เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 174/2559
บรรยายในการประชุมสัมมนา "นโยบายการศึกษาไทยในรัฐบาลปัจจุบัน"
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษในการประชุมสัมมนา เรื่อง "นโยบายการศึกษาไทยในรัฐบาลปัจจุบัน" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุม 40 ปี อาคาร 4 คณะศึกษาศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณบดีและคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ, นักวิชาการด้านการศึกษา ตลอดจนนักศึกษา เข้าร่วมรับฟัง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย บรรยายตอนหนึ่งว่า การประชุมครั้งนี้ นอกจาก รมช.ศึกษาธิการ จะได้บรรยายให้เห็นภาพกว้างๆ ในการทำงานของรัฐบาลด้านการศึกษาแล้ว ส่วนตัวต้องการมาให้กำลังใจคนในแวดวงการศึกษาด้วยกัน โดยเฉพาะในภาคเหนือซึ่งมีคณะศึกษาศาสตร์ทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนประมาณ12-13 แห่ง ดังนั้นหากคณะศึกษาศาสตร์ในภาคเหนือได้รวมตัวกันระดมความรู้ ความคิด ความพยายาม มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแล้ว จะยิ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษาในภาคเหนือเป็นอย่างมาก
ที่สำคัญจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับบางจังหวัด เช่น กระบี่ ที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและปาล์มน้ำมัน แต่ไม่มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ มีเพียงวิทยาเขตเท่านั้น ซึ่งมีผลทำให้ขาดนักวิชาการอุดมศึกษา นอกจากนี้ผู้คนที่เข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งสองส่วนใหญ่ก็เป็นคนนอกพื้นที่ ในขณะเดียวกันเด็กๆ ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายจำเป็นต้องไปเรียนต่อที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเกือบทั้งหมดเมื่อจบการศึกษาแล้ว มักไม่ค่อยกลับไปทำงานที่จังหวัดของตนเอง เช่นเดียวกันกับจังหวัดเล็กๆ หลายแห่งที่พบมา เช่น พิจิตร เป็นต้น
เพราะฉะนั้น หากเราไม่เปิดโอกาสให้จังหวัดเล็กๆ นำคนกลับมาพัฒนาในจังหวัดของตนเอง คงไม่ได้แล้ว ซึ่งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) นอกจากจะให้ความสำคัญด้านการบริหารงานบุคคลในเวลานี้ แต่ก็ขอให้ช่วยกันพิจารณาแนวทางว่าควรทำอย่างไรให้สามารถจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดนั้นๆ ได้มากที่สุด
นอกจากจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดแล้ว ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัสไปถ่ายทอดให้แก่ครู ผู้บริหาร นักเรียน และโรงเรียนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งพระราชดำรัสด้านการศึกษาที่สำคัญๆ ตั้งแต่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีจำนวนมาก อาทิ
- การศึกษาเพื่อสร้างชาติ รัชกาลที่ 5 ทรงตรัสไว้เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2440 ว่าในระยะแรกประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญฝรั่ง ส่งคนไปเรียนและดูงานต่างประเทศเพื่อกลับมาทางานในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ "เพราะฉะนั้นเราจึงได้ตักเตือนนักเรียนเหล่านั้นว่าให้พึงนึกในใจไว้ว่า เราไม่ได้มาเรียนจะเป็นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง"
- ความรู้กับคุณธรรมจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ตามพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2441 ความว่า "ให้มีความวิตกไปว่า เด็กชั้นหลังจะห่างเหินจากศาสนาจนเลยกลายเปนคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น... คนที่ไม่มีธรรมเปนเครื่องดำเนินตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ใคร่คล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น การที่หัดให้รู้อ่านอักขรวิธี ไม่เป็นเครื่องฝึกหัดให้คนดีแลคนชั่ว เปนแต่ได้วิธีสำหรับจะเรียนความดีความชั่วได้คล่องขึ้น"
- หลักการตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นักเรียน : "ครูต้องสอนให้เด็กนักเรียนมีน้ำใจ เป็นคนเรียนเก่ง ช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง มิได้สอนให้เด็กคิดแต่จะแข่งขัน (Compete) กับเพื่อนเพื่อให้ตนเองได้ลำดับดีๆ เช่น สอบได้ที่หนึ่งของชั้น แต่ต้องให้เด็กแข่งขันกับตนเอง" (11 มิถุนายน 2555)
ครู : "ปัญหาหนึ่งคือ การขาดครูเพราะจำนวนไม่พอและครูย้ายบ่อย ดังนั้นก่อนคัดเลือกเด็กที่จะพัฒนา ต้องพัฒนาครูก่อนให้พร้อมที่จะสอนเด็กให้ได้ผลตามที่ต้องการ จึงจะต้องคัดเลือกครูและพัฒนาครู ต้องตั้งฐานะในสังคมของครูให้เหมาะสม และปลูกจิตสำนึก โดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
จากพระราชดำรัสดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทุกพระองค์ทรงเน้นถึงเรื่องการศึกษา ซึ่งนอกจากจะตรัสถึงการเรียนแล้ว ได้เน้นถึงการอบรมและพัฒนาเพื่อให้เด็กมีความรู้คู่คุณธรรม ส่วนครูผู้สอนก็ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการขาดครูและความจำเป็นในการอบรมพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพก่อนจะไปสอนเด็ก โดยครูต้องมีฐานะที่เหมาะสมด้วย
ตัวอย่างโครงการของการน้อมนำพระราชดำรัสมาใช้ในการศึกษา เช่น "โครงการโรงเรียนคุณธรรม" ที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากโครงการกองทุนการศึกษา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาสร้างคนดีให้แก่บ้านเมืองโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งหมด ปัจจุบันโครงการโรงเรียนคุณธรรมเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะมีผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก คือ ผลการเรียนและผลสอบ O-NET สูงขึ้น นักเรียนเรียนต่อได้มากขึ้น อัตราการออกกลางคันลดลง ซึ่งระยะต่อไปจะขยายโครงการไปสู่วิทยาลัยอาชีวศึกษาคุณธรรม มหาวิทยาลัยคุณธรรม โรงพยาบาล คุณธรรม บริษัท/โรงงาน คุณธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คุณธรรม ต่อไปด้วย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ บรรยายตอนหนึ่งเกี่ยวกับ นโยบายการศึกษาไทยในรัฐบาลปัจจุบันว่า รัฐบาลชุดนี้ถือว่า การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ที่จะช่วยทำให้ประเทศพัฒนาการศึกษาไปได้อย่างก้าวหน้า โดย ยกตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านนโยบายการศึกษา อาทิ สาธารณรัฐฟินแลนด์และสาธารณรัฐสิงคโปร์ แม้ว่าฟินแลนด์จะเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยครั้ง แต่ฟินแลนด์ไม่นำการเมืองมาเกี่ยวข้องกับการศึกษาเพราะถือว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาประเทศ ทำให้ประเทศพัฒนาการศึกษาไปได้อย่างก้าวหน้า นอกจากนี้ทั้งสองประเทศมีการจัดระบบการศึกษาให้มีความสอดคล้องกันในทุกด้านและทุกระดับ จึงง่ายต่อการบริหารจัดการและพัฒนาการศึกษา ดังนั้นเราต้องประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลา ศึกษาหลักสูตร นโยบายด้านการศึกษาจากประเทศอื่นที่ประสบความสำเร็จ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "องค์ประกอบของระบบการศึกษาที่ดีระดับโลก" ซึ่งเป็นเนื้อหาด้านการศึกษาจากหนังสือเรื่อง A World-Class Education เขียนโดย Vivien Stewart ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาที่จะทำให้นโยบายการศึกษาประสบความสำเร็จ 8 ข้อ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์และภาวะความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง 2) การตั้งมาตรฐานระดับสูง 3) ความมุ่งมั่นตั้งใจและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา4) การได้มาและการคงไว้ซึ่งครูและผู้บริหารที่มีคุณภาพ 5) ความร่วมมือในการทำงานของทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกัน 6) การบริหารจัดการที่ดีและมีความรับผิดชอบ 7) การสร้างแรงจูงใจแก่เด็กนักเรียน 8) การมุ่งเน้นพัฒนาเพื่ออนาคตในระดับโลก
ทั้งนี้ รัฐบาลชุดนี้พยายามดำเนินการทั้ง 8 ข้อ ขาดข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้
ในส่วนสำคัญอีกด้านของการศึกษา คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้มุ่งเน้นพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กในชนบทที่ด้อยโอกาสทางการศึกษากว่า 4.2 ล้านคน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเร่งพัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและเยาวชนเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะภาษาอังกฤษจากแอพพลิเคชั่น EchoEnglish ซึ่งสามารถดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์มือถือได้แล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Andriod
รมช.ศึกษาธิการ ฝากข้อคิดเกี่ยวกับ "ครู" ผู้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษา จึงได้ตั้งคำถามแนวทางการพัฒนาครู ได้แก่ คุณภาพของครูในปัจจุบันเป็นอย่างไร, มีปัญหาขาดแคลนครูหรือไม่และขาดแคลนในวิชาใดบ้าง, นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาชีพครูอย่างไร, มีกลยุทธ์ในการเชิญชวนให้เด็กเก่งและมีความมั่งมั่นที่จะเป็นครูมาสมัครเรียนครูหรือไม่, เงินเดือนเริ่มต้นของครูเปรียบเทียบกับอาชีพอื่น ๆ เป็นอย่างไร, มีความเข้มงวดในกระบวนการคัดสรรผู้ที่จะมาสมัครเป็นครูอย่างไร, สถาบันอบรมครูในปัจจุบันมีศักยภาพเพียงใด, ครูที่จบใหม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครูอาวุโสอย่างน้อย 1 ปีหรือไม่, มีระบบการประเมินครูประจำปีที่ดีหรือไม่, มีแผนพัฒนาครูที่ครอบคลุมและเป็นระบบหรือไม่, มีระบบส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพครูหรือไม่ และระบบการคัดเลือกและพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนควรปรับปรุงและพัฒนาหรือไม่
คำถามเหล่านี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพต่อระบบการศึกษาต่อไป
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 174/2559
บรรยายในการประชุมสัมมนา "นโยบายการศึกษาไทยในรัฐบาลปัจจุบัน"
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษในการประชุมสัมมนา เรื่อง "นโยบายการศึกษาไทยในรัฐบาลปัจจุบัน" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 ณ ห้องประชุม 40 ปี อาคาร 4 คณะศึกษาศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณบดีและคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ, นักวิชาการด้านการศึกษา ตลอดจนนักศึกษา เข้าร่วมรับฟัง
ที่สำคัญจังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับบางจังหวัด เช่น กระบี่ ที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและปาล์มน้ำมัน แต่ไม่มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ มีเพียงวิทยาเขตเท่านั้น ซึ่งมีผลทำให้ขาดนักวิชาการอุดมศึกษา นอกจากนี้ผู้คนที่เข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งสองส่วนใหญ่ก็เป็นคนนอกพื้นที่ ในขณะเดียวกันเด็กๆ ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายจำเป็นต้องไปเรียนต่อที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเกือบทั้งหมดเมื่อจบการศึกษาแล้ว มักไม่ค่อยกลับไปทำงานที่จังหวัดของตนเอง เช่นเดียวกันกับจังหวัดเล็กๆ หลายแห่งที่พบมา เช่น พิจิตร เป็นต้น
เพราะฉะนั้น หากเราไม่เปิดโอกาสให้จังหวัดเล็กๆ นำคนกลับมาพัฒนาในจังหวัดของตนเอง คงไม่ได้แล้ว ซึ่งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) นอกจากจะให้ความสำคัญด้านการบริหารงานบุคคลในเวลานี้ แต่ก็ขอให้ช่วยกันพิจารณาแนวทางว่าควรทำอย่างไรให้สามารถจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไปให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดนั้นๆ ได้มากที่สุด
นอกจากจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดแล้ว ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัสไปถ่ายทอดให้แก่ครู ผู้บริหาร นักเรียน และโรงเรียนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งพระราชดำรัสด้านการศึกษาที่สำคัญๆ ตั้งแต่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันมีจำนวนมาก อาทิ
- การศึกษาเพื่อสร้างชาติ รัชกาลที่ 5 ทรงตรัสไว้เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2440 ว่าในระยะแรกประเทศไทยจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญฝรั่ง ส่งคนไปเรียนและดูงานต่างประเทศเพื่อกลับมาทางานในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ "เพราะฉะนั้นเราจึงได้ตักเตือนนักเรียนเหล่านั้นว่าให้พึงนึกในใจไว้ว่า เราไม่ได้มาเรียนจะเป็นฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเป็นคนไทยที่มีความรู้เสมอด้วยฝรั่ง"
- ความรู้กับคุณธรรมจะต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ตามพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2441 ความว่า "ให้มีความวิตกไปว่า เด็กชั้นหลังจะห่างเหินจากศาสนาจนเลยกลายเปนคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น... คนที่ไม่มีธรรมเปนเครื่องดำเนินตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่ใคร่คล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น การที่หัดให้รู้อ่านอักขรวิธี ไม่เป็นเครื่องฝึกหัดให้คนดีแลคนชั่ว เปนแต่ได้วิธีสำหรับจะเรียนความดีความชั่วได้คล่องขึ้น"
- หลักการตามกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นักเรียน : "ครูต้องสอนให้เด็กนักเรียนมีน้ำใจ เป็นคนเรียนเก่ง ช่วยติวเพื่อนที่เรียนล้าหลัง มิได้สอนให้เด็กคิดแต่จะแข่งขัน (Compete) กับเพื่อนเพื่อให้ตนเองได้ลำดับดีๆ เช่น สอบได้ที่หนึ่งของชั้น แต่ต้องให้เด็กแข่งขันกับตนเอง" (11 มิถุนายน 2555)
ครู : "ปัญหาหนึ่งคือ การขาดครูเพราะจำนวนไม่พอและครูย้ายบ่อย ดังนั้นก่อนคัดเลือกเด็กที่จะพัฒนา ต้องพัฒนาครูก่อนให้พร้อมที่จะสอนเด็กให้ได้ผลตามที่ต้องการ จึงจะต้องคัดเลือกครูและพัฒนาครู ต้องตั้งฐานะในสังคมของครูให้เหมาะสม และปลูกจิตสำนึก โดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
จากพระราชดำรัสดังกล่าว จะเห็นได้ว่าทุกพระองค์ทรงเน้นถึงเรื่องการศึกษา ซึ่งนอกจากจะตรัสถึงการเรียนแล้ว ได้เน้นถึงการอบรมและพัฒนาเพื่อให้เด็กมีความรู้คู่คุณธรรม ส่วนครูผู้สอนก็ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาการขาดครูและความจำเป็นในการอบรมพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพก่อนจะไปสอนเด็ก โดยครูต้องมีฐานะที่เหมาะสมด้วย
ตัวอย่างโครงการของการน้อมนำพระราชดำรัสมาใช้ในการศึกษา เช่น "โครงการโรงเรียนคุณธรรม" ที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากโครงการกองทุนการศึกษา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์เพื่อให้สถานศึกษาสร้างคนดีให้แก่บ้านเมืองโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งหมด ปัจจุบันโครงการโรงเรียนคุณธรรมเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะมีผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก คือ ผลการเรียนและผลสอบ O-NET สูงขึ้น นักเรียนเรียนต่อได้มากขึ้น อัตราการออกกลางคันลดลง ซึ่งระยะต่อไปจะขยายโครงการไปสู่วิทยาลัยอาชีวศึกษาคุณธรรม มหาวิทยาลัยคุณธรรม โรงพยาบาล คุณธรรม บริษัท/โรงงาน คุณธรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คุณธรรม ต่อไปด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "องค์ประกอบของระบบการศึกษาที่ดีระดับโลก" ซึ่งเป็นเนื้อหาด้านการศึกษาจากหนังสือเรื่อง A World-Class Education เขียนโดย Vivien Stewart ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญของการศึกษาที่จะทำให้นโยบายการศึกษาประสบความสำเร็จ 8 ข้อ คือ 1) การมีวิสัยทัศน์และภาวะความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง 2) การตั้งมาตรฐานระดับสูง 3) ความมุ่งมั่นตั้งใจและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา4) การได้มาและการคงไว้ซึ่งครูและผู้บริหารที่มีคุณภาพ 5) ความร่วมมือในการทำงานของทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกัน 6) การบริหารจัดการที่ดีและมีความรับผิดชอบ 7) การสร้างแรงจูงใจแก่เด็กนักเรียน 8) การมุ่งเน้นพัฒนาเพื่ออนาคตในระดับโลก
ทั้งนี้ รัฐบาลชุดนี้พยายามดำเนินการทั้ง 8 ข้อ ขาดข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้
ในส่วนสำคัญอีกด้านของการศึกษา คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้มุ่งเน้นพัฒนาการศึกษาให้กับเด็กในชนบทที่ด้อยโอกาสทางการศึกษากว่า 4.2 ล้านคน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม รวมทั้งเร่งพัฒนาภาษาอังกฤษด้วยการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและเยาวชนเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการฝึกทักษะภาษาอังกฤษจากแอพพลิเคชั่น EchoEnglish ซึ่งสามารถดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์มือถือได้แล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Andriod
รมช.ศึกษาธิการ ฝากข้อคิดเกี่ยวกับ "ครู" ผู้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษา จึงได้ตั้งคำถามแนวทางการพัฒนาครู ได้แก่ คุณภาพของครูในปัจจุบันเป็นอย่างไร, มีปัญหาขาดแคลนครูหรือไม่และขาดแคลนในวิชาใดบ้าง, นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาชีพครูอย่างไร, มีกลยุทธ์ในการเชิญชวนให้เด็กเก่งและมีความมั่งมั่นที่จะเป็นครูมาสมัครเรียนครูหรือไม่, เงินเดือนเริ่มต้นของครูเปรียบเทียบกับอาชีพอื่น ๆ เป็นอย่างไร, มีความเข้มงวดในกระบวนการคัดสรรผู้ที่จะมาสมัครเป็นครูอย่างไร, สถาบันอบรมครูในปัจจุบันมีศักยภาพเพียงใด, ครูที่จบใหม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากครูอาวุโสอย่างน้อย 1 ปีหรือไม่, มีระบบการประเมินครูประจำปีที่ดีหรือไม่, มีแผนพัฒนาครูที่ครอบคลุมและเป็นระบบหรือไม่, มีระบบส่งเสริมความก้าวหน้าในวิชาชีพครูหรือไม่ และระบบการคัดเลือกและพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนควรปรับปรุงและพัฒนาหรือไม่
คำถามเหล่านี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพต่อระบบการศึกษาต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น