หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การประชุมคณะรัฐมนตรี

เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)

-เกณฑ์สอบผู้บริหารสถานศึกษา 2557 
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ตัวบ่งชี้ ประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ พื้นฐาน-อุดม-อาชีว 
โดย สมศ.
- เกณฑ์ประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ (พ.ศ.2559-2563)


ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษาชุดใหม่ล่าสุด

 ติวสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่

 ติวสอบ บน ยูทูป

  (  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 


   คลิ๊ก ) สมัครติวสอบครูผู้ช่วย ปี 2557-2558 

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 18 พฤศจิกายน 2557
http://www.thaigov.go.th     
                                                     
                วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2557) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี   เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
                ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย  พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี   สรุปสาระสำคัญดังนี้
         
กฎหมาย
                1.      เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
                2.      เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร                 ซึ่งสินค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                3.      เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน                 และครอบครัว     (ฉบับ ..) พ.. …. (วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา
                                   สมบท)
                4.      เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..)
                                   พ.ศ. ….  (องค์ประกอบคณะกรรมการข้าราชการยุติธรรม)
                5.      เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล (ฉบับ ..)
                                   พ.ศ. ....
                6.      เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติ                        แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
                7.      เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.. ….
                8.      เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพ                              ชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับ ..)
                                   พ.. ….
                9.      เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียน                         สถาบันชาวไร่อ้อย    (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                10.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนิน                    โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ช่วงลพบุรี ปากน้ำโพ                    จำนวน 4 ฉบับ 
                11.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนิน                    โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุม                             ทางถนนจิระ ขอนแก่น รวม  4 ฉบับ
                12.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนิน              โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบ                     กะเบา-ชุมทางถนนจิระ
                13.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนิน                    โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ช่วงนครปฐม หัวหิน
                                   รวม 19 ฉบับ
                  14.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนิน                    โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์                         ชุมพร รวม 8 ฉบับ
                15.    เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืน                                     อสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลโคกเพลาะ ตำบลวัดหลวง ตำบลหัวถนน                     ตำบลหนองปรือ ตำบลไร่หลักทอง ตำบลหนองเหียง ตำบลบ้านช้าง
                                   ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี ตำบล                          เกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เป็นกรณีที่มีความจำเป็น                           โดยเร่งด่วน
                16.    เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืน                                     อสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม ตำบลมาบแก ตำบลศาลเจ้า                       ไก่ต่อ ตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว ตำบลปางสวรรค์ ตำบลชุมตาบง                                อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์                     จังหวัดอุทัยธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
                17.    เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
                18.    เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนสุวินทวงศ์
                                   จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ....
                19.    เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืน                                     อสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลองครักษ์  ตำบลศรีษะกระบือ 
                                   ตำบลบางลูกเสือ  ตำบลพระอาจารย์ ตำบลบางสมบูรณ์  อำเภอองครักษ์                 จังหวัดนครนายก  และตำบลดอนเกาะกา ตำบลสิงโตทอง 
                                   ตำบลหมอนทอง ตำบลบางน้ำเปรี้ยว  อำเภอบางน้ำเปรี้ยว
                                   จังหวัดฉะเชิงเทรา  เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
                20.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ
                                   อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม  ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
                21.    เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน  ในท้องที่                              ตำบลเวียง  อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม

                22.  เรื่อง         รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี
                23.  เรื่อง         การแก้ไขปัญหายางพาราตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)                            เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557 (โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน                           แก่ผู้ประกอบยาง)
                24.   เรื่อง         การดำเนินการตามมาตรการควบคุมการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการ                            รายงานและไร้การควบคุม
                25.   เรื่อง         การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจาก                           การขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท                                       เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556
                26.   เรื่อง         รายงานสรุปผลดำเนินงานการกำกับดูแลการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย                                    ในฤดูการผลิต  ปี 2556/2557
                27.   เรื่อง         การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2558



ต่างประเทศ

                28.   เรื่อง         ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณี                                    ความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตาม                         ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ                            ทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสมาคม                             ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐเกาหลี (ฉบับที่ ..)                                     พ.ศ. ...
                29.   เรื่อง         การลงนามในร่างความตกลงเพื่อความร่วมมือด้านภาษีอากรระหว่างประเทศ                         และการปฏิบัติตาม FATCA
                30.   เรื่อง         เอกสารผลการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 13
                31.   เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและ                             กระทรวงพลังงานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน
                32.   เรื่อง         ร่างกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่ง                                  สหประชาชาติ (ยูนิเซฟ)
                33.   เรื่อง         ขอความเห็นชอบในการรับรองร่างปฏิญญาโคลัมโบเพื่อการส่งเสริมการลด                                 การปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งในยุคหน้าของภูมิภาคเอเชีย
                34.  เรื่อง         การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและ                                      เทคโนโลยีสารสนเทศ  ครั้งที่ 14 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้ง

                35.   เรื่อง         คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (จำนวน 10 ส่วนราชการ)
                36.   เรื่อง         การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                          ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                37.   เรื่อง         การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                          ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                38.   เรื่อง         คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (จำนวน 5 ส่วนราชการ)
                39.   เรื่อง         การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
                40.   เรื่อง         ขอความเห็นชอบให้ต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานสถิติ                               แห่งชาติ (ครั้งที่ 1) (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
                41.   เรื่อง         แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง                                                สาธารณสุขและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
                42.   เรื่อง         การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                 (กระทรวงศึกษาธิการ)
                43.   เรื่อง         การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและ                         การอุดหนุน
                44.   เรื่อง         แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                45.   เรื่อง         การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
                46.   เรื่อง         การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม
                47.   เรื่อง         แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....        ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                ทั้งนี้ เร่งรัดให้ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติรับ      ร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ไปดำเนินการตามนัยมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (24 มิถุนายน 2557) ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี (1 ตุลาคม 2557) แล้วส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบการตรวจพิจารณาต่อไป
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                1. กำหนดให้ การชุมนุมสาธารณะหมายความว่า การรวมตัวกันของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อแสดงความคิดเห็น สนับสนุน คัดค้าน หรือเรียกร้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไปและบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ ไม่ว่าการชุมนุมนั้นจะมีการเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายด้วยหรือไม่
                2. กำหนดสถานที่ต้องห้ามมิให้จัดการชุมนุม เช่น ระยะรัศมี 150 เมตร จากสถานที่สำคัญและสถานที่ราชการ  อาทิ รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล และศาล เป็นต้น และต้องไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือการใช้บริการในสถานที่ เช่น สถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ
สถานีรถไฟ หรือสถานีขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
                3. กำหนดให้การปราศรัย หรือการจัดกิจกรรมในการชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา จนถึงเวลา 06.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น การเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมในเวลากลางคืน
จะกระทำมิได้
                4. กำหนดให้ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ต้องแจ้งวัน เวลา และสถานที่ชุมนุมต่อหัวหน้าสถานีตำรวจผู้รับผิดชอบก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง
                5. กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุม เช่น ผู้จัดการชุมนุมมีหน้าที่อยู่ร่วมการชุมนุมสาธารณะตลอดระยะเวลาการชุมนุม ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะให้เป็นไปโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นต้น และห้ามมิให้ผู้ชุมนุมกระทำการก่อให้เกิดความไม่สะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ
พาอาวุธเข้าไปในที่ชุมนุมบุกรุกหรือทำให้เสียหายหรือทำลายด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นต้น
                6. กำหนดการคุ้มครองความสะดวกของประชาชนและการดูแลการชุมนุมสาธารณะ เช่น
ให้ ตช. และหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐจัดหรือประสานให้มีการประชาสัมพันธ์เป็นระยะเพื่อให้ประชาชนทราบถึงสถานที่ที่ใช้ในการชุมนุมและช่วงเวลาที่มีการชุมนุม ตลอดจนคำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางการจร
                7. กำหนดโทษกรณีต่าง ๆ อาทิ ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะมิได้แจ้งการชุมนุม ผู้จัดการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  และผู้ชุมนุมซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ออกจากพื้นที่ควบคุมภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานประกาศกำหนด

2. เรื่อง  ร่างพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามา     ในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                ทั้งนี้  ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจพิจารณากำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันมิให้เกิดช่องว่างในการนำวิธีการผ่านแดนและการถ่ายลำมาใช้กับสินค้าต้องห้ามและต้องกำกัด ในระหว่างที่การแก้ไขพระราชบัญญัติยังไม่แล้วเสร็จ 
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.  แก้ไขนิยามคำว่า”ส่งออก” และ “นำเข้า”  ตามมาตรา 4 ให้มีความหมายรวมถึงการนำ
ผ่านด้วย
2.  เพิ่มนิยามคำว่า “นำผ่าน” ให้หมายความถึง การผ่านแดนและการถ่ายลำตามกฎหมายว่า
ด้วยศุลกากร
3.  เพิ่มมาตรา 5/1 โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของ
คณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดข้อยกเว้นให้มีการนำผ่านได้ และ                  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการนำผ่านให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว     (ฉบับ ..) พ.. …. (วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมบท)
                คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับ ..) พ.. …. (วาระการดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมบท) ตามที่สำนักศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจาณาต่อไป
                สาระสำคัญของเรื่อง
              ศย. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                โดยที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.. 2553 กำหนดให้ผู้พิพากษาสมบทในศาลเยาวชนและครอบครัวมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี และจะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ กำหนดภารกิจของผู้พิพากษาสมบทเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากหน้าที่ในการร่วมเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดี นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการปฏิบัติตามคำสั่งหรือการมอบหมายของศาลในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็กและเยาวชน ดังนั้น การกำหนดให้ผู้พิพากษาสมบทดำรงตำแหน่งได้เพียงสองวาระติดต่อกันและต้องเว้นวรรคสามปี จึงจะสามารถเข้าสู่ระบบการคัดเลือกใหม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาสูญเสียบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ทั้งยังเกิดปัญหาความไม่ต่อเนื่องในการทำงาน จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว และการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ เพื่อให้ผู้พิพากษาสมทบสามารถดำรงตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง
                ร่างพระราชบัญญัติ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                1. กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบให้สามารถดำรงตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี และเมื่อดำรงตำแหน่งครบ 3 ปี ให้ได้รับการประเมินผลงาน ความรู้และความสามรถในการปฏิบัติหน้าที่ และประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อดำรงตำแหน่งต่อไป
                2. กำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ เมื่อมีอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์ หรือไม่ผ่านการประเมินผลงาน ความรู้และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ หรือการประเมินสมรรถภาพในการปฏิบัติหน้าที่

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  (องค์ประกอบคณะกรรมการข้าราชการยุติธรรม)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  (องค์ประกอบคณะกรรมการข้าราชการยุติธรรม) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
              สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                ปรับปรุงองค์ประกอบ ก.ศ. ให้สอดคล้องกับการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมและการจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่งของข้าราชการศาลยุติธรรม ดังนี้

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
ศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
       มาตรา 18 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการ ศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า ก.ศ.” ประกอบด้วย
      (1) รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุดเป็นประธาน ประธานศาลอุทธรณ์ เลขาธิการ ก.พ. และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
      (2) ข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการตุลาการยุติธรรมชั้นศาลละหนึ่งคน
      (3) ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ดำรงตำแหน่งระดับ 8 ขึ้นไป ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการศาลยุติธรรมที่ดำรงตำแหน่งระดับ 6 ขึ้นไป จำนวนห้าคนและ





ฯลฯ
      มาตรา 18 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อ ก.ศ.ประกอบด้วย
      (1) ประธานศาลอุทธรณ์เป็นประธาน รองประธานศาลฎีกาซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เลขาธิการ ก.พ. และเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
      (2) ข้าราชการตุลาการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมชั้นศาลละหนึ่งคน
      (3) ข้าราชการศาลยุติธรรมผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโสขึ้นไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป ประเภทอำนวยการหรือประเภทบริหาร ซึ่งได้รับเลือกจากข้าราชการศาลยุติธรรมที่ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานทั่วไป ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการขึ้นไป ประเภทอำนวยการ และประเภทบริหาร จำนวน 5 คนและ 
ฯลฯ

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล (ฉบับ ..) พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล (ฉบับ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                คค. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. พระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะในการใช้บังคับกับการจำนองเรือเดินทะเลโดยตรงและกำหนดบุริมสิทธิทางทะเลสำหรับเรือเดินทะเลโดยบังคับใช้เฉพาะเรือที่ต่อหรือสร้างเสร็จแล้วเท่านั้นที่จะนำมาเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ได้ซึ่งไม่เหมาะกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้เจ้าของเรือที่อยู่ระหว่างการต่อหรือสร้างสามารถใช้เป็นหลักประกันแก่ผู้ให้สินเชื่อในการจดทะเบียนได้ตามกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อเจ้าของเรือในการจัดหาเรือใหม่และการส่งเสริมกิจการต่อเรือและธุรกิจพาณิชยนาวีของประเทศ
                2. คค. โดยกรมเจ้าท่าได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้กฎหมายว่าด้วยการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเลเปิดโอกาสให้เจ้าของเรือสามารถจัดหาเรือใหม่เพิ่มเติมและพัฒนากองเรือของตนเองได้โดยใช้ทรัพย์สินที่เป็นเรือที่อยู่ระหว่างการต่อหรือสร้างมาเป็นหลักประกันแก่ผู้ให้สินเชื่อ และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจการต่อเรือและธุรกิจพาณิชยนาวีของประเทศ  จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537 โดยเพิ่มเติมหลักการดังกล่าวข้างต้นตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการ           การดำเนินการไว้ในบทบัญญัติของกฎหมาย
                3. ทั้งนี้ คค. โดยกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเข้าร่วมดำเนินการ รวมทั้งจัดให้มีการสัมมนาประชาพิจารณ์ระดมความคิดเห็นจากผู้มาส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในทุกมาตราโดยไม่มีการแก้ไข
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
              1. เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “เรือที่อยู่ระหว่างการต่อ” หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำที่ยังไม่มีสภาพเป็นเรือตามความหมายของพระราชบัญญัติการจำนองเรือและบุริมสิทธิทางทะเล พ.ศ. 2537 แต่อยู่ในระหว่างการต่อหรือสร้าง โดยได้วางกระดูกงูแล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเมื่อต่อเสร็จแล้วจะมี      สภาพเป็นเรือตามความหมายของคำว่าเรือในพระราชบัญญัตินี้
                2. กำหนดให้เฉพาะบุคคลที่สามารถถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้ตามพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช 2481 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2540 มาตรา 7 หรือ มาตรา 7 ทวิ สามารถนำเรือที่อยู่ในระหว่างการต่อหรือสร้างมาจำนองได้
                3. กำหนดให้การจดทะเบียนจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน และให้แนบสำเนาสัญญาจ้างต่อหรือสร้างเรือด้วย
                4. กำหนดให้การจำนองเรือที่อยู่ระหว่างการต่อหรือสร้างยังมีผลต่อไป แม้เรือได้ถูกต่อเรือหรือสร้างเสร็จแล้ว
                5. กำหนดให้สัญญาจำนองเรือที่อยู่ระหว่างต่อหรือสร้างให้รวมไปถึงสัมภาระ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่ได้นำมาประกอบหรือติดตั้งในเรือที่อยู่ระหว่างการต่อและให้รวมถึงที่อยู่ในบริเวณอู่ต่อเรือซึ่งได้  หมายหรือกำหนดหรือสามารถระบุได้โดยวิธีอื่นใดว่าสัมภาระ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์นั้นจะนำมาใช้กับการต่อเรือลำนั้น

6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... รวม 2 ฉบับ ของกระทรวงการคลัง ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
                2. ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการจัดทำร่างอนุบัญญัติที่จำเป็นแก่การใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) โดยเร็วต่อไป
                3. ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                1. ร่างพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. ...
                    กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสียภาษีการรับมรดก โดยกำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และไม่ใช้บังคับแก่มรดกที่เจ้ามรดกได้ตายก่อน       วันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และมรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดก ดังนี้
                        1.1 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่มีภูมิลำเนาหรือมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลาสามปีติดต่อกันถึงวันมีสิทธิได้รับมรดก และบุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
                        1.2 กำหนดให้มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ผู้ได้รับมรดกไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้าแต่ละรายรวมกันแล้วมีมูลค่าเกินห้าสิบล้านบาทต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน   ห้าสิบล้านบาท ซึ่งมูลค่ามรดกนี้หมายถึงมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดกหักด้วยภาระหนี้สินอัน    ตกทอดมาจากการรับมรดกนั้น
                        1.3 กำหนดบทยกเว้นการเสียภาษีการรับมรดกให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับมรดก ได้แก่ บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่าประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์ หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์โดยให้กำหนดเป็นกฎกระทรวง
                        1.4 กำหนดอัตราภาษีสำหรับการเสียภาษีการรับมรดก ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ต้องคำนวณและเสียภาษีในอัตราร้อยละสิบของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ อัตราร้อยละสิบดังกล่าวจะตราพระราชกฤษฎีกาลดลงตามที่เห็นสมควรก็ได้
                        1.5 กำหนดการยื่นแบบ การชำระภาษีและการประเมินภาษีการรับมรดก
                        1.6 กำหนดความผิดและลงโทษสำหรับการกระทำความผิดหรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน          ห้าแสนบาท กรณีทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่นซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่แสนบาท และกรณีผู้ใดโดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบายโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น
                2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้จากการรับให้ อันเป็นการสอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีรับมรดก ดังนี้
                        2.1 กำหนดให้เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดกได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
                        2.2 กำหนดให้ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ส่วนที่เกิน      สิบล้านบาทโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีได้ สำหรับเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม      ที่ไม่ได้รับยกเว้น
                        2.3 กำหนดให้การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมให้ผู้โอนหักภาษีไว้ร้อยละ 5 ของเงินได้เฉพาะในส่วนที่เกินสิบล้านบาท
                        2.4 กำหนดบทเฉพาะกาล ให้การเสียภาษีเงินได้ในส่วนของเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ให้คิดเฉพาะเงินได้ที่ได้รับมาภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.. ….
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.. …. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

                สาระสำคัญของเรื่อง
              กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.. 2499 มาตรา 4 วรรคสอง บัญญัติให้โรคระบาด หมายความว่า โรครินเดอร์เปสต์ โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย โรคแอนแทรกซ์ โรคเซอร่า โรคสารติก โรคมงคล่อพิษ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์สุกรและโรคอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต่อมาได้มีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม พ.. 2554 กำหนดโรคระบาดสัตว์เพิ่มเติม รวม 69 ชนิด
                2. ในปัจจุบันได้รับรายงานว่ายังมีการระบาดของโรคอื่น ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ตามข้อ 1 และสถานการณ์การระบาดของโรคมีความรุนแรงและกระทบต่ออุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ และบางโรคส่งผลต่อความปลอดภัยของมนุษย์เนื่องจากเป็นโรคสัตว์ติดต่อสู่คนและมีการแพร่ระบาดจากคนสู่คน และที่ส่งผลกระทบและสามารถเห็นได้ชัดเจน คือ การระบาดของโรคตับวายเฉียบพลัน (AHPND) ในกุ้งทะเล      การระบาดของโรคท้องร่วงติดต่อในสุกร (PED) และการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในลิง สมควรกำหนดให้โรคดังต่อไปนี้ รวม 7 ชนิด เป็นโรคระบาดสัตว์เพื่อให้สามารถนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.. 2499 มาดำเนินการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สามารถขอการรับรองสถานภาพปลอดโรคจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organisation for Animal Health : OIE) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกได้ด้วย
                        2.1 โรคท้องร่วงติดต่อในสุกร Porcine Epidemic Diarrhea (PED) มีการระบาดของโรคดังกล่าวในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร เนื่องจาก       เชื้อไวรัส PEDV ทำให้เกิดโรคในสุกรได้ทุกช่วงอายุมีอัตราการป่วยได้ถึงร้อยละ 100 มีการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในลูกสุกรอายุต่ำกว่า 3 สัปดาห์ จะแสดงอาการรุนแรงมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ         50 – 100 ซึ่งลูกสุกรมักตายภายใน 2 – 7 วัน หลังจากแสดงอาการ ทำให้เกิดความสูญเสียในการผลิตสุกร
                        2.2 โรค Peste des Petits Ruminants (PPR) ในแพะ แม้ประเทศไทยได้รับ       การรับรองสถานภาพปลอดโรค PPR จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) แต่เนื่องจากมีรายงานการระบาดของโรคดังกล่าวในประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน          ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว
                        2.3 โรค Contagious Bovine Pleuropneumonia (CBPP) ในโค เป็นโรคที่องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ให้การรับรองสถานภาพปลอดโรค ซึ่งประเทศสมาชิกที่ต้องการได้รับการรับรองสถานภาพปลอดโรค จะต้องแสดงข้อมูลเฝ้าระวังโรคทั้งทางอาการและทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงข้อมูลในด้านการป้องกันและควบคุมโรค
                        2.4 โรคตับวายเฉียบพลัน (Acute Hepatopancreatic Necrosis Disease (AHPND) มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชนิด Vibrio parahaemolyticus  ในกุ้งทะเล ซึ่งพบการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทย ทำให้ผลผลิตกุ้งทะเลมีปริมาณลดน้อยลงและ  ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งทะเลของไทย ซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาท
                        2.5 โรค African Swine Fever (ASF) ซึ่งยังคงมีรายงานการระบาดอยู่ในต่างประเทศ และเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเกิดการอุบัติของโรคขึ้นในประเทศไทย และเพื่อขอการรับรองสถานะปลอดโรค ASF จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)
                        2.6 โรคบลูทัง (Bluetongue) เนื่องจากมีรายงานการเกิดโรคในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริการ ยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย และในช่วงที่ผ่านมาได้มีการนำเข้าแพะ แกะ จำนวนมาก เพื่อมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ในโครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงแพะ แกะ ในภาคใต้ ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะแพร่กระจายมายังประเทศไทย
                        2.7 โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola Virus Disease) ในลิง โรคนี้จัดเป็นโรคสัตว์ติดต่อสู่คน (Zoonosis) โดยมีหลักฐานการติดเชื้อครั้งแรกเกิดจากมุนษย์ สัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อจากสัตว์จำพวกลิงหรือค้างคาว จากนั้นได้มีการระบาดของโรคจากคนสู่คน ด้วยวิธีการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ และปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผลทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50 – 90 ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้ประกาศให้โรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

8. เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับ ..) พ.. ….
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับ ..) พ.. ….                 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                สาระสำคัญของเรื่อง
                กค. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลด้านที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มี      ธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ข้อ 10.1 จัดระบบอัตรากำลังและปรับปรุงค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐให้เหมาะสมและเป็นธรรม สำนักงาน ก.. จึงได้จัดทำข้อเสนอเรื่อง     การยกระดับรายได้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อยให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา โดยเสนอแนวทางดำเนินการ 2 แนวทางคือ 1) ปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และ 2) ปรับบัญชีเงินเดือน ซึ่งในแนวทางการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ให้ กค. เสนอแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของ      ส่วนราชการ พ.. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว
                2. โดยให้ระเบียบมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป และมีการปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงจาก 12,285 บาท เป็น 13,285 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากอัตราเดือนละ 1,500 บาท เป็น 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท และกรณีที่มีรายได้ไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบกับแนวทางตามที่สำนัก ก.. เสนอ
                3. เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและแนวทางที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบจึงได้ดำเนินการยกร่างระเบียบการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.. …. ขึ้น โดยได้กำหนดให้เบิกจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป
                ร่างระเบียบมีสาระสำคัญ ดังนี้
                1. กำหนดวันใช้บังคับระเบียบดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป
                2. กำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำที่บรรจุ หรือแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วต้องไม่เกินเดือนละ 13,285 บาท
                3. กำหนดให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำตามข้อ 2 ที่ได้รับเงินเดือนหรืออัตราค่าจ้างรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนหรือค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท
                4. กำหนดให้ลูกจ้างชั่วคราวที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท
                5. กำหนดให้ทหารกองประจำการที่ได้รับเงินเดือนในระดับ พ.1 ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 10,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนอีกจนถึงเดือนละ 10,000 บาท

9. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย    (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย       ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และ      ให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา             แล้วดำเนินการต่อไปได้
                ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการต่อไปด้วย
                สาระสำคัญของเรื่อง
                อก. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รับการร้องเรียนจากสมาคมชาวไร่อ้อย    ซึ่งมีสถานภาพเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้ร้องขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยไม่มีความเสมอภาค มีการยกเว้นคุณสมบัติเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกและปริมาณอ้อยให้แก่ชุมนุมสหกรณ์ใน     การขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย และการตรวจสอบสถานะความเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยตาม         พระราชบัญญติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2557
                2. นอกจากนี้ ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลตั้งขึ้นใหม่เป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถจัดตั้งสถาบันชาวไร่อ้อยได้ทันต่อการเพิ่มขึ้นของโรงงานน้ำตาล เนื่องจากระยะเวลาการยื่นขอและเปิดรับจดทะเบียนตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดระยะเวลาไว้ทุก 2 ปี จึงได้ร้องขอให้เปิดการจดทะเบียนชาวไร่อ้อยทุกปี
                3. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงได้ยกร่างระเบียบขึ้นเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับข้อร้องเรียนของสมาคมชาวไร่อ้อยดังกล่าว โดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2557 วันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2557 เห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวด้วยแล้ว
                ร่างระเบียบฯ มีสาระสำคัญ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

ประเด็นที่แก้ไข
ระเบียบเดิม
ร่างระเบียบใหม่
คุณสมบัติของผู้ร้องขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย
ข้อ 8 (3) มีสมาชิกเป็นชาวไร่อ้อยไม่น้อยกว่า 600 คน ในกรณีชุมนุมสหกรณ์ตามกฎหมายสหกรณ์ ซึ่งมีสหกรณ์เป็นสมาชิก ให้ถือว่าจำนวนสมาชิกชาวไร่อ้อยของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิก เป็นจำนวนสมาชิกของชาวไร่อ้อยของชุมนุมสหกรณ์ที่จะขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยด้วย
ข้อ 8 (3) มีสมาชิกเป็นชาวไร่อ้อยไม่น้อยกว่า 600 คน

ข้อ 8 วรรคสอง ปริมาณอ้อยของสมาชิกที่ส่งให้แก่โรงงานใดโรงงานหนึ่งรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของปริมาณอ้อยที่โรงงานนั้นหีบทั้งหมดในแต่ละฤดูการผลิต มิให้นำมาใช้บังคับกับกรณีการขอจดทะเบียนของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย จำกัด
ยกเลิก
ระยะเวลาการตรวจสอบคุณสมบัติ
ข้อ 8 วรรคสาม ... ให้นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของสถาบันชาวไร่อ้อยทุก ๆ 2 ปี และให้มีการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย    ทุก ๆ 2 ปี
ข้อ 8 วรรคสาม ให้นายทะเบียนตรวจสอบคุณสมบัติของสถาบันชาวไร่อ้อยและดำเนินการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อยทุกปีภายหลังจากสิ้นสุดฤดูการหีบอ้อยของทุกโรงงาน
- ยกเลิกการรายงานจำนวนพื้นที่ปลูกอ้อยและปริมาณอ้อย
- เพิ่มเติมหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อย
ข้อ 18 ให้สถาบันชาวไร่อ้อยรายงานจำนวนพื้นที่ปลูกอ้อยและปริมาณของอ้อยของสมาชิกแต่ละรายที่คาดว่าจะผลิตได้ให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนกันยายนทุก ๆ 2 ปี นับจากปีที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นสถาบันชาวไร่อ้อย
ข้อ 18 ให้สถาบันชาวไร่อ้อยที่มีสมาชิกส่งอ้อยเข้าหีบในโรงงานหนึ่งโรงงานใดเกินกว่าร้อยละ 55 ของปริมาณอ้อยที่เข้าหีบในโรงงานนั้นในแต่ละฤดูการผลิต มีหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเข้าหีบในโรงงานนั้นทั้งหมด
ระยะเวลาในการรายงานปริมาณอ้อย
ข้อ 19 ให้สถาบันชาวไร่อ้อยรายงานปริมาณอ้อยที่สมาชิกของสถาบันชาวไร่อ้อยนั้น ๆ ส่งให้แก่โรงงานแต่ละแห่ง ให้นายทะเบียนทราบภายใน 30 วัน เมื่อการหีบอ้อยของโรงงานนั้น ๆ สิ้นสุดลง โดยให้รายงานทุก ๆ 2 ปี นับจากปีที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นสถาบันชาวไร่อ้อย
ข้อ 19 ให้สถาบันชาวไร่อ้อยรายงานปริมาณอ้อยที่สมาชิกของสถาบันชาวไร่อ้อยนั้นส่งให้แก่โรงงานแต่ละแห่งให้นายทะเบียนทราบภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นสุดการหีบอ้อยของโรงงาน

10.  เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ช่วงลพบุรี ปากน้ำโพ จำนวน 4 ฉบับ 
               คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา
                1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเชียงงา 
และตำบลบ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พ.ศ. ....
                2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเขาทอง
อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....
                3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองปลิง                      อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ....  และ
                4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านกลับ
อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี ตำบลโพตลาดแก้ว ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง  และตำบลโคกลำพาน ตำบลโพธิ์เก้าต้น ตำบลโพธิ์ตรุ ตำบลบางขันหมาก ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พ.ศ. ....
รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับไปพิจารณาด้วยว่าจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน แต่ให้มีแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามโครงการเดียวกันแล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ  และหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ 
               สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา มีดังนี้ 
1.  ร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1. ถึงข้อ 3. จำนวน 3 ฉบับ กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่
จะเวนคืนในท้องที่ตำบลเชียงงา และตำบลบ้านหมี่  อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี  และในท้องที่ตำบลเขาทอง  อำเภอพยุหะคีรี  ตำบลหนองปลิง   อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อสร้างทางและสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ
2.  ร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 4.
                กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลบ้านกลับ อำเภอหนองโดน  จังหวัดสระบุรี ตำบลโพตลาดแก้ว  ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง และตำบลโคกลำพาน  ตำบลโพธิ์เก้าต้น  ตำบลโพธิ์ตรุ  ตำบลบางขันหมาก  ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมืองลพบุรี  จังหวัดลพบุรี เพื่อสร้างทางรถไฟทางคู่

11. เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ ขอนแก่น รวม  4 ฉบับ
              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา 
                1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพลสงคราม
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
                   2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบัวใหญ่
อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
                3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์ 
อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. .... และ
                4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลท่าพระ
อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ....
รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับไปพิจารณาด้วยว่าจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน  แต่ให้มีแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับหรือไม่  เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามโครงการเดียวกัน แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ  และหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ 
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน 4 ฉบับ มีดังนี้
                1. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง
จังหวัดนครราชสีมา
 2. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่
จังหวัดนครราชสีมา
                3. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโนนสมบูรณ์  อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

                4. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลท่าพระ อำเภอบ้านแฮด
จังหวัดขอนแก่น
เพื่อสร้างทางและสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ ตามโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ                    สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

12. เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่
ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา
                1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทับกวาง        อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ....
                2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทับกวาง                   ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย และตำบลมิตรภาพ ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก  จังหวัดสระบุรี พ.ศ. ....
                        3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพญาเย็น               และตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลกลางดง              และตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        5. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลปากช่อง            อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        6. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองสาหร่าย            อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        7. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลจันทึก                    อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        8. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง และตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
                9. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองไผ่        อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา   พ.ศ. ....
          10. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาวอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
              11. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสีคิ้ว              อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        12. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลมะเกลือเก่า และตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        13. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสูงเนิน และตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
        14. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสูงเนิน
ตำบลนากลาง และตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. .... และ 
        15. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลนากลาง และ
ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. ....
รวม 15 ฉบับ  ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับไปพิจารณาด้วยว่าจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน แต่ให้มีแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามโครงการเดียวกัน แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ

                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน  เพื่อสร้างทางและ
สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ

เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
ร่างพระราชกษฤฎีกา
จังหวัดสระบุรี
อำเภอแก่งคอย :  ตำบลทับกวาง
ตามข้อ 1
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปากช่อง : ตำบลปากช่อง ตำบลหนองสาหร่าย
อำเภอสีคิ้ว :  ตำบลคลองไผ่ ตำบลลาดบัวขาว    ตำบลสีคิ้ว
อำเภอสูงเนิน : ตำบลมะเกลือเก่า ตำบลเสมา ตำบลสูงเนิน ตำบลโคราช ตำบลนากลาง  ตำบลกุดจิก
ตามข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ 11 ข้อ 12  ข้อ 13 ข้อ 14 ข้อ 15

2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟทางคู่

เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
ร่างพระราชกษฤฎีกา
จังหวัดสระบุรี
อำเภอแก่งคอย :  ตำบลทับกวาง
อำเภอหมวกเหล็ก  :  ตำบลมิตรภาพ ตำบลหมวกเหล็ก

ตามข้อ 2
จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอปากช่อง : ตำบลพญาเย็น  ตำบลกลางดง
ตำบลปากช่อง  และตำบลจันทึก  
อำเภอสีคิ้ว :  ตำบลคลองไผ่

ตามข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 8

3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทาง สะพาน
รถยนต์ข้ามทางรถไฟและทางรถไฟทางคู่

ท้องที่
ร่างพระราชกษฤฎีกา
จังหวัดนครราชสีมา : ตำบลจันทึก

ตามข้อ 7

13. เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่
ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ช่วงนครปฐม หัวหิน รวม 19 ฉบับ
                  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา
                1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองปากโลง   
และตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ....
2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโพรงมะเดื่อ          อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม  พ.ศ. ....
3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโพรงมะเดื่อ                 อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม และตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
                4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองกบ                  อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
5. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลนครชุมน์
อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
6. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองตาคต                   อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
7. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโพธาราม                   อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
8. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโพธาราม              และตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
                   9. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลเจ็ดเสมียน       อำเภอโพธาราม และตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พ.ศ.
10. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ่อกระดาน  อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี  พ.ศ. ....
                11. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลวังมะนาว             อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
                12. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลธงชัย
อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
13.ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองกระแชง
อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
14. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองกระแชง    ตำบลหนองโสน และตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. .... 
15. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลท่าราบ
และตำบลนาวุ้ง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
16. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสมอพลือ
อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
 17. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองกระเจ็ด      อำเภอบ้านลาด และตำบลดอนยาง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
18. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหนองจอก                       อำเภอท่ายาง และตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
19. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลชะอำ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. ....
รวม 19 ฉบับ  ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจตรวจพิจารณา โดยให้รับไปพิจารณาด้วยว่าจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน แต่ให้มีแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาหลายลัลได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นการดำเนินการตามโครงการเดียวกัน แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ที่กำหนดและตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้





เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
วัตถุประสงค์
1. ตำบลหนองปากโลง   และตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
2. ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม  
3. ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม และตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
4. ตำบลหนองกบ    อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
5. ตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
6. ตำบลคลองตาคต    อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
7. ตำบลโพธาราม  อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
8. ตำบลโพธาราม  และตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
9. ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม และตำบลท่าราบ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
10. ตำบลบ่อกระดาน  อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี  พ.ศ. ....
11. ตำบลวังมะนาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และตำบลห้วยโรง   อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
12. ตำบลธงชัย อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
13.ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
14. ตำบลคลองกระแชง  ตำบลหนองโสน และตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
15. ตำบลท่าราบและตำบลนาวุ้ง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
16. ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
17. ตำบลหนองกระเจ็ด  อำเภอบ้านลาด และตำบลดอนยาง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
18. ตำบลหนองจอก อำเภอท่ายาง และตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
19. ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี












              เพื่อสร้างทางและ
              สะพาน   
              รถยนต์ข้ามทาง
              รถไฟ ตามโครงการ
              ก่อสร้างทางคู่ใน
              เส้นทางรถไฟสายใต้
              ช่วงนครปฐม –
              หัวหิน






14.  เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร รวม 8 ฉบับ
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา  
1.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองวาฬ
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
2.    ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลนาหูกวาง  
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....
3.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลธงชัย  
อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. ....

4.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลดอนยาง
อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
5.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลชุมโค   
อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
6.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลดอนยาง
อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
7.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบางสน   
อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... และ
8.  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลนาชะอัง
อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
รวม 8 ฉบับ  ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับไปพิจารณาด้วยว่าจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน แต่ให้มีแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับได้หรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไปได้  โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ        ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
               สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1 ถึงข้อ 5 รวม 5 ฉบับ 
กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง
ประจวบคีรีขันธ์ ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก  ตำบลธงชัย  อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ตำบลดอนยาง และตำบลชุมโค  อำเภอประทิว  จังหวัดชุมพร  เพื่อสร้างทางและสะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 6 ถึงข้อ 8 รวม  ฉบับ 
                     กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลดอนยาง ตำบลบางสน           อำเภอปะทิว  และตำบลนาชะอัง  อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร  เพื่อสร้างทางรถไฟทางคู่
                       
15. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลโคกเพลาะ ตำบลวัดหลวง ตำบลหัวถนน ตำบลหนองปรือ ตำบลไร่หลักทอง ตำบลหนองเหียง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลโคกเพลาะ ตำบลวัดหลวง ตำบลหัวถนน ตำบลหนองปรือ ตำบลไร่   หลักทอง ตำบลหนองเหียง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ   ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของร่างประกาศ
              กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลโคกเพลาะ ตำบลวัดหลวง ตำบลหัวถนน ตำบลหนองปรือ ตำบลไร่หลักทอง ตำบลหนองเหียง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก อำเภอ    พนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เป็นกรณีที่มีความจำเป็น    โดยเร่งด่วน


16. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม ตำบลมาบแก ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว ตำบลปางสวรรค์ ตำบลชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้       การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม ตำบลมาบแก ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว ตำบลปางสวรรค์ ตำบลชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของร่างประกาศ
              กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยน้ำหอม ตำบลมาบแก ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ ตำบลวังเมือง อำเภอลาดยาว ตำบลปางสวรรค์ ตำบลชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ และตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน

17.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
              ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลท่าผา ตำบลลาดบัวขาว ตำบลปากแรต ตำบลเบิกไพร ตำบลบ้านโป่ง ตำบลสวนกล้วย ตำบลหนองกบ ตำบลหนองอ้อ และตำบลนครชุมน์ อำเภอบ้านโป่ง       จังหวัดราชบุรี

18. เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ....
               คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
               ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลศาลาแดง ตำบลบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว ตำบลคลองนครเนื่องเขต ตำบลบางขวัญ ตำบลท่าไข่ ตำบลคลองหลวงเพ่ง ตำบลคลองอุดมชลจร ตำบลหนามแดง ตำบลวังตะเคียน ตำบลคลองเปรง ตำบลบางเตย ตำบลโสธร ตำบลบางกะไห ตำบลบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และตำบลเกาะไร่ ตำบลเทพราช ตำบลคลองประเวศ ตำบลบางกรูด ตำบลสนามจันทร์         ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

19. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลองครักษ์  ตำบลศรีษะกระบือ  ตำบลบางลูกเสือ  ตำบลพระอาจารย์ ตำบลบางสมบูรณ์  อำเภอองครักษ์  จังหวัดนครนายก  และตำบลดอนเกาะกา ตำบลสิงโตทอง  ตำบลหมอนทอง ตำบลบางน้ำเปรี้ยว      อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา  เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลองครักษ์  ตำบลศรีษะกระบือ  ตำบลบางลูกเสือ  ตำบลพระอาจารย์ ตำบลบางสมบูรณ์  อำเภอองครักษ์  จังหวัดนครนายก  และตำบลดอนเกาะกา ตำบลสิงโตทอง  ตำบลหมอนทอง ตำบลบางน้ำเปรี้ยว  อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา  เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มี     ข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการกำหนดให้การเวนคืนอสังหา       ริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลองครักษ์  ตำบลศรีษะกระบือ   ตำบลบางลูกเสือ ตำบลพระอาจารย์                ตำบลบางสมบูรณ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก  และตำบลดอนเกาะเต่า  ตำบลสิงโตทอง             ตำบลหมอนทอง ตำบลบางน้ำเปรี้ยว  อำเภอบางน้ำเปรี้ยว  จังหวัดฉะเชิงเทรา  เป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน  เพื่อก่อสร้างตามโครงการขยายทางหลวงชนบท นย. 3001 ได้ทันตามกำหนดเวลา

20. เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนามะเขือ  อำเภอปลาปาก            จังหวัดนครพนม  ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....
              คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่           ตำบลนามะเขือ  อำเภอปลาปาก  จังหวัดนครพนม  ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ
                สาระสำคัญของเรื่อง
                กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า  เนื่องจากในท้องที่ตำบลมะเขือ  อำเภอปลาปาก     จังหวัดนครพนม  มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็นของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ  หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก  สมควรกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าวให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน   เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน และเป็นการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม   และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดิน       เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยได้ดำเนินการตามแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรในท้องที่ แล้ว
              ร่างพระราชกฤษฎีกามีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน  ในท้องที่ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก   จังหวัดนครพนม  ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

21.  เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน  ในท้องที่ตำบลเวียง         อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  พ.ศ. ....
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน      ในท้องที่ตำบลเวียง  อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  พ.ศ. ....  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว  ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และหากไม่มีข้อทักท้วงใด ๆ  ให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่เสนอ 
                สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน       ในท้องที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้า



เศรษฐกิจ-สังคม

22.  เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี
              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี และเห็นชอบถ้อยคำส่งเสริมการท่องเที่ยวในต่างประเทศโดยใช้ “Amazing Thailand : 2015 discover Thainess” และ “การท่องเที่ยววิถีไทย” สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยมีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 2.2 ล้านล้านบาท ภายในปี 2558 ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                สาระสำคัญของเรื่อง
              กก. รายงานว่า
               1. กก. ได้ประชุมกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำยุทธศาสตร์ไปปรับใช้สู่การปฏิบัติอย่างเต็มศักยภาพ โดยให้แต่ละหน่วยงานจัดทำรายละเอียดที่สำคัญในแต่ละยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องตามแผนการดำเนินงานในปี 2558 เพิ่มเติม และกำหนดเป้าหมายการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2558 จำนวน 2.2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ให้มีการเพิ่มเติมเรื่องลานจักรยานตามนโยบายนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นเรื่องการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวโดยเป็นการจัดทำลานกีฬา                ซึ่งประกอบด้วย ทางจักรยาน ลานกีฬา และสวนสาธารณะอยู่ในพื้นที่เดียวกันเข้าร่วมด้วย
                2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ     พ.ศ. 2555 – 2559 มี 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน      ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาสินค้า บริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมการท่องเที่ยว  ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

23.  เรื่อง การแก้ไขปัญหายางพาราตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่        16 ตุลาคม 2557 (โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบยาง)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแก้ไขปัญหายางพาราตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557   (โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบยาง) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ  ดังนี้ 
1.  ให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยจัดสรรเงินชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี 
ให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อชดเชยให้กับผู้ประกอบการยางและเป็นผู้ดำเนินการตั้งค่าใช้จ่ายในการชดเชยดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท  จากสำนักงบประมาณ (สงป.)
2.  ให้ สงป. ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ จำนวน 1 ล้านบาท ให้แก่กรม
ส่งเสริมอุตสาหกรรม อก. จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่กระทรวงการคลัง (กค.)  ได้อนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีแล้ว       เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกำกับการดำเนินงานโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน             แก่ผู้ประกอบการยาง ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้

24.  เรื่อง  การดำเนินการตามมาตรการควบคุมการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและ       ไร้การควบคุม
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินการตามมาตรการควบคุมการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                1. ให้คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ (ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งแล้ว)  ให้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาในการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม [Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) Fishing] ในระดับชาติ พร้อมเร่งรัดการจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (NPOA-IUU) โดยกำหนดภารกิจและมอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติโดยเร็ว
                2. เร่งรัดให้มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เรือประมงไทยขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป   ติดตั้งระบบติดตามเรือ (VMS) เพื่อให้สามารถควบคุมและติดตามการทำประมงของเรือดังกล่าว
                3. มอบหมายให้กรมเจ้าท่าเป็นหน่วยหลัก Competent Authority ร่วมกับกรมประมง ภายใต้กฎระเบียบ IUU ของสหภาพยุโรป ในการดำเนินการควบคุมการประมง IUU ของเรือประมงไทย
                4. สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมและติดตามตำแหน่งเรือประมงนั้น ให้ กษ. ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ

25. เรื่อง การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่            25 พฤศจิกายน 2556
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                1. รับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพิ่มเติมจาก        มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 ที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้พิจารณาแล้วในการประชุมครั้งที่ 8/2557 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2557 และการประชุมครั้งที่ 9/2557 เมื่อวันที่               21 กรกฎาคม 2557
                2. เห็นชอบให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐนำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงาน            อันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ การเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการก่อสร้าง และการพิจารณาไม่ลงโทษเป็นผู้ทิ้งงาน (เพิ่มเติม) ที่ กวพ. ได้พิจารณาแล้ว ไปถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) นำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวไปใช้บังคับในการจัดจ้างก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้วยโดยอนุโลม

26. เรื่อง  รายงานสรุปผลดำเนินงานการกำกับดูแลการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิต        ปี 2556/2557
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิต      ปี 2556/2557 ของคณะกรรมการกำกับการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในฤดูการผลิตปี 2556/2557 ประจำเดือนกันยายน 2557 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)  เสนอ 
                สาระสำคัญของเรื่อง
              อก.รายงานว่า
                ผลการจ่ายเงินเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต 2556/2557 ณ วันที่ 30 กันยายน 2557      มีดังนี้
1. วงเงินที่ใช้ดำเนินการ
มีชาวไร่อ้อยที่เป็นคู่สัญญาและมีสิทธิ์ในการได้รับเงินเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้น  160 บาทต่อ
ตัน  จำนวน 146,491 ราย ปริมาณอ้อยเข้าหีบ (ณ วันปิดหีบ) จำนวน 103,665,750.460 ตัน  รวมเป็นเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้น จำนวน 16,586,520,073.60 บาท

2. การดำเนินการ
(1)               กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายได้แจ้งให้ ธ.ก.ส. โอนเงินเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการ
ผลิตปี 2556/2557 อัตรา 160 บาทต่อตัน  เข้าบัญชีชาวไร่อ้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 จนถึงขณะนี้โอนเงินแล้ว จำนวน 10 งวด  จำนวนเงินทั้งสิ้น 16,519,676,791.04 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.60 ของวงเงินที่ต้องช่ายทั้งหมด
(2)               ปริมาณอ้อยส่วนที่เหลือจำนวน 417,770.516 ตัน คิดเป็นเงินช่วยเหลือจำนวน
66,843,282.56 บาท อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยได้ชะลอการจ่ายเงิยช่วยเหลือชาวไร่อ้อย  จำนวน 1,928 ราย ปริมาณอ้อย 351,657.170 ตัน  จำนวนเงิน 56,265,147.20 บาท  เนื่องจากยังไม่ได้จดทะเบียนชาวไร่อ้อย และอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลของคณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงานปริมาณอ้อย 66,113.346 ตัน จำนวนเงิน 10,578,135.36 บาท

27. เรื่อง การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2558
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2558 
ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้
                สาระสำคัญของเรื่อง
                มท. รายงานว่า ได้คาดการณ์สถานการณ์ภัยแล้งจากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และการประปาส่วนท้องถิ่น พบว่ามีแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงในปี 2558       จะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยอาจเกิดเร็วขึ้น มีห้วงเวลาที่ยาวนานขึ้น และมีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2558 มท. จึงจัดทำคำชี้แจง ดังนี้
                1. การกำหนดพื้นที่เป้าหมายซึ่งคาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้ง มีการพิจารณาหลักเกณฑ์พื้นที่ซึ่งคาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
                   1.1 ข้อมูลปริมาณน้ำฝนสะสมเฉลี่ย พบว่าปริมาณฝนสะสมเฉลี่ย ปี 2557 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี
                  1.2 ข้อมูลคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนห้วง 3 และ 6 เดือน พบว่า เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้นภาคใต้
                  1.3 ข้อมูลน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ พบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ ปี 2557 ต่ำกว่าปี 2556 ถึง 8,579 ล้านลูกบาศก์เมตร
                1.4 ข้อมูลระบบประปาทุกระบบ ประเทศไทยมี 23 ล้านครัวเรือน มีครัวเรือนที่ไม่มีระบบประปาใช้ จำนวนร้อยละ 17 มีระบบประปาใช้ร้อยละ 83 ประกอบด้วย การประปานครหลวงร้อยละ 9     การประปาส่วนภูมิภาคร้อยละ 16 การใช้ระบบประปาท้องถิ่นร้อยละ 58
                  1.5 ข้อมูลหมู่บ้านที่มีการประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติจากการขาดแคลนน้ำอุปโภค ย้อนหลัง 3 ปี (2555 - 2557) จำนวน 74,963 หมู่บ้าน ปรากฏว่ามีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งขาดแคลนน้ำอุโภคบริโภคต่อเนื่อง 3 ปี จำนวน 9,535 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 12.72 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังและติดตาม
                2. การเตรียมการเพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคใช้
                     2.1 การขุดลอกคูคลอง ได้ดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าจะเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง 31 จังหวัด จำนวน 259 โครงการ
                     2.2 การผลิตน้ำประปา
                          2.2.1 สนับสนุนการจัดสรรน้ำดิบเพื่อการผลิตให้กับการประปาส่วนภูมิภาคและการประปาท้องถิ่นได้ตลอดฤดูแล้ง โดยประสานกรมชลประทานให้จ่ายน้ำอย่างต่อเนื่อง ขุดลอกแหล่งน้ำดิบและซ่อมบ่อบาดาลที่เป็นแหล่งน้ำดิบ
                        2.2.2 สนับสนุนน้ำประปาท้องถิ่นให้สามารถแจกจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งได้อย่างเพียงพอ
                        2.2.3 เร่งรัดการก่อสร้างระบบประปาท้องถิ่นเพิ่มเติมในพื้นที่ที่คาดการณ์ว่าจะประสบภัยแล้ง 31 จังหวัด จำนวน 929 โครงการ
                        2.2.4 วางระบบการกระจายน้ำ โดยรถบรรทุกน้ำไปยังหมู่บ้านที่ไม่มีระบบประปา จำนวน 482 หมู่บ้าน และหมู่บ้านที่มีระบบประปาแล้วแต่ชำรุด จำนวน 1,183 หมู่บ้าน
                     2.3 การจัดการระบบน้ำบาดาล
                        2.3.1 ข้อมูลบ่อบาดาล มีจำนวนบ่อบาดาล 152,849 บ่อ
                        2.3.2 อยู่ในพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง 31 จังหวัด จำนวน 79,595 บ่อ ชำรุด 19,410 บ่อ สามารถซ่อมแซมให้ทันใช้งานในฤดูแล้งนี้ 14,623 บ่อ
                3. แผนเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
                     3.1 สำรวจพื้นที่ หมู่บ้าน ตำบล ที่คาดว่าจะประสบภัยแล้ง
                     3.2 จัดเตรียมบุคลากร เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติงาน
                     3.3 สำรวจภาชนะรองรับน้ำ และจุดแจกจ่ายน้ำกลางประจำหมู่บ้านพร้อมทำแผนแจกจ่าย
                4. แผนปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือ
                     4.1 บูรณาการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการกำหนดจุดจ่ายท่อธารน้ำ ซึ่งเป็นจุดบริการน้ำอุปโภคบริโภคของสำนักงานประปาส่วนภูมิภาคทุกสาขาทั่วประเทศ 234 แห่ง รวมถึงระบบประปาของท้องถิ่น
                     4.2 นำรถราชการบรรทุกน้ำสะอาดไปยังจุดจ่ายน้ำกลางโดยกำหนดรอบเวลาและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง
                     4.3 บูรณาการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแบ่งหน้าที่และพื้นที่ความรับผิดชอบ โดยประสานกระทรวงสาธารณสุขให้ดูแลรักษาสุขภาพประชาชน ให้ความรู้กรณีโรคระบาดในช่วงฤดูแล้ง ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับจากอาชญากรรมในช่วงฤดูแล้ง ให้กระทรวงกลาโหมและศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของทุกเหล่าทัพบูรณาการแผนปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยแล้ง ส่วน มท. จะบูรณาการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมรายได้แก่ประชาชน ผู้ประสบความเดือดร้อนจากการว่างงาน ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยการจ้างแรงงานเพื่อทำงานในโครงการของส่วนราชการที่จัดสรรงบประมาณลงในพื้นที่
                5. แผนการสร้างความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชน
                    5.1 นโยบายของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรี มาตรการและแผนปฏิบัติการของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอประชุมร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยให้ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องในนโยบายการช่วยเหลือผู้ประสบ      ภัยแล้ง ตลอดจนสร้างความตระหนักและขอความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัด
                    5.2 การปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด/อำเภอ เพื่อรับข้อมูลปัญหาและข้อเรียกร้องจากประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ให้นำเสนอให้รัฐบาลเพื่อพิจารณาแนวทางให้การช่วยเหลือต่อไป  

ต่างประเทศ
28. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐเกาหลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ ดังนี้
                1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐเกาหลี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบ
ร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                2. มอบให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการดำเนินการออกประกาศหรือเพื่อรองรับการยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าน้ำตาลทรายดิบจากอ้อยภายใต้ AKFTA ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วตามมติคณะรัฐมนตรี                 วันที่ 21 ตุลาคม 2557 ต่อไปด้วย
                3. มอบให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
               สาระสำคัญของเรื่อง
              พณ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. การยกเลิกภาษีและยกเลิกโควตาน้ำตาลทรายดิบที่ได้จากอ้อยของไทยสามารถดำเนินการได้ตามพันธกรณีของพิธีสารฉบับที่สอง (Second Protocol to Amend the Agreement on Trade in Goods under AKFTA) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 โดยไทยจะดำเนินการโอนย้ายสินค้าน้ำตาลทรายดิบจากอ้อยที่ผูกพันเป็นสินค้าอ่อนไหวไว้ใน Category D (สินค้าโควตาภาษี) ไปอยู่ในสินค้าภาษีปกติแล้วลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 ทันที ซึ่งจะทำให้ไทยได้สิทธิอัตราภาษีร้อยละ 0 สินค้าน้ำตาลทรายดิบที่ได้จากอ้อยภายใต้ AKFTA จากสาธารณรัฐเกาหลี
                2. พณ.จึงต้องออกประกาศเพื่อรองรับการยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าน้ำตาลทราบดิบจากอ้อยภายใต้ AKFTA ตามข้อ 1 ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อดำเนินการแจ้งต่อสาธารณรัฐเกาหลีเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการต่อไป
               ร่างประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญ  เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การนำสินค้าที่ประเทศไทยมีพันธกรณีความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลกเข้ามาในราชอาณาจักรตามความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสาธารณรัฐเกาหลี พ.ศ.2553 โดยโอนย้ายสินค้าน้ำตาลทรายดิบจากอ้อย [พิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า ประเภทย่อยที่ 1701.11.00 (หรือพิกัดปัจจุบัน ปี 2012 : 1701.13.00 และ 1701.14.00)] ที่ผูกพันเป็นสินค้าอ่อนไหวไปเป็นสินค้าปกติภายใต้หลักการต่างตอบแทน ตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN – Korea Free Trade Agreement : AKFTA)

29. เรื่อง การลงนามในร่างความตกลงเพื่อความร่วมมือด้านภาษีอากรระหว่างประเทศและการปฏิบัติตาม FATCA
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือด้านภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA) และร่างบันทึกความเข้าใจประกอบการลงนามในความตกลง FATCA
                2. ให้นำร่างความตกลง FATCA และร่างบันทึกความเข้าใจฯดังกล่าว เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามนัยมาตรา 23 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
                3. อนุมัติให้มีการลงนามในร่างความตกลง FATCA และร่างบันทึกความเข้าใจฯ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบตามข้อ 2 แล้ว และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลง FATCA และร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยหากมี ความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญในร่างความตกลง FATCA หรือร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้    ผู้ลงนามสามารถใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินการ
                สาระสำคัญของร่างความตกลงและร่างบันทึกความเข้าใจ
                1. ร่างความตกลง FATCA เป็นการกำหนดรายละเอียดของความร่วมมือที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการเก็บภาษี โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูล กำหนดเวลาและวิธีแลกเปลี่ยนข้อมูล การยกเว้นให้สถาบันการเงินไทยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในของสหรัฐฯ รวมถึงขั้นตอนในการแก้ไขและยกเลิกสัญญา
                2. เอกสารแนบท้ายความตกลง 1 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง เป็นการกำหนดขั้นตอนในการตรวจสอบข้อมูลลูกค้าที่สถาบันการเงินภายใต้ความตกลง FATCA จะต้องดำเนินการเพื่อระบุบัญชีที่สถาบันการเงินต้องรายงาน
                3. เอกสารแนบท้ายความตกลง 2 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง เป็นการกำหนดประเภทสถาบันการเงินไทยที่ได้รับยกเว้นหรือผ่อนผันให้ไม่ต้องรายงานข้อมูล เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการเกษียณอายุประเภทต่าง ๆ สถาบันการเงินที่มีลูกค้าต่างชาติน้อยมาก สหกรณ์ สถาบันการเงินขนาดเล็ก บัญชีเงินฝากที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ บัญชีที่ได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมายไทย    เป็นต้น
                4. ร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) เป็นความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการยกเว้นการรายงานข้อมูลของผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรายย่อยและการดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายของไทยเพื่อให้ความตกลง FATCA มีผลสมบูรณ์ รวมถึงกำหนดขั้นตอนในการขยายเวลาการสิ้นสุดของความตกลงหากประเทศไทยยังไม่สามารถเริ่มส่งข้อมูลให้สหรัฐฯ ได้ตามข้อกำหนดของความตกลง FATCA 

30. เรื่อง เอกสารผลการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 13
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาริยาดสำหรับการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย       (Asia Cooperation Dialogue – ACD) ครั้งที่ 13
                2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาข้างต้น
                3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาข้างต้นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                สาระสำคัญของเรื่อง
              กต. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า
                1. กรอบความร่วมมือเอเชียจัดตั้งขึ้นโดยข้อริเริ่มของไทยเมื่อปี 2545 เพื่อเป็นเวทีของภูมิภาคเอเชียในการเสริมสร้างผลประโยชน์ร่วมกันจากการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเอเชีย รวมทั้งเป็นเวทีหารือระดับนโยบายเพื่อวางแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา และความท้าทายต่าง ๆ ตลอดจนส่งเสริมการค้า ขยายตลาด และขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค ปัจจุบันกรอบความร่วมมือ ACD มีรัฐสมาชิก      33 รัฐ โดยไทยมีบทบาทเป็นประเทศผู้ประสานงาน ACD มาโดยตลอด
                2. รัฐสมาชิก ACD จะหมุนเวียนกันเป็นประธานและเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรี โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี ปัจจุบันมีซาอุดีอาระเบียเป็นประธาน ซาอุดีอาระเบียเข้ารับตำแหน่งประธานในการประชุมรัฐมนตรี ACD คู่ขนานกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 69 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557
                3. การประชุมรัฐมนตรี ACD ครั้งที่ 13 ซึ่งซาอุดีอาระเบียจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 ณ กรุงริยาด จะมีการพิจารณารับรองร่างปฏิญญาริยาดสำหรับการประชุมรัฐมนตรี ACD ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ การศึกษาที่เป็นเลิศ เส้นทางสู่อนาคต (“Outstanding Education – the Road to the Future”) เป็นเอกสารผลการประชุม
                4. ร่างปฏิญญาริยาดสำหรับการประชุมรัฐมนตรี ACD ครั้งที่ 13 ให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ ภายใต้หัวข้อการประชุม การศึกษาที่เป็นเลิศ เส้นทางสู่อนาคต นอกจากนี้ร่างปฏิญญามีสาระสำคัญอื่น ๆ อาทิ เช่น การส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ความร่วมมือทางวัฒนธรรม การดำเนินงานภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือด้านพลังงาน เป็นต้น การลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร
                5. โดยที่ร่างปฏิญญาริยาดมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกในสาขาที่ ACD ให้ความสำคัญ โดยมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีบริบทที่เป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศอีกทั้งจะไม่มีการลงนามในร่างปฏิญญาฯ ดังนั้น ร่างปฏิญญาริยาดจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.. 2557

31. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงพลังงานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน
              คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง พน. แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงพลังงานแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน
                2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ พน. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                สาระสำคัญของเรื่อง
              ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ยังคงมีเนื้อหาเหมือนเดิมตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบไปแล้ว (เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556) โดยสรุปสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้ดังนี้
                1. ความร่วมมือระหว่างคู่ภาคีจะดำเนินการโดยสอดคล้องกับกฎหมายของรัฐคู่ภาคี และจะครอบคลุมขอบเขตต่าง ๆ ได้แก่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก
                2. คู่ภาคีจะดำเนินความร่วมมือตามที่อ้างถึงในข้อ 1 ในด้านการสำรวจไฮโดรคาร์บอน
การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับพลังงาน การก่อสร้างและการใช้โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่ง การเก็บ และการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ การผลิต การขนส่ง และการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ และจากความร้อนใต้พิภพ การปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน ความร่วมมือด้าน
อื่น ๆ ตามที่คู่ภาคีจะตกลงกัน
                3. ความร่วมมือระหว่างคู่ภาคีภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้สามารถดำเนินการได้ตามรูปแบบการหารือแบบทวิภาคี การแลกเปลี่ยนข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับพลังงานที่หาได้จากแหล่งที่เปิดเผย
อย่างสม่ำเสมอ และรูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ ตามแต่คู่ภาคีจะตกลงกัน
                4. การประสานความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ คู่ภาคีจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของคู่ภาคี และของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานจะกำหนดโครงการต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงานร่วมกัน จัดทำโครงการความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระยะยาวที่ครอบคลุม ตามทิศทางของกิจกรรม และกำหนดมาตรการสำหรับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่จำเป็นเพื่อให้โครงการสามารถประสบความสำเร็จได้ วาระ เวลา และสถานที่ สำหรับการประชุมคณะทำงานจะจัดขึ้นตามที่คู่ภาคีจะตกลงกัน
การประชุมของคณะทำงานจะจัดขึ้นที่สหพันธรัฐรัสเซียและประเทศไทยสลับกัน โดยคาดว่าจะจัดการประชุม
ปีละครั้ง
                5. คู่ภาคีจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของตนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามบันทึกความเข้าใจนี้ นอกจากจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
                6. คู่ภาคีอาจตกลงยึดหลักการการเก็บรักษาความลับและการคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเกิดจากผลของกิจกรรมที่ดำเนินร่วมกัน ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับกฎหมายของรัฐคู่ภาคี
                7. บันทึกความเข้าใจนี้มิใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
ใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิ หรือข้อผูกพันใด ๆ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
                8. ข้อโต้แย้งที่เกิดจากการแปลหรือการใช้บันทึกความเข้าใจนี้ จะตกลงกันโดยการปรึกษาหารือฉันมิตรระหว่างคู่ภาคี
                9. บันทึกความเข้าใจนี้อาจมีการแก้ไขโดยความเห็นชอบเป็นลายลักษณ์อักษรของคู่ภาคีโดยช่องทางการทูต
                10. บันทึกความเข้าใจนี้จะมีผลนับแต่วันลงนามและมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 3 ปี และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาเดียวกัน เว้นแต่ว่าภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงความตั้งใจที่จะไม่ขอต่ออายุบันทึกความเข้าใจนี้ ซึ่งการสิ้นสุดการใช้บันทึกความเข้าใจนี้จะไม่มีผลต่อกิจกรรมและโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือที่กำลังดำเนินการอยู่ตามบันทึกความเข้าใจนี้ จนกว่ากิจกรรมและโครงการนั้น ๆ จะเสร็จสิ้น หรือแล้วแต่ที่คู่ภาคีจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
                11. บันทึกความเข้าใจระหว่าง พน. ไทยและกระทรวงพลังงานสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงาน จะจัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษารัสเซีย โดยหากมีข้อโต้แย้งและมีการตีความที่คลาดเคลื่อนจะยึดร่างบันทึกความเข้าใจฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลักในการตีความ
                พน. พิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการวางกรอบความร่วมมือด้านพลังงานของทั้งสองประเทศ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยวางกรอบกว้าง ๆ ในการดำเนินงาน และไม่มีข้อผูกมัด รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมาย และจะไม่มีผลเป็นการผูกพันโดยเจาะจงแก่ประเทศไทยในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือการค้าการลงทุนอย่างกว้างขวางแต่อย่างใด

32. เรื่อง ร่างกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ)
                คณะรัฐมนตรีมิมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้
                1. เห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และหากมีการแก้ไขถ้อยคำหรือประเด็นที่มิใช่สาระสำคัญ ให้อยู่ในดุลพินิจของ พม. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                2. อนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามร่างกรอบความร่วมมือฯ พร้อมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เป็นผู้แจ้งความเห็นชอบของไทยต่อสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา
                สาระสำคัญของร่างกรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
                1. เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติกับอาเซียนในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือทางวิชาการด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม และการพัฒนาอย่างรอบด้าน และมุ่งเน้นการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมทั้งสนับสนุนต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ตามปฏิญญาแห่งสหัสวรรษเพื่อการพัฒนา
                2. มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการลงนามร่วมกันของคู่ภาคี หลังจากนั้นอาจขยายระยะเวลาออกไปอีก 5 ปี หากได้รับการเห็นชอบร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างคู่ภาคี และอาจถูกยกเลิกเมื่อใดก็ได้โดยคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยต้องมีการแจ้งให้คู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเวลา 6 เดือน โดยการยกเลิกนี้ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของแผนงานหรือโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

33. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการรับรองร่างปฏิญญาโคลัมโบเพื่อการส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งในยุคหน้าของภูมิภาคเอเชีย
              คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการรับรองร่างปฏิญญาโคลัมโบเพื่อการส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งในยุคหน้าของภูมิภาคเอเชีย (Draft Colombo Declaration – For the Promotion of Next Generation Low Carbon Transport Solution in Asia) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งจะมีการรับรองในที่ประชุมด้านการขนส่งอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 8 (Intergovernmental Eighth Regional Environmentally Sustainable Transport (EST) Forum in Asia) ระหว่างวันที่ 19 – 21 พฤศจิกายน 2557 ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ที่มิใช่สาระสำคัญก่อนการให้การรับรอง ให้ คค. สามารถดำเนินการได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของคณะผู้แทนไทย
                สาระสำคัญของร่างปฏิญญาโคลัมโบฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมฯ ซึ่งประกอบด้วย ประเทศอัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ภูฏาน บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ มองโกเลีย เมียนมา เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ศรีลังกา ประเทศไทย ติมอร์เลสเต และเวียดนาม องค์การระหว่างประเทศ องค์การทวิภาคีและพหุภาคีต่าง ๆ องค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล องค์กรวิจัยต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งที่ยั่งยืน
                คค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างปฏิญญาโคลัมโบฯ มีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นของประเทศสมาชิกในการพัฒนาระบบขนส่งอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในส่วนของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ คค. ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่ง รวมทั้งระบบบริหารจัดการเพื่อให้เกิดระบบการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คค. ได้กำหนดแผนปฏิบัติการที่ครอบคลุมโครงการต่าง ๆ ในการพัฒนาการขนส่งที่ประหยัดพลังงานและลดการปล่อยมลพิษ และส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่ระบบการขนส่งที่ประหยัดพลังงานและก่อมลพิษน้อยลง และจะมีการรับรองในที่ประชุมฯ โดยไม่ต้องมีการลงนาม จึงไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
34.  เรื่อง  การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ  ครั้งที่ 14 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ASEAN Telecommunications and IT Minister Meeting : ASEAN
TELMIN) ครั้งที่ 14 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ    การสื่อสาร (ทก.) กำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 23 มกราคม 2558 ณ กรุงเทพมหานคร ตามที่ทก. เสนอ
                สาระสำคัญของเรื่อง
                ทก.รายงานว่า
                1. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาและเทคโนโลยีสารสนเทศ ASEAN TELMIN เป็นการประชุมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาและหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย โดยครอบคลุมเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การลดช่องว่างทางดิจิทัล รวมถึงการดำเนินการตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน (ASEAN ICT Masterplan 2015) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
                2. การประชุม ASEAN TELMIN กำหนดให้จัดขึ้นปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพเรียงลำดับตามชื่อประเทศอักษรโรมันและจะมีการประชุม ASEAN TELMIN กับคู่เจรจา (ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย สหภาพยุโรป และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) โดยจะมีการประชุมระดับคณะทำงานและการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรี
                3. ในปี 2556 ประเทศสิงคโปร์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN TELMIN ครั้งที่ 13 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 – 15 พฤศจิกายน 2556 ดังนั้น การประชุม ASEAN TELMIN   ครั้งที่ 14 จึงเวียนมาครบวาระที่ประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวรวมทั้งการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

แต่งตั้ง
35. เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (จำนวน 10 ส่วนราชการ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่ 10 ส่วนราชการเสนอการแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน        34 คณะ ซึ่งได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่บางคณะแล้ว และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการยกร่างระเบียบเพื่อรองรับคณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของสำนักงานอัยการสูงสุด
ลำดับที่
ส่วนราชการ
รายชื่อคณะกรรมการ
1.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.)
1. คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ ทก.
2. คณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ
3. คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ
4. คณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน
5.คณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร



2.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)
1. คณะกรรมการพิจารณาเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
2. คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (กรอ.วท.)
3. คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
4. คณะกรรมการบริหารโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย
3.
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
1. คณะกรรมการประสานงานฝ่ายไทยว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศอาเซียน
2. คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย วธ.
3. คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย
4. คณะกรรมการอำนวยการและควบคุมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
5. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ   (The Thai Nation Committee for international Council of Museum)
6. คณะกรรมการอำนวยการและควบคุมการดำเนินงานโครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
7. คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
8. คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ
4.
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
1. คณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี
2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้าระหว่างประเทศ (กมฟท.)
 3. คณะกรรมการว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า
4. คณะกรรมการดัชนีอุตสาหกรรม
5.
สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.)
1. คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.)
6.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
1. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
2. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา
4. คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท และองค์กรทางธุรกิจ
7.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

1. คณะกรรมการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน
2. คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)
8.
สำนักงบประมาณ (สงป.)
1. คณะกรรมการประสานงานระหว่างหน่วยราชการทางการเงิน
9.
สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
1. คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย
2. คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล (นอก.)
10.
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
1. คณะกรรมการกลั่นกรองการกำหนดเครื่องแบบพิเศษของส่วนราชการ
2. คณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือทุนการศึกษารายปีต่อเนื่องและเงินยังชีพรายเดือนแก่บุตรเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง การรักษาความสงบเรียบร้อย และการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศที่เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ (คทช.)
3. คณะกรรมการบริหารและติดตามการดำเนินงานโครงการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                1. นายสุนัย อภิรักษ์ธาธาร ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง ดำรงตำแหน่ง สถาปนิกใหญ่ (สถาปนิกทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2556
                2. นายเกียรติศักดิ์  จันทรา รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2557
                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้ข้าราชการลำดับที่
1. พ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป 

37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนางชนาทิพย์ วีระสืบพงศ์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

38. เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (จำนวน 5 ส่วนราชการ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ดังนี้
                1. แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ของ 5 ส่วนราชการ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 36 คณะ
                2. ให้ส่วนราชการที่ยังไม่ได้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่ตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีเร่งดำเนินการเสนอแต่งตั้งโดยเร็ว ทั้งนี้ หากส่วนราชการใดไม่เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้ถือว่าส่วนราชการนั้นไม่ประสงค์จะแต่งตั้งคณะกรรมการฯ


ลำดับที่
ส่วนราชการ
รายชื่อคณะกรรมการ
1.
ทส.
1. คณะกรรมการอำนวยการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์
ปีที่ 50
2. คณะกรรมการบริหารโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50
3. คณะกรรมการกองทุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50
4. คณะกรรมการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ประจำจังหวัด
5. คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติ
6. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก
7. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าแห่งชาติ (คปป.)
8. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้พะยูงบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ระดับประเทศ (ฝ่ายไทย)
2.
มท.
1. คณะกรรมการพิจารณาตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอ
2. คณะกรรมการสถาบันดำรงราชานุภาพ
3. คณะกรรมการศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพและหลบหนีเข้าเมือง
4. คณะกรรมการบริหารเขตอุตสาหกรรมปัตตานี
5. คณะกรรมการที่ปรึกษาเขตอุตสาหกรรมปัตตานี
6. คณะกรรมการอำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ
7. คณะกรรมการบูรณาการและปฏิรูประบบการทะเบียนแห่งชาติ
8. คณะกรรมการพิจารณาให้สัญชาติและให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่ชนกลุ่มน้อย
9. คณะกรรมการบูรณาการการบริหารจัดการที่เชิงระบบ (กบช.)
10. คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ
3.
กค.
1. คณะกรรมการป้องปรามธุรกิจการเงินนอกระบบ
2. คณะกรรมการพิจารณากำหนดสำนักงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่พิเศษ
3. คณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ
4. คณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง-คูเมือง
5. คณะกรรมการพิจารณาการขาย การแลกเปลี่ยน การให้ การจำหน่ายจ่ายโอน หรือจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลไทยในต่างประเทศ
6. คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
7. คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ
8. คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
9. คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
10. คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งทุนหมุนเวียน
11. คณะกรรมการอำนวยการเพื่อกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรการและเงื่อนไขเพื่อนำที่ราชพัสดุมาจัดให้เช่าทำการเกษตร
12. คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
13. คณะกรรมการกำกับหลักเกณฑ์และตรวจสอบราคากลางงานก่อสร้าง
4.
ยธ.
คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
5.
วช.
1. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.)
2. คณะกรรมการโครงการความร่วมมือการวิจัยระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
3. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประสานงานของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU-ไทย)
4. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อพัฒนางานเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 9 ราย ในจำนวนนี้เป็นการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ จำนวน 4 ราย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว ดังนี้
                1. นายจักรกฤษณ์ ศรีวลี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอาเซียน
                2. นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน
                3. นายพิริยะ เข็มพล เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมาน ราชอาณาจักร   ฮัชไมต์จอร์แดน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                4. นายอภิชาติ เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน บรูไนดารุสซาลาม ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมาน ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน
                5. นายเจษฎา ชวาลภาคย์ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง        ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส สาธารณรัฐอาร์เจนตินา
                6. นายอิศร ปกมนตรี เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ สาธารณรัฐเซเนกัล ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                7. นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
                8. นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง



                9. ร้อยโท จอมพละ เจริญยิ่ง อัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน
ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

40. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้ต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ        (ครั้งที่ 1) (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 จะครบกำหนด 4 ปี  ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ต่อไปอีกเป็นครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2558 (เกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ตุลาคม 2558) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ     การสื่อสารเสนอ

41. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
                คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
                1. นายเทียม อังสาชน ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                2. นายยงยศ ธรรมวุฒิ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

42. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย ดังนี้
                1. นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                2. นายชาญวิทย์ ทับสุพรรณ รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                3. นายสุรพงษ์ จำจด รองเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                4. นายเกษม สดงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                5. นายสุภัทร จำปาทอง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                6. นางทิพย์สุดา สุเมธเสนีย์ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                7. นายชาญเวช บุญประเดิม ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

43. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน จำนวน 6 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบตามวาระ ดังนี้ 1. นางบุญทิพา สิมะสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการค้าระหว่างประเทศ                  2. นายประสัณห์ เชื้อพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบัญชี 3. นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเกษตร 4. นายศักดา ธนิตกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิติศาสตร์ 5. นายเสน่ห์ นิยมไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุตสาหกรรม 6. นางวริชนันท์ ต่อวงศ์ไพชยนต์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                 18 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

44. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ชุดใหม่ จำนวน 14 คน แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนดสี่ปีตามวาระแล้วเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2556 โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
                ผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน  1.นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ สาขาวิทยาศาสตร์ 2. นางปัจฉิมา       ธนสันติ สาขานิติศาสตร์ 3. นายชัยปิติ ม่วงกูล สาขานิติศาสตร์ 4. นางลัดดาวัลย์ กรรณนุช สาขาเกษตรศาสตร์ 5. นางมยุรา มานะธัญญา สาขาเศรษฐศาสตร์ 6. นายอัคคพันธ์ ลีวุฒินันท์ สาขาเศรษฐศาสตร์
                ผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ 1. นายทศพร นุชอนงค์ สาขาภูมิศาสตร์ 2. นายธนิต ชังถาวร สาขานิติศาสตร์ 3. นางมะลิ รักเปี่ยม สาขาวิทยาศาสตร์ 4.นายวุฒิพงษ์ อินทรธรรม สาขาวิทยาศาสตร์        5. นางวรนุช กิจสุขจิต สาขาวิทยาศาสตร์ 6.นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ สาขาเกษตรศาสตร์ 7.นางสาวศิริพร บุญชู สาขาเกษตรศาสตร์ 8. นายทรงพล สมศรี สาขาเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

45. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

46. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง นายธาดา เศวตศิลา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไปและจะมีวาระในการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคือถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558

47. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
                คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมที่ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ ดังนี้ 1. ศาสตราจารย์ภิเศก ลุมพิกานนท์ 2. ศาสตราจารย์วิภาดา คุณาวิกติกุล 3. นายศุภกิจ ศิริลักษณ์        4. นายชำนาญ พิเชษฐพันธ์ 5. รองศาสตราจารย์ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา 6. นายสุภกร บัวสาย 7. นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสรริฐ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป
***********

ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โดย www.tuewsob.com (ผอ.นิกร เพ็งลี)
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ 
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
เน็ตช้า ... คลิ๊กที่  http://tuewsob.blogspot.com
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องติวสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา) 
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 1  คลิ๊กที่ http://tuewsobkruthailand.blogspot.com
ห้อง ... ครูวิชาเอก  ห้อง 2  คลิ๊กที่ http://tuewsob2011.blogspot.com

(  คลิ๊ก ) สมัครติวสอบผู้บริหารภาค 4 ภาค 30 จุดปี 2557-2558 

ฟรี... ห้องติวสอบผู้บริหารสถานศึกษา-ครู-บุคลากรการศึกษา  ที่ 
" ติวสอบดอทคอม "  เขียน-สร้าง-บรรยาย โดย  (ผอ.นิกร  เพ็งลี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม