หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ

เรื่องใหม่น่าสนใจ 

- พรบ.เงินเดือนใหม่ข้าราชการครูฯ พ.ศ.2558

-ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักเกณฑ์เลื่อนวิทยฐานะตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (P.A.)

                    ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ล่าสุด

 เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป


   คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)

รายการคืนความสุขให้คนในชาติ


รายการคืนความสุขให้คนในชาติ


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 17.00 น.
สวัสดีครับ พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน
ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ในปีนี้นั้นองค์กรสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดประเด็นหลักในการรณรงค์เรื่อง “7 พันล้านฝัน 7 พันล้านใจ คิดห่วงใยในผืนโลก” ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการผลิต การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับประเทศไทยนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการรณรงค์ในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง ในวันสิ่งแวดล้อมโลกได้จัดกิจกรรมหลายอย่างด้วยกัน อาทิ โครงการความร่วมมือ “บัตรเดียวเขียวทั่วไทย (Green Card)” เพื่อสะสมคะแนน แลกสิทธิประโยชน์ จากการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในห้างสรรพสินค้านำร่อง ทั้งนี้ เพื่อสร้างจิตสำนึกปลุกกระแสเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้เยาวชน ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เรื่องการรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติก ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก โดยศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อจะงดการให้บริการถุงพลาสติกในทุกวันที่ 15 ของเดือน จริง ๆ แล้วอยากให้ทุกคนปรับตัว หยิบถุงผ้ามาใช้เวลาออกไปจับจ่ายหรือตะกร้าก็ได้ เชื่อว่าเกือบทุกครัวเรือนต้องมีถุงผ้าหรือตะกร้า เพราะจะมีการรณรงค์ให้ใช้มาโดยตลอด วันนี้ก็เห็นมีแจกมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป จนกลายเป็นแฟชั่น รับมาซื้อมาแล้วอย่าลืมนำไปใช้ อะไรก็ตามถ้ามีแล้วถ้าไม่ใช้ก็ไม่มีประโยชน์ ซื้อไปก็สิ้นเปลืองเปล่า ๆ การผลิตวัตถุดิบต่าง ๆ ก็เสียป่าวอีก เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ถูกวิธี บางครั้งการไปซื้อของก็ต้องแยกประเภทให้ชัด
ผมก็มีความกังวล ถ้าจะยกเลิกถุงพลาสติก ท่านก็ต้องแก้ปัญหา การใช้ถุงพลาสติกในกรณีที่เขาซื้อเครื่องดื่ม การขายเครื่องดื่มใส่น้ำแข็งต่าง ๆ อันนั้นก็ถุงพลาสติกอยู่แล้ว ถ้าเขาไม่ใส่ถุงพลาสติกจะให้ใส่อะไร เขาจะขายได้หรือไม่ คนซื้อเขาจะเตรียมมาหรือเปล่า ต้องทำความเข้าใจกันด้วย ผมคิดว่ามีถุงพลาสติกอีกแบบหนึ่งที่ย่อยสลายได้ มีการผลิตออกมาแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าราคาสูงอยู่หรือเปล่า ก็อยากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปติดตามเรื่องนี้ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเคยนำเสนอให้ผมดู ถุงพลาสติกที่สลายง่าย สลายได้ แล้วก็จากนั้นใช้ถุงผ้า หรือใช้ตะกร้าจักสานต่าง ๆ ก็จะทำให้โลกไม่ร้อนไปกว่านี้ และถ้าหากยังใช้ถุงพลาสติกอยู่ อยู่อีกหลายเป็นร้อยปีไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หรือวิธีธรรมชาติ ถ้าเผาก็เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีก
ในส่วนของกิจกรรมการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของชาติ เช่น ตาวิเศษ การสร้างวินัยในโรงเรียน การจัดการขยะอย่างยั่งยืน การประกวดโรงเรียน ชุมชนปลอดขยะ เป็นต้น ทั้งนี้ ผมอยากให้ทำกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำแบบไฟไหม้ฟาง ทำเป็นวัน ๆ ไป ทำเป็นช่วง ๆ ไป และก็หายเงียบไปอีก ต้องทำจนเป็นนิสัยให้ได้ เพราะว่าวันนี้ก็บ่นกันว่าอากาศร้อนเหลือเกิน ฝนตกผิดฤดูบ้าง ฝนไม่ตกบ้าง ท่อตัน น้ำท่วม น้ำแล้ง ขยะเยอะแยะไปหมด เป็นผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายทั้งสิ้น
โลกใบนี้มีคนกว่า 7 พันล้านคน เมื่อสักครู่ที่เขาบอกว่า 7 พันล้านฝัน ทั้งโลกมีคนอยู่ 7 พันล้านคน ถ้าใช้ถุงพลาสติกกันทั้งหมดทุกวัน ๆ ไป โลกเราก็จะไม่ปลอดภัย อากาศก็จะเปลี่ยนแปลง ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนด้วย อย่าลืมถุงที่ใส่เครื่องดื่มชา กาแฟ หรือถุงพลาสติกที่ใส่อาหารแบบที่คนใช้แรงงาน หรือผู้มีรายได้น้อยเขาซื้อกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไปจะทำอย่างไร จะใช้วัสดุอะไรต่าง ๆ มาแทน อุปกรณ์อะไรมาแทน คิดให้เขาด้วย และคนขายกับคนซื้อต้องร่วมมือกันด้วย
เรื่องการแยกขยะ วันนี้เรามีปัญหาขยะมูลฝอยมากมาย ทั้งของเดิมสะสมไว้และของใหม่มีทุกวัน ๆ สะสมไปเรื่อย ๆ ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะให้ได้ก่อนในชุมชน ในบ้านก็ตาม และในเรื่องของการทิ้งขยะถังแยกขยะ จากนั้นจะนำไปสู่การนำมาใช้เป็นพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ดังนั้นก็อย่าขัดแย้งกันนักเลย ถ้าเราไม่มีกระบวนการครบ ขยะไม่มีวันหมดสิ้นไปจากประเทศไทยได้ และวันหน้าก็จะสร้างปัญหามากมาย ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ รกรุงรัง เป็นพิษเป็นภัยต่อระบบการหายใจต่าง ๆ เหล่านี้  ขอให้ทุกคนเข้าใจตรงนี้ด้วย
สำหรับโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยเป็นสิ่งสำคัญ อย่าขัดแย้งกันอีกเลย ถ้าเราแก้ต้นเหตุได้แล้ว ต้นเหตุคือขยะที่บ้าน และการขนย้ายขยะไป และมีแหล่งทำลายขยะ บางอันน้อยก็ทำที่ต้นทางเลย ถ้ามาก วันนี้มากอยู่แล้ว เพราะไปกองไว้ที่ทิ้งขยะปัจจุบัน แต่ไม่มีระบบการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ ก็แก้ด้วยการนำขยะเหล่านั้นที่หลายร้อยตัน แต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี มาใช้ประโยชน์ก็ต้องไปทำเป็นโรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนที่เกิดจากขยะ ก็ช่วยลดเรื่องการผลิตด้วยแก๊ส ด้วยน้ำมันไปอีกด้วย
เพราะฉะนั้นเราต้องแก้ทั้งต้นเหตุ กลางเหตุ และปลายเหตุด้วย ตรงกลางที่สำคัญคือการให้ความรู้กับประชาชนก่อน สร้างความเข้าใจร่วมมือกันในการบริหารจัดการขยะ และไปร่วมกันตรงปลายทาง สนับสนุนการกำจัดขยะที่รัฐบาลกำลังเริ่มดำเนินการอยู่ในขยะนี้ เพราะฉะนั้นโรงกำจัดขยะที่ทุกคนเป็นห่วงว่าไม่ดีไม่ปลอดภัย อยากให้บริเวณที่กำหนดไว้เป็นจุดตั้งโรงงานขยะที่จะก่อให้เกิดพลังงานนั้นให้ช่วยกันไปดูที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันนี้ก็ทำไปหลายเปอร์เซ็นต์แล้ว ตอนนี้ก็เห็นประชาชนมีความสุขดีอยู่ และพื้นที่ก็สะอาดสวยงาม วันหน้าก็จะเป็นสวนสาธารณะปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ได้ เป็นที่พักผ่อนได้ ขยะก็บริหารไปในโรงขยะก็ผลิตพลังงานออกมาได้ ได้หลายอย่าง อย่าขัดแย้งกันเลย ก็ต้องเสียสละกันบ้าง คงต้องดูแลประชาชนที่อยู่ใกล้ ๆ รอบ ๆ โรงงานขยะอย่าให้มีปัญหาอีก อันนี้เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่ใช่อยากจะสั่งอะไรก็สั่ง ก็ต้องนึกถึงประชาชนก่อนด้วย แต่ประชาชนก็ต้องนึกถึงรัฐ นึกถึงประเทศชาติด้วย ว่าเราจะต้องทำกันอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องขยะ
รัฐบาลปัจจุบัน ได้ประกาศให้ “ขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ” ให้ความสำคัญมากที่สุด วันนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย แล้วขับเคลื่อนให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดำเนินการอย่างบูรณาการ ในเรื่องนี้ผมได้จัดระเบียบใหม่เล็กน้อย คือให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่ดูแลพื้นที่ทุกพื้นที่ เพราะฉะนั้นเป็นการทำงานร่วมกัน
ในเรื่องที่จะต้องทำงานอย่างบูรณาการ อาทิ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อลด ละ เลิกการใช้ “โฟมโพลิสไตรีน” บรรจุอาหารภายใน 3 ปี (พ.ศ. 2558 – 2560) โดยหันมาสนับสนุนการใช้เศษวัสดุทางเลือก ที่เหลือจากกระบวนการเกษตรกรรม ได้แก่ ชานอ้อย มันสำปะหลัง ปาล์ม ผักตบชวา ฟางข้าว เป็นต้น อันนี้เป็นประโยชน์มากเลย ผักตบชวาก็รกรุงรังเต็มคลองอยู่ในขณะนี้ ถ้านำมาใช้ประโยชน์ได้ก็จะดี เป็นวัสดุที่หาง่าย น่าจะทำให้ถูกลง ในการที่จะทำบรรจุภัณฑ์ในปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูว่าจะลดราคาการผลิตอย่างไร ต้นทุนการผลิตอย่างไร จะได้ขายในราคาที่ถูกกว่า ที่ไม่เป็นต่อสิ่งแวดล้อม อะไรที่ดีแต่แพงกว่าก็ลำบาก ทำอะไรก็ต้องนึกถึงประชาชนด้วย ผู้ซื้อ ผู้บริโภค ไม่อย่างนั้นเป็นไปไม่ได้สักอย่าง
เรื่องการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม เป็น Cluster และส่งเสริมการตั้งโรงผลิตไฟฟ้าจากการแปรรูปขยะมูลฝอยที่ผมพูดไปเมื่อสักครู่แล้ว และเรื่องการผลักดันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อันนี้ก็มุ่งหวังให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ก็จะทำให้เป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตได้ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการลดใช้สารอันตรายและออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ อันเป็นการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในอนาคตด้วย ก็จะเกิดธุรกิจต่อเนื่องด้วย ถ้าบริษัทใหญ่ ๆ ผลิตมาแล้วขาย ก็น่าจะต้องมีบริษัทกำจัดซากหรือส่วนในการกำจัดซากของแต่ละบริษัทเองในการลงทุนดังกล่าวเหล่านั้น
ทั้งนี้ เพื่อจะรับซื้อของที่หมดอายุไปแล้ว เช่น แผงโซล่าเซลล์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์เก่า ๆ ที่ไม่ใช้งานแล้ว พวกนี้นำไปฝังดินแล้วก็ยังไม่ย่อยสลาย เพราะฉะนั้นต้องมีการกำจัดขยะเหล่านั้น หรือจะนำมารีไซเคิล ใช้ใหม่ก็แล้วแต่ เหมือนต่างประเทศเขาทำ วันนี้ประเทศไทยรัฐบาลนี้ให้ความสนใจ สั่งการไปแล้วเป็นนโยบายไปแล้ว
เรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนนี้ เป็นวัน “วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์” แห่งชาติ ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นให้หน่วยงาน องค์กร และทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้รับรู้ถึงปัญหา ได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม อันนี้คือในฐานะเราอยู่กลางทาง ถ้าเราไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับกระบวนการเหล่านี้ ไม่มีคนไปร่วมมือก็ทำไม่ได้ เรื่องของต้นทางก็อีกเรื่องหนึ่ง ก็แก้ปัญหาที่ต้นทางด้วย ปลายทางประเทศที่สาม ก็ต้องไปดูว่าจะร่วมมือกันได้อย่างไร วันนี้ก็มีความกล่าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม อย่างน้อยก็แผนการปฏิบัติในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว ระยะยาวก็คือต้องพัฒนาต้นทางให้ได้ ไม่ให้มีการอพยพ อย่าให้มีลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ทุกคนนั้นจะต้องให้ความสำคัญของปัญหาการค้ามนุษย์ ชีวิตใครก็เป็นชีวิตหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชาติใด ศาสนาใด เขาก็เป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นสิทธิความเป็นมนุษย์มีทุกคน ทุกประเทศ ทุกศาสนา ต้องดูแลกัน
รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหานี้อย่างยิ่ง ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยเมื่อเช้านี้ผมได้เป็นประธานเปิดงาน “วันต่อต้านการค้ามนุษย์” ประจำปี 2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล และได้มีโอกาสกล่าวเน้นย้ำนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง โดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด ปรับปรุงกฎหมายข้อบังคับที่จำเป็น และเพิ่มความเข้มงวดในการระวังตรวจสอบ นำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งจัดการปัญหาอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ
ปัญหาการค้ามนุษย์นั้น มีผลกระทบกับทุกมิติของสังคมและโลกด้วย เป็นปัญหาที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานเอกชน องค์กรและมูลนิธิต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปด้วย
รัฐบาลต้องการที่จะสร้างการรับรู้ ให้ประชาชนเข้าใจว่าปัญหานี้จะมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวข้องแต่ก็ไม่ได้ เพราะถ้าหากมีการค้ามนุษย์แล้ว ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดปัญหาในเรื่องของการอาชญากรรมต่าง ๆ มากมาย เพราะว่าการค้ามนุษย์ผมอยากทำความเข้าใจว่าคงไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของโรฮีนจา หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในเรื่องนี้แยกออกมาจากในเรื่องของการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย สำหรับพวกนั้นก็มีอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว อันนั้นก็ลักลอบเข้ามาทำงานบ้าง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีกระบวนการนำพา อันนั้นเรียกว่าค้ามนุษย์ แม้กระทั่งขอทาน ถ้าหากว่ามีการรวมกลุ่มกัน และไปหาที่รับบริจาคและไปรวมกัน แบ่งเงินกันต่าง ๆ ก็ค้ามนุษย์เหมือนกัน หรือผู้หญิง เด็ก ที่เอาแล้วไปทำงาน หลอกเขามา แล้วไปทำงาน โดยผิดกฎหมายทุกอย่างไปเข้าหลักเกณฑ์การค้ามนุษย์ทั้งสิ้น ถ้ามีคนกลางแล้วผิดกฎหมาย มาเป็นกระบวนการ แต่ถ้าลักลอบข้ามแดนก็เป็นการผิดกฎหมาย ต้องทำความเข้าใจกัน ทั้งสองประเภท มีปัญหากับบ้านเราทั้งสิ้น
แรงงานต่าง ๆ ที่เข้ามาทำงานต่าง ๆ ก็จดทะเบียนไว้แล้ว ต้องดูตรงนี้พวกนี้อีกว่ากระบวนการนำพาแรงงานเหล่านั้น มีการดำเนินการที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นบริษัทที่ถูกต้องหรือไม่ และจะได้เป็นหลักประกันของแรงงานต่าง ๆ เหล่านั้น จะได้เข้าระบบให้ได้ ถ้าไปถูกหลอกมา แล้ววันหน้าเขาก็ทิ้งเราไปอีก เพราะฉะนั้นจะมาทำงานต้องตรวจสอบบริษัทหรือใครก็แล้วแต่ ที่ชวนมาทำงานด้วยว่าเขามีหลักฐานทางราชการอะไรหรือไม่ที่ถูกต้อง
ในเรื่องของการให้ทานต่าง ๆ ผมถือว่าคนไทยเป็นผู้มีเมตตา เห็นใครลำบากยากเข็น ใครยากจน ใครพิการก็อยากจะให้สตางค์ อันนี้เราก็เลยเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ชินตา รวมไปถึงสถานบริการต่าง ๆ จะมีคนเหล่านี้อยู่ทั้งสิ้น ขอให้ทุกคนช่วยกัน จะเป็นปัญหาของสังคมต่อไป ผมอยากให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ถ้าเห็นอะไรที่ผิดปกติ ที่น่าจะไม่ถูกต้อง ก็ขอให้แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบตามช่องทางที่มีอยู่แล้ว เช่น
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีโครงการ “รวมใจไทย ต้านค้ามนุษย์” (Thailand AGAINST human trafficking) มีเรื่องที่สื่อออกมาว่าในรูปแบบของภาพยนตร์โฆษณาด้วย ให้เห็นถึงความจริงของอุบาย ไม่ว่าจะเป็นงานสบาย งานง่าย ผลตอบแทนสูงเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นอุบายทั้งสิ้น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้สิ่งตอบที่มากจนเกินไป
ขบวนการค้ามนุษย์จะใช้สิ่งเหล่านี้ล่อลวง หลอกล่อเหยื่อ ร่วมความไปถึง อย่างเช่น โรฮีนจา ก็ถูกหลอกเหมือนกันว่ามาที่นี่แล้วจะมีงานทำ เดินทางมา ทั้ง ๆ ที่ลำบาก อันตราย มีโอกาสเสียชีวิตได้ 50%  เพราะมาทางทะเล จะถูกพวกนี้นำเข้ามาแล้วไปหางานให้ทำ อย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้ามาแล้วด้วยอิสระ ด้วยตัวเอง ด้วยไม่มีใครนำพามานั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง อันนั้นก็เป็นการลักลอบเข้าเมือง เพราะฉะนั้นก็ขอให้ทุกคนได้ใช้วิจารณญาณอันเหมาะสนว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร มีส่วนร่วมในเรื่องนี้อย่างไร อย่าให้เขามีการล่อลวง หลอกล่อ เข้ามาสู่วงจรธุรกิจการค้ามนุษย์อีกต่อไป ถ้าหากว่าเหยื่อตกเข้ามาในวงการแล้ว ก็จะถูกล่วงละเมิด ผู้หญิงก็ลำบาก ถูกกดขี่ ข่มเหงเหยื่อด้วยความรุนแรง มีการเรียกค่าไถ่ต่าง ๆ เกิดมาเป็นประจำยาวนานแล้ว ก็พยายามแก้มาตลอด แต่แก้ไม่ได้ วันนี้ก็ถือว่านำวิกฤต มาเป็นโอกาสแล้วกัน จะได้ไม่มีการทำร้ายร่างกายจิตใจกันอีกต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็จะทำภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าว ทุกคนก็ติดตาม ก็จะได้เห็นความจริงและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดจากการค้ามนุษย์
ในภาพยนตร์ต่อไปนี้ ก็จะมีการเปิดโปงความไร้มนุษยธรรมของขบวนการเหล่านี้ที่มักกระทำกับเหยื่อ เพื่อจะเป็นแบบอย่าง ตัวอย่าง ให้เข้าใจและเกิดการระวังป้องกัน เฝ้าระวัง อย่าไปร่วมในกระบวนการสร้างความตระหนักรู้ในปัญหาการค้ามนุษย์ให้กับสังคม วันนี้ที่เกิดขึ้นมาได้เพราะว่าปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำด้วย เป็นปัญหาหลัก ถ้าไม่จนเขาก็ไม่มาถูกหลอกแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้คนเข้มแข็ง ให้มีรายได้ที่เพียงพอ
นอกจากนั้นก็ได้เปิดช่องทางการรับบริจาค เพราะคนไทย ผมบอกแล้วอยากบริจาคเงิน เพราะฉะนั้นก็จะมีโครงการรับบริจาคเพื่อนำเงินมากระจายสู่มูลนิธิต่าง ๆ ที่ช่วยเหลือเรื่องการค้ามนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน โดยการรับบริจาคจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ไปถึงวันที่ 5 กันยายน 2558 วิธีการรับบริจาคนั้น ทางโครงการเขาจะมีการจัดทำเสื้อยืดและ postcard ที่มี barcode แจก แล้วก็จำหน่าย แล้วผู้ที่ได้รับสามารถนำ barcode ดังกล่าวไปสแกนและบริจาคได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาสะพานขาว ชื่อบัญชี “รวมใจไทย ต้านค้ามนุษย์ โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” เลขที่บัญชี  021-0-17650-4 สำหรับผู้บริจาครายบุคคล หรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีความประสงค์สนับสนุนโครงการเพื่อสังคมร่วมกับรัฐบาลสามารถเก็บสลิป หรือหลักฐานการโอนเผื่อนำมาลดหย่อนภาษีได้
ทางกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ร่วมกับกรมสรรพากรกำลังพิจารณาให้การสนับสนุนในการลดหย่อนภาษีแก่ผู้ร่วมบริจาค เพื่อช่วยเหลือเหยื่อผู้ค้ามนุษย์ได้หรือไม่ กำลังทำอยู่โดยทางหน่วยงานจะประชาสัมพันธ์ให้ทุกท่านทราบต่อไปในภายหลัง แต่ที่แน่ ๆ นั้น ผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นพี่น้องประชาชนพ่อค้า แม่ค้า บริษัท ห้าง ร้านทุกคนได้รับกุศลผลบุญ ทำทานให้กับคนมีชีวิตอยู่นี่ก็ถือว่าเป็นบุญกุศล เช่นกัน จากการร่วมบริจาคในโครงการนี้ด้วย ขอขอบคุณหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงเคาน์เตอร์เซอร์วิสที่จะร่วมมือสนับสนุนโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์นี้ด้วย

เรื่องเศรษฐกิจ วันนี้มีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจน มีจำนวนมากได้รับการรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านนั้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 30 ก็อย่าไปเชื่อที่พูดว่า เศรษฐกิจตกต่ำ การท่องเที่ยวก็คนมาเที่ยวน้อยลงก็ตัวเลขมาอย่างนี้เช็คกับสนามบินการเดินทางต่าง ๆ ทั้งหมดก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 30 จากโรงแรม จากที่พัก จากการบริการ ร้านอาหาร นี่เป็นสิ่งที่เป็นสัญญาณว่า บ้านเมืองเราได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความปลอดภัย ในความมีเสถียรภาพของรัฐบาล และในการที่บ้านเมืองมีความสงบสุขในขณะนี้ด้วย ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการไปสู่ประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ก็ตาม แต่คนก็เชื่อมั่นในขณะนี้ ก็เว้นแต่บางคนยังพูดด่าให้เสียหายอยู่ ขอให้ระมัดระวังด้วย
รัฐบาลยังห่วงใยเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของพี่น้องเกษตรกร แล้วก็ผู้มีรายได้น้อย คงไม่ใช่ที่ผมใช้คำว่าเกษตรกรแล้วก็รายได้น้อย เพราะว่าการประกอบอาชีพมีหลายอย่างด้วยกัน อาชีพอิสระก็มี ค้าขาย ขายของ ขายก๋วยเตี๋ยว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง นี่ก็รายได้น้อยเหมือนกัน ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลก็พยายามทุกอย่าง ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ก็ขอให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าจะต้องปล่อยให้ทำผิดกฎหมายต่อไป ให้ขายในที่ไหนก็ได้ อะไรทำนองนี้ เป็นไปไม่ได้ กฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมาย แต่เราจะดูแลคนเหล่านี้อย่างไร จัดสถานที่ขายหรือไปหาให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนอาชีพ ถ้ามีร้าน มีอะไรอยู่แล้วก็ทำขยายไปสู่ SMEs ได้ไหม ต้องพัฒนาตัวเองด้วย ใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางคนบอกว่าเราไม่ใช้ ใช้ทุกอย่าง เวลาสั่งงานอะไรไปแล้ว
ผมย้ำทุกอย่างว่า นำหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาทั้งสิ้น มีเหตุมีผลพอประมาณแล้วก็มีภูมิคุ้มกันที่ดี สำหรับภูมิคุ้มกันที่ดีก็คือว่า จะทำอะไรต่อไปก็คิดทบทวนให้ดี มีความรู้ มีคุณธรรม เราพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมก็ทำต่อ ถ้าไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งก็ทำให้พอเพียงไปก่อน โดยใช้เงินอย่างพอประมาณมีเหตุมีผล ลูกหลานต้องเข้าใจคุณพ่อคุณแม่ด้วย บางทีพ่อแม่เราก็ไม่ได้ร่ำรวยเหมือนคนอื่นเขา แต่เราอยากได้ของเหมือนเพื่อน อันนี้ผมคิดว่าสำคัญที่สุดคือสิ่งแวดล้อม สภาวะการโลก
วันนี้โลกก้าวหน้าเร็ว เพราะฉะนั้นเรื่องเทคโนโลยี เรื่องความทันสมัยก็เข้ามาเร็ว คราวนี้บ้านเราคนมีรายได้น้อยยังมากอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งของเหล่านี้ผู้ขายก็อยากจะขายมาก ๆ มีมาตรการมากมาย ลดราคาผ่อนส่งได้อะไรได้นี่คือปัญหาหนี้ครัวเรือน
เรื่องการจัดหาที่ดินทำกิน ก็ขอกันก่อนว่า จัดให้ทำกินให้ได้ก่อน วันนี้ยังไม่ครบเลยก็จะเร่งดำเนินการให้ได้ปีนี้ ปีหน้า ที่เหลือก็ต้องเตรียมการของตัวเองว่าจะให้ลูกหลานทำอะไร เรียนหนังสือจบแล้วจะทำอะไร ก็ต้องเตรียมตัวเองเผื่อเข้าไปทำงานในการเปิด AEC ในสิ้นปีนี้ จะเริ่มปีแห่ง AEC ก็คือ 2560 เต็ม ๆ ตั้งแต่ต้นปีไปจะมีงาน มีอะไรแลกเปลี่ยนสัญจรไปมาหางานระหว่างประเทศได้ เพราะฉะนั้นท่านต้องเตรียมคนไว้เรื่องเหล่านี้ด้วย เราจะให้พี่น้องทำการเกษตรมากขึ้น ๆ ไปเรื่อย ๆ  ที่ดินเรามีเท่านี้ น้ำเรามีเท่านี้ ไม่ได้แล้ว ต้องหาอาชีพอื่นที่มีรายได้ รายวัน รายเดือนมาเลี้ยงพ่อแม่แล้วก็พ่อแม่จะทำเกษตรกรรมสมัยไปได้ มีใช้เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร วันนี้เราคิดแบบนี้อยู่ เพราะฉะนั้นก็ต้องเริ่มจากแผนการจัดการไปที่เกษตรกรรมให้เหมาะสมกับน้ำ แหล่งน้ำทำมาก ก็โอเคต้องใช้งบประมาณสูง แต่ถ้าทำแล้วไม่มีน้ำลงมาฝนไม่ตก ทำไปก็ไร้ประโยชน์
วันนี้ก็หลายแห่งก็ได้ทำไปแล้วแต่เท่าที่ทราบขณะนี้ ปีนี้ฝนก็จะน้อย น้ำก็จะน้อย ผมก็เลยบอกว่าทุกคนช่วยกันสร้างที่กักเก็บน้ำมา สื่อบางสื่อก็บอกว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่หรือ ถ้าสื่อยังชี้แจงกันอยู่แบบนี้ ผมว่าไม่ใช่ ก็สอนให้คนรู้จักการพึ่งพาตัวเองด้วย พร้อมกับสนับสนุนรัฐในการทำโครงการขนาดใหญ่ขึ้น แล้วสานช่วยกันฟังนโยบายเรื่องอื่น ๆ เช่น การโซนนิ่งที่เหมาะสม คงไม่ใช่เฉพาะว่าตรงไหนปลูกอะไร ต้องกำหนดว่าท่านจะปลูกข้าวตรงไหนจะต้องปลูกข้าวคุณภาพดี ตรงไหนปลูกข้าวคุณภาพรองลงมา ตรงไหนจะปลูกข้าวสุขภาพ ตรงไหนจะปลูกเพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวผลิตออกมาจะได้ครบทั้งระบบในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ แล้วก็ไปสู่การปลูกในเรื่องของการปลูกก็ต้องทำแบบองค์รวม
วันนี้ได้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทยไปจัดทำองค์รวมตั้งแต่ต้นทาง คือ การลดต้นทุนการผลิต การรวมกลุ่มการผลิต การจัดหาพื้นที่ทำกิน การจัดหาแหล่งน้ำ เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ราคาถูก ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น ผลิตเอง ทำเอง ประชาชนทำเอง สหกรณ์ช่วยกันทำแล้วก็ราคาถูกกว่าที่จะไปซื้อข้างนอก ในส่วนของปุ๋ยเคมีวันนี้ก็ขอความร่วมมือช่วยลดลงแล้วก็ให้ราคาถูกลงจากบริษัทที่ประกอบการ บางพื้นที่อาจจะมีความจำเป็นอยู่บ้าง แต่วันหน้าต้องลดให้หมด
กลางทาง ในเรื่องของการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร ผมคิดว่าเราเคยขายข้าวเป็นกระสอบ ๆ มาชั่วชีวิตแล้ว วันหน้าเราต้องขายเป็นอีกอย่างหนึ่ง ทำอย่างไรให้มูลค่าสูงขึ้นข้าวกระสอบหนึ่งไปทำอะไรได้บ้าง ไปทำอาหารสุขภาพได้ไหม ไปทำขนมปังข้าวได้ไหม หรือไปทำเครื่องสำอาง ตั้งหลายอย่างที่เขานำมาเสนอให้ผมดูในการจัดงานทุกครั้ง แต่นำไปสู่การผลิตแล้วก็การจำหน่ายได้สักเท่าไหร่ ผมไม่แน่ใจ เพราะฉะนั้นช่วยไปดู มีไม่กี่บริษัทที่ประสบผลสำเร็จแต่ถ้าเรามากจนเกินไปก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้นต้องควบคุม Demand ให้ได้สำคัญที่สุดเลย ความต้องการทั้งในประเทศต่างประเทศถึงจะนำย้อนกลับมาที่ภาคการผลิต แล้วการผลิตก็ต้องไปดูว่าผลิตที่ไหน อย่างไร ต้นทุนจะควรต่ำสุดเท่าไหร่ ถ้าเราไปมุ่งดูเฉพาะราคาปลายทาง อย่างไรเราก็คุมไม่ได้ เพราะการแข่งขันมากขึ้นแล้วก็ AEC ด้วย การตกลงทางการค้าต่าง ๆ ข้อตกลงก็มากมายไปหมดทุกประเทศเขาใช้ข้อตกลงทางการค้าทั้งสิ้นเรากำหนดเองอะไรไม่ได้เลย ถ้าเราเรียกร้องราคาสูง ๆ แล้วต้นทุนการผลิตก็ยังสูงอยู่ไม่มีทางที่ประชาชนจะอยู่ได้ เกษตรกรอยู่ไม่ได้หรอกครับ เพราะฉะนั้นต้องเร่งทำตรงนี้ให้ได้ ทุกคนต้องร่วมมือกัน เรื่องการลดต้นทุนการผลิตตั้งแต่เรื่องเมล็ดพันธุ์ เรื่องเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืชที่ไม่เกิดมลพิษ ไม่อันตรายต่อผู้ใช้แล้วก็การหาตลาดที่แตกต่างในการจำหน่ายสินค้าเหล่านั้น
อีกเรื่องหนึ่งคือ โครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนอยู่ คือโครงการ “เพิ่มศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : สร้างโอกาส สร้างความสุขให้หมู่บ้านและชุมชนเมือง” ในการที่จะสร้างโอกาส สร้างความสุขให้กับหมู่บ้านและชุมชนเมือง เราจะให้ไปขับเคลื่อนดำเนินการตามนโยบาย เพื่อจะสร้างโอกาส สร้างความสุขให้หมู่บ้านและชุมชนในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ อันนี้อยากให้ไปสร้างความเข้มแข็ง ไม่ใช่ไปใช้ในการที่จะไปซื้อข้าวของที่ไม่เกิดประโยชน์ ทำอะไรก็ให้ถาวรบางพื้นที่เขาทำได้ดีแม้กระทั่งเงินที่ให้ไปในเรื่องแต่ละตำบล 3,000 กว่าตำบลแล้งซ้ำซากเขาก็ดีขึ้น เพราะว่าอะไร เขาไปรวมกลุ่มกันแล้ว ก็คิดว่าทำอะไรดี วัน ๆ ไม่ใช่ใช้แล้วหายไปเลย ต้องสอนให้เกษตรกร ประชาชนให้เรียนรู้ ท่านต้องมีส่วนหนึ่งที่ท่านต้องช่วยตัวเองด้วยอันที่หนึ่ง โดยที่ไม่ต้องใช้เงินมาก เงินน้อย ร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ตามนโยบาย อันที่ 2 ก็คือ ร่วมในการที่จะทำให้ภาคส่วนของเกษตรกรทุกอย่างเข้มแข็งขึ้นในลักษณ์เป็นสหกรณ์
ผมมีแนวคิดว่าเมื่อสหกรณ์ไปรับซื้อของมา ไปอะไรมาก็ต้องสร้างตัวเองขึ้นมาให้เป็นเหมือนแบบเป็นSocial Business (Social Enterprises)  คือขายต่อ นำมาขายต่อ ไปสู่วงจรของ SMEs ไปสู่เศรษฐกิจพิเศษไปสู่การค้าขายชายแดนด้วย
วันนี้เรื่องกองทุนนั้น ก็มีกองทุนหมู่บ้าน ชุมชนเมือง จำนวน 17,146 กองทุนคิดเป็นร้อยละ 21.63 % ของกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ อันนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการจะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้หมู่บ้านชุมชน ประชาชนมาโดยตลอด อาทิ เป็นแหล่งเงินหมุนเวียนประชาชนดำเนินการโดยประชาชน เพื่อประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนในการสร้างงาน สร้างอาชีพเสริมรายได้ ไม่ใช่ไปใช้แล้วหมดไปเปล่า ๆ ต้องต่อเงิน ๆ เพราะเงินน้อยบรรเทาความเดือดร้อนให้จัดทำอาชีพในหมู่บ้านและชุมชนก็จัดระเบียบจัดสัดส่วนให้ดีชัดเจน ไม่ใช่ใช้ไปสิ้นเปลืองไปทั้งหมดแล้วก็จะทำให้เป็นศูนย์หกลางที่อำนวยประโยชน์ได้ในด้านออมเงิน นำเงินไปใช้ในยามแก่เฒ่า ในยามที่เจ็บป่วย วันนี้เงินประกันสังคมก็ยังไม่เรียบร้อย
การจัดสวัสดิ ภาพสวัสดิการให้กับหมู่บ้าน ชุมชน ความสะอาดแหล่งน้ำใช้ในหมู่บ้านอะไรต่าง ๆ ก็ต้องหาเงินเหล่านี้มาช่วย ๆ ทำปีนี้ได้เท่าไหร่ ปีหน้าก็ทำต่อทำไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันกองทุนหมู่บ้านชุมชนในภาคเหนือมีสมาชิกรวมกัน จำนวนเกือบ 3 ล้านคน มีเงินทุนหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 41,569 ล้านบาท มีเงินออมไม่น้อยกว่า 5,638 ล้านบาท มีเงินสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 1,398 บาท แล้วมีดอกผลจากกองทุนเพื่อจัดสวัสดิการไม่น้อยกว่า 323 บาท
ในภาคอื่น ๆ รัฐกำลังเข้าตรวจสอบแล้วก็เร่งดำเนินการให้มีความก้าวหน้าเหมือนกับทางภาคเหนือนี่ ผมก็อยากจะให้ประเทศไทยมีกิจการที่เรียกว่า แบบธุรกิจเพื่อสังคม ที่ผมเรียกว่า Social Business มีหลายประเทศแล้ว ท่านโปรเฟสเซอร์ มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้กล่าวไว้ว่า การทำธุรกิจที่มีกำไรแต่พอดี และลงทุนเพื่อสังคมไปด้วยกันนั้น จะเป็นการทำธุรกิจที่สอดรับกับการช่วยให้สังคมดีและน่าอยู่ เช่น โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จย่า แล้วในโครงการหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประชาชนสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้ เพราะพระองค์ท่านเล็งเห็นว่า การรับงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเดียวจะไม่เป็นการยุติธรรมกับประชาชนชาวไทยที่ไม่ได้อยู่อาศัยตามดอย ตามพื้นที่ การเกษตรต่าง ๆ เหล่านั้นรัฐต้องดูแลทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร ไม่ใช่คนบนดอยอย่างเดียว พระองค์ท่านทรงคิดแบบนั้น
เพราะฉะนั้นท่านก็ต้องสร้างความเข้มแข็ง พระราชทานเงินส่วนพระองค์เริ่มต้นให้ วันนี้ก็มีการพัฒนาอย่างกว้าง และผลกำไรจากธุรกิจเหล่านั้นก็นำมาให้ชุมชน ได้ใช้ ได้กิน ได้อยู่ มีความเข้มแข็ง ได้ทั้งความรู้ด้วย ได้ทั้งประสบการณ์ และรู้จักการเผื่อแผ่แบ่งปัน และเข้าร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ธุรกิจเพื่อสังคมเหล่านี้ ผมต้องการสนับสนุนให้ได้โดยเร็ว โดยอาจจะสามารถเริ่มจากชุมชนในพื้นที่ที่รวมกลุ่มกันเป็นชมรมอยู่แล้วหรือเป็นสหกรณ์อยู่แล้ว มีอยู่หลายพื้นที่แล้วที่พร้อม สหกรณ์การเกษตรนี่มีมาก ผมอยากให้เริ่มตรงสหกรณ์การเกษตรก่อนได้ไหม ทำอย่างไรจะเข้ามาสู่ในเรื่องของธุรกิจการค้า ผลิตผลทางการเกษตรด้วย แปรรูปอะไรก็ว่ากันไป จะได้เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง ที่สิ่งเหล่านี้น่าจะดูแลคนในประเทศได้เพียงพอ ผลิตเองขายเอง และรับประทานเอง บริโภคเอง ที่เหลือในส่วนของบริษัทใหญ่ ๆ ก็ว่าไป ข้ามชาติก็ว่าไปอีกทาง แต่อย่ามารบกวนซึ่งกันและกันมากนัก ทางโน้นใหญ่ก็ทำเองบ้าง อะไรบ้าง contact forming บ้าง หรือจะเลี้ยงครบวงจรก็ว่าไป แต่ส่วนหนึ่งผมอยากให้มาซื้อจากตรงนี้ Social Business ที่มาจากสหกรณ์หรือมาจากชุมชนส่วนหนึ่งด้วย

เรื่องของการวางรากฐานเศรษฐกิจไทย วันนี้เราได้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น อันนี้เป็น Cluster ต้องอีกครั้งหนึ่ง มีเริ่มตั้งแต่ข้างนอกมาข้างในก่อนแล้วกัน ข้างนอกก็เป็นตลาดค้าขายชายแดนอะไรก็ตาม เพราะฉะนั้นคงไม่ได้ผลิตตรงนั้น จากนั้นก็ถอยหลังเข้ามาในฝั่งไทย ก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น อันนี้เป็น Cluster มีตั้งหลายกิจการ ผมบอกไปแล้วตั้ง 13 กิจการ ให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ อาจจะเหลือ 5 – 6 แห่ง ผิดจุด 5 – 6 อย่าง เพราะบางอย่างไม่เหมาะสม อันนั้นกำหนดรวมไว้ 13 อย่าง บางอันก็มี 5 อย่าง บางอันก็มี 6 อย่าง แต่ถ้าอยากจะทำก็เสนอมา ก็มีคณะกรรมการพิจารณาให้อยู่แล้ว
นี่คือในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นพื้นที่การผลิต ที่นอกจากนิคมอุสาหกรรม และมีนิคมอุสาหกรรมด้วยในนี้ มี 2 อย่าง เขตเศรษฐกิจพิเศษผมให้ทำ 2 อย่างก็คือ 1. นิคมอุตสาหกรรมเข้าไปทำ 2. เอกชนเข้ามาทำ ตรงนี้เป็นศูนย์การผลิตที่ตรงความต้องการของพื้นที่ ตรงความต้องการของประเทศในเวลานี้ เทคโนโลยี ความทันสมัย การใช้แรงงาน การพัฒนาฝีมือแรงงาน ต้องทำตรงนี้
นอกจากนั้นก็มีพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ อาจจะต้องหลังเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้ามา เขตเศรษฐกิจพิเศษต้องการดูเรื่องแรงงานด้วย พอเข้ามาข้างในมาก ๆ แรงงานก็มีปัญหา ไปอยู่ตรงนั้นใกล้ ๆ ชายแดนก็โอเค ที่จัดตั้งไว้ 6 แห่งปีนี้ ปีหน้าก็อีก 5 – 6 แห่ง ถ้าทำต่อก็จะเป็นอย่างนี้ แล้วพื้นที่อื่นที่มีศักยภาพ ที่จำเป็นต้องต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน CLV (Cambodia, Lao and Vietnam) มีตรงอื่นอีกไหม จังหวัดไหนอีก ตรงนั้นก็สามารถไปจัดตั้งขึ้นได้อีก ทั้งนี้ก็จะได้ให้เกิดการสร้างงานและคนก็อยู่ในพื้นที่ แรงงานก็ไม่ขาด และไปเชื่อมต่อกับสหกรณ์ ไปเชื่อมต่อกับ Social Business ดังกล่าวได้
ในส่วนกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ใน 5 จังหวัดนั้น ได้แก่ หนองคาย นาราธิวาส เชียงราย นครพนม กาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้ชายแดน มีความเหมาะสมเชื่อมโยงอยู่แล้ว รายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้เดี๋ยวชี้แจงต่อไป วันนี้ก็มีการเดินหน้าไปมาก มีคนสนใจมากมายไปหมด
เรื่องชุมชนเข้มแข็ง ที่ผมพูดมาทั้งหมดวันนี้ เราต้องทำให้เกิดความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ผมบอกแล้วเป้าหมายของเรามี 3 ระดับ ระดับคนรวยมาก ๆ ทำธุรกิจข้ามชาติได้ อันที่สองคือปานกลาง ข้าราชการบ้าง เงินเดือนอะไรก็แล้วแต่ แต่ในส่วนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษคือคนที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีถึงประมาณ 50 – 60% ข้างล่าง หลายอาชีพ หลายการทำงาน เพราะฉะนั้นรายได้เขาเป็นวันบ้าง เป็นกะบ้าง เป็นเดือนบ้าง อะไรบ้าง มันน้อย 9,000 12,000 อยู่ได้ไหวไหม มีภรรยา มีลูกด้วย ต้องทำอย่างไรให้เขาอยู่ได้ แต่ต้องอยู่ได้ด้วยความพอเพียง จะมาให้เท่ากับคนรวยก็ไม่ได้ ลูกหลานต้องเข้าใจพ่อแม่ บัญชีครัวเรือนน่าจะต้องทำสำหรับผู้มีรายได้น้อย จะได้รู้ว่าใช้เงินมีเหตุผลหรือเปล่า พอประมาณกับตัวเองหรือไม่ ไม่ใช่ผมต้องการจะไปจำกัดให้คนรวยก็รวยไป คนจนก็จนไป ผมต้องการให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลดลง แต่ลดลงด้วยรัฐกับด้วยประชาชนต้องร่วมมือกันด้วย เกษตรกรก็ต้องช่วยกัน นึกถึงคนอื่นเขาด้วย เกษตรกรก็หลายอย่าง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบรูณ์อยู่แล้ว ได้เปรียบนานาประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านในหลายปัจจัย วันนี้เราต้องสร้างความเข้มแข็งให้อาเซียนเข้มแข็ง ไทยก็เข้มแข็งด้วยอยู่แล้ว ต้องควบคู่กับอาเซียนด้วยปีหน้า เศรษฐกิจวันนี้ เศรษฐกิจโลกชะลอตัวอยู่ หลายประเทศใหญ่ ๆ ก็ยังมีปัญหาอยู่ ที่ว่าจะดีขึ้น ก็ดีไม่เท่าที่คาดไว้ ของเราก็ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่แบบนี้ จนกว่าเราจะเข้มแข็ง ถ้าเรา demand supply ไม่เกินกันมากจนเกินไป ก็ผลิตพอเพียง พอเพียงกับราคาก็อาจจะควบคุมได้บ้าง ขายข้างนอกไม่ได้ก็ขายกินกันในประเทศ ดีกว่าไปขายข้างนอกถูก ๆ วันนี้การค้าขายในประเทศเกิดจากบริษัททั้งสิ้น ถ้าเกิดจากบริษัทที่เป็น Social Business บ้าง สหกรณ์บ้าง อะไรบ้าง อย่างที่บางสหกรณ์เขาทำกันอยู่แล้วขณะนี้ แต่ทำอย่างไร เขาจะขยายให้ใหญ่ขึ้นมาอีก โดยที่ต้องมั่นคง ต้องไม่มาพลาดอีกทีหลัง ก็เสียดาย หลายชุมชน หลายสหกรณ์เข้มแข็งอยู่แล้วในขณะนี้ เช่น แหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดในประเทศไทย ที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ตรงนั้นก็น่าจะปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของประเทศไทยได้หรือไม่ ทั้งพื้นที่เลย ที่ไหนที่ดินอาจจะดีไม่เท่า น้ำน้อยกว่านั้นก็ปลูกข้าวขาวหรือข้าวที่มีคุณภาพ ตรงนี้ไหนที่มีพื้นที่ ๆ เหมาะสมก็ปลูกข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็ปลูกไรซ์เบอร์รี่ ให้แยกเป็นอย่างนี้ ใช้ต่างกัน ใช้ดินที่ต่างกัน และนำไปผลิตสินค้าที่ต่างกัน แล้วก็ไปแยกกันขาย ถ้าทุกคนพอเห็นว่านี่ดี ก็ปลูกกันหมด ราคาก็ตกเพราะมีจำนวนมาก ก็แข่งขันกันเอง ไปเช็คในเรื่องของการตลาดด้วย ผมถึงบอกว่าชาวไร่ ชาวนา หรือเกษตรกรต้องเรียนรู้การตลาด การเงินด้วย เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญหาก็คือประชาชนที่ขาดรายได้ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เสียประโยชน์ จากการที่รัฐบาลเข้ามาบังคับใช้กฎหมาย เพื่อจัดระเบียบว่างรากฐาน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม พูดง่าย ๆ ก็คือเงินที่เกิดจากธุรกิจสีเทา ๆ ประชาชนไม่ทราบ บางคนก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูกด้วยซ้ำ เห็นเขาขายได้ก็มาขายด้วย อะไรทำนองนี้ เห็นมากมายไปเรื่อยตามถนนหนทางเต็มไปหมด บางคนไม่ทราบเห็นเขาขายก็ขาย พอไปจับเขาบอกว่ารังแกประชาชน ก็ไม่ใช่ต่างประเทศเขาก็มีระเบียบ
เพราะฉะนั้นเราก็ต้องช่วยกันหาที่อยู่ให้เขา รัฐก็พยายามหาที่อยู่ ก็จะไม่ไปอีก แล้วจะอย่างไร จะอยู่อย่างนี้ วงจรนี้หรือ อันนี้ผมต้องขอโทษถ้าบางครั้ง ผู้ปฏิบัติงานข้างล่างอะไรให้เกิดความเดือดร้อน บางครั้งก็ทำแรงเกินไป หรืออะไรก็ไม่รู้ เพราะผมไม่ได้ลงไปปฏิบัติเอง แต่นโยบายเป็นเรื่องของผม ความคิดที่ผมสั่งการลงไป แล้วก็เป็นมติของ ครม. แต่อยู่ที่การปฏิบัติจะทำอย่างไรให้พี่น้องเข้าใจว่า จะดูแลเขาอย่างไร อันนี้ผมฝากไปถึงข้าราชการทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานถึงระดับล่าง ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร อะไรเหล่านี้ต้องชี้แจงประชาชนให้เข้าใจว่าถ้าจะเกิดตรงนี้ แล้วกระทบตรงไหน จะทำอย่างไร กฎหมายฉบับนี้เขาเขียนมาเพื่ออะไร ใครเป็นคนได้ประโยชน์ ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่เขียนออกมา เพื่อบังคับประชาชนไม่ใช่ เขียนมาให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข กฎหมายเขามีไว้ให้จัดระเบียบสังคม ให้คนในรัฐอยู่ร่วมกันได้ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน และประชาชนจะต้องไม่ได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมายฉบับนั้น ถ้าทำถูกต้อง คราวนี้พอทุกคนเดือดร้อน เคยทำไม่ถูกต้องมาตลอด นี่ก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่ ประชาชน ทำอย่างไร รัฐก็ต้องแก้ ประชาชนก็ต้องแก้ แก้ไขตัวเองกันทั้งคู่
เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง ผู้ใช้แรงงาน ผู้ด้อยโอกาสในสังคม รัฐบาลต้องช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน สนับสนุนด้วยการสร้างโอกาส สร้างความเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองและชุมชนให้ได้ ที่ผ่านมาผมคิดว่าขาดโอกาส ประชาชนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงทรัพยากร ทุกอย่างเลยขาดโอกาส รัฐก็ต้องทำตรงนี้ ทางส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สำคัญที่สุดอย่าเลือกพวก อย่าเลือกกลุ่ม อย่าเลือกพี่น้อง อย่าเลือกกลุ่มผลประโยชน์ ต้องดูแลประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม อปท. ไม่อย่างนั้นวันหน้า ท่านจะเรียกร้องการกระจายอำนาจแล้วท่านก็ทำไม่ได้ วันนี้ก็ต้องกระจายหน้าที่ไปก่อน ท่านดูแลอันไหนได้ ท่านก็รับไป อันไหน เรื่องไหน ท่านทำได้ดี ท่านก็รับไป งบประมาณอาจจะเพิ่มให้ตรงนี้ ตรงไหนที่ทำไม่ได้จริง ๆ ก็บอกมา จะได้กลับมาให้ส่วนไหนเขาทำไป วันนี้เรียกทุกอันกลับไปหมด ก็ทำไม่ได้อยู่ดี วันนี้ท่านยอมรับว่ายังไม่เข้มแข็งเพียงพอ มีไม่กี่แห่งที่เข้มแข็งพอ ก็ว่ากันต่อไปแล้วกัน ในห้วงการปฏิรูป
เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนมีความสุขอย่างพอเพียงก่อน นำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแก้ไขทุกอย่าง เช่น เกษตรกรกลุ่มเล็ก ๆ ที่ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก คุณธวัช รังท้วม เกษตรกรที่พยายามช่วยเหลือตนเอง ปลูกข้าวมานานกว่า 30 ปี ขาดทุนมาตลอด รายรับไม่เพียงพอในการเลี้ยงดูครอบครัว ก็ได้เปลี่ยนจากการทำนาอย่างเดียวมาทำ แปลงดอกมะลิบ้าง และก็หารายได้เป็นการเพิ่มเติมหรือปลูกพืชอื่น ๆ ก็แล้วแต่ พบว่ามีรายได้ที่ดีกว่าการทำนา ราคาเช่น ถ้าดอกมะลิไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 100 บาท โดยเฉลี่ยวันหนึ่งขายได้ประมาณ 8 - 10 กิโลกรัม รายได้เสริมต่อวัน 800 บาท เก็บผลผลิตได้ทุกวัน ราคาขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 200 ก็จะได้ 1600 บาท/วัน หรือมากกว่านั้น ก็มีการรวมกลุ่มเกษตรกรในตำบลประมาณ 5 ครอบครัว เป็นตัวอย่างที่ดีของเกษตรกร ไม่ใช่ไปปลูกมะลิตามกันหมด เดี๋ยวก็ราคาตกอีก เพราะฉะนั้นก็ไปทำอย่างอื่น จะปลูกผัก ปลูกหญ้า ปลูกมะนาวอะไรก็ว่าไป
วันนี้มีคนต่อว่าผม ผมไปแก้ปัญหาเรื่องการให้ชาวบ้านขุดบ่อเอง ชาวบ้านไปปลูกมะนาวเอง เหมือนผมโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชน บางอย่างท่านต้องช่วยตัวเอง รัฐไปทำให้ท่านไม่ได้ เพราะเป็นกติกาการค้าเสรี เราเป็นประเทศประชาธิปไตย วันนี้ผมก็ใช้ประชาธิปไตยขับเคลื่อนประเทศอยู่ ประชาธิปไตยบังคับใครไม่ได้ในเรื่องของการค้าขาย เพราะฉะนั้นต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน แล้วถึงเหลือ แบ่งปัน ค้าขาย ตั้งบริษัท ตั้งห้างหุ้นส่วน อะไรของท่านก็ว่าไป มีขั้นตอนอยู่แล้ว โดยใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอชมเชยทุกกลุ่ม ทุกสหกรณ์ เกษตรกรอีกหลายรายที่ผมไม่ได้เอ่ยชื่อเห็นในทีวี ดีทุกอัน ช่อง 11 ก็มี ช่อง 5 ก็เอามาออก ไทยพีบีเอส ก็มี ก็อย่างดูละครอย่างเดียว ให้ดูสิ่งที่เป็นประโยชน์นี้บ้าง เอาตัวอย่างเขาไป อปท. ก็ต้องพัฒนาตนเอง หากระบวนการเรียนรู้ว่าที่ไหนดี พาลูกบ้านไปดูของเขา คิดอย่างนี้บ้าง ก็จะเปิดโลกทัศน์ของตนเอง ไม่ใช่คิดแต่เพียงว่าทำอย่างไรพื้นที่เราจะเป็นอยู่อย่างนี้ ดีอย่างนี้ สงบสุขเท่านี้ อยู่ไม่ได้หรอกวันหน้า เพราะค่าครองชีพสูงขึ้น โลกเปลี่ยนแปลงแล้ว ไปด้วยเทคโนโลยี แล้วท่านจะไปอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นเกษตรกรอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ ท่านต้องทำทั้งสองอย่างไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นก็ต้องรอขายผลิตผลปีละไม่กี่ครั้ง แล้วราคาก็ตก ท่านก็ไม่มีงานเสริม ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ให้ลูกหลานท่านเหมือนกัน ท่านต้องเตรียมการแต่ละครอบครัว ไม่ใช่รัฐบาลอย่างเดียว รัฐบาลทำ อำนวยความสะดวก ทำให้ เพราะว่าเงินรายได้เราก็น้อย ภาษีก็เท่าเดิมอยู่ในขณะนี้
ขณะนี้มีการจัดงาน “ไม้ดอกไม้ประดับและปลาสวยงาม” ที่ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณรอบทำเนียบรัฐบาล มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ และปลาสวยงาม มีทั้งการจัดแจกัน มีทั้งเมล็ดพันธุ์ดอกไม้อะไรต่าง ๆ กระถาง มาซื้อในราคาถูก จากวันนี้ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2558 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. – 19.00 น ทุกวัน แล้วก็เชิญชวนผู้ที่รักธรรมชาติ รักการทำสวนเป็นงานอดิเรก หรือเลี้ยงปลาอะไรต่าง ๆ ปลาไทยสวยงามมีจำนวนมาก ผลิตมามากมาย ปลากัดเป็นสินค้าส่งออกด้วย ทั้ง ปลากัดไทย ปลากัดจีน เราเพาะพันธุ์เก่งมาก ก็ให้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะ หาความรู้ในเรื่องของการดูแลต้นไม้ เลี้ยงปลาอะไรก็ว่ากันไป
ผมอยากให้เป็นตลาดแห่งความรู้ด้วย ไม่ใช่ค้าขายอย่างเดียว นโยบายผมไปทางโน้นแล้ว และให้ กทม. เร่งดำเนินการเรื่องนำเรือพาคนมาเที่ยว น้ำจะน้อยก็พร่องน้ำไว้ ไม่เป็นไรเรือลอยน้ำอยู่แล้ว น้ำจะมากจะน้อยก็มาได้ทั้งนั้น จะมารอน้ำมาก ๆ ก็รอกันไปเรื่อย ๆ ทุกเรื่องก็รอกันหมด ก็ไม่ทันที่สั่งไปแล้ว  เพราะฉะนั้นที่สั่งไปแล้วผมคิดใคร่ครวญแล้วก็ต้องทำ ถือว่าเป็นนโยบายเป็นคำสั่ง ถ้าไม่ทำก็มีปัญหา ทำให้ได้ ไม่ใช่สั่งไปแล้ว ก็ติดโน่น ติดนี่ทั้งหมด ถ้าติดบอกว่าต้องพร่องน้ำ น้ำน้อย ฉะนั้นเรือก็หารือที่กินน้ำน้อย ๆ ไม่ใช่เรือท้องเรือท้องแบนมา ผมไม่ได้เอาเรือกินน้ำลึกมา ติดตรงไหนก็ไปแก้ตรงนั้น แค่นั้นเอง จะไปยากอะไร ถ้าติดตรงไหนก็ถ่ายเรืออีกลำมา แค่นั้น คิดแบบนี้ถึงจะไปได้ ให้เร่งกันทำภายในเดือนนี้ ผมบอกไว้แล้ว
เรื่องงาน “ถนนสายวัฒนธรรม” ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีความสำเร็จเป็นอย่างดี รายได้สุทธิประมาณ 25 ล้านบาท และคืนนี้ก็จะเริ่มมหกรรมกีฬาของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “กีฬาซีเกมส์” ครั้งที่ 28 ที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 5 – 16 มิถุนายน 2558 วันนี้จะมีการถ่ายทอดพิธีเปิดช่อง 3  หลังรายการนี้ ผมเลื่อนขึ้นมาก่อน ผมอยากให้พี่น้องได้ดู ได้ส่งแรงใจ เวลา 18.30 – 22.00 น. ให้ร่วมกันส่งแรงเชียร์และกำลังใจ ให้ทัพนักกีฬาไทย ผมพบกับพวกเขาไปแล้ว เขาก็มีใจเต็มร้อย ผมบอกทุกคนต้องตั้งใจเป็นที่หนึ่งหมด แต่ผลของการแข่งขันเป็นอย่างไร ผมก็ให้กำลังใจเขาอยู่แล้ว ต้องเรียกว่าเป็นการสู้ศึกกีฬา และในประเทศก็สู้ศึกกับความยากจนอยู่ในขณะนี้กับเศรษฐกิจ ทุกคนก็อยู่ในท่ามกลางศึกทั้งสิ้น ก็ขอให้นำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงพระราชทานไว้กับคนไทย และประเทศไทยมาใช้ประโยชน์ อย่างให้คนอื่นเขานำไปใช้มาก มากกว่าเราใช้เองเลย ขอบคุณ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย


   คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา (รอบ 2)

ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา  ที่ 

" ติวสอบดอทคอม "  โดย อ.นิกร 
เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
(เตรียมสอบครู-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม