบาห์เรน ซึ่งเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคคาบสมุทรอาระเบียไม่มีประวัติพบผู้ติดเชื้อเมอร์ส รวมทั้งไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วยหรืออูฐ สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคเมอร์สสู่คน แต่ทราบในภายหลังว่า ชายคนนี้เดินทางไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบียด้วย โดยภรรยาของชายคนนี้อ้างว่า สามีของเธอสับสนเรื่องการเดินทางเพราะพิษไข้
การแพร่กระจายของไวรัสเมอร์ส เกิดขึ้นเป็นกระบวนการลูกโซ่ จากชายวัย 68 ปีคนนี้ ไปยังคนไข้คนอื่นๆ และคนไข้เหล่านั้นก็ถูกส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นๆ ทำให้เกิดห่วงโซ่การแพร่กระจายใหม่ขึ้นอีก โดยในปัจจุบัน (นับจนถึงวันที่ 11 มิ.ย.) เกาหลีใต้สั่งกักบริเวณหรือกักตัว ผู้ต้องสงสัยว่าสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเมอร์สแล้วกว่า 3,800 คน
เอเชียตื่นตัวรับมือไวรัสเมอร์ส
การแพร่กระจายของไวรัสเมอร์สในเกาหลีใต้ทำให้หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ตื่นตัวออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสร้ายตัวนี้เดินทางเข้าสู่ประเทศได้ โดยลูกพี่ใหญ่ของภูมิภาคอย่างจีน สั่งให้โรงพยาบาลและแพทย์รายงานทันทีที่พบคนไข้โรคปอดบวมหรือไข้หวัด ที่เกิดอาการโดยไม่ทราบสาเหตุ และยกระดับการเฝ้าระวังผู้ป่วยก่อนที่ชาวจีนมุสลิมจะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์ที่เมืองเมกกะ ในซาอุดีอาระเบียในเดือน ก.ย.
ส่วนญี่ปุ่น กระทรวงสาธารณสุขออกคำสั่งในวันพฤหัสบดี ให้สนามบินนาริตะเริ่มโครงการตรวจสอบสุขภาพของผู้มาเยือนจากเกาหลีใต้ ถ้าพบผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ ก็สามารถกักตัวเพื่อสังเกตการณ์ได้นาน 14 วัน ขณะที่ฮ่องกง ประกาศเตือนพลเมืองที่เดินทางไปยังกรุงโซล ให้หลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ศูนย์พยาบาลต่างๆ และสั่งให้กักตัวคนไข้ที่มีอาการป่วยหลังจากเดินทางไปยังเกาหลีใต้ในช่วง 2-14 วันที่ผ่านมาทันที โดยจนถึงตอนนี้มีผู้ถูกกักตัวแล้ว 19 คน
ด้านเกาหลีเหนือ ได้ร้องขอเครื่องตรวจอุณหภูมิจากเกาหลีใต้ เพื่อตรวจสอบผู้จัดการโรงงานชาวเกาหลีใต้ในนิคมอุตสาหกรรมแคซอง ส่วนกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ ประกาศให้ใครก็ตามที่เพิ่งกลับจากตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ และป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจหรือโรคปอดบวม เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล ขณะที่อินโดนีเซีย เริ่มการใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิซึ่งติดตั้งไว้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติและท่าเรือ 13 แห่งทั่วประเทศใหม่อีกครั้งนับตั้งแต่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อในจีนและเกาหลีใต้ โดยผู้เดินทางมาจาก 2 ประเทศนี้ จะต้องกรอกข้อมูลในการ์ดเตือนสุขภาพ และทุกสายการบินต้องแจ้งต่อแพทย์สนามบินหากมีลูกเรือหรือผู้โดยสารป่วย
ที่ประเทศมาเลเซีย รัฐบาลยกระดับมาตรการเฝ้าระวังการส่งผ่านเชื้อบริเวณทางเข้าเมืองระหว่างประเทศ ส่วนกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม ประกาศให้นักท่องเที่ยวจากเกาหลีใต้และ 10 ประเทศในตะวันออกกลาง ต้องกรอกเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพเมื่อเดินทางถึงสนามบินและชายแดนต่างๆ ของเวียดนาม ขณะที่ประเทศไทยประกาศให้ เมอร์ส เป็นโรคติดต่ออันตรายชนิดที่ 7 และเตรียมออกคำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ซาอุดีอาระเบีย รวมถึงผู้ที่จะเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ ด้วย
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น