เรื่องใหม่น่าสนใจ
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 16 มิถุนายน 2558
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 16 มิถุนายน 2558
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (16
มิถุนายน 2558) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1
ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี
สรรเสริญ แก้วกำเนิด และพลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2
ฉบับ
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..)
พ.ศ.
.... (การบังคับคดีปกครอง)
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
5. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ ต้องห้ามส่งออกไปและนำเข้ามาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
พ.ศ. ....
7. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พ.ศ. ....
8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ รถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. ....
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร
อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการ อนุรักษ์พลังงาน
จำนวน 20 ฉบับ
10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
11. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ.
....
เศรษฐกิจ – สังคม
|
12. เรื่อง ขออนุมัติการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการ พัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2563 และ อนุมัติกรอบแผนงานและงบประมาณประจำปี
พ.ศ. 2559 – 2563 ของ
มูลนิธิปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและ
พัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ
13. เรื่อง โครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(SMEs)
14. เรื่อง การกำหนดให้มีพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทยและวันภูมิปัญญาการแพทย์
แผนไทยแห่งชาติ
15. เรื่อง ร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ ในการทำงาน
16. เรื่อง โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ
ต่างประเทศ
|
17. เรื่อง การช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม แก่ประเทศเนปาลในกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหว
18. เรื่อง การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี
– เจ้าพระยา –
แม่โขง (Ayeyawady
– Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ครั้งที่ 6
19. เรื่อง ขอความเห็นชอบโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์
สัตว์ป่า
ในผืนป่าตะวันตก (Strengthening Capacity and Incentives for Wildlife
Conservation in the Western Forest Complex)
20. เรื่อง ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนและร่างความตกลงเพื่อดำเนินโครงการ
Competition Policy and Law in
ASEAN Phase II
21. เรื่อง
ขออนุมัติการประชุมเชิงปฏิบัติการและนิทรรศการระหว่างประเทศเพื่อผลักดัน แนวปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือกสู่การปฏิบัติ
(International
Seminar Workshop on the Implementation of United
Nations Guiding Principles on Alternative Development
– UNGPs on AD หรือ International
Conference on Alternative Development2 : ICAD2)
22.
เรื่อง การช่วยเหลืออพยพคนไทยออกจากประเทศเยเมน
แต่งตั้ง
|
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงมหาดไทย)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(สำนัก นายกรัฐมนตรี)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงคมนาคม)
26. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติด
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ.
....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551
2. กำหนดนิยามของคำว่า “สารสนเทศทรัพยากรน้ำ”
“การจัดการสารสนเทศ” เป็นต้น
3. กำหนดให้จัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็น
นิติบุคคล
และไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
โดยมีวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
4.
กำหนดทุน รายได้ และทรัพย์สินในการดำเนินการของสถาบันฯ
5.
กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ จำนวน 1
คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คนซึ่งได้มาจากการสรรหา กรรมการโดยตำแหน่ง
จำนวน 4 คน ได้แก่ ปลัด วท.
เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อธิบดีกรมชลประทาน
และผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
6.
กำหนดให้มีผู้อำนวยการสถาบันฯ ซึ่งมาจากการสรรหาของคณะกรรมการฯ
ทำหน้าที่บริหารกิจการของสถาบันฯ โดยมีคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง
และการพ้นจากตำแหน่งตามที่กำหนด
7.
กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันฯ มี 3 ประเภท คือ 1. เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง 2.
ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ และ 3.
เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานในสถาบันเป็นการชั่วคราว
8. กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชี
การตรวจสอบ และการประเมินผลงานของสถาบันฯ
9.
กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และเงินงบประมาณ
เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง คณะกรรมการสถาบันฯ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันฯ
รวมทั้ง ให้นำระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือข้อกำหนดของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
2. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และเห็นชอบในหลักการให้นำมติของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
ไปบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
แล้วให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาพร้อมกับร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปราม การทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
....
1. ปรับปรุงวิธีการได้มาของคณะกรรมการ ป.ป.ท.
จากเดิมที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาทำหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับเลือกจำนวนหกคนเสนอต่อวุฒิสภา
และเมื่อวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป เป็นกำหนดให้คณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
เสนอรายชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามองค์กรละห้าคน
ต่อคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อพิจารณาคัดเลือกกรรมการให้ได้จำนวนหกคน
และเมื่อได้กรรมการครบแล้ว ให้คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการและกรรมการ
พร้อมเอกสารหลักฐาน
รวมทั้งความยินยอมของบุคคลดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
เพื่อให้การแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ท. เป็นไปโดยอิสระ
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง
2. ปรับปรุงการพ้นจากตำแหน่งกรณีอื่นของคณะกรรมการ
ป.ป.ท. โดยกำหนดให้กรรมการที่มีอายุครบเจ็ดสิบปีต้องพ้นจากตำแหน่ง
และเพิ่มเติมให้กรรมการมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 แล้ว ต้องพ้นจากตำแหน่งทันที
3.
แก้ไขเรื่องการแต่งตั้งกรรมการใหม่ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระและยังไม่มีการเลือกกรรมการใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง
จากเดิมที่กำหนดให้แต่งตั้งใหม่เมื่อมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงสามคน
เป็นให้แต่งตั้งใหม่เมื่อมีกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงห้าคน
เพื่อให้มีกรรมการอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมในการใช้อำนาจหน้าที่
4.
ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ป.ป.ท. และสำนักงาน ป.ป.ท.
ให้รวดเร็วขึ้น เช่น
4.1
การรับเรื่องไว้พิจารณา ได้กำหนดระยะเวลาในการพิจารณารับหรือไม่รับเรื่องให้ชัดเจน
โดยต้องพิจารณาสั่งให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับการกล่าวหา
4.2
กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยกำหนดให้เลขาธิการและพนักงาน ป.ป.ท.
ซึ่งได้รับมอบหมายมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นแทนคณะกรรมการ ป.ป.ท.
และยกเลิกเรื่องการให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานโดยปกติของสำนักงาน ป.ป.ท. และพนักงาน ป.ป.ท.
ที่เป็นกลไกหลักในการแสวงหาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการไต่สวนข้อเท็จจริง
4.3
การควบคุมตัวและการดำเนินคดี โดยกำหนดให้กรณีที่พนักงานสอบสวนควบคุมตัว ผู้ถูกกล่าวหาและได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
ป.ป.ท. พิจารณาแล้ว ให้พนักงาน ป.ป.ท.
มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แต่ต้องมีการเรียกประกันหรือหลักประกันด้วย เพื่อ มิให้เป็นภาระแก่สำนักงาน ป.ป.ท.
ในการหาสถานที่ควบคุมตัว
5. ปรับปรุงสถานะของสำนักงาน ป.ป.ท.
ให้ส่วนราชการระดับกรมที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
เพื่อให้การทำงานของสำนักงานเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6.
ปรับปรุงเรื่องการได้รับเงินเพิ่มพิเศษของพนักงาน ป.ป.ท. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.
โดยกำหนดให้ได้รับในทำนองเดียวกับค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานไต่สวน และผู้ช่วยพนักงานไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. 2542
เพราะเป็นการปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับพนักงานไต่สวนและผู้ช่วยพนักงานไต่สวนของสำนักงาน
ป.ป.ช. ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเห็นชอบอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการ
ป.ป.ท. ด้วย
7.
เพิ่มเติมคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท.
เพื่อให้ครอบคลุมกรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายและสอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตแล้ว
และมีประสบการณ์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและวินิจฉัยคดีหนึ่งปี และกรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทอื่นซึ่งรับราชการในสำนักงาน
ป.ป.ท. มาแล้วไม่น้อยกว่าแปดปี เพื่อรองรับผู้ปฏิบัติงานเดิมในสำนักงาน ป.ป.ท.
ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานกรณีดังกล่าวให้สามารถแต่งตั้งเป็นพนักงาน ป.ป.ท. ได้
8.
แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.
มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง
หากพนักงานอัยการเห็นควรสั่งไม่ฟ้องหรือพนักงานอัยการยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับความครบถ้วนสมบูรณ์ของสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ
ป.ป.ท. ภายในกำหนดระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง
9.
แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาในศาลทหารโดยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการทหาร
10.
กำหนดให้มีมาตรการป้องกันการทุจริตในภาครัฐเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
โดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.
มีหน้าที่เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ
หรือมาตรการที่ล้าสมัย รวมถึงกำหนดมาตรการในกรณีที่หน่วยงานของรัฐกระทำการ
หรือดำเนินโครงการใดที่ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบ
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การบังคับคดีปกครอง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การบังคับคดีปกครอง) ตามที่ศาลปกครองสูงสุด (ศป.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรม ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
ศป.
เสนอว่า โดยที่ในปัจจุบันการดำเนินการบังคับคดีปกครองยังมีข้อขัดข้อง
เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดในการดำเนินการบังคับคดีปกครองให้ครอบคลุมคดีปกครองทุกประเภท
ซึ่งคดีปกครองมีลักษณะเฉพาะไม่สามารถนำหลักการของการบังคับคดีแพ่งมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการบังคับคดีให้มีประสิทธิภาพในทุกกรณีได้
อีกทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติโดยชัดแจ้งให้มีการออกระเบียบเกี่ยวกับการบังคับคดีปกครองได้
และยังปรากฏว่าในกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนหรือปฏิบัติล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ยังไม่มีมาตรการที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติตาม คำบังคับของศาลได้ นอกจากนี้
สมควรกำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจออกระเบียบกำหนดให้คำบังคับของคดีบางประเภทของศาลปกครองชั้นต้นมีผลบังคับแม้จะมีการอุทธรณ์คำพิพากษา
เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องรอการปฏิบัติตามคำพิพากษาในระหว่างการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์
จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจเพิ่มขึ้นในการออกระเบียบเกี่ยวกับการบังคับคดีปกครอง
และการกำหนดมาตรการบังคับให้การบังคับคดีบรรลุผล
2.
กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจออกระเบียบกำหนดให้ปฏิบัติตามคำบังคับตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น
แม้จะมีการอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว
รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น
การสั่งคำขอ การอุทธรณ์คำสั่งตาม
คำขอดังกล่าว การวางหลักประกัน และการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ
ตามคำสั่งทุเลาการบังคับด้วย
3.
กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจออกคำสั่งให้หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่เกี่ยวข้องชำระค่าปรับ
ในกรณีที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของ ศาลปกครองหรือปฏิบัติล่าช้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
โดยในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ชำระค่าปรับต่อ ศาล
ศาลปกครองอาจมีคำสั่งให้มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของบุคคลนั้นได้ ทั้งนี้
ศาลปกครองอาจรายงานผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล
ผู้ควบคุม
หรือนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงหรือสั่งการหรือลงโทษทางวินัยต่อไปก็ได้
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี (ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
วธ.
เสนอตามรายงานของกรมการศาสนาว่า
1.
จุฬาราชมนตรี
ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาอิสลามในประเทศไทยได้รับเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี
ในอัตราเดือนละ 10,000 บาท ตามมาตรา 5
แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 และมาตรา 3
แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2542
โดยกรมการศาสนาได้จัดสรรให้ภายใต้โครงการอุดหนุนบำรุงฐานะจุฬาราชมนตรี ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา
2.
เนื่องจากปัจจุบันบทบาทและภารกิจของจุฬาราชมนตรีได้ขยายเพิ่มขึ้น
มีปริมาณงานด้านการบริหารงานกิจการศาสนาในฐานะผู้นำกิจการศาสนาอิสลามเพิ่มมากขึ้น
ทั้งในด้านต่างประเทศที่ต้องประสานกิจการด้านศาสนากับผู้นำต่างประเทศและผู้นำทางศาสนาในต่างประเทศ
รวมทั้งเป็นผู้นำศาสนิกสัมพันธ์ในทางศาสนาเพื่อให้ศาสนิกชนมีศาสนิกสัมพันธ์และเข้าใจหลักศาสนาเพิ่มขึ้น
จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานของจุฬาราชมนตรีเพิ่มสูงขึ้น
ตามบทบาทและภารกิจที่ขยายมากขึ้นดังกล่าว
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชากร มีการปรับตัวสูงขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
แต่เงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรียังคงเป็นอัตรา 10,000 บาท ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542
ยังไม่ได้มีการปรับขึ้นตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา
จึงสมควรขอปรับเพิ่มเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีเป็นเดือนละ 20,000 บาท
3. มาตรา 20
แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ”
ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เป็น
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม” จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมความในมาตรา 4
แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2542 ในเรื่องผู้รักษาการตามกฎหมาย
จากคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม”
ด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา
3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินอุดหนุนจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2542
โดยกำหนดให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีในอัตราเดือนละสองหมื่นบาท
และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
5. เรื่อง
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและ
ร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
และมอบให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1.
กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ”
เรียกโดยย่อว่า “พกค.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นรองประธานกรรมการ
กรรมการโดยตำแหน่ง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นต้น
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธานกรรมการแต่งตั้งไม่เกินสามคน
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการฯ
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ ได้แก่
กำหนดนโยบายและแนวทางเพื่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
พิจารณากำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การส่งออก
การนำเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จำเป็น วางแผนและประสานงานการใช้ทรัพยากรทางการเงินจากแหล่งต่าง
ๆ กำหนดแนวทางให้ส่วนราชการ
รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นพิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่นายกรัฐมนตรีหรือ พกค.
มอบหมาย เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือให้ความเห็น
ติดตามและเร่งรัดการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามนโยบายการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ
และดำเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกไปและนำเข้ามาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง
กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกไปและนำเข้ามาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1.
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง
กำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกไปสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
และกำหนดให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้าจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
พ.ศ. 2555 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2555
2.
ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออกไปสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
3.
ให้อาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ส่งมาจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร
4.
ความในข้อ 2 มิให้ใช้บังคับในกรณี ดังต่อไปนี้
4.1
การส่งออกอุปกรณ์ทางทหารที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตเพื่อนำไปใช้ด้านมนุษยธรรม
การป้องกัน และการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคหรือการฝึกอบรม หรือเพื่อนำไปใช้ในด้านความมั่นคงหรือการลดอาวุธแก่รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
4.2
การส่งออกเครื่องแต่งการที่ใช้ในการป้องกัน เสื้อเกราะกันกระสุน และหมวกสนาม
เพื่อนำไปใช้เฉพาะตัวเป็นการชั่วคราวสำหรับบุคลากรของสหประชาชาติ
ผู้แทนสื่อมวลชน ผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและด้านการพัฒนา
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
4.3
การส่งออกอาวุธขนาดเล็ก อาวุธเบา
และวัสดุที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้เป็นการชั่วคราวสำหรับบุคลากรของสหประชาชาติ
ผู้แทนสื่อมวลชน ผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและด้านการพัฒนา
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยต้องแจ้งให้คณะกรรมการทราบเป็นการล่วงหน้าและต้องไม่ได้รับการปฏิเสธจากคณะกรรมการภายใน
5 วันทำการนับแต่วันที่แจ้ง
4.4
การส่งออกอาวุธและยุทโธปกรณ์
เพื่อนำไปใช้ในด้านความมั่นคงหรือการลดอาวุธแก่รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
และการส่งออกอาวุธและยุทโธปกรณ์อื่น ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นการล่วงหน้าคณะกรรมการ
7. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พ.ศ. ....
คระรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(สคก.) เสนอ ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และหน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าว
2. กำหนดให้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างน้อยต้องมีในเรื่องตามที่ได้กำหนดไว้
3.
กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางด้านการเงิน การคลัง การลงทุน
มาตรการทางภาษีและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
ในส่วนที่เกี่ยวกับหรือเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ
ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเพื่อช่วยดำเนินการได้
4.
กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
5.
กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับผิดชอบในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
6. กำหนดให้มีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
พัฒนาให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างหรือเผยแพร่เนื้อหาผ่านทางสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
7.
กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลทำหน้าที่กำกับและติดตามการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสำนักงานฯ
ตลอดจนเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
8.
กำหนดให้แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลจัดทำขึ้นต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และเมื่อคณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว
ให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลปฏิบัติตามแผนดังกล่าวโดยเคร่งครัด
ในกรณีที่การปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานอื่นให้เสนอแผนยุทธศาสตร์นั้นต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ความเห็นชอบและเมื่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ความเห็นชอบแล้วให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบและนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกัน
9.
กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีองค์ประกอบเฉพาะกรรมการโดยตำแหน่งแต่ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
และกำหนดให้ในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชบัญญัตินี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
แต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการชั่วคราว
ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
นอกจากนี้
ได้กำหนดให้ยุบสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
และโอนพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานฯ
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นการชั่วคราว
8. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
2.
กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
พ.ศ. 2539
3.
กำหนดให้ผลิตอุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นไปตามมาตรฐาน
เลขที่ มอก. 369 – 2557 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 4678 (พ.ศ. 2558) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้ยานพาหนะ
และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ลงวันที่
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2258
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง
และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 20 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักร
อุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง และวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน รวม 20 ฉบับ ประกอบด้วย 1.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบลลัสต์ขดลวดที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ พ.ศ.
.... 2.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบลลัสต์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์
พ.ศ. .... 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลอดมีแบลลัสต์ในตัวที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. ....
4.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... 5.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดพัดลมไฟฟ้าชนิดแขวนเพดานและชนิดส่ายรอบตัวที่มีประสิทธิภาพสูง
พ.ศ. .... 6. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. ....
7.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดเตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีประสิทธิภาพสูง
พ.ศ. .... 8. ร่างกฎกระทรวงกำหนดโคมไฟฟ้าเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสำหรับหลอด ฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่ พ.ศ. .... 9.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
พ.ศ. .... 10.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดจอภาพที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง พ.ศ. .... 11.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
พ.ศ. .... 12.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอุปกรณ์หลายหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
พ.ศ. .... 13.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องสแกนเอกสารที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
พ.ศ. .... 14.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งาน พ.ศ. ....
15. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเครื่องเสียงในบ้านที่มีประสิทธิภาพสูงในขณะรอใช้งาน พ.ศ.
.... 16. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. ....
17. ร่างกฎกระทรวงกำหนดเตาไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... 18.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดเตาไมโครเวฟที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... 19.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดกาต้มน้ำร้อนไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... 20.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วเดี่ยวที่มีประสิทธิภาพสูง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้เครื่องจักร อุปกรณ์
และวัสดุที่มีค่าประสิทธิภาพพลังงานไม่เกินค่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามกฎกระทรวงนี้
เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง
ลำดับ
|
เครื่องจักร
อุปกรณ์ และวัสดุ
|
เหตุผลความจำเป็น
|
|||
1.
|
แบลลัสต์ขดลวดสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์
|
เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายมีสิทธิขอรับการส่งเสริมและช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้เครื่องจักรอุปกรณ์
และวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง อันเป็นการประหยัดพลังงานของประเทศและช่วยลดมลภาวะ
|
|||
2.
|
แบลลัสต์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์
|
||||
3.
|
หลอดมีแบลลัสต์ในตัว
|
||||
4.
|
หลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่
|
||||
5.
|
พัดลมไฟฟ้าชนิดแขวนเพดานและชนิดส่ายรอบตัว
|
||||
6.
|
มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส
|
||||
7.
|
เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว
|
||||
8.
|
โคมไฟฟ้าเพื่อการอนุรักษ์พลังงานสำหรับหลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วคู่
|
||||
9.
|
คอมพิวเตอร์ในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
|
||||
10.
|
จอภาพในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
|
||||
11.
|
เครื่องพิมพ์ในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
|
||||
12.
|
อุปกรณ์หลายหน้าที่ในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
|
||||
13.
|
เครื่องสแกนเอกสารในขณะรอใช้งานและขณะปิดเครื่อง
|
||||
14.
|
เครื่องรับโทรทัศน์ในขณะรอใช้งาน
|
||||
15.
|
เครื่องเสียงในบ้านในขณะรอใช้งาน
|
||||
16.
|
อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ
|
||||
17.
|
เตาไฟฟ้า
|
||||
18.
|
เตาไมโครเวฟ
|
||||
19.
|
กาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า
|
||||
20.
|
หลอดฟลูออเรสเซนซ์ขั้วเดี่ยว
|
10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์
11.
เรื่อง
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ พ.ศ.
....ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างระเบียบ
1.
กำหนดให้มีคณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติเรียกโดยย่อ “กภช.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
2.
กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3.
กำหนดให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามระเบียบนี้ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
เศรษฐกิจ – สังคม
|
12. เรื่อง
ขออนุมัติการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2563 และอนุมัติกรอบแผนงานและงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2559 –
2563 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติในหลักการการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ระยะที่ 2
พ.ศ. 2559 – 2563
2.
อนุมัติกรอบแผนงานและงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2559 – 2563 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ
และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ
ในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปตั้งไว้ที่ สปน. เป็นรายปี ปีละ 300,000,000 บาท
เพื่อดำเนินงานตามแผนงานด้านการพัฒนาพื้นที่ต้นฉบับ การจัดตั้งสถาบันอบรม
การส่งเสริมการรับรู้และเข้าใจแนวพระราชดำริ การสื่อสารสาธารณะและภาคีสัมพันธ์
และการบริหารจัดการดังกล่าว
สาระสำคัญของเรื่อง
สปน. รายงานว่า มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ
และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริได้ขอให้ สปน.
นำเสนอแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 – 2563 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมี 6 แผนงาน ดังนี้
1) การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โดยขยายการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบให้กระจายทั่วทุกภูมิภาคสำหรับสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามนโยบายรัฐบาล
2) การจัดตั้งสถาบันอบรม (Training) เพื่อเตรียมบุคลากรทำงานพัฒนาทางเลือกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือผู้นำความคิดระดับชาติ
3)
การส่งเสริมการรับรู้และเข้าใจแนวพระราชดำริ
3.1
จัดกิจกรรมการพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวันสำคัญ
3.2
จัดงานส่งเสริมการเรียนรู้และการศึกษาดูงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
3.3
เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา
4) การสื่อสารสาธารณะและภาคีสัมพันธ์
4.1 งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
4.2
เผยแพร่ความรู้การทำงานในพื้นที่
4.3
งานเชื่อมโยงการทำงานกับสื่อมวลชน
4.4
งานผลิตสื่อประชาสัมพันธ์
5)
การตรวจติดตาม โดยการประเมินศักยภาพของหมู่บ้านที่มีความพร้อมเพื่อจะได้ส่งมอบกิจกรรมให้ประชาชนดูแลกันเองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
(หน่วยงานภายนอกเป็นผู้ประเมิน)
6) การบริหารจัดการ ได้แก่
ค่าใช้จ่าย บุคลากร การพัฒนาบุคลากร และค่าใช้จ่ายสำนักงาน
13. เรื่อง
โครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบเงื่อนไขมาตรการเพิ่มวงเงินที่รัฐชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs ที่ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อผ่านโครงการ . Portfolio Guarantee Scheme (PGS)
ระยะที่ 5 เพิ่มอีกจำนวน 50,000 ล้านบาท
โดยให้มีผลบังคับใช้กับลูกค้าที่ยื่นขอค้ำประกันสินเชื่อนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของมาตรการดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 มีนาคม
2558 และอนุมัติงบประมาณในการดำเนินมาตรการเป็นวงเงินไม่เกิน 875 ล้านบาท ทั้งนี้
ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2558 และปีต่อ ๆ ไป ตามประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี โดยให้ บสย.
ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ในรายละเอียดต่อไป
2.
เห็นชอบเงื่อนไขโครงการ Policy Loan
และอนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการเป็นวงเงินรวมไม่เกิน
3,225
ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และปีต่อ ๆ ไป
ตามประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละปี โดยให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และ บสย. ทำความตกลงกับ สงป.
ในรายละเอียดต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กค.
รายงานว่า
1.
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม
2558 อนุมัติหลักการโครงการมาตราการให้ความช่วยเหลือรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
SMEs จำนวน 2
โครงการ ได้แก่ (1) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
Policy Loan และ (2) มาตรการเพิ่มวงเงินที่รัฐชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs ในปีแรกที่ให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อผ่านโครงการ PGS
ระยะที่ 5 เพิ่มอีกจำนวน 50,000
ล้านบาท ธพว. และ บสย. ได้จัดทำโครงการ
/ มาตรการ ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือ SMEs ดังนี้
1.1
มาตรการเพิ่มวงเงินที่รัฐชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs
ที่ให้ บสย.
ค้ำประกันสินเชื่อผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 5 เพิ่มอีกจำนวน
50,000 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ
SMEs โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) โครงการ
PGS ระยะที่ 5 เป็นโครงการเดิมที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2556 โดยมีวงเงิน ค้ำประกันรวม 240,000 ล้านบาท และคิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันร้อยละ
1.75 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน (ณ วันที่ 17 มีนาคม 2558
มีวงเงินค้ำประกันคงเหลือทั้งสิ้น 112,405 ล้านบาท)
2)
มาตรการเพิ่มวงเงินที่รัฐชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ
PGS ระยะที่ 5 เพิ่มอีกจำนวน 50,000
ล้านบาท (เป็นส่วนหนึ่งของวงเงิน 240,000
ล้านบาท)
เพื่อลดภาระค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs
โดยให้มีผลบังคับใช้กับลูกค้าที่ยื่นขอค้ำประกันสินเชื่อนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของมาตรการดังกล่าวเมื่อวันที่
17 มีนาคม 2558
3)
บสย. จำเป็นต้องขอรับงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลจำนวนไม่เกิน 875 ล้านบาท
(ร้อยละ
1.75 X วงเงิน 50,000 ล้านบาท)
1.2 โครงการ Policy Loan มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่ประสบ
ปัญหาขาดสภาพคล่อง พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่มีศักยภาพให้มีสภาพคล่องสำหรับปรับปรุงกิจการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการเนื่องจากมี
Specialized Financial Institution: SFIs (SFIs) เป็นผู้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย
ซึ่งมีสาระสำคัญของโครงการสรุปได้ ดังนี้
โครงการ Policy Loan
1. วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท โดยต้องเป็นลูกหนี้ใหม่และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้
(Re-Finance) มาจากสถาบันการเงินอื่น
2. วงเงินสินเชื่อต่อรายให้เป็นไปตามมติของที่ประชุม คนร.
3. ระยะเวลาการกู้ยืมไม่เกิน 5
ปี
4. อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ตลอดระยะเวลา 3 ปี
ส่วนปีที่ 4 และปีที่
5 ให้เป็นไปตามอัตรา
ดอกเบี้ยที่ ธพว. กำหนด
5. รัฐชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้แก่ ธพว. ร้อยละ 3
ในส่วนของเงินให้สินเชื่อ 15 ล้านบาทแรก ในช่วง 3 ปีแรก
6. ให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ Policy Loan ของ ธพว.
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
6.1 วงเงินค้ำประกันรวม
15,000 ล้านบาท
6.2 วงเงินค้ำประกันต่อรายสูงสุดไม่เกิน
40 ล้านบาท
6.3
ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 5 ปี
6.4 ค่าธรรมเนียมค้ำประกันอัตราร้อยละ
1.75 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ ตลอดอายุ การค้ำประกัน 5 ปี
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
ปีที่ 1 รัฐบาลเป็นผู้รับภาระชดเชยค่าธรรมเนียมแทน
SMEs ในอัตราร้อยละ 1.75 ต่อปี
ของวงเงินค้ำประกัน
-
ปีที่ 2 และ 3 รัฐบาลเป็นผู้รับภาระชดเชยค่าธรรมเนียมแทน
SMEs ในอัตราร้อยละ 0.75
ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน (SMEs รับภาระจ่ายค่าธรรมเนียมเองร้อยละ 1 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน)
-
ปีที่ 4 และ 5 ผู้ประกอบการ
SMEs รับภาระค่าธรรมเนียมเองเต็มจำนวนในอัตราร้อยละ
1.75 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน
6.5 การจ่ายค่าประกันชดเชยของ
บสย.
6.5.1
บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตามภาระค้ำประกัน SMEs แต่ละราย
(Coverage Ratio per SME) เป็นสัดส่วนร้อยละ 100
ของภาระค้ำประกันเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาโครงการ 5 ปี
6.5.2 บสย.
จ่ายค่าประกันชดเชยตามภาระค้ำประกันในแต่ละ Portfolio (Coverage Ratio per Portfolio) สูงสุดไม่เกินร้อยละ
18 ของภาระค้ำประกันเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาโครงการ 5
ปี
7. ธพว. และ บสย.
จำเป็นต้องขอรับงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,225
ล้านบาท ประกอบด้วย
7.1
ชดเชยอัตราดอกเบี้ยให้แก่ ธพว. จำนวนไม่เกิน 1,350 ล้านบาท (วงเงิน
15,000 ล้านบาท X อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 X
ระยะเวลา 3 ปี)
7.2
ชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้แก่ บสย. จำนวนไม่เกิน 487.50 ล้านบาท (วงเงิน 15,000 ล้านบาท X (ปีที่ 1 ร้อยละ 1.75 + ปีที่ 2 ร้อยละ 0.75 + ปีที่ 3 ร้อยละ 0.75))
7.3 ชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยให้แก่ บสย.
ในส่วนต่างระหว่างค่าประกันชดเชยกับ
ค่าธรรมเนียมที่ได้รับ
จำนวน 1,387.50 ล้านบาท [(15,000
ล้านบาท X ร้อยละ 18) – (15,000 ล้านบาท X ร้อยละ 1.75 X 5
ปี)]
8. กำหนดให้เริ่มรับคำขอตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่
31 ธันวาคม 2558
หรือจนกว่าจะเต็มวงเงิน แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน
เพื่อเป็นการเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของ ปี 2558
ทั้งนี้
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้าร่วมโครงการ Machine
Fund ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรสามารถเข้าร่วมโครงการ Policy Loan ได้เช่นเดียวกัน
14. เรื่อง
การกำหนดให้มีพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทยและวันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบการถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย”แด่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. กำหนดให้วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปี
เป็นวันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงสาธารณสุขเสนอตามรายงานของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่า
1.
ได้ตระหนักถึงคุณค่าและเห็นถึงความสำคัญของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพรไทยที่ดำรงอยู่มายาวนานกว่า 1,000
ปี จากอดีตจนถึงปัจจุบันปรากฏหลักฐานการใช้สมุนไพรไทยสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นทั้งในระดับพระมหากษัตริย์
บุคคลชนชั้นสูงและประชาชนทั่วไป
อีกทั้งยังได้รับความนิยมชมชอบในสังคมปัจจุบันและแพร่กระจายไปยังสังคมโลก
แต่เนื่องจากยังขาดระบบกลไกและมาตรการ หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการอนุรักษ์ ปกป้องคุ้มครอง
เพื่อพัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนสืบไป
2. สมควรที่รัฐบาลจะประกาศกำหนดในปีปฏิทินให้วันที่ 29 ตุลาคม
ของทุกปี เป็น “วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ” เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนหน้านี้
เช่น วันวิทยาศาสตร์ วันข้าว วันประมง
วันภาษาไทย เป็นต้น และสมควรที่จะถวายพระราชสมัญญาเป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย” แด่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องจากพระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการรวบรวมความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมาเผยแพร่ในวงกว้าง
ทำให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมีรากฐานไม่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในวังหรือชนชั้นสูง
ประชาชนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้
ประกอบกับหลักฐานจากแผ่นศิลาจารึกสมัยรัชกาลที่ 3
ที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้จารึกตำราการแพทย์แผนไทยติดประดับไว้ตามศาลาต่าง
ๆ เช่น แผนฝีดาษ ฝียอดเดียว แผนชัลลุกะ แผนกุมาร และแม่ซื้อ แผนลำบองราหู
ตำรายากุมาร จารึกตำราโอสถต่าง ๆ
อีกทั้งมีการก่อสร้างรูปฤาษีดัดตนที่มีส่วนผสมของสังกะสี ผสมดีบุก ตั้งไว้ศาลาละ 4
– 5 รูป รวม 16 หลัง และยังมีจารึกตำรายาต่าง ๆ ติดประดับไว้ในศาลา
ทั้ง 16 หลัง รวมทั้งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
ได้ประกาศรับรองให้แผ่นศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554
15. เรื่อง ร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ และมอบหมายให้กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือหน่วยงานภาคเอกชนรับร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานไปดำเนินการตามความเหมาะสม
ร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
มีเนื้อหา 2 ส่วน ดังนี้
1.
มาตรการในการดำเนินการของหน่วยงาน ประกอบด้วย หลักการที่หน่วยถือปฏิบัติ 7
ข้อดังนี้
1.1
หน่วยงานต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในการทำงานที่ครอบคลุมบุคลากรทุกคนที่ทำงานในหน่วยงาน
รวมทั้งผู้ที่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่น นักศึกษา
นักศึกษาฝึกงาน ผู้รับจ้าง ฯลฯ
โดยให้บุคลากรในหน่วยงานได้มีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และยอมรับ
รวมทั้งต้องประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักแก่บุคลากรทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบและถือปฏิบัติ
1.2
หน่วยงานต้องแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการส่งเสริมความเท่าเทียบกันระหว่างบุคคล
เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน
โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเน้นการป้องกันปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
1.3
หน่วยงานต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
และแนวทางในการแก้ไขในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น
รวมทั้งกำหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ
การจัดสถานที่ทำงานเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ เช่น
จัดห้องทำงานที่เปิดเผย โล่ง มองเห็นกันได้ชัดเจน เป็นต้น
1.4
การแก้ไขและจัดการปัญหาอาจใช้กระบวนการอย่างไม่เป็นทางการ เช่น
การพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร การประนอมข้อพิพาทฯ ฯลฯ เพื่อยุติปัญหา
หากกระบวนการไม่เป็นทางการไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
จึงจะเข้าสู่กระบวนการทางวินัยตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้นถือปฏิบัติอยู่
1.5
การแก้ไขและจัดการปัญหาต้องดำเนินการอย่างจริงจังโดยทันที
และเป็นไปตามเวลาที่กำหนดในแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในการทำงาน
และต้องเป็นความลับ เว้นแต่คู่กรณี ทั้งสองฝ่ายยินดีให้เปิดเผย
รวมทั้งให้ความเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน
กรณีที่ขยายเวลาออกไปต้องมีเหตุผลที่ดีพอ
1.6
กรณีที่มีการร้องเรียนหรือการรายงานเรื่องนี้ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริง
ประกอบด้วย ประธานคณะทำงานที่มีตำแหน่งสูงกว่าคู่กรณีบุคคลจากหน่วยงานต้นสังกัดของคู่กรณี
โดยมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าคู่กรณี
บุคคลที่มีผลงานด้านการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศจนเป็นที่ประจักษ์
โดยอาจมีบุคคลที่มีเพศเดียวกับผู้เสียหายไม่น้อยกว่าหนึ่งคน
และให้มีบุคคลที่ผู้เสียหายไว้วางใจเข้าร่วมรับฟังในการสอบข้อเท็จจริงได้
หากต้องมีการดำเนินการทางวินัย
ขอให้คณะทำงานนำข้อมูลเสนอผู้บริหารประกอบการดำเนินการทางวินัย
1.7
หน่วยงานต้องติดตามผลการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
และรายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (สทพ.)
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
2. ตัวอย่างแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน
ซึ่งหน่วยงานต้องจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของบุคลากรในหน่วยงาน
เนื้อหาประกอบด้วยเจตนารมณ์ คำนิยาม พฤติกรรมที่พึงปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติ สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อถูกล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ
กระบวนการจัดการปัญหาอย่างไม่เป็นทางการ มาตรการคุ้มครองผู้ร้องทุกข์/พยาน/ผู้ถูกกล่าวหา
หน่วยรับเรื่องร้องทุกข์ และช่องทางการร้องทุกข์ เป็นต้น
16. เรื่อง
โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม
(อก.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
อก. รายงานว่า
1. ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ
ให้แล้วเสร็จ
โดยเร็ว ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนและยางล้อของไทยไม่ประสบกับปัญหาและข้อจำกัดต่อการแข่งขันเพื่อการส่งออก
เนื่องจากปริมาณการผลิตยานยนต์ของไทยจัดเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน เป็นอันดับ 5
ของเอเชีย เป็นอันดับ 9 ของโลก สำหรับผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์มีมูลค่าส่งออกเป็นอันดับ
1 ของอาเซียน เป็นอันดับ 4 ของเอเชีย
และเป็นอันดับ 7 ของโลก และยังเป็น
Product Champion
ผลิตภัณฑ์หนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้
การจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย
รวมทั้งเป็นการรองรับการทดสอบและรับรอง เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงยอมรับร่วมด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของอาเซียน
(ASEAN Mutual Recognition Arrangement)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
และยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศไม่ต้องส่งยางล้อไปทดสอบที่ต่างประเทศ ประกอบกับในอาเซียนยังไม่มีศูนย์ทดสอบที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ยางล้อตามมาตรฐาน
UN R117 การที่ไทยสามารถจัดตั้งศูนย์ทดสอบยางล้อได้เป็นรายแรกของอาเซียน
จะทำให้ไทยเป็นผู้นำด้านการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์
รวมทั้ง เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์และยางล้อของภูมิภาคนี้
เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ลงทุนตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการพัฒนาและเจริญเติบโตยิ่งขึ้นและส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศมากขึ้น ลดการพึ่งพาการส่งออกยางพาราแปรรูปขั้นต้น
เป็นการสร้างเสถียรภาพของอุตสาหกรรมยางพาราไทยทั้งระบบให้เติบโตอย่างยั่งยืน อนึ่ง
ในปัจจุบันมีประเทศในอาเซียนซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยกำลังดำเนินการศึกษาและเตรียมการเพื่อจัดสร้างศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อ
2. อุตสาหกรรมยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตของ
อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
แต่ผลิตภัณฑ์ยางล้อและชิ้นส่วนยานยนต์ยังขาดมาตรฐานในการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า
สำหรับมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้าสำคัญบังคับใช้ ได้แก่ มาตรฐาน UN
R117 เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางล้อที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งไทยยังไม่มีการบังคับใช้มาตรฐานดังกล่าว
รวมทั้งยังไม่มีศูนย์ทดสอบและให้การรับรอง
3. การจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติเพื่อทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยาน
ยนต์และชิ้นส่วน
และยางล้อขึ้นในประเทศ
จะทำให้ไทยเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางการทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน และยางล้อในอาเซียน
มีบุคลากรที่มีความรู้และความสามารถด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน และยางล้อ
สามารถทดสอบและรับรองได้เองในประเทศ
เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการออกแบบ วิจัยพัฒนา และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางล้อ
และยางพาราแปรรูป
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม
ต่างประเทศ
|
17. เรื่อง การช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศเนปาลในกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหว
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปิดศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเนปาล
ณ กระทรวง การต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา และศูนย์ปฏิบัติการย่อย
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ
กรมการกงสุล โดยให้ยุติการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2558
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
ยอดเงินบริจาคสาธารณชนไทยภายใต้โครงการ “หัวใจไทยส่งไปเนปาล” เป็นจำนวน
249,286,588.54 บาท (ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2558) โดยรัฐบาลได้มอบเงินบริจาคดังกล่าวเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่รัฐบาลเนปาล
องค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานอื่น
ดังนี้
1. รัฐบาลเนปาลจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2.
International Flash Appeal for Nepal ของ United Nations
Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (UN OCHA) จำนวน
1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. องค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวน
1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
4.
UNICFF จำนวน 1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
รวมทั้งสิ้น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ
132 ล้านบาท
ซึ่งจะเหลือยอดเงินบริจาคจำนวน 117,286,588.54 บาท
คณะรัฐมนตรีอาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือประเทศเนปาลในระยะของการฟื้นฟูต่อไป
ทั้งนี้
ปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศเนปาลได้พ้นจากภาวะวิกฤตจากเหตุแผ่นดินไหวแล้ว
ระบบสาธารณูปโภค
และการคมนาคมขนส่งส่วนใหญ่ภายในประเทศได้รับการฟื้นฟูและซ่อมแซมจนสามารถใช้การได้
โดยรัฐบาลเนปาลได้ประกาศขอให้คณะกู้ภัยจากต่างประเทศออกจากพื้นที่
และขอยุติการรับคณะกู้ภัยจากต่างประเทศ
รวมทั้งประกาศหยุดรับการบริจาคสิ่งของจากนานาประเทศ
และการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานไทยได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ในการนี้ กต.
โดยความเห็นชอบของที่ประชุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2558
จึงเห็นสมควรดำเนินการ ดังนี้
1) ปิดศูนย์ประสานการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเนปาล
ณ กต. ถนนศรีอยุธยา และศูนย์
ปฏิบัติการย่อย
กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล
2) ยุติภารกิจการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศเนปาล
18. เรื่อง การประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี –
เจ้าพระยา – แม่โขง (Ayeyawady – Chao Phraya – Mekong
Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ครั้งที่ 6
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างปฏิญญากรุงเนปิดอว์การประชุมผู้นำ (Ayeyawady – Chao
Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) ครั้งที่
6 และร่างแผนปฏิบัติการ ACMECS ปี 2559 – 2561
2.
อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสาร 2
ฉบับดังกล่าว (ตามข้อ 1)
3.
หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว (ตามข้อ 1)
ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต.
ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา อีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
1. ACMECS เป็นข้อริเริ่มของไทยเมื่อปี 2546 ปัจจุบันมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย
กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เมียนมา และเวียดนาม
โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดช่องว่างด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ส่งเสริมการค้าชายแดน และสนับสนุนการรวมตัวของอาเซียน โดยมี 8 สาขาความร่วมมือ
ได้แก่ การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน การเกษตร อุตสาหกรรมและพลังงาน
การเชื่อมโยงคมนาคม การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้มีการประชุมผู้นำแล้ว 5 ครั้ง
ครั้งล่าสุดจัดที่เวียงจันทน์ (สปป.ลาว) เมื่อเดือนมีนาคม 2556
2.
เมียนมาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำ ACMECS
ครั้งที่ 6 ที่กรุงเนปิดอว์ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2558
ซึ่งจะมีการรับรองร่างเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญากรุงเนปิดอว์
การประชุมผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 6 และ (2) ร่างแผนปฏิบัติการ
ACMECS ปี 2559 – 2561 สาระสำคัญในร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ
สรุปได้ ดังนี้
2.1 ร่างปฏิญญากรุงเนปิดอว์การประชุมผู้นำ
ACMECS ครั้งที่ 6
กล่าวถึงการรับรองแผนปฏิบัติการ ACMECS ในปี 2559 – 2561
การแสดงเจตนารมณ์ของผู้นำที่จะส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ การพัฒนาที่ยั่งยืน
และความร่วมมือใน 8 สาขา
นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการและแผนงานต่าง
ๆ ภายใต้กรอบ ACMECS ด้วย โดยมี 8 สาขา ดังนี้ 1.
ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน 2. การเกษตร 3. อุตสาหกรรมและพลังงาน
4. การเชื่อมโยงทางคมนาคมขนส่ง 5. การท่องเที่ยว 6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 7.
สาธารณสุข และ 8. สิ่งแวดล้อม
2.2 ร่างแผนปฏิบัติการ ACMECS ปี 2559 – 2561
มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการเป็นฐานการผลิตเดียวกันของอนุภูมิภาค สนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
และพัฒนาความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก โดยระบุแผนการดำเนินการตาม 8
สาขา ดังนี้ 1. การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน 2. การเกษตร 3.
อุตสาหกรรมและพลังงาน 4. การเชื่อมโยงทางคมนาคมขนส่ง 5. การท่องเที่ยว 6.
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 7. สาธารณสุข และ 8. สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้
ร่างแผนปฏิบัติการฯ
ยังระบุถึงการสนับสนุนให้หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาสนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการภายใต้กรอบ
ACMECS และชุมชนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการสำคัญตามระเบียงเศรษฐกิจ
รวมทั้งการสนับสนุนการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและการจัดตั้งเมืองคู่แฝดเพื่อสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองชายแดน
3.
สาระสำคัญของเอกสาร 2 ฉบับดังกล่าว
สอดคล้องกับนโยบายของไทยและช่วยเสริมการดำเนินการของอาเซียนและกรอบอนุภูมิภาคอื่น
ๆ ในการลดช่องว่างการพัฒนาและเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกัน นอกจากนี้
ยังเป็นประโยชน์ต่อการกระชับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ
ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุน
การท่องเที่ยว และการไปมาหาสู่ในระดับประชาชนระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนจะช่วยนำไปสู่ความกินดีอยู่ดียิ่งขึ้นของประชาชนในอนุภูมิภาคด้วย
นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงบทบาทผู้นำของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
เนื่องจากไทยเป็นผู้ริเริ่มกรอบความร่วมมือนี้ รวมทั้งร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ
มิได้มีเจตนาหรือใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างรัฐบาลภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
19. เรื่อง
ขอความเห็นชอบโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่า
ในผืนป่าตะวันตก (Strengthening Capacity and Incentives for Wildlife Conservation in
the Western Forest Complex)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1.
โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก (Strengthening
Capacity and Incentives for Wildlife Conservation in the Western Forest Complex)
2. ให้ ทส.
โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ลงนามร่วมกับผู้แทนสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United
Nations Development Program : UNDP) ประเทศไทย
ในเอกสารโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก
สาระสำคัญของโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและแรงจูงใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าในผืนป่าตะวันตก
สรุปได้ดังนี้
1.
โครงการมีเป้าหมายในการส่งเสริมกระบวนการพัฒนาแห่งชาติ
ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยมีผลลัพธ์คือ
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามภารกิจของกระทรวงหลัก ๆ
ไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ตลอดจนแผน นโยบาย และงบประมาณในระดับจังหวัด
2.
วัตถุประสงค์โครงการ คือ การปรับปรุง ประสิทธิภาพการจัดการ
และงบประมาณที่ยั่งยืนสำหรับพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง
และกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นช่วยกันดูแลรักษาพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ
3.
โครงการประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
3.1
องค์ประกอบที่ 1 : การเสริมสร้างประสิทธิภาพในด้านกิจกรรมการอนุรักษ์และการป้องกันสัตว์ป่า
เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยกระดับวิธีการปฏิบัติในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
ภายในพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง
โดยการจัดตั้งระเบียบวิธีการใหม่ที่สามารถต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรมสัตว์ป่าได้ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
และเพื่อลดภัยคุกคามโดยตรงแก่เสือโคร่งและแหล่งอาหาร ของมัน
3.2
องค์ประกอบที่ 2 :
การพัฒนาและเสริมสร้างแรงจูงใจและการจัดหาเงินทุนอย่างยั่งยืนสำหรับการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยชุมชน
และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน/การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า การทำให้ป่าเสื่อมโทรมในประเทศกำลังพัฒนา
การอนุรักษ์ป่า การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
และการเพิ่มคาร์บอนสต็อกของป่าในประเทศกำลังพัฒนา (REDD+)
โดยโครงการจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเชื่อมโยงการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนในหมู่บ้านในเขตอนุรักษ์และในเขตกันชนเพื่อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
โดยมีโครงการริเริ่มเพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการนำร่องโครงการคาร์บอนแบบพรีเมี่ยม
สำหรับสัตว์ป่า ตามนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่า
และความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา
3.3
องค์ประกอบที่ 3 : การสร้างความตระหนักต่อสาธารณชนและการจัดการโครงการ
โดยเน้นที่ชุมชนที่อาศัยอยู่ในและรอบ ๆ แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่ –
ห้วยขาแข้ง ให้ตระหนักถึงความจำเป็นในการอนุรักษ์และความสำคัญของการปกป้องป่าไม้และสัตว์ป่า
ทั้งนี้
ร่างข้อเสนอโครงการฯ
เป็นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช กับ UNDP เพื่อดำเนินการโครงการภายใต้กรอบ Agreement
Between the United Nations Special Fund and the Government of Thailand
concerning Assistance from the Special Fund ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามไว้กับ
United Nations Special Funds (ซึ่งเป็นชื่อเดิมของ UNDP) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1960
ดังนั้น ร่างข้อเสนอโครงการฯ
จึงมีสถานะเป็นโครงการ (project) ภายใต้กรอบความตกลงแม่บทของรัฐบาลที่มีอยู่แล้วข้างต้น
จึงไม่เป็นการทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
20. เรื่อง ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนและร่างความตกลงเพื่อดำเนินโครงการ Competition
Policy and Law in ASEAN Phase II
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์
(พณ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนตอบรับจากสำนักเลขาธิการอาเซียนที่มีถึงเยอรมนี (Exchanges
of Notes) และร่างความตกลงเพื่อดำเนินโครงการ Competition
Policy and Law in ASEAN Phase II (CPL II)
2.
เห็นชอบเลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างเอกสารทั้งสองฉบับข้างต้น
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
แจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ว่า
รัฐบาลไทยให้ความยินยอมให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในร่างเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าว
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ.รายงานว่า
1. โครงการ
Competition Policy and Law in ASEAN (CPL) เป็นโครงการที่รัฐบาลเยอรมนีให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกอาเซียน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันรวมทั้งเสริมสร้างสมรรถนะแก่บุคลากรในองค์กรกำกับการแข่งขันทางการค้า
โดยสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมในหลายรูปแบบ เช่น
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค การจัดทำหนังสือคู่มือนักธุรกิจว่าด้วยนโยบายและกฎหมายการแข่งขันทางการค้าอาเซียน
และการจัดทำเว็บไซต์ด้านการแข่งขันของอาเซียน เป็นต้น
2.
การให้ความช่วยเหลือภายใต้โครงการ CPL
แบ่งออกเป็น 2 ระยะ (Phase) โดย Phase I ระหว่างปี 2011 – 2014 และ Phase II ระหว่างปี 2015
– 2017 ซึ่งใน Phase I เป็นการให้ความช่วยเหลือนี้
รัฐบาลเยอรมนีได้ขอให้มีการลงนามความตกลงในการให้ความช่วยเหลือตามโครงการ CPL ระหว่างฝ่ายเยอรมนีและฝ่ายอาเซียน
เพื่อให้โครงการให้ความช่วยเหลือกับอาเซียนมีลักษณะเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
และมีหลักฐานการให้ความช่วยเหลือที่สามารถตรวจสอบได้
3.
ภายใต้โครงการ CPL ใน Shase I ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐบาลเยอรมนีให้เงินทุนสนับสนุนการจัดทำโครงการศึกษา
“การปรับปรุงกลไกการบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542”
21.
เรื่อง
ขออนุมัติการประชุมเชิงปฏิบัติการและนิทรรศการระหว่างประเทศเพื่อผลักดันแนวปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือกสู่การปฏิบัติ
(International
Seminar Workshop on the Implementation of United Nations Guiding Principles on
Alternative Development – UNGPs on AD หรือ International
Conference on Alternative Development2 : ICAD2)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้สำนักงาน
ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม
(ยธ.)เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและนิทรรศการระหว่างประเทศเพื่อผลักดันแนวปฏิบัติสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาทางเลือกสู่การปฏิบัติ
(International
Seminar Workshop on the Implementation of United Nations Guiding Principles on
Alternative Development – UNGPs on AD หรือ International
Conference on Alternative Development2 : ICAD2) ในระหว่างวันที่
19 – 24 พฤศจิกายน 2558 ตามที่ กระทรวงยุติธรรม (สำนักงาน ป.ป.ส.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ. รายงานว่า
ยธ. โดย สำนักงาน ป.ป.ส.
ในฐานะหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
กระทรวงการต่างประเทศ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มูลนิธิโครงการหลวง สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ
(United
Nations Office on Drugs and Crime – UNODC)
และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) เพื่อร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศฯ
ในครั้งนี้ และได้กำหนดวันในระหว่างวันที่ 19 – 24 พฤศจิกายน 2558 ณ
จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมฯ ในครั้งนี้
จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การศึกษาดูงานในพื้นที่ระหว่างวันที่ 19 – 22
พฤศจิกายน 2558 และส่วนที่ 2 การประชุมผู้บริหารระดับสูง ระหว่างวันที่ 23 – 24
พฤศจิกายน 2558 โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศฯ ครั้งนี้
นอกจากจะเป็นการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด การผลักดันแนวปฏิบัติสากลว่าด้วยการพัฒนาทางเลือกสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางเลือกแล้ว
ยังจะเป็นการแสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ในด้านการพัฒนาทางเลือก
และเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ในวโรกาสที่จะทรงมีพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษาในปี 2558
อีกด้วย
22. เรื่อง
การช่วยเหลืออพยพคนไทยออกจากประเทศเยเมน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
ดังนี้
1. อนุมัติกำหนดให้วันที่ 17 มิถุนายน 2558 (ก่อนวันเริ่มถือศีลอด)
เป็นวันสิ้นสุดการใช้งบประมาณจากงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อช่วยเหลืออพยพคนไทยออกจากประเทศเยเมนโดยไม่ต้องชดใช้คืนเงินทางราชการ
และหากมีค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาและคนไทยออกจากประเทศเยเมนนับตั้งแต่
วันที่ 18 มิถุนายน 2558 ให้เบิกจ่ายจากงบเงินอุดหนุน รายการเงินช่วยเหลือคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ
โดยให้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ
พ.ศ. 2549
2. รับทราบการปฏิบัติงานในระดับเฝ้าระวัง โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ
กรุงมัสกัต และกรมการกงสุล กต.
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2558
สาระสำคัญของเรื่อง
กต.
ได้รายงานผลการดำเนินงานในการช่วยเหลืออพยพคนไทยออกจากประเทศเยเมน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานในการให้ความช่วยเหลืออพยพคนไทยออกจากเยเมน
1.1 กต. ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในเยเมน ณ กต.
ถนนศรีอยุธยา
ศูนย์ปฏิบัติการย่อยที่กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กรมการกงสุล
และศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า ณ เมือง Salalah สถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงมัสกัต ประเทศโอมาน
เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจสนับสนุนการอพยพนักศึกษาและคนไทยออกจากประเทศเยเมน
1.2 เส้นทางการอพยพ ได้แก่ (1) โอมาน – เยเมน
(เมือง AL – Mazyuna และเมือง Sarfaif) (2) โอมาน – กาตาร์ (3) เยเมน – ซาอุดีอาระเบีย (เมือง Jizan) (4) เยเมน –
เอธิโอเปีย – จีบูติ โดยจนถึงวันนี้ (10
มิถุนายน 2558) ได้ช่วยเหลือนักศึกษาและคนไทยที่สมัครใจออกจากประเทศเยเมน จำนวน
129 คน และมีรายงานการแจ้งกลับในวันที่ 14 มิถุนายน 2558 จำนวน 20 คน ทั้งนี้
มีนักศึกษาและคนไทยแจ้งไม่ประสงค์จะอพยพออกจากประเทศเยเมน จำนวน 44 คน
1.3 สำหรับคนไทยที่ยังประสงค์พำนักอยู่ในเยเมนในปัจจุบัน จำนวน 44
คน นั้น ศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า ณ เมือง Salalah (สถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงมัสกัต) ได้ติดต่อประสานงานกับนักศึกษาอย่างใกล้ชิด
และโดยที่เริ่มเข้าสู่เดือนรอมฎอน
รวมทั้งพื้นที่ที่นักศึกษาที่แสดงความประสงค์จะยังคงพำนักอยู่ในเยเมนต่อไปนั้น
อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการสู้รบ ดังนั้น
ศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า ณ เมือง Salalah จึงได้เคลื่อนย้ายการปฏิบัติงานดังกล่าวมายังสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงมัสกัต (ซึ่งมีระยะห่าง 1,000 กิโลเมตร
ใช้เวลาบิน 1 ชั่วโมง) โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต
และกรมการกงสุลจะปฏิบัติการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในเยเมน
รวมทั้งติดต่อกับกลุ่มนักศึกษา/คนไทยอย่างใกล้ชิด และพร้อมจะเข้าช่วยเหลืออพยพคนไทยเหล่านี้ทันที
หากสถานการณ์การสู้รบในเยเมนทวีความรุนแรง
แต่งตั้ง
|
23. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง
นายวันชัย คงเกษม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวง
ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอแต่งตั้ง
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นต้นไป
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายสมชาย
พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นางปาริชาต คชรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการบินพลเรือน
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน
26. เรื่อง
ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(ป.ป.ส.) จำนวน 3 คน ดังนี้ 1. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ 2. นายชาติชาย สุทธิกลม 3.
นายอมรวิชช์ นาครทรรพ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
พ.ศ. 2519 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2558 เป็นต้นไป
...............................................................
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ขอเรียน: เรามีทุกประเภทของเงินให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่ 3% กรุณา
ตอบลบส่งอีเมลถึงเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วันนี้ถ้าสนใจ เรามีเงินให้สินเชื่อ
ผู้ประกันตนได้ดีสำหรับการรักษาความปลอดภัยสูงสุดที่มีความสำคัญและ 100% ถูกต้องตามกฎหมายของเรา
และเรามีการลงทะเบียนกันอีเมล์: raphealjefferyfinance@gmail.com
ชื่อ:
ที่อยู่:
หมายเลขโทรศัพท์:
จํานวนเงินที่จำเป็น:
ระยะเวลา:
อายุ:
เพศ:
ซีอีโอ / อีเมล์: raphealjefferyfinance@gmail.com
ขอแสดงความนับถือ
คุณชาย Rapheal