หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

จาก O-NET ถึง U-NET การศึกษาไทยไปสู่สากลโลก?

ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด


ติวสอบออนไลน์ชุดสรุปย่อกฎหมายในการปฏฺบัติราชการ

ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 29 จุดปี 2557-2558 


จาก O-NET ถึง U-NET การศึกษาไทยไปสู่สากลโลก?

ไทยเป็นประเทศที่มีการสอบทั้งระบบจำนวนมากติดอันดับโลก นับตั้งแต่มีสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ใน พ.ศ.2548 การสอบที่มี ได้แก่ GATT, PATT, A-NET, O-NET, B-NET, I-NET, N-NET, V-NET ล่าสุดปีการศึกษา 2557 จะมีกการสอบ U-NET จนมีคนพูดกันเล่นๆ ว่า การสอบคงไปสิ้นสุดที่ Z-NET กระมัง
          หากดูสถิติคะแนนโอเน็ตเฉลี่ยของนักเรียนชั้น ม.3 ที่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2556 คะแนนเฉลี่ยจะสูงต่ำสลับปีกัน ขึ้นอยู่กับความยากของข้อสอบที่มักจะสลับปี
          เมื่อพิจารณาคะแนนวิชาหลัก คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ พบว่าคะแนนเฉลี่ยของทั้งประเทศทุกวิชาต่ำกว่าร้อยละ 50 เว้นวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2555 เท่านั้น ที่มีคะแนนเฉลี่ยเกินร้อยละ 50
          เมื่อคะแนนโอเน็ตต่ำ สิ่งที่จะถูกวิพากษ์วิจารณ์คือคุณภาพของเด็กไทยต่ำ เพราะกระบวนการเรียนการสอน ไม่ดี
          ผู้สื่อข่าวมักไปสัมภาษณ์อาจารย์มหาวิทยาลัยเจ้าประจำ วิพากษ์วิจารณ์การเรียนการสอนในโรงเรียนว่าครูส่วนใหญ่ทำงานเพื่อเงินและวิทยฐานะมากกว่าเพื่อเด็ก ในโรงเรียนไม่มีครูที่จบวิชาเอกโดยตรง และการสอนยังเน้นให้เด็กท่องจำมากกว่าสอนให้คิดวิเคราะห์ ทำให้เด็กทำข้อสอบโอเน็ตไม่ได้
          การให้อาจารย์มหาวิทยาลัยซึ่งไม่เคยลงมาสัมผัสโรงเรียนจริงๆ ว่าโรงเรียนมีสภาพเป็นอย่างไร มีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนไปถึงไหนแล้ว แม้จะปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนอย่างไร แต่ข้อสอบที่มีมาตรฐานเดียว มาใช้วัดเด็ก ที่มีมาตรฐานต่างกัน ไม่อาจชี้วัดอะไรได้เท่าไร
          การเรียนมาตั้ง 3 ปี แล้วใช้ข้อสอบเพียง 50 ข้อ มาวัด แล้วสรุปว่าโรงเรียนที่นักเรียนได้คะแนนต่ำ แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ บางทีก็อาจจะไม่ใช่ เพราะยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คะแนนสูงหรือต่ำ ได้แก่ ความสามารถด้านการเรียนของนักเรียนที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับโรงเรียนที่มีชื่อเสียงสามารถดึงเด็กเก่งๆ ไปเข้าเรียนได้มากกว่า ย่อมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าโรงเรียนที่ไม่สามารถเลือกนักเรียนได้
          สทศ.มีโครงการร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่ โดยจะนำผลคะแนนโอเน็ตไปชี้แนะ เพื่อปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในปีต่อไปให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจะไปแสดงความยินดีนักเรียนที่ทำคะแนนได้เต็ม 100 คะแนน เพื่อยกย่องและเป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียนอื่น ได้มีแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ให้ดีขึ้น
          แสดงว่า สทศ.เห็นว่าโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนได้ดี เด็กย่อมมีคะแนนโอเน็ตสูงกว่าโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนได้ไม่ดี คำถามคือ จริง?
