ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่
ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง
'วีรชัย'ขยาย4แนวคำตัดสินศาลโลกคดีพระวิหาร
'วีรชัย'ขยายความ4แนวทางคำตัดสินศาลโลกคดีพระวิหาร : ทีมข่าวความมั่นคงรายงาน
กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรงทันทีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.การต่างประเทศ ระบุว่า จะโทรศัพท์สายตรงถึง นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การต่างประเทศกัมพูชา ก่อนที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลกจะมีคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหารในวันที่ 11 พฤศจิกายน นี้
นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการต่อสู้ในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 จึงขอขยายประเด็นดังกล่าวระหว่างเดินสายชี้แจงข้อเท็จจริงในคดีนี้ต่อสื่อ "เครือเนชั่น" โดยยืนยันในเบื้องต้นว่า ท่าทีดังกล่าวไม่ได้ส่งผลได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด
เขาอธิบายว่า กลไกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการประชุมเตรียมความพร้อมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายทหาร, คณะกรรมการกฤษฎีกา, ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ, อัยการ ฯลฯ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องวิเคราะห์คำพิพากษาว่า หมายความว่าอย่างไร
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามที่ รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงนั้น เป็นการใช้กลไก "คณะกรรมาธิการร่วม" หรือ JC (Joint Commission) อันเป็นกลไกร่วมระหว่างไทย และกัมพูชา ซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่แล้ว โดยนอกจากนายสุรพงษ์ และนายฮอร์ นัมฮงแล้ว คณะกรรมาธิการร่วมยังประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 33 คน จาก 30 กว่าหน่วยงานที่จะต้องทำงานร่วมกัน
"ทั้งสองประเทศย่อมได้รับผลกระทบหลังคำพิพากษาทั้งสองฝ่าย โดยไทยมีแรงงานกัมพูชานับแสนคน ขณะที่ในกัมพูชาก็มีนักลงทุนไทย และคนที่เข้าไปทำงานหลายพันคน เราไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียวที่จะนำไปสู่ความไม่สงบ โดยกลไก JC มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยทั้ง 2 ประเทศ เราดูแลเขา เขาก็ดูแลเรา" นายณัฏฐวุฒิ กล่าว
นอกจากนี้ สถานทูตไทยในกัมพูชา และสถานทูตกัมพูชาในไทย ก็ต้องมีการดูแล รวมทั้งสถานทูตที่เป็นคณะผู้พิพากษาทั้งหมดก็ต้องดูแลด้วย
รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า การพบปะกันจะมีขึ้นก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะเคยมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งระหว่างแรงงานไทย และกัมพูชาจนทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บมาแล้ว ส่วนในวันพิพากษานอกจากจะมีการถ่ายทอดสดเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษแล้ว จะมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย ด้วย
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ได้ขยายความถึงแนวทางการตัดสิน 4 แนวทางตามที่มีการณ์คาดการณ์มาโดยตลอดว่า
แนวทางที่ 1 ศาลอาจจะตัดสินว่าศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือศาลมีอำนาจ แต่ไม่เหตุที่จะต้องตีความ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปอยู่ในสถานะเดิมก่อนที่จะมีการยื่นฟ้องศาลโลก
ประเด็นนี้เขาให้ความรู้เบื้องต้นว่า ศาลระหว่างประเทศไม่มีคำว่า "ยกฟ้อง" หรือ "จำหน่ายคดี" เหมือนศาลในประเทศที่อาจจะมีการยื่นฟ้องผิดศาล แต่ศาลอาจจะตัดสินว่า ตัวเองไม่มีอำนาจในการพิจารณคดี หรือมีอำนาจแต่ไม่มีเหตุที่จะต้องตีความ
แนวทางการตัดสินแบบนี้อาจทำให้สถานะกลับไปเหมือนตอน "ก่อนฟ้อง" คือ ไม่มีคำตอบให้ในเรื่องเขตแดน และแผนที่ โดยสองฝ่ายอาจต้องไปเจรจาตกลงกันเอาเอง
แนวทางที่ 2 ศาลอาจตัดสินว่าขอบเขตพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นไปตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา หรือใกล้เคียง
ประเด็นนี้ทูตวีรชัยยังยืนยันตามคำพูดเดิมที่เคยให้การต่อศาลว่า มีการ "ปลอมแปลงแผนที่" โดยนำเอาแผนที่หมายเลข 3 และหมายเลข 4 มาซ้อนทับกัน และเติมสีลงไปเอง
ส่วนผลของแนวทางคำตัดสินนี้อาจทำให้เขาได้พื้นที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือใกล้เคียง โดยศาลคงกำหนดบริเวณข้างเคียง ซึ่งก็คือ "เส้นเขตแดน" นั่นเอง
แนวทางที่ 3 ศาลอาจตัดสินเป็นไปตามคำร้องของฝ่ายไทย หมายถึงขอบเขตปราสาทพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อ พ.ศ.2505
ประเด็นนี้ยึดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2505 ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอไปในคดีเก่า โดยทั้งสองฝ่ายโต้แย้งกันเรื่อง "แผนที่" และ "สันปันน้ำ"
แนวทางนี้ ถ้าใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอ (เมื่อปี 2505) อาจมีพื้นที่ที่ขาดไป (ต้องคืนให้กัมพูชา) ประมาณ 0.07 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43 ไร่ (ตามแนวพื้นที่เดิม) แต่วันนี้กัมพูชาไม่ได้ขอพื้นที่เดิม แต่ขอพื้นที่ 4.5-4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
แนวทางที่ 4 คือ ศาลอาจไม่ตัดสินให้เป็นไปตามคำร้องทั้งของไทยและกัมพูชา โดยอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
ประเด็นนี้น่าจะออกไปในแนว "นามธรรม" คือ ตัดสินออกมากลางๆ หรืออาจจะตัดสินว่า คำพิพากษาปี 2505 หมายความว่าอย่างไร และให้คู่กรณีไปปรึกษาหารือกัน ซึ่งแนวทางนี้อาจเป็นประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างยิ่ง โดยอาจตัดสินว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แยกออกจากกัน หรือมีผลผูกพันกับคำพิพากษาปี 2505 หรือไม่ เป็นต้น
ทูตวีรชัยวิเคราะห์ว่า แนวทางที่ 1 เป็นไปได้น้อยที่สุด ส่วนแนวทางที่ 2 มีความเป็นไปได้มากกว่าแนวทางที่ 1 นิดหน่อย อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฝ่ายไทยเห็นว่า แนวทางที่ 4 โดยให้ทั้งสองฝ่ายไปปรึกษาหารือกันมีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ในแนวทางอื่นเช่นกัน เพราะคำพิพากษาของศาลมีความยืดหยุ่น และคาดเดาได้ยากมาก
ทูตวีรชัยยังกล่าวถึงกรณีที่มีความพยายามชี้ให้เห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกก็ได้ โดยชี้ว่า เท่าที่ติดตามมายังไม่เคยพบข้อมูลดังกล่าว และพยายามสืบค้นอยู่ อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลโลกไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลา ซึ่งบางประเทศอาจใช้เวลานานมากในการปฏิบัติตาม แต่สุดท้ายก็ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทุกราย
ขณะที่รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเสริมในประเด็นเดียวกันว่า แม้ศาลโลกจะไม่มีอำนาจบังคับคดี แต่คู่กรณีอาจร้องขอไปยังคณะมนตรีความมั่นคง (ยูเอ็นเอสซี) แห่งสหประชาชาติ เพื่อกำหนดมาตรการบังคับได้
นับจากนี้อีกไม่เกิน 1 เดือน จึงต้องลุ้นกันว่า ศาลโลกจะมีคำตัดสินออกมาอย่างไร ซึ่างหากมี "ผลได้" หรือ "ผลเสีย" ตกกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สถานการณ์ตามแนวชายแดนอาจปะทุขึ้นอีกครั้ง ขณะที่แนวรบภายในประเทศก็คงปะทุหนักไม่ต่างกัน และเผลอๆ อาจจะรบกันหนักยิ่งกว่าที่ชายแดนด้วยซ้ำ
นายณัฏฐวุฒิ โพธิสาโร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการต่อสู้ในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 จึงขอขยายประเด็นดังกล่าวระหว่างเดินสายชี้แจงข้อเท็จจริงในคดีนี้ต่อสื่อ "เครือเนชั่น" โดยยืนยันในเบื้องต้นว่า ท่าทีดังกล่าวไม่ได้ส่งผลได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด
เขาอธิบายว่า กลไกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการประชุมเตรียมความพร้อมเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายทหาร, คณะกรรมการกฤษฎีกา, ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศ, อัยการ ฯลฯ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องวิเคราะห์คำพิพากษาว่า หมายความว่าอย่างไร
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาตามที่ รมว.การต่างประเทศ กล่าวถึงนั้น เป็นการใช้กลไก "คณะกรรมาธิการร่วม" หรือ JC (Joint Commission) อันเป็นกลไกร่วมระหว่างไทย และกัมพูชา ซึ่งเป็นกลไกที่มีอยู่แล้ว โดยนอกจากนายสุรพงษ์ และนายฮอร์ นัมฮงแล้ว คณะกรรมาธิการร่วมยังประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 33 คน จาก 30 กว่าหน่วยงานที่จะต้องทำงานร่วมกัน
"ทั้งสองประเทศย่อมได้รับผลกระทบหลังคำพิพากษาทั้งสองฝ่าย โดยไทยมีแรงงานกัมพูชานับแสนคน ขณะที่ในกัมพูชาก็มีนักลงทุนไทย และคนที่เข้าไปทำงานหลายพันคน เราไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียวที่จะนำไปสู่ความไม่สงบ โดยกลไก JC มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยทั้ง 2 ประเทศ เราดูแลเขา เขาก็ดูแลเรา" นายณัฏฐวุฒิ กล่าว
นอกจากนี้ สถานทูตไทยในกัมพูชา และสถานทูตกัมพูชาในไทย ก็ต้องมีการดูแล รวมทั้งสถานทูตที่เป็นคณะผู้พิพากษาทั้งหมดก็ต้องดูแลด้วย
รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า การพบปะกันจะมีขึ้นก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะเคยมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งระหว่างแรงงานไทย และกัมพูชาจนทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บมาแล้ว ส่วนในวันพิพากษานอกจากจะมีการถ่ายทอดสดเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษแล้ว จะมีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย ด้วย
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการต่อสู้คดีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ได้ขยายความถึงแนวทางการตัดสิน 4 แนวทางตามที่มีการณ์คาดการณ์มาโดยตลอดว่า
แนวทางที่ 1 ศาลอาจจะตัดสินว่าศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดี หรือศาลมีอำนาจ แต่ไม่เหตุที่จะต้องตีความ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับไปอยู่ในสถานะเดิมก่อนที่จะมีการยื่นฟ้องศาลโลก
ประเด็นนี้เขาให้ความรู้เบื้องต้นว่า ศาลระหว่างประเทศไม่มีคำว่า "ยกฟ้อง" หรือ "จำหน่ายคดี" เหมือนศาลในประเทศที่อาจจะมีการยื่นฟ้องผิดศาล แต่ศาลอาจจะตัดสินว่า ตัวเองไม่มีอำนาจในการพิจารณคดี หรือมีอำนาจแต่ไม่มีเหตุที่จะต้องตีความ
แนวทางการตัดสินแบบนี้อาจทำให้สถานะกลับไปเหมือนตอน "ก่อนฟ้อง" คือ ไม่มีคำตอบให้ในเรื่องเขตแดน และแผนที่ โดยสองฝ่ายอาจต้องไปเจรจาตกลงกันเอาเอง
แนวทางที่ 2 ศาลอาจตัดสินว่าขอบเขตพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารเป็นไปตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นไปตามคำฟ้องของฝ่ายกัมพูชา หรือใกล้เคียง
ประเด็นนี้ทูตวีรชัยยังยืนยันตามคำพูดเดิมที่เคยให้การต่อศาลว่า มีการ "ปลอมแปลงแผนที่" โดยนำเอาแผนที่หมายเลข 3 และหมายเลข 4 มาซ้อนทับกัน และเติมสีลงไปเอง
ส่วนผลของแนวทางคำตัดสินนี้อาจทำให้เขาได้พื้นที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือใกล้เคียง โดยศาลคงกำหนดบริเวณข้างเคียง ซึ่งก็คือ "เส้นเขตแดน" นั่นเอง
แนวทางที่ 3 ศาลอาจตัดสินเป็นไปตามคำร้องของฝ่ายไทย หมายถึงขอบเขตปราสาทพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีไทย เมื่อ พ.ศ.2505
ประเด็นนี้ยึดตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2505 ของไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอไปในคดีเก่า โดยทั้งสองฝ่ายโต้แย้งกันเรื่อง "แผนที่" และ "สันปันน้ำ"
แนวทางนี้ ถ้าใกล้เคียงกับที่กัมพูชาขอ (เมื่อปี 2505) อาจมีพื้นที่ที่ขาดไป (ต้องคืนให้กัมพูชา) ประมาณ 0.07 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43 ไร่ (ตามแนวพื้นที่เดิม) แต่วันนี้กัมพูชาไม่ได้ขอพื้นที่เดิม แต่ขอพื้นที่ 4.5-4.6 ตารางกิโลเมตร ตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
แนวทางที่ 4 คือ ศาลอาจไม่ตัดสินให้เป็นไปตามคำร้องทั้งของไทยและกัมพูชา โดยอาจจะกำหนดขอบเขตพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
ประเด็นนี้น่าจะออกไปในแนว "นามธรรม" คือ ตัดสินออกมากลางๆ หรืออาจจะตัดสินว่า คำพิพากษาปี 2505 หมายความว่าอย่างไร และให้คู่กรณีไปปรึกษาหารือกัน ซึ่งแนวทางนี้อาจเป็นประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างยิ่ง โดยอาจตัดสินว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน แยกออกจากกัน หรือมีผลผูกพันกับคำพิพากษาปี 2505 หรือไม่ เป็นต้น
ทูตวีรชัยวิเคราะห์ว่า แนวทางที่ 1 เป็นไปได้น้อยที่สุด ส่วนแนวทางที่ 2 มีความเป็นไปได้มากกว่าแนวทางที่ 1 นิดหน่อย อย่างไรก็ตาม คณะทำงานฝ่ายไทยเห็นว่า แนวทางที่ 4 โดยให้ทั้งสองฝ่ายไปปรึกษาหารือกันมีความเป็นไปได้มากที่สุด แต่ก็มีความเป็นไปได้ในแนวทางอื่นเช่นกัน เพราะคำพิพากษาของศาลมีความยืดหยุ่น และคาดเดาได้ยากมาก
ทูตวีรชัยยังกล่าวถึงกรณีที่มีความพยายามชี้ให้เห็นว่า ไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกก็ได้ โดยชี้ว่า เท่าที่ติดตามมายังไม่เคยพบข้อมูลดังกล่าว และพยายามสืบค้นอยู่ อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลโลกไม่ได้กำหนดเงื่อนเวลา ซึ่งบางประเทศอาจใช้เวลานานมากในการปฏิบัติตาม แต่สุดท้ายก็ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกทุกราย
ขณะที่รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเสริมในประเด็นเดียวกันว่า แม้ศาลโลกจะไม่มีอำนาจบังคับคดี แต่คู่กรณีอาจร้องขอไปยังคณะมนตรีความมั่นคง (ยูเอ็นเอสซี) แห่งสหประชาชาติ เพื่อกำหนดมาตรการบังคับได้
นับจากนี้อีกไม่เกิน 1 เดือน จึงต้องลุ้นกันว่า ศาลโลกจะมีคำตัดสินออกมาอย่างไร ซึ่างหากมี "ผลได้" หรือ "ผลเสีย" ตกกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สถานการณ์ตามแนวชายแดนอาจปะทุขึ้นอีกครั้ง ขณะที่แนวรบภายในประเทศก็คงปะทุหนักไม่ต่างกัน และเผลอๆ อาจจะรบกันหนักยิ่งกว่าที่ชายแดนด้วยซ้ำ
.........................
(หมายเหตุ : 'วีรชัย'ขยายความ4แนวทางคำตัดสินศาลโลกคดีพระวิหาร : ทีมข่าวความมั่นคงรายงาน)
นสพ.คมชัดลึก
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น