เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
- ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 257/2557สอศ.ร่วมมือผลิตกำลังคนกับเยอรมนี รองรับภาคอุตสาหกรรม-เกษตร-บริการ
ศึกษาธิการ - พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กับหอการค้าไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย และกลุ่มมิตรผล เพื่อผลิตกำลังคนรองรับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคบริการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก
รมว.ศธ. กล่าวขอบคุณนายรอล์ฟ ชูลเซ่ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย นายพงษ์ศักดิ์ จักษุเวช ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) และผู้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน
ขอแสดงความชื่นชมผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยเฉพาะการอาชีวศึกษา ซึ่งที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่จะศึกษาต่อสายสามัญ แต่เชื่อว่าหลังจากที่มีความพยายามให้ความสำคัญกับการอาชีวศึกษา ผู้ปกครองและเยาวชนจะได้เห็นคุณประโยชน์และความสำคัญของการอาชีวศึกษามากขึ้น เชื่อได้ว่าในปีต่อๆ ไปจะมีนักเรียนเข้าศึกษาต่อสายอาชีพในสัดส่วนที่สูงขึ้น ปัจจุบันมีสัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพต่อสายสามัญ 35 : 65หรืออาจจะน้อยกว่านี้ หากต้องการพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น ควรจะต้องมีผู้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น โดยจะพยายามเพิ่มสัดส่วนให้ได้ 40 : 60 และจุดมุ่งหมายต่อไปคือ 50 : 50
การลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้ จะทำให้เด็กและเยาวชนหันมาสนใจศึกษาในสายอาชีพมากขึ้น เนื่องจากจะมีการจัดการศึกษาในระบบทวิภาคี และจะรับประกันได้ว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วจะมีงานทำแน่นอน อีกทั้งผู้เรียนที่ผ่านการศึกษาจากระบบดังกล่าวจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากหอการค้าเยอรมัน-ไทยด้วย ยิ่งไปกว่านั้นมีความมั่นใจว่าเมื่อมีความร่วมมือกับเยอรมันที่ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งในโลกในภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตซึ่งการอาชีวศึกษาของเยอรมันมีระบบการศึกษาที่แบ่งออกเป็น 2 วิธีการ คือ 1) การเรียนในห้องเรียน (In Class Training) 2) การเรียนในสถานประกอบการ (On the Job Training) ก็จะเห็นประโยชน์ได้ชัดเจน นักเรียนที่ผ่านระบบการศึกษาในลักษณะดังกล่าว เมื่อเข้าไปทำงานในสถานประกอบการก็ไม่จำเป็นต้องฝึกงานอีก เพราะได้ผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการจริงมาแล้ว
ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับการอาชีวศึกษาให้มากขึ้น หากต้องการเห็นประเทศเจริญก้าวหน้า ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ ในอนาคต สอศ.จะขยายความร่วมมือการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีกับหน่วยงานอื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์และทำให้ขอบข่ายงานของ สอศ.มีความสำคัญและขยายตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ รู้สึกภูมิใจที่กลุ่มมิตรผลเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาระบบทวิภาคี และให้ความร่วมมือจนนำมาสู่การลงนามบันทึกความร่วมมือในวันนี้ ขอแสดงความชื่นชมทุกหน่วยงานอีกครั้งที่ให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญของการอาชีวศึกษา เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ให้การสนับสนุนการจัดงานในวันนี้ และขออำนวยพรให้โครงการความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ
เลขาธิการ กอศ. กล่าวถึงความเป็นมาของการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เป็นความประสงค์ของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้มีผู้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้น และให้การอาชีวศึกษามีความเป็นมาตรฐานเทียบเคียงระดับสากล นับเป็นความโชคดีที่ รมว.ศธ.ให้การสนับสนุนการอาชีวศึกษามาโดยตลอด โดยได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนที่เกี่ยวกับการอาชีวศึกษา คือ การเพิ่มผู้เรียนอาชีวศึกษา สร้างภาพลักษณ์ ปรับเปลี่ยนค่านิยม และยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษา ที่สำคัญคือ ต้องร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ความร่วมมือกับกลุ่มมิตรผล สอศ.จะดำเนินการในระบบทวิภาคีแบบเยอรมัน เนื่องจากระบบทวิภาคีของเยอรมันประสบความสำเร็จอย่างสูง เพื่อผลิตกำลังคนด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลและชีวพลังงาน โดยจะดำเนินการใน 6 จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของโรงงานภายใต้กลุ่มมิตรผล ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น เลย กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ สิงห์บุรี และสุพรรณบุรี โดยจะเริ่มนำร่องจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่วิทยาลัย 6 แห่งใน 3 จังหวัดคือ จังหวัดขอนแก่น สุพรรณบุรี และสิงห์บุรี ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาไฟฟ้า 40 คน สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล 40 คน สาขาวิชาช่างกลเกษตร 40 คน และพืชศาสตร์ 40 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 160 คนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เป็นนักศึกษารุ่นแรก
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
ในนามของ สอศ. ขอขอบคุณหอการค้าไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย และกลุ่มมิตรผลเป็นอย่างยิ่งที่ให้ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และขอยืนยันว่าจะดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อให้นโยบายของรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีและ รมว.ศธ.ได้กำหนดไว้ บรรลุผลและประสบความสำเร็จ
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
( คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558
ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม " เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย (ผอ.นิกร เพ็งลี)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น