          ถ้าจริงก็แสดงว่าโรงเรียนเกือบทั้งประเทศจัดการเรียนการสอนได้ไม่ดี เพราะนอกจากคะแนนเฉลี่ยจะต่ำแล้ว ยังมีนักเรียนที่ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน ในวิชาต่างๆ แค่ 187 คน จากนักเรียนที่เข้าสอบ 679,000 คนเศษ คิดเป็นร้อยละ 0.03 ซึ่งถือว่าน้อยมาก
          หากคะแนนโอเน็ตชี้วัดคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนได้จริง แล้วก็ชี้วัดมาหลายปีแล้ว การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงควรเน้นที่การจัดการเรียนการสอน เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำยิ่งกว่ามัวเสียเวลากับการสอบโอเน็ตที่กลายเป็นประเพณีนิยมเป็นไหนๆ
          อีกทั้งจะได้นำงบประมาณที่ใช้ในการสอบโอเน็ต มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนมิดีกว่าหรือ
          เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่าการสอบโอเน็ตผ่านมาหลายปี คุณภาพการศึกษาไทยพัฒนาไปมากน้อยเพียงใด สามารถชี้ชัดเป็นตัวเลขที่ไม่ใช่คะแนนสอบได้ไหม เพราะคะแนนสอบมาจากข้อสอบที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ทุกปี ที่สำคัญคือข้อสอบวิชาละ 50 ข้อ สามารถวัดทักษะในการคิดของนักเรียน และความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยจริงหรือ สามารถชี้ชัดว่าครูวิชานี้ โรงเรียนนี้สอนได้ดีเด่น ไปจนถึงสอนได้ห่วยอย่างนั้นหรือ
          แม้ไม่อาจปฏิเสธว่าระบบการศึกษาจะต้องมีการสอบวัดผล เพื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อให้เกิดการตื่นตัวของการจัดการเรียนการสอนอยู่เสมอก็ตาม แต่การจัดสอบด้วยข้อสอบเดียวกันทั้งประเทศให้กับเด็กปีละ 6-7 แสนคน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าความพร้อมของโรงเรียน สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ ความมุ่งหมายในชีวิต โอกาสทางการศึกษา เพียงเพราะต้องการให้เด็กทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่สนใจว่าใครจะปั่นจักรยานเก่าๆ มาโรงเรียน ใครจะนั่งชูคอในรถยนต์คันหรูมาโรงเรียนก็ตาม
          บางทีเกิดข้อสงสัยเหมือนกันว่า หากเด็กทุกคนอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกันของการสอบโอเน็ต คะแนนโอเน็ตจะเป็นเครื่องชี้วัดถึงคุณภาพชีวิต และความสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างนั้นหรือ
          ปีหนึ่งๆ เราใช้เงินสำหรับจัดสอบโอเน็ตไปกี่สิบล้านบาท สอบเสร็จก็แค่วิจารณ์ว่าคะแนนต่ำ การศึกษาล้มเหลว แต่ไม่เห็นมีใครออกมาชี้แนะวิธีการปฏิบัติได้จริงๆ ว่า ทำอย่างไรการศึกษาถึงจะไม่ล้มเหลว
          แล้วล้มเหลวจริงหรือเปล่า เพราะตัวเลขคะแนนวัดอะไรได้บ้าง มีเรื่องมากมายที่เด็กเรียนแล้วรู้ แต่ข้อสอบไม่ถาม เพราะคนออกข้อสอบกับคนสอนจริงในโรงเรียน และคนทำข้อสอบย่อมมีวิสัยทัศน์ มุมมองต่างกัน ว่าเรื่องอะไรเรียนแล้วสำคัญ ดังนั้น จะมาตีค่าคุณภาพการศึกษาจากคะแนนสอบครั้งเดียวนี้ได้อย่างไร
          เมื่อการสอบโอเน็ตได้เข้าสู่กระแสเลือดของการศึกษาไทย เลยทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่จากข้างบนลงมาถึงโรงเรียน พากันตื่นตัวอยากให้คะแนนโอเน็ตในโรงเรียนที่ตัวเองเกี่ยวข้องมีคะแนนสูงๆ ทั้งต้องการเห็นการศึกษาพัฒนา และเพื่อความมีหน้ามีตา เอาไว้คุยกับโรงเรียนอื่นได้
          เมื่อคะแนนโอเน็ตถูกให้ความสำคัญมาก จึงส่งผลต่อการเรียนการสอน แทนที่จะได้สอนตามกระบวนการที่ควรจะเป็น กลับต้องเร่งรีบสอนให้จบทันการสอบโอเน็ต ต้องสอนแบบติวที่เน้นการทำข้อสอบ
          เมื่อแต่ละโรงเรียนต่างแข่งขันกัน เพื่อให้คะแนนโอเน็ตสูง อยู่ในลำดับที่ดีของเขตพื้นที่ ของจังหวัด แต่ละโรงเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดใหญ่ จึงจ้างติวเตอร์จากสถาบันกวดวิชามาติวให้นักเรียน ทั้งในระดับชั้น ม.3 และ ม.6 ชั้นละ 1 สัปดาห์ เสียเงินไปแสนกว่าบาทกับการติว 5 วิชา วิชาละ 1 วันต่อระดับชั้น ติวแล้วใช่ว่านักเรียนจะทำข้อสอบได้ หรือหากโชคดีปีนั้นคะแนนโอเน็ตสูงขึ้น กลายเป็น ความดีความชอบของติวเตอร์ที่มาติวเพียงวันเดียว แต่ครูที่สอนมาทั้งปีไม่มีความหมาย
          หากเงินที่ต้องจ่ายไปสำหรับติวปีละแสนกว่าบาท ถูกนำมาใช้ทำกิจกรรม เพื่อพัฒนาการจัดเรียนการสอนอาจเป็นประโยชน์กว่านี้ แต่เพราะกระแสกดดันจากรอบข้างที่โรงเรียนอื่นติว โรงเรียนนี้ก็ต้องติวบ้าง หากเพราะคะแนนโอเน็ต ต่ำลง ย่อมถูกตำหนิติเตียนจากสังคม รอบข้าง
          ผู้ปกครองส่วนหนึ่งต้องส่งลูกหลานไปติวในโรงเรียนกวดวิชาเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อคะแนนโอเน็ต ชั้น ป.6 และ ม.3 ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษา คะแนนโอเน็ต 20% ถูกนำไปใช้ในการสอบเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 และ ม.4 ยิ่งทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองต่างต้องทุ่มงบประมาณเพื่อส่งลูกหลานไปเรียนกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบโอเน็ต ปีหนึ่งๆ ทั้งประเทศหมดเงินกับการเรียนกวดวิชาไปกี่ร้อยล้านพันล้าน แล้วได้อะไร
          สรุปสุดท้ายคือ คะแนนโอเน็ตบ่งบอกชะตาชีวิต อนาคตของเด็กว่าใครจะเจริญก้าวหน้า ใครคือความหวังของสังคมได้อย่างนั้น?
          การสอบโอเน็ตคงต้องดำเนินต่อไป เพราะอยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ กับเด็กที่ต้องเดินเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ถูกข้อกำหนดของการสอบโอเน็ตอย่างไม่มีอำนาจใดๆ มาต่อรองได้ ทั้งที่คะแนนโอเน็ตชี้ว่าเด็กส่วนใหญ่ทำข้อสอบนั้นไม่ได้ และบ่งบอกว่าข้อสอบนั้นยากไปสำหรับนักเรียน 6-7 แสนคน และคะแนนโอเน็ตหลายปีดีดักไม่เคยทำให้การศึกษาของชาติได้พัฒนาจริงๆ มีเพียงคนออกมาวิจารณ์และชี้นิ้วไปที่ "แพะรับบาป" คือครู ว่าครูสอนไม่ดี จริง? หากครูสอนไม่ดีจริง ใครควรรับผิดชอบบ้าง ว่าเพราะเหตุใดครูจึงสอนไม่ดี ทุกอย่างย่อมมีที่มาที่ไปเสมอ
          นอกจากการสอบโอเน็ต การทดสอบระดับชาติกำลังย่างกรายเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย โดย สทศ.ประกาศที่จะสอบ U-NET ให้กับนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา ต้องสอบวัดความรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวัดทักษะพื้นฐาน 4 วิชา (สำหรับทุกสาขาวิชา) ประกอบด้วยวิชา การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต : การรู้เท่าทันสื่อ และวิชาการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          ด้านที่ 2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยให้ความสำคัญกับการทดสอบเหตุผลเชิงจริยธรรม และด้านที่ 3 ด้านทักษะวิชาชีพเฉพาะสาขาวิชา ปีการศึกษา 2557 สทศ.จะจัดสอบเฉพาะด้านที่ 1 ก่อน
          แนวคิดที่จะจัดสอบ U-NET สทศ. ระบุว่า เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพ ของนักศึกษาให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อยก ระดับคุณภาพการศึกษาเทียบเคียงกับนานาชาติ
          คำถามคือ จำเป็นมากน้อยเพียงใดในการจัดสอบทั้ง 3 ด้านนี้ โดยเฉพาะการสอบ 4 วิชาหลักที่ทุกคนต้องสอบเหมือนกัน ทั้งที่แต่ละคณะมีความแตกต่าง มีอัตลักษณ์ มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตเฉพาะของตนเอง อีกทั้งแต่ละมหาวิทยาลัยย่อมมีเกณฑ์ การวัดผลประเมินผลในการผลิตบัณฑิตของตนเอง สทศ.จะไปทดสอบให้เกิดความซ้ำซ้อนทำไม
          ข้อสอบที่จะนำมาวัดสามารถชี้วัดคุณภาพได้ตามที่ต้องการหรือเปล่า ในมหาวิทยาลัยต่างมีระบบประกันคุณภาพ มีบุคลากรที่มีความพร้อมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพบัณฑิตที่ออกไปสู่ตลาดแรงงาน และวงการวิชาชีพอยู่แล้ว จึงไม่เห็นเหตุผลอันใดที่ สทศ.ต้องเสนอตัวหวังดีไปจัดสอบ U-NET ให้เปลืองงบประมาณของชาติเปล่าๆ
          อีกทั้งมั่นใจได้อย่างไรว่าข้อสอบ U-NET ที่ สทศ.คิดจะทำนั้นจะเป็นเครื่องมือชี้วัดความสามารถในการทำงานของบัณฑิตที่จบออกไปได้ ผู้ที่ทำข้อสอบ U-NET ได้คะแนนน้อย อาจไม่ได้หมาย ความว่าเขาขาดทักษะในการทำงาน ข้อสอบนี่วัดศักยภาพของคนได้ด้วย?
          การสอบ U-NET สอบครั้งเดียวก่อนจบ วิชาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิต : รู้เท่าทันสื่อ จะสอบไปทำไม ทำข้อสอบได้แสดงว่ารู้เท่าทันสื่อหรืออย่างไร เห็นผู้ใหญ่ที่มีทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ รู้ไม่เท่าทันสื่อก็เยอะ แล้วจะไปวัดเด็กเพื่ออะไร
          การทดสอบด้านที่ 2 ด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อทดสอบเชิงเหตุผล การวัดความมีคุณธรรมด้วยข้อสอบ ถ้าทำข้อสอบได้แสดงว่าเป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรมมากกว่าคนที่ทำข้อสอบไม่ได้?
          การสอบ U-NET นอกจากไม่มีความจำเป็นที่จะสอบ เพราะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและสังคมแล้ว ยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เมื่อซ้ำซ้อนไม่จำเป็น ไม่เห็นความสำคัญแล้ว สทศ.จะทำไปทำไม ปล่อยให้แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนดมาตรฐาน กำกับ ตรวจสอบ และให้สังคมวิชาชีพต่างๆ ที่บัณฑิตจบไปทำงานได้ประเมินค่าเองไม่ดีกว่าหรือ
          เพราะอย่างไรการเรียนเนื้อหาวิชาการในมหาวิทยาลัย การได้ปริญญาเกียรตินิยม จริงๆ ก็ยังไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ว่าใครจะทำงานเก่งกว่าใคร จนกว่าแต่ละคนได้ลงสู่สนามวิชาชีพกันจริงๆ ถึงจะได้คำตอบว่าทำงานเป็น ทำงานเก่ง เหมือนที่เรียนมาหรือไม่ อย่ามัวให้ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ควรจะหลุดจากกรอบ เข้ามาติดกรอบอีกเลย
          สทศ.ไม่ต้องจัดสอบ U-NET ก็ยังมีอะไรให้ทำอีกเยอะ อย่างน้อยกลับ มาช่วย คิดว่าทำอย่างไรการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน จึงจะได้มาตรฐานตามความมุ่งหมายของ สทศ.และทำอย่างไรคะแนนเฉลี่ยโอเน็ตจะสูงขึ้น เพราะ กี่ปีๆ คะแนนโอเน็ตของทั้งประเทศก็ได้แค่นี้
          สทศ.ควรเอาเวลามาคิดบ้างก็ได้ว่า จะออกข้อสอบอย่างไรให้เด็กนักเรียนทำข้อสอบได้กันทั้งประเทศบ้าง เพื่อการศึกษาไทยจะได้ไปสู่สากลโลก
--จบ--

          --มติชน ฉบับวันที่ 13 พ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--

ที่มา ; เว็บ  กระทรวงศึกษาธิการ

อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 

เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)

เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ


ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkru.blogspot.com

ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com


สมัคร  ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 29 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม