ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ภาพ สถาพร ถาวรสุข
ติวสอบออนไลน์ ชุด นโยบายรัฐบาล
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 367/2556
ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทย สู่มหาวิทยาลัยระดับโลก
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็น "การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทย สู่มหาวิทยาลัยระดับโลก" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2556 ที่ห้องประชุม ศ.วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5
รมว.ศธ. กล่าวว่า สืบเนื่องจาก ศธ.ได้ประกาศนโยบายการศึกษาในส่วนของการอุดมศึกษา คือ “การส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน มากกว่าการขยายเชิงปริมาณ โดยส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยให้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของไทย เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนามหาวิทยาลัย” โดยได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการในเรื่องนี้
สกอ.จึงได้มีการประชุมหารือเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก ร่วมกับคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก และประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยได้ศึกษาแนวคิดและวิธีการพัฒนามหาวิทยาลัยของประเทศต่างๆ วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และความต้องการของประเทศ รวมทั้งการติดอันดับ World University Rankings by QS (QS : Quacquarelli Symonds Ltd.) ของมหาวิทยาลัยไทย ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2007-2013 พบว่า มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งติดอันดับโลก แต่ในระยะหลังมีแนวโน้มของอันดับถอยลงทั้งในภาพรวมและในรายสาขา นอกจากนี้ยังมีความเห็นพ้องกันว่า ควรมีการวางแผนโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก โดยเป็นแผนระยะกลางและระยะยาว เพื่อให้โครงการมีความต่อเนื่องและเห็นผลเป็นรูปธรรม และมีการกำหนดโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวมในการดูแลมหาวิทยาลัยทั้งหมด รวมทั้งให้มีการสำรวจความต้องการของเอกชนภาคการผลิต กำหนดคุณลักษณะของผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนมีการประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่องด้วย
สิ่งสำคัญในการดำเนินโครงการ ควรกำหนดหลักเกณฑ์อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหรือกำหนดมหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพและความพร้อม ทั้งมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่แล้ว เพื่อจะได้มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ขณะเดียวกันต้องมีแผนดูแลมหาวิทยาลัยทั้งหมดซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ที่อาจจะยังไม่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ แต่มีศักยภาพในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ หรือมีความสามารถในการผลิตคนให้มีคุณภาพอย่างที่สังคมโลกต้องการ เช่น ลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21
สำหรับงบประมาณในการดำเนินงาน จะจัดสรรให้สอดคล้องกับแผนงานโครงการ ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นแผน 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งขณะนี้ สกอ.มีงบประมาณส่วนหนึ่งที่ได้เสนอขอไว้เพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาภาพรวมอยู่แล้ว จึงจะใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือหนึ่งในการส่งเสริมการพัฒนาของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการยกระดับมหาวิทยาลัยระดับโลกด้วย ซึ่งคาดว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ มีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ แต่สิ่งสำคัญคือการวางหลักเกณฑ์ เพื่อแบ่งประเภทมหาวิทยาลัย ว่าจะเข้าร่วมโครงการด้านใด ต้องการเป็นเลิศด้านใด เพราะการจัดอันดับมีหลักเกณฑ์ดูจากภาพรวมของมหาวิทยาลัย และจัดอันดับในแต่ละสาขา จึงต้องสำรวจศักยภาพและความถนัดของมหาวิทยาลัย โดยจะอาศัยคณะอนุกรรมการช่วยพิจารณาต่อไป รวมทั้งรับฟังความเห็นของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย เพราะนอกจากจะต้องดูภาพรวมและสาขาของ QS แล้ว จำเป็นจะต้องพิจารณาความต้องการของประเทศไทยประกอบด้วย
ทั้งนี้ แม้จะยังไม่ได้มีการหารือเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัย แต่ก็เห็นถึงความจำเป็นว่าต้องมี และเป็นนโยบายที่ได้ประกาศไว้ สำหรับข้อกังวลเกี่ยวกับความซ้ำซ้อนของการประเมิน หากมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจริง ก็จะหลีกเลี่ยงการประเมินที่จะเป็นภาระในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่เชื่อว่าการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ เพราะมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจัดอันดับ ทำให้สังคมทั้งสังคมรวมทั้งรัฐบาลซึ่งเป็นผู้จัดสรรงบประมาณไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ จัดการศึกษาอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่ประเทศทุกประเทศควรจะรู้สถานะการจัดการศึกษาของประเทศตนเอง
ศ.พิเศษ ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า ในเบื้องต้นต้องสร้างหลักเกณฑ์และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อจัดกลุ่มประเภทมหาวิทยาลัย จากนั้นจะวางกลยุทธ์พัฒนามหาวิทยาลัยแต่ละกลุ่ม อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยทั้งหมดจะได้รับการพัฒนา แต่จะมีระดับของการพัฒนาต่างกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของมหาวิทยาลัย เช่น บางกลุ่มอาจจะพัฒนาไปสู่ระดับ World Class University มีการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยจะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดจัดกลุ่มมหาวิทยาลัย เพื่อดูสถานะของแต่ละกลุ่ม พิจารณารูปแบบการพัฒนา ซึ่งคาดว่าในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน2556 จะมีการกำหนดตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมขึ้นบางส่วน
หลังจากทำหลักเกณฑ์เสร็จแล้ว จะส่งไปให้มหาวิทยาลัยช่วยเติมข้อมูล จากนั้นจะให้แต่ละมหาวิทยาลัยเสนอมายัง สกอ.ว่าต้องการจะพัฒนาความเก่ง (Center of Excellence) ในด้านใด และด้านนั้นตรงกับความต้องการของประเทศหรือไม่ หากตรงตามความต้องการของประเทศการสนับสนุนก็จะง่ายขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่ประเทศต้องการ คือการนำความรู้เหล่านั้นมาต่อยอดพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อไป
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com
... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com
... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com
... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุค ลากร ที่
"ติวสอบดอทคอม "
ผอ.นิกร เพ็งลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น