หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 1-200

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 1-200
1. การย้ายผู้บริหารมีกี่กรณี อะไรบ้าง ? (มี 3 กรณี คือ ....
1. การย้ายกรณีปกติ (ย้ายเพื่ออยู่ร่วมกับคู่สมรส, ย้ายเพื่อดูแลบิดามารดา, ย้ายกลับภูมิลำเนา)
2. การย้ายกรณีพิเศษ (ย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง, ย้ายเนื่องจากถูกคุกคามทางชีวิต, ย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา คู่สมรสเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง)
3. การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (ย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในหน่วยงานการศึกษา, ย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา)
2. การย้ายไปดำรงตำแหน่งว่างหมายถึงอะไร? (หมายถึง การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งว่างซึ่งมีอัตราเงินเดือน)
3. การย้ายสับเปลี่ยนหมายถึงอะไร? (การย้ายสับเปลี่ยนระหว่างบุคคลกับบุคคล)
4. การย้ายโดยตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนหมายถึงอะไร (การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนตามตัวบุคคลจากหน่วยงานการศึกษาเดิมไปกำหนดในหน่วยงานการศึกษาอื่น)
5. การย้ายกรณีปกติ ผอ. และ รอง ผอ. จะต้องดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่ากี่เดือนจึงย้ายได้ (12 เดือน)
6. ผอ. และ รอง ผอ. อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อเต็มเวลาสามารถย้ายกรณีปกติได้หรือไม่ (ไม่ได้)
7. กรณีย้ายปกติ ผู้ขอย้ายจะต้องมีอายุราชการเหลือไม่น้อยกว่ากี่ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ( เหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี 6 เดือน นับถึง 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุราชการ)
8. หากหน่วยงานที่จะรับย้ายมีกรอบอัตรากำลังเกินย้ายได้หรือไม่ (ไม่ได้)
9. การย้ายกรณีปกติ ยื่นได้ปีละกี่ครั้ง (2 ครั้ง)
10. ช่วงไหน? (ครั้งที่ 1 ช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ และครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 1-15 สิงหาคม)
11. คำร้องขอย้ายที่ยื่นในครั้งที่ 1 ให้พิจารณาย้ายได้ถึงวันที่เท่าไร (31 กรกฎาคม ของปีเดียวกัน)
12. คำร้องขอย้ายที่ยื่นในครั้งที่ 2 ให้พิจารณาย้ายได้ถึงวันที่เท่าไร (31 มกราคม ของปีถัดไป)
13. กรณีย้ายไปอยู่หน่วยงานการศึกษาต่างเขตพื้นที่ หาก อ.ก.ค.ศ. อนุมัติ สำนักงานเขตพื้นที่จะต้องนำคำร้องเสนอเขตพื้นที่ที่ขอย้ายไป ภายในช่วงใด (ถ้าเป็นช่วงที่ 1 คือ 1-15 ก.พ. ให้เสนอภายใน15 มี.ค. ของปีเดียวกัน หากเป็นช่วงที่ 2 คือ 1-15 สิงหา ให้เสนอคำร้องภายใน 15 ก.ย. สรุปคือ หาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่อนุมัติ เขตที่ยื่นขอย้ายต้องส่งคำขอไปยังเขตที่จะขอย้ายไปภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปนั่นเอง)
14. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาใครกำหนด (อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่การศึกษา)
15. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วยใคร
1. ผอ. เขต เป็นประธาน
2. รอง ผอ. เขต ผู้รับผิดชอบงานบริหารบุคคล เป็นรองประธาน
3. ตัวแทน อกคศ. เขตพื้นที่ จำนวน 3 คน (ที่คิดว่าไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการย้าย)
4. ผู้แทนผู้บิหาร 2 คน (จากประถม หรือขยายโอกาส 1 คน จากมัธยมใหญ่อีก 1 คน)
5. ผู้แทนการมการสถานศึกษา 2 คน (จากประถม หรือขยายโอกาส 1 คน จากมัธยมใหญ่อีก 1 คน)
6. หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลในเขต 1 คน เป็นเลขานุการ
16. คณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษากี่คน (9 คน)
17. ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย เพื่อพิจารณาคำร้องขอย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา (หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคลในเขตนั้น)
18. ตัวแทนผู้บริหารและตัวแทนกรรมการสถานศึกษาในคณะกรรมการกลั่นกลองเพื่อพิจารณาการย้ายผู้บริหารเป็นตัวแทนใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาได้หรือไม่ (ไม่ได้)
19. ขนาดโรงเรียนตามหลักเกณฑ์การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แบ่งขนาดสถานศึกษากี่ขนาด (4 ขนาด จำแนกตามจำนวนนักเรียน)
- ขนาดเล็ก จำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 499 ลงมา
- ขนาดกลาง จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 500-1499 คน
- ขนาดใหญ่ จำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1500-2499 คน
- ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวนนักเรียน 2500 คนขึ้นไป
20. ผู้บริหารโรงเรียนที่สอนช่วงชั้นที่ 1-2 หรือ 1-3 สามารถย้ายไปโรงเรียนที่สอนช่วงชั้น 3-4 ได้หรือไม่ (ไม่ได้)
21. หากมีผู้ขอย้ายหลายคนให้พิจารณาองค์ประกอบใดบ้าง (ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ คุณวุฒิ หรือวิชาเอก ผลการปฏิบัติงาน การรักษาวินัย หรือจรรยาบรรณ และความอาวุโสตามหลักราชการ)
22. ผอ. รร. ขนาดเล็ก สามารถย้ายเข้าโรงเรียนขนาดกลางได้หรือไม่ (ได้ และต้องเป็นช่วงชั้นเดียวกัน และเป็นขนาดใกล้เคียงกันไม่เกิน 1 ขนาด)
23. สถานศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะ หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นอย่างไร (เช่น โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ โรงเรียนที่จัดการศึกษาเน้นด้านวิทยาศาสตร์ โรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส หรือโรงเรียนที่จัดการศึกษาสงเคราะห์)
24. การย้ายผู้บริหารโรงเรียนลักษณะพิเศษ หรือมีวัตถุประสงค์พิเศษสามารถย้ายข้ามประเภทได้หรือไม่ (ไม่ได้ )
25. กรณีแต่งตั้งผู้บริหารวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ดำเนินการอย่างไร (ให้ สพฐ เสนอ กคศ พิจารณา)
26. การย้ายเพื่อดูแลบิดา มารดา หรือคู่สมรสที่เจ็บป่วยร้ายแรงจะต้องมีคุณสมบัติอะไร (ต้องเป็นบุตรคนเดียว หรือบุตรซึ่งเหลือหลออยู่คนเดียว หรือเป็นคู่สมรสตามกฎหมาย)
27. ผู้ประสงค์ขอย้ายกรณีพิเศษข้อ 1 (เจ็บป่วยร้ายแรง) สามารถยื่นคำร้องช่วงไหน (ตลอดปี)
28. เลขาธิการ ก.ค.ศ. ตอนนี้ชื่ออะไร (นายประเสริฐ งามพันธ์)
29. ลาป่วยกี่วันต้องมีใบรับรองแพทย์ (30 วันทำการขึ้นไป) (ลาไม่ถึง 30 วันทำการ ผู้อนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ประกอบใบลาก็ได้)
30. ลาคลอดบุตร สามารถลาได้กี่วัน (ลาครั้งหนึ่งได้ 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์)
31. ข้าราชการที่ยังไม่สมรส สามารถลาคลอดได้หรือไม่ (ได้)
32. การลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรถือเป็นการลาประเภทใด ลาได้กี่วัน ได้รับเงินเดือนหรือไม่ (เป็นการลากิจ ซึ่งลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ และไม่ได้รับเงินเดือน)
33. ลากิจส่วนตัวลาได้กี่วัน (ลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการ)
34. ในระหว่างลากิจส่วนตัวหากมีราชการจำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้หรือไม่ (ได้ ยกเว้นกรณีลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร)
35. การลานับวันอย่างไร (นับเฉพาะวันทำการ)
36. กรณีลากิจส่วนตัว หากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นใบลาล่วงหน้า จะสามารถลาได้หรือไม่ (ลาได้ หากได้รับอนุญาต โดยสามารถยื่นใบลาได้ในวันแรกที่มาทำการ)
37. สามารถลาพักผ่อนได้กี่วัน (10 วันทำการ)
38. ลาพักผ่อนไม่ครบ 10 วันทำการ สามารถนำไปรวมกับวันลาพักผ่อนปีต่อไปได้หรือไม่ (ได้ แต่ก็ลาได้ไม่เกิน 20 วันทำการ)
39. รับราชการไม่ครบ 6 เดือนสามารถลาพักผ่อนได้หรือไม่ (ไม่ได้)
40. ผู้มีอายุราชการเกิน 10 ปี มีสิทธินับวันลาพักผ่อนสะสมรวม ได้ไม่เกินกี่วัน (ไม่เกิน 30 วันทำการ)
41. ข้าราชการครูมีสิทธิลาพักผ่อนได้หรือไม่ (ไม่มีสิทธิ เพราะข้าราชการครูมีปิดเทอมอยู่แล้ว)
42. ลาพักผ่อน ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกตัวมาปฏิบัติราชการได้หรือไม่ (ได้)
43. การนับวันลานับอย่างไร (นับตามปีงบประมาณ)
44. ผู้ที่ลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์ มีคุณสมบัติอย่างไร (ต้องไม่เคยอุปสมบท หรือไปประกอบพิธีฮัจจ์มาก่อน และต้องมีอายุราชการไม่น้อยกว่า 1 ปีด้วย)
45. ผู้ที่ลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์สามารถลาได้กี่วัน (120 วัน)
46. หลักเกณฑ์การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจจ์ เป็นอย่างไร
1. ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชา ยื่นใบลาเสนอก่อนอนุญาต 60 วัน หากกรณีมีเหตุพิเศษ ไม่ อาจเสนอใบลาก่อน 60 วัน ให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการลา
2. หากได้รับอนุญาตให้ลาได้ จะต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับแต่วันลาหรือเดินทางไป ประกอบพิธีฮัจจ์
3. จะต้องกลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับแต่ลาสิกขาบทหรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย
47. ผู้ลาอุปสมบทจะต้องกลับมารายงานตัวหลังลาสิกขาบทแล้วภายในกี่วัน (5 วัน)
48. หากได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบท จะต้องอุปสมบทภายในกี่วัน (ภายใน 10 วัน)
49. การเข้ารับการตรวจเลือกหมายถึงอะไร (หมายถึง การเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็นทหารประจำการ)
50. เข้ารับการเตรียมพล หมายถึงอะไร (หมายถึง เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการตรวจความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร)
51. การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลาได้กี่วัน (ตามเวลาของภารกิจที่กำหนดไว้ในหมายเรียก)
52. เมื่อพ้นจากการตรวจเลือก/เตรียมพล ต้องมารายงานตัวภายในกี่วัน (ภายใน 7 วัน ขยายได้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน )
53. ผู้ได้รับหมายเรียกจะต้องรายงานผู้บังคับบัญชาก่อนเข้ารับการตรวจเลือกภายในกี่วัน (ภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันได้รับหมาย เรียก สำหรับเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันรับหมายเรียก)
54. ผู้ที่จะลาไปทำงานในองค์การระหว่างประเทศ ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี…(ไม่น้อยกว่า 5 ปี)
55. ลาติดตามคู่สมรส หมายความว่าอย่างไร...(ลาติดตามสามีหรือภรรยา ซึ่งไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ไม่รวมไปศึกษาต่อ อบรม ดูงาน)
56. ลาติดตามคู่สมรส ลาได้กี่วัน (ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ลาต่อได้อีกไม่เกิน 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 4 ปี หากเกิน 4 ปี ให้ลาออก)
57. ลาบ่อย คืออะไร (ผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาลาเกิน 6 ครั้ง สำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง)
58. มาทำงานสายเนืองๆ คืออะไร (ผู้ปฏิบัติงานสถานศึกษาต้องสาย เกิน 8 ครั้ง สำนักงาน เกิน 9 ครั้ง)
59. หนังสือราชการมีกี่ชนิด ( 6 ชนิด) คือ
1. หนังสือภายนอก
2. หนังสือภายใน
3. หนังสือประทับตรา
4. หนังสือสั่งการ ได้แก่…….(คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ)
5. หนังสือประชาสัมพันธ์…..(ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว)
6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
60. หนังสือภายนอก คืออะไร (หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีการ ใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก)
61. หนังสือภายใน คืออะไร ... (หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้น โดยให้หัวหน้าส่วนราชการ ระดับกองหรือผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับ ใช้ในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่ การขอรายละเอียดเพิ่มเติม การสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน การแจ้งผลงานที่ดำเนินการไปแล้ว การเตือนเรื่องที่ค้าง เรื่องหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง
62. หนังสือสั่งการ ได้แก่อะไรบ้าง ...(คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ)
คำสั่ง คือ…บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
ระเบียบ คือ…บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ
ข้อบังคับ คือ…บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้
63. หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด (3 ชนิด )
1. ประกาศ - เพื่อประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ
2. แถลงการณ์ - เพื่อทำความเข้าใจ
3. ข่าว - เผยแพร่ให้ทราบ
64. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้ในราชการ มี 4 ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง (หนังสือรับรอง รายงานการประชุม บันทึก หนังสืออื่น)
65. ชั้นความเร็วของหนังสือ มีกี่ชั้น ( 3 ชั้น ) ได้แก่
1. ด่วนที่สุด…… (ปฏิบัติในทันที)
2. ด่วนมาก……. (ปฏิบัติโดยเร็ว)
3. ด่วน….. (ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ)
