หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บูรณาการความร่วมมือทางการศึกษา

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 342/2556ปาฐกถาพิเศษ "บูรณาการความร่วมมือทางการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน"
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - นายจาตุรนต์  ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "บูรณาการความร่วมมือทางการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" (Southeast Asia Education, Working Together for Sustainable Future) ในงานการการประชุมผู้นำการศึกษาเอเชีย ครั้งที่ 5 และงานเวิลด์ไดแด็ค เอเชีย 2556 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 ณ ห้องเพลนนารี่ ฮอลล์

 
ปาฐกถาพิเศษของ รมว.ศธ.ในหัวข้อ "การบูรณาการความร่วมมือทางการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" ในครั้งนี้ เป็นการประกาศต่อนักวิชาการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลกที่ได้มาประชุมร่วมกัน เกี่ยวกับนโยบายการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
"ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี" ได้แปลและขอเผยแพร่ปาฐกถาในครั้งนี้โดยละเอียด
อาจารย์วิทยา จีระเดชากุล ผู้อำนวยการ สำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ศาสตราจารย์ ดร.วัสสิลิออส อี เอฟธีนากิส ประธานสมาคมเวิลด์ไดแด็ค
คุณจารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
คุณชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน ผู้อำนวยการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด
ท่านผู้จัดนิทรรศการ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและสื่อมวลชน รวมทั้งท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน
ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญมากล่าวเปิดการประชุม และร่วมแสดงความคิดเห็น ในหัวข้อ "การบูรณาการความร่วมมือทางการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" ผมขอชื่นชมความร่วมมือระหว่างองค์การซีมีโอองค์การยูเนสโก, สมาคมเวิลด์ไดแด็ค และบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด และขอแสดงความยินดีในความสำเร็จที่สามารถนำนักวิชาการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลกมาประชุมร่วมกัน ซึ่งจะช่วยในการส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทยและอาเซียน
ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในการทำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาได้ และมีอัตราการรู้หนังสือที่สูง แต่ทว่า ระบบการศึกษาของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น มีความพยายามในการสอนแบ่งท่องจำข้อมูลต่างๆ มากเกินไป การเรียนแบบท่องจำจึงกลายเป็นจุดสำคัญของการศึกษามาเป็นเวลานานเกินไป นักเรียนไทยไม่ได้ถูกสอนให้คิดวิเคราะห์ พวกเขาใช้เวลาในการเรียนแบบท่องจำในชั้นเรียนมานาน และทำให้ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ ครูไทยส่วนใหญ่ยังคงใช้การเรียนการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นทั่วไป และเราก็ได้รับทราบว่านักเรียนไทยประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแข่งขันและความสำเร็จทางวิชาการต่างๆ กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทย และผมเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงและจำกัดความหมายของการศึกษาของไทยใหม่ เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ และการปฏิรูปการศึกษาอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยอมรับว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นพันธกิจที่สำคัญ โดยจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนนักศึกษาของไทย และใช้การวัดและประเมินผลนานาชาติ หรือ PISA (Programme for International Student Assessment) เป็นเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน ตลอดจนการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาความสามารถและทักษะในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ด้วยตัวเองและการแก้ไขปัญหา ในส่วนของการอบรมและพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน จะต้องมีการดำเนินการเพื่อผลิตครูที่มีคุณภาพและความสามารถให้เพียงพอต่อความต้องการ และจะประเมินผลงานของครูจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
กระทรวงศึกษาธิการมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะให้ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาให้มากขึ้น ทั้งเรื่องการสนับสนุนและการดำเนินงานในโครงการที่เกี่ยวกับการศึกษาต่างๆ และผมเห็นด้วยต่อคำกล่าวของประธานสมาคมเวิลด์ไดแด็คที่ว่า ควรมีการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับสมาคมเวิลด์ไดแด็ค ในการปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปการศึกษาสำหรับนักวิชาการศึกษา และต้องการให้มีการดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลไทยก็ได้ให้ความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษาให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งจะเชื่อมโยงถึงการนำกรอบคุณวุฒิวิชาชีพมาใช้ เพื่อกำหนดทักษะ ความรู้และความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ
ในการพัฒนาการอาชีวศึกษา จะนำการศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Education) มาใช้ และจะต้องให้ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมทั้งด้านการฝึกอบรมและการเรียนการสอนให้มากขึ้น จะมุ่งเน้นที่การฝึกอบรมในสถานประกอบการและการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยคาดหวังที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสายสามัญเป็น 50 : 50 ให้ได้
การพัฒนาการอุดมศึกษาของไทย จะมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพมากกว่าปริมาณ รัฐบาลถือว่าการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยของไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นเรื่องที่สำคัญ จะนำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของมหาวิทยาลัยของไทยให้เทียบเคียงได้ในระดับโลก และจะส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีการทำวิจัย คิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ผ่านกลไกต่างๆ เช่น การจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
ในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การมีสมรรถนะและทักษะของประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจมีความหมายต่างกัน การบูรณาการของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 จะส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของกันและกัน ภาษาอังกฤษจะกลายเป็นภาษาราชการ ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อมโยงทั่วโลกที่กำลังเติบโตขึ้น และผลักดันให้มีการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของคนในชาติ
 ทักษะด้านภาษา สารสนเทศดิจิทัล และการคิดวิเคราะห์ เป็นสมรรถนะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเสริมสร้างความรู้นวัตกรรม การกระจายทางเศรษฐกิจ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคม ทางวิชาการและทางอาชีพ
ทั้งนี้ เรื่องที่จำเป็นและต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ การเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการสอนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลางให้มากขึ้น
ท่านแขกผู้มีเกียรติ สุภาพสตรี และสุภาพบุรุษทุกท่านครับ
การบูรณาการของประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 จะทำให้ทั้ง เสาหลัก คือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : APSC) ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) เกิดการยกระดับความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมถึงด้านการศึกษา และทำให้การศึกษามีบทบาทในการลดช่องว่างทางการพัฒนาการศึกษาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอีกด้วย
กระทรวงศึกษาธิการของไทยได้ให้การสนับสนุนและยกเรื่องการศึกษาของอาเซียนเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ดังที่มีจัดทำแผนการจัดตั้ง ASCC และแผนงานด้านการศึกษา 5 ปี (พ.ศ. 2554 – 2558) (ASEAN 5-Year Work Plan on Education 2011-2015) นอกเหนือจากการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เรื่องที่สำคัญในแผนการจัดตั้ง ASCC ส่วนใหญ่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals : MDGs) ซึ่งรวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม การลดช่องว่างทางการพัฒนาและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ทั้งหมดนี้ถูกรวมอยู่ในแผนงานด้านการศึกษา ปี (พ.ศ.2554  2558) ซึ่งจะสร้างความตระหนักในเรื่องของอัตลักษณ์แห่งภูมิภาค ความสำคัญของการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง การฝึกอบรมและการศึกษาทางอาชีพและเทคนิค (Technical and Vocational Education and Training : TVET) ที่ตอบสนองต่อความต้องการทางเศรษฐกิจ และการศึกษาระดับอุดมศึกษาซึ่งนำไปสู่การออกแบบโครงการและการวิจัยในระดับโลก
 ประเทศไทยรู้สึกซาบซึ้งต่อการสนับสนุนของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network : AUN) และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asian Ministers of Education Organization : SEAMEO) ที่ได้ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านการข้ามแดนและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา บทบาทของ AUN ในการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (AUN Quality Assurance) และระบบการโอนหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษาของอาเซียน (AUN-ASEAN Credit Transfer System) ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และรู้สึกซาบซึ้งต่อองค์การซีมีโอที่ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาเป็นอันดับแรก อาทิ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา การศึกษาเพื่อปวงชน การศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การศึกษาระดับอุดมศึกษาและการฝึกอบรมและการศึกษาทางอาชีพและเทคนิค (TVET)
อย่างไรก็ตาม ผมต้องการให้องค์การซีมีโอกับอาเซียนดำเนินการในการจัดตั้งกรอบคุณวุฒิอาเซียนอย่างแข็งขัน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการรับรองทางวิชาการและวิชาชีพในภูมิภาคอาเซียน กรอบคุณวุฒิอาเซียนนี้จะช่วยให้การโอนหน่วยกิต และการยอมรับซึ่งกันและกันเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการบูรณาการและความสอดคล้องกันในเรื่องของคุณลักษณะ ทั้งในส่วนของการอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมถึงการส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาและแรงงานสามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนได้
ความร่วมมือด้านการศึกษาของอาเซียน มุ่งเน้นที่การศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าการฝึกอบรมและการศึกษาทางอาชีพและเทคนิค (TVET) อย่างไรก็ตาม การฝึกอบรมและการศึกษาทางอาชีพและเทคนิคเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศ มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โดยส่วนตัวแล้ว ผมขอชื่นชมในความร่วมมือของอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ที่ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit : EAS) ดังที่ปรากฏในแผนปฏิบัติของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ปี พ.ศ.25562558 (EAS Education Plan of Action 2012-2015) สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มในการร่วมมือในระดับภูมิภาคกับ TVET ตามแผนปฏิบัติการนี้ ในการทำกรอบการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของ TVET ในระดับภูมิภาค เพื่อช่วยให้ครูและนักเรียนนักศึกษาของ TVET สามารถเคลื่อนย้ายและศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทะเบียนผู้ให้บริการ TVET ในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก
 ผมขอให้ท่านคำนึงถึงแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมศึกษาแห่งอาเซียน ปี พ.ศ.25512555 (ASEAN Environmental Education Action Plan 2008-2012)ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนของอาเซียนต่อทศวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยองค์กรสหประชาชาติ (UN Decade of Education for Sustainable Development) นอกจากนั้น มีการผลิตคู่มือการจัดทำหลักสูตรอาเซียน (ASEAN Curriculum Sourcebook) เพื่อเชื่อมโยงความหลากหลายของโลกและอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการร่วมมือกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยของการท้าทายดังเช่นประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ในส่วนของการศึกษานั้น เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ โดยจะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษได้ในปี พ.ศ.2558 และทศวรรษแห่งการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยองค์การสหประชาชาติ ก็จะเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2557 ประชาคมอาเซียนจะก้าวเข้าสู่ระดับการบูรณาการที่สูงขึ้นในปี พ.ศ.2558 และความเคลื่อนไหวทางการศึกษาเพื่อปวงชน ซึ่งดำเนินการโดยองค์การยูเนสโกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 จนปัจจุบันดำเนินการมาเกือบจะเป็นเวลา 25 ปีแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น นักวิชาการศึกษากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการศึกษา ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น "การศึกษา ภายหลังปี พ.ศ. 2558", "การศึกษาเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21" หรือ "การศึกษาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" เป็นต้น ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม เรามั่นใจได้ว่า กระแสโลกาภิวัตน์จะเป็นไปอย่างรุนแรงและกระทบต่ออนาคตของการศึกษามากขึ้น กระแสโลกาภิวัตน์เป็นปรากฏการณ์ซึ่งจะต้องมีการจัดการที่ดี เพราะมันสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตได้อย่างสิ้นเชิง เราไม่สามารถที่จะอยู่ตามลำพังหรือละเลยผู้อื่นและปัญหาของเขาได้ การกระทำและการตัดสินใจของคนในปัจจุบัน สามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกได้มากกว่าที่เคยเป็นมา
ความท้าทายที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทย คือจะต้องปรับเปลี่ยนการสอนในสถานศึกษา ที่เน้นการให้ความรู้และนำนักเรียนเข้าสู่การผลิตทางเศรษฐศาสตร์ สถานศึกษาต่างๆ ใช้การเรียนการสอนแบบเดิม คือ สอนเพื่อผลิตนักเรียนเข้าสู่ตลาดแรงงาน มากกว่าการสอนให้เป็นพลเมืองที่มีความหลากหลายและมีความรับผิดชอบทางสังคม การศึกษาจะต้องมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ประชาชนรักสันติสุข มีความอดทนอดกลั้น และการเป็นส่วนหนึ่งในสังคม รวมทั้งการทำให้ประชาชนมีความเข้าใจ ทักษะและคุณค่าเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่างๆ ของศตวรรษที่ 21
 ความสำคัญในการพัฒนาระหว่างประเทศ คือ การทำให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกและพลเมืองของโลก ดังนั้น จึงต้องแน่ใจว่าหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่มีอยู่ จะสามารถผลิตครูที่เหมาะสมกับบทบาทและความรับผิดชอบใหม่นี้อย่างเพียงพอในการบรรลุเป้าหมาย
นี่เป็นเวลาสำคัญในการสำรวจความความหวังของสังคมที่มีต่อสถานศึกษาและครูอีกครั้ง สังคมคาดหวังว่าครูและสถานศึกษาสามารถเตรียมนักเรียนนักศึกษาให้เป็นพลเมืองของโลกได้ ไม่เฉพาะแต่เตรียมนักเรียนเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานเท่านั้น
ดังจะเห็นได้จากกระแสและการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติและองค์การยูเนสโก เช่น โครงการ "ทั้งโลก..การศึกษาต้องมาก่อน" ซึ่งดำเนินการโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ (The UN Secretary-General’s Global Education First Initiative) ที่เน้นเรื่องของการศึกษาในมุมมองระดับสากล และโครงการ "การเรียนการสอนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" ขององค์การยูเนสโก ที่ส่งเสริมวิสัยทัศน์ใหม่แก่การศึกษา ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจโลก ความซับซ้อนและความต่อเนื่องเชื่อมโยงของปัญหาและประเด็นระหว่างประเทศได้มากขึ้น
ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ
ในแง่ของการทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนนี้ ประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ทั้งระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การซีมีโอและองค์การยูเนสโก ซึ่งจะดำเนินการต่อไปโดยจะมีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การยูเนสโกในเดือนพฤศจิกายนนี้
การศึกษาจะเป็นส่วนสำคัญในการประสานความร่วมมือทวิภาคีและระหว่างประเทศ การศึกษาเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเตรียมความพร้อมให้แก่พลเมืองของประเทศในการบูรณาการในระดับภูมิภาคและระดับโลก จุดมุ่งหมายสูงสุดของการศึกษาคือ การช่วยให้ผู้เรียนแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น การศึกษาจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดโลกที่เราอาศัย การเคารพผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม
กระทรวงศึกษาธิการของไทย จึงขอเชิญประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศมาร่วมมือกัน เราพร้อมที่แบ่งปันประสบการณ์และบทเรียนจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ ผมขอแสดงความชื่นชมต่อบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัดอีกครั้งที่จัดการประชุมในครั้งนี้ขึ้น ในนามของรัฐบาลไทย ผมขอต้อนรับทุกท่านและหวังว่าท่านจะประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมครั้งนี้ โอกาสนี้ ผมขอเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ ขอบคุณครับ
กุณฑิกา พัชรชานนท์ แปลบัลลังก์ โรหิตเสถียร สรุป/รายงาน
11/10/2556
 
An Opening and Keynote Address
by H.E. Mr. Chaturon Chaisang, Minister of Education, Thailand
on 
"Southeast Asia Education, Working Together  for  Sustainable Future"
at the "Worlddidac Asia 2013 and the 5th Asia Education Leaders Forum"
on Wednesday 9th October, 2013 at 9.30-10.00 hrs.
at the Queen Sirikit National Convention Centre, Bangkok

Assoc. Prof. Dr. Witaya Jeradechakul, Director of Southeast Asian Ministers of Education Organization Secretariat,
Prof. Dr. mult. Wassilios E. Fthenakis, President of Worlddidac Association,
Ms. Jaruwan Suwannasat
Mr. Chainarong Limpkittisin, Managing Director of Reed Tradex Company
Exhibitors,
Supporting Associations,
Members of the Press,
Ladies and gentlemen,
It is my very great pleasure and honour to have been invited to open this forum and share my perspective on “Southeast Asia Education, Working Together for a Sustainable Future”. I admire the joint collaboration between SEAMEO, UNESCO, WORLDDIDAC and the Reed Tradex Company and congratulate them for their success in bringing educators together from many countries around the world. This is very encouraging for the education community in Thailand and ASEAN.
Thailand has been quite successful in providing educational access for all and Thai literacy rates have generally been high. Nevertheless, criticisms of the Thai education system have been increasing in recent years. Too much effort is still being made to memorise large chunks of information. Rote learning has been the cornerstone of education for too long. Thai students are not taught to think critically; they spend too much time rote learning in the classroom and end up with poor analytical skills. Most Thai teachers still use teacher-centred modes of information dissemination. These are, of course, generalizations and we also hear of Thai student successes in various educational and academic competitions, of scholastic achievements, and examples of teaching excellence. But they are the exceptions. This is the case in Thailand and I believe that several countries in Southeast Asia can relate to it.
For Thailand, the need for change and to re-define education imperatives has been accepted, and a major reform programme is in the process of being implemented. The Thai Government is committed to major education reform. It is now focused on improving Thai students’ performance and achievements in key subject areas measured by the Programme for International Student Assessment, or PISA.
Specifically, the whole learning system from the curriculum to teaching-learning, along with assessment and evaluation, will be reformed. The purpose of this major reform is to improve students’ critical thinking ability, self-learning and problem-solving skills. The current system of teacher training and development will also be reviewed and improved to ensure there are sufficient numbers of suitably qualified Thai teachers. Teachers will be assessed and promoted in line with their successes in improving students’ performance and achievements.
I intend to promote, I should say the Ministry of Education intends to promote increased involvement of private sector, employer and industry groups and to encourage private sector entities to assume greater responsibility in supporting and conducting educational programmes. I would like to response to the President of WORLDDIDAC’s statement that we’ll welcome and look forward to the cooperation with WORLDDIDAC on curriculum reform, the reform of the education for educators. We will work close together.
The Thai Government is also committed to raising the quality of vocational education to an international standard consistent with the needs of the country. This will involve using a vocational qualifications framework to establish the skills, knowledge and capabilities needed by employers.
To improve the standards of technical and vocational education, further development of a dual education system will be encouraged. This requires increased involvement and participation by the private sector and industry groups at all stages of technical and vocational education and training. Workplace experience and formal classroom instruction will be focused. Ultimately, it is hoped to raise the proportion of learners in vocational and general education streams to a ratio of 50 : 50.
Thai higher education institutions will be encouraged to emphasise quality rather than quantity development. The government is strongly committed to supporting Thai universities to become more internationally recognized. With an aspiration to improve the ranking of Thai universities, university rankings will also be used as a guide in developing the quality and standards of Thai universities compared to acknowledged world-class universities. Such improvement will include encouraging Thai universities to undertake research, innovation and technology through mechanisms such as performance-based budget allocations.
Ensuring 21st century competencies and skills for all may mean different things for developing and developed economies in the Southeast Asia region. The integration of the ASEAN Community in 2015 has encouraged its Member States to learn about each other’s languages and cultures. English has also become its official language. This is in consistent with the growing global connectivity that is forcing countries to improve their citizens’ English language skills.
Language skills, together with digital literacy, and critical thinking skills, are widely recognized among the basic competencies needed in the 21st century. They can increase access to new information as the foundations for knowledge building, innovation and economic diversification. They also enhance social, academic and occupational mobility.
Thus, another important priority for education in Thailand is the expansion of ICTs in education and the wider teaching of languages, particular English and Mandarin Chinese.
Distinguished Guests,
Ladies and gentlemen,
The integration of the ASEAN Community in 2015 will enhance cooperation in all three pillars, comprising ASEAN Economic Community (AEC), ASEAN Political-Security Community (APSC) and ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC). These three pillars have been identified with implications for the field of education and with the recognition of education’s role in narrowing the development gap among ASEAN Member States.
Thailand’s Ministry of Education strongly supports ASEAN’s priorities for education, as documented in the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Blueprint and the ASEAN 5-Year Work Plan on Education. Apart from building the ASEAN identity, most of the priorities in the ASCC Blueprint are consistent with targets reflected in the Millennium Development Goals (MDGs), including human development, social welfare and protection, social justice and rights, narrowing development gaps, and ensuring environmental sustainability.
These priorities are included in the ASEAN 5-Year Work Plan on Education (2011-2015) which addressed the awareness of regional identity, the importance of universal access to high quality basic education, the need for Technical and Vocational Education and Training (TVET) to be responsive to economic needs, and fir higher education to deliver world-class instructional programmes and research.
Thailand appreciates the contribution of the ASEAN University Network (AUN) and the Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO) to cross-border mobility and the internationalization of education. The role of the AUN in establishing an AUN Quality Assurance process and the AUN-ASEAN Credit Transfer System has been well recognized. On the other hand, we also appreciate SEAMEO’s initiatives in priorities for education, such as 21st century skills, professional development for teachers and educational personnel, Education for All, Education for Sustainable Development, higher education and TVET.
Nevertheless, I would like to encourage SEAMEO and ASEAN to work more vigorously in establishing an ASEAN Qualifications Reference Framework to address academic and professional accreditation standards across the ASEAN region. Such a framework will help support credit transfers and the mutual recognition, integration and harmonization of qualifications in both vocational and higher education sectors, as well as promote student/worker mobility across participating ASEAN countries.
So far, collaboration in the ASEAN education sector has focused more on higher education rather than on TVET. However, TVET is an area of particular concern since the economies of many ASEAN Member States have expanded rapidly and continuously amidst their shortages of skilled workers. Personally, I admire the fact that ASEAN’s cooperation with other participating countries in the East Asia Summit, as reflected in the EAS Education Plan of Action 2012-2015, has been inclined to facilitate regional cooperation in TVET. This Plan of Action was adopted with priorities to develop a regional TVET quality assurance framework, to facilitate TVET teacher and student mobility, and to conduct a feasibility study to establish a register of TVET providers in the EAS.
I would also like to draw your attention to the ASEAN Environmental Education Action Plan 2008-2012 which reflected ASEAN’s contribution to the UN Decade of Education for Sustainable Development. Amongst other goals, the ASEAN Curriculum Sourcebook also addresses the themes of connecting global diversity and local identity as well as working together for a sustainable future.
In Thailand, as in many other parts of the world, we live in challenging times. In the field of education, this is particularly the case. We are approaching the end of an era. The target date for achieving the Millennium Development Goals is 2015. The end of the UN Decade of Education for Sustainable Development is 2014. The ASEAN Community will progress to a new level of integration in 2015. And, the EFA movement launched by UNESCO in 1990 is now almost 25 years old.
 Increasingly, educators are turning to the next era of education, whether it is described as “Education Post-2015”, “Education for 21stCentury Skills”, “Education for a Sustainable Future”, or in some other way. Whatever the terminology, we can be reasonably sure that globalization trends will become more pronounced and will greatly impact the future of education. Indeed, they already do. Globalisation is a phenomenon that needs to be addressed because it has changed the way we live. I regard challenge positively and believe that we can no longer afford to live as isolated nations or regional communities. We cannot ignore the inhabitants of other parts of this planet, and their problems. Actions and decisions of ordinary citizens are today more likely to affect others across the globe than ever before.
A challenge across much of the ASEAN region, including Thailand, is that of replacing traditional instruction in schools which tend to educate students and to process them into roles for economic production. Schools have traditionally processed students through stratified steps leading to predictable, marketable credentials for the marketplace, rather than for broader citizenship and social responsibilities. Education must fully assume its central role in helping people to forge more just, peaceful, tolerant and inclusive societies. It must give people the understanding, skills and values they need to cooperate in resolving the interconnected challenges of the 21st century.
The international developments, as aforementioned, have several common themes. The dominant theme is the need to prepare students to belong to a global community and for global citizenship. In order to achieve this goal, it is essential to ensure that teacher education adequately prepares teachers for their new roles and responsibilities.
I think it is a crucial time to re-examine the social expectations of schools and teachers. Society anticipates that teachers and schools have the ability not only to prepare students for the workforce but also to nurture them as global citizens.
This is reflected in the trends and initiatives originating from the UN and UNESCO. The UN Secretary-General’s Global Education First Initiative stresses the need for a global perspective in education. Likewise, the UNESCO’s teaching and learning for sustainable future programmed promotes a new version of education that helps students better understand the world in which they live and the complexity and inter-connectedness of trans-national problems and issues.

Photos by Mr Sathaporn Thawornsuk
Distinguished Guests,
Ladies and gentlemen,
In terms of working together for a sustainable future, Thailand has always strongly supported regional and international bodies, including SEAMEO and UNESCO. This will continue with the signing of a Framework Agreement for Cooperation between ASEAN and UNESCO in November this year.
Education has been and will always be a major part in any bilateral and international collaboration. There is no doubt that education is an essential mechanism in preparing our citizens not only for the regional integration but also for a wider global context. The ultimate goal of education is to assist all learners to achieve their full potential, to be able to adapt to the multicultural society and to cope with a world characterized by change. Education is of pivotal importance in shaping the world we live in, respect for others, and the environment.
In offering this perspective, the Ministry of Education of Thailand invites collaboration with all countries and international agencies. We are very happy to share our experiences in detail and learn from the successes of others. Once again, I would like to extend my appreciation to Reed Tradex Company for organizing this Forum. On behalf of the Thai Government, I would like to welcome you all and wish you every success in your deliberations. With these remarks, I now declare this Forum officially opened.
Translated by Ms Kuntigar Patcharachanon
Edited and reported by Mr Ballang Rohitasthira

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.
"ติวสอบดอทคอม" ผอ.นิกร เพ็งลี
... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม