เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
-เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ โดย สมศ.
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เปิดแลนด์มาร์คสุพรรณ ถิ่น ‘เติ้งเสี่ยวหาร’ จากปณิธานสานเจตนารมณ์
กลายเป็นข่าว “ช็อก” วงการการเมือง เมื่อ “มังกรสุพรรณ” บิ๊กเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของสยามประเทศ ต้องลาลับแบบกะทันหัน จากโรคหอบหืดกำเริบ การจากไปของ “เติ้งเสี่ยวหาร” คอการเมืองอาจรู้สึก “ใจหาย” แต่สำหรับชาวสุพรรณบุรีแล้ว คงมากกว่า “ความเสียใจ” เพราะนักการเมืองร่างเล็กผู้นี้ คือผู้พลิกโฉม สร้างเมืองสาลี่แห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง
อาสาม ไทม์แมชชีน แห่งทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ไม่รีรอ บึ่งรถจากกรุงเทพฯ กว่า 100 กิโลเมตร ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี สิ่งแรกที่พบตั้งตระหง่านคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณฯ ได้แก่ “หอคอยบรรหาร-แจ่มใส” แต่เนื่องจาก หอคอยดังกล่าวจะเปิดทำการเวลา 10.00 น. ทีมข่าวฯ จึงเปลี่ยนเป้าหมายเดินทางไป “อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง”
กลายเป็นข่าว “ช็อก” วงการการเมือง เมื่อ “มังกรสุพรรณ” บิ๊กเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย และ นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของสยามประเทศ ต้องลาลับแบบกะทันหัน จากโรคหอบหืดกำเริบ การจากไปของ “เติ้งเสี่ยวหาร” คอการเมืองอาจรู้สึก “ใจหาย” แต่สำหรับชาวสุพรรณบุรีแล้ว คงมากกว่า “ความเสียใจ” เพราะนักการเมืองร่างเล็กผู้นี้ คือผู้พลิกโฉม สร้างเมืองสาลี่แห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง
อาสาม ไทม์แมชชีน แห่งทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ไม่รีรอ บึ่งรถจากกรุงเทพฯ กว่า 100 กิโลเมตร ถึงจังหวัดสุพรรณบุรี สิ่งแรกที่พบตั้งตระหง่านคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณฯ ได้แก่ “หอคอยบรรหาร-แจ่มใส” แต่เนื่องจาก หอคอยดังกล่าวจะเปิดทำการเวลา 10.00 น. ทีมข่าวฯ จึงเปลี่ยนเป้าหมายเดินทางไป “อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง”
อุทยานมังกรสวรรค์ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บันดาลให้ “บิ๊กเติ้ง” ประสบความสำเร็จ
จากข้อมูลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า อุทยานมังกรสวรรค์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ออกแบบขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกร สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี
แต่จากปากคำเล่าขานของ เกษม ไทยวงษ์ หนึ่งในคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง บอกว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง คือ ก้อนหินลอยน้ำมาจากแม่น้ำท่าจีน แล้วมาติดที่บริเวณใต้ต้นโพธิ์ ในเวลาต่อมา จึงได้มีการตั้งเป็นศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีขึ้นมา ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีคนเคยที่จะตั้งเสาหลักเมืองในลักษณะคล้ายกับที่กรุงเทพฯ มาแล้ว แต่ต่อมาคนที่จะตั้งเสาหลักเมืองดังกล่าวได้กลายเป็นบ้าในที่สุด อย่างไรก็ดี ศาลหลักเมืองแห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี
“ท่านบรรหาร ก็เคารพศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้มาก โดยในวัยหนุ่มก่อนที่จะออกแสวงโชคที่กรุงเทพฯ ท่านได้มาขอพรว่า หากไปแล้วประสบความสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย ก็พร้อมที่จะกลับมาบูรณะ และพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งท่านก็ทำจริงดังที่ท่านขอพรไว้ และทุกครั้งที่ท่านมาสุพรรณฯ ท่านก็จะมาสักการะและร่วมวางแผนพัฒนา”
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการบูรณะนั้น ตนเองก็บอกไม่ถูกว่าเท่าไร แต่แรกเริ่มเดิมที ท่านบรรหาร ให้เงินเริ่มต้นไว้ 10 ล้าน ส่วนที่เหลือก็จะเป็นของประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคก่อสร้างเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ชาญชัย ทิพเนตร ผู้จัดการหมู่บ้านมังกรสวรรค์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ได้มีการซื้อที่และก่อสร้างเพิ่มเติม สร้างหมู่บ้านมังกรสวรรค์ ในปี 2552 โดยตั้งติดกับศาลหลักเมือง ซึ่งใช้เงินกว่าร้อยล้าน ที่ตรงนี้ ท่านบรรหาร ตั้งใจจะตั้งให้เป็นแลนด์มาร์คของชาวเมืองสุพรรณ ให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ชาวเมืองด้วย นอกจากที่จะเป็นศาล
“ส่วน เจดีย์พุทธบัญชา ที่ยังสร้างไม่เสร็จนั้น เรื่องนี้ไม่ต้องห่วง เรามีแผนเดินหน้าให้แล้วเสร็จ สมกับความตั้งใจที่ท่านบรรหารต้องการอย่างแน่นอน” นายชาญชัย กล่าว
จากข้อมูลการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า อุทยานมังกรสวรรค์ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ออกแบบขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกร สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี
แต่จากปากคำเล่าขานของ เกษม ไทยวงษ์ หนึ่งในคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง บอกว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง คือ ก้อนหินลอยน้ำมาจากแม่น้ำท่าจีน แล้วมาติดที่บริเวณใต้ต้นโพธิ์ ในเวลาต่อมา จึงได้มีการตั้งเป็นศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีขึ้นมา ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีคนเคยที่จะตั้งเสาหลักเมืองในลักษณะคล้ายกับที่กรุงเทพฯ มาแล้ว แต่ต่อมาคนที่จะตั้งเสาหลักเมืองดังกล่าวได้กลายเป็นบ้าในที่สุด อย่างไรก็ดี ศาลหลักเมืองแห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี
“ท่านบรรหาร ก็เคารพศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้มาก โดยในวัยหนุ่มก่อนที่จะออกแสวงโชคที่กรุงเทพฯ ท่านได้มาขอพรว่า หากไปแล้วประสบความสำเร็จ เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย ก็พร้อมที่จะกลับมาบูรณะ และพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งท่านก็ทำจริงดังที่ท่านขอพรไว้ และทุกครั้งที่ท่านมาสุพรรณฯ ท่านก็จะมาสักการะและร่วมวางแผนพัฒนา”
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการบูรณะนั้น ตนเองก็บอกไม่ถูกว่าเท่าไร แต่แรกเริ่มเดิมที ท่านบรรหาร ให้เงินเริ่มต้นไว้ 10 ล้าน ส่วนที่เหลือก็จะเป็นของประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคก่อสร้างเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ชาญชัย ทิพเนตร ผู้จัดการหมู่บ้านมังกรสวรรค์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ได้มีการซื้อที่และก่อสร้างเพิ่มเติม สร้างหมู่บ้านมังกรสวรรค์ ในปี 2552 โดยตั้งติดกับศาลหลักเมือง ซึ่งใช้เงินกว่าร้อยล้าน ที่ตรงนี้ ท่านบรรหาร ตั้งใจจะตั้งให้เป็นแลนด์มาร์คของชาวเมืองสุพรรณ ให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ชาวเมืองด้วย นอกจากที่จะเป็นศาล
“ส่วน เจดีย์พุทธบัญชา ที่ยังสร้างไม่เสร็จนั้น เรื่องนี้ไม่ต้องห่วง เรามีแผนเดินหน้าให้แล้วเสร็จ สมกับความตั้งใจที่ท่านบรรหารต้องการอย่างแน่นอน” นายชาญชัย กล่าว
เยือน หอคอยบรรหาร-แจ่มใส ชมผลงานในพิพิธภัณฑ์
หลังจาก “อาสาม ไทม์แมชชีน” ได้เดินทางไปที่ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และ หมู่บ้านมังกรสวรรค์ ก็ได้เดินทางมาที่ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส สวนเฉลิมภัทรราชินี ซึ่งไม่ไกลจากอุทยานมังกรสวรรค์มากนัก โดยทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนเนื้อที่ 17 ไร่ สวนสาธารณะแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษา โดยด้านหน้ามีน้ำพุ มีสวนเล็กๆ ให้พักผ่อน นอกจากนี้ ยังมีสไลเดอร์สำหรับเด็กๆ ซึ่งเป็นที่นิยมของหนูน้อยเมืองสาลี่เป็นอย่างมาก เพราะระหว่างที่ “อาสาม ไทม์แมชชีน” เดินผ่าน เด็กๆ ก็กำลังเล่นสไลเดอร์กันอย่างสนุกสนาน
เมื่อไปถึงจุดไฮไลต์ คือ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่กลับไม่ให้ข้อมูลมากนัก แต่ทีมข่าวฯ ก็สอบถามข้อมูลทราบมาว่า การสร้างหอคอยแห่งนี้ สร้างโดยมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส โดย นายบรรหาร ได้แรงบันดาลใจมาจากการเยือนต่างประเทศ โดยเริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2537 เป็นหอคอยแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความสูง 4 ชั้น สูง 123.25 เมตร อย่างไรก็ตาม เมื่อทีมข่าวฯ ไทยรัฐจะขึ้นชมหอคอย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาทนั้น เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่า ห้ามถ่ายภาพใดๆ ทั้งสิ้น จึงไม่สามารถเก็บภาพจากมุมสูงมาฝากแฟนๆ ไทยรัฐออนไลน์ ได้
อย่างไรก็ตาม ในเนื้อที่สวนเฉลิมภัทรราชินี ยังมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กซึ่งเก็บผลงานของนายบรรหาร ตั้งแต่ก่อนเข้าวงการการเมือง กระทั่งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มี 2 ชั้น สามารถเดินขึ้นบันไดไม้ขึ้นลงได้ แต่สิ่งที่ขาดไปคือ ผู้ให้ข้อมูล เช่นเดิม
หลังจาก “อาสาม ไทม์แมชชีน” ได้เดินทางไปที่ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และ หมู่บ้านมังกรสวรรค์ ก็ได้เดินทางมาที่ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส สวนเฉลิมภัทรราชินี ซึ่งไม่ไกลจากอุทยานมังกรสวรรค์มากนัก โดยทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสุพรรณบุรี บนเนื้อที่ 17 ไร่ สวนสาธารณะแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษา โดยด้านหน้ามีน้ำพุ มีสวนเล็กๆ ให้พักผ่อน นอกจากนี้ ยังมีสไลเดอร์สำหรับเด็กๆ ซึ่งเป็นที่นิยมของหนูน้อยเมืองสาลี่เป็นอย่างมาก เพราะระหว่างที่ “อาสาม ไทม์แมชชีน” เดินผ่าน เด็กๆ ก็กำลังเล่นสไลเดอร์กันอย่างสนุกสนาน
เมื่อไปถึงจุดไฮไลต์ คือ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่กลับไม่ให้ข้อมูลมากนัก แต่ทีมข่าวฯ ก็สอบถามข้อมูลทราบมาว่า การสร้างหอคอยแห่งนี้ สร้างโดยมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส โดย นายบรรหาร ได้แรงบันดาลใจมาจากการเยือนต่างประเทศ โดยเริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2537 เป็นหอคอยแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความสูง 4 ชั้น สูง 123.25 เมตร อย่างไรก็ตาม เมื่อทีมข่าวฯ ไทยรัฐจะขึ้นชมหอคอย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาทนั้น เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่า ห้ามถ่ายภาพใดๆ ทั้งสิ้น จึงไม่สามารถเก็บภาพจากมุมสูงมาฝากแฟนๆ ไทยรัฐออนไลน์ ได้
อย่างไรก็ตาม ในเนื้อที่สวนเฉลิมภัทรราชินี ยังมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กซึ่งเก็บผลงานของนายบรรหาร ตั้งแต่ก่อนเข้าวงการการเมือง กระทั่งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มี 2 ชั้น สามารถเดินขึ้นบันไดไม้ขึ้นลงได้ แต่สิ่งที่ขาดไปคือ ผู้ให้ข้อมูล เช่นเดิม
หอเกียรติยศ งามหยด จำลองบันไดตึกไทยคู่ฟ้า ปลุกจิตสำนึกรักบ้านเกิด เทอดแผ่นดินของตัว
เมื่อหันหลังให้กับ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส 'อาสาม ไทม์แมชชีน' พร้อมด้วย พี่ๆ นักข่าวไทยรัฐ จ.สุพรรณบุรี ก็เดินทางต่อมาที่ “หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา” ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ สุพรรณบุรี
เมื่อเข้าไปด้านใน ก็จะเจอป้ายตระหง่านบอกเจตนารมณ์ เขียนข้อความว่า “จุดประสงค์ของอาคารหลังนี้ มีไว้เพื่อช่วยปลุกเร้าให้คนรุ่นหลังเห็นว่า เมื่อเราก้าวหน้า ก็ควรรู้จักกลับมารักบ้านเกิด เทอดแผ่นดินของตัว ถ้าทุกคนทำ ...แม้เพียงไม่มาก ก็จะเป็นพลังมหาศาล ประเทศชาติก็จะเจริญ”
หอเกียรติยศแห่งนี้ รวบรวมประวัติ และผลงานของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่ยังเด็ก โดยบรรยากาศภายในคล้ายกับพิพิธภัณฑ์ระดับประเทศ โดยก่อสร้างจากเงินบริจาคของชาวสุพรรณบุรี สำหรับบันไดทางขึ้นของพิพิธภัณฑ์ เป็นการจำลองมาจาก ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีการจัดสรรพื้นที่เป็นส่วนต่างๆ เช่น ส่วนประวัติ ผลงาน บทบาททางการเมือง และสิ่งของที่ทางบุคคลสำคัญระดับประเทศมอบให้มากมาย
เมื่อหันหลังให้กับ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส 'อาสาม ไทม์แมชชีน' พร้อมด้วย พี่ๆ นักข่าวไทยรัฐ จ.สุพรรณบุรี ก็เดินทางต่อมาที่ “หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา” ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ สุพรรณบุรี
เมื่อเข้าไปด้านใน ก็จะเจอป้ายตระหง่านบอกเจตนารมณ์ เขียนข้อความว่า “จุดประสงค์ของอาคารหลังนี้ มีไว้เพื่อช่วยปลุกเร้าให้คนรุ่นหลังเห็นว่า เมื่อเราก้าวหน้า ก็ควรรู้จักกลับมารักบ้านเกิด เทอดแผ่นดินของตัว ถ้าทุกคนทำ ...แม้เพียงไม่มาก ก็จะเป็นพลังมหาศาล ประเทศชาติก็จะเจริญ”
หอเกียรติยศแห่งนี้ รวบรวมประวัติ และผลงานของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ตั้งแต่ยังเด็ก โดยบรรยากาศภายในคล้ายกับพิพิธภัณฑ์ระดับประเทศ โดยก่อสร้างจากเงินบริจาคของชาวสุพรรณบุรี สำหรับบันไดทางขึ้นของพิพิธภัณฑ์ เป็นการจำลองมาจาก ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยมีการจัดสรรพื้นที่เป็นส่วนต่างๆ เช่น ส่วนประวัติ ผลงาน บทบาททางการเมือง และสิ่งของที่ทางบุคคลสำคัญระดับประเทศมอบให้มากมาย
บึงฉวาก สวนสัตว์ในดวงใจ นายกฯ เลือดสุพรรณ
เมื่อเสร็จจาก หอเกียรติยศฯ ทีมข่าวก็มุ่งหน้าไป บึงฉวาก ซึ่งห่างจากตัวเมืองราว 70 กิโลเมตร เมื่อไปถึงพบว่าได้มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาเที่ยวชม ซึ่งสิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุด ณ บึงฉวาก แห่งนี้ คงหนีไม่พ้น ในส่วนของ อควาเรียม ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยมีทั้งน้ำเค็มน้ำจืด
“แรกเริ่มที่แห่งนี้เป็นเพียงสวนรกร้าง ไร้คนเหลียวแล ต่อมามีการพัฒนาพื้นที่ จนกลายเป็นสวนสัตว์ในส่วนแรก ซึ่งมีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นผู้ดูแล กระทั่งต่อมาได้มีการขยายมาเป็นอควาเรียม ซึ่งเป็นจุดที่ท่านบรรหารชอบเป็นอย่างมาก เมื่อก่อนท่านจะเดินทางมาทุกสัปดาห์ แต่ช่วงหลังเมื่อท่านเริ่มป่วย ท่านจะเดินทางมาสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเพื่อมาเที่ยวชม รวมไปถึงช่วยดูแลและพัฒนาสถานที่แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ไฮไลต์ของอควาเรียมแห่งนี้อยู่ที่ฉลาม มีจำนวนทั้งหมด 9 ตัว ซึ่งสิ่งที่แตกต่างจากที่อื่นคือ ที่นี่มีฉลาม lemon shark ซึ่งมีที่เดียวในประเทศไทย โดยซื้อมาจากประเทศเกาหลี ตัวละ 1.5-1.8 ล้านบาท ที่เหลือก็เป็นฉลามพันธุ์ที่มีทั่วไป ความพิเศษของ lemon shark คือ เป็นพันธุ์ที่ดูแลยาก แรกเริ่มเดิมทีต้องมีเจ้าหน้าที่จากเกาหลีมาช่วยอบรม” นางสุกันยา เอนไชย บอกกับ อาสาม ไทม์แมชชีน
เมื่อเสร็จจาก หอเกียรติยศฯ ทีมข่าวก็มุ่งหน้าไป บึงฉวาก ซึ่งห่างจากตัวเมืองราว 70 กิโลเมตร เมื่อไปถึงพบว่าได้มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาเที่ยวชม ซึ่งสิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุด ณ บึงฉวาก แห่งนี้ คงหนีไม่พ้น ในส่วนของ อควาเรียม ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยมีทั้งน้ำเค็มน้ำจืด
“แรกเริ่มที่แห่งนี้เป็นเพียงสวนรกร้าง ไร้คนเหลียวแล ต่อมามีการพัฒนาพื้นที่ จนกลายเป็นสวนสัตว์ในส่วนแรก ซึ่งมีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นผู้ดูแล กระทั่งต่อมาได้มีการขยายมาเป็นอควาเรียม ซึ่งเป็นจุดที่ท่านบรรหารชอบเป็นอย่างมาก เมื่อก่อนท่านจะเดินทางมาทุกสัปดาห์ แต่ช่วงหลังเมื่อท่านเริ่มป่วย ท่านจะเดินทางมาสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเพื่อมาเที่ยวชม รวมไปถึงช่วยดูแลและพัฒนาสถานที่แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ไฮไลต์ของอควาเรียมแห่งนี้อยู่ที่ฉลาม มีจำนวนทั้งหมด 9 ตัว ซึ่งสิ่งที่แตกต่างจากที่อื่นคือ ที่นี่มีฉลาม lemon shark ซึ่งมีที่เดียวในประเทศไทย โดยซื้อมาจากประเทศเกาหลี ตัวละ 1.5-1.8 ล้านบาท ที่เหลือก็เป็นฉลามพันธุ์ที่มีทั่วไป ความพิเศษของ lemon shark คือ เป็นพันธุ์ที่ดูแลยาก แรกเริ่มเดิมทีต้องมีเจ้าหน้าที่จากเกาหลีมาช่วยอบรม” นางสุกันยา เอนไชย บอกกับ อาสาม ไทม์แมชชีน
เปิดความประทับใจผู้ใกล้ชิด เที่ยงตรง ซื่อสัตย์ มีแต่คนนับถือ
สุดท้าย อาสาม ไทม์แมชชีน ได้เก็บความประทับใจต่อนายกฯ ร่างเล็กผู้นี้ จากผู้ใกล้ชิด บริวาร และผู้ยอมเป็นแขนขาในการสร้างเมืองสุพรรณฯ กับนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของไทย
เริ่มต้นที่ คณะกรรมการศาลหลักเมือง กล่าวว่า ท่านบรรหาร เปรียบเสมือน “พ่อเมืองสุพรรณบุรี” เพราะท่านดูแลพวกเรา พัฒนาพื้นที่ สนับสนุนการศึกษา ทำให้สุพรรณบุรีเจริญก้าวหน้า ที่ผ่านมาชื่อเสียงไม่เคยด่างพร้อย พวกเราทุกคนต่างซาบซึ้งใจในสิ่งที่ท่านทำให้เป็นอย่างยิ่ง
ขณะที่ ชาญชัย ผู้จัดการหมู่บ้านมังกรสวรรค์ เผยความในใจว่า เมื่อก่อน ทุกๆ วันอาทิตย์ ท่านจะเข้ามาดูแลความเรียบร้อยที่ หมู่บ้านมังกรสวรรค์ แห่งนี้ ไม่ว่าขาดเหลือสิ่งใดท่านก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ ครั้งสุดท้ายที่ได้คุยกัน ยังจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันที่ 13 เม.ย. ซึ่งไม่มีลางบอกเหตุแต่อย่างใด ที่ผ่านมาทำงานกับท่านมา 20 กว่าปี ท่านเองพูดกับผมเสมอว่า “ผมขอบคุณที่ช่วยงานกันมาตลอด ไม่ต้องไปไหนนะ ช่วยกันพัฒนาสุพรรณฯ”
“ทำงานกับท่านมาตั้งแต่ผมเป็นนายอำเภอ ถึงวันนี้ก็สิบกว่าปีแล้ว สิ่งที่ท่านย้ำเสมอคือ ต้องทุ่มเททำงานหนัก โดยสิ่งที่จะทำให้สำเร็จได้มีอยู่ 3 ประการ คือ 1. มีคนทำงาน 2. มีเงิน-งบประมาณ และสิ่งสุดท้ายคือ 3. มีใจที่จะทำงานให้ดี” วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี รอง ผวจ.สุพรรณบุรี กล่าว
ส่วนผู้หญิงตัวเล็กๆ เจ้าหน้าที่ในอควาเรียม กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือว่า ไม่คิดไม่ฝันว่าท่านจะจากไปอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องที่กะทันหันเป็นอย่างมาก ยังจำได้เวลาที่ท่านมา ท่านจะพูดกับเราว่า “เหนื่อยไหม...อย่าไปไหนนะ” บางครั้งจัดงานสงกรานต์ ท่านก็จะเรียก “อุ๋ย ร้องเพลง” ท่านให้เราขึ้นไปร้องเพลงแปลงที่เกี่ยวกับสุพรรณบุรี
สุดท้าย สรชัด สุจิตต์ หนึ่งในทายาททางการเมือง เหลน คุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา กล่าวว่า “ท่านเป็นแบบอย่างในการทำงาน เหมือนกับคำพูดที่ท่านพูดและอยู่ในหอเกียรติยศ คือ “ชีวิตของท่านคือการทำงาน และทำงานเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน แม้ตัวท่านได้จากไปแล้ว แต่สิ่งที่ทำคงเป็นแบบอย่างให้กับลูกหลานสืบไป”
สำหรับการเดินทางทั้ง 4 จุด ของทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ทุกจุดล้วนเป็นสถานที่ลงนามไว้อาลัยแก่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ทั้งสิ้น หากใครที่แวะเวียนหรือผ่านไป สามารถไปลงนามไว้อาลัยต่อการจากไปของ นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ผู้ที่สร้างเมืองสุพรรณฯ ให้น่าอยู่ และยิ่งใหญ่ตราบเช่นทุกวันนี้
สุดท้าย อาสาม ไทม์แมชชีน ได้เก็บความประทับใจต่อนายกฯ ร่างเล็กผู้นี้ จากผู้ใกล้ชิด บริวาร และผู้ยอมเป็นแขนขาในการสร้างเมืองสุพรรณฯ กับนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของไทย
เริ่มต้นที่ คณะกรรมการศาลหลักเมือง กล่าวว่า ท่านบรรหาร เปรียบเสมือน “พ่อเมืองสุพรรณบุรี” เพราะท่านดูแลพวกเรา พัฒนาพื้นที่ สนับสนุนการศึกษา ทำให้สุพรรณบุรีเจริญก้าวหน้า ที่ผ่านมาชื่อเสียงไม่เคยด่างพร้อย พวกเราทุกคนต่างซาบซึ้งใจในสิ่งที่ท่านทำให้เป็นอย่างยิ่ง
ขณะที่ ชาญชัย ผู้จัดการหมู่บ้านมังกรสวรรค์ เผยความในใจว่า เมื่อก่อน ทุกๆ วันอาทิตย์ ท่านจะเข้ามาดูแลความเรียบร้อยที่ หมู่บ้านมังกรสวรรค์ แห่งนี้ ไม่ว่าขาดเหลือสิ่งใดท่านก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ ครั้งสุดท้ายที่ได้คุยกัน ยังจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันที่ 13 เม.ย. ซึ่งไม่มีลางบอกเหตุแต่อย่างใด ที่ผ่านมาทำงานกับท่านมา 20 กว่าปี ท่านเองพูดกับผมเสมอว่า “ผมขอบคุณที่ช่วยงานกันมาตลอด ไม่ต้องไปไหนนะ ช่วยกันพัฒนาสุพรรณฯ”
“ทำงานกับท่านมาตั้งแต่ผมเป็นนายอำเภอ ถึงวันนี้ก็สิบกว่าปีแล้ว สิ่งที่ท่านย้ำเสมอคือ ต้องทุ่มเททำงานหนัก โดยสิ่งที่จะทำให้สำเร็จได้มีอยู่ 3 ประการ คือ 1. มีคนทำงาน 2. มีเงิน-งบประมาณ และสิ่งสุดท้ายคือ 3. มีใจที่จะทำงานให้ดี” วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี รอง ผวจ.สุพรรณบุรี กล่าว
ส่วนผู้หญิงตัวเล็กๆ เจ้าหน้าที่ในอควาเรียม กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือว่า ไม่คิดไม่ฝันว่าท่านจะจากไปอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องที่กะทันหันเป็นอย่างมาก ยังจำได้เวลาที่ท่านมา ท่านจะพูดกับเราว่า “เหนื่อยไหม...อย่าไปไหนนะ” บางครั้งจัดงานสงกรานต์ ท่านก็จะเรียก “อุ๋ย ร้องเพลง” ท่านให้เราขึ้นไปร้องเพลงแปลงที่เกี่ยวกับสุพรรณบุรี
สุดท้าย สรชัด สุจิตต์ หนึ่งในทายาททางการเมือง เหลน คุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา กล่าวว่า “ท่านเป็นแบบอย่างในการทำงาน เหมือนกับคำพูดที่ท่านพูดและอยู่ในหอเกียรติยศ คือ “ชีวิตของท่านคือการทำงาน และทำงานเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน แม้ตัวท่านได้จากไปแล้ว แต่สิ่งที่ทำคงเป็นแบบอย่างให้กับลูกหลานสืบไป”
สำหรับการเดินทางทั้ง 4 จุด ของทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ทุกจุดล้วนเป็นสถานที่ลงนามไว้อาลัยแก่ นายบรรหาร ศิลปอาชา ทั้งสิ้น หากใครที่แวะเวียนหรือผ่านไป สามารถไปลงนามไว้อาลัยต่อการจากไปของ นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ผู้ที่สร้างเมืองสุพรรณฯ ให้น่าอยู่ และยิ่งใหญ่ตราบเช่นทุกวันนี้
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น