เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
กวาดตามอง แรงงานไทย หนี้ท่วม-กู้เงินใช้
หาก "แรงงาน" เป็นพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดผลผลิตในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ "ผู้ใช้แรงงาน" จึงเปรียบเสมือนฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเจริญเติบโตอยู่ได้
ทั่วโลกจึงกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น "วันแรงงานสากล" เช่นเดียวกันกับที่ไทย ได้ก็กำหนดให้เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" เพื่อให้ทุกคนเล็งเห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงานมากยิ่งขึ้น
แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน แรงงานไทยเองก็ใช่ว่าจะได้อยู่ในจุดที่มั่นคง เมื่อดูจากการสำรวจในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ตัวผู้ใช้แรงงานเองก็พยายามร้องขอสวัสดิการชีวิตที่ดีขึ้น นอกเหนือจากการขยับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานก็หักล้างด้วยประเด็นต้นทุนและสภาพเศรษฐกิจที่ไม่สดใส แล้วสถานภาพแรงงานไทยตอนนี้เป็นอย่างไร? แล้วปัญหาอะไรที่กำลังรอการแก้ไข?
หาก "แรงงาน" เป็นพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดผลผลิตในระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ "ผู้ใช้แรงงาน" จึงเปรียบเสมือนฟันเฟืองขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเจริญเติบโตอยู่ได้
ทั่วโลกจึงกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น "วันแรงงานสากล" เช่นเดียวกันกับที่ไทย ได้ก็กำหนดให้เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" เพื่อให้ทุกคนเล็งเห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงานมากยิ่งขึ้น
แต่ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน แรงงานไทยเองก็ใช่ว่าจะได้อยู่ในจุดที่มั่นคง เมื่อดูจากการสำรวจในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ตัวผู้ใช้แรงงานเองก็พยายามร้องขอสวัสดิการชีวิตที่ดีขึ้น นอกเหนือจากการขยับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของโรงงานก็หักล้างด้วยประเด็นต้นทุนและสภาพเศรษฐกิจที่ไม่สดใส แล้วสถานภาพแรงงานไทยตอนนี้เป็นอย่างไร? แล้วปัญหาอะไรที่กำลังรอการแก้ไข?
แรงงานไทยติดหนี้นอกระบบสูงสุดรอบ 8 ปี!
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำการสำรวจ สถานภาพแรงงานไทย ซึ่งศึกษาจากผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 1,212 ตัวอย่าง พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.9 มีภาระหนี้สิน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปี โดยส่วนใหญ่ 36.4% ทำการกู้เงิน เพื่อใช้จ่ายประจำวัน 15.2% เพื่อซื้อยานพาหนะ อีก 16.7% เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และอีก 16.1% กู้เพื่อใช้คืนเงินกู้
นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า สถานภาพแรงงานไทยมีภาระหนี้ครัวเรือน รวม 119,061.74 บาทต่อครัวเรือน มีความสามารถผ่อนชำระ 8,114.31 บาทต่อเดือน โดยในจำนวนนี้ยังเป็นหนี้ในระบบ 39.38% มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 8.43% ต่อปี และเป็นหนี้นอกระบบ 60.62% นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปี และอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 12.5% ต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก็ได้ถามกลุ่มตัวอย่างต่อไปว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เคยผิดนัดชำระหนี้หรือไม่? ผู้ตอบส่วนใหญ่ถึง ร้อยละ 83.5 บอกผิดนัดชำระหนี้
สำหรับสาเหตุการเป็นหนี้นั้น ส่วนใหญ่ 95.4% ตอบมีรายได้ไม่พอรายจ่าย ส่วน 25.6% ตอบเพราะอัตราดอกเบี้ย 23.3% ตอบภาระหนี้มากขึ้น และอีก 18.8% ตอบราคาสินค้าแพงขึ้น ส่วนแนวทางแก้ปัญหานั้น ส่วนใหญ่ 29.1% ตอบว่ากู้เงินนอกระบบ 21.4% ตอบว่าขาย/จำนำสินทรัพย์ที่มี และที่เหลืออีก 19.9% ตอบว่านำเงินออมออกมาใช้
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำการสำรวจ สถานภาพแรงงานไทย ซึ่งศึกษาจากผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 1,212 ตัวอย่าง พบว่า แรงงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.9 มีภาระหนี้สิน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปี โดยส่วนใหญ่ 36.4% ทำการกู้เงิน เพื่อใช้จ่ายประจำวัน 15.2% เพื่อซื้อยานพาหนะ อีก 16.7% เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และอีก 16.1% กู้เพื่อใช้คืนเงินกู้
นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า สถานภาพแรงงานไทยมีภาระหนี้ครัวเรือน รวม 119,061.74 บาทต่อครัวเรือน มีความสามารถผ่อนชำระ 8,114.31 บาทต่อเดือน โดยในจำนวนนี้ยังเป็นหนี้ในระบบ 39.38% มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 8.43% ต่อปี และเป็นหนี้นอกระบบ 60.62% นับเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปี และอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 12.5% ต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ก็ได้ถามกลุ่มตัวอย่างต่อไปว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เคยผิดนัดชำระหนี้หรือไม่? ผู้ตอบส่วนใหญ่ถึง ร้อยละ 83.5 บอกผิดนัดชำระหนี้
สำหรับสาเหตุการเป็นหนี้นั้น ส่วนใหญ่ 95.4% ตอบมีรายได้ไม่พอรายจ่าย ส่วน 25.6% ตอบเพราะอัตราดอกเบี้ย 23.3% ตอบภาระหนี้มากขึ้น และอีก 18.8% ตอบราคาสินค้าแพงขึ้น ส่วนแนวทางแก้ปัญหานั้น ส่วนใหญ่ 29.1% ตอบว่ากู้เงินนอกระบบ 21.4% ตอบว่าขาย/จำนำสินทรัพย์ที่มี และที่เหลืออีก 19.9% ตอบว่านำเงินออมออกมาใช้
กลุ่มผู้ใช้แรงงาน คาดปีนี้ มีโอกาสตกงานสูง!
ในวันแรงงานปีนี้ คาดว่า จะมีการใช้จ่ายมูลค่า 2,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.73% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้จ่ายช่วงวันแรงงานปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ 34.9% ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 30.8% ใช้จ่ายเท่าเดิม และ 3.5% ใช้น้อยลง
เมื่อถามถึงทัศนะต่อเศรษฐกิจประเทศในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ 40.2% เห็นว่าปานกลาง 27.2% ตอบว่าแย่ 23.1% ดี และเมื่อถามถึงโอกาสในการตกงาน พบว่า ปี 59 กลุ่มตัวอย่าง 44.1% ตอบว่า มีโอกาสตกงานมาก ซึ่งสูงกว่าปี 58 ที่ตอบมีโอกาสตกงาน 30.9% ปี 57 อยู่ที่ 28.9% และปี 56 อยู่ที่ 17.8%
ในวันแรงงานปีนี้ คาดว่า จะมีการใช้จ่ายมูลค่า 2,054 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.73% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้จ่ายช่วงวันแรงงานปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ 34.9% ใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 30.8% ใช้จ่ายเท่าเดิม และ 3.5% ใช้น้อยลง
เมื่อถามถึงทัศนะต่อเศรษฐกิจประเทศในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ 40.2% เห็นว่าปานกลาง 27.2% ตอบว่าแย่ 23.1% ดี และเมื่อถามถึงโอกาสในการตกงาน พบว่า ปี 59 กลุ่มตัวอย่าง 44.1% ตอบว่า มีโอกาสตกงานมาก ซึ่งสูงกว่าปี 58 ที่ตอบมีโอกาสตกงาน 30.9% ปี 57 อยู่ที่ 28.9% และปี 56 อยู่ที่ 17.8%
จำนวนคนถึง 60.6% บอกควรปรับค่าจ้างขึ้น ตามภาวะค่าครองชีพ
ส่วนในเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ณ ปัจจุบัน วันละ 300 บาท ส่วนใหญ่ 95.7% ตอบว่าเป็นอัตราที่สมควร อย่างไรก็ตาม ในจำนวนนี้ 60.6% เห็นว่าควรปรับขึ้นตามภาวะค่าครองชีพตามกลไกตลาดที่แท้จริง อีก 26.8% เห็นว่าควรปรับขึ้นทุกปี และที่เหลือ 12.6% ปรับขึ้น 2 ปีต่อครั้ง ส่วนอัตราที่ควรปรับเพิ่มขึ้น ควรอยู่ที่วันละ 356.76 บาท
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนั้น มีการพิจารณาอัตราค่าจ้าง 3 รูปแบบ คือ 1. ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2. ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 35 สาขาอาชีพ เช่น ช่างเชื่อม, ช่างก่ออิฐ, พนักงานนวดแผนไทย, ช่างไฟฟ้าในอาคาร เป็นต้น และ 3. ค่าจ้างตามกลไกตลาด ซึ่งก็ต้องไม่ต่ำกว่า 300 บาท
ส่วนในเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ณ ปัจจุบัน วันละ 300 บาท ส่วนใหญ่ 95.7% ตอบว่าเป็นอัตราที่สมควร อย่างไรก็ตาม ในจำนวนนี้ 60.6% เห็นว่าควรปรับขึ้นตามภาวะค่าครองชีพตามกลไกตลาดที่แท้จริง อีก 26.8% เห็นว่าควรปรับขึ้นทุกปี และที่เหลือ 12.6% ปรับขึ้น 2 ปีต่อครั้ง ส่วนอัตราที่ควรปรับเพิ่มขึ้น ควรอยู่ที่วันละ 356.76 บาท
ทั้งนี้ ในปัจจุบันนั้น มีการพิจารณาอัตราค่าจ้าง 3 รูปแบบ คือ 1. ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2. ตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 35 สาขาอาชีพ เช่น ช่างเชื่อม, ช่างก่ออิฐ, พนักงานนวดแผนไทย, ช่างไฟฟ้าในอาคาร เป็นต้น และ 3. ค่าจ้างตามกลไกตลาด ซึ่งก็ต้องไม่ต่ำกว่า 300 บาท
กูรู แนะรัฐ เร่งหามาตรการแก้ปัญหา ลดการก่อหนี้นอกระบบ
ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจสถานภาพแรงงานข้างต้น ว่า จะเห็นได้ว่าแรงงานกำลังเผชิญปัญหาหนี้สิน โดยส่วนใหญ่มีภาระหนี้ ซึ่งเป็นอัตราการตอบเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 8 ปี และแรงงานกำลังเริ่มมีปัญหาการชำระหนี้ เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้แรงงานก่อหนี้เพิ่มเป็นเพราะนำเงินไปจ่ายหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ มีความน่าเป็นห่วงถึงสัดส่วนหนี้นอกระบบที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี เช่นกัน
ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งหามาตรการแก้ปัญหาเพื่อลดการก่อหนี้นอกระบบ รวมถึงเร่งแก้ปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่แม้จะแสดงความเห็นว่าให้ปรับขึ้นค่าแรงรายวัน แต่จากสถานการณ์ทางธุรกิจ ซึ่งผลสำรวจชี้ว่า ยอดขายลดลง ขาดสภาพคล่อง ทำให้แรงงานมีความกังวลเรื่องการถูกเลิกจ้างมากกว่าความต้องการขอปรับขึ้นค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสัญญาณจากภาคธุรกิจถึงการเลิกจ้างงาน แต่ธุรกิจจะลดการทำโอที (ทำงานนอกเวลา) ไม่จ้างงานเพิ่มเพื่อตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจสถานภาพแรงงานข้างต้น ว่า จะเห็นได้ว่าแรงงานกำลังเผชิญปัญหาหนี้สิน โดยส่วนใหญ่มีภาระหนี้ ซึ่งเป็นอัตราการตอบเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 8 ปี และแรงงานกำลังเริ่มมีปัญหาการชำระหนี้ เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้แรงงานก่อหนี้เพิ่มเป็นเพราะนำเงินไปจ่ายหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้ มีความน่าเป็นห่วงถึงสัดส่วนหนี้นอกระบบที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี เช่นกัน
ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งหามาตรการแก้ปัญหาเพื่อลดการก่อหนี้นอกระบบ รวมถึงเร่งแก้ปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายของแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่แม้จะแสดงความเห็นว่าให้ปรับขึ้นค่าแรงรายวัน แต่จากสถานการณ์ทางธุรกิจ ซึ่งผลสำรวจชี้ว่า ยอดขายลดลง ขาดสภาพคล่อง ทำให้แรงงานมีความกังวลเรื่องการถูกเลิกจ้างมากกว่าความต้องการขอปรับขึ้นค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีสัญญาณจากภาคธุรกิจถึงการเลิกจ้างงาน แต่ธุรกิจจะลดการทำโอที (ทำงานนอกเวลา) ไม่จ้างงานเพิ่มเพื่อตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
ผลกระทบแรงงานไทย เมื่อเข้าสู่ AEC
สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือ สทน. มองผลกระทบข้อแรก คือ การลงทุนจากต่างชาติ เพราะอุตสาหกรรมในไทยบางประเภท มีแนวโน้มถูกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า
ส่วนแรงงานต่างชาติจากเพื่อนบ้าน ที่มาของานทำในไทย ก็อาจจะค่อยๆ ลดลงเป็นลำดับเมื่อบ้านเมืองของเขากลายเป็นจุดสนใจที่น่าจะลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงาน จนกระทั่งขยายไปยังอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้เทคนิคและทุนสูงขึ้นในอนาคต จึงเป็นไปได้ว่า แรงงานหรือพนักงานในสายวิชาชีพที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีความสามารถ ความชำนาญมากกว่า ก็จะเริ่มเข้าไปแย่งงานคนท้องถิ่น จนกว่าคนท้องถิ่นจะสามารถพัฒนาเรียนรู้ตามได้
ต่อมาคือ ผลกระทบกับตัวบุคลากร เนื่องจากคนที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษดีกว่า จะมีโอกาสเข้ามาแย่งงานคนไทยในหลายๆ อุตสาหกรรมได้ ทั้งการท่องเที่ยว พลังงาน โลจิสติกส์ รวมถึงด้านไอทีด้วย
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าแรงงานไทยจะไม่เป็นที่ต้องการ เพราะแรงงานไทยยังมีความโดดเด่นในด้านการแพทย์ เทคนิคทางการเกษตร อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่เป็นที่ต้องการของหลายประเทศและยังมีเพื่อนบ้านที่ต้องการเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้ว คนไทยไม่ได้ด้อยเรื่องความรู้ความสามารถ แต่อาจขาดซึ่งทักษะด้านภาษาอังกฤษ จึงต้องไม่ลืมที่จะฝึกฝน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้
นอกจากผู้ใช้แรงงาน จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สร้างประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศมากมายแล้ว ผู้ใช้แรงงานยังมีส่วนสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตให้ทุกคนไม่มากก็น้อย
ท้ายที่สุดไทยรัฐออนไลน์ ก็ขอให้ผู้ใช้แรงงานทุกท่าน ทุกอาชีพ มีความสุขกับงานและหน้าที่ที่ต้องทำ พร้อมทั้งมีแรงกายแรงใจไว้ต่อสู้ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มั่นคง สวัสดีวันแรงงานแห่งชาติ
ที่มา ; เว็บ นสพ.ไทยรัฐ
สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือ สทน. มองผลกระทบข้อแรก คือ การลงทุนจากต่างชาติ เพราะอุตสาหกรรมในไทยบางประเภท มีแนวโน้มถูกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำกว่า
ส่วนแรงงานต่างชาติจากเพื่อนบ้าน ที่มาของานทำในไทย ก็อาจจะค่อยๆ ลดลงเป็นลำดับเมื่อบ้านเมืองของเขากลายเป็นจุดสนใจที่น่าจะลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงาน จนกระทั่งขยายไปยังอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้เทคนิคและทุนสูงขึ้นในอนาคต จึงเป็นไปได้ว่า แรงงานหรือพนักงานในสายวิชาชีพที่แข็งแกร่งกว่า หรือมีความสามารถ ความชำนาญมากกว่า ก็จะเริ่มเข้าไปแย่งงานคนท้องถิ่น จนกว่าคนท้องถิ่นจะสามารถพัฒนาเรียนรู้ตามได้
ต่อมาคือ ผลกระทบกับตัวบุคลากร เนื่องจากคนที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษดีกว่า จะมีโอกาสเข้ามาแย่งงานคนไทยในหลายๆ อุตสาหกรรมได้ ทั้งการท่องเที่ยว พลังงาน โลจิสติกส์ รวมถึงด้านไอทีด้วย
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าแรงงานไทยจะไม่เป็นที่ต้องการ เพราะแรงงานไทยยังมีความโดดเด่นในด้านการแพทย์ เทคนิคทางการเกษตร อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่เป็นที่ต้องการของหลายประเทศและยังมีเพื่อนบ้านที่ต้องการเข้ามาทำงานที่ประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้ว คนไทยไม่ได้ด้อยเรื่องความรู้ความสามารถ แต่อาจขาดซึ่งทักษะด้านภาษาอังกฤษ จึงต้องไม่ลืมที่จะฝึกฝน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้
นอกจากผู้ใช้แรงงาน จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่สร้างประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศมากมายแล้ว ผู้ใช้แรงงานยังมีส่วนสร้างความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตให้ทุกคนไม่มากก็น้อย
ท้ายที่สุดไทยรัฐออนไลน์ ก็ขอให้ผู้ใช้แรงงานทุกท่าน ทุกอาชีพ มีความสุขกับงานและหน้าที่ที่ต้องทำ พร้อมทั้งมีแรงกายแรงใจไว้ต่อสู้ ในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มั่นคง สวัสดีวันแรงงานแห่งชาติ
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น