เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 185/2559การประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
จังหวัดตาก - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 ณ หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคแม่สอด อ.แม่สอด โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจานนท์กุล ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม, นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 17, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนประธานกลุ่มโรงเรียน เข้าร่วมประชุม
ภาพถ่าย : ประชาสัมพันธ์ สพป.ตาก เขต 2
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลได้พิจารณาอย่างมั่นใจแล้วว่าพื้นที่ติดชายแดน 3อำเภอในจังหวัดตาก ได้แก่ อ.แม่ระมาด อ.แม่สอด และ อ.พบพระ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์และสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงประกาศให้จังหวัดตากเป็น 1 ใน 5 พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรก กระทั่งในปัจจุบันจังหวัดตากเป็น 1 ใน 10 พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ นอกจากจังหวัดสงขลา มุกดาหาร นครพนม สระแก้ว ตราด เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย และนราธิวาส
ทั้งนี้ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดน จะมีมิติของปัญหาครบทุกด้าน อาทิ ปัญหาด้านเขตแดน เศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรม ทำให้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ ดังเช่นในปัจจุบันซึ่งจังหวัดตากมีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานให้พัฒนาขึ้นจากเดิม
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาดังกล่าว จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับ "แผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษา ปี พ.ศ. 2558-2562" ภายใต้วิสัยทัศน์ "คนไทยมีศักยภาพพร้อมอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ" และภายใต้หลักการที่ว่า"เสริมสร้างความเข้าใจ ใฝ่รู้ภาษา มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี สานสามัคคีอาเซียน" ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ข้อได้แก่
1. เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาสทางการศึกษา
3. ผลิตกำลังคนให้มีทักษะสอดรับกับตลาดแรงงานอาเซียน
4. พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. พัฒนากลไกที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายและแลกเปลี่ยน
6. เสริมสร้างเครือข่ายระหว่างกันในภูมิภาค
โดยจะต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้มุ่งเน้นให้คนไทยมีศักยภาพที่จะอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจึงต้องเตรียมการและมีความพร้อม โดยเฉพาะภาคการศึกษาที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องต่อการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อันจะส่งผลถึงการพัฒนาประเทศด้วย ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานสัมฤทธิ์ผลต่อไป
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้ ผู้บริหารการศึกษาทุกสังกัด รวมทั้งผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชน ได้เสนอ ความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะ ในการเตรียมความพร้อม การจัดการปัญหา และการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังนี้
นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 17 กล่าวว่า ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สำคัญ ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะต้องจัดการศึกษาบูรณาการในทุกระดับเพื่อให้สอดคล้องกับ 3 เสาหลักดังกล่าว เนื่องจากการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญของทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้การศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรเน้นทักษะด้านอาชีพ เช่น การค้าขายชายแดน รวมทั้งพัฒนาทักษะด้านภาษา ซึ่งในขณะนี้ได้มีการพิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเพื่อดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนในจังหวัดตากในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่อไป
นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญ และขณะนี้กำลังร่างหลักสูตรแกนกลางให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ อาชีพ ภาษา และวัฒนธรรม รวมทั้งด้าน เกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพสำคัญในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา 7 ด้านคือ
1. ด้านการค้าชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมา
2. ด้านการพัฒนาทักษะภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเมียนมา (ต้องการคนที่รู้และใช้ได้ทั้ง 3 ภาษา)
3. หลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพและช่างฝีมือ
4. ด้านการสานสัมพันธ์ที่ดีของไทยเมียนมา
5. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว บริการ และการโรงแรม
6. ด้านการอนุรักษ์และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น ด้านคุณภาพชีวิต การจัดการขยะ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
7. ด้านจุดเน้นของสถาบัน หน่วยงาน และสถานศึกษาตามบริบทของพื้นที่
ส่วนประเด็นสำคัญของปัญหาการจัดการศึกษาในพื้นที่ คือ การขาดแคลนครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาเมียนมา
นายทรงวุฒิ ศรีอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กล่าวว่า การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะเน้นความสำคัญ 2 ด้าน คือ
