หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 201-400

ข้อสอบถามขตอบกฎหมายพลวัต ข้อที่ 201-400

201. หน่วยงานใดรับผิดชอบงานเลขานุการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน..... (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
202. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.... (เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)
203. สำนักงานใดในกระทรวงศึกษาที่มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการการเมือง.... (สำนักงานรัฐมนตรี มีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นข้าราชการการเมือง บังคับบัญชาช้าราชการในสำนักงาน)
204. ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่อย่างไร..... (ตรวจราชการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม ประเมินผลระดับนโยบาย เพื่อนิเทศให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อปรับปรุงพัฒนา) “ศึกษานิเทศก์กระทรวงมั๊ง”
205. ใครเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสานส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา......... (กระทรวงศึกษาธิการ)
206. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่อย่างไร..... (ควบคุมราชการประจำในกระทรวง ผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง)
207. สำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่อย่างไร....... (ดำเนินการเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง จัดทำงบประมาณ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง)
208. ส่วนราชการใดในกระทรวงศึกษามีหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง.... (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
209. สำนักงานที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีว่าการเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการนั้นๆ ) มีกี่สำนักงาน...(๔ สำนักงาน คือ สำนักงานสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)
210. เลขาธิการส่วนราชการในกระทรวงมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงใช่หรือไม่... (ใช่แล้ว)
211. การกำหนดจำนวนเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาด้านใด..... (ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นๆ)
212. ใครมีอำนาจกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา.....(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา)
213. การจัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษาแบ่งเป็นกี่ส่วน........ (๒ ส่วน คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น)
214. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาให้ใครกำหนด.... (คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา)
215. คณะกรรมการชุดใดในเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีอำนาจในการจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาในเขตพื้นที่.............(คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา)
216. ใครเป็นคณะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา.... (ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)
217. สถานศึกษาใดมีคณะกรรมการสถานศึกษา (สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถานศึกษาอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี)
218. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยใครบ้าง......(ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบอาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
219. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานศึกษา มีอะไรบ้าง...............
๑. บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ
๒. ประสานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ควบคุม ดูแลบุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่ และทรัพย์สินอื่น
๓. เป็นผู้แทนสถานศึกษาในการทำนิติกรรม สัญญา
๔. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา เสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
๕. อนุมัติประกาศนียบัตร วุฒิบัตรของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
๖. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
220. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับปริญญาที่เป็นส่วนราชการและเป็นนิติบุคคลสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แบ่งอย่างไร.....(ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสถานศึกษานั้น)
221. ก.ม. ย่อมาจากอะไร........ (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย)
222. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชัดธงชาติในสถานศึกษาประกาศ พ.ศ. ใด.. (พ.ศ. 2547)
223. ความหมายของสถานศึกษาตามระเบียบว่าด้วยการชัดธงชาติในสถานศึกษาคือข้อใด......(สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา)
224. หัวหน้าสถานศึกษาตามระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยการชักธงชาติ คือใคร.... (ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดีหรือหัวหน้าสถานศึกษา ที่เรียกชื่ออย่างอื่น)
225. วันเปิดเรียนชักธงขึ้นเวลาใด....(เวลาเข้าเรียน ชักธงลงเวลา 18.00 น)
226. วันปิดเรียนชักธงขึ้นเวลาใด...... (8.00 น ชักธงลงเวลา 18.00 น)
227. รายละเอียดการชักธง และประดับธงชาติในวันสำคัญ วันใดบ้าง กี่วัน............
๑. วันขึ้นปีใหม่ วันที่ ๑ มกราคม ๑วัน
๒. มาฆะบูชา ๑ วัน
๓. วันจักรี ๖ เมษายน ๑ วัน
๔. สงกรานต์ ๑๓ เมษายน ๑ วัน
๕. ฉัตรมงคล ๕ พค ๑ วัน
๖. วิสาขบูชา ๑ วัน
๗. อาสาฬหบูชา ๑ วัน
๘. เขาพรรษา ๑ วัน
๙. วันแม่ ๑ วัน
๑๐. วันสหประชาชาติ ๒๔ ตค. ๑ วัน
๑๑. วันพ่อ วันที่ ๕ ๖ และ ๗ เป็นเวลา ๓ วัน และวันรัฐธรรมนูญ ๑ วัน
228. การชักธงลงครึ่งเสาปฏิบัติอย่างไร ..... (ชักขึ้นจนสุดยอดเสา แล้วลดลงให้อยู่ในระดับความสูง ๒ ใน ๓ ของความสูงเสาธง เมื่อจะเอาธงลง ก็ชักขึ้นให้สุดแล้วค่อยชักลงตามปกติ)
229. ใครรักษาการตามระเบียบว่าด้วยการชักธง.......... (ปลัดกระทรวง)
230. ข้าราชการครูตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ หมายความว่าอย่างไร....... (ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาของรัฐ)

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗

231. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันใด........................... (๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗)
232. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าอย่างไร..... (บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๗ โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน)
233. คณาจารย์ หมายความว่าอย่างไร....... (บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ)
234. ผู้สอนในระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญา เรียกคณาจารย์ได้หรือไม่....... (ไม่เรียกคณาจารย์)
235. บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่าอย่างไร.....(ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และการปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา)
236. ส่วนราชการหมายถึงข้อใด......(หน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเทียบเท่ากรม)
237. ก.ค.ศ. หมายถึงข้อใด.....(คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา)
238. ใครเป็นประธาน ก.ค.ศ. .............(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
239. ใครเป็นรองประธาน ก.ค.ศ........ (ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
240. คณะกรรมการ ก.ค.ศ. ประกอบด้วยใครบ้าง.............
๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
๒. ปลัดกระทรวงศึกษาเป็นรองประธาน
๓. กรรมการโดยตำแหน่ง ๕ คน คือ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการ ก.พ.
๔. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน ซึ่งเชี่ยวชาญด้าน การศึกษา การบริหารบุคคล กฎหมาย การบริหารจัดการภาครัฐ การบริหารองค์กร การศึกษาพิเศษ การบริหารธุรกิจหรือเศรษกิจ
๕. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาจากการเลือกตั้ง ๗ คน ได้แก่ ผู้แทน ผอ. เขต ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้แทนข้าราชการครู ๔ คน ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๑ คน
241. ผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี ............. (๓๕ ปี)
242. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ ได้หรือไม่............ (ไม่ได้)
243. สมาชิกสภาท้องถิ่น เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ ได้หรือไม่ .......(ไม่ได้)
244. ผู้มีอายุเกิน ๗๐ ปี สามารถเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ. ได้หรือไม่ ....(ไม่ได้)
245. การมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน กคศ. จะต้องเป็นผู้บริหารไม่น้อยกว่ากี่ปี....(๕ ปี)
246. ไม่มีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา สามารถเป็นกรรมการใน กคศ. ได้หรือไม่..(ไม่ได้)
247. ครูใน กคศ. จะต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่ากี่ปี........ (๑๕ ปี)
248. ครูที่ไมมีวิทยฐานะสามารถเป็นกรรมการใน กคศ. ได้หรือไม่ ........(ไม่ได้ ต้องมีวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป)
249. ครูผู้เคยถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสามารถเป็นกรรมการใน กคศ. ได้หรือไม่ .....(ไม่ได้)
250. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน กคศ. วาระกี่ปี.....(คราวละ ๔ ปี อาจได้รับเลือกตั้งใหม่อีก แต่ดำรงตำแหน่งเกิน ๒ วาระติดต่อกันไม่ได้)
251. หากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน กคศ. ว่างลง ต้องต้องดำเนินการแต่งตั้ง หรือเลือกตั้งภายในกี่วัน..........(ภายใน ๖๐ วัน เว้นแต่วาระเหลือไม่ถึง ๙๐ วัน จะดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งแทนก็ได้ หากเข้ามาแทนก็อยู่ในวาระเท่าเพื่อนในคณะ)
252. การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคล จะส่งผลดีอย่างไร............(สถานศึกษามีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาของตนได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ)
253. คำว่า “นิติบุคคล” หมายความว่าอย่างไร............(หมายความว่า กลุ่มบุคคล องค์กร หรือทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นกองทุน เพื่อดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้บุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า “นิติบุคคล” เป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น ให้มีสิทธิและหน้าที่ และสามารถทำกิจการใดๆ อันเป็นการก่อ นิติสัมพันธ์กับบุคคลอื่นภายใต้ขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลนั้น)
254. นิติบุคคล แบ่งเป็นกี่ประเภท ............ (โดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน และ นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน)
255. การพิจารณาว่าเป็นนิติบุคคลในกฎหมายเอกชน หรือมหาชน พิจารณาด้านใด...(พิจารณาจากกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคล และกิจกรรมที่นิติบุคคลนั้นดำเนินการ )
256. นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน หมายถึงอะไร...........(หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายเอกชน เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น)
257. การดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นนิติบุคคลประเภทใด....(นิติบุคคลในกฎหมายเอกชน)
258. ข้อสังเกตนิติบุคคลในกฎหมายเอกชน.................(ส่วนใหญ่มักเป็นการดำเนินการที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน และไม่มีการใช้อำนาจเหนือบุคคลอื่น)
259. นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หมายถึงข้อใด......(นิติบุคคลในกฎหมายมหาชน หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือกฎหมายรองจำพวกพระราชบัญญัติ)
260. นิติบุคคลในกฎหมายมหาชนมีลักษณะอย่างไร.....(การดำเนินงาน หรือกิจกรรมของนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน จะต้องเป็นกิจกรรมที่เรียกว่า “บริการสาธารณะ” โดยใช้อำนาจมหาชน หรืออำนาจรัฐตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การบริหารราชการกระทรวง ทบวง กรม ราชการ ส่วนภูมิภาค)
261. องค์กรมหาชน ดำเนินการภายใต้กฎหมายเอกชน หรือมหาชน.......(กฎหมายมหาชน)
262. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๖ สถานศึกษาใดที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล......................
๑. สถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาพิเศษ สังกัด สพฐ.
๒. สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๓. สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน...สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง”
๔. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
๕. วิทยาลัยชุมชน
๖. โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ
263. การศึกษานอกโรงเรียน สังกัดส่วนราชการใดในกระทรวงศึกษาธิการ..........(สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
264. สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นไปตามกฎหมายใด...........(พรบ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มาตรา ๓๕)
265. ใครเป็นผู้แทนนิติบุคคลในการทำกิจการทั่วไปของสถานศึกษา...........(ผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่การแสดงเจตนาและการกระทำต้องเป็นไปตามขอบวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษาด้วย หากไม่เป็นไปตามนั้นจะถือว่ามิได้กระทำในฐานะผู้แทนนิติบุคคล)
266. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาได้หรือไม่............(ได้ ตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีอำนาจหน้าที่ ๑. กำกับดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ
๒. เสนอความต้องการจำนวน และอัตราตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรของสถานศึกษา เพื่อ เสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ พิจารณา
๓. ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา)
267. จริงๆ แล้ว คณะกรรมการสถานศึกษามีอำนาจหน้าที่หลักอย่างไร..........(มีหน้าที่กำกับส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา)
268. องค์กรอิสระในรัฐธรรมนูญ 50 มีกี่องค์กร............( ๙ องค์กร...)
๑. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
๒. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
๓. ศาลรัฐธรรมนูญ
๔. ศาลปกครอง
๕. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
๖. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๗. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
๘. สำนักงานศาลยุติธรรม
๙. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
269. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์แบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดไว้ว่าแนวทางการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาเป็นอย่างไร..................
๑. สอดคล้องกับภารกิจหลักและรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
๒. มีความเป็นเอกภาพในทางการบริหารจัดการ มีความยืดหยุ่น และพร้อมต่อการปรับเปลี่ยน
๓. มีกลไกในการประสานงานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๔. มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการ
๕. คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลต่อสัมฤทธิผลของคุณภาพการศึกษา ระดับ และขนาดของสถานศึกษา จำนวนนักเรียน ผู้รับบริการ และความเหมาะสมด้านอื่น
270. การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาให้เรียกชื่ออย่างไร..........(ให้แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มอาจแบ่งเป็นกลุ่มงาน หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงาน)
271. การแบ่งส่วนราชการต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานใด ....(สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษากำหนด)

พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง

272. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ฉบับที่ ๔ มีใน พศ. ใด......(๒๕๔๗)
273. กงช. หมายถึงอะไร.............(คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ)
274. ใครเป็นประธาน กงช. .......... ( รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
275. ใครเป็นเลขานุการคณะกรรมการ กงช. ..........(เลขานุการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
276. เงินประจำตำแหน่งถือเป็นเงินเดือนหรือไม่.......... (ไม่เป็น)
277. ใครรักษาการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘....(ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
278. พนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ มีอำนาจในการให้คำแนะนำผู้ปกครองในการอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาได้หรือไม่..........(ได้)
279. กระทรวงศึกษาธิการมีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภาหรือคณะกรรมการจำนวน ๔ องค์กร อะไรบ้าง ( ๑. สภาการศึกษา ๒. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๓. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา ๔. คณะกรรมการการอุดมศึกษา)
280. องค์กรบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการพลเรือนในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาเรียกว่าอย่างไร ...........(ก.ม. หรือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย)
281. การกระจายอำนาจของ ปลัดกระทรวง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสำนักงานต่างๆ ในกระทรวง กระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษาด้านใดบ้าง......(ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป)
282. การมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน หมายความว่าอย่างไร.........(หมายความว่า การตั้งให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งยังปฏิบัติราชการอยู่)
283. ผู้ใดสามารถปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีได้............(รัฐมนตรีช่วยว่าการ หรือ ปลัดกระทรวง หรือเลขาธิการสำนักงาน หรือ อธิการบดี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด)
284. ผู้ใดสามารถปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวง.........(รองปลัดกระทรวง ผู้ช่วยปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิการบดี ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัด)
285. ผู้ใดสามารถปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการ..........(รองเลขาธิการ หรือผู้ช่วยเลขาธิการ อธิการบดี ผู้อำนวยการสำนัก(หรือเทียบเท่าในกระทรวง) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัด)
286. ผู้ใดสามารถปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักในกระทรวง........(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา
287. ผู้ใดสามารถปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.....(ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในเขตพื้นที่การศึกษา)
288. ผู้ใดสามารถปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า.....(ข้าราชการในสถานศึกษาหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น)
289. การรักษาราชการแทน หมายความว่าอย่างไร.......(การตั้งให้ให้ผู้อื่นมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน ให้มีมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ในขณะที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือผู้ดำรงตำแหน่งนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ เช่น ไปราชการที่อื่นหลายๆ วัน)
290. ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรี......(รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา รัฐมนตรี)
291. ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรี............(ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี หรือ ข้าราชการในกระทรวง)
292. ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดกระทรวง.........(รองปลัดกระทรวง หรือ ข้าราชการตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเลขาธิการ)
293. ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนเลขาธิการ.........(รองเลขาธิการ หรือ ข้าราชการในสำนักงานที่มีตำแหน่งเทียบเท่ารองเลขาธิการ หรือ เลขาธิการสำนักหรือผู้อำนวยการสำนัก)
294. ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก......(รองผู้อำนวยการสำนัก หรือ ข้าราชการในสำนักซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองผู้อำนวยการสำนัก)
295. ใครเป็นผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา........(รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือ ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่ที่มีตำแหน่งเทียบเท่ารองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่)
296. ผู้อำนวยการสถานศึกษา.............(รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือ ข้าราชการในสถานศึกษา)

พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

297. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกาศใช้ พ.ศ. ใด.....(พ.ศ. ๒๕๔๖)
298. กฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องใด......(เป็นกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรวิชาชีพครู หรือวิชาชีพทางการศึกษา และการดำเนินการควบคุมและส่งเสริมวิชาชีพครูเป็นการยกฐานะวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงเทียบเท่ากับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ เช่น แพทย์ กฎหมาย และวิศวกรรม เป็นต้น
299. ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา “ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่าอย่างไร .......... (ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ)
300. องค์กรวิชาชีพครูคือองค์กรใด............(คุรุสภา)
301. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา คือองค์กรใด.............(คุรุสภา)
302. คุรุสภา มีวัตถุประสงค์อย่างไร..........................
1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู
2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
303. คุรุสภามีอำนาจหน้าหน้าที่อย่างไร........................
1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
3. ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
4. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
5. สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
6. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องและผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
7. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
8. รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
9. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
10. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
11. ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วยเรื่องต่างๆ ในอำนาจหน้าที่
12. ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
13. ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
14. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
15. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
16. กระทำกิจกรรมต่างๆ ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
304. คุรุสภามีรายได้หรือไม่ ............... (มี จากแหล่งต่างๆ ดังนี้)
๑. ค่าธรรมเนียมต่างๆ
๒. เงินอุดหนุนจากงบประมาณ
๓. ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา (ศึกษาภัณฑ์ เป็นต้น)
๔. เงิน และทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้คุรุสภา
๕. ดอกผลที่เกิดจาก ๑-๔
305. ประธานคณะกรรมการคุรุสภา แต่งตั้งโดยใคร...........(แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี)
306. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภามีกี่คน.........(๗ คน)
307. กรรมการประเภทใดมีจำนวนมากที่สุดในคณะกรรมการคุรุสภา.........(กรรมการผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพ)
308. กรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการคุรุสภา มีกี่คน............(๗ คน)
309. คณะกรรมการคุรุสภามีทั้งหมดกี่คน.............(๓๖ คน)
310. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคุรุสภา.............(เลขาธิการคุรุสภา)
311. การเลือกการมการผู้แทนคณะบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการคุรุสภา มีวิธีเลือกอย่างไร.................(คณะบดีครุศาสตร์ฯ ม. ต่างๆ เลือกกันเอง)
312. กรรมการชุดใดในคณะกรรมการคุรุสภาที่ได้มาจากการเลือกตั้ง......(กรรมการผู้แทนครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้เลือกตั้งกันตามสัดส่วน)
313. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา กล่าวถึงคณะกรรมการกี่คณะ....... (๓ คณะ ได้แก่)
๑. คณะกรรมการคุรุสภา
๒. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (ว่าด้วยมาตรฐานและใบอนุญาต)
๓. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
314. คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง..................
๑. บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดใน พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
๓. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ตามมาตร ๕๔
๔. เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด
๕. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
๖. ควบคุมดูแลการดำเนินงานและบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เกี่ยวกับเรื่อง การแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการฯ การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา คัดเลือก บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน วินัย และลงโทษวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ การบริหารจัดการการเงิน พัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
๗. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการฯ
๘. ปฏิบัติงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
๙. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
315. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ตาม พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีอะไรบ้าง....................
๑. พิจารณาการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา การพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต
๒. กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
๓. ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภา กำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
๔. ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
๕. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
316. คณะกรรมการคุรุสภามีการประชุมอย่างน้อยเดือนละกี่ครั้ง............( ๑ ครั้ง)
317. หากการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ประธานไม่อยู่ ทำอย่างไร........(ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งมาเป็นประธาน)
318. รัฐมนตรีสามารถเข้าร่วมประชุม หรือชี้แจงในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาได้หรือไม่ .....(ได้)
319. การดำเนินการของคณะกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายใด..........(ประมวลกฎหมายอาญา)
320. กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ กับกรรมการคุรุสภา สามารถดำรงตำแหน่งในคราวเดียวกันได้หรือไม่.............(ไม่ได้ ยกเว้นประธาน และกรรมการโดยตำแหน่ง)
321. กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยใครบ้าง....................(๑๙ คน)
๑. รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา
๒. กรรมการโดยตำแหน่ง ๕ คน
๓. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๔ คน
๔. กรรมการผู้แทนคณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ ๒ คน
๕. กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ๖ คน
๖. เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขา
322. ใครมีอำนาจในการสรรหา และถอดถอนเลขาธิการคุรุสภา...........(คณะกรรมการคุรุสภา)
323. เลขาธิการคุรุสภาจะต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาหรือไม่...............(เลขาธิการคุรุสภาจะต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้สำนักงานคุรุสภาได้เต็มเวลา)
324. อายุต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ สามารถเป็นเลขาธิการคุรุสภาได้หรือไม่.........(ไม่ได้)
325. อายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ สามารถเป็นเลขาธิการคุรุสภาได้หรือไม่..........(ไม่ได้)
326. เลขาธิการคุรุสภามีวาระดำรงตำแหน่งกี่ปี.............(คราวละ ๔ ปี) อาจได้รับแต่งตั้งอีก แต่ดำรงตำแหน่งเกิน ๒ วาระติดต่อกันไม่ได้
327. หน้าที่ของเลขาธิการคุรุสภามีอะไรบ้าง.............(บริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่งในสำนักงาน)
328. ใครมีหน้าที่เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาต่อคณะกรรมการคุรุสภา...........(เลขาธิการคุรุสภา)
329. วิชาชีพควบคุม ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้แก่วิชาชีพใดบ้าง..........(วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา)
330. ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต จะได้รับโทษอย่างไร.........(จำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
331. ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษาถือว่าผิด พรบ. สภาครู หรือไม่..........(ไม่ผิด)
332. ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาตจะได้รับโทษจำคุก และปรับ ยกเว้นบุคคลใด.......(ผู้เข้ามาเป็นวิทยากรพิเศษ หรือให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นครั้งคราว หรือ ผู้ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอนแต่บางครั้งต้องทำหน้าที่สอน นักศึกษาฝึกงานการสอน ผู้เข้ารับการฝึกอบรม )
333. ผู้จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือไม่........(ไม่ต้องมี)
334. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียน ตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือไม่.....(ไม่ต้อง)
335. คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมหรือไม่....(ไม่ต้อง)
336. ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือไม่.....(มี)
337. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือไม่.........(จะต้องมี เพราะเป็นผู้บริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ส่วนผู้บริหารระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ไม่ต้องมี)
338. อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี สามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้หรือไม่........(ไม่)
339. ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง..................
๑. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์
๒. มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือมีวุฒิการศึกษาตามที่คุรุสภารับรอง
๓. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติการสอนตามที่คุรุสภากำหนด
340. ผู้ฝ่าฝืนประกอบวิชาชีพควบคุมโดยมิได้รับอนุญาตจากคุรุสภาจะได้รับโทษอย่างไร.....(จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
341. มาตรฐานวิชาชีพ ตาม พรบ. สภาครู ๒๕๔๖ ประกอบด้วยมาตรฐานด้านใดบ้าง......(มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการปฏิบัติตน)
342. มาตรฐานการปฏิบัติตนให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วยจรรยาบรรณด้านใดบ้าง...............
๑. จรรยาบรรณต่อตนเอง
๒. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
๓. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
๔. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
๕. จรรยาบรรณต่อสังคม
343. อำนาจชี้ขาด (บทลงโทษ) ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอะไรบ้าง.........
๑. ยกข้อกล่าวหา
๒. ตักเตือน
๓. ภาคทัณฑ์
๔. พักใบอนุญาตตามสมควร แต่ไม่เกิน ๕ ปี
๕. เพิกถอนใบอนุญาต (เป็นเวลา ๕ ปี)
344. ผู้ถูกกล่าวหาสามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพภายในกี่วัน....(ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย)
345. คำวินิจฉัยของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพออกในรูปแบบใด.....(คำสั่ง พร้อมด้วยเหตุผลแนบ)
346. หากผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฝ่าฝืนจะได้รับโทษอย่างไร.....(จำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๖๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
347. สมาชิกคุรุสภามีกี่ประเภท........(๒ ประเภท สมาชิกสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์)
348. ผู้ที่เป็นสมาชิกสามัญของคุรุสภา จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร.......(มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ไม่เป็นคนล้มละลาย ไร้ความสามารถ หรือมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม)
349. สมาชิกคุรุสภา ประเภทสมาชิกกิตติมศักดิ์ เป็นอย่างไร......(เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยต้องมีมติเป็นเอกฉันท์)
350. ครู และบุคลากรทางการศึกษษเป็นสมาชิกคุรุสภาประเภทใด.....(สมาชิกสามัญ)
351. สมาชิกสามัญสามารถแสดงความคิดเห็นหรือซักถามเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภาต่อคณะกรรมการฯ ได้หรือไม่.......(ได้)
352. กรณีใดถือว่าพ้น (หรือสิ้นสุด) จากการเป็นสมาชิกคุรุสภา......(ตาย ลาออก มติคณะกรรมการฯ รวมถึงการถูกเพิกถอนใบอนุญาต)
353. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๖ เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ใด.........
๑. ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
๒. ส่งเสริมความสามัคคี ผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพ
๓. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษา เรื่อง สื่อการเรียนการสอน วัสดุ อุปกรณ์
๔. ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ การผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพ
354. ใครเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูฯ ....(ปลัดกระทรวงศึกษาฯ)
355. กรรมการโดยตำแหน่ง ๖ คน ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูฯ มีใครบ้าง.
๑. เลขาธิการสภาการศึกษา (สภาการศึกษา)
๒. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
๓. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๔. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๕. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
356. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูฯ มีกี่คน.........(๒๓ คน รวมเลขาธิการ)
357. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่คน แต่ละคนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์สูงในด้านใด........(๓ คน ด้านสวัสดิการสังคม ๑ คน ด้านบริหารธุรกิจ ๑ คน และด้านกฎหมาย ๑ คน)
358. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านใด...........(ด้านสวัสดิการสังคม การบริหารธุรกิจ และกฎหมาย ด้านละ ๑ คน รวมเป็น ๓ คน)
359. ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา............(คณะรัฐมนตรี)
360. คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอำนาจหน้าที่อย่างไร......
๑. ดำเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูล ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
๒. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติของผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษา ปละผู้ปกิบัติงานด้านการศึกษา
๓. ส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพ ได้รับสวัสดิการตามสมควร
๔. ให้ความเห็น ให้คำปรึกษา และคำแนะนำในเรื่องการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์ และความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. ดำเนินงานและบริหารจัดการองคืการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖. ออกข้อบังคับ กฎเกณฑ์ในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการฯ
๗. แต่งตั้งกรรมการ หรืออนุกรรมการ กระทำการใดๆ แทน
๘. สรรหา แต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
๙. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
361. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถหาผลประโยชน์จากการลงทุนได้หรือไม่................(ได้)
362. รายได้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือไม่.............(ไม่ต้อง)
363. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีวาระดำรงตำแหน่งกี่ปี..........(คราวละ ๔ ปี ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน)
364. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติราชการเต็มเวลาหรือไม่..........(ปฏิบัติงานเต็มเวลา)
365. คุณสมบัติด้านอายุของเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอย่างไร........(ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน ๖๐)
366. บทลงโทษใน พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นอย่างไร...............
๑. ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒. ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา และสถานศึกษาได้รับผู้ไม่ได้รับอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุม ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
๓. ผู้ใดถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แล้วฝ่าฝืนประกอบวิชาชีพควบคุม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพควบคุมนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งพักใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
367. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีชื่อย่อว่อย่างไร...............(ส.ก.ส.ค.)



พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

368. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประกาศใช้ พศ. ใด.....(๒๕๔๗)
369. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องใด........(เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารบุคคล โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติในการบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตั้งแต่การกำหนดอัตราเงินเดือน ตำแหน่ง การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้าย โอน วินัยและการดำเนินการทางวินัย ตลอดจนถึงการออกจากราชการ)
370. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษท พ.ศ. ๒๕๔๗ มีกี่หมวด กี่มาตรา...........(๙ หมวด ๑๔๐ มาตรา ดังนี้............)
๑. หมวด ๑ คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒. หมวด ๒ บททั่วไป
๓. หมวด ๓ การกำหนดตำแหน่ง วิทยฐานะ และการได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง
๔. การบรรจุและการแต่งตั้ง
๕. การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
๖. วินัยและการรักษาวินัย
๗. การดำเนินการทางวินัย
๘. การออกจากราชการ
๙. การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
371. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ก.ค.ศ. ดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี......(๔ ปี)
372. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ก.ค.ศ. มีกี่คน ใครบ้าง........(๗ คน)
1. ผู้แทน ผอ. เขต ๑ คน
2. ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา ๑ คน
3. ผู้แทนข้าราชการครู ๔ คน
4. ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษา ๑ คน
373. กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่ในวาระกี่ปี ....(๔ ปี สามารถรับเลือกตั้งได้อีก แต่ดำรงตำแหน่งไม่เกิน ๒ วาระติดกัน)
374. อำนาจหน้าที่ของ กคศ. มีอะไรบ้าง........................................
1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการผลิต และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม พรบ ระเบียบข้าราการครูฯ ;๔๗
2. กำหนดนโยบาย วางแผน และกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งให้ความเห็นชอบจำนวน และอัตราตำแหน่งของหน่วยงานการศึกษา
3. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้อาราชการครูฯ
4. ออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูฯ
5. พิจารณา ตีความ วินิจฉัย ปัญหาที่เกิดจากการใช้ พรบ ระเบียบข้าราชการครูฯ นี้
6. พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานการบริหารงานบุคคล รวมทั้งพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการครูฯ
7. กำหนดวิธีการ เงื่อนไขการจ้าง หรือบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งกำหนดอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน
8. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ และการยกย่องเชิดชูเกียรติของข้าราชการครูฯ
9. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดสวัสดิการ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นแก่ข้าราชการครูฯ
10. พิจารณาตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กคศ. มอบหมาย
11. ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ และชี้แจงด้านการบริหารงานบุคคลแก่หน่วยงานการศึกษา
12. กำหนดมาตรฐาน พิจารณา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ ๔๗
13. กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูฯ เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารงานบุคคล
14. รายงานและเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดในกรณีที่ปรากฏว่าส่วนราชการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ ๔๗ นี้ ไม่ปฏิบัติตาม พรบ. นี้ หรือปฏิบัติแย้งตามที่กำหนดใน พรบ. นี้
15. พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือคุวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ควรได้รับ
16. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการปฏิบัติต่างๆ ตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ ๔๗ นี้
17. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิด และควบคุมการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
375. อ.ก.ค.ศ. วิสามัญคือใคร........(คณะอนุกรรมการวิสามัญที่ ก.ค.ศ. แต่งตั้งขึ้น เพื่อกระทำการใดๆ แทน ก.ค.ศ. หรือหน้าที่ที่ ก.ค.ศ. กำหนด)
376. เลขาธิการ สำนักงาน ก.ค.ศ. มีฐานะเทียบเท่าอธิบดีหรือไม่............(ใช่)
377. หน่วยงานใดมีหน้าที่วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการจัดระบบบริหารราชการในหน่วยงานการศึกษา...(สำนักงาน ก.ค.ศ.)
378. อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.ค.ศ. มีอะไรบ้าง........................
๑. เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.ค.ศ.
๒. วิเคราะห์และวิจัยเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการจัดระบบบริหารราชการในหน่วยงานการศึกษา
๓. ศึกษา วิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๔. พัฒนาระบบข้อมูลและจัดทำแผนกำลังคนสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๕. ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และบริหารเงินทุน ตลอดจนสวัสดิการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๗. กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ของหน่วยงานการศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
๘. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เสนอต่อ ก.ค.ศ.
๙. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือ ตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
379. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีชื่อเต็มว่าอย่างไร........................(คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา)
380. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วยใครบ้าง..............(เก่า) (ใหม่เพิ่มสัดส่วนมัธยม)
ประธาน ซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเอง .......
กรรมการโดยตำแหน่ง (ผู้แทน จาก ก.ค.ศ. ผู้แทนคุรุสภา และผู้แทนเขตพื้นที่ ๓ คน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ คน
กรรมการผู้แทนข้าราชการครู ๓ คน
381. วาระดำรงตำแหน่งของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กี่ปี...........(๔ ปี)
382. อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา) มีอะไรบ้าง...........................................
๑. พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูฯ ในเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งกำหนดจำนวน และอัตราตำแหน่ง และเกลี่ยอัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
๒. พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการครูฯ ในเขตพื้นที่การศึกษา
๓. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรในเขตพื้นที่การศึกษา
๔. พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
๕. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครอง ระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา
๖. กำกับดูแลติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๗. จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๘. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา เพื่อเสนอ ก.ค.ศ.
๙. พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่การศึกษาที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
383. ผู้อำนายการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูฯ ๒๕๔๗ คือใคร มีบทบาทอย่างไร........(เป็นผู้บริหารราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา)
384. อำนาจหน้าที่ของ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีอำนาจหน้าที่อย่างไรบ้าง.............
๑. รับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มอบหมาย
๒. เสนอแนะการบรรจุแต่งตั้งและการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ขอองอ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
๓. พิจารณาเสนอความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๔. จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๕. จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๖. จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำ และเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๗. ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำรายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ต่อไป
๘. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พรบ. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
385. บทบาทในการบริหารงานบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (มาตรา ๒๖ พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ ๔๗) มีอะไรบ้าง
๑. กำกับ ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กำ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และอ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษากำหนด
๒. เสนอความต้องการจำนวนและอัตราตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
๓. ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษา
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือตามที่อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มอบหมาย
386. ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทหน้าที่อย่างไร ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
๑. ควบคุม ดูแลให้การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด
๒. พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
๓. ส่งเสริมสนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๔. จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
๕. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกาเพื่อเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
๖. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พรบ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ หรือตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือคณะกรรมการสถานศึกษามอบหมาย
387. ผู้ซึ่งจะเข้ารับการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปอย่างไร
๑. มีสัญชาติไทย
๒. อายุไม่ต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์
๓. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๔. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
๕. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.
๖. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ถูกสั่งพัก เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
๗. ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม อันดีสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
๘. ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
๙. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
๑๐. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุก
๑๑. ไม่เคยเป็นผู้ถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ
๑๒. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงทาให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกตาม พรบ. ระเบียบข้าราชการครูฯ
๑๓. ไม่เคยเป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐ
388. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน กคศ. ๗ คน จะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านใดบ้าง (ด้านการศึกษา ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านการบริหารบุคคล ด้านกฎหมาย ด้านการบริหารองค์กร ด้านการศึกษาพิเศษ และด้านการบริหารธุรกิจหรือด้านเศรษฐกิจ อย่างละ ๑ คน)
389. ผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาใน ก.ค.ศ. จะต้องมีกี่คน.................(๑ คน)
390. ผู้ทรงใน กคศ. จะต้องมีอายุไม่เกินกี่ปี......................(๗๐ ปีบริบูรณ์)
391. องค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครูได้แก่องค์กรใด...................(คุรุสภา)
392. การปฏิบัติราชการแทนให้ดำเนินการโดยวิธีใด.............(การกระจายอำนาจและการมอบอำนาจ)
393. หัวหน้าส่วนราชการ(เช่น เลขาธิการสพฐ.) มอบอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่ตนรับผิดชอบให้กับบุคคลใด.........(ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, ผู้อำนวยการสถานศึกษา)
394. ประธานคุรุสภาเป็นใคร............(ผู้ทรงคุณวุฒิ) (ที่ ครม. เลือก)
395. ปลัดกระทรวงเป็นกรรมการในคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่..........(ไม่เป็น)
396. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่คน.....................(๑๗ คน)
397. ใครเป็นผู้พิจารณาพักใช้ใบประกอบวิชาชีพ...........(คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ)
398. ใครคือผู้ดูแลทะเบียนผู้ได้รับใบประกอบวิชาชีพ........(เลขาธิการคุรุสภา)
399. ข้าราชการพลเรือนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือไม่..(ไม่)
400. อายุของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบริหารสถานศึกษากี่ปี...............(๕ ปี)
" ตรวจสอบข้อมูลก่อนน่ะครับ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม