เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
- ระบบควบคุมภายใน 2557
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ชงปรับโครงสร้างหลักสูตรผลิตครูเป็น 6 ปี
รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฐานะประธานคณะอนุ กรรมการปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครูให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า หากต้องการผลิตครูให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการครูและมีคุณภาพ ควรต้องดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระบบการผลิตครูควรเป็นระบบกึ่งปิด ที่ผลิตครูตามจำนวนความต้องการของผู้ใช้ โดยผลิตเผื่อความต้องการครูของหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เป็นต้น และ 2. ควรมีการปรับโครงสร้างหลักสูตรการผลิตครูใหม่ เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมแก่ผู้เรียนสายครู
รศ.ดร.มนตรี กล่าวต่อไปว่า ที่เสนอให้มีการ ปรับโครงสร้างหลักสูตรครู คือ จากปัจจุบันที่หลักสูตรครูเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี แต่ผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้จะรู้สึกเสียเปรียบคนที่เรียนด้วยระบบ 4+1 คือ จบปริญญาตรีสาขาอื่นแล้วมาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต(ป.บัณฑิต) ทางการศึกษาแล้วสามารถนำรายวิชาที่เรียนไปเทียบโอนเพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทได้ ขณะที่ คนที่เรียนหลักสูตร 5 ปีกลับไม่สามารถนำบางรายวิชาไปเทียบโอนเพื่อเรียนต่อปริญญาโทได้ ดังนั้นทางคณะอนุกรรมการฯจึงเสนอว่าควรปรับโครงสร้างหลักสูตรครู 5 ปี เป็น 2+2+2 รวมเป็น 6 ปีจบระดับปริญญาโท โดยการเรียน 2 ปีแรกเป็นการเรียนเพื่อให้สอนได้ทุกกลุ่มสาระเมื่อเรียนจบภาคทฤษฎีแล้วก็ให้ฝึกงานซึ่งจะอยู่ภายใน 2 ปีนั้น แล้วให้กลับมาเลือกเรียนเฉพาะวิชาเอกหรือวิชาเฉพาะและฝึกงานรวมเวลาอีก 2 ปี จากนั้นให้กลับมาเรียนอีก 2 ปีเมื่อครบ 6 ปี ก็จะได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่าระดับปริญญาโท ซึ่งวิธีนี้จะให้ความเป็นธรรมกับผู้เรียนครูโดยตรงมากกว่า
"นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีความเห็นด้วยว่า ควรนำอัตราเกษียณอายุราชการในแต่ละปีมากำหนดเป็นจำนวนรับผู้เข้าเรียนสายครู โดยรับประกันการมีงานทำให้ทุกคน ส่วนกรณีของครูอาชีวศึกษานั้นทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำเป็นต้องหารือกับฝ่ายผลิตโดยตรง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาขาดครูผู้สอนสายอาชีพ ทั้งนี้ที่ประชุมจะสรุปประเด็นทั้งหมดเป็นข้อเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูประบบ การผลิตและพัฒนาครูของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พิจารณา เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติในเร็ว ๆ นี้" รศ.ดร.มนตรีกล่าวและว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าจุดอ่อนของระบบผลิตครูในประเทศไทย คือ การขาดหน่วยงานและผู้ประสานงานที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ ดังนั้นอยากเสนอให้รัฐบาลพิจารณาออกกฎหมายและมอบอำนาจให้ สกอ.ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลและติดตามความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับกรมการฝึกหัดครูในอดีต ซึ่งหากมีผู้ประสานงานมีอำนาจชัดเจนก็จะแก้ปัญหาการผลิตครูทั้งระบบได้.
รศ.ดร.มนตรี กล่าวต่อไปว่า ที่เสนอให้มีการ ปรับโครงสร้างหลักสูตรครู คือ จากปัจจุบันที่หลักสูตรครูเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี แต่ผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้จะรู้สึกเสียเปรียบคนที่เรียนด้วยระบบ 4+1 คือ จบปริญญาตรีสาขาอื่นแล้วมาเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต(ป.บัณฑิต) ทางการศึกษาแล้วสามารถนำรายวิชาที่เรียนไปเทียบโอนเพื่อเรียนต่อระดับปริญญาโทได้ ขณะที่ คนที่เรียนหลักสูตร 5 ปีกลับไม่สามารถนำบางรายวิชาไปเทียบโอนเพื่อเรียนต่อปริญญาโทได้ ดังนั้นทางคณะอนุกรรมการฯจึงเสนอว่าควรปรับโครงสร้างหลักสูตรครู 5 ปี เป็น 2+2+2 รวมเป็น 6 ปีจบระดับปริญญาโท โดยการเรียน 2 ปีแรกเป็นการเรียนเพื่อให้สอนได้ทุกกลุ่มสาระเมื่อเรียนจบภาคทฤษฎีแล้วก็ให้ฝึกงานซึ่งจะอยู่ภายใน 2 ปีนั้น แล้วให้กลับมาเลือกเรียนเฉพาะวิชาเอกหรือวิชาเฉพาะและฝึกงานรวมเวลาอีก 2 ปี จากนั้นให้กลับมาเรียนอีก 2 ปีเมื่อครบ 6 ปี ก็จะได้รับวุฒิการศึกษาเทียบเท่าระดับปริญญาโท ซึ่งวิธีนี้จะให้ความเป็นธรรมกับผู้เรียนครูโดยตรงมากกว่า
"นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีความเห็นด้วยว่า ควรนำอัตราเกษียณอายุราชการในแต่ละปีมากำหนดเป็นจำนวนรับผู้เข้าเรียนสายครู โดยรับประกันการมีงานทำให้ทุกคน ส่วนกรณีของครูอาชีวศึกษานั้นทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำเป็นต้องหารือกับฝ่ายผลิตโดยตรง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาขาดครูผู้สอนสายอาชีพ ทั้งนี้ที่ประชุมจะสรุปประเด็นทั้งหมดเป็นข้อเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูประบบ การผลิตและพัฒนาครูของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พิจารณา เพื่อนำไปสู่แนวปฏิบัติในเร็ว ๆ นี้" รศ.ดร.มนตรีกล่าวและว่า โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าจุดอ่อนของระบบผลิตครูในประเทศไทย คือ การขาดหน่วยงานและผู้ประสานงานที่ดีระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ ดังนั้นอยากเสนอให้รัฐบาลพิจารณาออกกฎหมายและมอบอำนาจให้ สกอ.ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลและติดตามความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับกรมการฝึกหัดครูในอดีต ซึ่งหากมีผู้ประสานงานมีอำนาจชัดเจนก็จะแก้ปัญหาการผลิตครูทั้งระบบได้.
--เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 26 ก.ย. 2557 (กรอบบ่าย)--
ที่มา ; เว็บ กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
สมัคร ติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา ที่
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น