หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การบริหารงบประมาณ 2

- การเก็บรักษาเงิน
1. วงเงินสำรองจ่าย ณ ที่ทำการไม่เกินวันละ
- รร. นักเรียนไม่เกิน 120 คน 20,000 บาท
- รร. นักเรียน เกิน 120 คน 30,000 บาท
- สพท. 100,000 บาท
กรณีสถานศึกษาจัดอาหารกลางวัน (ไม่เบิกจาก งปม) ให้มีเงินสำรองเพิ่ม ณ ที่ทำการ วันละไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือนำฝาก สพท.
2. เก็บโดยฝากธนาคาร ยึดจำนวนนักเรียนเป็นตัวกำหนดวงเงินฝากธนาคาร
จำนวนนักเรียน วงเงินฝากธนาคาร
รร.ขนาดเล็ก นร.ไม่เกิน 120 คน
รร. นร.เกิน 120 คน
สพท. 30,000
ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ไม่เกิน 5 ล้านบาท
ส่วนที่เกินให้ นำฝาก สพท. (สพท.นำฝากกรมบัญชีกลาง/คลังจังหวัด/คลังจังหวัด ณ ที่ทำการอำเภอ )
ดอกผลที่เกิดจากเงินฝากธนาคารถือเป็นผลประโยชน์สถานศึกษาเก็บเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ต้องส่งคลัง
- เงินที่โรงเรียนได้รับ 5 รายการ ถือเป็นเงินรายได้สถานศึกษา ได้แก่
1. ค่าขายแบบรูปรายการ
2. ค่าชดใช้ความเสียหาย/สิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน บูรณะ/จัดหาทรัพย์สินคืนมา
3. เงินอุดหนุนจาก อปท. รวมทั้งเงินโครงการอาหารกลางวัน
4. ค่าขายทรัพย์สินของโรงเรียนที่ได้มาจากเงินงบประมาณ
5. เงินหลักประกันสัญญาที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่รับคืนเมื่อพ้นกำหนดภาระผูกพัน
- ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา
1. ค่าชดใช้ความเสียหาย สิ้นเปลือง บูรณะ ให้คืนมา
โรงเรียนเก็บไว้บูรณะทรัพย์สิน
2. ค่าขายทรัพย์สิน อาคาร/สิ่งปลูกสร้าง ของกรมธนารักษ์
ให้เป็นเงินรายได้กรมธนารักษ์
3. เงินหลักประกันสัญญา ที่ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง ไม่รับคืน ก่อนใช้ให้
ตกลงกับกระทรวงการคลังก่อน
- แนวปฏิบัติเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา
1. เงินอุดหนุนจาก อปท. ที่มีวัตถุประสงค์จ่ายตามวัตถุประสงค์ ไม่ต้องนำส่งคลัง
2. ค่าขายทรัพย์สินของโรงเรียน ที่มาจากเงินงบประมาณ ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
- หนังสือซ้อมความเข้าใจ
โรงเรียนที่มีโครงการเพื่อไปศึกษาดูงาน ทัศนศึกษาต่างประเทศ เก็บเงินจาก นร.ตามโครงการ EP ต้องเกิดประโยชน์หรือเพื่อเด็กโดยตรง

- หลักการจำแนกประเภทรายจ่าย
1. งบบุคลากร ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้างประจำ/ชั่วคราว ค่าตอบแทนพนักงานราชการรวมถึงเงินช่วยเหลือการครองชีพพิเศษ
2. งบดำเนินงาน ได้แก่ ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ค่าสาธารณูปโภค
2.1 ค่าตอบแทน คือ เงินจ่ายให้ผู้ปฏิบัติงานให้ทางราชการตามกระทรวงการคลังกำหนด เช่น ค่าจ้างนอกเวลา ค่าตอบแทนกรรมการตรวจงานจ้างและควบคุมงานก่อสร้างที่มีคำสั่งจากทางราชการ ค่าเช่าบ้าน
- ค่าตอบแทน ได้แก่ เงินเดือน นอกเหนือจากเงินเดือน นอกเวลาราชการปกติ นอกเหนืองานในหน้าที่ เงินเพิ่มรายเดือน
- อัตราค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ พ.ศ.2550
วันปกติ ชม.ละ 50 บาท ไม่เกิน 4 ชม. = 200 บาท
วันหยุดราชการ ชม.ละ 60 บาท ไม่เกิน 7 ชม. = 420 บาท
2.2 ค่าใช้สอย ได้แก่ - ค่าปักเสาพาดสายภายนอกสถานที่ราชการ ค่าติดตั้งหม้อแปลง เครื่องวัด และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นกรรมสิทธิ์ของการไฟฟ้า
- ค่าจ้างเหมาะเดินสายไฟฟ้าเพิ่มเติม
- เพิ่มเติม ค่าพิธีการเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าข่ายลักษณะอื่น ๆ เช่น ของขวัญ พิธี พวงมาลัย ดอกไม้ เงินประกันสังคม
2.3 ค่าวัสดุ คือ ใช้แล้วหมดไป แปรสภาพ สิ้นเปลือง ไม่คงสภาพเดิม คงทนถาวร ราคาต่อหน่วย/ชุด ไม่เกิน 5,000 บาท ซ่อม ไม่เกิน 5000 บาท โปรแกรมคอม ไม่เกิน 20,000 บาท ที่ดินและสิ่งก่อสร้างไม่เกิน 50,000 บาท
2.4 ค่าสาธารณูปโภค คือ รายจ่ายสาธารณูปโภคสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าน้ำบาดาล ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าแสตมป์ ค่าเช่าตู้ไปรษณีย์ ค่าธรรมเนียมโอนเงินฝากธนาคาร ค่าระบบอินเตอร์เน็ต ค่าเคเบิ้ลทีวี
3. งบลงทุน ได้แก่ ค่าครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
3.1 ครุภัณฑ์ คือ คงทนถาวร สิ้นเปลือง หมดไป แปรสภาพ ไม่คงสภาพเดิม
- ราคาต่อหน่วย/ชุด เกิน 5000 บาท ปรับปรุงครุภัณฑ์/คอมพิวเตอร์ เกิน 5000 บาท
3.2 ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง คือ รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ติดตรึงกับที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง เช่น อาคาร บ้านพัก สะพาน ถนน รั้ว เขื่อน
- ค่าติดตั้ง ครั้งแรก ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเกิน 50,000 บาท
4. งบอุดหนุน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
4.1 เงินอุดหนุนทั่วไป คือ เงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการ
- รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าใช้จ่ายรายหัว)
กาใช้ต้อง จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ขอความเห็นกรรมการสถานศึกษา รายงานสาธารณชน สอดคล้องแผนปี
4.2 เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ คือ เงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของรายการและตามที่ สงป กำหนด
- ลักษณะการใช้ 3 ประเภท ได้แก่ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน
- เงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน
นักเรียนยากจน หมายถึง นักเรียนที่มีผู้ปกครองมีรายได้ต่อครัวเรือน
ไม่เกิน 40,000 บาทต่อปี
- การใช้ 4 รายการ ได้แก่
1. หนังสืออุปกรณ์ (ซื้อแจก ให้ยืม)
2. เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ซื้อ/จ้างผลิตแจก)
3. อาหารกลางวัน (ซื้อวัสดุมาทำ จ้างเหมา เงินสดให้เด็ก)
4. พาหนะในการเดินทาง (จ่ายเงินสด จ้างเหมารถรับส่ง)
- ค่าเช่าและค่าบริการอื่นใดที่เกี่ยวกับค่าเช่า
- ค่าเช่าอาคารปฏิบัติงาน/เก็บเอกสาร เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท/ตร.ม./เดือน กรณีมีความจำเป็น ให้จ่ายได้ไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน
- ค่าเช่าที่ดิน เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 50,000 บาท/เดือน
- การทำประกันภัย ถือหลักประกันตนเอง ยกเว้นมีที่เก็บสิ่งของ ทำประกันภัยได้ - รถราชการ ได้แก่ รถส่วนกลาง รถประจำตำแหน่ง รถรับรอง รถรับรองประจำจังหวัด รถอารักขา ที่ได้มาจากการซื้อ การบริจาคหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาลต่างประเทศ และขึ้นทะเบียนครุภัณฑ์แล้ว
- รถที่ไม่สามารถจัดทำประกันภัยได้ คือ รถยนต์ที่ส่วนราชการจัดหาโดยการเช่า และรถยนต์ส่วนตัวที่เลือกรับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี
- การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการประชุมราชการ คำนึงถึง ความจำเป็น เหมาะสมประหยัด ภายในวงเงินที่ได้รับ
- ค่ากระเป๋าเอกสาร สำหรับแจกให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเบิกได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินใบละ 150 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ตามความจำเป็นและประหยัด ตามเกณฑ์
1. ค่าใช้จ่ายพิธีทางศาสนา
2. อาหารว่างและเครื่องดื่ม ไม่เกินคนละ 50 บาทต่อวัน

3. ค่าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์สำหรับจัดงาน ไม่เกินคนละ 200 บาทต่อวัน และให้งดเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง
4. ค่าเช่าพักเหมาจ่าย
5. ค่าพาหนะสำหรับนักเรียน เบิกตามสิทธิของข้าราชการระดับ 1
6. ค่าใช้จ่ายในการจัดประกวดหรือแข่งขันต่าง ๆ
- กรรมการบุคลากร ของรัฐ เบิกจ่ายได้ คนละไม่เกิน 400 บาทต่อวัน
- กรรมการบุคลากรไม่ใช่ของรัฐเบิกจ่ายได้คนละไม่เกิน 800 บาทต่อวัน
- ค่าโล่หรือถ้วยรางวัล ชิ้นละ ไม่เกิน 1,500 บาท
-การจัดหาพัสดุ
- หลักการบริหารพัสดุ คือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
- การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ประเภทเดียวกัน ต่างขนาดหรือราคา ต้องซื้อรวมกันในครั้งเดียว
- การได้มาของพัสดุในโรงเรียน มี 6 วิธี ทำ/ซื้อ/จ้าง/ออกแบบ/แลก/เช่า
1. การจัดทำเอง 4. การออกแบบควบคุมงาน
2. การซื้อ 5. การแลกเปลี่ยน
3. การจ้าง 6. การเช่า
- อำนาจในการสั่งซื้อ/สั่งจ้าง ครั้งหนึ่ง ด้วยวิธีพิเศษ (พิเศษ 25)
รัฐมนตรี เกิน 50 ล้านบาท
ปลัดกระทรวง เกิน 25 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท
หัวหน้าส่วน ไม่เกิน 25 ล้านบาท
- อำนาจการสั่งซื้อ/สั่งจ้าง ครั้งหนึ่ง นอกเหนือจากวิธีพิเศษ / กรณีพิเศษ (50)
รัฐมนตรี เกิน 100 ล้านบาท
ปลัดกระทรวง เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท
หัวหน้าส่วน ไม่เกิน 50 ล้านบาท
- การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง โดยวิธีกรณีพิเศษ ผู้บริหารสถานศึกษา ไม่จำกัดสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน

ข้อสอบ กฏหมายและพลวัต
ข้อที่ 1 ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาจากข้อใด ?
ก. ผอ.เลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ข. ผู้ทรงคุณวุฒิเลือกกันเอง
ค. กรรมการทุกประเภทเลือกจากกรรมการด้วยกันเอง
ง. กรรมการทุกประเภทเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ
ตอบ ง
ข้อที่ 2 คุณสมบัติของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานข้อใดไม่ถูกต้อง ?
ก. อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์
ข. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ค. ไม่เป็นคนไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
ง. ไม่เป็นคู่สัญญากับโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้น
ตอบ ก (ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
ข้อที่ 3 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีกี่คน ?
ก. 9 คน
ข. 15 คน
ค. 17 คน
ง. 19 คน
ตอบ ข (ถ้ามีโรงเรียนเอกชน 17 )
ข้อที่ 4 หนังสือราชการมีกี่ประเภท ?
ก. 5
ข. 6
ค. 7
ง. 8
ตอบ ข (นอก/ใน/ทับ/สั่ง/พันธ์/ขึ้น)
ข้อที่ 5 ข้อใดไม่ใช่ประเภทของหนังสือราชการ ?
ก. ภายใน
ข. คำสั่ง
ค. ประทับตรา
ง. ประชาสัมพันธ์
ตอบ ข (นอก/ใน/ทับ/สั่ง/พันธ์/ขึ้น)
ข้อที่ 6 ข้อใดคือครุฑที่ถูกต้อง ?
ก. ขนาดสูง 1.5 ซ.ม. และ 3 ซ.ม.
ข. ขนาดสูง 2 ซ.ม. และ 3 ซ.ม.
ค. ขนาดกว้าง 1.5 ซ.ม. และ 3 ซ.ม.
ง. ขนาดกว้าง 2 ซ.ม. และ 3 ซ.ม.
ตอบ ก
ข้อที่ 7 ข้อใดไม่ใช่หนังสือประชาสัมพันธ์ ?
ก. ประกาศ
ข. แถลงการณ์
ค. ข่าว
ง. ระเบียบ
ตอบ ง (เป็นหนังสือสั่งการ = ระเบียบ/คำสั่ง/ข้อบังคับ)
ข้อที่ 8 รายงานการประชุมมีกี่หัวข้อ ?
ก. 4
ข. 5
ค. 6
ง. 7
ตอบ ข (ประธานแจ้งให้ทราบ/รับรองวาระการประชุม/เสนอเพื่อทราบ/เสนอเพื่อพิจารณา/อื่นๆ)
ข้อที่ 9 หนังสือใดให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว ?
ก. ด่วน
ข. ด่วนกว่า
ค. ด่วนมาก
ง. ด่วนมากที่สุด
ตอบ ค (ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ = ด่วน/ปฏิบัติโดยเร็ว = ด่วนมาก/ปฏิบัติทันที = ด่วนที่สุด)
ข้อที่ 10 การทำลายหนังสือให้สำรวจเมื่อใด ?
ก. หลังสิ้นปีปฏิทิน
ข. ภายใน 30 วันหลังสิ้นปีปฏิทิน
ค. ภายใน 60 วันหลังสิ้นปีปฏิทิน
ง. ภายใน 120 วันหลังสิ้นปีปฏิทิน
ตอบ ค

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
1. อ.ก.ค.ศ. ย่อมาจาก
( คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา )

2. อ.ก.ค.ศ. มีจำนวน
( 12 คน )

3. อ.ก.ค.ศ. มีอำนาจหน้าที่
( 1. พิจารณากำหนดนโยบายบริหารงานบุคคลในเขตฯกำหนดจำนวน/อัตราตำแหน่ง/เกลี่ย อัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่ ก.ค.ศ.กำหนด 2. พิจารณาให้ความเห็นชอบบรรจุ/แต่งตั้ง /ครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ฯ 3. ให้ความเห็นชอบการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา/ผู้บริหารการ ศึกษา/ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ฯ 4. พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัยการออกจากราชการ/การอุทธรณ์/การ ร้องทุกข์ 5. จัดทำ/พัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรฯในหน่วยงานทางการศึกษา/ในเขต พื้นที่ฯ 6. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรฯ )

4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนเท่าไร ( 1. นักเรียนเกินกว่า 300 คน ( มี 15 คน ) 2. นักเรียนต่ำกว่า 300 คน ( มี 9 คน ) ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็น ประธานกรรมการ/ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็น กรรมการและเลขานุการ )

5. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีอำนาจหน้าที่
(1. กำกับ/ดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯกำหนด 2. เสนอความต้องการจำนวน/อัตราตำแหน่งของครูและบุคลกรเพื่อเสนออ.ก.ค.ศ.เขต พื้นที่ฯพิจารณา 3. ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของครูและบุคลกรฯในสถานศึกษา ต่อ ผู้บริหารสถานศึกษา 4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ )

6. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา(มาตรา 27) เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1. ควบคุมดูแลการบริหารงานบุคคลให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯกำหนด 2. พิจารณาความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา 3. ส่งเสริม สนับสนุนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 4. จัดทำมาตรฐาน ภาระงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา 5. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรฯเพื่อเสนออ .ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ )

7. ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่ประเภท
( 3 ประเภท (7.1 ผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา
7.2 ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา 7.3 บุคลากรทางการศึกษาอื่น )

8. ตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ ได้แก่
( 8.1 ตำแหน่งครู1. ครูชำนาญการ2. ครูชำนาญการพิเศษ3. ครูเชี่ยวชาญ4. ครูเชี่ยวชาญพิเศษ / 8.2 ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา 1. รองผู้อำนวยการชำนาญการ 2. รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 3. รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ / 1. ผู้อำนวยการชำนาญการ 2. ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ 3. ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
4. ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ / 8.3 ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา 1. รอง ผอ.สพท.ชำนาญการพิเศษ 2. รอง ผอ.สพท.เชี่ยวชาญ / 1. ผอ.สพท.เชี่ยวชาญ 2. ผอ.สพท.เชี่ยวชาญพิเศษ / 8.4 ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 1. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
2. ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ 3. ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 4. ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ )

9. การบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่งครูผู้ช่วย
( เป็นอำนาจของผอ.สถานศึกษาโดยการอนุมัติของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ )

10. ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครูผู้ช่วย กี่ปีและมีการประเมินกี่ครั้ง
( เตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี / มีการประเมิน 8 ครั้ง ( 3 เดือนทำการประเมิน 1 ครั้ง )

11. ข้าราชการครูที่ปฏิบัติงานเหมาะสม/มีประสิทธิภาพ/มีผลงานถือว่าผู้นั้นมี ความชอบสมควรได้รับบำเหน็จความชอบ ได้แก่
( บันทึกคำชมเชย/รางวัล/เครื่องเชิดชูเกียรติ/เลื่อนขั้นเงินฯ )

12. ผู้ใดมีความคิดสร้างสรรค์/มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์เด่นชัดอย่างยิ่ง ส่วนราชการและหน่วยงานการศึกษาดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติ โดย
( ให้ได้รับ เงินวิทยพัฒน์ )

13. คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกี่ข้อ
( 13 ข้อ )

14. วินัย
( คือระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติ )

15. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นว่าคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจะทำให้ เสียหายแก่ทางราชการ วิธีการปฏิบัติ คือ
( เสนอผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งภายใน 7 วัน )

16. โทษทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกี่สถาน
( 5 สถาน/1. ภาคฑัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก )

17. โทษทางวินัยของข้าราชการครูฯที่ไม่ร้ายแรง ได้แก่
( 1. ภาคฑัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน )

18. โทษทางวินัยของข้าราชการครูฯที่ร้ายแรง ได้แก่
( 4. ปลดออก 5. ไล่ออก )

19. ความผิดทางวินัยกรณีคัดลอก/ลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ/จ้าง วานคนอื่นทำให้/เพื่อนำผลงานไปใช้เลื่อนวิทยฐานะ ผิดมาตราใด
( มาตรา 91 )

20. มาตรา 87 ความว่า
( การตรงต่อเวลาและอุทิศตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้ง(ไม่อยู่/หนีไป เลย)หรือทอดทิ้ง(อยู่แต่ไม่สอน) หน้าที่ราชการมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันควรหรือมีพฤติกรรมจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทาง ราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง )

21. ข้าราชการครูฯ ประสงค์จะขอลาออกจากราชการ ต้องดำเนินการดังนี้
( ให้ยื่นหนังสือขอลาออกฯต่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา53 เป็นผู้พิจารณา (ต้องยื่นหนังสือฯล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน) (ขอลาออกเพื่อสมัครเล่นการเมือง มีผลตั้งแต่วันที่ขอลาออก/ไม่มีสิทธิ์ยับยั้ง)

22. การยับยั้งการลาออก
( ผู้บังคับบัญชาสามารถยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันขอลาออกเมื่อครบไม่มีสิทธิ์ยับยั้งการลาออก )

23. การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
23.1 มาตรา121(ข้าราชการครูฯถูกสั่งลงโทษภาคฑัณฑ์ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน มีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง)
23.2 มาตรา122(ข้าราชการครูฯถูกสั่งลงโทษปลดออก/ไล่ออกหรือถูกสั่งให้ออก จากราชการให้ มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือร้องทุกข์แล้วแต่กรณีต่อ ก.ค.ศ. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับความไม่เป็นธรรม/ได้รับแจ้งคำสั่ง และให้ก.ค.ศ. พิจารณาให้เสร็จภายใน 90 วัน)
23.3 มาตรา123 (ข้าราชการครูฯเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีความคับข้องใจ เนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชา หรือ การถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยให้ผู้นั้นมีสิทธิ์ร้องทุกข์ต่อ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่หรือ ก.ค.ศ.แล้วแต่กรณี)
23.4 มาตรา124 (เมื่อมีการวินิจฉัยแล้ว เห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ผู้นั้นย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องศาลปกครอง)

24. กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2549(โรคต้องห้ามสำหรับการรับราชการครู) โรคตามมาตรา 30 (5) ได้แก่
(1. โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 2. วัณโรคในระยะติดต่อ 3. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม 4. โรคติดยาเสพติดให้โทษ 5. โรคพิษสุราเรื้อรัง )
เทคนิคการจำ = เรื้อน/วัณ/ช้าง/ติดยา/สุราเรื้อรัง

25.หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ คือ ใคร
(นายสนธิ ลิ้มทองกุล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม