เรื่องใหม่น่าสนใจ
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ โดย อ.นิกร
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 23 มิถุนายน 2558
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (23 มิถุนายน 2558)
เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี
สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
(การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร)
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
3.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
(ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
พ.ศ. ....
5.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาของที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. ....
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตร ประจำตัวประชาชน พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ – สังคม
7. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการกลั่นกรอง
การจัดตั้งทุนหมุนเวียน
8. เรื่อง การนับเวลาราชการเป็นทวีคูณในห้วงประกาศใช้กฎอัยการศึก
9. เรื่อง แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
11. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มี
รายได้น้อยกรณีเกษตรกรภาคใต้ที่เพาะปลูกในช่วงเวลาหลังมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจ
3 เดือน และกรณีรายชื่อเกษตรกรตกหล่น
12. เรื่อง รายงานสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรค
ทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome; MERS)
ต่างประเทศ
13. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทา
14. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทย
และสมาคม
อนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่องการขยายเวลาความร่วมมือในด้าน
การวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
15. เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทย
– มาเลเซีย ครั้งที่ 2
16. เรื่อง การช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
แก่ประเทศเนปาล
17.
เรื่อง ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี
ไทย – อินเดีย ครั้งที่ 7
18. เรื่อง ท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่
39 (39th Session of the World
Heritage Committee) ระหว่างวันที่ 28
มิถุนายน
– 8 กรกฎาคม 2558 ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
แต่งตั้ง
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(พลโท
อภิชัย หงษ์ทอง)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร)
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
กำหนดวิธีการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุด ดังนี้
1.1
ก่อนทำการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้ นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพื่อการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว
และเมื่อขายทอดตลาดแล้วให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุด
ก่อนเจ้าหนี้จำนองและให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ
โดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้
1.2
หากนิติบุคคลอาคารชุดไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนดเวลาหรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชำระ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้
2.
กำหนดวิธีการขายทอดตลาดบ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
ดังนี้
2.1
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แจ้งรายการหนี้ ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว
เมื่อขายทอดตลาดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ
จนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อนเจ้าหนี้จำนอง
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้ หากมีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมไว้
ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอันยกเลิกไป
2.2
หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนดเวลาตามวรรคสี่
หรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชำระ หรือในกรณีที่ยังมิได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ
ทั้งนี้ หากมีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไว้
ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอันยกเลิกไป
3.
การจ่ายเงินที่กันไว้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคสองหรือวรรคสี่ของร่างมาตรา 309
จัตวา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในภาค 4
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ลักษณะ 2
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หมวด 2 วิธียึดทรัพย์
อายัดทรัพย์และการจ่ายเงิน
4.
กำหนดหลักทั่วไปกรณีมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้จดทะเบียน
โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อ
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการ ต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เพิ่มขึ้น
3. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
และสีประจำสาขาวิชา ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพิ่มขึ้น
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.
กำหนดประเภทกฎหมายที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสม ได้แก่
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด
และกฎตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ทั้งนี้
ได้กำหนดยกเว้นกฎหมายบางประเภท ได้แก่
กฎหมายที่มีผลใช้บังคับเฉพาะระยะเวลาหนึ่งและระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว
กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
กฎหมายที่บัญญัติให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
และได้มีการดำเนินการตามกฎหมายนั้นแล้ว
กฎหมายที่กำหนดลักษณะของเครื่องแสดงวิทยฐานะ เครื่องหมาย หรือเครื่องแบบ
และกฎหมายอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
3.
กำหนดให้ผู้รักษาการตามกฎหมายเป็นผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายทุก
5 ปีที่กฎหมายใช้บังคับ หรือเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
และกำหนดให้กฎหมายที่ไม่มีรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รัฐมนตรีคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก็ได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รักษาการตามกฎหมายร้องขอ
คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะพิจารณาดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายแทนผู้รักษาการตามกฎหมายก็ได้
4.
คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะพิจารณาดำเนินการแทนรัฐมนตรีผู้รักษาการตามที่รัฐมนตรี ผู้รักษาการร้องขอก็ได้
ในกรณีนี้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะขอให้รัฐมนตรีผู้รักษาการสั่งให้หน่วยงานในสังกัด ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายกำหนดก็ได้
โดยให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนากฎหมายซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้ว
แล้วให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายเสนอผลการพิจารณาไปยังรัฐมนตรีผู้รักษาการและคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
5.
กำหนดขอบเขตของเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการทบทวนขั้นตอนในการพิจารณาทบทวน
และการตรวจสอบกฎหมายที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนในวาระเริ่มแรกตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
6.
กำหนดให้ผู้รักษาการตามกฎหมายสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำคำแปลของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ทั้งหมดเป็นภาษากลางของอาเซียนให้แล้วเสร็จภายใน
2 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
และให้เผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
7.
กำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาของที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาของที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
คค. เสนอว่า
1.
ได้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของ อากาศยาน พ.ศ. 2554
ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานไว้ให้มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้จัดให้มีขึ้น
ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554
2.
จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎกระทรวงตามที่ 1
ยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551
เนื่องจากมีการหลีกเลี่ยงขั้นตอนการขออนุญาตจัดตั้งสนามบิน
และหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน
โดยการขออนุญาตจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
และสามารถต่ออายุใบอนุญาตได้เรื่อย ๆ แทน
จึงควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานดังกล่าว
โดยให้มีหลักเกณฑ์และระยะเวลาใช้งานตามภารกิจที่ขออนุญาตจัดตั้ง
แต่ต้องไม่เกินสองปีติดต่อกันนับแต่วันที่อนุญาต
เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. 2554
2.
กำหนดการพิจารณาว่าพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานเป็นการชั่วคราวให้พิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2.1
ระยะเวลาใช้งานที่เป็นการชั่วคราวต้องไม่เกินสองปีติดต่อกันนับแต่วันที่อนุญาต
2.2
วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น
เพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานเพียงครั้งเดียว
หรือตามภารกิจอื่นที่มีระยะเวลาแน่นอน
2.3
ลักษณะที่จะดำเนินการทางกายภาพกับพื้นที่ที่กำหนด
2.4
เรื่องอื่นที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการชั่วคราว
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 และมีสาระสำคัญ ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. ....
ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือ
ถูกทำลาย บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือ ชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียน
หรือย้ายที่อยู่ตามมาตรา 6 จัตวา
ฉบับละ
20 บาท
(2)
การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร
ฉบับละ
10 บาท
ข้อ
3 ในกรณีที่รัฐมนตรีประกาศให้เขตท้องที่ใดเป็นเขตประสบภัยพิบัติให้ผู้ซึ่งต้องมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรตามมาตรา
6 จัตวา ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่นั้น และมายื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 6 จัตวา
หรือภายในกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีขยายตามมาตรา 6 เบญจ
ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 (6)
ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1)
การออกบัตรในกรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือ ชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน
หรือย้ายที่อยู่ ตามมาตรา 6 จัตวา ฉบับละ 100 บาท
(2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3)
การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร
ฉบับละ 10 บาท
ข้อ
3 ในกรณีที่ได้มีประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อธิบดีกรมการปกครอง
อาจพิจารณาประกาศเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินนั้น
เป็นเขตยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ ผู้ซึ่งต้องมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรตามมาตรา 6
จัตวา ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่นั้น และมายื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 6 จัตวา
หรือภายในกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีขยายตามมาตรา 6 เบญจ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ
2 (1)
เศรษฐกิจ – สังคม
7. เรื่อง
รายงานผลการพิจารณาการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งทุนหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ
ผลการพิจารณาการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งทุนหมุนเวียน
ที่เห็นควรให้มีการจัดตั้งทุนหมุนเวียน จำนวน 4 ทุน ได้แก่ กองทุนยุติธรรม
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และเงินทุนหมุนเวียนการท่าอากาศยานอู่ตะเภา
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
และเร่งรัดกระทรวงการคลังให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม
2558
โดยเสนอวิธีการนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ต่อคณะรัฐมนตรีและเร่งรัดการนำเงินทุนหมุนเวียนส่วนเกินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินให้ครบถ้วนโดยด่วนต่อไป
8. เรื่อง การนับเวลาราชการเป็นทวีคูณในห้วงประกาศใช้กฎอัยการศึก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานตำรวจแห่ง
(ตช.) เสนอ
ให้ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรในห้วง
ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 – 1 เมษายน 2558 มีสิทธิได้รับการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณ
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญต่อไป
9. เรื่อง
แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
วธ.รายงานว่า
ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ สืบสาน
ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป
จึงได้กำหนดภารกิจสำคัญมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2558 ดังนี้
1. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552
ได้จัดกิจกรรมการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยดำเนินงานผ่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดขั้นตอนการประกาศขึ้นทะเบียน
พร้อมทั้งจัดทำพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี
2552
และนับแต่นั้นเป็นต้นมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการกำหนดสาขาของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้ครอบคลุมเหมาะสมกับสภาพบริบทของสังคมไทย
ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 7 สาขา และได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 286 รายการ
2.
การศึกษาวิจัยและจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
พ.ศ. ....
ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมายเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เป็นการเฉพาะ
โดยให้มีการรักษาและสืบทอดรวมทั้งการนำองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) ต่อไป
3.
การผลักดันเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก
(Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural
Heritage) วธ. เล็งเห็นว่าหากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
จะมีสิทธิในการเสนอรายการเพื่อประกาศเป็นตัวแทนของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
(The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) หรือรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน
(List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding) ต่อยูเนสโก
จึงถือเป็นโอกาสอันดียิ่งในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศชาติให้ปรากฏในเวทีโลกเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ
ที่เป็นภาคีสมาชิกแล้ว ในการนี้
วธ.ได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง ในการประชุม สนช.
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558
เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการตามวิธีการทางการทูตต่อไป
ทั้งนี้ กต.จะดำเนินการเมื่อประเทศไทยมีกฎหมายเฉพาะบังคับใช้
(ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. ....)
10. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1.
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ปริมาณน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อต้นฤดูแล้งปี 2557/2558 มีปริมาณน้ำน้อย
กรมชลประทานได้ประกาศงดส่งน้ำเพื่อการปลูกข้าวนาปรัง
โดยวางแผนการใช้น้ำให้เหลือเพียงพอสำหรับสนับสนุนการปลูกข้าวนาปีตั้งแต่ต้นฤดู
(น้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อน เมื่อต้นฤดูฝนจะมีประมาณ 4,000 – 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร)
ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนทำการปลูกข้าวนาปรังไปประมาณ
6.26 ล้านไร่ ทำให้ต้องใช้น้ำเกินแผนไปประมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร (วางแผนไว้
2,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้จริง 4,100 ล้านลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำ ณ วันที่ 1
พฤษภาคม 2558 จำนวน 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร) มากกว่าปี 2557 จำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร
2.
คาดการณ์ผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้คาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในเบื้องต้น
กรณีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในเขตพื้นที่ชลประทาน
โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 4.61 ล้านไร่
หากพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถปลูกข้าวนาปีได้อย่างสิ้นเชิงจะทำให้ผลผลิตข้าวหายไปประมาณ
2.1 ล้านตัน โดยคิดเฉลี่ยจากผลผลิตต่อไร่ข้าวนาปีลุ่มน้ำเจ้าพระยา 500
กิโลกรัมต่อไร่ และคิดเป็นมูลค่าข้าวที่หายไปประมาณ 15,750 ล้านบาท
โดยคำนวณจากราคาข้าวขาวในตลาด ตันละ 7,500 บาท
3.
แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร
3.1
มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรดำเนินการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง
3.2
แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี แบ่งเป็น 2 พื้นที่
คือ
3.2.1
พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีที่ได้เพาะปลูกแล้วประมาณ 2.84 ล้านไร่
ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวระบบจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวเพื่อลดการใช้น้ำ
และมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมการข้าวและกรมส่งเสริมการเกษตรหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการดำเนินงาน
ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านแปลงสาธิตของกรมการข้าวในพื้นที่เพื่อสร้างการยอมรับให้แก่เกษตรกร
3.2.2
พื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูกข้าวประมาณ 4.61 ล้านไร่
(1) ให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ
และการชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีที่จะเริ่มปลูกได้ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมหรือเมื่อมีปริมาณฝนตกชุกแล้ว
เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งติดตามและประเมินสถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
(2)
ในระหว่างเกษตรกรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปี 40 - 45 วัน
มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร
และกรมพัฒนาที่ดินพิจารณาแนวทางเลือกเพื่อกำหนดเป็นมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร
อาทิ การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น พืชอายุสั้น
ซึ่งต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวเป็นสำคัญ
และหากจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร
จะพิจารณาผลภายหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว
รวมทั้งกำหนดมาตรการกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกข้าวนาปีได้
4.
เกษตรกรในพื้นที่สามารถรับบริการข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ ของ กษ.
ได้จากศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ เช่น
การเรียนรู้ฟาร์มตัวอย่าง แปลงสาธิตการทำการเกษตร การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ องค์ความรู้ด้านเมล็ดพันธุ์
เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับลดต้นทุนการผลิต
และสามารถปรับตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
11. เรื่อง
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยกรณีเกษตรกรภาคใต้ที่เพาะปลูกในช่วงเวลาหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
3 เดือน และกรณีรายชื่อเกษตรกรตกหล่น
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กษ.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติขยายระยะเวลาให้เกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก (จังหวัดนครศรีธรรมราช
พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่มีการเพาะปลูกข้าวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในระยะ 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำนวน 37,402 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้
2.
อนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดระบบให้สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการบันทึก แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อให้เกษตรกรจำนวน 2,091
ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมในมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้
12. เรื่อง
รายงานสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส
(Middle
East Respiratory Syndrome; MERS)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส
(Middle
East Respiratory Syndrome; MERS) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับประเทศต่าง
ๆ
ต่อการระบาดของโรคจึงได้ดำเนินมาตรการในการตรวจจับการระบาดของโรคในกลุ่มเสี่ยงเพื่อการควบคุมที่รวดเร็ว
เน้นการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาล รวมทั้งป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานพยาบาล
เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยการบูรณาการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมโรคเมอร์สในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ
เอกชน และประชาชน
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา หลังจากการพบผู้ป่วยโรคเมอร์สรายแรกของประเทศไทยได้มีการดำเนินการ
ดังนี้
1. การสอบสวน
และติดตามผู้สัมผัสโรค จำนวนทั้งสิ้น 175 ราย
2.
รายงานสถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (ข่าวเพื่อสื่อมวลชน)
ผ่านทางเว็บไซต์สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/
show_hotnew.php?idHot_new=73918
3.
จัดทีมติดตามเฝ้าระวังอาการผู้สัมผัส
4. แจก เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
หน้ากากป้องกันโรค เอกสารคำแนะนำ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
จัดเตรียมเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา
5.
หากผู้สัมผัสมีอาการสามารถโทรศัพท์แจ้งที่สายด่วน 1422 ได้ทันที
ซึ่งหากผู้สัมผัสมีอาการเข้าเกณฑ์
กระทรวงสาธารณสุขจะจัดส่งรถไปรับผู้สัมผัสที่มีอาการที่บ้านเพื่อจะได้ดำเนินการตรวจวินิจฉัยผู้สัมผัสที่มีอาการต่อไป
6.
จัดทำข่าวสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์
มีความรู้เกี่ยวกับตัวโรค และรู้วิธีการแพร่โรคต่อไป
การเพิ่มความเข้มแข็งของมาตรการต่าง
ๆ ดังนี้
1. มาตรการการประเมินความเสี่ยงและการป้องกัน
มีการติดตามสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ และสถานการณ์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง
พร้อมทั้งวิเคราะห์และทำการประเมินความเสี่ยง
2.
มาตรการการเฝ้าระวังและคัดกรอง
มีการเฝ้าระวังคัดกรองผู้เดินทางที่ช่องทางเข้าออกประเทศ/การติดตามกลุ่มเสี่ยง
3.
มาตรการการวินิจฉัยดูแลรักษา/การส่งต่อ/การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.
คำแนะนำสำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค
ต่างประเทศ
13. เรื่อง
การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทา
2.
อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ กต.
สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
กต.
รายงานว่า
1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทามีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
เพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นนำของเอเชีย
และเพื่อสร้างชุมชนทางวิชาการให้นักศึกษา นักวิชาการ
และนักวิจัยจากสถาบันในสาขาต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือ ทั้งนี้
การที่ไทยร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
จะเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
อีกทั้งยังมีส่วนต่อการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับอินเดีย
ซึ่งเป็นประเทศผู้ริเริ่มการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย
ทั้งนี้
เงินทุนสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินการของมหาวิทยาลัยอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจของแต่ละประเทศ
2. บันทึกความเข้าใจฯ
ได้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษภาษาเดียว โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีภาคีร่วมลงนามตั้งแต่ 4
ประเทศขึ้นไป
ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2556
หลังจากที่ออสเตรเลีย บรูไน กัมพูชา อินเดีย ลาว เมียนมาร์
นิวซีแลนด์และสิงคโปร์ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่
8
14. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทย
และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่องการขยายเวลาความร่วมมือในด้านการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบและอนุมัติการจัดทำความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทย
และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่องการขยายเวลาความร่วมมือในด้านการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในร่างความตกลงฯ ดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับผลประโยชน์ของไทย
ให้ ทส. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
2.
เห็นชอบให้ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ
3. มอบหมายให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส.
รายงานว่า
1. รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มอบหมีแพนด้า (Giant
Panda) ให้ประเทศไทยจำนวน 2 ตัว เพศผู้ชื่อ “ช่วงช่วง”
และเพศเมียชื่อ “หลินฮุ่ย” ในฐานะทูตสันถวไมตรี
เพื่อเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
โดยองค์การสวนสัตว์นำไปเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2546
ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้า ในประเทศไทย
ตามความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทยและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(China Wildlife Conservation Association) เพื่อความร่วมมือด้านการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
โดยมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2546 -2556) ซึ่งความตกลงฯ
ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนตุลาคม 2556
2. ร่างความตกลงฯ
มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าดำเนินต่อไป
โดยขยายเวลาการอาศัยอยู่ของหมีแพนด้า “ช่วงช่วง” และ “หลินฮุ่ย”
ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นไป จนถึงวันที่โครงการความร่วมมือในการอนุรักษ์และวิจัยรอบใหม่จะเริ่มต้น
หรือจนถึงเดือนตุลาคม 2566
15. เรื่อง
ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าสำหรับการหารือกับมาเลเซีย
และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ใช้เป็นกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(Joint Trade Committee : JTC) ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่
2 ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2558 ณ กรุงเทพมหานคร
2.
หากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น
ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทย
– มาเลเซีย ให้ พณ.
และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
3.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(Joint Trade Committee : JTC) ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่
2 รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการหารือขยายความร่วมมือเฉพาะด้าน
(หากมี)
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ. รายงานว่า พณ.
ได้จัดการประชุมส่วนราชการและเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558
เพื่อพิจารณาประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันสำหรับการประชุม
JTC ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 2 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้
ดังนี้
1. การตั้งเป้าหมายการค้าสองฝ่าย ให้มีมูลค่า
30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2561 2. การส่งเสริมการค้าชายแดน ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ
60 ของมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ได้แก่
การตั้งเป้าหมายการค้าชายแดนและการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการส่งเสริมการค้าชายแดนไทย
– มาเลเซีย
3.
การลดอุปสรรคทางการค้าและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ได้แก่
ผลักดันความร่วมมือด้านการขนส่งทางถนนระหว่างไทย – มาเลเซีย
เพื่ออำนวยความสะดวกการสัญจรข้ามแดนของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าระหว่างกันผลักดันมาเลเซียให้มีการอนุญาตนำเข้าข้าวจากไทยทั้งโดยการขนส่งทางบกและทางน้ำ
จากปัจจุบันที่อนุญาตเฉพาะทางน้ำ
รวมถึงการพิจารณาผ่อนปรนข้อกำหนดการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานและผู้ประกอบการไทยในมาเลเซีย
4.
ความร่วมมือเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนของไทยด้านที่ติดกับมาเลเซีย
เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและการพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ
ระหว่างไทยกับมาเลเซียในเขตพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
5. ความร่วมมือด้านฮาลาล ผลักดันความร่วมมือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายการส่งออกสินค้า ฮาลาลของไทยไปยังตลาดโลก เช่น
สนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนามาตรฐานและการรับรองตราฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
รวมถึงการส่งเสริมการจัดและเข้าร่วมกิจกรรมและงานแสดงสินค้าฮาลาลระหว่างกัน
6. ความร่วมมือด้านยางพารา สนับสนุนความร่วมมือด้านยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าและอุตสาหกรรมที่ทั้งสองประเทศมีศักยภาพ
ทั้งด้านการผลิตและส่งออก
โดยเฉพาะส่งเสริมการผลิตที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในไทยมากขึ้น
7. ความร่วมมือภาคเอกชน สนับสนุนการเชื่อมโยงและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนสองฝ่าย
โดยตระหนักถึงความสำคัญของภาคธุรกิจในการเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน
16. เรื่อง
การช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศเนปาล
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) เสนอ ดังนี้
1.
รับทราบรายงานสรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินงานช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศเนปาลของหน่วยงานต่าง
ๆ หลังจากที่ได้ปรับภารกิจในการให้ความช่วยเหลือประเทศเนปาล
2.
อนุมัติให้ยุติการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมในภาวะฉุกเฉินต่อเนปาล
นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติ
3.
เห็นชอบให้หน่วยงานใดที่ยังคงมีภารกิจดำเนินการต่อเนื่องเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของภารกิจดังกล่าวจากวงเงินคงเหลือของงบประมาณ
100 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติข้างต้นกับสำนักงบประมาณ (สงป.)
และหากหน่วยงานใดยังมีภารกิจเพิ่มเติม
ขอให้ทำเรื่องเสนอขออนุมัติโดยตรงต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
4.
อนุมัติให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รับผิดชอบรวบรวมยอดเงินบริจาค
และพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการบริจาคช่วยเหลือประเทศเนปาลต่อไป
5.
อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รวบรวมเงินจากการจัดจำหน่ายสิ่งของบริจาคเพื่อส่งมอบให้
สปน. รวบรวม และพิจารณาดำเนินการตามข้อ 4
17. เรื่อง
ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย – อินเดีย ครั้งที่ 7
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี ไทย –
อินเดีย ครั้งที่ 7
2.
อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว
ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการความสัมพันธ์
แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต.
และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมฯ
ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกัน
ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ไข พัฒนาและ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์
โดยมีประเด็นหลักที่จะหยิบยกขึ้นหารือระหว่างการประชุมฯ ดังนี้ 1. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า
และการลงทุน 2. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน 3. ประกันสังคม 4. ความมั่นคงและการทหาร 5. ความเชื่อมโยง (Connectivity) 6. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. การศึกษาและความร่วมมือทางวิชาการ 8.
วัฒนธรรม 9. การท่องเที่ยวและการบินพลเมือง 10. ประเด็นในกรอบภูมิภาคและ พหุภาคี
4. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของไทยและอินเดียที่จะมุ่งส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง
ๆ
โดยมิได้เจตนาให้เป็นความตกลงที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ดังกล่าว จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
5.
คณะผู้แทนไทยทั้งในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีจะใช้ร่างเอกสารผลลัพธ์การ ประชุมฯ ดังกล่าว
เป็นกรอบในการหารือกับฝ่ายอินเดียระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย
– อินเดีย ครั้งที่ 7 ในวันที่ 26 และ 29 มิถุนายน 2558
18. เรื่อง
ท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 39 (39th
Session of the World Heritage Committee) ระหว่างวันที่ 28
มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2558 ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกต่อการกำหนดท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 39 ใน 3 ประเด็นตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. เห็นด้วยกับร่างข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก
ทั้ง 3 วาระได้แก่
1.1
วาระที่ 39COM 7B.71 รายงานสถานภาพการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
(State of conservation of Historic City of Ayutthaya)
1.2
วาระที่ 39COM 7B.17 รายงานสถานภาพการอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น
– เขาใหญ่ (State of conservation of Dong Phayayen – Khaoyai Forest
Complex)
1.3
วาระที่ 39COM 8B.5: การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน (Nominations of Kaeng Krachan Forest Complex
to the World Heritage List)
2. เห็นชอบกับร่างแผนขับเคลื่อน
(Road Map) พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่
และพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และหากคณะกรรมการมรดกโลก
และ/หรือองค์กรที่ปรึกษามีข้อสงสัย และขอให้ชี้แจงเพิ่มเติมขอให้คณะผู้แทนไทยยึดแนวทางตามที่ระบุไว้ในแผนขับเคลื่อนเป็นกรอบในการชี้แจง
3. กรณีมีประเด็นอื่นที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการพิจารณากำหนดท่าทีในประเด็นนั้น ๆ
ทั้งนี้ให้คณะผู้แทนไทยพิจารณาร่วมกันระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 39 โดยคำนึงถึงหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และข้อมูลด้านเทคนิคและวิชาการจากองค์กรที่ปรึกษา (สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) และสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS))
แต่งตั้ง
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พลโท อภิชัย หงษ์ทอง)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง
พลโท อภิชัย หงษ์ทอง เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23
มิถุนายน 2558 เป็นต้นไป
...............................................................
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 23 มิถุนายน 2558
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (23 มิถุนายน 2558)
เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี
สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
(การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร)
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
3.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
(ฉบับที่
..) พ.ศ. ....
4.
เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
พ.ศ. ....
5.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาของที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. ....
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตร ประจำตัวประชาชน พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ – สังคม
|
7. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการกลั่นกรอง
การจัดตั้งทุนหมุนเวียน
8. เรื่อง การนับเวลาราชการเป็นทวีคูณในห้วงประกาศใช้กฎอัยการศึก
9. เรื่อง แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
11. เรื่อง การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มี
รายได้น้อยกรณีเกษตรกรภาคใต้ที่เพาะปลูกในช่วงเวลาหลังมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจ
3 เดือน และกรณีรายชื่อเกษตรกรตกหล่น
12. เรื่อง รายงานสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรค
ทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome; MERS)
ต่างประเทศ
|
13. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทา
14. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทย
และสมาคม
อนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่องการขยายเวลาความร่วมมือในด้าน
การวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
15. เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทย
– มาเลเซีย ครั้งที่ 2
16. เรื่อง การช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
แก่ประเทศเนปาล
17.
เรื่อง ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี
ไทย – อินเดีย ครั้งที่ 7
18. เรื่อง ท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่
39 (39th Session of the World
Heritage Committee) ระหว่างวันที่ 28
มิถุนายน
– 8 กรกฎาคม 2558 ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
แต่งตั้ง
|
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
(พลโท
อภิชัย หงษ์ทอง)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดและที่ดินจัดสรร)
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
กำหนดวิธีการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุด ดังนี้
1.1
ก่อนทำการขายทอดตลาดห้องชุดในอาคารชุดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้ นิติบุคคลอาคารชุดแจ้งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพื่อการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว
และเมื่อขายทอดตลาดแล้วให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวจนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลอาคารชุด
ก่อนเจ้าหนี้จำนองและให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ
โดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้
1.2
หากนิติบุคคลอาคารชุดไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนดเวลาหรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชำระ
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อโดยไม่ต้องใช้หนังสือรับรองการปลอดหนี้
2.
กำหนดวิธีการขายทอดตลาดบ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543
ดังนี้
2.1
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีบอกกล่าวให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แจ้งรายการหนี้ ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคพร้อมค่าปรับตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว
เมื่อขายทอดตลาดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไว้เพื่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ
จนถึงวันขายทอดตลาดแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อนเจ้าหนี้จำนอง
และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้ หากมีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมไว้
ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอันยกเลิกไป
2.2
หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่แจ้งรายการหนี้ที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในกำหนดเวลาตามวรรคสี่
หรือแจ้งว่าไม่มีหนี้ที่ค้างชำระ หรือในกรณีที่ยังมิได้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ
ทั้งนี้ หากมีการระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไว้
ให้การระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้นเป็นอันยกเลิกไป
3.
การจ่ายเงินที่กันไว้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในวรรคสองหรือวรรคสี่ของร่างมาตรา 309
จัตวา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติในภาค 4
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ลักษณะ 2
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หมวด 2 วิธียึดทรัพย์
อายัดทรัพย์และการจ่ายเงิน
4.
กำหนดหลักทั่วไปกรณีมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้จดทะเบียน
โดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งนายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อ
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการ ต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชา
และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เพิ่มขึ้น
3. เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ
เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา
อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ
และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
และสีประจำสาขาวิชา ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพิ่มขึ้น
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.
กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.
กำหนดประเภทกฎหมายที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสม ได้แก่
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด
และกฎตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ทั้งนี้
ได้กำหนดยกเว้นกฎหมายบางประเภท ได้แก่
กฎหมายที่มีผลใช้บังคับเฉพาะระยะเวลาหนึ่งและระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว
กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
กฎหมายที่บัญญัติให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
และได้มีการดำเนินการตามกฎหมายนั้นแล้ว
กฎหมายที่กำหนดลักษณะของเครื่องแสดงวิทยฐานะ เครื่องหมาย หรือเครื่องแบบ
และกฎหมายอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย
3.
กำหนดให้ผู้รักษาการตามกฎหมายเป็นผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายทุก
5 ปีที่กฎหมายใช้บังคับ หรือเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
และกำหนดให้กฎหมายที่ไม่มีรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย
นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รัฐมนตรีคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก็ได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้รักษาการตามกฎหมายร้องขอ
คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะพิจารณาดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายแทนผู้รักษาการตามกฎหมายก็ได้
4.
คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะพิจารณาดำเนินการแทนรัฐมนตรีผู้รักษาการตามที่รัฐมนตรี ผู้รักษาการร้องขอก็ได้
ในกรณีนี้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจะขอให้รัฐมนตรีผู้รักษาการสั่งให้หน่วยงานในสังกัด ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายกำหนดก็ได้
โดยให้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนากฎหมายซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังแล้ว
แล้วให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายเสนอผลการพิจารณาไปยังรัฐมนตรีผู้รักษาการและคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
5.
กำหนดขอบเขตของเรื่องที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการทบทวนขั้นตอนในการพิจารณาทบทวน
และการตรวจสอบกฎหมายที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนในวาระเริ่มแรกตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด
6.
กำหนดให้ผู้รักษาการตามกฎหมายสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำคำแปลของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ทั้งหมดเป็นภาษากลางของอาเซียนให้แล้วเสร็จภายใน
2 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
และให้เผยแพร่ทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ประชาชนสามารถเข้าถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
7.
กำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาของที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาของที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
คค. เสนอว่า
1.
ได้มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของ อากาศยาน พ.ศ. 2554
ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานไว้ให้มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้จัดให้มีขึ้น
ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2554
2.
จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎกระทรวงตามที่ 1
ยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551
เนื่องจากมีการหลีกเลี่ยงขั้นตอนการขออนุญาตจัดตั้งสนามบิน
และหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน
โดยการขออนุญาตจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
และสามารถต่ออายุใบอนุญาตได้เรื่อย ๆ แทน
จึงควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยานดังกล่าว
โดยให้มีหลักเกณฑ์และระยะเวลาใช้งานตามภารกิจที่ขออนุญาตจัดตั้ง
แต่ต้องไม่เกินสองปีติดต่อกันนับแต่วันที่อนุญาต
เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน
พ.ศ. 2554
2.
กำหนดการพิจารณาว่าพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานเป็นการชั่วคราวให้พิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้
2.1
ระยะเวลาใช้งานที่เป็นการชั่วคราวต้องไม่เกินสองปีติดต่อกันนับแต่วันที่อนุญาต
2.2
วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น
เพื่อการขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานเพียงครั้งเดียว
หรือตามภารกิจอื่นที่มีระยะเวลาแน่นอน
2.3
ลักษณะที่จะดำเนินการทางกายภาพกับพื้นที่ที่กำหนด
2.4
เรื่องอื่นที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการชั่วคราว
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
กำหนดให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555 และมีสาระสำคัญ ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. 2555
|
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
พ.ศ. ....
|
ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1) การออกบัตรในกรณีบัตรหายหรือ
ถูกทำลาย บัตรชำรุด หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือ ชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียน
หรือย้ายที่อยู่ตามมาตรา 6 จัตวา
ฉบับละ
20 บาท
(2)
การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร
ฉบับละ
10 บาท
ข้อ
3 ในกรณีที่รัฐมนตรีประกาศให้เขตท้องที่ใดเป็นเขตประสบภัยพิบัติให้ผู้ซึ่งต้องมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรตามมาตรา
6 จัตวา ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่นั้น และมายื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 6 จัตวา
หรือภายในกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีขยายตามมาตรา 6 เบญจ
ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 (6)
|
ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
(1)
การออกบัตรในกรณีบัตรหาย หรือถูกทำลาย บัตรชำรุดในสาระสำคัญ
หรือแก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล หรือ ชื่อตัวและชื่อสกุลในทะเบียนบ้าน
หรือย้ายที่อยู่ ตามมาตรา 6 จัตวา ฉบับละ 100 บาท
(2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3)
การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร
ฉบับละ 10 บาท
ข้อ
3 ในกรณีที่ได้มีประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อธิบดีกรมการปกครอง
อาจพิจารณาประกาศเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินนั้น
เป็นเขตยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ ผู้ซึ่งต้องมีบัตรใหม่หรือเปลี่ยนบัตรตามมาตรา 6
จัตวา ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่นั้น และมายื่นคำขอภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 6 จัตวา
หรือภายในกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีขยายตามมาตรา 6 เบญจ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ
2 (1)
|
เศรษฐกิจ – สังคม
|
7. เรื่อง
รายงานผลการพิจารณาการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งทุนหมุนเวียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง
(กค.) เสนอ
ผลการพิจารณาการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งทุนหมุนเวียน
ที่เห็นควรให้มีการจัดตั้งทุนหมุนเวียน จำนวน 4 ทุน ได้แก่ กองทุนยุติธรรม
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
และเงินทุนหมุนเวียนการท่าอากาศยานอู่ตะเภา
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อคิดเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
และเร่งรัดกระทรวงการคลังให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มกราคม
2558
โดยเสนอวิธีการนำเงินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ต่อคณะรัฐมนตรีและเร่งรัดการนำเงินทุนหมุนเวียนส่วนเกินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินให้ครบถ้วนโดยด่วนต่อไป
8. เรื่อง การนับเวลาราชการเป็นทวีคูณในห้วงประกาศใช้กฎอัยการศึก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานตำรวจแห่ง
(ตช.) เสนอ
ให้ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรในห้วง
ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 – 1 เมษายน 2558 มีสิทธิได้รับการนับเวลาราชการเป็นทวีคูณ
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญต่อไป
9. เรื่อง
แผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
วธ.รายงานว่า
ได้เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ สืบสาน
ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ต่อไป
จึงได้กำหนดภารกิจสำคัญมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2558 ดังนี้
1. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552
ได้จัดกิจกรรมการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยดำเนินงานผ่านคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ซึ่งได้กำหนดรายละเอียดขั้นตอนการประกาศขึ้นทะเบียน
พร้อมทั้งจัดทำพิธีประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี
2552
และนับแต่นั้นเป็นต้นมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการกำหนดสาขาของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้ครอบคลุมเหมาะสมกับสภาพบริบทของสังคมไทย
ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 7 สาขา และได้ประกาศขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 286 รายการ
2.
การศึกษาวิจัยและจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
พ.ศ. ....
ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมายเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยและจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เป็นการเฉพาะ
โดยให้มีการรักษาและสืบทอดรวมทั้งการนำองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) ต่อไป
3.
การผลักดันเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก
(Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural
Heritage) วธ. เล็งเห็นว่าหากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
จะมีสิทธิในการเสนอรายการเพื่อประกาศเป็นตัวแทนของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
(The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) หรือรายการมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน
(List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding) ต่อยูเนสโก
จึงถือเป็นโอกาสอันดียิ่งในการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศชาติให้ปรากฏในเวทีโลกเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ
ที่เป็นภาคีสมาชิกแล้ว ในการนี้
วธ.ได้จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง ในการประชุม สนช.
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2558
เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการตามวิธีการทางการทูตต่อไป
ทั้งนี้ กต.จะดำเนินการเมื่อประเทศไทยมีกฎหมายเฉพาะบังคับใช้
(ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. ....)
10. เรื่อง รายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์น้ำและแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
1.
สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
ปริมาณน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเมื่อต้นฤดูแล้งปี 2557/2558 มีปริมาณน้ำน้อย
กรมชลประทานได้ประกาศงดส่งน้ำเพื่อการปลูกข้าวนาปรัง
โดยวางแผนการใช้น้ำให้เหลือเพียงพอสำหรับสนับสนุนการปลูกข้าวนาปีตั้งแต่ต้นฤดู
(น้ำต้นทุนจาก 4 เขื่อน เมื่อต้นฤดูฝนจะมีประมาณ 4,000 – 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร)
ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือ แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนทำการปลูกข้าวนาปรังไปประมาณ
6.26 ล้านไร่ ทำให้ต้องใช้น้ำเกินแผนไปประมาณ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร (วางแผนไว้
2,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ใช้จริง 4,100 ล้านลูกบาศก์เมตร คงเหลือน้ำ ณ วันที่ 1
พฤษภาคม 2558 จำนวน 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร) มากกว่าปี 2557 จำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร
2.
คาดการณ์ผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้คาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในเบื้องต้น
กรณีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในลุ่มน้ำเจ้าพระยาในเขตพื้นที่ชลประทาน
โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 4.61 ล้านไร่
หากพื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถปลูกข้าวนาปีได้อย่างสิ้นเชิงจะทำให้ผลผลิตข้าวหายไปประมาณ
2.1 ล้านตัน โดยคิดเฉลี่ยจากผลผลิตต่อไร่ข้าวนาปีลุ่มน้ำเจ้าพระยา 500
กิโลกรัมต่อไร่ และคิดเป็นมูลค่าข้าวที่หายไปประมาณ 15,750 ล้านบาท
โดยคำนวณจากราคาข้าวขาวในตลาด ตันละ 7,500 บาท
3.
แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร
3.1
มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรดำเนินการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง
3.2
แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปี แบ่งเป็น 2 พื้นที่
คือ
3.2.1
พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีที่ได้เพาะปลูกแล้วประมาณ 2.84 ล้านไร่
ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวระบบจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวเพื่อลดการใช้น้ำ
และมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมการข้าวและกรมส่งเสริมการเกษตรหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการดำเนินงาน
ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านแปลงสาธิตของกรมการข้าวในพื้นที่เพื่อสร้างการยอมรับให้แก่เกษตรกร
3.2.2
พื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูกข้าวประมาณ 4.61 ล้านไร่
(1) ให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ
และการชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีที่จะเริ่มปลูกได้ประมาณปลายเดือนกรกฎาคมหรือเมื่อมีปริมาณฝนตกชุกแล้ว
เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งติดตามและประเมินสถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
(2)
ในระหว่างเกษตรกรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปี 40 - 45 วัน
มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร
และกรมพัฒนาที่ดินพิจารณาแนวทางเลือกเพื่อกำหนดเป็นมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร
อาทิ การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น พืชอายุสั้น
ซึ่งต้องคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณของผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวเป็นสำคัญ
และหากจำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชยเพื่อช่วยเหลือรายได้แก่เกษตรกร
จะพิจารณาผลภายหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว
รวมทั้งกำหนดมาตรการกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกข้าวนาปีได้
4.
เกษตรกรในพื้นที่สามารถรับบริการข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ ของ กษ.
ได้จากศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ เช่น
การเรียนรู้ฟาร์มตัวอย่าง แปลงสาธิตการทำการเกษตร การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ องค์ความรู้ด้านเมล็ดพันธุ์
เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับลดต้นทุนการผลิต
และสามารถปรับตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
11. เรื่อง
การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่ได้เข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยกรณีเกษตรกรภาคใต้ที่เพาะปลูกในช่วงเวลาหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
3 เดือน และกรณีรายชื่อเกษตรกรตกหล่น
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กษ.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติขยายระยะเวลาให้เกษตรกรในจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก (จังหวัดนครศรีธรรมราช
พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ที่มีการเพาะปลูกข้าวในช่วงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ในระยะ 3 เดือน (ตุลาคม – ธันวาคม 2557) ที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำนวน 37,402 ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้
2.
อนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตรเปิดระบบให้สำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการบันทึก แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเพื่อให้เกษตรกรจำนวน 2,091
ครัวเรือน สามารถเข้าร่วมในมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยได้
12. เรื่อง
รายงานสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส
(Middle
East Respiratory Syndrome; MERS)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์และความคืบหน้ามาตรการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส
(Middle
East Respiratory Syndrome; MERS) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
สธ. รายงานว่า ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับประเทศต่าง
ๆ
ต่อการระบาดของโรคจึงได้ดำเนินมาตรการในการตรวจจับการระบาดของโรคในกลุ่มเสี่ยงเพื่อการควบคุมที่รวดเร็ว
เน้นการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาล รวมทั้งป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในสถานพยาบาล
เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยการบูรณาการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมโรคเมอร์สในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ
เอกชน และประชาชน
ผลการดำเนินการที่ผ่านมา หลังจากการพบผู้ป่วยโรคเมอร์สรายแรกของประเทศไทยได้มีการดำเนินการ
ดังนี้
1. การสอบสวน
และติดตามผู้สัมผัสโรค จำนวนทั้งสิ้น 175 ราย
2.
รายงานสถานการณ์โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (ข่าวเพื่อสื่อมวลชน)
ผ่านทางเว็บไซต์สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/
show_hotnew.php?idHot_new=73918
3.
จัดทีมติดตามเฝ้าระวังอาการผู้สัมผัส
4. แจก เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
หน้ากากป้องกันโรค เอกสารคำแนะนำ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
จัดเตรียมเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา
5.
หากผู้สัมผัสมีอาการสามารถโทรศัพท์แจ้งที่สายด่วน 1422 ได้ทันที
ซึ่งหากผู้สัมผัสมีอาการเข้าเกณฑ์
กระทรวงสาธารณสุขจะจัดส่งรถไปรับผู้สัมผัสที่มีอาการที่บ้านเพื่อจะได้ดำเนินการตรวจวินิจฉัยผู้สัมผัสที่มีอาการต่อไป
6.
จัดทำข่าวสารประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์
มีความรู้เกี่ยวกับตัวโรค และรู้วิธีการแพร่โรคต่อไป
การเพิ่มความเข้มแข็งของมาตรการต่าง
ๆ ดังนี้
1. มาตรการการประเมินความเสี่ยงและการป้องกัน
มีการติดตามสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศ และสถานการณ์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง
พร้อมทั้งวิเคราะห์และทำการประเมินความเสี่ยง
2.
มาตรการการเฝ้าระวังและคัดกรอง
มีการเฝ้าระวังคัดกรองผู้เดินทางที่ช่องทางเข้าออกประเทศ/การติดตามกลุ่มเสี่ยง
3.
มาตรการการวินิจฉัยดูแลรักษา/การส่งต่อ/การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4.
คำแนะนำสำหรับผู้เดินทาง/นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรค
ต่างประเทศ
|
13. เรื่อง
การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทา
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทา
2.
อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ
เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ กต.
สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
กต.
รายงานว่า
1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทามีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
เพื่อจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นนำของเอเชีย
และเพื่อสร้างชุมชนทางวิชาการให้นักศึกษา นักวิชาการ
และนักวิจัยจากสถาบันในสาขาต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือ ทั้งนี้
การที่ไทยร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ
จะเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
อีกทั้งยังมีส่วนต่อการกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับอินเดีย
ซึ่งเป็นประเทศผู้ริเริ่มการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย
ทั้งนี้
เงินทุนสำหรับการจัดตั้งและการดำเนินการของมหาวิทยาลัยอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจของแต่ละประเทศ
2. บันทึกความเข้าใจฯ
ได้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษภาษาเดียว โดยจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีภาคีร่วมลงนามตั้งแต่ 4
ประเทศขึ้นไป
ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2556
หลังจากที่ออสเตรเลีย บรูไน กัมพูชา อินเดีย ลาว เมียนมาร์
นิวซีแลนด์และสิงคโปร์ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่
8
14. เรื่อง ร่างความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทย
และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่องการขยายเวลาความร่วมมือในด้านการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบและอนุมัติการจัดทำความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทย
และสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
เรื่องการขยายเวลาความร่วมมือในด้านการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในร่างความตกลงฯ ดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับผลประโยชน์ของไทย
ให้ ทส. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
2.
เห็นชอบให้ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ
3. มอบหมายให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้ประธานกรรมการองค์การสวนสัตว์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส.
รายงานว่า
1. รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้มอบหมีแพนด้า (Giant
Panda) ให้ประเทศไทยจำนวน 2 ตัว เพศผู้ชื่อ “ช่วงช่วง”
และเพศเมียชื่อ “หลินฮุ่ย” ในฐานะทูตสันถวไมตรี
เพื่อเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ
โดยองค์การสวนสัตว์นำไปเลี้ยงไว้ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2546
ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้า ในประเทศไทย
ตามความตกลงระหว่างองค์การสวนสัตว์แห่งราชอาณาจักรไทยและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(China Wildlife Conservation Association) เพื่อความร่วมมือด้านการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า
โดยมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.2546 -2556) ซึ่งความตกลงฯ
ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนตุลาคม 2556
2. ร่างความตกลงฯ
มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในการวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าดำเนินต่อไป
โดยขยายเวลาการอาศัยอยู่ของหมีแพนด้า “ช่วงช่วง” และ “หลินฮุ่ย”
ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เป็นต้นไป จนถึงวันที่โครงการความร่วมมือในการอนุรักษ์และวิจัยรอบใหม่จะเริ่มต้น
หรือจนถึงเดือนตุลาคม 2566
15. เรื่อง
ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าระหว่างไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการต่อประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าสำหรับการหารือกับมาเลเซีย
และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ใช้เป็นกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(Joint Trade Committee : JTC) ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่
2 ระหว่างวันที่ 28 – 29 มิถุนายน 2558 ณ กรุงเทพมหานคร
2.
หากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น
ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทย
– มาเลเซีย ให้ พณ.
และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
3.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า
(Joint Trade Committee : JTC) ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่
2 รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการหารือขยายความร่วมมือเฉพาะด้าน
(หากมี)
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ. รายงานว่า พณ.
ได้จัดการประชุมส่วนราชการและเอกชนไทยที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558
เพื่อพิจารณาประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันสำหรับการประชุม
JTC ไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 2 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้
ดังนี้
1. การตั้งเป้าหมายการค้าสองฝ่าย ให้มีมูลค่า
30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2561 2. การส่งเสริมการค้าชายแดน ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ
60 ของมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับมาเลเซีย ได้แก่
การตั้งเป้าหมายการค้าชายแดนและการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการส่งเสริมการค้าชายแดนไทย
– มาเลเซีย
3.
การลดอุปสรรคทางการค้าและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ได้แก่
ผลักดันความร่วมมือด้านการขนส่งทางถนนระหว่างไทย – มาเลเซีย
เพื่ออำนวยความสะดวกการสัญจรข้ามแดนของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าระหว่างกันผลักดันมาเลเซียให้มีการอนุญาตนำเข้าข้าวจากไทยทั้งโดยการขนส่งทางบกและทางน้ำ
จากปัจจุบันที่อนุญาตเฉพาะทางน้ำ
รวมถึงการพิจารณาผ่อนปรนข้อกำหนดการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานและผู้ประกอบการไทยในมาเลเซีย
4.
ความร่วมมือเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนของไทยด้านที่ติดกับมาเลเซีย
เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและการพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ
ระหว่างไทยกับมาเลเซียในเขตพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ
5. ความร่วมมือด้านฮาลาล ผลักดันความร่วมมือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายการส่งออกสินค้า ฮาลาลของไทยไปยังตลาดโลก เช่น
สนับสนุนความร่วมมือด้านการพัฒนามาตรฐานและการรับรองตราฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
รวมถึงการส่งเสริมการจัดและเข้าร่วมกิจกรรมและงานแสดงสินค้าฮาลาลระหว่างกัน
6. ความร่วมมือด้านยางพารา สนับสนุนความร่วมมือด้านยางพารา ซึ่งเป็นสินค้าและอุตสาหกรรมที่ทั้งสองประเทศมีศักยภาพ
ทั้งด้านการผลิตและส่งออก
โดยเฉพาะส่งเสริมการผลิตที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในไทยมากขึ้น
7. ความร่วมมือภาคเอกชน สนับสนุนการเชื่อมโยงและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนสองฝ่าย
โดยตระหนักถึงความสำคัญของภาคธุรกิจในการเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน
16. เรื่อง
การช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศเนปาล
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) เสนอ ดังนี้
1.
รับทราบรายงานสรุปผลการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินงานช่วยเหลือคนไทยในประเทศเนปาลและการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศเนปาลของหน่วยงานต่าง
ๆ หลังจากที่ได้ปรับภารกิจในการให้ความช่วยเหลือประเทศเนปาล
2.
อนุมัติให้ยุติการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมในภาวะฉุกเฉินต่อเนปาล
นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติ
3.
เห็นชอบให้หน่วยงานใดที่ยังคงมีภารกิจดำเนินการต่อเนื่องเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของภารกิจดังกล่าวจากวงเงินคงเหลือของงบประมาณ
100 ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติข้างต้นกับสำนักงบประมาณ (สงป.)
และหากหน่วยงานใดยังมีภารกิจเพิ่มเติม
ขอให้ทำเรื่องเสนอขออนุมัติโดยตรงต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
4.
อนุมัติให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รับผิดชอบรวบรวมยอดเงินบริจาค
และพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการบริจาคช่วยเหลือประเทศเนปาลต่อไป
5.
อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รวบรวมเงินจากการจัดจำหน่ายสิ่งของบริจาคเพื่อส่งมอบให้
สปน. รวบรวม และพิจารณาดำเนินการตามข้อ 4
17. เรื่อง
ขออนุมัติร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย – อินเดีย ครั้งที่ 7
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี ไทย –
อินเดีย ครั้งที่ 7
2.
อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว
3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว
ในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการความสัมพันธ์
แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต.
และคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมฯ
ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการร่วมกัน
ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ไข พัฒนาและ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์
โดยมีประเด็นหลักที่จะหยิบยกขึ้นหารือระหว่างการประชุมฯ ดังนี้ 1. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า
และการลงทุน 2. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นภาษีซ้อน 3. ประกันสังคม 4. ความมั่นคงและการทหาร 5. ความเชื่อมโยง (Connectivity) 6. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. การศึกษาและความร่วมมือทางวิชาการ 8.
วัฒนธรรม 9. การท่องเที่ยวและการบินพลเมือง 10. ประเด็นในกรอบภูมิภาคและ พหุภาคี
4. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของไทยและอินเดียที่จะมุ่งส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง
ๆ
โดยมิได้เจตนาให้เป็นความตกลงที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ดังกล่าว จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
5.
คณะผู้แทนไทยทั้งในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีจะใช้ร่างเอกสารผลลัพธ์การ ประชุมฯ ดังกล่าว
เป็นกรอบในการหารือกับฝ่ายอินเดียระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย
– อินเดีย ครั้งที่ 7 ในวันที่ 26 และ 29 มิถุนายน 2558
18. เรื่อง
ท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 39 (39th
Session of the World Heritage Committee) ระหว่างวันที่ 28
มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2558 ณ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกต่อการกำหนดท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 39 ใน 3 ประเด็นตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. เห็นด้วยกับร่างข้อมติคณะกรรมการมรดกโลก
ทั้ง 3 วาระได้แก่
1.1
วาระที่ 39COM 7B.71 รายงานสถานภาพการอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
(State of conservation of Historic City of Ayutthaya)
1.2
วาระที่ 39COM 7B.17 รายงานสถานภาพการอนุรักษ์พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น
– เขาใหญ่ (State of conservation of Dong Phayayen – Khaoyai Forest
Complex)
1.3
วาระที่ 39COM 8B.5: การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก
พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน (Nominations of Kaeng Krachan Forest Complex
to the World Heritage List)
2. เห็นชอบกับร่างแผนขับเคลื่อน
(Road Map) พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่
และพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และหากคณะกรรมการมรดกโลก
และ/หรือองค์กรที่ปรึกษามีข้อสงสัย และขอให้ชี้แจงเพิ่มเติมขอให้คณะผู้แทนไทยยึดแนวทางตามที่ระบุไว้ในแผนขับเคลื่อนเป็นกรอบในการชี้แจง
3. กรณีมีประเด็นอื่นที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการพิจารณากำหนดท่าทีในประเด็นนั้น ๆ
ทั้งนี้ให้คณะผู้แทนไทยพิจารณาร่วมกันระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
ครั้งที่ 39 โดยคำนึงถึงหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
และข้อมูลด้านเทคนิคและวิชาการจากองค์กรที่ปรึกษา (สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) และสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS))
แต่งตั้ง
|
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พลโท อภิชัย หงษ์ทอง)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง
พลโท อภิชัย หงษ์ทอง เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23
มิถุนายน 2558 เป็นต้นไป
...............................................................
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น