เรื่องใหม่น่าสนใจ
- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558
-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ข้อสอบออนไลน์ 101 พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 by ProProfs »Make your Own Quiz
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ข้อสอบออนไลน์ 101 พรบ.เงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 by ProProfs »Make your Own Quiz
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 181/2558
การประชุม คกก.อำนวยการปฏิรูปการศึกษา 7/2558
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันพุธที่ 3 มิถุนายน 2558 ที่ห้องประชุมราชวัลลภ โดยได้หารือร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ รวมทั้งรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานการกำหนดขนาดห้องเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการยกเลิกการสอบ LAS ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ภาพ นวรัตน์ รามสูต
-
หารือร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้เสนอ เพื่อให้มีหน่วยงานหลักของประเทศที่จะทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแผนการศึกษาแห่งชาติที่บูรณาการการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ รวมทั้งเป็นการกำหนดกรอบมาตรฐานการศึกษาชาติ วางแผนการผลิตกำลังคนของชาติที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้ข้อเสนอแนะในการของบประมาณด้านการศึกษาและพัฒนามนุษย์ ตลอดจนให้ความเห็นชอบกฎหมาย ตลอดจนการปรับปรุง แก้ไข หรือยกเลิกกฎหมาย การกำกับ ติดตามและประเมินผลการพัฒนาการศึกษาและพัฒนามนุษย์ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติ แทน สกศ.ในอนาคต
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้กำหนดให้มีการจัดตั้ง "สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ" โดยมี "คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ (คศม.)" ประกอบด้วยกรรมการ 25 คน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรองประธานกรรมการ และเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติเป็นเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว
ที่ผ่านมา สกศ.ได้จัดการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.นี้มีความรอบคอบและชัดเจนมากขึ้น ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมครั้งนี้ได้พิจารณา
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าควรปรับแก้ โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาล เช่น การให้คณะกรรมการสภาการศึกษาทำหน้าที่คณะกรรมการนี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ต้องไม่เกิน 180 วัน ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าสามารถให้ประธาน รองประธาน และกรรมการที่มาจากผู้แทนองค์กร ทำหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติไปพลางก่อนได้ เพราะองค์ประกอบขาดเพียงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น
ส่วนข้อเสนอของกรรมการบางท่านในการจัดตั้งสถาบันวิจัย เพื่อทำหน้าที่วิจัยด้านการศึกษาและพัฒนามนุษย์นั้น ที่ประชุมเห็นควรให้รวมอยู่ในกลุ่มนิติการของสำนักงานฯ โดยอาจเพิ่มบุคคลดำเนินการด้านการวิจัยโดยเฉพาะ และให้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการวิจัยที่มีอยู่แล้ว เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แล้วให้นำเสนอที่ประชุมพิจารณาครั้งต่อไป
-
รับทราบความก้าวหน้าการกำหนดขนาดห้องเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากมติที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2558 ได้เห็นชอบให้มีการกำหนดขนาดห้องเรียนใหม่ โดยปรับขนาดห้องเรียนระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาเป็น 30 คนต่อห้องเรียน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายเป็น 40 คนต่อห้องเรียน โดยมีกรอบการดำเนินงานเป็นระยะเวลา 5 ปี เพื่อลดขนาดห้องเรียนของโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มขนาดห้องเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้สำรวจข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนปรับขนาดห้องเรียนให้มีความเหมาะสมและใกล้เคียงกันมากขึ้น โดยข้อมูลในปีการศึกษา 2557 พบว่ามีโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวนทั้งสิ้น 30,922 โรง แบ่งเป็น 7 ขนาด คือ
ขนาดที่ 1 จำนวนนักเรียน 120 คนลงมา จำนวน 15,506 โรงเรียน
ขนาดที่ 2 จำนวนนักเรียน 121-200 คน จำนวน 6,728 โรงเรียน
ขนาดที่ 3 จำนวนนักเรียน 201-300 คน จำนวน 3,669 โรงเรียน
ขนาดที่ 4 จำนวนนักเรียน 301-499 คน จำนวน 2,368 โรงเรียน
ขนาดที่ 5 จำนวนนักเรียน 500-1,499 คน จำนวน 1,944 โรงเรียน
ขนาดที่ 6 จำนวนนักเรียน 1,500-2,499 คน จำนวน 386 โรงเรียน
ขนาดที่ 7 จำนวนนักเรียน 2,500 คนขึ้นไป จำนวน 321 โรงเรียน
โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อปรับขนาดห้องเรียนให้เหมาะสม คือ วางแผนการปรับขนาดห้องเรียนให้เหมาะสมและใกล้เคียงกันมากขึ้นใน 5 ปี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายกระดับและพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กเดิมให้เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ตลอดจนปรับลดขนาดห้องเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษให้เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีการประสานสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ในการปรับเกณฑ์นักเรียนต่อห้องเรียน รวมทั้งประชาสัมพันธ์และสร้างค่านิยมใหม่ให้ผู้ปกครองและนักเรียนเชื่อมั่นโรงเรียนดีใกล้บ้าน และสร้างค่านิยมใหม่ให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ยอมรับที่จะปรับขนาดโรงเรียนให้เหมาะสม
-
รับทราบความก้าวหน้าการยกเลิกการสอบ LAS ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558
ขณะนี้ สพฐ.ได้แจ้งให้เขตพื้นที่การศึกษารับทราบเกี่ยวกับ การยกเลิกการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา (Local Assessment System : LAS) ในระดับชั้น ป.2 ป.4-5 ม.1-2 และ ม.4-5 พร้อมทั้งแจ้งผ่านทางระบบ Examination Process Communication Channel : EPCC ซึ่งเป็นระบบสื่อสารการประเมินกับเขตพื้นที่การศึกษา และได้ดำเนินการพัฒนาระบบการประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) พัฒนาคลังข้อสอบมาตรฐาน (Item Banks) 2) พัฒนาโปรกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอบออนไลน์ (Online Testing System) 3) พัฒนาศักยภาพครูในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เช่น การสร้างแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยตามแนวการทดสอบระดับนานาชาติ การประเมินความสามารถด้านการคิด 4) จัดทำเอกสารส่งเสริมและพัฒนาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 182/2558
ประชุม คกก.ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบูรณาการ
การศึกษาชายแดนภาคใต้ 6/2558
ศึกษาธิการ – พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบูรณาการการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 6/2558 โดยมีผู้แทนองค์กรหลัก ผู้แทนศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เมื่อวันพุธที่ 3 มิถุนายน 2558 ที่ห้องประชุมจันทรเกษม
ภาพ : กุณฑิกา พัชรชานนท์
เ ห็นชอบการขยายผลโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบการขยายผลโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในเบื้องต้นให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 (นราธิวาส ปัตตานีและยะลา) (สพม.15) ดำเนินการในเรื่องการเรียนการสอน อาคารสถานที่ และจะมีโรงเรียนจากส่วนกลางให้ความช่วยเหลือ เรื่องบุคลากรในการก่อสร้างอาคารก็ได้มีการจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปที่กองทัพบกแล้ว
สำหรับการขยายผลโครงการฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาโรงเรียน ในสังกัด สพม.15 ที่คาดว่าจะมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มอีก 3 โรงเรียน โดยที่ประชุมมอบให้ สพม.15 เป็นผู้พิจารณา
ในส่วนของการเรียนการสอนเพิ่มเติมด้านกีฬา ให้ทุกโรงเรียนจัดหลักสูตรเพิ่มเติมและปรับหลักสูตรที่มีอยู่ให้เป็นหลักสูตรเฉพาะ เป็นหลักสูตรของสาระเพิ่มเติมในรายวิชาต่างๆ แล้วให้นักเรียนเลือกเรียน โดยจะมีการส่งเสริม สนับสนุนเรื่องวัสดุอุปกรณ์กีฬา รวมถึงสนามกีฬาตามความจำเป็นและความต้องการของโรงเรียน
เห็นชอบการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการประเมินผลการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบการสนับสนุนงบประมาณสำหรับโครงการประเมินผลการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่มีแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการบูรณาการการดำเนินงานพัฒนาการศึกษาร่วมกันทุกหน่วยงาน ซึ่งขณะนี้ใกล้จะสิ้นสุดแผนการพัฒนาการศึกษาประจำปี จึงเห็นควรให้มีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาและจะเป็นตัวกำหนดกรอบทิศทางตามนโยบาย เป็นตัวตัดสินผลการประเมินควรจะดำเนินการต่อไปหรือไม่
ข้อมูลในส่วนนี้จะสามารถนำไปชี้แจงกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) รวมทั้งประกอบการชี้แจงหรือเสนอของบประมาณ หรือการขอรับการสนับสนุนในเรื่องอื่นได้อีกด้วย เพื่อไม่ให้การประเมินมีความลำเอียง ควรให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาประเมินในประเด็นที่เป็นลักษณะกว้างๆ เช่น การดูแลครู ผู้เรียน คุณภาพการศึกษา เครือข่าย เป็นต้น
ในการนี้ ได้เสนอให้จัดทำโครงการประเมินผลการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายของทั้ง 6 หน่วยงาน (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) จำนวนงบประมาณ 3.5 ล้านบาท ซึ่งจะได้พิจารณา เกณฑ์การคำนวณสัดส่วนการใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจนต่อไป
เห็นชอบการดำเนินงานจัดสรรทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องสำหรับทายาทผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบการดำเนินงานจัดสรรทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องสำหรับทายาทผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้มีการกำหนดให้ช่วยเหลือทายาทผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ กรณีที่เสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส และทุพพลภาพให้ได้รับการช่วยเหลือทุนการศึกษาตามระบบชั้นการศึกษา ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและ กศน. 5,000 บาท/ปี อนุบาลและประถมศึกษา 6,000 บาท/ปี มัธยมศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 10,000 บาท/ปี อุดมศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 20,000 บาท/ปี และกำหนดให้การช่วยเหลือทุนการศึกษาดังกล่าวตั้งแต่เข้ารับการศึกษาไปจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีภายในประเทศ และมีอายุไม่เกิน 25 ปี
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบปัญหาและอุปสรรค คือ 1) การจัดสรรทุนการศึกษาที่ไม่ตรงกับปีการศึกษาของสถานศึกษา ทำให้เกิดความล่าช้าต่อการจัดสรรเงินทุนเมื่อต้องการเบิกจ่ายให้ตามปีงบประมาณ 2) การย้ายถิ่นของนักเรียนนักศึกษา ทำให้ฐานข้อมูลไม่ทันสมัย ตรวจสอบติดตามได้ล่าช้า และ 3) จำนวนและรายชื่อของนักเรียนไม่ตรงกับในระบบข้อมูลสารสนเทศ
ดังนั้น ควรเชิญผู้เกี่ยวข้องมาหารือแนวทางการดำเนินงานให้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องฐานข้อมูลและการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินทุนการศึกษาที่ต้องประสานกับทุกหน่วยงาน จัดตั้งเป็นคณะทำงานย่อย โดยให้มีทั้งบุคลากรในพื้นที่และจากส่วนกลางเข้าร่วมเป็นคณะทำงานดังกล่าว และได้มอบหมายให้ นายสุรพงศ์ จำจด ผู้อำนวยการ ศปบ.จชต. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน เพื่อดำเนินการจัดตั้งคณะทำงาน และร่างคำสั่งมอบหมายงาน เพื่อนำเสนอ รมช.ศึกษาธิการ พิจารณาลงนามต่อไป
รับทราบผลการพิจารณาหลักสูตรมาตรฐานอิสลามศึกษา ระดับตอนต้น
ที่ประชุมรับทราบผลการพิจารณาหลักสูตรมาตรฐานอิสลามศึกษา ระดับตอนต้น (อิบติดาอียะห์ ปีพุทธศักราช...) ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ร่วมกับศูนย์ประสานงานชมรมตาดีกา 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดทำหลักสูตรศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ขึ้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรไปทางสำนักงานศึกษาธิการภาคเพื่อพิจารณาหลักสูตร แล้วส่งไปที่ สช.เพื่อนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการเพื่อประกาศใช้หลักสูตรดังกล่าว
ซึ่งจะต้องมีการเสนอผ่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการพิจารณาก่อน จึงพบว่า สพฐ.ได้แก้ไขชื่อหลักสูตรจากเดิม “หลักสูตรมาตรฐานอิสลามศึกษา” เป็น “หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรดูอีนประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น” และมีการแก้ไขคำถูกผิด และได้ส่งคืนมาที่ สช.แล้ว แต่ฝ่ายกฎหมายของ สช.ให้ความเห็นว่า ตาดีกาเป็นโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายโรงเรียนเอกชน เมื่อมีการแก้ไข จะต้องนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนให้ความเห็นชอบก่อนจะประกาศใช้หลักสูตรได้
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการกำหนดหลักสูตรอิสลามศึกษาที่มีวิชาภาษายาวีอยู่ในหลักสูตรถึง 2 วิชา เนื่องจากเอกสารบางแผ่นระบุว่าหลักสูตรดังกล่าวใช้สำหรับ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่บางแผ่นระบุว่าให้ใช้ได้ทั่วประเทศ ซึ่งนักเรียนที่เป็นมุสลิมในพื้นที่นอกเหนือจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนวิชาภาษายาวี ดังนั้น เมื่อมีการประกาศหลักสูตรดังกล่าวเป็นราชกิจจานุเบกษาและนำไปใช้ทั่วประเทศแล้วจะไม่สามารถแก้ไขตรงนี้ได้ อีกทั้งต้องการให้เพิ่มวิชาภาษาไทยลงในหลักสูตรดังกล่าวเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอว่า กรณีที่เป็นการปรับใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาทั่วประเทศ อาจจะระบุเพิ่มเติมในส่วนของภาษายาวีว่า “ให้ใช้ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น” อย่างไรก็ตาม ต้องให้ สพฐ.พิจารณาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับหลักสูตรแกนกลางของ สพฐ.อีกครั้ง และจะเชิญเฉพาะผู้เกี่ยวข้องมาหารือเป็นการภายใน เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการส่งเรื่องกลับไปแก้ไข ซึ่ง รมช.ศึกษาธิการยินดีที่จะเป็นประธานในการหารือข้างต้น
การประชุม คกก.อำนวยการปฏิรูปการศึกษา 7/2558
ภาพ นวรัตน์ รามสูต
หารือร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ
รับทราบความก้าวหน้าการกำหนดขนาดห้องเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ขนาดที่ 2 จำนวนนักเรียน 121-200 คน จำนวน 6,728 โรงเรียน
ขนาดที่ 3 จำนวนนักเรียน 201-300 คน จำนวน 3,669 โรงเรียน
ขนาดที่ 4 จำนวนนักเรียน 301-499 คน จำนวน 2,368 โรงเรียน
ขนาดที่ 5 จำนวนนักเรียน 500-1,499 คน จำนวน 1,944 โรงเรียน
ขนาดที่ 6 จำนวนนักเรียน 1,500-2,499 คน จำนวน 386 โรงเรียน
ขนาดที่ 7 จำนวนนักเรียน 2,500 คนขึ้นไป จำนวน 321 โรงเรียน
รับทราบความก้าวหน้าการยกเลิกการสอบ LAS ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 182/2558
ประชุม คกก.ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบูรณาการ
การศึกษาชายแดนภาคใต้ 6/2558
การศึกษาชายแดนภาคใต้ 6/2558
เ ห็นชอบการขยายผลโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
" ติวสอบดอทคอม " โดย อ.นิกร
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น