1) ด้านทักษะภาษาอังกฤษและภาษาเมียนมา โดยมีการจัดตั้งศูนย์ภาษาอังกฤษเพื่ออบรมครู พร้อมทั้งจัดค่ายพัฒนาทั้งครูและเด็ก แต่ยังดำเนินการได้ไม่ดีเท่าที่ควร ต้องเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษน้อย ซึ่งในขณะนี้ได้แก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนการสอนวิชาหลักควบคู่กับวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษ 8-9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) การพัฒนาบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยจะเน้นที่โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพ อีกทั้งยังใช้เวทีกิจกรรมของจังหวัดตากให้เด็กนักเรียนได้นำเสนอผลงานด้านวิชาชีพ
นายมรกต กลัดสอาด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 (สุโขทัย-ตาก)กล่าวว่า ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาเมียนมา ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน โดยมีการจ้างครูชาวต่างชาติมาทำการเรียนการสอน แต่ผลที่ได้รับคือ ครูชาวต่างชาติสามารถพูดภาษาไทยได้ แต่เด็กไทยยังพูดภาษาต่างประเทศได้ไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2559 จะส่งเสริมให้เด็กนักเรียนชั้น ม. 1 เลือกอาชีพที่ต้องการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนให้เด็กลองฝึกอาชีพว่าตรงกับความต้องการของตัวเองหรือไม่
นายสุรพงษ์ ไชยวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก กล่าวว่า สำนักงาน กศน.ตาก มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาคุณภาพพื้นฐานของประชากร, พัฒนาแรงงาน, พัฒนามูลค่าเพิ่มวิสาหกิจชุมชน, พัฒนาแรงงานต่างด้าว และส่งเสริมการค้าชายแดน นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาทักษะอาชีพ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะภาษาไทย ภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนด้วย โดยต้องการบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์โดยตรง และผู้รับผิดชอบต้องมียุทธศาสตร์ การดำเนินงานที่ชัดเจน
นายจงกล พิพิธภักดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคแม่สอด กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคแม่สอดได้จัดการศึกษาในระบบทวิภาคี ด้วยการส่งนักศึกษาที่มีฐานะยากจนให้ไปศึกษาและทำงานในสถานประกอบการในเขตพื้นที่อำเภอแม่สอด แต่สถานประกอบการในสาขาต่าง ๆ ที่จะส่งนักศึกษาไปทำงานยังมีจำนวนน้อย ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา
นางจำนรรจ์ เสนาะเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอดได้ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งยังบริการวิชาการด้วยการนำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
นายธนยธ ปานขาว นายอำเภอแม่สอด กล่าวว่า ในมุมมองของฝ่ายปกครองในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเตรียมคนที่อยู่นอกเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้มีความรู้ด้านภาษา และพัฒนาการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ควรมีการเตรียมหลักสูตรนานาชาติหรือสภาสถาบันนานาชาติ เพื่อรองรับผู้ประกอบการชาวต่างชาติในอนาคต ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
นางพรทิพย์ ไชยชนะ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า ภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญและมีการจัดการเรียนการสอนอยู่ในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ สำหรับด้านวิชาชีพในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากยังขาดแคลนช่างฝีมือด้านการออกแบบ การขึ้นรูปตัวเรือนด้วยโลหะ และช่างประดับอัญมณี จึงร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนตาก และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพดังกล่าวดังกล่าว และต้องการต่อยอดการพัฒนาหลักสูตรไปถึงระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี
นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ รองประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดตากขอความร่วมมือให้กระทรวงศึกษาธิการผลิตบุคลากรเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนได้ร่วมกับสถานศึกษาในการหารือลักษณะและรูปแบบของกำลังคนที่สถานประกอบการต้องการ อีกทั้งในอนาคตจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้น
ผู้แทนฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงต้องการให้ทุกภาคส่วนแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความมั่นคงซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตากต่อไป ทั้งนี้ เมื่อเกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดน ฝ่ายความมั่นคงต้องคำนึงถึงในหลาย ๆ ประเด็น เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัย การก่ออาชญากรรม เป็นต้น
ผู้แทนภาคประชาชน กล่าวว่า ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นและสะท้อนปัญหาในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก โดยมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้เยาวชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า ขอให้ศึกษาธิการจังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลและจัดทำแผนการดำเนินงานโดยย้ำบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตาก ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยแผนการดำเนินงานจะต้องเชื่อมโยง สนับสนุน และพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ทั้งนี้ ประมาณเดือนสิงหาคม 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเชิญผู้มีส่วนร่วม จากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 เขตพื้นที่ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในห้วงต่อไป
รู้จักกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
(Tak Special Economic Development Zone)
จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ
ทั้งในเชิงความมั่นคง เศรษฐกิจ แหล่งทรัพยากร และจุดเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่น มีศักยภาพสูงต่อการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศ จึงได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลให้ 3 อำเภอในจังหวัดตาก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอพบพระ เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในการเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศและเครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพื่อยกระดับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ
โดยใน วันที่ 19 มกราคม 2558 คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้กำหนดให้ท้องที่จำนวน 14 ตำบล ใน 3 อำเภอดังกล่าว เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก แยกเป็น 8 ตำบลในอำเภอแม่สอด 3 ตำบลในอำเภอพบพระ และ 3 ตำบลในอำเภอแม่ระมาด
ศักยภาพของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
-
ตั้งอยู่ปลายแนวเชื่อมโยงเศรษฐกิจ EWEC และอยู่บนทางหลวงสายเอเชียหมายเลข 1 (AH1) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงเอเชียไปสู่ทวีปยุโรป
-
เป็นพื้นที่ชายแดน ซึ่งสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของเมียนมาโดยง่าย
-
มีด่านอยู่ใกล้กับเมืองย่างกุ้งที่สุด ทำให้มูลค่าการส่งออกไปยังเมียนมาสูงที่สุด เมื่อเทียบกับด่านชายแดน ไทย-เมียนมาอื่นๆ โดยมูลค่าการส่งออกในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 64,240 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะสูงเกิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งสินค้าของไทยที่ส่งออกไปเมียนมาผ่านเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ น้ำตาลทราย โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์มือถือ เบียร์ เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และเครื่องจักร
-
มีโอกาสสูงในการเข้าถึงแหล่งแรงงานเมียนมา เนื่องจากมีชาวเมียนมาที่เข้ามาทำงานและจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายในจังหวัดตากกว่า 72,000 คน
การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
1) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2
2) โครงการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมในช่วงแม่สอด-เมียวดี ไปยังเชิงเขาตะนาวศรี
3) โครงการปรับปรุงเส้นทางตาก-แม่สอด
4) โครงการก่อสร้างทางหลวง ตอนแม่สลิดหลวง-แม่เงา
5) โครงการบูรณะทางหลวง ตอนแม่ระมาด-ห้วยส้มป่อย-เจดีย์ยุทธหัตถี
6) การขยายท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด
7) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด
ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ปี พ.ศ.2558 ถึง 2562
-
การศึกษาเพื่อความมั่นคง- เด็กในเขตบริการทุกคนต้องได้เรียน
- เรียนรู้หลากหลายวัฒนธรรม ศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์
- ค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ
-
การศึกษาเพื่อความมั่งคั่ง - เรียนรู้เรื่องเมียนมา
- ทักษะอาชีพและการมีงานทำ
- เครือข่ายความร่วมมือ
-
การศึกษาเพื่อความยั่งยืน- วงล้อเด็กดี
- หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สิ่งแวดล้อมศึกษา
- สุขภาพพลานามัย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 185/2559การประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
จังหวัดตาก -พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนการจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 ณ หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคแม่สอด อ.แม่สอด โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจานนท์กุล ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม, นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 17, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนประธานกลุ่มโรงเรียน เข้าร่วมประชุม ภาพถ่าย : ประชาสัมพันธ์ สพป.ตาก เขต 2
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า รัฐบาลได้พิจารณาอย่างมั่นใจแล้วว่าพื้นที่ติดชายแดน 3อำเภอในจังหวัดตาก ได้แก่ อ.แม่ระมาด อ.แม่สอด และ อ.พบพระ เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์และสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงประกาศให้จังหวัดตากเป็น 1 ใน 5 พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระยะแรก กระทั่งในปัจจุบันจังหวัดตากเป็น 1 ใน 10 พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ นอกจากจังหวัดสงขลา มุกดาหาร นครพนม สระแก้ว ตราด เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย และนราธิวาสทั้งนี้ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดน จะมีมิติของปัญหาครบทุกด้าน อาทิ ปัญหาด้านเขตแดน เศรษฐกิจ การศึกษา และวัฒนธรรม ทำให้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ ดังเช่นในปัจจุบันซึ่งจังหวัดตากมีแนวทางในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานให้พัฒนาขึ้นจากเดิมนอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาดังกล่าว จึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับ "แผนยุทธศาสตร์อาเซียนด้านการศึกษา ปี พ.ศ. 2558-2562" ภายใต้วิสัยทัศน์ "คนไทยมีศักยภาพพร้อมอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ" และภายใต้หลักการที่ว่า"เสริมสร้างความเข้าใจ ใฝ่รู้ภาษา มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ รู้เท่าทันเทคโนโลยี สานสามัคคีอาเซียน" ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ข้อได้แก่1. เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2. ยกระดับคุณภาพและสร้างโอกาสทางการศึกษา
3. ผลิตกำลังคนให้มีทักษะสอดรับกับตลาดแรงงานอาเซียน
4. พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
5. พัฒนากลไกที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายและแลกเปลี่ยน
6. เสริมสร้างเครือข่ายระหว่างกันในภูมิภาคโดยจะต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้มุ่งเน้นให้คนไทยมีศักยภาพที่จะอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจึงต้องเตรียมการและมีความพร้อม โดยเฉพาะภาคการศึกษาที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องต่อการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อันจะส่งผลถึงการพัฒนาประเทศด้วย ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานสัมฤทธิ์ผลต่อไป โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้ผู้บริหารการศึกษาทุกสังกัด รวมทั้งผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชน ได้เสนอ ความคิดเห็น ปัญหา ข้อเสนอแนะ ในการเตรียมความพร้อม การจัดการปัญหา และการขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังนี้ นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 17 กล่าวว่า ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลักที่สำคัญ ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยกระทรวงศึกษาธิการจะต้องจัดการศึกษาบูรณาการในทุกระดับเพื่อให้สอดคล้องกับ 3 เสาหลักดังกล่าว เนื่องจากการศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญของทุก ๆ ด้าน นอกจากนี้การศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรเน้นทักษะด้านอาชีพ เช่น การค้าขายชายแดน รวมทั้งพัฒนาทักษะด้านภาษา ซึ่งในขณะนี้ได้มีการพิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเพื่อดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนในจังหวัดตากในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่อไปนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตากเขต 2 กล่าวว่า การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นประเด็นสำคัญ และขณะนี้กำลังร่างหลักสูตรแกนกลางให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ อาชีพ ภาษา และวัฒนธรรม รวมทั้งด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพสำคัญในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษา 7 ด้านคือ
1. ด้านการค้าชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมา
2. ด้านการพัฒนาทักษะภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเมียนมา (ต้องการคนที่รู้และใช้ได้ทั้ง 3 ภาษา)
3. หลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพและช่างฝีมือ
4. ด้านการสานสัมพันธ์ที่ดีของไทยเมียนมา
5. ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว บริการ และการโรงแรม
6. ด้านการอนุรักษ์และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น ด้านคุณภาพชีวิต การจัดการขยะ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
7. ด้านจุดเน้นของสถาบัน หน่วยงาน และสถานศึกษาตามบริบทของพื้นที่
ส่วนประเด็นสำคัญของปัญหาการจัดการศึกษาในพื้นที่ คือ การขาดแคลนครูสอนภาษาอังกฤษและภาษาเมียนมานายทรงวุฒิ ศรีอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กล่าวว่า การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะเน้นความสำคัญ 2 ด้าน คือ
1) ด้านทักษะภาษาอังกฤษและภาษาเมียนมา โดยมีการจัดตั้งศูนย์ภาษาอังกฤษเพื่ออบรมครู พร้อมทั้งจัดค่ายพัฒนาทั้งครูและเด็ก แต่ยังดำเนินการได้ไม่ดีเท่าที่ควร ต้องเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีจำนวนชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษน้อย ซึ่งในขณะนี้ได้แก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนการสอนวิชาหลักควบคู่กับวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้เด็กได้เรียนภาษาอังกฤษ 8-9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
2) การพัฒนาบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยจะเน้นที่โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพ อีกทั้งยังใช้เวทีกิจกรรมของจังหวัดตากให้เด็กนักเรียนได้นำเสนอผลงานด้านวิชาชีพนายมรกต กลัดสอาด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38 (สุโขทัย-ตาก)กล่าวว่า ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ให้ความสำคัญกับภาษาต่างประเทศ คือ ภาษาเมียนมา ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน โดยมีการจ้างครูชาวต่างชาติมาทำการเรียนการสอน แต่ผลที่ได้รับคือ ครูชาวต่างชาติสามารถพูดภาษาไทยได้ แต่เด็กไทยยังพูดภาษาต่างประเทศได้ไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2559 จะส่งเสริมให้เด็กนักเรียนชั้น ม. 1 เลือกอาชีพที่ต้องการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนให้เด็กลองฝึกอาชีพว่าตรงกับความต้องการของตัวเองหรือไม่นายสุรพงษ์ ไชยวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดตาก กล่าวว่า สำนักงาน กศน.ตาก มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาคุณภาพพื้นฐานของประชากร, พัฒนาแรงงาน, พัฒนามูลค่าเพิ่มวิสาหกิจชุมชน, พัฒนาแรงงานต่างด้าว และส่งเสริมการค้าชายแดน นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาทักษะอาชีพ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะภาษาไทย ภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนด้วย โดยต้องการบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์โดยตรง และผู้รับผิดชอบต้องมียุทธศาสตร์ การดำเนินงานที่ชัดเจนนายจงกล พิพิธภักดี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคแม่สอด กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคแม่สอดได้จัดการศึกษาในระบบทวิภาคี ด้วยการส่งนักศึกษาที่มีฐานะยากจนให้ไปศึกษาและทำงานในสถานประกอบการในเขตพื้นที่อำเภอแม่สอด แต่สถานประกอบการในสาขาต่าง ๆ ที่จะส่งนักศึกษาไปทำงานยังมีจำนวนน้อย ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษานางจำนรรจ์ เสนาะเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอด กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอดได้ผลิตบัณฑิตตามความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งยังบริการวิชาการด้วยการนำความรู้ไปเผยแพร่สู่ชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากนายธนยธ ปานขาว นายอำเภอแม่สอด กล่าวว่า ในมุมมองของฝ่ายปกครองในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการให้สอดคล้องกับการเตรียมคนที่อยู่นอกเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้มีความรู้ด้านภาษา และพัฒนาการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ ควรมีการเตรียมหลักสูตรนานาชาติหรือสภาสถาบันนานาชาติ เพื่อรองรับผู้ประกอบการชาวต่างชาติในอนาคต ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนางพรทิพย์ ไชยชนะ ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า ภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญและมีการจัดการเรียนการสอนอยู่ในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ สำหรับด้านวิชาชีพในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากยังขาดแคลนช่างฝีมือด้านการออกแบบ การขึ้นรูปตัวเรือนด้วยโลหะ และช่างประดับอัญมณี จึงร่วมมือกับวิทยาลัยชุมชนตาก และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพดังกล่าวดังกล่าว และต้องการต่อยอดการพัฒนาหลักสูตรไปถึงระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีนายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ รองประธานหอการค้าจังหวัดตาก กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดตากขอความร่วมมือให้กระทรวงศึกษาธิการผลิตบุคลากรเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านภาษาเมียนมาและภาษาอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนได้ร่วมกับสถานศึกษาในการหารือลักษณะและรูปแบบของกำลังคนที่สถานประกอบการต้องการ อีกทั้งในอนาคตจะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้นผู้แทนฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงต้องการให้ทุกภาคส่วนแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความมั่นคงซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตากต่อไป ทั้งนี้ เมื่อเกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดน ฝ่ายความมั่นคงต้องคำนึงถึงในหลาย ๆ ประเด็น เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัย การก่ออาชญากรรม เป็นต้นผู้แทนภาคประชาชน กล่าวว่า ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นและสะท้อนปัญหาในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก โดยมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้เยาวชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรมช.ศึกษาธิการ กล่าวสรุปว่า ขอให้ศึกษาธิการจังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลและจัดทำแผนการดำเนินงานโดยย้ำบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดตาก ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยแผนการดำเนินงานจะต้องเชื่อมโยง สนับสนุน และพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ทั้งนี้ ประมาณเดือนสิงหาคม 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะเชิญผู้มีส่วนร่วม จากเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 เขตพื้นที่ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในห้วงต่อไป
(Tak Special Economic Development Zone) | ||
จังหวัดตาก เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ
ทั้งในเชิงความมั่นคง เศรษฐกิจ แหล่งทรัพยากร และจุดเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคอื่น มีศักยภาพสูงต่อการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศ จึงได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลให้ 3 อำเภอในจังหวัดตาก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอพบพระ เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในการเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศและเครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เพื่อยกระดับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ
โดยใน
ศักยภาพของพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก
การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
1) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2
2) โครงการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมในช่วงแม่สอด-เมียวดี ไปยังเชิงเขาตะนาวศรี
3) โครงการปรับปรุงเส้นทางตาก-แม่สอด
4) โครงการก่อสร้างทางหลวง ตอนแม่สลิดหลวง-แม่เงา
5) โครงการบูรณะทางหลวง ตอนแม่ระมาด-ห้วยส้มป่อย-เจดีย์ยุทธหัตถี
6) การขยายท่าอากาศยานนานาชาติแม่สอด
7) โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ปี พ.ศ.2558 ถึง 2562
|
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น