66. อายุการเก็บหนังสือ ปกติให้เก็บไม่น้อยกว่ากี่ปี ............ (ไม่น้อยกว่า 10 ปี เว้นแต่หนังสือที่ปฏิบัติงานเสร็จสิ้น แล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องจะค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี)
67. หนังสือที่เป็นเรื่องธรรมดา ปกติให้เก็บไว้กี่ปี ...….(1 ปี)
68. การสำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บ เพื่อจัดทำบัญชีขอทำลาย ดำเนินการภายในกี่วัน…..(60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน)
69. หนังสือเวียนหมายถึงข้อใด ......(หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมากมีใจความอย่างเดียวกันให้เพิ่มตัวพยัญชนะ ว )
70. ผู้ทำรายละเอียดการขอทำลายหนังสือราชการคือใคร….(เจ้าหน้าที่ธุรการ)
71. กรมประมวลข่าวกลาง สังกัดกระทรวงใด .............. (สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
72. ศูนย์รักษาความปลอดภัย สังกัดกระทรวงใด ...........(สังกัดกระทรวงกลาโหม)
73. ชั้นความลับของทางราชการมีกี่ชั้น ......... (มี 3 ชั้น ลับที่สุด ลับมาก ลับ)
74. เครื่องแบบข้าราชการโดยทั่วไปมีกี่ชนิด ....... (2 ชนิด คือ เครื่องแบบปฏิบัติราชการ และเครื่องแบบพิธีการ)
75. ป้ายชื่อข้าราชการมีขนาดเท่าใด..... (มีขนาด 2.5 x 7.5 เซนติเมตร แสดงชื่อ สกุล และชื่อตำแหน่ง ติดที่อกเสื้อเหนือกระเป๋า ด้านขวา ไม่ต้องมีตรากระทรวง เช่น ตราเสมา)
76. หลักเกณฑ์ในการเลื่อนวิทยฐานะที่ กคศ. กำหนด มีกี่หลัก ................... (5 หลัก) ได้แก่
1. หลักความรู้ความสามารถ และสมรรถนะในการปฏิบัติงาน
2. หลักคุณธรรม
3. หลักผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อผู้เรียน ต่อคุณภาพการศึกษา ต่อวงวิชาการ วิชาชีพ ต่อชุมชน และสังคม
4. หลักการทำงานแบบมืออาชีพ : การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดการเรียนรู้และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
5. หลักการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตการทำงาน
77. หลักเกณฑ์และวิธีการให้ครูดำรงตำแหน่งครูมีวิทยฐานะชำนาญการต้องดำรงตำแหน่งครูไม่น้อยกว่ากี่ปี ............. (6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี 4 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโท และ 2 ปีสำหรับผู้มีวุฒิปริญญาเอก)
78. ผู้ที่ยื่นขอประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษจะต้องมีชั่วโมงสอนกี่คาบ/สัปดาห์ (ไม่น้อยกว่า 18 คาบต่อสัปดาห์)
79. ผู้ขอรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการสามารถยื่นขอรับการประเมินปีละกี่ครั้ง ( 1 ครั้ง)
80. เมื่อมีผู้ขอประเมินวิทยฐานะชำนาญการ จะต้องดำเนินการประเมินให้แล้วเสร็จภายในกี่เดือน ..(ภายใน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี)
81. ผู้ที่จะเกษียณอายุราชการถ้าประสงค์จะรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการต้องเหลือเวลาราชการไม่น้อยกว่ากี่เดือน .......... (6 เดือน)
82. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการประเมินกี่ด้าน อะไรบ้าง ............... ( ประเมิน 3 ด้าน)
1. ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (ประจักษ์พยาน และ รายงานการประเมินตนเองด้านการพัฒนาการสอนและพัฒนาผู้เรียน)
3. ด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (พิจารณา O-Net A-Net NT ผลสัมฤทธิ์)
83. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม ใช้เกณฑ์อย่างไร ...(ใช้เกณฑ์ผ่าน/ไม่ผ่าน)
84. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการด้านคุณภาพการสอนและการพัฒนาผู้เรียนใช้เกณฑ์อย่างไร ..(คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65)
85. การประเมินวิทยฐานะชำนาญการด้านผลการสอนและการพัฒนาผู้เรียนใช้เกณฑ์อย่างไร ... (คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65)
86. ผู้ยื่นขอประเมินชำนาญการในช่วง 1-30 เมษายน หากอนุมัติให้ผ่าน ให้มีผลในวันใด... (ไม่ก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม ของปีที่ขอ)
87. ผู้ยื่นขอประเมินชำนาญการในช่วง 1-31 ตุลาคม หากอนุมัติให้ผ่าน ให้มีผลในวันใด... (ไม่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน ของปีที่ขอ)
88. การยื่นขอประเมินชำนาญการใช้เอกสารใด..............................................................................
1. ประจักษ์พยานการสอนอย่างน้อย 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้
2. รายงานการประเมินตนเองด้านการสอนและการพัฒนาผู้เรียน (Self assessment report) อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
3. ผลงานอื่นๆ ถ้ามี
4. กพ 7 (รับรองโดยผู้บังคับบัญชา)
89. ใครมีอำนาจตั้งกรรมการ 3 คน เพื่อประเมินเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ.... (อ.ก.ค.ศ เขตพื้นที่ฯ)
ประกอบด้วย........
1. ผู้บริหารในโรงเรียนผู้ขอประเมิน (มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการ)
2. บุคคลภายนอกสถานศึกษาในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ กคศ. กำหนด จำนวน 2 คน)
90. ประธานกรรมการประเมินวิทยฐานะชำนาญการคือใคร .... (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
91. ผอ. โรงเรียนของผู้ขอประเมินเป็นประธานคณะกรรมการประเมินได้หรือไม่ ....(ไม่ได้)
92. หากโรงเรียนนั้นไม่มีผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวุฒิปริญญาโท หรือมีวิทยฐานะไม่สูงกว่าชำนาญการ ทำอย่างไรให้ได้คณะกรรมการประเมินชำนาญการครบ......(ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่กคศ กำหนด)
93. ผู้ที่จะขอรับการประเมินวิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการจะต้องดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี ..............( ไม่น้อยกว่า 2 ปี)
94. ผู้ที่ได้รับโทษภาคทัณฑ์สามารถขอรับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการได้หรือไม่ .....(ได้) แต่โทษสูงกว่าภาคทัณฑ์ไม่สามารถประเมินได้ เว้นแต่ครบกำหนดโทษแล้ว)
95. ประเมินวิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการประเมินกี่ด้าน .......( 3 ด้าน)
1. ด้านความประพฤติ วินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ด้านคุณภาพการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา (ประจักษ์พยานบริหารสถานศึกษา และรายงานการประเมินตนเองด้านการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา (Self Assessment Report) อย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
3. ด้านผลการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา (O-Net A-Net NT ผลสัมฤทธิ์อย่างน้อย 2 ปีการศึกษา) รวมทั้งความร่วมมือ และการยอมรับของผู้ปกครอง ชมชน ความสำเร็จในการพัฒนาครู ชุมชน สถานศึกษา)
96. รองผอ. ชำนาญการ หากขอประเมินชำนาญการพิเศษต้องเสนอรายงานวิจัยหรือไม่.......... (เสนอ เพื่อประกอบหลักฐานในข้อ 3 คือด้านผลการบริหารและพัฒนาสถานศึกษา วิจัยอย่างน้อย 1 ชิ้น)
97. เกณฑ์การตัดสินรองผอ. วิทยฐานะชำนาญการพิเศษเป็นอย่างไร ...(ด้านที่ 1 ผ่าน/ไม่ผ่าน ด้านที่ 2 และ 3 ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70)
98. ผู้ขอประเมินรองชำนาญการพิเศษ เอกสารที่ยื่นขอรับการประเมินมีอะไรบ้าง....(เหมือนรองชำนาญการ แต่ต้องเพิ่มเอกสารรายงานวิจัยสถาบัน)
99. การประเมินวิทยฐานะวิธีพิเศษใช้ผู้ทรงคุณวุฒิกี่คนเป็นกรรมการ ... (5 คน)
100. ยังไม่มีวิทยฐานะสามารถยื่นประเมินกรณีพิเศษได้หรือไม่.............(ไม่ได้)
101. การประเมินวิทยฐานะเชี่ยวชาญสำหรับผู้บริหารแตกต่างจากชำนาญการพิเศษอย่างไร ..(เพิ่มรายงานการพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา) (จะต้องใช้แล้วประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างได้)
102. เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะเชี่ยวชาญของผู้บริหารเป็นอย่างไร ....(ด้านที่ 1 เกณฑ์ผ่าน/ไม่ผ่าน ด้านที่ 2 และ 3 ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75)
103. สถานศึกษามีสภาพเป็นอะไรในเขตพื้นที่การศึกษา............ (จากการศึกษาข้อสังเกตเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ระบุไว้ว่า สถานศึกษาเป็นส่วนราชการในเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
104. ตามเอกสารแนวปฏิบัติงานสถานศึกษานิติบุคคล ทรัพย์สินที่สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการได้โดยอิสระ คือทรัพย์สินประเภทใด ............ (“ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษาเท่านั้น” ส่วนทรัพย์สินประเภทอื่นต้องบริหารภายใต้ต้องบริหารตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด)
105. การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้จะจำหน่ายได้หรือไม่ .....(“ได้ โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ”)
106. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่เท่าใด......(19 สิงหาคม 2542)
107. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติถือเป็น............(กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ)
108. เหตุผลในการประกาศใช้พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 คืออะไร.....(“เหตุผลคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปะวิทยาการต่างๆ เร่งรัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมของชาติ รวมทั้งในการจัดการศึกษาของรัฐให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนตามที่กฎหมายบัญญัติ และให้ความคุ้มครองการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ดังนั้นจึงสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”)
109. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 มีทั้งหมดกี่มาตรา ..........(มีทั้งหมด 78 มาตรา)
110. “การศึกษา” ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่าอย่างไร”...(การศึกษา หมายความว่า “กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”)
111. “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่าอย่างไร........ (“การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา”)
112. “การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่าอย่างไร...... (การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”)
113. สถานศึกษาตามที่ พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542 ให้ความหมายไว้ หมายความว่าอย่างไร ....(สถานศึกษาหมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา)
114. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าอย่างไร ...... (สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
115. การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่าอย่างไร ..... (“การประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น”)
116. การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่าอย่างไร ......(การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ บุคคล หรือหน่วยงานภายนอกที่ สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและมีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา)
117. ใน พรบ. การศึกษา 2542 ครู หมายความว่าอย่างไร....... (หมายถึง “บุคลากรวิชาชีพ ซึ่ง ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีต่างๆ ทั้งในสถานศึกษาของรัฐ และเอกชน”
118. คำว่าวิชาชีพ มีองค์ประกอบใดบ้าง ...... (มีความรู้เป็นมาตรฐาน มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีองค์กรวิชาชีพ มีการพัฒนาวิชาชีพ มีกฎหมายหรือระเบียบว่าด้วยวิชาชีพ เป็นต้น)
119. ครู และ คณาจารย์ใช้แทนกันได้หรือไม่.........(ไม่ได้ เพราะครู สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วน คณาจารย์สอน และวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา)
120. ผู้บริหารการศึกษา และ ผู้บริหารสถานศึกษาใช้แทนกันได้หรือไม่ ........ (ไม่ได้ เพราะ ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบบริหารสถานศึกษา แต่ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา)
121. คำว่า “บริหารการศึกษานอกสถานศึกษา” ของผู้บริหารการศึกษา....มีขอบเขตอย่างไร.......(หมายความว่าบริหารตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป”)
122. ผอ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารประเภทใด....... (ผู้บริหารการศึกษา)
123. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 มีกี่หมวด อะไรบ้าง.......(มี 9 หมวด และอีก 1 บทเฉพากาล) ได้แก่
หมวด 1 บททั่วไป (ความมุ่งหมายและหลักการ) (มาตรา6-9)
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา (มาตรา 10-14)
หมวด 3 ระบบการศึกษา (มาตรา 15-21)
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา (มาตรา 22-30)
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา (มาตรา 31-46) แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (มาตรา 47-51)
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา 52 – 57)
หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา (มาตรา 58-62)
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 63-69)
124. การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อ........ (การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข)
125. กระบวนการเรียนรู้ ตาม พรบ. การศึกษา 2542 มุ่งด้านใดบ้าง.................
1. ปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตยฯ
2. รู้จักรักษา และส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิศรีความเป็นมนุษย์
3. มีความภูมิใจในความเป็นไทย
4. รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ
5. ส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความรู้สากล
6. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. ความสามารถในการประกอบอาชีพ
8. การพึ่งตนเอง
9. มีความริเริ่มสร้างสรรค์
10. ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
126. หลักการจัดการศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ ได้แก่หลักอะไรบ้าง ......?
๑. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
๒. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๓. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
127. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาใน พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ ให้ยึดหลักอะไรบ้าง..............?
๑. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
๒. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๓. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และประเภทการศึกษา
๔. มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๕. ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
๖. การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
128. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาว่าไว้ในหมวดใดของ พรบ การศึกษาแห่งชาติ 2542.... (หมวด ๒)
129. บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษากี่ปี ..... (ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย)
130. บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างจาก พรบ การศึกษา 2542...
๑. การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
๒. เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้ ตามที่กฎหมายกำหนด
๓. การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษาสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
131. หมวดที่ ๓ ระบบการศึกษา แบ่งเป็นกี่รูปแบบ ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542.... (3 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย)
132. การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย แตกต่างกันอย่างไร......................
การศึกษาในระบบ.....จุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาศึกษา การวัดประเมินผลมีการกำหนดไว้แน่นอน
การศึกษานอกระบบ.....ยืดหยุ่นทั้งในเรื่อง จุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัด ประเมิน และเนื้อหาหลักสูตรจะต้องเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
การศึกษาตามอัธยาศัย........... ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
133. สถานศึกษาจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบได้หรือไม่ .............. (ได้ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้)
134. การศึกษาในระบบมีกี่ระดับ อะไรบ้าง.......... (มี 2 ระดับ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา)
135. การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง............ (แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา)
136. การแบ่งระดับ หรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบ หรือการศึกษาตามอัธยาศัย ทำอย่างไร.......(ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง)
137. การศึกษาภาคบังคับกี่ปี .................. (9 ปี)
138. การศึกษาภาคบังคับเด็กเริ่มเรียนตั้งแต่เมื่อไร.....(เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 )
139. การจัดการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดในสถานศึกษาอะไรบ้าง.....(สถานพัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ศูนย์การเรียน)
140. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีอะไรบ้าง......... (ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการ และเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น)
141. ศูนย์การเรียน มีอะไรบ้าง................... (สถานที่เรียนของหน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่น)
142. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้จัดที่ไหน......(มหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย)
143. หมวดที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ คือ หมวดใด ........ (หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา)
144. การจัดการศึกษา ตาม พรบ. การศึกษา 2542.....(ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด)
145. การศึกษาในระบบ นอกระและตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญกับอะไร.... (ความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้)
146. ความรู้ คุณธรรม และกระบวนการที่เน้นมีความรู้เรื่องใดบ้าง........
๑. เรื่องตนเอง ความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ระบบการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๒. ความรู้ และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การจัดการและการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
๔. ความรู้ ทักษะด้านคณิตศาสตร์ ภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
๕. ความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ
147. แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่รัฐต้องจัดตั้ง ตรม พรบ. การศึกษาแห่งชาติได้แก่อะไร......... (ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา และนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ)
148. สถานศึกษาประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากอะไร............... (พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน)
149. ใครเป็นผู้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง......... (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
150. หลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีความมุ่งหมายพัฒนาด้านใดบ้าง....... (ด้านวิชาการ วิชาชีพ มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม และมีความมุ่งหมายเฉพาะคือ พัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูง การค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนาสังคม)
151. หมวดที่ ๕ (พรบ. การศึกษาแห่งชาติ 2542) ว่าด้วยเรื่องใด........ (การบริหารและการจัดการศึกษา)
152. กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่อะไร.......... (กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินการจัดการศึกษา)
153. สภาการศึกษา มีหน้าที่อะไร............... (เสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ สนับสนุนทรัพยากร ประเมินผลการจัดการศึกษา พิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตาม พรบ การศึกษา)
154. ใครเป็นประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา............ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา)
155. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่อะไร........ (พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
156. การกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาคำนึงถึงเรื่องใด ....... (ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร )
157. สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญามีคณะกรรมการสถานศึกษาหรือไม่ ...... (มี เพราะเขาให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษา)
158. โดยหลักการแล้วหน้าที่คณะกรรมการสถานศึกษาคืออะไร.....(กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา)
159. จำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา เลือกประธานกรรมการสถานศึกษา และวาระกำหนดอย่างไร เป็นไปตามกฎหมายใด ......(เป็นไปตามกฎกระทรวง)
160. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับหรือไม่......... (ได้ โดยกระทรวงเป็นผู้พิจารณา โดยคำนึงถึงความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการภายในท้องถิ่น)
161. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาเอกชนที่เป็นนิติบุคคล ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง........ ( ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์เก่า และผู้ทรงคุณวุฒิ)
162. สถานศึกษาเอกชนสามารถจัดการศึกษาได้ทุกระดับ หรือทุกประเภทใช่หรือไม่..... (ใช่)
163. สถานศึกษาเอกชนมีสิทธิรับการสนับสนุนจากรัฐด้านใดบ้าง..... (เงินอุดหนุน การลดหย่อนภาษี ด้านวิชาการให้สถานศึกษามีมาตรฐาน สามารถพึ่งตนเองได้)
164. ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมายใด ... (กฎกระทรวง)
165. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยอะไร....... (การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก (ปัจจุบันเรียกว่าการประเมินคุณภาพภายนอก))
166. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะองค์กรอย่างไร....... (เป็นองค์กรมหาชน)
167. การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดย สมศ. ประเมินบ่อยแค่ไหน.... (อย่างน้อย ๑ ครั้งในทุก ๕ ปี)
168. องค์กรวิชาชีพครู คือองค์กรใด............ (คุรุสภา)
169. องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือองค์กรใด เกิดจากมาตราใดใน พรบ การศึกษา 2542.......... (กคศ.) (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามมาตรา 54 ของ พรบ การศึกษา 2542)
170. องค์กรวิชาชีพครู (คุรุสภา) (เรื่องการมีใบประกอบวิชาชีพด้วย) ครอบคลุมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยหรือไม่ .......... (ไม่ ไม่ครอบคลุม อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา บุคลากรที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย วิทยากรพิเศษทางการศึกษา)
171. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ ๒ ประกาศในราชกิจจาวันที่เท่าไร ... (๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๕) ใช้ได้เริ่มในวันถัดจากประกาศในราชกิจจา คือ 20 ธันวาคม 2545
172. กระทรวงศึกษา มีหน้าที่อะไร (ตาม พรบ การศึกษาแห่งชาติ ฉ ๒ (๒๕๔๕) ...(กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและ
ทุกประเภท กำหนดนโยบาย แผน แล ะมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง)
173. การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือในรูปคณะกรรมการจำนวนกี่องค์กร .......( 4 องค์กร ได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด)
174. เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 คืออะไร.....( คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการ บริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้)
175. พรบ การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2 สภาการศึกษามีหน้าที่อะไรบ้าง............
(๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ
(๒) พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนตาม (๑)
(๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(๔) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษาตาม (๑)
(๕) ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
176. การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ของสภาการศึกษา เสนอต่อใคร.......... (เสนอต่อคณะรัฐมนตรี)
177. "มาตรา ๓๗ ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (๒๕๔๕) ให้ไว้ว่าการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงด้านใดบ้าง......(คำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขึ้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา)
178. คณะกรรมการเขตพื้นที่ มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ....(ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่การกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา)
179. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง............( ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม)
180. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา...... (ผอ. เขต)
181. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา และสถานศึกษาอาชีวศึกษาของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วยใครบ้าง........ (ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา ผู้แทนพระภิกษุสงฆ์และหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิ) สถานศึกษาอาชีวะ หรือต่ำกว่าอุดม อาจมีเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง)
182. ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา......... (ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
183. กรณีสถานศึกษาไม่ผ่านการประเมิน จะเป็นอย่างไร........(ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข)

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

184. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด........(วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖) (บังคับใช้ 7 ก.ค. 46)
185. พอมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษา ๒๕๔๖ เลยต้องยกเลิกกฎหมายใด..
- พรบ ระเบียบปฏิบัติราชการทบวงมหาวิทยาลัย (เนื่องจากไม่มีทบวงมหาวิทยาลัย)
- พระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา ๒๕๒๓ และ ๒๕๓๕ (ฉ ๒)
- พระราชบัญญัติคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๓๕ (เปลี่ยนเป็นสภาการศึกษา)
186. พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๖ ให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาอย่างไร?..............
๑. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง (ในกระทรวง)
๒. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
๓. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
187. การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือนข้าราชการกระทรวงศึกษาฯ คำนึงถึงข้อใด....(คุณวุฒิ ประสบการณ์ มาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน แล้วแต่กรณี)
188. ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวง จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางอย่างไร....
๑. สำนักงานปลัดกระทรวง
๒. ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ศธ
189. หัวหน้าส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีหัวหน้าส่วนราชการใดบ้าง.............
๑. สำนักงานรัฐมนตรี
๒. สำนักงานปลัดกระทรวง
๓. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
๔. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๖. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
190. ส่วนราชการในกระทรวงที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ส่วนราชการใดไม่มีฐานะเป็นกรม และไม่เป็นนิติบุคคล ... (สำนักงานรัฐมนตรี) ส่วน ๒-๖ เป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นกรม
191. การแบ่งส่วนราชการในกระทรวงให้ออกเป็นกฎหมายใด ....... (กฎกระทรวง)
192. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีบทบาทหน้าที่อย่างไร...... (เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงศึกษาธิการ ให้สอดคล้องนโยบายรัฐที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรืออนุมัติ )
193. สภาการศึกษา มีหน้าที่อย่างไร.....
๑. เสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
๒. เสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
๓. เสนอนโยบายและแผนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
๔. ประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาชาติ
194. การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษา ของสภาการศึกษาให้เสนอต่อใคร........(ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี)
195. คณะกรรมการสภาการศึกษาประกอบด้วยใครบ้าง......
(รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ พระภิกษุซึ่งเป็นตัวแทนคณะสงฆ์ ผู้แทนคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ)
196. จำนวนคณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดไว้ในกฎหมายใด.... (กฎกระทรวง)
197. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่อย่างไร............ (พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนทรัพยากร ติดตาม ตรวจสอบประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอแนะในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานของสำนักงาน)
198. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี ศธ หรือคณะรัฐมนตรี ได้หรือไม่...... (ได้)
199. หน่วยงานใดรับผิดชอบงานเลขานุการของสภาการศึกษา..... (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา)
200. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสภาการศึกษา.... (เลขาธิการสภาการศึกษา)
"พิจารณาให้ดี ของเก่าไม่ควรจำ ของใหม่ควรตรวจสอบก่อนเชื่อ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม