หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เข้าพบ รมว.ศธ.

ข้อสอบออนไลน์ ชุดใหม่



ติวสอบออนไลน์ ชุด เศรษฐกิจพอเพียง


ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 359/2556
 สภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เข้าพบ รมว.ศธ.
 ศึกษาธิการ - ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) พร้อมคณะรวม 8 คน เข้าพบนายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ พร้อมหารือถึงนโยบายการผลิตและพัฒนาครู เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2556 ที่ห้องประชุมMOC

 
ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้ให้ความร่วมมือกับ ศธ.มาโดยตลอด ทั้งการประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ.2503 จนถึง พ.ศ.2551 การมีส่วนร่วมในการสร้างหลักสูตร พัฒนาครูเพื่อใช้หลักสูตร พัฒนาการตรวจประเมินเพื่อแต่งตั้งวิทยฐานะ เป็นต้น ซึ่งมีความยินดีที่จะร่วมมือกับ ศธ. เพื่อดำเนินการตาม 8 นโยบายด้านการศึกษา

ทั้งนี้ ได้เสนอแนะข้อคิดเห็นและแนวทางการผลิตและพัฒนาครูในประเด็นต่างๆ ดังนี้
  • ให้ รมว.ศธ.เป็นผู้นำในการพัฒนาครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งที่ผ่านมาการวางแผนผลิตและพัฒนาครูยังไม่เป็นระบบ มีหน่วยงานที่ดูแลครูหลายหน่วยงาน แต่ทำงานแยกส่วน ไม่ประสานงานกัน
  • ข้อมูลด้านความต้องการครู  ฝ่ายผลิตต้องการทราบข้อมูลความต้องการครูที่ชัดเจนในแต่ละสาขาและข้อมูลครูที่จะเกษียณอายุราชการ เพื่อใช้วางแผนการผลิต การรับนักศึกษาเข้าเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการมากขึ้น เพราะปัจจุบันฝ่ายผลิตจะใช้วิธีพยากรณ์ความต้องการครู ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งต่างรับสมัครนักศึกษา เพราะไม่มี “กรมฝึกหัดครู” ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลและการผลิตครูโดยตรง ซึ่งถูกยุบไปเมื่อปี พ.ศ.2538
  • เร่งรัดโครงการผลิตครูมืออาชีพ รุ่นที่ 4  เนื่องจากการดำเนินการที่ผ่านมาทั้ง รุ่น ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนชั้น ม.6 โดยมียอดผู้สมัครในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยจำนวนหมื่นคน แม้จะรับเพียงหลักร้อยก็ตาม แต่ในรุ่นที่ ยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากมีการเปลี่ยนรัฐมนตรี จึงขอให้ ศธ.ให้ความสำคัญกับการสร้างครูให้แผ่นดิน
  • การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์  ซึ่งเดิมอยู่ในความดูแลของกรมฝึกหัดครู ดังเช่นโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ปัจจุบันเป็นเพียงคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ผลิตกำลังคนให้กับ ศธ. แต่ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ เช่น ค่าวัสดุการศึกษา ได้รับเพียง 700-800 บาทต่อคนต่อปี เพราะถือว่าผลิตคนทางด้านสังคมศาสตร์ รวมทั้งประสบปัญหาการถูกตัดอัตรากำลัง ทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องใช้ครูอัตราจ้าง ได้ค่าตอบแทนและขวัญกำลังใจน้อย โดยเฉพาะในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไม่มีงบประมาณในการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรด้านครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มากนัก จึงต้องการให้ ศธ.ดูแลและหาแนวทางเพื่อช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งมากขึ้น
  • เปิดโอกาสให้ผู้แทน ส.ค.ศ.ท. เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา
  • เช่น การปฏิรูปหลักสูตร เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปหลักสูตร
  • เร่งรัดการทุจริตสอบครูผู้ช่วย  เพราะได้รับรู้มาโดยตลอดว่ามีการทุจริตจริง บางคนไม่เก่งแต่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วย
  • การลดภาระนอกเหนือการสอนของครู  ที่มีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาขอให้โรงเรียนดำเนินการ ทำให้ครูไม่สามารถสอนในเรื่องที่ครูควรสอน หน่วยงานต่างๆ พยายามใช้โรงเรียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานของตัวเองเพื่อลงไปสู่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นฐานทางการเมืองหรือฐานทางการค้า
  • การปรับปรุงหลักสูตรของ ศธ.  โดยต้องการให้มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรที่ผ่านมาว่าเหมาะสมหรือไม่ ดำเนินการตามกฎหมายและกระบวนการจัดทำหลักสูตรที่ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมอย่างหลากหลายเพียงใด และเนื้อหาตรงกับความต้องการของฝ่ายผลิตในแต่ละสาขาและผู้ใช้หรือไม่
     ภาพ สถาพร ถาวรสุข

รมว.ศธ. กล่าวว่า ศธ.ต้องการให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้ร่วมคิดร่วมออกแบบวางแผนด้านการศึกษาในเรื่องต่างๆ อยู่แล้ว ไม่เฉพาะเรื่องผลิตและพัฒนาครูเท่านั้น แต่รวมถึงองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีอยู่ และการยกระดับการทดสอบของ PISA ด้วย เป็นต้น จึงฝากข้อคิดเห็นร่วมกันในประเด็นการปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนรู้ และการผลิตและพัฒนาครูผู้สอน ดังนี้
1. การปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนรู้
 - ขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร  เมื่อเข้ารับตำแหน่งใหม่ สพฐ.ได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรขั้นพื้นฐานแห่งชาติ ตามคำสั่ง ศธ. ที่ สร 862/2556 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2556 ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการด้านหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการจัดทำรายละเอียดหลักสูตรทั้ง 6 กลุ่มความรู้ ได้แก่ 1) ภาษาและวรรณกรรม 2) วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/วิศวกรรมศาสตร์และกลุ่มคณิตศาสตร์ 3) การดำรงชีวิตและโลกของงาน 4) สื่อและการสื่อสาร 5) สังคมและความเป็นมนุษย์ 6) ประเทศไทย/อาเซียน/ภูมิภาคและโลก รวมทั้งกลุ่มบูรณาการโครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร
ทั้งนี้ ในการปรับปรุงหลักสูตรปัจจุบันได้มีการระดมครู ผู้เชี่ยวชาญการจัดทำหลักสูตร นักวิชาการ นักวิจัย ผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาจำนวนมาก ได้มาแสดงความคิดเห็นและหารือร่วมกันหลายครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นเดียวกับประเทศอื่นที่จะทำหลักสูตรโดยอ้างอิงกับการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มีองค์กรที่กำกับดูแลโดยตรง ต่างจากในอดีตที่บอกให้ครูทุกคนต้องทำหลักสูตรหรือเขียนแผนการสอนเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดและเกิดผลเสียร้ายแรงมาก เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ครูทุกคนจะต้องมีความรู้ในเรื่องการทำหลักสูตร เช่นเดียวกับต่างประเทศ แม้กระทั่งครูที่สอนในระดับปริญญาเอกก็ไม่ได้ทำหลักสูตร เพราะการทำหลักสูตรต้องมีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ มีองค์กรดูแลโดยเฉพาะ
- การมีส่วนร่วม  ต้องการให้ทั้งสังคมมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นกระบวนการ ตั้งแต่การพิจารณาแต่งตั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการจัดทำหลักสูตร ที่ต้องการให้หลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม มีการจัด Focus Group ในเรื่องต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากพอ และหากสังคมทั่วไปยังรับรู้ไม่เพียงพอ ก็ต้องดำเนินการให้สังคมได้รับรู้กระบวนการในการจัดทำหลักสูตร
- การปรับปรุงเนื้อหาของหลักสูตร  หากต้องการเสนอให้ปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบเนื้อหาในการจัดทำหลักสูตร ศธ.ก็ยินดี เพราะต้องการให้กระบวนการจัดทำหลักสูตรเกิดจากการมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนกันของทุกฝ่าย หากมีส่วนที่ควรจะต้องเปลี่ยน ก็ต้องเปลี่ยน ซึ่งจะต้องหารือและพิจารณาว่า ควรเปลี่ยนมากน้อยเพียงใด กรณีหลักสูตรชั้น ป.1-3 คาดว่าจะต้องเปลี่ยนแน่นอน เพราะเด็กต้องเรียนถึง 8 กลุ่มสาระ ทำให้มีเวลาเรียนภาษาไทยน้อย ส่งผลให้มีเด็กอ่านหนังสือไม่ออกจำนวนมาก ส่วนหลักสูตรเรื่องนาฏศิลป์ ยืนยันว่ายังคงมีอยู่ ไม่มีใครยกเลิกนาฏศิลป์ออกไป แต่อาจจะต้องขยายความหมายของนาฏศิลป์ว่าหมายถึงอะไร เพราะมีบางคนเข้าใจว่าดนตรี ร้องเพลง วาดเขียน หรือศิลปะทุกชนิดคือวิชานาฏศิลป์ จึงเกิดการโวยวายว่าจะไม่มีศิลปะทุกชนิดแล้ว ซึ่งจะต้องมีการหารือทำความเข้าใจเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องต่างๆ มากขึ้น
ส่วนหลักสูตรภาษาอังกฤษ เดิมกำหนดให้สอนแต่ไวยากรณ์ แต่ไม่มีการสอนสนทนา ทำให้เด็กร้อยละ 90 ของประเทศไม่ได้เรียนการสนทนา เช่นเดียวกับภาษาจีน ที่เกิดความสูญเปล่าอย่างมหาศาล ไม่มีการสอนสนทนาภาษาจีน ทำให้เด็กที่เรียนภาษาจีนเป็นล้านคน แต่จะหาล่ามจริงๆ เพียง 10 คนได้หรือไม่ ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเช่นนี้ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรมาก จึงต้องมาพิจารณาว่าเป็นผลมาจากหลักสูตรด้วยหรือไม่มากน้อยเพียงใด และจะต้องหารือร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ต่อไป
2. การผลิตและพัฒนาครู
 - ความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาครู  ต้องการความร่วมมือจาก ส.ค.ศ.ท. อยู่แล้ว แต่เรื่องนี้อาจจะล่าช้าไปบ้าง เพราะเริ่มต้นจากการปฏิรูปหลักสูตรและการเรียนรู้ก่อน เพื่อต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นว่าหากจะเปลี่ยนเรื่องการเรียนการสอน จะต้องมีความเชื่อมโยงกับการทดสอบประเมินผล รวมทั้งการผลิตและพัฒนาครูโดยตรงด้วย ซึ่งขณะนี้ได้เตรียมการสัมมนา การรับฟังความติดเห็น และแสดงนิทรรศการการเรียนการสอนที่ดี แนวทางการสอนสมัยใหม่
ในส่วนของการพัฒนาครู เป็นเรื่องยาก เพราะมีหลายองค์กร หลายวิธีการ ที่ดูแลอยู่ จึงต้องจัดระบบพัฒนาครูให้มีประสิทธิภาพร่วมกัน ส่วนการผลิตครูยิ่งเป็นเรื่องที่ยากกว่า เพราะเชื่อมโยงหลายเรื่อง และจะต้องเน้นเป้าหมายการผลิตในสาขาต่างๆ ที่ขาดแคลน ไม่ให้ผลิตจนล้นและส่งผลให้มีคนตกงานจำนวนมาก รวมทั้งคุณลักษณะของครูที่ต้องการผลิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ความสามารถในการทดสอบ ระบบการวัดผลกลาง
- การวางแผนการผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ  จะโยงไปกับการนำเด็กเก่งเข้ามาเรียนครูหรือไม่ หรือกติกาจะเป็นอย่างไร มีการจำกัดจำนวนการผลิตและพัฒนาหรือไม่ เพราะในบางประเทศที่ประสบความสำเร็จ มีการผลิตโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำเพียงไม่กี่แห่ง (Top 5, Top 10) แต่ประเทศไทยต่างคนต่างผลิตครูออกมาจำนวนมาก
จึงขอให้ร่วมกันคิดว่าจะวางระบบกันอย่างไรในภาพรวมของประเทศ เพื่อให้วิชาชีพครูมีความมั่นคง เป็นวิชาชีพชั้นสูง ชั้นสูงในความหมายที่ว่าคือจะให้ผลการเรียนของเด็กดีได้อย่างไร ซึ่งในเวลานี้บางประเทศก็มุ่งไปที่การวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ที่จะต้องทำให้เด็กเรียนดีให้ได้ ในขณะบางประเทศเน้นการอบรม การผลิตและพัฒนาครู และมีการทดสอบครูซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ส่วนกรณีครูอัตราจ้างจำนวนกว่า 60,000 คนทั่วประเทศที่ขอเปลี่ยนสถานะ แต่ก็ยังไม่มีการพูดถึงการพัฒนาคุณภาพ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัญหาซับซ้อน จึงได้กำหนดไว้ในนโยบายข้อที่ 2 ที่ได้ประกาศไว้เมื่อเข้ามารับตำแหน่งแล้วเช่นกันว่า “ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ให้มีจำนวนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการ มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบัน รองรับหลักสูตรใหม่ และการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดูแลระบบสวัสดิการ และลดปัญหาที่บั่นทอนขวัญกำลังใจของครู ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนและคุณภาพผู้เรียน”
- ข้อมูลความต้องการครู  เห็นด้วยว่ามีความจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนทั้งระบบ แต่เมื่อรวบรวมแล้วก็ยังมีปัญหามากในการผลิตครูสาขาที่ขาดแคลน แม้จะทราบว่าขาดแคลนแต่ก็มีประเด็นว่า คนจะมาเรียนไหม คนสอนจะมีไหม จึงเป็นปัญหาเรื้อรังมาถึงทุกวันนี้ จึงต้องมีการรวบรวมตัวเลขให้เห็นว่า หากสาขาที่ผลิตครูเกินจำนวนมาก จะต้องลดการผลิต เพื่อไม่ให้มีการสร้างคนตกงานอย่างเป็นระบบอีกต่อไป
- การลดภาระของครูผู้สอนในโรงเรียน  สพฐ.ได้รวบรวมโครงการที่หน่วยงานต่างๆ ขอให้โรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่านมา พบว่ามีโครงการที่แจ้งไปยังโรงเรียนมากถึง 190 เรื่องต่อปี จึงจะพยายามลดเรื่องเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีครูมีภาระในส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีกต่อ

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.

... เน็ตเร็ว คลิ๊กที่ www.tuewsob.com

... เน็ตช้า คลิ๊กที่ http://tuewsob.blogspot.com

... ห้องวิชาเอกครู คลิ๊กที่ http://uewsob2011.blogspot.com

... (ห้องข้อสอบใหม่) ..สอบครู..สอบผู้บริหาร..สอบบุคลากร ที่

"ติวสอบดอทคอม "

ผอ.นิกร  เพ็งลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม